ทดสอบให้เอไอทำข้อสอบสองข้อติดกัน

อยากรู้ว่าเอไอจะทำข้อสอบสองข้อ
คือ แปลความหมาย และ
เติมคำในช่องว่าง
ในวิชาภาษาอังกฤษระดับประถม
ได้หรือไม่
วันนี้จึงได้ทดสอบความสามารถ
ด้านภาษาอังกฤษของเอไอ
.
เริ่มต้นจากการเตรียมภาพข้อสอบ
ให้มีสองข้อในภาพเดียว
แล้วส่งให้เอไอ Gemini ตอบข้อสอบ
การส่งภาพ
ต้องแนบคำสั่งไปด้วย
ตัวคำสั่งต้องชัดว่าเราต้องการอะไร
.
ถ้าสั่งงานไม่ชัดแล้ว
เอไออาจทำข้อสอบให้ข้อเดียว หรือไม่ทำ
ดังนั้น
ในช่อง “enter a prompt here”,
หรือ ป้อนข้อความแจ้งที่นี่
จึงมีความสำคัญอย่างมาก
ผู้ใช้งานเอไอต้องออกคำสั่งให้ชัดเจน
ว่าจะให้เอไอดำเนินการอย่างไร
.
ผมสั่งไปว่า
Image has 2 questions.
What is the answer?
แล้วเอไอก็ตอบคำถามมา 2 ข้อ
ตอบมาได้ชัดเจน
First question มีคำตอบว่า A. แมว
Second question มีคำตอบว่า C. are
.
สำหรับผมก็มองข้อสอบ
ที่มีระบบในไทยเนมดอทเน็ต
ที่น่าจะส่งให้เอไอได้ลองทำดูได้
แล้วเพื่อน ๆ มีคำถาม
ที่อยากจะถามเอไอว่าอย่างไรกันบ้างครับ

https://vt.tiktok.com/ZSFh5Hwmj/

Testing gemini

#school
#examination
#artificialintellegence
#englishtest
#imageprocessing
#translation
#gemini

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกษในสถาบันอุดมศึกษา
นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกษในสถาบันอุดมศึกษา

หลายสถาบันต่างใช้บริการระบบการเรียนออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน
เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
สอดรับกับที่ สกอ. มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
เมื่อ 12 เมษายน 2559 โดย รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
ประธานกรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ที่กำหนดมาเป็นข้อ ๆ อย่างเป็นระบบ พอสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการยกระดับภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้
2. ให้จัดทำแผนเพื่อดำเนินการตามนโยบาย และเป้าหมาย
3. ให้พิจารณาปรับปรุงการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่เป็นอยู่
4. ให้จัดกิจกรรมนอกหลักสูตร
5. ให้ทดสอบ แล้วนำผลทดสอบออกเป็นใบรับรองว่าอยู่ระดับใด
ให้เริ่มกันตั้งแต่ปีการศึกษา 2559
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/672016736282481/

SPEEXX คือ โปรแกรมเรียนภาษาด้วยตัวเอง
สำหรับนักศึกษา คนทำงาน และผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ
ที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่ตอบสองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างลงตัว
โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและง่ายต่อการใช้งาน
มีบทเรียนในส่วนของไวยากรณ์ คำศัพท์ การออกเสียงและสำเนียงที่ถูกต้อง
รวมไปถึงทักษะความเข้าใจในการอ่านบทความ
http://www.speexx.com
https://www.facebook.com/speexx.thailand/

บริการเรียนออนไลน์ของ SPEEX
นอกจาก Vocabruary และ Grammar และ Reading
ก็ยังมีฟัง (Listening)
 และมีบางบทเรียนที่เทียบเสียงพูด
ควรมีอุปกรณ์ที่จำเป็นคือ หูฟัง โดยเฉพาะการสอบ Placement Test

earphone สำหรับ listening
earphone สำหรับ listening

การแบ่งเนื้อหาของ Speexx แบ่งตามระดับ
ใน CEF (Common European Framework)

CEF : Common European Framework
CEF : Common European Framework

http://inglesenow.blogspot.com/p/common-european-framework.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Common_European_Framework_of_Reference_for_Languages

เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ
เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ใช้บริการ หรือเคยใช้ SPEEXX
มหาวิทยาลัยพะเยา
http://intra.up.ac.th/speexx/index.php?p=4
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
http://www.dpu.ac.th/news/44/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
http://speexx.rmutsb.ac.th/home2015/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
http://speexx.co.th/mut/speexxmobile/
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
http://uruic.uru.ac.th/speexx_user/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
http://www.rmutp.ac.th/speexx/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.library.rmutt.ac.th/?page_id=12049
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://www.lcrru.crru.ac.th/speexx/speexx.html
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
http://speexx.co.th/vru/speexxmobile/
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
http://www.sunandhanews.com/2011-10-14-04-41-27/81-education/1921-2014-02-12-09-06-55.html

สถาบันที่ใช้ Speexx.com ข้อมูลปี 2013
รายชื่อกลุ่มผู้ใช้ในแต่ละสถาบัน
https://www.facebook.com/speexx.thailand/posts/490218924403111
1. มหาวิทยาลัยพะเยา
https://www.facebook.com/groups/639454186065071/
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
https://www.facebook.com/groups/323848411081864/
3. มหาวิทยาลัยนครพนม
https://www.facebook.com/groups/363152973807898/
4. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่
https://www.facebook.com/groups/482602575152823/
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://www.facebook.com/groups/601811029849744/
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://www.facebook.com/groups/647747385253570/
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/groups/510574289008245/
8. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
https://www.facebook.com/groups/540193626036936/
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
https://www.facebook.com/groups/157606047761595/
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
https://www.facebook.com/groups/367641450031926/
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
https://www.facebook.com/groups/164825937042485/
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://www.facebook.com/groups/400160780095565/
13. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
https://www.facebook.com/groups/152114971653378/
14. มหาวิทยาลัยเนชั่น
https://www.facebook.com/groups/684482298366452/

ข้อมูลเพิ่มอื่น ๆ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พัฒนาขึ้นเอง ไม่เกี่ยวกับ speexx.com)
http://onlineenglish.cmu.ac.th
เคล็ดลับการเรียนด้วยตัวเอง กับ speexx
http://www.thaiall.com/blog/burin/7754/

เวอร์ชั่นก่อนพฤษภาคม 2015 เคยเป็น java
เวอร์ชั่นก่อนพฤษภาคม 2015 เคยเป็น java

ทดสอบการทำงานกับแฟ้มขนาด 1 ล้านไบท์

หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ
หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ

ได้มีการเขียนเว็บเพจ และใช้ java script มา 4 เว็บเพจ ทุกเว็บเพจมีขนาด 1 ล้านไบท์เท่ากัน
เพื่อทดสอบการใช้เวลา download ของ script แต่ละเว็บเพจ
ทดสอบใน firefox, chrome และ ie มีประเด็นที่สนใจดังนี้
1. เปิด และปิด script ในเว็บเพจ มีผลอย่างไร
2. การ refresh ของแต่ละ browser เมื่อใช้ no-cache แตกต่างกันหรือไม่

โดยใช้ javascript ในการประมวลผลเวลาของแต่ละหน้า ผลการทดสอบที่น่าสนใจ ดังนี้

การทดสอบที่ 1 พบว่า การส่งค่าผ่าน url จะทำให้ load เว็บเพจทั้งหน้าใหม่
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillion.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6186 millseconds
เมื่อคลิ๊กลิงค์ Reload แบบส่ง get ใหม่ ใช้เวลาไป 9784 milliseconds
แต่ถ้า Refresh ผ่าน browser จะเรียก script เดิมจากใน cache ใช้เวลา 23 milliseconds

การทดสอบที่ 2 พบว่า การทำงานใน script เดียว ตั้งแต่ต้นถึงท้าย script จะใช้เวลาน้อยมาก
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv1.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 4 millseconds ซึ่งไม่ได้สะท้อนเวลาจริง
เมื่อเปลี่ยนเป็น Reload หรือ Refresh แบบใด ก็ใช้เวลาเท่าเดิม
เพราะทั้งเว็บเพจมีคำว่า script คำเดียว ทุกอย่างอยู่ใน script เดียว หรือ thread เดียว
ไม่มีการเปิดปิด tag script หลายครั้ง เป็นการทำงานใน thread เดียวกัน
จึงได้เวลาจากการประมวลผลตั้งแต่ต้น thread ถึงท้าย thread ไม่แตกต่างกันมากนัก

การทดสอบที่ 3 พบว่า เป็นการทดสอบที่ยืนยันผลของการทดสอบที่ 1
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv2.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6077 millseconds
ใช้เทคนิคว่า การเปิด tag script ต้นแฟ้ม และปิดทันที เพื่อบันทึกเวลาเริ่มต้น
แล้วเปิด tag script ท้ายแฟ้ม เพื่อประมวลเวลา และแสดงผล
จะแสดงเวลาที่ใช้ ในการ load เว็บเพจ ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
คือ ใช้เวลาประมาณ 6 วินาที หรือ 6000 millisecond ต่อการ load หนึ่งครั้ง
แต่ถ้าโหลดจากใน cache ของ browser ก็จะใช้เวลาน้อยมาก คือ ไม่กี่ millisecond

การทดสอบที่ 4 พบว่า เป็นการทดสอบโดยเพิ่ม no-cache ที่ header
ว่า <meta http-equiv=”cache-control” content=”no-cache”>
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv3.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 9562 millseconds
ให้ผลเหมือนกับกรณีทดสอบที่ 1 เมื่อทดสอบบน firefox และ chrome
แต่บน ie (internet explorer) 11
การ refresh ของ browser ใช้เวลา 3776 milliseconds หรือประมาณนี้
สรุปว่า ie ยอมรับคุณสมบัติ no-cache ทำให้การ refresh จะ load ข้อมูลมาใหม่ทุกครั้ง
และการ force reload ด้วยการกด Ctrl-F5 สามารถใช้ได้กับทุก browser ที่ทดสอบ

สรุปว่า การเปิดปิด script หลายครั้ง มีผลแตกต่างกับการเปิดครั้งเดียว
การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บเพจ
และคุณสมบัติ no-cache ก็ใช้ได้กับบาง browser เท่านั้น ไม่ควรไว้วางใจ
และการโหลดภาพไม่มีผลต่อเวลาในการโหลดเว็บเพจ เพราะแยกส่วนกันชัดเจน

ทดสอบ Skype june 2554

ทดสอบ skype
ทดสอบ skype

25 มิ.ย.54 หลังติดตั้ง Skype ก็ต้อง Signup แล้ว Signin เมื่อเลิกใช้ก็ Signout ในการ Signup จะขึ้นหัวว่า create a new skype account ผมใช้ชื่อว่า ajarnburin (blog) การสมัครไม่ต้องยืนยันผ่าน e-mail ก็ใช้งานได้ครับ .. สรุปว่าผลการทดสอบสื่อสารระหว่าง Notebook และ PC ไม่มีปัญหา คาดว่าในอนาคตจะสื่อสารในครอบครัวด้วยวิธีนี้ เพราะในอดีตใช้ MSN ทำ Video Call ข้ามจังหวัดแล้วไม่สำเร็จ แต่ทดสอบที่บ้านไม่มีปัญหา เมื่อใดที่ออกต่างจังหวัดก็จะมีปัญหาทุกครั้งไป วันนี้ทดสอบใช้ Video Call ที่บ้าน ระหว่าง PC กับ Notebook ก็เรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาครับ

เริ่มทดสอบก็ค้นหาคนชื่อ thaiall (blog) เมื่อพบก็กดปุ่ม Add contact แล้วก็ Send Request เมื่อกลับเข้าจอหลักของ Skype ก็พบรายชื่อเพื่อนที่เพิ่มใหม่ คลิ๊กชื่อด้านซ้าย แล้วคลิ๊กปุ่ม Call ส่วนเพื่อนที่ได้รับคำร้องขอเป็นเพื่อก็ต้องกดปุ่ม Add to Contact เพื่อรับเป็นเพื่อน .. เมื่อ thaiall ขอติดต่อกับ ajarnburin ผู้รับก็ต้องคลิ๊ก Answer หากต้องการส่ง Video ก็ต้องคลิ๊กที่ภาพ Video บนเมนูบาร์

จุดเด่นของ skype คือทำ video full screen ได้ และเป็นที่นิยมครับ
การทดสอบครั้งแรกที่  http://www.thaiall.com/blog/burin/878/

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ