สืบค้นงานวิจัย Fullpaper ฟรี สำหรับคนไทย

คำถาม “จะค้นงานวิจัย
ที่มี fullpaper หรือ abstract ได้จากที่ไหน

ในอดีต มีฐานข้อมูลในแต่ละสถาบัน
ที่เข้าไปสืบค้น แล้วดาวน์โหลด fullpaper หรือ abstract ได้
แต่ปี 2561 ทดสอบค้นในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว
เท่าที่ค้นดู พบว่า ปิดการ download จากภายนอก
เปิดให้ download เฉพาะบุคลากร และนักศึกษาของสถาบัน
แต่มีอีก 3 แหล่งที่ยังเปิดให้ดาวน์โหลดจากภายนอกได้
และมีจำนวนรายงานการวิจัยไม่น้อย
1. ThaiLis เครือข่ายห้องสมุด
2. e-library ของ TRF
3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
จากการทดสอบ ทั้ง 3 แหล่ง มีผลการทดสอบดังนี้

thailis research database
thailis research database

http://dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php

1. ThaiLIS เครือข่ายห้องสมุด
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 2253 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ จงกลนี กิติยานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2559 เรื่อง ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
แฟ้มเดียวมี 144 หน้า

trf research database
trf research database

https://elibrary.trf.or.th/

2. e-library ของ TRF
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 37 + 19 = 56 โครงการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ นงนภัส พันธ์พลกฤต, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ ปี 2558 เรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตจริยธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
แฟ้มเดียวมี 238 หน้า

วช. research database
วช. research database

http://dric.nrct.go.th/index.php

3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 1295 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ ทินกร ชุณหภัทรกุล ปี 2560 เรื่อง การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน 4 ภาค
แฟ้มรวมมี 189 หน้า

 

การวาดภาพเพื่อการสื่อสารและแผนที่มโนทัศน์

การวาดเพื่อการสื่อสาร
การวาดเพื่อการสื่อสาร

17 ก.ค.53 เข้าอบรมการวาดเพื่อการสื่อสาร และ การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (CMAP = Concept mapping) ณ ห้องประชุม 2 กศน.ภาคเหนือ จัดโดยสถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน (Community Learning Process Innovation Institute)ในวันนี้มีหลายกิจกรรมเกิดขึ้นที่พอสรุปได้มีดังนี้ 1) เป้าหมายสี่ส่วน 2) เรียงคำย้อนกลับ 3) สี่วงกลมเป็นภาพ 4) การวาดตัวแทน อารมณ์ แขนขา สถานที่ และเส้น 5)วาดภาพนิยาย 6) แผนที่มโนทัศน์

คุณภัทรา มาน้อย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลักสูตรการวาดเพื่อการสื่อสาร มีองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบไป ด้วย 1) กิจกรรมการสร้างจินตนาการ : โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการทำ งานของสมองซีกขวา โดยการดึงจินตนาการจากจิตใต้สำ นึกผ่านกิจกรรมการวาดวงกลม 4 วงให้สัมพันธ์กันและการฟังเพล งสื่อความหมาย ทั้งนี้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความมั่นใจในการใช้จินตนาการของตนเอง 2) กิจกรรมการฝึกทักษะ/เทคนิค/วิธี การวาดรูป: โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมนำ เทคนิคที่ได้เรียนรู้ไปผนวก กับจินตนาการที่มี ผ่านการเติมทักษะการวาดรูปร่าง หน้าตา อารมณ์ สถานที่ อาชีพ และการใช้เส้น ลูกศร 3) กิจกรรมการฝึกทักษะการสื่อสาร : โดยเน้นหลักการฟัง จับใจความ และการวาดเพื่อการสื่อสาร ผ่านกิจกรรม นิทานสร้างภาพ 4) กิจกรรมการนำแนวคิดการวาดเพื่อ การสื่อสารไปปรับ : โดยเติมเต็มแนวคิดการทำ CMAP (Conceptual Mapping) เช่น แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย แบบช่วงชั้นของความคิด แบบ Flow ของงานก่อนหลัง แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง แบบแผนภาพ และ แบบสามมิติ

การวาดแผนที่มโนทัศน์มีรูปแบบการวาด 6 แบบ ดังนี้ 1) แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย (Spider Concept Map) คล้ายแผนที่ความคิด 2) แบบช่วงชั้นของความคิด ( Hierarchy Concept Map) คล้ายแผนผังองค์กร 3) แบบโฟลของงานก่อนหลัง (Flowchart Concept Map) คล้ายวงจรพีดีซีเอ หรือขั้นตอน 4) แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง (System Concept Map) คล้ายกระบวนการแบบ PDCA เป็นวงจร 5) แบบแผ่นภาพ (Picture Landscape Concept Map) คล้ายแผ่นภาพมาเชื่อมโยงกัน 6) แบบสามมิติ (Multidimensional / 3-D Concept Map) เป็นภาพที่มีมิติทั้ง กว้าง ยาว สูง
และมีภาพในการอบรมของทีมงานเผยแพร่จำนวน 125 ภาพ
+ http://www.thaiall.com/research/manoi530717/
แผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping)
พัฒนาโดย Prof. Joseph D. Novack of Cornell University (1983)
http://www.prachasan.com/cmap/
http://www.prachasan.com/cmap/formcmap.html

การเขียนแผนที่มโนทัศน์เป็นเครื่องมือที่จัดอยู่ในกลุ่มของ
การสร้างภาพความคิด (Visualize Thinking)
ที่ได้รับความนิยม และนำไปใช้ในห้องเรียนต่างประเทศ
มีคำที่คล้ายกันคือ Mind Mapping ซึ่งเป็นการเขียนแผนที่ความคิด

ทั้งสองคำมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน คือ ต่างก็เป็นการถ่ายทอดภาพในใจ (Mental Model)
ออกมาสู่ภาพที่มองเห็น หรือจับต้อง หรือจัดการได้ (Visualize Thinking)
หรือในแง่ของการจัดการความรู้ (Knowledge Management – KM)
คือ การแปลงความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

กระบวนการเขียนแผนที่มโนทัศน์ มี 6 ขั้นตอน
1. ขั้นของการเตรียมการ (Preparation Step) รวบรวมคนที่คิดเห็นคล้ายกัน
2. ขั้นของการสร้างความคิด (Generation Step) ผ่านการระดมสมองและข้อมูล
3. ขั้นการจัดโครงสร้างความคิด (Structure Step) จัดกลุ่ม และลำดับความคิด ได้โครงสร้างหลัก
4. ขั้นสร้างภาพตัวแทนความคิด (Representation Step) นำเสนอภาพแทนความคิดที่ผ่านการประมวลร่วมกัน
5. ขั้นแปลความหมาย (Interpretation Step) นำภาพที่ได้มาแปลผล และสื่อสารให้เข้าใจ
6. ขั้นการใช้ประโยชน์ (Utilization Step) นำไปใช้ประโยชน์ตามลักษณะงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

http://www.thaiall.com/freemind/

facebook map
facebook map

วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยลำปาง

1 ก.ค.53 ผมได้รับอีเมลจาก คุณภัทรา มาน้อย เห็นว่าน่าสนใจ และเป็นบทเรียนที่ดี  โดยผู้สนใจได้ร่วมกลุ่มพูดคุยกันที่ กศน.ภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา จึงประเด็นวัตถุประสงค์มาเผยแพร่ซึ่งมีใจความดังนี้
     ตามที่ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงาน”มหาวิทยาลัยลำปาง”โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อมี ดังนี้
     1) ค้นหารูปแบบของการทำงานร่วมกันเชิงการบูรณาการศาสตร์ของการศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (ใช้แนวคิดหลักสูตรบูรณาการระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรเป็นตุ๊กตาของการชวนคุย) ในเบื้องต้นการพูดคุยเพื่อค้นหารูปแบบการทำงานร่วมกันมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาทั้ง ม.โยนก มรภ. มทร. กศน. มจร.และ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมฯ เข้าร่วมเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประเด็นรวมถึงการตั้งข้อสังเกตของการดำเนินงานร่วมกันมากมายซึ่งทางศูนย์ประสานงานฯจะจัดทำสรุปเพื่อจัดส่งให้เครือข่ายต่อไป
     2) สร้างรูปธรรมของแนวคิดงาน “มหาวิทยาลัยลำปาง”  ให้เกิดเป็นแนวทางการบูรณาการการใช้ฐานของความรู้ในแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางของการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ในเบื้องต้นจากการประชุมมีแนวทางของรูปธรรมการดำเนิน 3 แนวทางคือ 1)แนวทางในการทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการให้เครือข่ายทำงานในลักษณะของการนำไปสู่การสร้างวิธีปฏิบัติร่วมที่ชัดเจนและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตร วิธีการสอน ความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อนำเอาสิ่งที่ได้นำเสนอต่อในเชิงนโยบาย 2) แนวทางของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ใช้ฐานคนเป็นตัวตั้งเพื่อตอบสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาที่เป็นความต้องการของคนลำปางหรือตัวแทนของสถาบันร่วมกันตั้งคำถาม (Model ดร.สมคิด) ซึ่งอาจใช้ประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน เช่นประเด็นเกษตร หรืออื่นๆ  โดยศูนย์ประสานงานฯเสนอให้เป็นการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดลำปาง โดยเน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง 3) ใช้กรอบModel ของดร.สาวิตรเพื่อขับเคลื่อนผ่านงาน ABC (งานวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ของสกว.กลาง) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
     3) ช่องทางของการเคลื่อนงานของเครือข่ายการศึกษาจังหวัดลำปางร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง  เบื้องต้นศูนย์ประสานงานวิจัยฯ รับเป็นตัวกลางในการประสานการประชุมในครั้งต่อไป และเตรียมข้อมูลพื้นที่วิจัยที่จะใช้เป็นแนวทางของการดำเนินงานต่อไป
+ งานนี้มี ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ร่วมขับเคลื่อนด้วยอีกแรง

กิจกรรมต่อเนื่องร่วมกับสกว.ภาค ศูนย์ลำปาง

แผนที่ไป สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง

28 พ.ค.53 ได้รับอีเมล 2 ฉบับจากน้องโบว์ เรื่องแรกคือเปลี่ยนสถานที่อบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัย จากห้องสมุดเป็น สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง คาดว่าโบว์ใช้วิธีวาดรูปแล้ว scan จากนั้นก็ส่งให้ผมทางอีเมล คาดว่าพรุ่งนี้คงทราบเหตุว่าเปลี่ยนจากห้องสมุดเทศบาลนครลำปาง มาเป็นส.ว.ล เพราะอะไร เรื่องที่สองคือได้รับรายงานการขอขยายเวลาโครงการวิจัย คาดว่าส่งให้หัวหน้าโครงการทุกคนที่อยู่ในรายการ เห็นรายชื่อโครงการที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ และระยะเวลาที่ขอขยายออกไปของแต่ละโครงการแล้ว ก็ต้องบอกว่าเป็นภาระของศูนย์ที่ต้องดูแลใกล้ชิด เนื่องจากโครงการที่ขยายเวลาออกไปนานก็จะต้องใช้ทรัพยากรเพิ่ม ทั้งด้านเวลา งบประมาณ และการดูแล ถ้าจบเร็วก็จะได้ใช้เวลาที่เหลือของชีวิตไปทำกิจกรรมอื่นได้ .. ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกโครงการที่ยังปิดไม่โดยสมบูรณ์เร่งให้เสร็จโดยเร็ว

ชาวตำบลไหล่หินประกาศยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงคุมคชจ.งานศพ (7)

      ชาวตำบลไหล่หิน 6 หมู่บ้าน ประกาศเจตนารมณ์ลดเหล้าในงานศพ พร้อมยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ออก 18 มาตรการ ควบคุมค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพื่อลดภาระเจ้าภาพ ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัย “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือเมื่อครอบครัวใดมีคนตาย จะต้องจัดการงานศพ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าภาพไม่ได้มีการตระเตรียมสำรองเงินไว้ล่วงหน้าเหมือนงานบุญ หรืองานมงคล โดยจากการศึกษาข้อมูลระหว่างปี 2533-2550 พบว่าชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 2 และหมู่ 6 เสียชีวิตเฉลี่ย 19 คน/ปี และค่าใช้จ่ายในงานศพอยู่ที่ 13,000-17,000 บาท/วัน ดังนั้นถ้าเก็บศพไว้ 5-7 วัน จะมีค่าใช้จ่ายร่วม 100,000 บาท
       ซึ่งเมื่อศึกษารูปแบบงานศพในอดีต ก็พบว่าประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา เมื่อบ้านไหนมีผู้เสียชีวิตจะห่อผ้ามัดด้วยเชือกเงื่อนตอกงูลืน แล้วนำใส่แคร่ไม้ไผ่ไปทำพิธีเผาหรือฝังอย่างเร็วที่สุด ไม่มีการเก็บศพข้ามคืนข้ามวันรอคนมาร่วมพิธีอย่างในปัจจุบัน และถ้าไม่ใช่ขุนนาง จะไม่ใช้ล้อเข็นศพไปทำพิธีที่สุสาน ปราสาทก็มีเฉพาะชนชั้นเจ้านายเท่านั้น แต่ค่านิยมที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับวัตถุมากขึ้น มีการสร้างปราสาทให้กับญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับ เพราะเชื่อว่าปราสาทเหล่านี้จะเป็นที่อยู่ของผู้ล่วงลับหลังความตาย ทั้งยังเชื่อว่างานศพที่ใหญ่โตแสดงถึงหน้าตาของเจ้าภาพ
ทรงศักดิ์
ทรงศักดิ์

        ด้านนายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภา อบต.ไหล่หิน ในฐานะรองหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงวิธีการจัดการว่าหลังจากทราบข้อมูลแล้ว มีการทำประชาคมหมู่บ้าน ดึงทุกภาคส่วน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ตลอดจนหน่วยงาน องค์กรที่อยู่ในพื้นที่เข้าร่วม และได้ประชามติเป็นประเด็นการจัดการงานศพทั้งหมด 16 ประเด็น แยกเป็นด้านการจัดการ 9 ข้อ และด้านความเชื่อ 7 ข้อ ตามลำดับ ได้แก่ 1.การควบคุมไม่ให้อาหารรั่วไหล ซึ่งที่ผ่านมาเกิดปัญหาอาหารมีปริมาณไม่เพียงพอกับแขก เพราะมีบางคนแอบตักออกไป ในลักษณะจิ้นลอดฮั้ว ชุมชนจึงเห็นพ้องว่าต้องช่วยกันสอดส่องดูแล ไม่ส่งเสริมพฤติกรรมเช่นนั้นต่อไป 2.ใช้เครื่องปรุงพอประมาณ เนื่องจาการซื้อเครื่องปรุงแบบไม่วางแผนล่วงหน้า ทำให้มีปัญหาทั้งขาดและเหลืออยู่เสมอ 3.ลดน้ำอัดลมเป็นน้ำเปล่า ตามหลักความสมเหตุสมผลว่าน้ำหวานเจือสีอัดแก๊ซ มีผลเสียต่อสุขภาพ 4.ลดอาหารว่าง เช่น เม็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน ขนมปังปี๊บ ข้าวต้ม กระเพาะปลา หรือกาแฟรอบดึก ซึ่งล้วนเป็นภาระของเจ้าภาพที่ต้องจัดหาตามแบบอย่างค่านิยมในเมือง 5.เตรียมเมี่ยงอย่างพอประมาณ เพราะความนิยมในการอมเมี่ยงลดลง แต่ผู้สูงอายุยังช่วยกันห่อเมี่ยงในงานศพตามปกติ ทำให้เหลือทิ้งอยู่เสมอ 6.ลดสุรา จากที่เคยตั้งโต๊ะทุกวัน เหลือเพียงบางวัน เช่น วันเก็บเต้นท์เก็บครัว เพื่อแทนคำขอบคุณผู้มาช่วยลงแรง 7.งดเล่นการพนัน 8.งดจ้างวงดนตรีสากล หรือวงลูกทุ่ง โดยส่งเสริมให้ใช้เทปหรือซีดีแทน 9.ใช้ดอกไม้แห้งในหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชน 10.ใช้โครงปราสาทถาวร ไม่ต้องซื้อปราสาทใหม่ทั้งหลังแล้วนำไปเผา เพียงแต่หากระดาษสีสวยงามติดตามโครงปราสาทที่มีอยู่ หรืออาจซื้อผ้าเต้นท์ไปขึงเป็นยอดปราสาท แล้วบริจาคให้เป็นสาธารณประโยชน์ดีกว่านำปราสาทไปเผาทิ้ง 11.ยืมโลงทองที่สวยงาม มาครอบโลงจริง 12.เก็บศพประมาณ 4-5 คืน ซึ่งผู้สูงอายุในชุมชนได้ร่วมกันหารือ จนมีมติลดจำนวนวันที่ไม่สมควรทำพิธีเผาศพให้เหลือเพียง 2 วัน คือวัน 9 ค่ำ และวันศุกร์ที่ตรงกับ 15 ค่ำ ส่วนเจ้าภาพที่ไม่เชื่อเรื่องวันเสีย จะเผาศพวันใดก็สามารถทำได้ 13.จัดผ้าบังสุกุลอย่างพอประมาณ 14.งดการจุดพลุและบั้งไฟ 15.ควรเปลี่ยนสำรับเป็นเงิน จากธรรมเนียมปฏิบัติที่เพื่อนบ้านนำสำรับหรือสังฆทานไปร่วมทำบุญถวายแด่พระสงฆ์ แต่จำนวนสำรับมักมากกว่าจำนวนพระสงฆ์หลายเท่า ซ้ำปัจจัยที่บรรจุในสำรับไม่สดใหม่ หากเปลี่ยนจากสำรับเป็นเงิน ก็จะทำให้เจ้าภาพมีเงินเหลือไว้ทำบุญและง่ายต่อการจัดการ 16.ควรให้เงินสดแทนพวงหรีด เพราะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าภาพมากกว่า
         “ปรากฏว่าเมื่อนำมาทดลองใช้ใน 2 หมู่บ้าน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงมีการขยายผลไปสู่อีก 4 หมู่บ้านที่เหลือ และเกิดประเด็นเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็น คือ 1.งดชิงโชคจากโปรยทานด้วยลูกอมหรือเงินเหรียญ 2.ควรเผาศพในเมรุ 3.งดจุดธูปในบ้าน เพราะควันจากธูปก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ การจุดในที่โล่ง หรือจุดแต่น้อย จึงเป็นข้อเสนอที่นำมาให้เจ้าภาพพิจารณา” รองหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าว
        และเป็นที่มาของการรวมตัวกันในระดับตำบล ทั้ง 6 หมู่บ้าน ที่ศาลาวัดไหล่หินหลวง เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการจัดงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หิน ไว้เป็นหลักฐาน
        ด้านนายชนะเกียรติ เจริญราช นายอำเภอเกาะคา ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานในพิธีประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าว ย้ำว่า การประกาศเจตนารมณ์ของชาว ต.ไหล่หิน ครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก เพราะเป็นทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาทางเศรษฐกิจให้กับเจ้าภาพได้อย่างชัดเจน จึงขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ และในอนาคตอันใกล้ จะพยายามนำรูปแบบและวิธีการไปขยายผล เพื่อขับเคลื่อนสู่ระดับอำเภอต่อไป
หัวข้อเดิม ชาวตำบลไหล่หิน ประกาศยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควบคุมค่าใช้จ่ายในงานศพ
จาก http://talk.mthai.com/topic/55481 (saichol)

ร่วมเสวนาในงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (1)

dsc07935

ผมมีโอกาสไปร่วมเสวนาวันที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย1
คือ 
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
ในฐานะตัวแทนสาขาวิทย์คอม แล้วทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น
 บนเวทีมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ อ.ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ และผม
ความเป็นมา 
สกว.ริเริ่มสนับสนุน “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2541 โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาค ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ เน้นการมุ่งเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ชุมชนเพื่อกำหนดโจทย์/คำถามวิจัย การทบทวนทุนเดิมในพื้นที่ การออกแบบการวิจัย และการวางแผนผฏิบัติการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองปฏิบัติจริงเพื่อสร้างรูปธรรมในการตอบโจทย์วิจัยหรือแก้ปัญหาในพื้นที่วิจัย การประเมินและสรุปบทเรียน เน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยชาวบ้าน คนในชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ ข้าราชการ นักพัฒนาและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้และกลไกการจัดการปัญหา เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในพื้นที่การวิจัยสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้มุ่งเน้นยุทธศาสตร์สำคัญในการเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การทำงานที่ยึดมั่นมาเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี คุณูปการจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ปัจจุบันขยายงานออกไปทั่วประเทศ ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้ขยายงานวิจัยท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก แพร่น่าน กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก มีการขยายงานสู่ 18 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบ ราชบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม ปทุมธานี อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่หลายพื้นที่ ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม ชัยภูมิ หนองบัวลำภู เลย ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และในพื้นที่ภาคใต้ ได้เกิดการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในหลายจังหวัด เช่น ยะลา สงขลา นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล พังงา โดยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่างๆ นั้นจะอาศัยกลไกของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) และพี่เลี้ยงนักวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจำนวนประมาณ 1,000 โครงการ (ตุลาคม 2541 – พฤษภาคม 2551) และยิ่งไปกว่านี้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาคน ให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและค้นหาทางออกจากปัญหาได้ด้วยตัวเอง10 ปีที่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ หรือทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเอง ดอกผลจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ปรากฎให้เห็นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อาทิ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ชาวบ้านเป็นผู้ทำวิจัยด้วยตัวเองกว่า 1,000 โครงการ เกิดนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากกว่า 7,000 คนและขยายฐานงานจากงานวิจัยชาวบ้านสู่กลุ่มคนทั้งในหน่วยงานและสถาบันต่างๆ นอกจากนี้ พลังคนวิจัยได้นำสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยในประเด็นต่างๆ มากมาย ได้แก่ ประเด็นการท่องเที่ยว เกษตรกรรมยั่งยืน สุขภาพ หมอเมือง และสมุนไพร ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการท้องถิ่น เด็กและเยาวชน การศึกษากับชุมชน ชุมชนกับการจัดการทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนก่อให้เกิดคุณค่าแก่ชุมชนท้องถิ่น นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และความสุขของคนทำวิจัย ที่ ณ วันนี้ ชาวบ้านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ชาวบ้านทำวิจัยได้” จึงอาจกล่าวได้ว่ากระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้นำมาซึ่ง “คุณค่า พลังและความสุขของชุมชนท้องถิ่น”ด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะสม และดอกผลจากการทำงานที่เริ่มก่อเกิด สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น/พี่เลี้ยงนักวิจัย) และภาคีพันธมิตร ต่างเห็นร่วมกันว่าช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแก่การทบทวนการทำงานสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตลอดจนเป็นโอกาสที่จะนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่สาธารณะ และค้นหาทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงได้กำหนดการจัดงาน “มหกรรม 10 ปี วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ซึ่งมีแนวคิดร่วมของงานอยู่ที่การสื่อให้เห็นถึง “ความสุข คุณค่า และพลังงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ในวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2551 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานีวัตถุประสงค์ :
1) นำเสนอผลงานจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เป็นที่ประจักษ์
2) นำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน หน่วยงานที่เกิดจากการทำงานวิจัย
3) นำเอาประสบการณ์ต่างๆ มาพิจารณาดูว่าเหมาะสมกับสังคมไทยแค่ไหน
4) ระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มต่างๆ ต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
5) นำเอาข้อมูลต่างๆ มาดูทิศทางในการขับเคลื่อนงานต่อไป
คุณค่า
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาคนบนฐานปัญญา
คุณค่าในการรื้อฟื้นและพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาชุมชนและสังคม
พลัง
พลังต่อการเปลี่ยนแปลงตัวตนและชุมชน
ความสุข
ความสุขทางจิตวิญญาณ/ปัญญา

http://www.vijai.org/newsTRF_detail.asp?topicid=737
http://www.10year-cbr.org/about_us.php