องค์การโทรศัพท์ หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ที่มา
เพราะผมเองมีคนรู้จักอยู่ TOT ลำปาง หลายท่านเลย
ลูกศิษย์ก็พึ่งไปฝึกงานมาหมาด ๆ
เห็นแชร์ในเฟสด้วย ว่ามีความสุขที่ฝึกงานที่นี่
ทำให้สนใจ TOT เป็นพิเศษ
ดังนั้นได้ค้นข้อมูลมาแบ่งปันไว้ ดังนี้

ภาพโทรศัพท์ phone
ภาพโทรศัพท์ phone

https://www.facebook.com/english.jokes/

TOT เป็นรัฐวิสาหกิจ
ก่อตั้ง 24 กุมภาพันธ์ 2497 เป็น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
และแปลงสภาพเป็น บมจ.ทีโอที เมื่อ 31 กรกฎาคม 2545
ทำหน้าที่ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
http://www.tot.co.th/Corporate/

ประวัติของ TOT
– 2424 โทรศัพท์เข้าประเทศไทย สมัย ร.5 ดูแลโดยกรมกลาโหม ใช้แจ้งข่าวเรือเข้า-ออก
– 2429 โอนกิจการจาก กรมกลาโหม ไป กรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดบริการมีผู้เช่าประมาณ 60 คน
– 2450 ตั้งชุมสายกึ่งอัตโนมัติ ที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ มีพนักงานต่อสายระหว่างผู้เช่า
– 2465 เพิ่มชุมสายโทรศัพท์แห่งที่สอง คือ โทรศัพท์กลางบางรัก รองรับ 900 เลขหมาย
– 2470 วางเคเบิลเชื่อมต่อวัดเลียบ-บางรัก เพิ่มเป็น 1422 เครื่อง
– 2471 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกล เชื่อม กทม. ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม
– 2478 เริ่มใช้ชุมสายระบบ Step by step อุปกรณ์จากอังกฤษ ทำให้หมุนหน้าปัดถึงกันโดยตรง
ได้ติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ 2300 เลขหมาย และโทรศัพท์กลางบางรัก 1200 เลขหมาย
เปิดบริการ 24 กันยายน 2480 และเพิ่มชุมสายเพลินจิต และชุมสายสามเสน
– 2480 ติดตั้งชุมสายอัตโนมัติครั้งแรก เปลี่ยนเป็นแบบหน้าปัดแบบหมุน ใช้เลข 5 ตัว หมุนถึงกันเองได้
– 2497 สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2497 โดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข มีพนักกงาน 732 คน
– 2502 สั่งซื้อชุมสายอัตโนมัติระบบ Cross bar จากสวีเดน ที่ชุมสายชลบุรี 1000 เลขหมาย
– 2503 รับโอนโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกรมโปรษณีย์โทรเลข
ครั้งแรก 10 ชุมสาย จำนวน 1600 เลขหมาย
ครั้งที่สอง 37 ชุมสาย จำนวน 8100 เลขหมาย
– 2507 ติดตั้งชุมสาย Cross bar ในกรุงเทพ
และรับโอนจากทุกภาคมาในความรับผิดชอบครอบคลุมบริการโทรศัพท์ทางไกลทั่วประเทศ
– 2517 เปลี่ยนเลขหมายเป็น 6 หลัก
– 2518 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้พนักงานต่อระหว่างเชียงใหม่-กรุงเทพ
เมื่อ 9.05 วันที่ 1 กันยายน 2518
– 2519 เมื่อ 24 เมษายน เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์ จาก 5 และ 6 ตัว เป็น 7 ตัวในนครหลวง
และในภูมิภาคเปลี่ยนเป็น 6 ตัวทั้งหมด
– 2520 เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม ในเขตนครหลวง
– 2521 ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย (Multi access radio telephone)
บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสถานีฐานนั้น
– 2522 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะ แบบไม่มีผู้ดูแล
– 2523 เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทั่วประเทศ
– 2525 ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก
– 2526 เปิดใช้ระบบ SPC (Stored program control) ที่ชุมสายภูเก็ต และบริการทางไกลไทย-มาเลเซีย
– 2527 ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้เช่าในเขตกรุงเทพฯ
– 2529 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (Nordic mobile telephone) 470 MHz
– 2530 เปิดให้ผู้เช่าสามารถซื้อเครื่องโทรศัพท์ได้เอง
– 2531 เปิดบริการพิเศษ SPC อาทิ ประชุมทางโทรศัพท์ บริการเลขหมายย่อ บริการรับสายซ้อน
และเปิดวงจรเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อไทย-มาเลเซีย
– 2532 เชื่อมเครือข่ายด้วยเคเบิลใยแก้ว และไมโครเวฟ
– 2533 เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบความถี่ 900 MHz และอีกหลายรูปแบบ
– 2534 เปิดสัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (Cardphone) ในเขตนครหลวง
– 2535 เปิดบริการวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ (Trunk mobile radio)
– 2536 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ
– 2537 ทดลองเปิดบริการ วิดีสาร (Videotex)
– 2538 ให้บริการชำระค่าบริการ โดยหักบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ
– 2539 เมื่อ 22 เมษายน เปิดให้บริการโทรศัพท์รหัสส่วนตัว Pin phone 108 ในเขตนครหลวง
– 2540 เปลี่ยนจากระบบ Cross bar ที่เหลือเป็นแบบ SPC (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด
– 2541 เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT Card
มีรายละเอียการพัฒนาในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง ไปหาอ่านกันได้ครับ
http://www.tot.co.th/Corporate/HISTORY.ASPX

ที่บ้านก็ใช้ ADSL ของ TOT
เคยเขียน blog ไว้หลายเรื่องเลย อาทิ
– router:ZTE ที่ TOT ให้ตอนติด FTTx
– เล่าปัญหาลืมรหัสผ่าน adsl router ของ tot
– ทดสอบหลังใช้ @platinumcyber
– ทดสอบ bestcyber ก่อนใช้ platinumcyber
– TOT Wi-Ti ที่ Central Plaza Lampang
http://www.thaiall.com/blog/tag/tot/

router:ZTE ที่ TOT ให้ตอนติด FTTx

FTTx Router ของ TOT ตอนติดตั้ง Fiber Optic
FTTx Router ของ TOT ตอนติดตั้ง Fiber Optic

ได้อุปกรณ์ของ TOT เพิ่มตังนิดนึงเขาติด Fiber optic ให้
วันนี้ 22 พ.ย.58 มีโอกาสเข้าไปดูรายการที่อุปกรณ์ให้บริการ

โดยเข้าผ่าน browser ไปที่ http://192.168.1.1
User: admin Password: admin
1. เมนูหลักมี 6 รายการคือ
Status, Network, Security, Application, Administration และ Help
2. ใน Status พบว่ามี Lan 2 วง
วงแรกคือ Router ของ ZTE
วงที่สองคือ Access Point ของ TenDa Model: A30
3. ได้ IP แบบ Leased ไปเครื่องละเบอร์
พบว่าความสามารถของ Router รุ่นนี้
ทำ Load Balance หรือ Hotspot ไม่ได้
น่าเสียดายครับ

เล่าปัญหาลืมรหัสผ่าน adsl router ของ tot

belkin wireless router
belkin wireless router

3 ก.พ.54 วันนี้ได้อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ ADSL ตัวใหม่มา เป็น Wireless Modem Router ของ Belkin N150 ราคา 990 บาท ซึ่งติดตั้งด้วย CD ไปตามขั้นตอน (just next) แต่ผมจำรหัสที่เชื่อมต่อกับ ADSL ของ TOT ผิด เมื่อเปิดเว็บพบแต่คำว่า http://adslutils.tot.co.th/ failAuth/ แสดงว่าถ้าใช้ user และ password เชื่อมต่อ TOT ผิดก็จะเข้าระบบไม่ได้ แต่ใช้ nslookup ตรวจ host name หรือ ip ได้นะครับ เมื่อผมกำหนด u:054223684@platinumcyber p:054223684 (bestcyber) ก็พบว่าเข้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ปกติ จากนั้นก็เข้า http://192.168.2.1/index.htm เพื่อ config security mode ของ wireless เป็น WAP/WAP2-Personal (PSK) เป็น thaialldotcom และกำหนดรหัสเข้า router ป้องกันใครเข้าไป config โดยไม่ตั้งใจ เป็นอันเสร็จกิจครั้งนี้

.. ปัญหาอีกเรื่องคือ กำหนด Administrator Password แล้ว เข้า net ไม่ได้ .. พอป้อนรหัสกลับเก็บเป็นภาษาไทย .. สงสัย firm ware มีปัญหา .. พอเข้าไม่ได้ก็ reset แล้วไม่กำหนดรหัสครับ ถ้าอนาคตมีปัญหาก็จะ reset ผ่านปุ่มเล็ก ๆ บนตัวเครื่อง (เป็นแผนสอง)

ทดสอบหลังใช้ @platinumcyber

speedtest
speedtest

17 ก.ย.52 ทดสอบความเร็วกับ totisp.net หรือ YONOK ให้ผลไม่ต่างกัน เพราะอยู่ในประเทศไทยเหมือนกัน พบว่า Download เป็น 1512 Kbps และ Upload เป็น 425 Kbps นี่เป็นการทดสอบหลัง Upgrade เป็น @platinumcyber ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าได้ 3 Mbps มีค่าบริการ 590 บาทต่อเดือน แต่ถ้าไม่ได้ให้มาติดต่ออีกครั้งจะเสีย 490 บาทต่อเดือนสำหรับ 2 Mbps ผลทดสอบคาดว่าระยะของบ้านผมอาจไม่อยู่ในรัศมีบริการของ 3 Mbps ก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าห่วง เมื่อก่อนใช้ Modem ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้บนความเร็ว 56 Kbps แล้วนี่ปาไปตั้ง 1500 Kbps ทำไมจะต้องมีปัญหาด้วยนะ ทดสอบอย่าง video.sanook.com หรือ video.mthai.com  หรือ movie.kapook.com ก็เร็วเหมือนดูภาพยนต์เลย เช่น Clip ประเภท HD ก็เปิดได้ปกติ ไม่ประสบปัญหาใดใด แต่ทดสอบกับต่างประเทศ คือ Hongkong พบว่า Download เป็น 60 Kbps และ Upload เป็น 40 Kbps ซึ่งเป็นผลการทดสอบตามปกติ ตั้งแต่ตอนทดสอบกับความเร็ว 1 Mbps ที่ผมมีอยู่เดิม คิดจะแก้ปัญหาด้วยการหา Proxy ซึ่งเป็นช่องทางออกต่างประเทศที่เร็ว ๆ หน่อย ก็หาไม่พบ เพราะคงไม่มีใครใจดียอมให้ใช้เป็นช่องทางออกต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเงื่อนไขใดใดเป็นแน่
+ http://www.totisp.net

ทดสอบ bestcyber ก่อนใช้ platinumcyber

ทดสอบความเร็ว
ทดสอบความเร็ว

15 ก.ย.52 ได้รับจดหมายจาก tot ว่าสามารถ upgrade speed internet ที่บ้าน จาก 1Mbps/512Kbps เป็น 3 Mbps/512Kbps แต่จ่าย 590 บาท เท่าเดิม แต่ถ้าบ้านไม่อยู่ในรัศมี ก็จะลดเหลือ 490 บาทที่ความเร็ว 2Mbps/512Kbps ก่อน upgrade จาก @bestcyber เป็น @platinumcyber โดยมี user และ password เป็นเบอร์บ้าน 9 หลัก จึงใช้ speedtest.net เมื่อวันที่ 15 ก.ย.52 ทดสอบความเร็วก่อนผล การ upgrade จะมีผล คือ 1)ทดสอบความเร็วกับเครื่องบริการ 2 เครื่องในประเทศ ซึ่งผลการทดสอบใกล้เคียงกันพบว่า download 0.88Mbps และ upload 0.43Mbps (Suksonhost.com) 2)การทดสอบกับ Malasia 2 ครั้ง พบว่า Download 50 Kbps และ Upload 80 Kbps (Vdslnetwork.com) 3)การทดสอบกับ DC พบว่า Download 60 Kbps และ Upload 90 Kbps (speedtest.net)