1. กาลครั้งหนึ่ง ราว 7 ปีล่วงมาแล้ว
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการประชุมที่เลี้ยงกาแฟ
ตอนนั้นผมยังไม่เรียกว่า KM (การจัดการความรู้)
เห็นทำกันทั้งภายในองค์กร และนอกองค์กร
หัวหน้าจะชวนลูกน้อง มาดื่มกาแฟกับปลาท่องโก๋ช่วงเช้า ๆ
มากันก่อน 8.00น. เลยหละครับ
ทุกครั้ง เพราะนัดหมายคือก่อนเข้าทำงาน มีขนม นมเนยเลี้ยง
ทำให้นึกถึงสภากาแฟของจังหวัด ที่จัดกันเป็นประเพณีก็ว่าได้
ที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ออกมาพูดคุยแลกเปลี่ยน
หัวหน้าท่านบอกว่า informal meeting
2. ก่อนหน้านี้
หน่วยเหนือ ก็จะส่ง ผบ. มาชวนกันพูดคุยแลกเปลี่ยน
แบ่งเป็นกลุ่ม white collar และ blue collar
จัดให้มีการเปิดอกเปิดใจ ถึงขนาดน้องบางท่านระบายความในใจทั้งน้ำตา
แบ่งปันทุกข์ที่อัดอั้นอยู่ แบ่งปันสุขก็มีบ้าง การได้ระบายก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้
เป็นเทคนิคที่ทำกันในหลายองค์กร (เคยเรียนมาว่าที่ญี่ปุ่นเขาทำกัน)
แล้วเราก็มีมาตรการหลายอย่างออกมาทำร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
สืบเนื่องจากการหนุนใจของ ผบ. และเปิดทางของทุกฝ่าย
https://www.pinterest.com/pin/430304939367070195/
3. กรณีศึกษา (อ่านยากหน่อยครับ)
การทำ KM เป็นเรื่องปกติ และควรต้องปกติ เพราะเป็นกิจกรรมหนึ่ง
ในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ องค์ประกอบหนึ่งของคณะและสถาบัน
เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไม่เป็นทางการ
อาจมีชื่อ เช่น ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม ก็แล้วแต่จะเรียก
แล้วผู้ที่เชี่ยวชาญชีวิต หรือ ชช. เพราะเดี๋ยวนี้ สว. ดูจะไม่น่ารักอีกแล้ว
ท่าน ๆ ก็จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน และแบ่งปันประสบการณ์มากมาย
1) งานแบบนี้ สาว ๆ ชช. มักใช้เป็นเวทีเปิดใจ (local share)
แล้วออกมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้
หวังว่าเด็ก ๆ ในเวทีจะได้เรียนรู้ และเตือนสติ
ว่า “ทำให้ ไม่ได้ทำเอา” อย่ายึดติด “ทำเอา ไม่ได้ทำให้”
บางท่านก็เรียกร้องระบบ
บางท่านก็ไม่ชอบระบบที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนเร็ว
บางกรณีก็เปลี่ยนเร็วดุจพลิกฝ่ามือ นั่นก็เร็วไป
2) ชช. บางท่าน อาจมาจากองค์กรระดับชาติ (inter. share)
อาจให้ข้อคิดดี ๆ เช่นหลัก 4 M
ว่าประกอบด้วยผู้ชาย ทรัพยากร จัดการและตัง
เห็นการเชื่อมโยง M&M ได้ชัดเจน
3) หลังจาก ชช. แบ่งปันแล้ว (response)
ดด. (เด็ก ๆ) ก็แลกเปลี่ยนด้วยว่า ระบบ ระเบียบต้องรักษา
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับนั้น ยืดหยุ่นได้เสมอ อย่างห่วงเรื่องกฏ
ถ้าจริงใจ ขึ้นกับเหตุผล ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
4) ทุกเวที มีทั้งบวก และลบคละเคล้า (positive & negative)
เวลาทำงาน บางท่านก็ทำด้วยความภาคภูมิใจ
ชวนกันภูมิใจในงานที่ทำ หนุนใจ ฟังแล้วก็ชื่นใจ
งานมากมายอาศัยทั้งกำลังภายใน และกำลังภายนอก
อาศัยเครือข่าย อาศัยจิตสาธารณะ และบูรณาการ
แล้วเราก็ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน
5) กฎกติกามีเสมอในทุกเวที (rule)
ผู้ใหญ่ใจดีท่านมักจะสร้างความมั่นใจได้ชัดเจน
ฉายภาพให้เห็นความก้าวหน้า ความมั่นคง แสงที่ปลายอุโมง
ระบบและกลไกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็ชัดเจน
ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่มากอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น
6) มีคำถามที่ท้าทายคนทำงานอยู่เสมอ ๆ (challenge question)
ถ้ามีโอกาสได้งานใหม่ที่น่าสนใจ และถูกชักชวนไป จะไปไหม
ก็เชื่อได้ว่า จะมีอะไรอะไรคอยฉุดรั้งไว้ไม่ให้เลือกงานใหม่ที่น่าสนใจได้
เช่น เพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ลักษณะงานที่เห็นความก้าวหน้า
ทำงานใกล้บ้าน รายได้ที่เลี้ยงตัวเองได้ เจ้านายที่รัก
หรือสวย สนุก อบอุ่น สำเร็จ ก้าวหน้า อะไรทำนองนี้
Tag: tea
Tea party
กรณีศึกษา tea party #KnowledgeManagement
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้บุคลากร
ได้มาพบปะ เป็นการละลายพฤติกรรมที่นิยมในหลายองค์กร
แบบ mouth to mouth หรือ mouth ๆ นั่นเอง
องค์กรใดสนใจ หยิบจับไปทำได้นะครับ
นั่งล้อมวงซดกาแฟ ชา และขนมปังกรอบกัน
เจริญ ซื้อโออิชิ เพราะคุณตัน
ยืดเยื้อยาวนานข้ามปี จนได้บทสรุป เปิดแถลงข่าวกันก่อนตรุษจีน สำหรับการขายหุ้น…ของ “ตัน ภาสกรนที” ในบริษัทโออิชิ กรุ๊ป ให้กับบริษัทนครชื่น จำกัด ที่มี “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” และครอบครัวเป็นเจ้าของ และบริษัท Bengena ที่มี Ma Wah Yan นักลงทุนฮ่องกงเป็นเจ้าของ
จาก http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=46635
ทั้ง “ตัน” “ธนิต ธรรมสุคติ” ตัวแทนของครอบครัวสิริวัฒนภักดี และ “อุดมศักดิ์ ชาครีย์วณิช” กรรมการผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของการซื้อกิจการต่างแถลงด้วยรอยยิ้มแบบแย้มริมฝีปากเพียงเล็กน้อย เพราะสิ่งที่เห็นวันนี้เป็นคำตอบที่ย้ำชัดว่าสิ่งที่ปฏิเสธก่อนหน้ากลายเป็นจริง ที่ทั้ง “นครชื่น” และเบียร์ช้าง ภายใต้บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ต่างก็อยู่ในอาณาจักรของ “เสี่ยเจริญ ” มหาเศรษฐีร่ำรวยอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการจัดอันดับประจำปี 2548 ของนิตยสารฟอร์บส์ และเป็นคนไทยคนเดียวที่ติดอันดับทอปเทน
“ตัน” ณ นาทีนี้รับเงินใส่กระเป๋าไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท เขาบอกแผนการใช้เงินก้อนนี้ว่าส่วนหนึ่งไว้ซื้อความสุขสำหรับครอบครัว และลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะไม่มีการนำมาลงทุนผลิตภัณฑ์และสินค้าอื่นใดอีก เพราะเขาพร้อมอย่างเต็มที่ในการเป็นผู้ถือหุ้น แม้เวลานี้จะถืออยู่เพียงประมาณ 10% ในบริษัทเดิมที่เขาก่อตั้งมากับมือ แต่ก็พร้อมกว่า 100% ในการเป็นลูกจ้างให้กับ”เสี่ยเจริญ” ด้วยคำมั่นสัญญาที่ว่า
“แม้จะถือหุ้นน้อยลง แต่ผมก็ยืนยันว่าทำงานให้เต็มที่ ประวัติผมทั้งที่เคยเป็นลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการ ยืนยันว่าไม่เคยทำงานครึ่งราคา”
ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องทำให้สมกับราคาที่ “ตัน” ได้ยินจาก “เสี่ยเจริญ” มาด้วยว่า “โออิชิ ถ้าไม่มีคุณตันบริหารด้วย ให้ฟรียังไม่เอาเลย”
นับจากวันนี้ “ตัน” บอกว่าต้องเรียนรู้ว่าธุรกิจของเสี่ยเจริญมีอะไรบ้างที่จะต่อยอดชาเขียวโออิชิ ด้วยอย่างน้อยก็คาดหวังว่าโรงแรมของเสี่ยเจริญ ก็ควรมีชาเขียวโออิชิเสิร์ฟ ไม่ใช่ใช้ชาเขียวยี่ห้ออื่น โรงงานของกลุ่มไทยเบฟฯก็น่าจะเป็นฐานในการขยายโรงงานชาเขียวได้ หรือช่องทางจำหน่ายในต่างประเทศก็สามารถให้ชาเขียวเข้าไปร่วมใช้ด้วย
แต่ที่แน่ๆ ภายใต้แบรนด์ “โออิชิ” จะแตกแขนงธุรกิจออกไป อีก 3 กลุ่มธุรกิจ เครื่องดื่ม อาหาร และขนม ซึ่งเป็นกลุ่มล่าสุด โดยมี ขนมโออิชิ เซนเบ้ ออกมาชิมลางเป็นสินค้าตัวแรก
“ยืนยันว่าเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้ถือหุ้น ต่อไปโออิชิถือว่ามั่นคงกว่าเดิม และดีกว่าเดิม”
เป็นแผนที่ชัดเจนว่าสามารถต่อยอดธุรกิจชาเขียวให้สดใสได้อย่างแน่นอน โดยจะมีการรับทีมงานเข้ามาดูแล ทั้ง 3 แต่ยังยึดคติเดิม คือ คนน้อยงานมาก
แต่ใช่ว่า “ตัน” ผู้ที่เรียกตัวเองว่า “นักมาร์เก็ตติ้งที่ดี” จะหยุดนิ่งอยู่เพียงเท่านี้ เพราะสิ่งที่คาดเดากันอยู่ว่างานนี้ “เสี่ยเจริญ” ซื้อโออิชิ แถม “ตัน” หรือซื้อ “ตัน” พ่วงโออิชิ แบบแผนซื้อเหล้าพ่วงเบียร์กันแน่ ยังต้องติดตามต่อไป เพราะแม้แต่ “ตัน” เองก็ไม่กล้ายืนยันอนาคตตัวเอง ว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะเปลี่ยนเก้าอี้ไปปลุกปั้นน้ำเมาของไทยเบฟฯที่กำลังเผชิญกับการแข่งขันอย่างเข้มข้นหรือไม่ และกระแสต้านไทยเบฟฯเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯจนต้องไปซบอกตลาดสิงคโปร์แทน
คำตอบ ณ เวลานี้ จาก “ตัน” มีเพียงว่า “ไม่ขอตอบ ตอบได้แต่เพียงว่า ชีวิตนี้อย่าไปรับรองว่าไม่แต่งงาน ตอนนี้เอาใกล้ ๆ ก็พอ”
http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=46635