น.ศ.เรียนรู้ผ่านการวิจัย

สรุปผลการพัฒนาโจทย์
สรุปผลการพัฒนาโจทย์

9 พ.ย.53 มีคำสำคัญ 2 คำที่ผมนำเสนอใน เวทีพัฒนาโจทย์วิจัยหรือเหลาโจทย์ หลังยกร่างให้กับทีมแล้ว คือ 1) สร้างตัวคูณ และ 2) วิจัยซ้อนวิจัย โดยผู้ร่วมวิจัยเป็นทั้งผู้ถูกสร้าง และผู้สร้าง ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้วิจัย และทำให้นักศึกษาเป็นนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ถ้าในทีมวิจัยรู้ว่างานวิจัยนี้เป็นงานของตนเอง โอกาสประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าในทีมคิดว่างานนี้เป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายของความสำเร็จลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง .. ความยากของการทำงานคือทัศนคติ ที่จะแก้ปัญหาความยาก 4 ข้อที่ผมนำเสนอในเวทีคือ 1) กระบวนการไม่มีรูปแบบชัดเจน 2) ไม่ถูกยอมรับแพร่หลายในแวดวงวิชาการ 3) ทัศนคติทำให้เข้าใจยาก 4) โครงสร้างในสถาบันมักไม่เอื้ออย่างชัดเจน .. ปัจจุบันมีผู้ร่วมทีมแล้ว 8 คน .. เพราะข้อเสนอหนึ่งจากในวางทำให้ผมต้องใช้หลักการเป็นตัวแทน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการทิ้งงานของนักวิจัย ซึ่งเป็นหลักที่มีการพูดคุยกันในการวิจัยเพื่อท้องถิ่นบ่อยครั้ง การเพิ่มจำนวนจึงลดความเสี่ยงในการเสียทีมไประหว่างการทำงาน .. ขณะนี้รองหัวหน้าโครงการคือ อ.ธวัชชัย เข้าใจแล้วว่าเขาเป็นเจ้าของโครงการ และอาสาช่วยยกร่าง ส่วนเหรัญญิกผมทาบอ.อ้อมไว้แล้ว .. มีหลักสูตร และชั้นปีที่เข้ามาในชุมชนหลากหลายแล้ว เหลือที่ควรทาบทามอีก 2 – 3 คน

ผมชอบมองหาหลุมทราย และบ่อน้ำในการตีกอล์ฟ เพื่อหาทางหลบให้ไปถึงหลุม .. นี่ผมคิดอย่างคนไม่ตีกอล์ฟครับ
http://www.facebook.com/album.php?aid=252858&id=814248894

จัดกลุ่มนักศึกษาเปิดภาคใหม่

moodle
moodle

26 ต.ค.53 แจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนนักศึกษาด้วย e-learning ผ่าน moodle หรือ http://class.yonok.ac.th/ อย่าลืมเพิ่มกลุ่มเรียนสำหรับนักศึกษากลุ่มใหม่นะครับ โดยปรับวันที่ของวิชา ปรับตัวเลือก ก็จะทำให้นักศึกษาสื่อสารกันผ่านกลุ่มของตนเอง และการรายงานคะแนนสอบก็แยกกลุ่มชัดเจน ไม่สับสนครับ .. อันนี้ อ.แหม่มท่านใช้งาน เพื่อจัดสอบก่อนเข้าเรียนครับ

เขาคนเดียวใช้ bandwidth 90%

block student
block student

16 ก.ย.53 หลังจากปลดนโยบายจำกัด bandwidth แล้ววันนี้คุณตุ้ยทำการ monitor ระบบ แล้วพบว่า มีนักศึกษาคนหนึ่ง ครอบครอง bandwidth 90% ของระบบ เป็นเหตุให้สมาชิกทั้งหมด เข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้ช้ามาก จึงตัดสินใจหยุดบริการสมาชิกคนนั้น เพราะจะให้มาคุยกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับการกระทำที่เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์

ในทันทีที่ระบบเข้าสู่สภาวะปกติก็มีคุณอภิสิทธิ์ เข้ามาครอบครอง bandwidth 90% ของระบบ ซึ่งเราทำอะไรไม่ได้ต้องปล่อยไป เพราะเข้ามีความรู้เป็นอาวุธ แต่รู้ทั้งรู้ก็ยังทำ อันนี้ต้องปล่อยไป ปล่อยให้ทุกคนเดือนร้อน และบ่นว่าเน็ตช้ากันต่อไป ถ้ามีใครเป็นผู้มีอภิสิทธิ์อยู่ในเครือข่ายหลายคน ก็คงไม่มีเครือข่ายใดรองรับความต้องการที่ขาดวิจารณญาณเช่นนั้นได้ .. คิดอีกแบบผมว่าเป็นเรื่องปกตินะครับกับคำว่ามนุษย์ .. เพราะไม่เกินจินตนาการจากประสบการณ์ที่เห็นมนุษย์ในหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์มานักต่อนัก

รวมงานหนังสั้นของนักศึกษา comp 100

6 ส.ค.53 รวมงานหนังสั้นของนักศึกษาในวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้อง ต้น ในภาคเรียนที่ 1/2553 จำนวน 19 เรื่อง นักศึกษาร่วมกันจัดทำสื่อวีดีโอ เพื่อฝึกปฏิบัติ โดยใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอเพื่อใช้ในการนำเสนอด้วย Powerpoint
1) โยนกของเรา น.ศ.บัญชี (531:c100:11) ประกอบด้วย นางสาวสงกรานต์ สมทิพย์ นางสาวโศรดา ทองคำ เป็นการนำเสนออาคารในมหาวิทยาลัย และภาพกิจกรรมน่าประทับใจ ผ่าน 2 สาวคู่ขวัญสาขาบัญชี http://www.youtube.com/watch?v=6c_2XCknHTA
2) แนะนำมหาวิทยาลัยโยนก น.ศ.นิติ (531:c100:12) ประกอบด้วย นายธีรพันธุ์ ทองสกุล นายชัยวัฒน์ มีมานะ นายปฐมพงษ์ กาลรา เป็นการนำเสนอด้วยการพาเดินชมสถานที่น่าประทับใจในมหาวิทยาลัยแบบ 2 หนุ่ม 2 มุมสาขานิติ http://www.youtube.com/watch?v=wu3ZYR_GjO8
3) หมาเห่าเครื่องบิน (531:c100:13) ประกอบด้วย นางสาวชณัฐดา ไยธาวุฒิ นางสาวชนัดดา เปรมสุขดี นายภาสกรณ์ จันทรัตน์ เป็นการนำเสนอละครชีวิตรักของนักศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเราคือตัวเราเป็น สิ่งที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือสวมหน้ากากเข้าหากัน เพื่อใคร http://www.youtube.com/watch?v=ExgI1Qq0a_I
4) แนะนำมหาวิทยาลัยโยนก (531:c100:14) ประกอบด้วย นางสาววิลาวัณย์ ขันนาแล นายสักกรินทร์ หลวงพันเทา นางสาวจิราพรณ์ วงษ์จักร เป็นการนำเสนอภาพกิจกรรมในมหาวิทยาลัยในทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง http://www.youtube.com/watch?v=9zYatPJu67U
5) YONOK TOP 5 (531:c100:21) ประกอบด้วย นายสุทธินนท์ พรมพา นายไวภพ ตุ้ยน้อย นายสราวุธ จันต๊ะวงศ์ นายเสฏฐวุฒิ ออนตะไคร้ เป็นการนำเสนอกลุ่มภาพสวย 5 อันดับแรก โดยการคัดเลือกของทีมงาน http://www.youtube.com/watch?v=6o8yntsKSZo
6) ชีวิตเด็กหอ (531:c100:22) ประกอบด้วย นางสาวเบญจวรรณ ขันแก้ว นางสาวนิจรินทร์ ปิ่นฝั้น นางสาวภควรรณ กีรติภูษณ นายภูริวัฒน์ ทิพรศ เป็นการนำเสนอชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยผ่านมุมมองของเด็กหอโยนกด้วยกัน http://www.youtube.com/watch?v=s6RiKzqbJTY
7) YONOK Unseen (531:c100:23) ประกอบด้วย นายชัชวาลย์ มลเทียร นายธนธัช แจ่มแจ้ง นายเบญจมินทร์ ยศปัญญา นางสาวพัชรี โชครวย เป็นการนำเสนอภาพธรรมชาติแสนสวย โดยเฉพาะผีเสื้อกับดอกไม้ http://www.youtube.com/watch?v=6b53ggGEg-M
8) วัดศรีชุม (531:c100:31) ประกอบด้วย นางสาวปวีนาถ เครือลาว นางสาววิลาวัลย์ มะโนแสน นายเชาวฤทธิ์ พรพรรณทิวา นางสาวอริศรา จิระ เป็นการนำเสนอวัดศรีชุม โดยใช้กล้องถ่ายวีดีโอจากโทรศัพท์มือถือ http://www.youtube.com/watch?v=tMftLD8D0GQ
9) Sport in University (531:c100:33) ประกอบด้วย นายเอนก อัครนันท์ นางสาวมัทณี สอนเสือ นายวาที ศรีมูล นางสาวพิมพ์พิศสมัย ทรัพย์แตง เป็นการนำเสนอการเล่นกีฬาที่หลากหลายอย่างมีความสุข มีนักแสดงรับเชิญเพียบครับ http://www.youtube.com/watch?v=4SJTjNVGfp4
10) วัดเจดีย์ซาวหลัง (531:c100:34) ประกอบด้วย นายธนกร พรวรรณพงศา นางสาวอริสา ยืนหมั้น นางสาวธัญญาภรณ์ ภักดี นางสาวสุรีย์ฉาย ปามาใจ เป็นการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง คือ วัดเจดีย์ซาวหลัง โดยใช้มือถือ Nokia 5530 เป็นอุปกรณ์บันทึกวีดีโอ http://www.youtube.com/watch?v=JTn2dwB_s1U
11) หอพักห้อง 2202 ทับ 1 (531:c100:35) ประกอบด้วย นายรุ่งโรจน์ เมตตะธำรงค์ นายนิมิตร จันทราช นายปรัชญา มาวงค์วัน เป็นละครชีวิตนักศึกษาชายในอีกมุมหนึ่งของหอพักในประเทศไทย อยู่กันอย่างมีความสุขตามประสาชายโสด http://www.youtube.com/watch?v=GeKuCRTOBt8
12) แนะนำมหาวิทยาลัยโยนก (531:c100:36) ประกอบด้วย นางสาวสุชาวดี ยวงแก้ว นางสาวเรศรินญา สมรภูมิ นางสาวดลพร แพงกระโทก เป็นการนำเสนอมหาวิทยาลัยโยนกผ่านมุมมองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในชื่อกลุ่ม Freshy Girls http://www.youtube.com/watch?v=kwKTS7IwibA
13) เพื่อน มิตรภาพ ความรัก (531:c100:37) ประกอบด้วย นางสาวลลิตา ด่านคุ่ม นางสาวเบญจมาศ ตันวงศ์ นางสาวเมธานันท์ ทับประทุม นางสาวอรวรรณ ผิวผ่อง เป็นละครชีวิตที่แสดงถึงความไม่ยั่งยืน ได้มาก็ต้องเสียไป เป็นบทเรียนชีวิตว่าผู้ชายไว้ใจไม่ได้ http://www.youtube.com/watch?v=U3xDaK0XEcM
14) ภาพดีดีที่โยนก (531:c100:41) ประกอบด้วย นายสุรพล นครชัย นางสาวจุฑามาส ฤทธิ์เจริญ นางสาวอภิญญา ต๊ะนางอย เป็นการนำเสนอภาพสวย ๆ ในมหาวิทยาลัยโยนก http://www.youtube.com/watch?v=q8684u-7Tj4
15) เพื่อน (531:c100:42) ประกอบด้วย นางสาวศิรินาถ กงซุย นางสาวปทุมพร กงซุย นางสาวมัชรียะ ยูโซ๊ะ เป็นการนำเสนอสไลด์ภาพถ่ายเกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างเพื่อนที่สวยงาม http://www.youtube.com/watch?v=8wD-s6fMRew
16) รถไฟฟ้ามาหาโยนก (531:c100:43) ประกอบด้วย นางสาวศิริพร แก่นคำ นางสาวสุวาธิณี ศรีสอน นางสาวจันทร์เพ็ญ สุทธิพันธ์ นางสาววราภรณ์ ภูคำอ้าย เป็นการนำเสนอละครชีวิตที่ไม่สมหวัง และผิดคาดจากที่ตั้งไว้ของเด็กสาวหอพัก http://www.youtube.com/watch?v=VEkgy-_ZegM
17) มีความรู้สึก (531:c100:44) ประกอบด้วย นายคมสัน ฤทธิแผลง นางสาวอรพรรณ ยนวงศ์ นางสาวสุพัฒรา อินทร์ปั่น เป็นการนำเสนอชีวิตนักศึกษาหอพักทั้งชายและหญิงในมหาวิทยาลัยโยนก http://www.youtube.com/watch?v=GSe6ONhFk7s
18) มนต์รักโยนก ภาค 2 (531:c100:45) ประกอบด้วย นายภัทรนัย ไชยพรม นางสาวหทัยกาญจน์ กลั่นบิดา นางสาวณัฎฐา ธงทอง เป็นการจำลองภาพชีวิตของนักศึกษา 2 คน ในมหาวิทยาลัยโยนก http://www.youtube.com/watch?v=nvieJo3ldv8
19) CASANOVA ฆ่าก็ตาย (531:c100:46) ประกอบด้วย นายภานุวัฒน์ วิใจคำ นายสุทิน ชูขัน นายกติษิเดช ปาจุวัง เป็นการนำเสนอภาพจำลองชีวิตรักหลายเศร้า เป็นบทเรียนในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ต้องระวังให้มาก http://www.youtube.com/watch?v=HApVsdYA8Xs

สถิติการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาใหม่โยนก

12 ก.ค.53 ผลสำรวจการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (Freshy)  หลังจากนักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งไปแล้วหนึ่งเดือน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาทุกคณะวิชาจำนวน 60 ตัวอย่าง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อศึกษาความเข้าใจในการใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอยท์สำหรับงานนำเสนอ แล้วนำมาปรับกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียน โดยคำถามหนึ่งที่น่าสนใจคือการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานแบบโน๊ตบุ๊ค หรือแบบตั้งโต๊ะ แม้ผลสำรวจนี้จะมีกลุ่มตัวอย่างไม่มากนัก แต่สามารถนำเสนอสถานภาพด้านการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาไทยในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งได้ในเบื้องต้น
     นักศึกษาใหม่ที่เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานร้อยละ 76.67 โดยนักศึกษาในสาขาวิชาด้านคอมพิวเตอร์มีร้อยละ 80 ซึ่งไม่แตกต่างกันนัก แสดงให้เห็นว่าค่านิยมในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาใหม่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์เท่านั้น เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จะพบว่าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค (Notebook) ร้อยละ 71.74 และแบบตั้งโต๊ะ (Desktop) ร้อยละ 28.26 ซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับยอดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือมียอดขายแบบโน๊ตบุ๊กจะสูงกว่าแบบตั้งโต๊ะ
     เมื่อพิจารณาความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม PowerPoint ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบว่านักศึกษามีความรู้ในการใช้งานโปรแกรมนี้มาก่อนเข้าศึกษามีอยู่เพียงร้อยละ 35 แต่ปัจจุบันมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาหลายแห่งสอนการใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย ทั้ง Word , Excel , PowerPoint จนถึงการตัดต่อวีดีโอ บางโรงเรียนมีการแข่งขันสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จึงแสดงให้เห็นว่ามิใช่ทุกโรงเรียนที่จะมีมาตรฐานการศึกษาในทิศทางเดียวกันที่จะสนับสนุนให้นักเรียนได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึงและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แล้วพบว่าผู้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมิได้มีความรู้เรื่อง PowerPoint มากกว่าผู้ที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แสดงว่าแม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในครอบครองแล้ว นักศึกษาใหม่ก็มิได้ใช้ศึกษาการงานโปรแกรมนี้ จึงเป็นคำถามว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักศึกษามีใช้งานนั้น ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของตนอย่างไร
+ http://www.thaiall.com/office/eval_comp100_531.xls

ระบบปฏิทินกิจกรรมแบบได้นก 2 ตัว

ปฎิทินที่ใช้งานใน มูเดิ้ล
ปฎิทินที่ใช้งานใน มูเดิ้ล

24 ธ.ค.52 ระบบปฏิทินกิจกรรมที่ใช้ร่วมกันทั้งองค์กรก็เป็นแบบหนึ่ง คือ ทุกคน 1 ระบบ แต่แบบอื่นก็มี เช่น 1 คน 1 ระบบ หรือ 1 หน่วยงาน 1 ระบบ หรือ 1 คนหลายระบบ หรือ 1 หน่วยงานหลายระบบ คนในสำนักไอทีเคยใช้แบบ 1 คนหลายระบบมาแล้ว พบว่าปัญหาคือใช้กันคนละแบบจะดูของใครก็ต้องเปลี่ยนระบบให้ตรงกับคนนั้น อย่างบริการของ gmail.com hotmail.com yahoo.com หรือ yonok.ac.th แล้วก็ล้มไปในที่สุด คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ คุณอรรถชัย เตชะสาย หรือคุณอนุชิต ยอดใจยา ให้ข้อมูลได้ เพราะใช้งานแต่ละทีไม่รู้จะใช้ระบบใด มีกันอยู่หลายระบบ ก็เพราะขาดการรวมศูนย์ เหมือนจับปูใส่กระโด้ง
     ถ้าใครจะนำระบบปฏิทินกิจกรรมมาใช้ ก็ใช้ระบบนี้ได้เพราะมีมาแล้วหลายปี ขาดแต่ผู้ใช้ คือ http://class.yonok.ac.th ที่มีบริการให้อาจารย์สามารถเขียนกิจกรรมของเว็บไซต์ประกาศให้ทุกคน หรือนักศึกษาได้ทราบ หรือจะบันทึกกิจกรรมของตนเอง ไว้ดูคนเดียวก็สามารถทำได้ จากภาพจะเห็น 3 ส่วนคือ 1) เมื่อเข้าสู่ระบบและเข้าปฏิทินของมูเดิ้ลจะสร้างกิจกรรมใหม่ได้ 2) การสร้างกิจกรรมเลือกระหว่าง กิจกรรมของสมาชิก หรือกิจกรรมของเว็บไซต์ 3) ผลคือกิจกรรมของสมาชิก จะไม่แสดงผลเมื่อสมาชิกท่านอื่นเข้าสู่ระบบ แต่กิจกรรมของเว็บไซต์จะเห็นกันทุกคน ระบบนี้ใช้งานทั้งมหาวิทยาลัย เพราะเป็นเงื่อนไขในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย จุดเด่นคือเร็วที่สุด