เห็นกิจกรรมการปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่ แล้วชอบครับ
เพราะปัจจุบันทุกหลักสูตรในประเทศไทยต้องมีกิจกรรมนี้
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่
ทั้งกาย ใจ ความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร สถาบัน และการเรียนป.ตรี
ให้พร้อมก่อนเข้าเรียนในหลักสูตรที่เลือกไว้
เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชั้นปีที่ 1
– ไม่เข้าใจในหลักสูตรว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร
– ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนในระดับอุดมศึกษา
– ไม่ทราบถึงสิ่งที่สถาบันจัดเตรียมไว้สนับสนุนการเรียนการสอน
– ขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และอาจารย์ในหลักสูตร
– ขาดความคุ้นเคย ใกล้ชิด หรือไม่รู้จักผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลนักศึกษา
สอดรับกับเกณฑ์ประกันระดับหลักสูตร ปี 2557
องค์ประกอบที่ 3 หน้า 67 ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา
https://www.facebook.com/NationUNews/photos/?tab=album&album_id=1024154837661601
Tag: student
น.ศ.สาวเนชั่น อยู่แม่ฮ่องสอนมาเรียนลำปาง ต้องเปิดร้านขายน้ำส้มคั้นส่งตัวเองเรียน
ในกลุ่ม Lampang City มีการวิจารณ์กันมาก ว่าน้ำส้มอร่อย
ที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนชั่น ไปทำงานขายน้ำส้มคั้นหาเงินเรียนหนังสือ
มีการกดไลค์ภาพน้องแอน โชติชนิต สนธิ นักศึกษาปี 3
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
ใน 12 ชั่วโมงไปพันกว่าครั้ง วิพากษ์กันไป 30 กว่าเม้นท์
https://www.facebook.com/groups/243126115797740/permalink/943272402449771/
พบข้อความประกอบภาพว่า
“พบเด็กเรียนดี ขยันทำกิน ต้องส่งเสริม
เป็นกำลังใจให้น้องแอน นักศึกษาสาวปี 3 กำลังเรียนด้านสุขภาพ
เด็กเรียนดีจากแม่ฮ่องสอน มาเรียนที่ลำปาง
ทำงานพิเศษส่งตัวเองเรียน ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียน
ด้วยการเปิดร้านขายน้ำส้มคั้นสด มีแพกเกจสวยงาม
อยู่ข้าง 7-11 ตรงข้ามประตูเข้าอาคารบุญชูตรีทอง ลำปาง
อีก 1 ปีก็จะสำเร็จการศึกษาแล้ว สู่ต่อไป สาวแม่ฮ่องสอน“
วิชาที่ใช้สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งสอบตรงและแอดมิชชั่น
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนทุกคน
ต้องสอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะสาย
สัดส่วนของสองกลุ่มนี้จะต่างกันไปในแต่ละหลักสูตร
หลายมหาวิทยาลัยจัดรับตรง คือใช้ข้อสอบของตนเอง
ก็จะกำหนดวิชาที่สอบแตกต่างไปบ้างกับสอบแอดมิชชั่น
1. วิชาสำหรับสอบเข้าเรียนแพทย์โดยทั่วไป
ต้องสอบ 7 วิชา 1)ฟิสิกส์ 2)เคมี 3)ชีวะ 4)คณิต1 5)ไทย 6)อังกฤษ 7)สังคม
และวิชาเฉพาะ (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์)
2. การสอบตรงนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ต้องสอบวิชาของธรรมศาสตร์ ใน 100% มีดังนี้
1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10%
2) ความสามารถในการใช้กฎหมาย 30%
3) เรียงความ 10%
4) ย่อความ 10%
5) ภาษาอังกฤษ 20%
6) ความถนัดเชิงวิชาการ (SAT) 20%
3. สัดส่วนที่ใช้คำนวณคะแนน
GAT (General Aptitude Test) ความถนัดทั่วไป
PAT (Professional Aptitude Test) ความถนัดทางด้านวิชาชีพและวิชาการ
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
– ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
– ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT)
– ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT)
4. GAT กับ PAT ต่างกันชัดเจน
GAT = ความถนัดทั่วไป
PAT1 = ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 = ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 = ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 = ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 = ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 = ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7.1 = ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT7.2 = ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT7.3 = ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT7.4 = ความถนัดทางภาษาจีน
PAT7.5 = ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT7.6 = ความถนัดทางภาษาบาลี
5. สัดส่วนการใช้คะแนน GAT PAT ของคณะต่าง ๆ
http://www.tlcthai.com/education/gat-pat/48432.html
http://www.dek-d.com/admission/33015/
กลุ่มที่ 1 คณะสัตวแพทยฯ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะพยาบาลศาสตร์
คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์ , คณะวิทยาศาสตร์กีฬา
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 2 30%
กลุ่มที่ 2 คณะทันตแพทยศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20%, PAT 1 10% และ PAT 2 20%
กลุ่มที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 2 40%
กลุ่มที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ , คณะทรัพยากรธรรมชาติ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 10% และ PAT 2 30%
กลุ่มที่ 5 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 20% และ PAT 2 20%
กลุ่มที่ 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 15% , PAT 2 15% และ PAT 3 20%
* รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT1
เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.เกษตรศาสตร์
กลุ่มที่ 7 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4 40%
กลุ่มที่ 8 คณะเกษตรศาสตร์ , คณะวนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 10% และ PAT 2 30%
กลุ่มที่ 9 คณะบริหารธุรกิจ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี , คณะเศรษฐศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 1 20%
* รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT2
เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
กลุ่มที่ 10 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% และ GAT 50%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 40%
และ PAT 7 (เลือก 1 วิชา) 10%
กลุ่มที่ 11 คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 5 20%
และ PAT 1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา) 20%
กลุ่มที่ 12 คณะศิลปกรรมศาสตร์ , คณะวิจิตรศิลป์ , คณะดุริยางฯ , คณะศิลปการออกแบบ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4/6 (เลือก 1 วิชา) 40%
กลุ่มที่ 13 คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ , คณะสังคมวิทยา , คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 1 20%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% และ GAT 50%
รูปแบบที่ 3 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 7 20%
มีข่าวว่า
อันดับหนึ่งของประเทศสอบได้วารสารศาสตร์
ปี 2559 และ 2558 ผลสอบแอดมิชชั่น 6 อันดับแรกเลือกสายสังคมศาสตร์ทั้งหมด
รายชื่อสถาบันการศึกษาที่เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อเพื่อเป็นพยาบาล
จากคำถามที่ว่ามีสถาบันการศึกษาใดบ้าง
เปิดรับนักเรียน ม.6 เข้าเรียนพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 4 ปี
ค้นดูก็พบว่ามีอยู่หลายสถาบันที่เปิดรับ มีดังนี้
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยชินวัตร
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยพายัพ
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยสยาม
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
- วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
- วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
- วิทยาลัยสภากาชาดไทย
- วิทยาลัยเซนต์หลุย
- สถาบันพระบรมราชชนก
- สภาการพยาบาล
http://www.unigang.com/Article/36390
http://www.enttrong.com/tag/73
16 ทักษะที่นักเรียนจำต้องเรียนรู้วันที่เพื่อเติบโตในวันหน้า
บทบาทครู ที่ต้องพัฒนาทักษะนักเรียน
มีตัวอย่างให้เห็นใน Social Media
แล้วผมก็ชอบติดตาม อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง
เพราะท่านมักจะแชร์ประเด็นความรู้
ให้ข้อคิดที่มีประโยชน์
ได้รู้จักท่านแล้วรู้สึกดี ท่านมองอะไรเป็นบวก
ทำให้รู้สึกดี ช่วยกระตุ้มต่อมคิดบวกของผมเสมอ
ครั้งนี้ท่านแชร์มาในกลุ่มของมหาวิทยาลัย เรื่อง
“16 ทักษะที่นักเรียนจำต้องเรียนรู้วันที่เพื่อเติบโตในวันหน้า”
จึงได้นำไปเล่าให้นักศึกษาฟังครับ .. ว่าพวกเขาควรมีทักษะอะไรบ้าง
http://www.weforum.org/agenda/2016/03/21st-century-skills-future-jobs-students
[การรู้พื้นฐาน Foundational Literacies]
1. การอ่านออกเขียนได้ (Literacy)
2. การรู้คิดคำนวณ (Numeracy
3. การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific literacy)
4. การรู้ไอซีที (ICT literacy)
5. การรู้การเงิน (Financial literacy)
6. การรู้วัฒนธรรม และพลเมือง (Cultural and civic literacy)
[สมรรถนะ Competencies]
7. การคิดเชิงวิพากษ์ และแก้ปัญหา (Critical thinking/problem-solving)
8. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
https://www.facebook.com/wiriyah
9. การสื่อสาร (Communication)
10. การร่วมมือ (Collaboration)
[ลักษณะนิสัย Character Qualities]
11. อยากรู้อยากเห็น (Curious)
12. ริเริ่ม (Initiative)
13. มุ่งมั่น/อดทน (Persistence/grit)
14. ปรับตัวได้ (Adaptability)
15. ผู้นำ (Leadership)
16. เข้าสังคมและตระหนักในวัฒนธรรม (Social and Cultural awareness)
ฟังคุณสาธิจิตต์ นกจันทร์ อ.นิภรดา ยาวิราช และท่านอธิการ
บันทึกกิจกรรมในสถาบันการศึกษา
25 พ.ย.58 ฟังท่านอธิการ กับเพื่อนพูดคุยทำความเข้าใจให้ข้อมูล
กับนักศึกษาหลายเรื่อง ที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับนักศึกษา อาทิ
– การให้ข้อมูลว่าถ้าเกรดน้อย ๆ เดี๋ยวนี้ กยศ. จะไม่ปล่อยกู้แล้วนะครับ
– อยู่ต่างจังหวัด ให้กรอกข้อมูลเอกสาร + สำเนาบัตรประชาชน
เพื่อรวบรวมขอใช้สิทธิบัตรทองกับโรงพยาบาล
เวลาเจ็บไข้ก็ไม่ต้องควักตังเอง ใช้สิทธิได้เลย
– องค์กรใหญ่อย่าง กยศ. ทำงานกับข้อมูลถึง 7 แสนคน
ที่ยื่นขอกู้เข้าไป ก็ทำงานล่าช้าบ้าง แจ้งให้นักศึกษาเข้าใจ
สำหรับที่รอเงินรายเดือน 2200 บาท ถึงช้าหน่อยแต่ได้แน่
– การแต่งกายของนักศึกษาเรายังยึด conservative
ตามกระแสสังคมไทย คือ ยังแต่กายด้วยชุดนักศึกษาที่เรียบร้อย
– การคุมสอบก็แล้วแต่ธรรมชาติของวิชา มีทั้ง open และ close
ก็ขอให้นักศึกษามีวินัย เคารพตนเอง เรามีบรรทัดฐาน (norm)
ในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน บางกลุ่มไม่ต้องคุมสอบ เชื่อว่าไม่มีใครลอกกัน
แต่บางกลุ่มก็ต้องคุมเข้ม เพราะเชื่อว่ามีทุจริตอยู่ ก็ยังต้องดูแลกันต่อไป
– ขณะนี้สำนักกิจการนักศึกษา จะหาวิทยากรทางสาธารณะสุข
มาให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา เพื่อจะได้ไม่ก่อปัญหาให้กับตนเอง หรือครอบครัว
– เราจะมีสอบ english กับ it ก็เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเอง
ทำความเข้าใจว่า นักศึกษาต้องพัฒนาตนเองอย่างน้อย 2 ด้าน จนกว่าจะผ่าน
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1044767592255777/
ทำความสะอาด RAM โดยนักเรียนมัธยม
https://www.facebook.com/thaiall/posts/10153180329112272
มีเพื่อน ๆ เคยเล่าให้ฟังว่า #RAM ที่สกปรก
จะทำให้เครื่อง #Hang บ่อย ทำงานช้า
หลังจากที่ผมมีโอกาสทำความสะอาด RAM ในที่ทำงานเมื่อสองวันก่อน
ก็กลับไปทำความสะอาด RAM ที่บ้านบ้าง .. ทำแบบเดิมแต่เปลี่ยนที่
ซื้อมาตั้งแต่ปี 2550 แล้วที่ไม่ได้ทำความสะอาด
เห็นแล้วก็ใจหายครับ ฝุ่นเขรอะเลย
—
ก่อนหน้านี้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ไม่ได้มีอาการแบบ ติ๊ด ๆ ๆ ๆ
ถ้ามีเสียงแบบนั้นแสดงว่า RAM เสียแน่นอน
แต่กรณีนี้เราจะทำความสะอาดครับ
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษาปีการศึกษา 2557
25 ก.ค.57 ร่วมประชุมการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษาปีการศึกษา 2557
ณ โรงแรม อมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก
มีวัตถุประสงค์การประชุมดังนี้
1. เพื่อชี้แจงให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนมีความเข้าใจการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557 และนำเสนอระบบการนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
2. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนเกิดความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษา
3. เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการพัฒนาข้อมูลอุดมศึกษาให้สอดคล้องตามมาตรฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
—
ได้รับฟังนโยบายการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา โดย น.ส.นิติมา จิตต์จำนง ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศอุดมศึกษา ที่เล่าถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อมูลที่กลุ่มงานนี้ดูแลประกอบด้วย ข้อมูลรายบุคคลนักศึกษา ข้อมูลรายบุคคลบุคลากร ข้อมูลรายบุคคลผู้สำเร็จการศึกษา ข้อมูลหลักสูตร และข้อมูลการเงินอุดมศึกษา
ข้อมูลทั้งหมดเชื่อมโยงผ่านระบบอินเทอร์เน็ตให้บุคคลทั่วไปเข้าดูข้อมูลสรุปภาพรวมของประเทศ และมหาวิทยาลัยจะส่งข้อมูลแต่ละรอบเข้าสู่ระบบ มีโฮมเพจที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. คลังข้อมูลอุดมศึกษา
http://www.data3.mua.go.th/dataS/
2. สารสนเทศสำหรับบุคคลทั่วไป
http://www.info.mua.go.th/information/
3. บริการสืบค้นข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไป
http://www.gotouni.mua.go.th/
4. บริการบันทึกข้อมูลสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
http://www.gotouni.mua.go.th/gotouniV2/
http://www.gotouni.mua.go.th/index_staff.php
5. เว็บไซต์ที่เผยแพร่รายงาน
http://www.data3.mua.go.th/dataS/web_reports.php
ผู้นำเสนอด้านต่าง ๆ ในกลุ่มสารสนเทศอุดมศึกษา
1. น.ส.นิติมา จิตต์จำนงค์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศอุดมศึกษา
2. น.ส.ธารีณี พฤกษ์พนาเวศ ข้อมูลรายบุคคลนักศึกษา
3. นายขจรศักดิ์ จิตต์อารีย์เสถียร ข้อมูลรายบุคคลบุคลากร
4. น.ส.ภัทรกันย์ จันทร์หอมไกล ข้อมูลรายบุคคลผู้สำเร็จการศึกษา และภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
5. ว่าที่ร้อยตรีหญิงประภาศรี พุดศรี ข้อมูลหลักสูตร
6. นางสุภาพรณ์ ดอกแก้วดี ข้อมูลการเงินอุดมศึกษา
—
รวมเอกสาร PDF ที่แจกในการประชุมชี้แจง
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557
https://www.facebook.com/download/1460691054189550/doc_meeting_db_mua_570725.rar
ตารางข้อมูลอ้างอิง ระบบภาวะการมีงานทำ
ที่แจกในการประชุมชี้แจง
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557
https://www.facebook.com/download/800929549927110/REF_UOC_questionnaire_570725.rar
ตารางข้อมูลอ้างอิง ระบบข้อมูลนักศึกษา บุคลากร การเงิน ผู้สำเร็จ
ที่แจกในการประชุมชี้แจง
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557
https://www.facebook.com/download/329480910562626/REF_UOC_STD_STAFF_GRD_FINANCE_570725.rar
ภาพใน fb album
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10152541757908895.1073741843.814248894
บัณฑิตไทยโกงจริง จึงต้องแก้ไข
ข่าวจากไทยรัฐมีหัวข่าวว่า “บัณฑิตเบี้ยวหนี้ 80% กยศ.ถังแตก จ่อลดดอกเบี้ยจูงใจใช้หนี้”
โดยมีรายละเอียดว่า ยอดหนี้ค้างชำระกว่า 1.4 ล้านราย เป็นวงเงินกู้ 136,237 ล้านบาท
จากจำนวนผู้กู้ 2.15 ล้านราย เป็นเงินกู้ 194,711 ล้านบาท
http://www.thairath.co.th/content/eco/366110
—
จากข่าวข้างต้น ก็น่าจะเป็นเหตุเป็นผลให้มีการประกวด “บัณฑิตไทยไม่โกง”
คงปฏิเสธเสียงแข็งไม่ได้ว่าบัณฑิตไทยเรามีคุณธรรมจริยธรรมน่าเป็นห่วง
สกอ. ขอเชิญน้อง ๆ นักศึกษาร่วมประกวดผลงานสื่อประชาสัมพันธ์ในหัวข้อ “บัณฑิตไทยไม่โกง” ผู้สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่ วันนี้ – 31 ตุลาคม 2556 ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ www.mua.go.th และ www.facebook.com/ohecanticorruption สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2610 5416
นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการประกวด ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ ว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประกาศรับผลงานนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทุกสถาบัน ในสังกัด สกอ.
เพื่อเข้าร่วมประกวด ๓ กิจกรรม คือ การประกวด แอนิเมชั่น การประกวดภาพยนตร์สั้น และการประกวดบทความ ภายใต้หัวข้อ ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ เพื่อสื่อให้เห็นวิธีคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ในการจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในยุคปัจจุบันอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเงินรางวัลรวม ๓๕๐,๐๐๐ บาท และหมดเขตส่งส่งผลงานในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมานั้น
ทางคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการตัดสินเห็นว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งเพิ่งเปิดเทอม และกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น และภาพยนตร์สั้นต้องใช้เวลาในการผลิตเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ จึงให้ขยายระยะเวลาส่งผลงานไปถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ประกอบกับในช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะจัดการประชุมวิชาการโครงการบัณฑิตไทยไม่โกง ในหัวข้อ “บัณฑิตไทย คนรุ่นใหม่หัวใจคุณธรรม” ในระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ซึ่งจะเป็นเวทีให้นักศึกษาเจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลมีโอกาสนำเสนอผลงานต่อไป
“สำหรับผลงานนักศึกษาที่ส่งเข้ามาจำนวนพอสมควร ทาง สกอ. ได้ประสานให้นักศึกษาเจ้าของผลงานสามารถนำกลับไปปรับปรุงเพิ่มเติม และส่งผลงานกลับมาอีกครั้งภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ซึ่งการจัดประกวดครั้งนี้ สกอ. คาดหวังว่าจะเป็นแรงขับให้นักศึกษานำความรู้ความสามารถ ศักยภาพที่มีอยู่ในด้านต่างๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อสังคม โดยต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาและสังคมไทยเห็นความสำคัญของปัญหาการคอรัปชั่น จึงได้จัดโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในรูปแบบสื่อแอนิเมชั่น สื่อภาพยนตร์สั้น และบทความ ให้นักศึกษาเป็นผู้คิดและผลิต เพื่อให้เนื้อหาสื่อ และรูปแบบในการนำเสนอ พร้อมทั้งใช้ช่องทางในการนำเสนอที่เข้าถึงกลุ่มเยาวชนด้วยกันเองง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีรางวัลป๊อปปูล่าโหวตสำหรับการประกวดแอนิเมชั่นและภาพยนตร์สั้น ที่จะตัดสินจากจำนวนผู้เข้าชมผลงานผ่านเว็บไซต์ยูทูบอีกด้วย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าไปชมและติดตามผลงานของนักศึกษาทางยูทูบ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.mua.go.th/data_pr/200656.pdf
—
https://www.facebook.com/ohecanticorruption
Likes : 363 on October 7, 2013
—
https://www.facebook.com/bics.ohec
Likes : 467 on October 7, 2013
ยังไม่ได้เช็คชื่อ ไปขี้มา
+ http://www.gotoknow.org/posts/328479
+ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=560780
4 กันยายน 2556 เป็นวันที่ได้รับข้อมูลเรื่องจัดอันดับด้านการศึกษา ก็นึกถึงพฤติกรรม “เล่นเกมใน smart phone ขณะครูสอน” หรือ “พูดโทรศัพท์กับแฟนขณะเรียน” หรือคำพูดของเด็กที่คิดเป็นว่า “ยังไม่ได้เช็คชื่อ ไปขี้มา” ที่อาจเป็นเหตุการณ์ ช่วงปิดชั้นเรียนวิชาหนึ่ง แล้วมีนักเรียนเดินเข้ามาบอกคุณครูว่าขอเช็คชื่อ เพราะยังไม่ได้เช็คชื่อเลย เหตุการณ์แบบนี้แสดงถึงเสรีภาพในการใช้ภาษาอย่างสุดโต่งของนักเรียน เป็นเสรีภาพที่ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าเด็กสมัยกล้าคิด กล้าทำ อย่างที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในสังคมไทยยุคการศึกษารั้งบ้วย
นึกย้อนไปในอดีตว่าสมัยก่อน ที่โรงเรียนเอกชนประจำจังหวัด ใครสอบตกก็จะถูกเรียกไปบนเวที แล้วโบยด้วยไม้ท่อนใหญ่ ๆ เพื่อให้สัญญาณนี่คือโทษของความไม่ตั้งใจเรียน และโปรดจำไว้ด้วยว่าความไม่ตั้งใจเรียนจะมีผลเป็นอย่างไร ผมว่าหลาย ๆ คนได้ดิบได้ดีมาทุกวันนี้ก็ เพราะเกรงว่าไม่ตั้งใจเรียนจะถูกจับโบยอีก แต่นั้นก็หลายสิบปีแล้ว จะเดินสวนคุณครูก็ต้องให้เกียรติ และยกมือไหว้อย่างไทยเป็นความเคยชินเลยหละ ไม่ทำก็จะเป็นแกะดำของโรงเรียน
วันนี้ จากข่าวช่อง 3 โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้อ้างอิงว่านายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) – The Global Competitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม “เวทีเศรษฐกิจโลก” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้มีการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งปรากฏว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับรั้งท้าย ซึ่งไม่รวมประเทศลาวกับประเทศพม่า
http://www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2012-13.pdf
มีผลการจัดอันดับ ดังนี้
อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์
อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย
อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
อันดับ 4 ประเทศฟิลิปปินส์
อันดับ 5 ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับ 6 ประเทศกัมพูชา
อันดับ 7 ประเทศเวียดนาม
อันดับ 8 ประเทศไทย
แต่ผู้นำด้านการศึกษา ให้ข้อสังเกตว่าเราน่าจะอยู่ราวอันดับ 5 เพราะระดับโลกเราก็อยู่ระดับกลาง ไม่น่ารั้งท้าย คงต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ESTNNRGd4TVE9PQ==
แล้ว นายภาวิช กล่าวทิ้งท้ายว่า ข้อมูลนี้ถือว่าน่าตกใจ เพราะอันดับของเราต่ำมาก แต่เมื่อเทียบในอันดับโลกเรายังอยู่ในระดับกลาง ๆ ดังนั้นจึงต้องไปวิเคราะห์ให้ชัดเจนอีกทีว่า เกิดจากสาเหตุใด แต่คงต้องมีการปรับการศึกษาไทยขนานใหญ่ทั้งระบบ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญ คือ ต้องดูการจัดการศึกษาไทยในภาพรวมว่า ได้มาตรฐานโลกหรือไม่ และถ้าดูจากผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า เด็กไทยคิดไม่เป็น หากเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ การปฏิรูปวิธีการเรียนการสอน และปฏิรูปครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา
http://www.nationchannel.com/main/news/social/20130904/378383282/
http://www.youtube.com/watch?v=Ql0AO5UbA6o
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33978&Key=hotnews