คะแนนมาตรฐาน หรือค่า T ที่ปรากฎในผลสอบวิชาสามัญ 9 วิชา

วิชาสามัญ 9 วิชา
วิชาสามัญ 9 วิชา

[คำถาม]
มีคำถามว่า คะแนนมาตรฐาน หรือค่า Ti
ที่ปรากฎใน “รายงานผลการทดสอบ
วิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2560
บอกอะไรกับนักเรียนในแต่ละวิชา
จากการประกาศผลสอบ
ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

[ความหมายของคะแนนมาตรฐาน]
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
สอบได้ 68 คะแนน
แต่คะแนน 68 ไม่ได้เทียบกับอะไร หรือกับใคร
จึงเรียกว่าคะแนนของนักเรียนที่ทำได้
เพื่อแสดงการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
เค้าจึงคำนวณ “คะแนนมาตรฐาน” ขึ้นมา
ซึ่งเป็นผลจากการเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
โดยเทียบว่าเต็ม 100 ได้ประมาณเท่าไร เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

[สรุปว่า]
– คะแนนมาตรฐานเกินกว่า 50 แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
– คะแนนมาตรฐานต่ำกว่า 50 แสดงว่า ตก เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

เค้าถึงเรียกคะแนนมาตรฐาน เพราะเป็นคะแนนที่เทียบกับกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
การตก แปลว่า คะแนนคุณต่ำกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)
การผ่าน แปลว่า คะแนนคุณสูงกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
วิธีคำนวณต้องใช้ตัวเลข 3 ค่า
1. คะแนนที่สอบได้ (Xi) เช่น 68 คะแนนจาก 100 คะแนน
2. ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ (X-bar) เช่น 58.19
3. ค่าการกระจาย (S.D.) เช่น 13.52

[สมการ]
Zi = (Xi – X-bar) / S.D.
Zi ค่านี้บอกว่าห่างจากค่ามาตรฐานไปเท่าใด
Ti = 50 + (10 * Zi)
ค่า Ti คือ คะแนนมาตรฐาน จะเทียบกับ 50

[ตัวอย่าง]
Zi = (68 – 58.19) / 13.52 = 0.725
Ti = 50 + (10 * 0.725) = 57.25

 

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
จากภาพคำนวณให้เฉพาะ “วิชาภาษาไทย”
นักเรียนคนนี้ได้คะแนนมาตรฐาน 57.25 หรือ 57.26 เมื่อปัดเศษ
แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับนักเรียนทั้งประเทศ
คำถาม คือ แล้ววิชาอื่นที่มี A, B, C, D, E, F
จะได้คะแนนมาตรฐานเป็นเท่าใด และผ่านวิชาใดบ้าง

แกะรอย DES (Data Encryption Standard)

DES (Data Encryption Standard)
DES (Data Encryption Standard)

แกะรอย DES (Data Encryption Standard) ได้มา 5 ภาพ
เป็นเรื่องการเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาความปลอดภัย #security
ในอดีตเขาเชื่อกันว่า ถ้าเข้ารหัสแบบนี้แล้ว จะยากในการแกะ
หรือที่เรียกว่าการถอดรหัสข้อมูล (Data Decryption)
ภาพทั้ง 5 เป็นเพียงการแกะรอยในรอบที่ 1 แบบไม่อธิบายนะครับ
ถ้าดูแล้วไม่เข้าใจ ถือว่าธรรมดามาก ถ้าอ่านให้รู้เรื่อง
ต้องหาเอกสารมาหนุนอีกเพียบ เพราะต้องใช้ algo. ของ U.S.Government
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152133699172272.1073741846.350024507271
มีประเด็นบันทึกช่วยจำ 9 ประเด็น
1. data หรือ message ในรูปของเลขฐาน 2
2. key ของเรา
3. key ที่ถูกแปลงสำหรับใช้ในแต่ละรอบ
ดังภาพแรก เข้ากระบวนการ permutation PC-1 ในรอบแรก
ที่เหลือเข้า permutaion PC-2
เก็บทั้ง 16 ค่าไว้ในใจก่อน
key ที่ได้มีขนาด 48 bits ดังภาพแรก
4. นำ data ในข้อ 1 มาผ่าน initial permutaion
จนได้ค่า ip แล้วก็นำมาแบ่งเป็น L0 กับ R0 อย่างละ 32 bits
ดังภาพที่ 2
5. ก่อนนำ R0 หรือ L0 ไปใช้ในขึ้นต่อไป
ต้องผ่านการทำ E ก่อน
เป็นขั้นตอนการทำให้ข้อมูลขยายจาก 32 bits เป็น 48 bits
ด้วย E Bit-selection table ตามภาพที่ 3
6. เมื่อได้ E แล้วก็มาทำ XOR กับ key ที่ได้จากข้อ 3
แล้วก็แปลงด้วย SBOX ซึ่งมีตาราง SBOX แบบ 0-3 และ 0-15
ทำให้ข้อมูล 6 bits เหลือ 4 bits ตามภาพที่ 4
7. นำ SBOX ที่ลด bits แล้วมาทำ permutation
อีกครั้ง แล้วค่อยไป xor กับ L0 ก็จะได้ R1 สำหรับใช้ในขั้นต่อไป
ตามภาพที่ 5
8. สำหรับ L1 นั้น ได้มาจาก R0 แบบไม่ต้องทำอะไรเลย
ในขึ้นตอนแรก L0 รับภาระหนัง แต่ขั้นที่สองเป็นหน้าที่ของ R1 ที่ต้องรับภาระ
9. ทั้งหมดเป็น cycle ที่ออกแบบ
ที่ชื่อว่า The Data Encryption Standard (DES) algorithm
ปรับปรุงโดย U.S. government ในกรกฎาคม  1977
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=428820747141431&set=a.305680419455465.69302.135242033165972

สงสัยว่ามนุษย์ไม่มีมาตรฐานเป็นเรื่องปกติ

matrix avatar surrogates

20 ก.พ.53 เพราะมนุษย์เราจำอดีตไม่ได้ ทำให้ขาดความสามารถในการนำสารสนเทศ หรือองค์ความรู้มาใช้เป็นฐานคิด เพื่อตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริหารมากมายที่มีประสบการณ์แต่ล้มเหลวในการบริหาร เพราะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่อาจบูรณาการ ไม่ละอัตตา ไม่ยอมรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชา 1) ผู้บริหารมากมายดื่มสุรา ถึงแม้จะรู้ว่าเป็นผลเสียต่อสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิต 2) คนคอรัปชั่นคือคนที่มองไปไม่พ้นเงา แม้มีตัวอย่างของผลที่อาจได้รับ แต่ก็ยังกล้าที่จะทำสิ่งไม่ถูกต้องได้ 3) คนเชื่อราศีคือไม่รู้จักใช้ประสบการณ์หรือสารสนเทศที่ได้มาทั้งชีวิต แล้วเลือกเชื่ออย่างไม่สมเหตุสมผล 4) พระสงฆ์คือผู้ที่เข้าถึงความสุขบนความสงบ แต่บางรูปละทิ้งโอกาสแล้วแสวงหายศฐาบรรดาศักดิ์ ชื่นชมกับตำแหน่ง หรือการถูกกราบไว้บูชา 
    อดนึกไม่ได้ว่า เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ไม่มีมาตรฐาน เพราะมนุษย์จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรเคยทำ อะไรไม่ควรทำ ไม่สามารถพิจารณาบนสารสนเทศ หรือข้อมูลที่มีมาทั้งหมด มักจะใช้ความคิดชั่วครู่ ความสุขชั่วคราว มองผลด้านเดียวในขณะใดขณะหนึ่งเป็นฐานคิด ตัวอย่างเช่นเครื่องตรวจหาระเบิด ADE-651 หรือ GT-200 ที่มักถูกถามว่าใช้มาตรฐานอะไรจัดซื้อ .. เมื่อผมอยู่ในสถาบันก็มักใช้คำถามนี้กับหลายคน เพราะเป็นฝ่ายถูกกระทำ หรือรับผลของการกระทำที่ยังขาดมาตรฐานมากมาย ที่หนักไปกว่าความไม่มีมาตรฐานคือ การไม่ศรัทธาในมาตรฐาน เช่น ฝ่าไฟแดง ไม่ยึดนโยบายผู้บริหาร ไม่มีศีลกำกับชีวิต ยังเล่นการพนัน ยังดื่มสุรา ยังใช้ทรัพยากรอย่างไม่ประหยัด เป็นต้น

พบความจริงข้อหนึ่งว่า อดีตไม่แจ่มชัดเท่าจินตนาการ .. น่าแปลกนะ
สงสัยต่อไปว่า อดีตเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรืออนาคตเกิดขึ้นแล้ว ..
ต้นคิดมาจาก matrix , avatar , surrogate , knowing