ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

สังคมปักหมุด

หลังภาพยนตร์หลายเรื่องเกี่ยวกับ Mutiverse ออกฉายอย่างต่อเนื่อง
เช่น Doctor Strange in the Multiverse of Madness (2022)
หรือ Everything Everywhere All at Once (2022)
ทำให้นึกถึงคำว่า #โลกหลายใบของใครหลายคน
ซึ่งปัจจุบัน ชาวสื่อสังคม ก็มีโลกหลายใบเช่นกัน
เรามองเห็น #platform หรือเวทีที่ชาวสื่อสังคมเลือกใช้ชีวิต
ซึ่งมีอยู่หลายสื่อสังคมที่แตกต่างกันไป
สังคมปักหมุด สังคมหนัง สังคมเพลง สังคมภาพถ่าย สังคมหนังสือ สังคมเล่าเรื่อง
พบว่า ผู้คนรอบตัวเรา เลือกใช้ชีวิตกันแตกต่างกันไป
ช่วงนี้เข้าสังคมปักหมุด ซึ่งมี pinterest.com เป็นผู้นำในสื่อกลุ่มนี้
ผู้อยู่ในสังคมนี้สามารถสร้างบอร์ด ซึ่งผมได้สร้างบอร์ดขึ้นมาชื่อ NTU page
แล้วทำการปักพิน (Pin) ไว้ในบอร์ดนี้ทั้งหมด 17 พิน (15 ก.ค.65)
เป็นพินในแบบที่เป็นโพสต์จากแฟนเพจทั้งหมด
ได้เห็นเรื่องราวที่แฟนเพจสื่อสารมา แล้วอยากเก็บไว้เป็นเซต
ซึ่งแฟนเพจถือเป็น front-end ของหลายมหาวิทยาลัย
ที่แบ่งปันในสังคมนั้น สำหรับสังคมปักหมุด
ผมเสนอสองลิงค์ข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นโปรไฟล์ของผมในสังคมนี้
เมื่อเข้าไปแล้วจะพบหลายบอร์ด หากเลือกเข้าบอร์ด NTU page จะพบ 17 พิน

https://pin.it/1u4iFvk

https://www.pinterest.com/thaiall

ส่วนภาพหน้าจอที่ใช้ประกอบเรื่อง เป็นภาพตัวอย่างล่าสุดของบอร์ดโปรไฟล์
จะพบว่าเป็นพินภาพป้ายไวนิลของกิจกรรม
วันงานวันเทคนิคการแพทย์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจ
ที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของคนไทย ของสังคมในมหาวิทยาลัยเนชั่น

thaiall home

นโยบายของเฟซบุ๊ก

ฎ กติกา มารยาทของเฟซบุ๊ก มุ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนได้อย่างสงบสุข มีเงื่อนไขเยอะมาก ซึ่งมากจนผมไม่ค่อยกล้าโพสต์อะไร ยกเว้นเรื่องที่กลั่นกรองมาพอประมาณว่าปลอดภัยแล้ว เช่น ขนม อาหาร ออกกำลังกาย ต้นไม้ ท้องฟ้า เข้าวัดทำบุญ อบรม ภาพหมู่ ผลงานนิสิต บ่นเรื่องชีวิตนิดนึง แชร์บันทึกบ้าง เล่าเรื่องน้ำใจที่ได้รับจากลูกศิษย์ หัวหน้า หรือเพื่อน ทุกวันนี้มักแชร์ข่าวไอที การศึกษา และข่าวสังคมทั่วไปเฉพาะในแฟนเพจ

May be an image of 1 person, sitting and indoor
ชวนกันบริจาคโลหิตครับ

ที่ผ่านมาเคยโดนเฟซบุ๊กเตือนแรงก็หลายครั้ง เพราะเคยแชร์ข่าวไอทีของน้องพร อัพเอกสารแล้วโดนเตือน คุยกับลูกศิษย์ก็ยังโดนระงับเลย เรียกว่าจะกดอะไรก็ยังรู้สึกหนาวอยู่ ล่าสุดมีเพื่อนในกลุ่มผู้บริจาคฯ ที่เป็นผู้ดูแลกลุ่มร่วมกับผม กลุ่มนั้นเป็นกลุ่มสาธารณะ มีไว้เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนที่เรียกว่า สุนทรียสนทนา เฉพาะเรื่องจิตอาสาล้วน ๆ แต่เค้าหลุดออกจากกลุ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วเค้าน่าจะเข้าใจว่า ถูกกระทำโดยผู้ดูแล ซึ่งอีกความเป็นไปได้ คือ มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ากลุ่มอยู่เสมอ เห็นเค้าโพสต์เตือนนู่นนั่นนี่ จนถูกรายงานเท็จได้ ทำให้เค้าหลุดออกจากกลุ่มก็เป็นได้ นี่ก็รอเค้าเข้ามาร่วมกันดูแลกลุ่มต่อ เพราะไม่มีใครแล้ว ที่น่าไว้ใจ นอกจากเค้า .. เล่าสู่กันฟัง

วนอ่าน เรื่อง Everything You Should Know About Facebook Group Rules In 2022 เขียนโดย Simran Grover พบหัวข้อ Group rules from the admins 1) กรุณาและสุภาพ (Be kind and courteous) 2) ไม่ทำร้ายผู้อื่นทั้งกายวาจาใจ (No Hate Speech or Bullying) 3) ไม่โฆษณาเกินควร (No Promotions or Spam) 4) ให้เกียรติความเป็นส่วนตัว (Respect Everyone’s Privacy)

https://www.thaiall.com/facebook/

เกิดมาเป็น BOSS ห้ามพลาด แม้สักครั้งเดียว

เป็นธรรมเนียมของชาวสื่อสังคมน่ะครับ
ว่า บางคนอยู่มาทั้งชีวิต ทำดีทุกเสี้ยววินาที
แต่วันใด ทำอะไรผิดพลาด หรือไม่ได้อย่างใจ
ทั้งต่อหน้า หรือลับหลัง
อาจถูกหยิบเรื่องนั้น ไปประนาม หยามเกียรติ
ถึงขั้นเละตุ้มเป๊ะเลยก็เป็นได้
ผ่านสื่อสังคมอันทรงพลังที่เคยล้มธุรกิจมานักต่อนักแล้ว

boss ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ลุมตืบเลย
boss ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ลุมตืบเลย

สมัยนี้เวลา
บอส (Boss) ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ
ผิดจริยธรรมไปสักข้อ สักเรื่อง สักช่วงเวลาหนึ่ง
ก็จะเอา บอส (Boss) ไปด่าในสื่อ เป็นสื่อสังคมซะด้วย
เพื่อน ๆ ก็จะเข้ามาลุมตืบซ้ำ ๆ ระหว่างลุมตืบนั้น
ก็คงไม่มีเพื่อนคนไหนหรอกครับ .. กล้าคิดต่าง
เพราะการลุมตืบ แล้วทุกคนมีความสุข ให้ใจ กดไลท์ กดแชร์
กันนับหมื่น นับแสน
และการทำตัวเป็นแกะดำ แล้วถูก unfriend ก็ไม่ใช่เรื่องสนุก
รึ .. คุณกล้าจะเป็นแกะดำ ในหมู่แกะขาว กับเค้าอีกตัว

http://www.thaiall.com/ethics/ethics_boss.htm

จากหนังสือ จริยธรรมทางธุรกิจ ของ ผศ.ดร.กิ่งดาว จินดาเทวิน
บทที่ 4 จริยธรรมผู้บริหาร
พบหัวข้อ หลักจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร หน้า 76 ว่า
โดยเริ่มต้นนั้น ได้กล่าวนำว่า หลักธรรมทางด้านศาสนา
ที่สอนให้คนทุกคนทำดี งดเว้นการทำชั่ว มีคุณ 3 ประการ
1. ธรรมะทำให้เกิดการอุปการะ คือ เปรียบเสมือนกัลยาณมิตร
2. ธรรมะทำให้เกิดความงามในจิตใจ และภายนอกทั้งกายและวาจา
3. ธรรมะคุ้มครองโลกได้ ทำให้มนุษย์ระลึกรู้สิ่งดี สิ่งเลว แยกแยกได้

https://chantrabook.files.wordpress.com/2015/11/000243.pdf

ซึ่งจริยธรรมของผู้บริหารองค์กร ได้นำเสนอไว้ 4 หลักธรรม
ตามธรรมนูญชีวิตของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). 2549 : 14-28;
วศิน อินทสระ. 2549 : 93-102; สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. 2543. ออนไลน์ ดังนี้

1. สัปปุริสธรรม 7
2. พรหมวิหาร 4
3. ทศพิธราชธรรม 10
4. มรรคมีองค์ 8

1. สัปปุริสธรรม 7
1.1 รู้หลักและรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)
1.2 รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล (อัตถัญญุตา)
1.3 รู้จักตน (อัตตัญญุตา)
1.4 รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
1.5 รู้จักกาล (กาลัญญุตา)
1.6 รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา)
1.7 รู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา)

2. พรหมวิหาร 4
2.1 เมตตา (Loving Kindness)
2.2 กรุณา (Compassion)
2.3 มุทิตา (Appreciative Gladness)
2.4 อุเบกขา (Equanimity)

3. ทศพิธราชธรรม 10
3.1 ทาน (Sharing with the Populace)
3.2 ศีล (Maintaining Good Conduct)
3.3 ปริจจาคะ (Working Selflessly)
3.4 อาชวะ (Working Honestly)
3.5 มัทวะ (Deporting himself with Gentleness and Congeniality)
3.6 ตปะ (Rejecting Indulgence through Austerity)
3.7 อโกธะ (Adhering to Reason, not Anger)
3.8 อวิหิงสา (Bringing Tranquility through Non-Violence)
3.9 ขันติ (Overcoming Difficulties with Patience)
3.10 อวิโรธนะ (Not doing that which Strays from Righteousness)

4. มรรคมีองค์ 8
4.1 สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ (Right Understanding)
4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ (Right Thoughts)
4.3 สัมมาวาจา การพูดชอบ (Right Speech)
4.4 สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ (Right Action)
4.5 สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood)
4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ (Right Effort)
4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ (Right Mindfulness)
4.8 สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ (Right Concentration)

http://mng.uru.ac.th/~fms/mng/ebook/business_ethic_part1.pdf

อย่าไว้ใจสื่อสังคม อ่านเรื่องเก่งเกียร์อาร์

ดีเจเก่ง
ดีเจเก่ง

เรื่องของเก่งเกียร์อาร์ที่ทะเลาะกับคู่กรณีบนถนน
มีการถ่ายคลิ๊ปแฉการใช้อารมณ์
แล้วคนในสื่อสังคมรับไม่ได้
เก่งทำพลาด มีโทสะบนถนน
สื่อสังคมต่างประนามว่าเขาผิด จนนายจ้างเลิกจ้าง
ไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน ไม่มีใครรับเข้าทำงาน
ต้องแยกกับภรรยา ไปอยู่กับแม่ที่บ้าน
ปล่อยภรรยาทำงานเลี้ยงครอบครัวคนเดียว

ดังนั้นระวัง อย่าใช้แป้นพิมพ์ตัดสินใคร
เพราะเราไม่ใช่ศาล ไม่มีรายละเอียดที่มากพอ
ความคิดของเราอาจส่งผลที่เรียกว่าเกินกว่าเหตุได้
และอย่าทำอะไรพลาด มีกล้องรอบตัวเรา
เยอะไปหมด .. ระวัง ระวังเยอะ ๆ

เครือข่ายใหม่ สังคมใหม่ เพราะเพื่อนชวนให้เรียนรู้

burin โรงสีข้าวไหล่หิน
burin โรงสีข้าวไหล่หิน

แนะนำ vk.com เป็นเว็บไซต์ social media
ที่มีบริการเพลงให้ฟังได้ ในขณะใช้งาน
ทั้งระหว่างอัพโหลดภาพ หรือค้นหาหนังทั้งเรื่องก็แสนง่าย
พบเว็บไซต์นี้ เพราะคุณตุ้ย กับ ดร.สุจิรา
กำลังศึกษาว่าจะใช้บริการเว็บไซต์ ororo.tv อย่างไร
ให้นักศึกษาเรียนภาษาจากเว็บสอนภาษาได้
ถ้าไม่ได้ท่านทั้งสอง ผมคงไม่ได้แตะsocial media เว็บนี้

http://vk.com/id278590579

vk.com social media ที่บริการเพลง และวีดีโอ
vk.com social media ที่บริการเพลง และวีดีโอ

ยิ่งเข้าไปก็ยิ่งเห็นอะไรมากมาย เป็นทางเลือกใหม่
นอกเหนือจาก facebook กับ google+ ที่ใช้ ๆ กันอยู่

เตือนผู้หญิงในการใช้สื่อสังคม

Women More Cautious On Social Media (25th February, 2012)

พบรายงานใหม่บนอินเทอร์เน็ต ว่ามนุษย์เราใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไร ซึ่งพบว่าเราใช้สื่อสังคมมากกว่าใช้เพื่อการอื่น

A new report on the Internet and how we use it says that more of us are using social media.

โครงการพิว สำรวจผู้ใหญ่ 2 พันกว่าคนเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต

The Pew Research Centre’s Internet and American Life Project surveyed 2,277 U.S. adults about their Internet use.

ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม

About two-thirds of Internet users now belong to social networking sites.

รายงานพิวบอกว่าร้อยละ 93 ของผู้ใช้เครือข่ายสังคมเข้าร่วมกับเฟสบุ๊ค เพิ่มจากร้อยละ 73 ในปี 2009

Pew reports that ninety-three percent of social network users have joined Facebook, up from 73 percent in 2009.

การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของเฟสบุ๊คในทางตรงข้ามกับการลดลงของมายสเปซ

The continued rise in Facebook’s popularity contrasts with the decline of MySpace.

ร้อยละ 23 ของผู้ถูกสอบถาม บอกว่าพวกเขามีบัญชีมายสเปซลดกว่าร้อยละ 48 ในปี 2009

Twenty-three percent of those questioned said they had a MySpace profile, down from 48 percent in 2009.

ทวิตเตอร์ยังคงเป็นที่ดึงดูดใจของผู้คนมากขึ้น ได้ส่วนแบ่งมาร้อยละ 11 เพิ่มจากร้อยละ 6 ในปี 2009

Twitter continues to attract more users, with 11 percent of respondents saying they use it, up from 6 percent in 2009.

ผู้รายงานแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการใช้งานของผู้ชายกับผู้หญิงที่ใช้เครือข่ายสังคม พบว่าพวกเขาจัดการอย่างไรกับความเป็นส่วนตัว. .

The report showed big differences between how men and women use social media and how we manage our privacy.

ผู้หญิงมักจะลบเพื่อนมากกว่าผู้ชาย

Women are more likely than men to delete friends.

ผู้หญิงร้อยละ 67 บอกว่าพวกเขาลบเพื่อน แต่เทียบกับผู้ชายแล้วมีร้อยละ 58

Sixty-seven percent of women said they have deleted friends compared with 58 percent of men.

ผู้ศึกษารายงานว่าผู้ชายชอบโพสต์ข้อความ แชร์ภาพ หรือคลิ๊ปมากกว่าผู้หญิงเกือบสองเท่า

ที่อาจทำให้เสียใจได้ในภายหลัง

The study reported that men are almost twice as likely as women to have posted messages, photos or videos that they later regret (เสียใจ) .

ร้อยละ 15 ของผู้ชายพูดในสิ่งที่เขาทำ แต่ผู้หญิงมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น

Fifteen percent of men said they have done this, compared with eight percent of women.

ผู้ศึกษายังแสดงข้อมูลว่าผู้หญิงมีความระมัดระวังมากกว่าที่จะแชร์ข่าวสารกับใคร

The study also showed women to be more cautious who they share information with.

2 ใน 3 ของผู้หญิงใช้ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวสูงสุดกับการแชร์ข้อมูลกับเพื่อนเท่านั้น

Two-thirds of women use the highest privacy settings, sharing data only with friends.

ผู้ชายส่วนใหญ่หรือน้อยกว่าครึ่งของผู้ชายที่จะกำหนดความเป็นส่วนตัวสูงสุด

Less than half of the men did so.

http://www.breakingnewsenglish.com/1202/120225-social_media.html
http://www.breakingnewsenglish.com/1202/120225-social_media.mp3
http://www.breakingnewsenglish.com/technology.html

: 1 : 2 : 3 : 4 : 5 : 6 : 7 : 8 : 9 : 10 : 11 : 12 : 13 : 14 : 15 : 16 :
http://www.thaiall.com/quiz/terms.php

ออกแบบโฆษณาในสื่อออนไลน์

facebook infographic
facebook infographic

เตรียมแนวไว้พูดคุยกับนักศึกษา
เรื่อง การออกแบบโฆษณาในสื่อออนไลน์
ซึ่งมีคำสำคัญอยู่ 2 คำคือ
ออกแบบโฆษณา และ สื่อออนไลน์

ซึ่งผมเข้าใจเรื่องโฆษณาน้อยกว่าสื่อออนไลน์
จึงได้ออกแบบการสอนไว้แบบเน้นสื่อออนไลน์
เพราะการออกแบบโฆษณาอย่างเดียวทางสาขาดูแลดีแล้ว
1. เริ่มต้นด้วยการพาเข้า page:thaiall
ไปดูเอกสารแนวการสอนที่ถูก pin ไว้บนสุด
2. แล้วพาเข้า groups/thaiebook/
ให้แนะนำตัว แล้วเห็นว่าเราสามารถใช้ group
จัดพื้นที่เป็นสัดส่วนให้พูดคุยกันได้อย่างเป็นส่วนตัว
มอบหมายให้แนะนำตัว และชื่อองค์กรที่อยากประชาสัมพันธ์ให้
3. เริ่มใช้ promote.pptx
ให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์นั้น ต้องรู้บทบาทของคนในสื่อสังคม
โดยรู้จักใช้คำว่า we + he + they
หาก we เข้มแข็ง ก็จะสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งในสื่อสังคม
แล้วมาดูตัวอย่างชาวโลกว่า [เขาทำโฆษณากันอย่างไร]
4. เมื่อเห็นตัวอย่าง และเข้าใจแล้ว จะนำไปใช้
ใน profile, page หรือ group ก็ไม่ยาก
ลองให้นักศึกษา ทำแล้วเล่าให้ฟังก็น่าจะดี
5. *** สอนการเขียนเว็บเพจ 3 หน้าด้วย word
ตาม slides.pptx
เน้นให้ออกแบบเว็บเพจ และใส่เนื้อหาเชื่อมกับชื่อองค์กรข้อ 2
แล้วใช้สื่อที่ออกแบบในข้อ 4 มาประกอบการเขียนเว็บเพจ
ให้ฝากเว็บไว้ที่ thainame.net
แล้วส่งผลงานลิงค์โฮมเพจไว้ใน group ข้อ 2
6. สอนการจัดการภาพอย่างง่ายด้วย iview351
เช่น crop, resize, contrast, sharp
เรียนรู้แล้วก็จะใช้ในข้อ 5
7. เรียนรู้การออกแบบภาพเพื่อการโฆษณา
ผ่านการเรียนรู้รูปแบบของ infographic
ที่ใช้ powerpoint ช่วยในการออกแบบ
เรียนรู้แล้วก็จะใช้ในข้อ 5

facebook promote
facebook promote

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องอยู่ใน computer color album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152168573667272.1073741847.350024507271

ตัวอย่างการใช้ social media ในการทำงาน

การใช้ social media ตามหน้าที่ครู
การใช้ social media ตามหน้าที่ครู

ได้รับมอบหมายให้เล่าถึงการใช้ประโยชน์
จากเครือข่ายสังคม (Social Media)
ให้นักศึกษาฟังว่าจะใช้ประโยชน์ FB ในการทำงานอย่างไร
ตัวอย่างแรก ..
1. ไปอ่านข่าวนักศึกษาได้รางวัลพระราชทาน ใน blog ของมหาวิทยาลัย
http://blog.nation.ac.th/?p=2892
2. นำเรื่องไปแชร์ใน fb profile ของตัวเอง
3. นำเรื่องไปแชร์ใน fb group นักศึกษาก็จะได้เห็น
4. นำเรื่องไปแชร์ใน fb page เหล่าแฟนเพจก็จะได้ทราบข่าว
5. ไปค้นต่อ .. พบคลิ๊ปวีดีโอ 5 คลิ๊ป
แล้วนำไปเขียน blog ในอีกเว็บไซต์หนึ่ง แต่เล่าเชิงวิชาชีพ
http://www.thaiall.com/blog/burin/5752/
6. นำไปเล่าต่อใน blog แบบรวบ clip เชิงข่าวประชาสัมพันธ์
http://www.thaiall.com/blogacla/burin/3659/

ทั้งหมดนี้สอดรับกับจรรยาบรรณครู พ.ศ.2539
ข้อ 2 ว่า
“ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม
ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ”
http://www.thaiall.com/learn/toremember.htm

อบรม social media ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

 

คลิ๊ปที่ 28 จากโครงการอบรมการประยุกต์ใช้
Social Media สำหรับการเรียนการสอน

 
วิทยากร คือ อ.เมธา เกรียงปริญญากิจ  (@mehtaxz) จาก socialmer.com และ facebookgoo.com เมื่อ 26 ธ.ค. 2554 จัดโดย มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ อบรมให้กับคุณครูระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งในตอนท้ายของการอบรม คุณสุทธิชัย หยุ่น (idol ของผม) ได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจแก่ผู้เข้ารับการอบรม

พอสรุปได้ว่า วิทยากรบรรยายให้เห็นภาพการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้ dropbox.com, 4shared.com, scribd.com, slideshare.net, soundcloud.com, twitter.com, youtube.com และ facebook.com  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนได้อย่างลงตัว

ลองฟัง คุณสุทธิชัย หยุ่น เล่าได้ครับ ว่าการเป็นนักข่าว ต้องทำงานกับนักข่าวหลายร้อยคน มีเนื้อหาต้องแลกเปลี่ยน สื่อสารตลอดเวลานั้น จะใช้งาน social media ได้อย่างไร

คลิ๊ปทั้งหมด ติดตามได้ที่
http://www.youtube.com/user/NationUniversity

social network
social network

ปรากฏการณ์ สื่อ สังคมออนไลน์แห่งการเรียนรู้ใหม่ด้วย Social Network
http://itg.nrct.go.th/itg2010/index.php/training-seminar/training/Social-Network