วันศุกร์ที่ 27 มี.ค.58 (วันที่ในภาพผิดครับ)
คุยให้ใครคนหนึ่งฟ้ง ผู้ฟัง .. หัวเราะหึหึ
ผมบอกว่า พบคนขี้อาย และคนไม่ขี้อาย
สำหรับคนที่ไม่ขี้อายก็เห็นมีแต่พระสงฆ์
ท่านมีวิถีสมถะ ปล่อยวาง สงบเย็น น่าชื่นชม
สมัยนี้คนเราอายกันง่าย .. มี ต.ย. ที่น่าสนใจ
– ใช้โทรศัพท์เก่า ก็อาย ไม่กล้ารับโทรศัพท์ต่อหน้าใคร
– สวมเสื้อผ้าสีไม่เข้ากัน สีไม่สดใส ก็อาย ไม่อยากไปไหน
– หน้าตาไม่ได้ทาแป้ง ก็อาย ไม่กล้าให้ใครเห็นหน้าสด
– ผมหงอก ก็อาย กลัวเขาว่าแก่เฒ่า เห็นเส้นหนึ่งก็ต้องถอน
– ทานเตี๋ยว ก็อาย ไม่กล้าอัพรูป จะอัพอาหารฝรั่ง กับญี่ปุ่น
– ขับรถเก่า ก็อาย ไม่อยากให้ใครเห็น ไปซื้อรถใหม่
ผมว่าเป็นธรรมชาติของคนขี้อายครับ
แต่ทั้งหมดนั่น พระท่านที่ปล่อยวาง พูดว่า “มันเป็นเช่นนั้นแล”
Tag: teach
วีดีโอช่วยสอนเรื่องสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
วีดีโอช่วยสอน
6 ก.พ.56 มีโอกาสนำคลิ๊ปของนักศึกษามารวมเป็น playlist ของ youtube.com ทำให้มีจุดเข้าถึงได้ง่าย และฝากลิงค์ไว้กับโฮมเพจวีดีโอช่วยสอน โดยค้นจาก google.com ด้วยคำว่า “วีดีโอช่วยสอน” แล้วไปหารายการที่ 97.15
สำหรับตอนนี้ เป็นการแนะนำเทคโนโลยี ตอนละ 1 นาทีมีทั้งหมด 13 ตอน จาก 13th warrior เป็นงานชิ้นหนึ่งของนักศึกษาปี 1 ในตอนต้นของวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน นักศึกษากลุ่มนี้อยู่ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ม.เนชั่น
การโต้เถียง (Argument หรือ Debate)
คำว่า argument เป็นคำที่ อ.จอห์น (14 ม.ค.55) ใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านประสบความสำเร็จในการสอน
ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า การสอนที่ทำให้นักศึกษาโต้เถียง (ไม่ใช่โต้ตอบนั้น แบบถามไป ตอบมา) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนให้มีการโต้เถียงอย่างมีประสิทธิภาพก็มีอยู่น้อยมาก ในจำนวนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน (37 วิธี จาก CU-CAS)
เพราะการโต้เถียง (Debate) จะมีประสิทธิภาพควรอยู่ในบรรยากาศแบบ face to face of group และเป็นเวทีที่ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนอย่างเสมอภาค โดยผ่านการอภิปรายให้เหตุผลประกอบที่ชัดเจน ซึ่งประโยชน์มิได้เกิดจากผล แต่เกิดจากกระบวนการเป็นสำคัญ
ซึ่งชัดเจนว่า e-mail หรือ webboard ไม่มีประสิทธิภาพพอกับกิจกรรมการโต้เถียงของกลุ่มได้ และสื่อใด ๆ ที่เป็นแบบ semi-offline communication ก็จะไม่ตอบเรื่องการโต้เถียงได้เช่นกัน