สอนแบบสุจริต ไม่สอนให้ จับเสือมือเปล่า

สมาร์ทโฟนในอดีต ราคาเป็นหมื่นครับ

คุณครูเคยนำข่าวการหลอกขายของดีราคาถูก ที่พบเห็นในสื่อ หรือในชีวิตจริงรอบตัวไปเล่าให้นักเรียนฟังไหมครับ สินค้าก็มีหลายแบบเข้าแนวที่ว่า “ลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนมาก” ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องลงแรง ไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องเสียเหงื่อ แต่ได้ความสุขมาแบบที่โบราณว่า “จับเสือมือเปล่า” ข่าวสองสาวโดนจับข้อหารับเปิดบัญชี กรณีขายโทรศัพท์ให้นักเรียนนำไปใช้เรียนหนังสือออนไลน์ช่วงโควิดระบาด จะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่นักเรียนควรรู้ว่า “ของดีราคามักไม่มีอยู่จริง” อีกตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยมาก ที่เพื่อนของผมก็นำบทเรียนการถูกหลอก ไปเล่าในกลุ่มว่า มีพ่อค้าจะขายของมือสองที่เลิกใช้แล้ว ในราคาต่ำกว่าของมือหนึ่งเยอะ ต้องโอนเงินก่อน แล้วไปรับของ สุดท้ายก็ไม่ได้ของ ตัดการติดต่อและหายไป เสียเวลา ความรู้สึก และเงินทอง

พฤติกรรมที่ไม่สุจริตพบในสื่อได้บ่อยขึ้น เข้าแนวว่าหลอกให้เชื่อแล้วไม่เป็นตามนั้นสำหรับผู้หลงเชื่อ ในระยะแรกพฤติกรรมและข่าวสารที่ได้รับเป็นโอกาส และความหวัง ที่ผู้ให้ความหวังสร้างภาพขึ้นให้มีความสุข แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลังได้โอนทุกอย่างไปแล้ว ทั้งโอกาส และความหวังก็หายไปกับผู้ให้ความหวัง ความสุขก็หายไปพร้อมกับเวลา และทรัพย์สินที่สูญเสีย เปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุจริตในเวลาอันสั้น มีบทเรียนมากมายในอดีต ที่คุณครูสุจริตไทยควรต้องหยิบไปเล่าต่อ เพราะเรื่องราวการหลอกลวงในอดีตอาจเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งระยะนี้ (ก.ย.2564) ปรากฎข่าวหลอกขายโทรศัพท์ให้เด็ก ๆ เพื่อใช้ในการศึกษาออนไลน์ในราคาถูกจนกลายเป็นข่าวเศร้า

#ห้องเรียนแห่งอนาคต
จะสอนให้คุณครู และเด็ก ๆ รู้เท่าทันการใช้สื่อ และผู้คนในสังคม

วีดีโอช่วยสอนเรื่องสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

วีดีโอช่วยสอน (Teaching with VDO)
วีดีโอช่วยสอน (Teaching with VDO)

วีดีโอช่วยสอน

6 ก.พ.56 มีโอกาสนำคลิ๊ปของนักศึกษามารวมเป็น playlist ของ youtube.com ทำให้มีจุดเข้าถึงได้ง่าย และฝากลิงค์ไว้กับโฮมเพจวีดีโอช่วยสอน โดยค้นจาก google.com ด้วยคำว่า “วีดีโอช่วยสอน” แล้วไปหารายการที่ 97.15

สำหรับตอนนี้ เป็นการแนะนำเทคโนโลยี ตอนละ 1 นาทีมีทั้งหมด 13 ตอน จาก 13th warrior เป็นงานชิ้นหนึ่งของนักศึกษาปี 1 ในตอนต้นของวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน นักศึกษากลุ่มนี้อยู่ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ม.เนชั่น

สอนอย่างมีสไตล์…แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น

สอนอย่างมีสไตล์...แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น
สอนอย่างมีสไตล์...แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น

สอนอย่างมีสไตล์…แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น
โดย สุดถนอม  รอดสว่าง (31 มีนาคม 2555)
หากใครถามว่า เทคนิคการสอนที่ดีเป็นอย่างไร คำตอบนั้นอาจมีหลายแนวทาง สำหรับเทคนิคการสอนอีกแนวทางหนึ่งที่ดิฉันมาแบ่งปันในครั้งนี้ ได้มาจากการไปฟังบรรยายพิเศษของคุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น กรุ๊ป และคนต้นแบบของนักสื่อสารมวลชนเมืองไทย เรื่อง “ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์”  ในงานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี 2555  โดยจัดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา การไปร่วมงานในครั้งนี้ นอกจากจะได้ความรู้ มุมมองใหม่ เกี่ยวกับสถานการณ์ที่นักวิชาชีพสื่อมวลชนกำลังเผชิญอยู่ ยังได้เห็นวิธีการบรรยายที่เรียบง่าย แต่น่าติดตาม ซึ่งดิฉันคิดว่าเราสามารถนำมาปรับใช้เป็นเทคนิคการสอนตามแบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น ได้ดังนี้
ประการแรก อาจารย์ต้องทำการบ้าน จากเนื้อหาที่คุณสุทธิชัยพูด สะท้อนให้เห็นว่าได้เตรียมพร้อมในเรื่องที่จะพูดเป็นอย่างดี  มีการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง และตีโจทย์แตกว่า ต้องพูดเรื่องอะไร ประเด็นไหนบ้าง พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบและวิธีการนำเสนอเพื่อให้การบรรยายน่าติดตาม
ประการที่สอง กำหนดวิธีการเล่าเรื่องและลำดับเนื้อหาที่จะพูด  คุณสุทธิชัย เริ่มการบรรยายด้วยการพูดถึงประเด็นปัญหาที่นักวิชาชีพสื่อมวลชนกำลังประสบอยู่ โดยเปรียบปัญหาเทียบเท่ากับ Perfect Storm ที่นักเดินเรือจะบังคับเรือไปข้างหน้าก็ไม่รู้ทาง จะถอยก็ถอยไม่ได้ หากนักวิชาชีพสื่อมวลชนจะออกจาก Perfect Storm นี้ได้ ก็ต้องมีการปรับตัว (Adapt) พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และวางแผนการปฏิบัติงานในอนาคต หลังจากที่อธิบายให้เข้าใจประเด็นปัญหาแล้ว คุณสุทธิชัยได้ตั้งคำถามนำก่อนที่จะอธิบายขยายความ และยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจชัดเจนขึ้น หากไม่กำหนดประเด็น และลำดับเนื้อหา วิธีการเล่าเรื่อง ผู้สอนอาจจะบรรยายวกวน ไม่น่าสนใจได้
นอกจากนี้ ต้องมีลูกเล่น  ดิฉันเชื่อว่าเสน่ห์ของการบรรยายหรือการสอนที่ดีนั้น คือ ลูกเล่นหรืออารมณ์ขันของผู้บรรยาย หากมีเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่ไม่มีลูกเล่นผู้ฟังก็เบื่อได้ ด้วยความเก๋าของอดีตพิธีกรดำเนินรายการข่าวที่มีจุดเด่นด้วยลีลาการสัมภาษณ์อย่างตรงไปตรงมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้การบรรยายมีสีสัน และสะกดผู้ฟังได้ตลอด โดยคุณสุทธิชัยเริ่มบรรยายจากการถามผู้ฟังว่าจะให้บรรยายแบบ twitter หรือบรรยายแบบเล่าข่าว หลังจากนั้นก็ประกาศว่าจะบรรยายพิเศษตามลักษณะของการเล่น twitter ที่พิมพ์ข้อความได้เพียงสั้นๆ แค่ 140 ตัวอักษร และเริ่มต้นบรรยายพร้อมสรุปจบการบรรยายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที ก่อนที่จะมีหน้าม้ายกมือขอให้บรรยายเพิ่ม และเปลี่ยนเป็นการบรรยายแบบเล่าข่าวแทน  อย่างไรก็ตาม ลูกเล่นที่กล่าวถึงนั้น ไม่ใช่แค่เพียงลีลาการพูด คำคม อารมณ์ขันของผู้บรรยายเท่านั้น แต่หมายรวมถึงข้อมูลอ้างอิง รูปภาพ คลิปวีดิโอที่หลากหลาย ซึ่งคุณสุทธิชัยได้นำมาใช้ประกอบการบรรยายอีกด้วย
ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุด ได้แก่ เนื้อหา หากลีลาดี แต่ไม่มีประเด็นที่ใหม่ น่าสนใจ และน่าเชื่อถือแล้ว การบรรยายหรือการสอนนั้นก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
สำหรับเนื้อหาที่คุณสุทธิชัย บรรยายถึงทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ นั้น คุณสุทธิชัยมองว่าเทคโนโลยีเปลี่ยน ดังนั้นเราควรจะต้องมาทบทวน หาแนวทางใหม่ที่จะสอนนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่ ให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานข่าว เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ทันเหตุการณ์ และที่สำคัญสามารถผลิตข่าวที่มีคุณภาพได้  โดยในการกำหนดอนาคตของการเรียนการสอนวารสารศาสตร์นั้น คุณสุทธิชัยเสนอว่า ผู้สอนต้องตอบคำถาม 3 ข้อ ให้ได้ก่อนว่าเราจะ สอนใคร สอนอะไร และสอนทำไม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สอนใคร ในมุมมองของคุณสุทธิชัย หยุ่น คำว่า “สอนใคร” หมายความว่า “เราจะสอนให้เป็นอะไร”  โดยคุณสุทธิชัยได้กำหนดบัญญัติ 5 ประการ สำหรับการเป็นคนข่าวยุคใหม่ ดังนี้
1. เป็นนักวิเคราะห์ข่าวดิจิทัลทุก Platform โดยนักข่าวสามารถหาข้อมูลมาทำข่าว และบรรณาธิกรข่าวได้ทุกแบบไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งสามารถตัดต่อรายการเองได้
2. เป็น Curator ของ Content ทุกรูปแบบ ในกรณีนี้ Curator น่าจะหมายถึงผู้สะสม และเสาะหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการทำข่าว ซึ่งไม่ควรหยุดนิ่ง ต้องแสวงหาข้อมูลใหม่เสมอ โดยใช้ Social Media ในการหาข้อมูล
3. เป็น Julian Assange แห่ง Wikileaks หมายความว่า คนข่าวรุ่นใหม่ ควรเป็นนักเจาะข่าว สามารถล้วงความลับที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ แต่เป็นความลับที่เป็นประโยชน์ เป็น Public Interest ซึ่งในโลกดิจิทัลมีวิธีการเจาะข่าวหลายแบบ นักข่าวต้องรู้วิธีล้วงข้อมูลลับ โดยใช้ Social Media มาช่วยในการทำข่าวและนำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนรู้
4. เป็น Multimedia User หรือ นักสื่อสารกับมวลชนผ่านทุกสื่อ Online สามารถใช้เครื่องมือทุกอย่างทำข่าวได้
5. เป็น Entrepreneur Journalist กล่าวคือ สามารถเป็นเจ้าของสื่อ เนื่องจาก Social Media จะทำให้ระบบนายทุนสื่อหายไป เพราะคนมีช่องทางในการสื่อสารมากขึ้น และสามารถสร้างช่องหรือทำรายการของตนเองผ่าน YouTube โดยผู้เสพสื่อไม่จำเป็นต้องรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อหลัก เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เสมอไป  ดังนั้น โอกาสในการเป็นผู้ประกอบการจึงมีให้กับทุกคน
สอนอะไร ในอนาคตอาจารย์ผู้สอนควรเน้นสอนแนวทาง หรือวิธีการให้นักศึกษาเป็นคนข่าวยุคใหม่ โดยควรสอน ดังนี้
1. สอนความมุ่งมั่นทุ่มเท (Passion) ในการทำงาน เพื่อความยุติธรรม และความเป็นธรรมของสังคม
2. สอนคิดให้เป็น (Critical Thinking) ผู้สอนต้องสอนให้นักศึกษาสามารถแยกแยะเหตุผล โฆษณาชวนเชื่อ และอารมณ์ได้ โดยควรสอนให้คิดวิเคราะห์ ไม่นำอารมณ์มากำหนดว่าอะไรดีหรือเลว
3. สอนเขียนหนังสือให้เป็น (Clear, Focused writing) เพราะถ้านักศึกษาสื่อภาษาไม่ได้ จะรายงานข่าวไม่ได้
4. สอนจริยธรรม (Ethics) ผู้สอนควรสร้างค่านิยมตั้งแต่เริ่มเรียนว่าภารกิจหลักของนักข่าวไม่ใช่แค่วิ่งหาข่าว แต่ต้องทำให้สังคมดีขึ้น ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปแค่ไหน นักข่าวก็จะคงอยู่ได้ถ้าหากมีคุณธรรม
5. สอนทักษะการใช้ New Media ทุกประเภท
6. สอน Short – Form และ Long – Form Journalism โดยเฉพาะการเขียนข่าวแบบ Long – Form Journalism ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ มีเหตุผล มีประเด็น แสดงความคิดเห็น พร้อมหาข้อมูลอ้างอิงประกอบเพื่อให้น่าสนใจ และต้องเขียนได้ทั้งในมิติสั้น ยาว ลึก
7. สอนการใช้ Social Media for Investigative Reporting หรือการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน หากใช้ Social Media เป็น จะสามารถระดมความคิด และข้อมูลจากคนจำนวนมาก (Crowd Sourcing) เพื่อนำมาใช้ในการรายงานข่าวเชิงลึกได้
8. สอนสร้างหนังโดยใช้ Smartphone เนื่องจากปัจจุบัน Smartphone ได้ปลดแอกสื่อแล้ว หากนักข่าวมีโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียวก็สามารถถ่ายคลิป ทำข่าว ตัดต่อและส่งข่าวได้
สอนทำไม คำตอบสั้นๆ ง่ายๆ แต่โดนใจทุกคนก็คือ สอนให้นักศึกษาทุกคนเป็นบุคลากรที่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
ปิดท้ายด้วยคำถามชวนคิด ว่า “แล้วใครจะสอนครู?” แม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปในประเด็นนี้ อย่างน้อยการบรรยายพิเศษครั้งนี้ คุณสุทธิชัย หยุ่น ก็ได้ทำหน้าที่เป็นคนสอนครูตัวเล็กๆ อย่างดิฉัน ให้ Adapt … Not to Die in a Perfect Storm.

การโต้เถียง (Argument หรือ Debate)

คำว่า argument เป็นคำที่ อ.จอห์น (14 ม.ค.55) ใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านประสบความสำเร็จในการสอน
ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า การสอนที่ทำให้นักศึกษาโต้เถียง (ไม่ใช่โต้ตอบนั้น แบบถามไป ตอบมา) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนให้มีการโต้เถียงอย่างมีประสิทธิภาพก็มีอยู่น้อยมาก ในจำนวนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน (37 วิธี จาก CU-CAS)
เพราะการโต้เถียง (Debate) จะมีประสิทธิภาพควรอยู่ในบรรยากาศแบบ face to face of group และเป็นเวทีที่ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนอย่างเสมอภาค โดยผ่านการอภิปรายให้เหตุผลประกอบที่ชัดเจน ซึ่งประโยชน์มิได้เกิดจากผล แต่เกิดจากกระบวนการเป็นสำคัญ
ซึ่งชัดเจนว่า e-mail หรือ webboard ไม่มีประสิทธิภาพพอกับกิจกรรมการโต้เถียงของกลุ่มได้ และสื่อใด ๆ ที่เป็นแบบ semi-offline communication ก็จะไม่ตอบเรื่องการโต้เถียงได้เช่นกัน

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

องค์ประกอบสำคัญ 360 องศา ของรูปแบบการศึกษาที่ดี

คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์

25 มิ.ย.54 ในงานปฐมนิเทศนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ประจำปีการศึกษา 2554 ณ ห้องประชุมใหญ่ วิทยาเขตภาคเหนือโยนก .. คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บรรยายในหัวข้อ “องค์ประกอบสำคัญ 360 องศา ของรูปแบบการศึกษาที่ดี” มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1) องค์ความรู้
(Knowledge / Lectures)
2) การถ่ายทอดความรู้
(How to teach / Teaching Techniques)
3) ผู้รับความรู้
(Students / Learners)
4) ผู้บริหาร (Administrators)

ประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์พิเศษ

mcu schedule
mcu schedule

16 พ.ค.54 ก่อนเปิดภาคการศึกษา มักมีการประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต้องดำเนินการทุกภาคการศึกษา เพื่อตอบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงระบบและกลไก ให้การเปิดภาคการศึกษามีความพร้อม และดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดรับกับนโยบายของสถาบัน

โดยมีวาระการประชุมเป็นการชี้แจงให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบถึงนโยบายการศึกษา ปฏิทินการศึกษา กฎระเบียบ การดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนของหน่วยงานทั้งหมด ซึ่งผู้รับผิดชอบตรงจะทำหน้าที่ให้ข้อมูล อาทิ นโยบายจากผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และหน่วยสนับสนุนที่สำคัญ

มีเอกสารที่อาจารย์ผู้สอนควรพิจารณาทำความเข้าใจก่อนเปิดภาคการศึกษา อาทิ แผนงานของสถาบัน ปฏิทินการศึกษา ตารางบรรยาย มคอ.3 แบบฟอร์ม ข้อมูลสถิติที่ควรทราบ คู่มือ ประกาศ ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

หลักการสอน ของ robert gagne

robert gagne
robert gagne

หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) คือ แนวทางการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหา และจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ มี 9 ประการ
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
เหตุผล : Giving background information creates validity.
The use of multimedia grabs the audience’s attention.
Asking questions in the beginning creates an interactive atmosphere.
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
เหตุผล : Make learners aware of what to expect so that they are aware and prepared to receive information.
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Information)
เหตุผล : When learning something new, accessing prior knowledge is a major factor in the process of acquiring new information.
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
เหตุผล : The goal is information acquisition, therefore, the stimulus employed is written content and the actual software program.
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
เหตุผล : Teacher uses “discovery learning” because learners are adults and it gives them the freedom to explore. Teacher facilitates the learning process by giving hints and cues when needed. Since the audience are teachers with some basic level of technology skills and the software program is easy to follow and understand, guidance is minimal.
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
เหตุผล : Requiring the learner to produce based on what has been taught enables the learner to confirm their learning.
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
เหตุผล : Regular feedback enhances learning.
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
เหตุผล : Independent practice forces students to use what they learned and apply it. Assessing such gives instructors a means of testing student learning outcomes.
9. สรุปและนาไปใช้ (Review and Transfer)
เหตุผล : Applying learning in real-life situations is a step towards Mastery Learning.
http://my-ecoach.com/project.php?id=12152&project_step=28465 ***
http://tip.psychology.org/gagne.html ***
http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/learning/id/nine_step_id.html
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Website_abhichat/Edu_Theory/Edu_gagne.htm
http://www.amazon.com/Conditions-Learning-Theory-Instruction/dp/0030636884/bigdogsbowlofbis/