การ rename database ใน mysql

rename mysql database
rename mysql database

มีเพื่อนถามถึงการ rename database ใน mysql
ลองเข้าไปดูพบว่ามีคำสั่ง rename database อยู่จริง
พบว่าถูกเพิ่มเข้าไปในรุ่น 5.1.7 แต่ถูกลบออกในรุ่น 5.1.23
หากเรียกใช้ไม่ได้ ก็แสดงว่าคำสั่งใช้ไม่ได้ในรุ่นที่ท่านใช้อยู่
ถ้าต้องการ rename database มีคำแนะนำ 2 วิธี
1. ใช้ phpmyadmin คลิ๊กที่ database นั้น แล้วเลือก operations
มองหา Rename database to: แล้วกรอกชื่อใหม่ แล้วกดปุ่ม Go
2. ใช้ mysql command line
หากมี database ชื่อ test1 และต้องการเปลี่ยนเป็น test2
สามารถทำได้ดังนี้

>show databases;
>create database test2;
>use test1;
>show tables;
>rename table test1.a to test2.a;
>drop database test1;

ก็เป็นอันเรียบร้อย
https://dev.mysql.com/doc/refman/5.1/en/rename-database.html

เริ่มต้นกับ jquery

jquery
jquery

23 มี.ค.57 มีโอกาสได้ทดสอบ code ของ jquery ใน 2 รูปแบบ
คือ 1) การใช้ fieldset + legend สร้าง frame ที่สวยงาม
และ 2) การควบคุมวัตถุในการแสดงข้อความแบบต่าง ๆ
อันที่จริง jquery มีความสามารถที่หลากหลาย มากมาย
หนึ่งในบริการที่ผมใช้อยู่คือการดึง googlemap เชื่อมกับ mysql

แต่ที่สนใจขึ้นมา
เพราะนักศึกษา ไวภพ ตุ้ยน้อย นำเสนอโครงงานระบบ อ.ที่ปรึกษา
และนำเสนอ frame ที่มีข้อความกำกับเฟรมอย่างสวยงาม
สอบถามว่าใช้ html หรือใช้อะไร ก็ได้ความว่าใช้ jquery
เพราะถ้าเป็นผมเขียนก็คงใช้ layer ด้วย div
แล้วคุมการกำหนดตำแหน่ง
และใช้ table ธรรมดาให้ข้อความไปทับตารางด้านบน
http://www.thaiall.com/jquery

ประเด็นปัญหาที่มักพบกับ jquery
คือแสดงผลแตกต่างกันในแต่ละ browser
โดยเฉพาะ IE=Internet explorer
จะแสดงผลไม่ตรงกับที่พบใน firefox หรือ chrome
นั่นเป็นข้อพึงระวังในการใช้ jquery

div tag is in HTML 3.2
http://reference.sitepoint.com/html/div

fieldset + legend is in HTML 4.0
http://reference.sitepoint.com/html/fieldset

เปรียบเทียบเนื้อข้อมูลของ UTF-8 กับ Unicode หรือ UTF-16

เปรียบเทียบ utf8 utf16 และ unicode
เปรียบเทียบ utf8 utf16 และ unicode

ปกติผมจะเรียกว่าประเภทตัวอักษรแบบ Unicode
แต่ใน Firefox และ Chrome เรียกว่า UTF-16
ในบราวเซอร์รุ่นใหม่จะรู้อัตโนมัติว่าเป็นแฟ้มข้อมูลแบบใด เพื่อการแสดงผล

UTF-8
UTF-8 เป็นมาตรฐานของตัวอักษร มี Character table ที่กำหนดอย่างชัดเจน
หากสร้างแฟ้มแบบ UTF-8 ที่มีตัวอักษร 3 ตัวคือ “กขค” จะใช้พื้นที่ทั้งหมด 12 bytes
โดยใช้พื้นที่เก็บข้อมูลตัวอักษรละ 3 bytes และส่วน header คงที่อีก 3 bytes
เมื่อใช้โปรแกรม editplus ที่กำหนด encoding type เป็น UTF-8 แล้วสร้างแฟ้ม พบว่า

กอไก่ คือ E0 B8 81 ฐาน 16
ขอไข่ คือ E0 B8 82 ฐาน 16
คอควาย คือ  E0 B8 84 ฐาน 16
โดย 3 Bytes แรกของแฟ้ม คือ EF BB BF ฐาน 16

แต่ตัวเลขในแฟ้มประเภท UTF-8 จะใช้ค่าตามตาราง ASCII เหมือนเดิม
แต่อักษร 3 bytes แรกก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
เมื่อสร้างแฟ้มที่มี “012” ก็จะได้แฟ้มขนาด 6 Bytes
ซึ่งมาตรฐานนี้กำหนดว่าภาษาไทยอยู่ระหว่าง 0xe0 0xb8 0x80 ถึง 0xe0 0xb9 0xbf
แต่ถ้าเป็นมาตรฐาน unicode หรือ UTF-16 จะอยู่ระหว่าง U+0E00 ถึง U+0E7F

UTF-16
หากกำหนดประเภทแฟ้มเป็น unicode หรือ UTF-16 แล้ว save as ข้อมูล “กขค”
จะใช้พื้นที่ขนาด 8 bytes พบว่า

กอไก่ คือ 01 0E ฐาน 16
ขอไข่ คือ 02 0E ฐาน 16
คอควาย คือ  04 0E ฐาน 16
โดย 2 bytes แรก คือ FF FE ฐาน 16

แต่ถ้าเป็นตัวเลข “012” ก็จะมีขนาดเท่ากับ “กขค” ที่ใช้พื้นที่ 8 bytes
โดย 2 bytes แรกเหมือนเดิม แต่ข้อมูลคือ 30 00 31 00 32 00
ซึ่ง unicode จะมีขนาดแฟ้มแน่นอน คือ ตัวอักษรละ 2 bytes
เมื่อรวมกับ header อีก 2 bytes ก็จะรู้ว่าแฟ้มนี้มีกี่ตัวอักษร
เช่น “ก0ข1ค2” จะมีขนาด 14 bytes

ขนาดแฟ้มที่แตกต่าง
เมื่อพิจารณาดูความต่างของขนาดแฟ้มจะพบว่า
ประเภท UTF-8 จะมีขนาดแฟ้มแปรผัน
ตามลักษณะของข้อมูล โดยตัวเลขใช้ 1 byte แต่ตัวอักษรใช้ 3 bytes
เช่น  “ก0ข1ค2” จะมีขนาด 15 bytes
เพราะ กขค ใช้พื้นที่ 9 bytes และ 012 ใช้พื้นที่ 3 bytes
รวม header 3 bytes ก็จะเป็น 15 bytes

ผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากการประเมิน .. ออกแล้ว

วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก
วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก

13 ธ.ค.52 วันนี้ช่วงกลางวันมีภารกิจวิพากษ์แผนพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งวัน โดยมี อ.วิเชพ ใจบุญ เป็นผู้ดำเนินการ และมี อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ เมื่อกลับบ้านก็หายจากอาการทอนซิลอักเสบพอดี จึงนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน ที่เกิดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคม 2552 ที่มาจากผู้ประเมินภายในของแต่ละคณะ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินตนเอง และผลการประเมินของผู้ประเมิน ระหว่างปีการศึกษา 2550 และ 2551 ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนสูงเกินกว่าที่คาดไว้มาก ทำใจเขียนส่วนอภิปรายผล หรือสรุปผลต่อไม่ได้ และคิดว่าคืนนี้ผมคงมีเรื่องอะไรให้นอนคิดมากมายกว่าทุกวัน
     ตารางที่ 1 จำแนกตามจำนวนคะแนนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนจากผลต่างการประเมินตนเองและของผู้ประเมินในปีการศึกษา 2551 พบว่า ผลรวมจำนวนตัวบ่งชี้จากทุกคณะ ที่ผลประเมินตนเองตรงกับผลของผู้ประเมินมีเพียง 58.55% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 1 คะแนนมี 22.22% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 2 คะแนนมี 14.96% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 3 คะแนนมี 4.27% ซึ่งผลในตารางที่ 1 ไม่เห็นอะไรที่ชัดเจนนัก นอกจากตกใจที่เห็นผลประเมินเกือบครึ่งหนึ่งมีความคลาดเคลื่อน และพบว่าคณะของผมมีจำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ 20 ตัวบ่งชี้ แต่คณะบริหารคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ 10 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 2 จำแนกตามจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า ไม่มีคณะใดเลยที่มีความคลาดเคลื่อนลดลงจากปี 2550 ทั้งที่ได้มีการนำเสนอรายงานความคลาดเคลื่อนไปใน การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 22 /2552 วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2552 วาระ 4.3 โดยมีตัวแทนนักวิจัยร่วมประชุมครั้งนี้ 4 ท่านได้แก่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.คนึงสุข นันทชมภู โดย อ.วันชาติ นภาศรี เป็นตัวแทนทีมวิจัยจัดทำข้อเสนอแนะไว้ในรายงานจำนวน 3 ข้อ คือ 1)เร่งพัฒนาศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน การบริการวิชาการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการวิจัย 2)กำหนดนิยามปฏิบัติการในรายตัวบ่งชี้ที่ยังมีความสับสน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3)จัดทำคำอธิบายว่าตัวบ่งชี้ใดใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกคน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลับมาหาสิ่งที่พบในตารางที่ 2 คือ คณะของผมติดอันดับหนึ่งในการที่มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 15 ตัวบ่งชี้ ส่วนคณะที่จำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดมีคณะบริหารกับคณะสังคม คือ 1 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 3 จำแนกตามคะแนนที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า คณะของผมยังเป็นเบอร์ 1 คือ คะแนนคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นอีก 22 คะแนน โดยคณะสังคมคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ 3 คะแนน รองลงมาคือคณะบริหาร 5 คะแนน ทั้ง 3 ตารางนี้ได้เปรียบเทียบในระดับคณะ ยังไม่เปรียบเทียบในระดับตัวบ่งชี้ ว่าองค์ประกอบใด หรือตัวบ่งชี้ใด มีความผิดปกติบ้าง แต่เท่าที่คาดการณ์ก็เชื่อได้ว่าความคลาดเคลื่อนกระจายอยู่ในทุกตัวบ่งชี้อย่างแน่นอน แต่จะมีตัวใดสูงเป็นพิเศษคงต้องใช้เวลาทำ pivot table อีกครั้ง
     จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ผมมีแผนส่งข้อมูลดิบให้แต่ละคณะและทีมวิจัยได้ตรวจสอบ ก่อนดำเนินการเขียนรายงานสรุปผล และอภิปรายผลรายงานการวิจัยต่อไป ซึ่งส่วนของการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนเป็นเพียงผลการวิจัยที่เพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์หลัก แต่นี่คืองานวิจัยสถาบันที่พบว่าระหว่างการวิจัยได้พบประเด็นที่จะเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยได้ และสนับสนุนให้การดำเนินงานวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการค้นหาเป็นหลัก คือความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนและความพึงพอใจสอดคล้องกัน คือ ระดับความพึงพอใจเป็นไปในทางเดียวกับความคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลย และจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปไม่ได้
+ http://www.yonok.ac.th/sar/nsar51.php