วัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง คนในบ้าน ในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดโรคภัยเบียดเบียนก่อนวัยอันควร ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และยาเสพติด ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำเฉพาะบ้าน และโรงเรียนเท่านั้น แต่ถ้าเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบ้าน วัด และโรงเรียนก็เชื่อได้ว่าจะเสริมพลังที่ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อสังคมครอบครัวลดลงได้

พบว่า พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง ได้แชร์ภาพที่ท่านได้ัรับ ป้ายวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 20 วัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน โดย โครงการการพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก พระเดชพระเดชพระคุณ พระเทพเวที รศ.ดร. เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานมอบป้ายในครั้งนี้

ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

research
research

26 ก.ย.57 ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ และดร.พิมผกา โพธิลังกา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
พร้อม อ.รพีพงษ์ อินต๊ะสืบ วิทยาลัยอินเตอร์เทค และอ.ธวัชชัย แสนชมภู มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
เมื่อวันที่ 22 ส.ค.57 โดยประเด็นที่พูดคุยเป็นการหาแนวทางกับประเด็นที่ได้รับมา
คือ “การจัดการที่ดิน เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและปัญหาหมอกควัน”
ซึ่งลำปางมีหลายพื้นที่ที่เป็นสีแดง ซึ่งแต่ละสถาบันก็สนใจในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
เช่น อ.งาว อ.เมือง อ.เถิน เป็นต้น
ต่อจากนี้ก็จะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ
โดยแต่ละสถาบันก็จะมีโครงการเสนอเข้าไปที่แม่ข่าย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับหมอกควัน และการศึกษา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ประชุมเครือข่ายสหวิทยาการ กลุ่มภาคเหนือตอนบน ที่เชียงใหม่แกรนด์วิว

เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน

22 สิงหาคม 2557 มีโอกาสร่วมประชุมสัมมนาใน
โครงการประชุมสัมมนาพัฒนาและขยายผลประเด็นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
สำหรับเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.)
เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ
1. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ และขยายความร่วมมือด้านการวิจัย และวิชาการกับเครือข่ายอื่นในภูมิภาคภาคเหนือตอนบน
2. เพื่อต่อยอดการพัฒนาแนวทางในการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นสำคัญ
3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการของเครือข่ายภาคเหนือตอนบนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นที่สำคัญ
4. เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมระดมสมอง ไปใช้ประโยชน์จริงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงชุมชนอย่างแท้จริง
5. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือ ภาคเหนือตอนบน และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
6. เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้ประเด็นปัญหาของภาคเหนือตอนบนและพัฒนาต่อยอดร่วมกันในเครือข่ายต่อไป
กิจกรรมช่วงเช้า เป็นการบรรยาย ประกอบด้วย
1. กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดประชุม
โดย รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กล่าวบรรยายพิเศษ “การดำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. บรรายายพิเศษ “แนวคิดและทิศทางการดำเนินงานและพัฒนาของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบนกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น”
โดย ศ.นพ.ยงยุทธ  วัชรดุลย์ ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
4. การบรรยาย เรื่อง
“การดำเนินงาน/แผนงาน/โครงการเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

กิจกรรมช่วงบ่าย แยกกลุ่มตามประเด็น
ห้องที่ 1 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ห้องประชุมทิพย์พิมาน
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
การจัดการที่ดินเพื่อลดปัญหาหมอกควัน
แล้วนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ที่จะเกิดขึ้น
หลังแต่ละสถาบันไปเขียนข้อเสนอโครงการย่อยเชิงบูรณาการ
แล้วนำโครงการทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันอีกครั้ง
โดยมี อ.ธวัชชัย แสนชมภู เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเนชั่นร่วมแลกเปลี่ยน

ห้องที่ 2 ประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชน (ม.แม่ฟ้าหลวง) ห้องประชุมย่อยฝูเป่า
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชนในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และ ดร.พนม วิญญายอง
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนตามแนวพระราชดำริ
ซึ่ง ผศ.ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ ใจสนิท
เสนอให้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.cf.mahidol.ac.th/
ส่วน ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ได้ฉายภาพปัญหาระบบการศึกษาไทย
เป็นปัญหา 4 ระดับ ที่ทำให้ทีมงานพิจารณาร่วมกัน และเห็นภาพได้ชัดเจน
คือ ฐานคิด โครงสร้าง แผนงาน/กระบวนการ ปรากฎผล
ในกลุ่มตกลงร่วมกันว่าจะสื่อสารกันด้วย e-mail และ line กลุ่ม

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ร้อนสูงสุด และหมอกควันสูงสุด ที่ลำปาง ปี 2552 (1)

9 มีนาคม 2552 : นายทิวา พันธ์ไม้สี หัวหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยาลำปาง  กล่าวว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะอากาศเช่นนี้ จะทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าว  เช่น  จังหวัดลำปาง ล่าสุดวัดอุณหภูมิเฉลี่ย 39.9 องศาเซลเซียส ใน อำเภอเถิน ซึ่งเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงสุดของภาคเหนือตอนบนติดต่อกันมาเป็นวันที่ 5 แล้ว  ส่วนพื้นที่อำเภออื่นค่าเฉลี่ยประมาณ 34-39  องศาเซลเซียส  ขณะที่สถานการณ์หมอกควันไฟที่ปกคลุมพื้นที่วันที่ 9 มีนาคม 2552 ถือว่าเบาบาง เนื่องจากกระแสลมแรงความเร็ว 10 – 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยอยู่ที่  107 – 116 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  นายทิวา กล่าวต่อว่า ส่วนหมอกควัน จ.เชียงราย น่าเป็นห่วง สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่หน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดเชียงราย รายงานค่าหมอกฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีปริมาณสูงถึง 204.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  แม้จะลดลงจากวันที่ 8 มีนาคม 2552 แต่ค่ายังสูงเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะอำเภอแม่สายถูกหมอกควันไฟปกคลุมหนาแน่น ระยะการมองเห็นเพียง 500-600 เมตร  หลายคนเริ่มมีอาการแสบตาและคอแห้ง ต้องสวมหน้ากากป้องกันหมอกควัน.
http://tnews.teenee.com/etc/33114.html

นายสุวิทย์ ขัติยวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 5 – 7 มีนาคม 2552 สถานการณ์หมอกควันไฟที่ปกคลุมพื้นที่จังหวัดลำปางได้เบาบางลง และมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะลมแรงที่พัดในจังหวัดลำปาง ได้เกิดพัดให้หมอกควันไฟได้หายไป แต่อย่างไรก็ตาม ไฟป่า และการจุดไฟเผาในที่โล่งแจ้งก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งถือว่ายังมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงทำให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กต่ำกว่า 10 ไมครอน ในวันนี้เกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัติโนมัติของกรมควบคุมมลพิษที่ตั้งอยู่ใน อ.เมือง วัดได้ 128 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรส่วนสถานีที่ตั้งอยู่ใน อ.แม่เมาะ 2 แห่ง วัดได้ 152.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 159.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ จากค่าดังกล่าวที่วัดได้ล่าสุด เป็นสิ่งบอกเหตุที่ว่าปริมาณฝุ่นละอองในอากาศเริ่มที่จะสะสม และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งจากนี้ไปหากสภาพอากาศในจังหวัดลำปางเอื้ออำนวย ก็จะทำให้สถานการณ์หมอกควันเบาบางลงไปอยู่ในภาวะปกติ แต่หากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยก็จะทำให้สถานการณ์รุนแรงเพิ่มขึ้น
http://www.innnews.co.th/local.php?nid=161048

นายสุวิทย์ ขัติยวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง กล่าวว่า สถานการณ์หมอกควันไฟที่ปกคลุมพื้นที่ของจังหวัดลำปางอยู่ในขณะนี้ พบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก กำลังเริ่มเข้าสู่จุดวิกฤต ซึ่งหากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กมากกว่า 300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นไป ถือว่าเป็นสภาพอากาศที่วิกฤต และจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก จะเห็นได้ว่าในปี 2551 ที่ผ่านมาได้เคยเกิดขึ้นในจังหวัดลำปางและในปีนี้ ถือว่ารุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจาก จังหวัดลำปางมีปริมาณเชื้อเพลิงสะสมทั้งในป่า และในที่โล่งแจ้งเพิ่มมากกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 40 ดังนั้น ไฟป่า และการจุดไฟเผาในที่โล่งแจ้ง ทำให้สถานการณ์ของรุนแรงกว่าทุกปี จากการตรวจวัดได้จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัติโนมัติในเขต อ.เมือง ล่าสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 สูงถึง 272.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นสภาพอากาศที่ไม่ดี และเป็นค่าที่สูงสุดของประเทศไทย เท่าที่เคยมีการเฝ้าระวังมาในปี 2552 ด้าน นายแพทย์ ทรงวุฒิ ทรัพย์ทวีสิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง กล่าวว่า จากสถานการณ์หมอกควันไฟปกคลุมพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีประชาชนป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ลำปางวันละกว่า 300 ราย ซึ่งเป็นยอดที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15 จากปกติจะมีประชาชนที่ป่วยเข้ารับการรักษาประมาณวันละ 120 ราย ซึ่งผู้ปวยที่เข้ารับการรักษาจะมีอาการแสบตา แสบจมูก และมีบางรายเกิดอาการไอ แน่นหน้าอก และหายใจติดขัด ซึ่งเกี่ยวกับระบบทางทางเดินหายใจแทบทั้งสิ้น
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=T&newsid=366343

หมอกควันลำปางมีค่าสูงสุดของประเทศอีกรอบ
นายสิทธิพันธ์ มณีท่าโพธิ์
เจ้าพนักงานอุตุนิยมวิทยาชำนาญงานของสถานีอุตุนิยมวิทยาลำปาง ได้รายงานสภาพอากาศของจังหวัดลำปาง โดยทั่วไปว่า ทุกพื้นที่ของจังหวัด ยังจะต้องเจอกับสภาพอากาศแปรปรวนต่อไปอีก ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยในช่วงกลางดึก และเช้ามืด จะมีอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 14 – 16 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงกลางวันจะมีอากาศที่ร้อนจัด อุณหภูมิ 34-37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังมีลมอ่อนพัดความเร็ว 6-12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยลมจะส่งผลทำให้พัดหมอกควันไฟปกคลุมพื้นที่ของจังหวัดลำปางทั้ง 13 อำเภอ แต่ไม่พัดออกไปจากจังหวัด ส่วนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง ได้ประเมินว่า เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดเป็นแอ่ง และมีภูเขาสูงรอบล้อมทุกด้าน จึงทำให้หมอกควันไฟปกคลุมอยู่ในจังหวัดลำปางอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดฝนตกลงมา เพื่อชำระล้างหมอกควันไฟให้จางหายลงไป ขณะนี้สภาพอากาศของจังหวัดลำปาง ยังเกิดฟ้าสลัวในตอนกลางวัน โดยเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าว่าจะมีหมอกสีขาวปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งก็คือหมอกควันไฟ และสถานีตรวจตวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดได้ตรวจค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กต่ำกว่า 10 ไมครอน ล่าสุดในวันนี้ โดย อำเภอแม่เมาะ 201 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และใน อำเภอเมืองลำปาง 177 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่กลับมาสูงสุดของประเทศไทย หลังจากเมื่อวานนี้ ค่าได้ลดลงแล้ว แต่กลับขึ้นมาสูงอีกครั้ง
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=364546