แปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทย

การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทยด้วย macro

10 ก.พ.53 เรื่องนี้ควรเขียนเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ เพราะ ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ ท่านอธิการบดี รณรงค์ให้ใช้เลขไทยในบันทึกข้อความ แต่ความไม่ชินและความมักง่าย ทำให้ผมเลือกใช้วิธีแปลงเลขอารบิกด้วยการ replace ถึง 10 ครั้ง เพื่อเปลี่ยนตัวเลขทีละตัว แต่ถ้าให้อัตโนมัติก็จะเข้าไปกำหนดใน autocorrect สำหรับแต่ละตัวเลข แต่ใช้ได้กับเลขหลักเดียว ก็ช่วยได้เพียงระดับหนึ่ง (วันนี้ผมเคลียร์งานเขียนแผน km ของมหาวิทยาลัยล้อกับโครงการอบรมประกันฯของ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เสร็จเร็วกว่าที่คาด) จึงคิดว่าถึงเวลาที่ไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไป เมื่อศึกษาวิธีการแทนที่ตัวเลขด้วย macro ที่เขียนแบบใช้ใน word กับ excel เผยแพร่ใน thaiall.com/vb เพราะ macro ใช้ visual basic script ใน module สำหรับการประมวลผล
แหล่งเก็บ macro มี 2 แบบคือ ใน normal หรือ ใน document ถ้าเป็นแบบใน document เมื่อสร้างเอกสารก็จะติดเอกสารไป เปิดเอกสารใหม่จะไม่พบ macro เดิม แต่ถ้าเป็นแบบใน normal จะมี macro ติดอยู่ใน template ของ word ทำให้เปิด word แล้วเรียกใช้ macro ได้ทุกครั้ง สำหรับวิธีสร้างและใช้ macro นั้นเริ่มต้นด้วยการคัดลอกโค้ดไปใส่ใน module ของ macro แล้วสั่ง run ใน macro เมื่อต้องการเปลี่ยนตัวเลขทั้งหมดเป็นเลขไทย ซึ่งโค้ดได้สั่งแทนที่ทั้ง 10 ตัวอักษรเป็นเลขไทยอัตโนมัติ การนำไปใช้สำหรับ word กับ excel ต่างกันเล็กน้อย ถ้านำไปใส่ไม่ได้ โปรดติดต่อช่างเทคนิคใกล้บ้าน เพราะส่งเข้า word ครั้งเดียว แต่ใช้งานได้ตลอดไป .. ต่อไปผมก็จะเริ่มใช้แล้ว เพราะ replace 10 ครั้ง ไม่ดีแน่

source code : macro of word

Sub arabictothai()
For i = 0 To 9
With Selection.Find
.Text = Chr(48 + i)
.Replacement.Text = Chr(240 + i)
.Wrap = wdFindContinue
End With
Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
Next
End Sub

source code : macro of excel

Sub arabictothai()
For i = 0 To 9
Cells.Replace What:=Chr(48 + i), Replacement:=Chr(240 + i)
Next
End Sub

การแปลงเลขใน excel

1. ถ้าเป็น excel ไม่ต้องใช้ function ให้กด Ctrl-A แล้วกำหนด format ของ cell ใน Number,  Custom เป็น [$-D07041E]0 ก็จะทำให้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทั้งหมดเป็นเลขไทย
2. ถ้าต้องการมี , กั้นหลักพันก็ใช้ [$-D07041E]#,###,##0 อะไรทำนองนี้ ok ไหมครับ

สาธิต : http://www.youtube.com/watch?v=JNy15bLnt9k
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiall.com/blog/burin/1496/

กรมคำสั่ง application.openforms

mdiparent กับ 2 form

28 ม.ค.53 ปกติผมไม่เขียนเรื่องเทคนิคการโปรแกรมใน blog เพราะมีรายละเอียดมาก และเขียนไว้ในเว็บเพจอยู่แล้ว แต่หัวหน้าแนะว่าอยากให้ เขียนเรื่อง application.openforms ซึ่งเป็นวิธีการส่งค่าระหว่างฟอร์มลูกใน mdiparent ซึ่งผมเคยเขียนไว้ในเว็บเพจว่าใช้วิธีอ้างผ่าน mdiparent แต่ทั้ง 2 วิธีที่จะนำเสนอนี้มีความแต่ต่างกันชัดเจน ซึ่งผมจะเขียนเรื่องนี้ไว้ใน
+ http://www.thaiall.com/vbnet/testtoolbox.htm
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างคอนโทล เพื่อเตรียมความพร้อม
    
สร้าง mdi parent form และ windows form ขึ้น 2 form เมื่อเปิด solution ให้เรียกทั้ง 2 ฟอร์มมาแสดงใน mdi parent form ทันที โดยใส่คำสั่งในโหลดของเอ็มดีไอ คือ dim f1 = new form1 : f1.mdiparent = me : f1.show() : dim f2 = new form2 : f2.mdiparent = me : f2.show() แล้วในฟอร์มทั้งสองมี ปุ่มและเท็คบ็อกอย่างละหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบคำสั่งที่ใช้ส่งค่าเมื่อกดปุ่ม
    กรณีที่ 1 กรอกข้อมูลและสั่งจากฟอร์มหนึ่งแต่มีผลในฟอร์มสอง ใส่คำสั่งในปุ่มของฟอร์มหนึ่งว่า For Each f As Object In MDIParent1.MdiChildren : If UCase(f.name) = “FORM2” Then : Dim f2 As Form2 = f : f2.TextBox1.Text = Me.TextBox1.Text : MsgBox(“wait”) : f2.Close() : End If : Next
    กรณีที่ 2 ทดสอบตามที่หัวหน้าแนะนำให้ใช้ application.openforms โดยสั่งจากฟอร์มสองแต่มีผลในฟอร์มหนึ่ง โดยใส่คำสั่งในปุ่มของฟอร์มสองว่า Dim f As Form : f = Application.OpenForms.Item(“form1”) : For Each i As Object In f.Controls : If UCase(i.name) = “TEXTBOX1” Then : i.text = “abc” : End If : Next : MsgBox(“wait”) : f.Close()
ขั้นตอนที่ 3 อธิบายความแตกต่าง
     ทั้ง 2 กรณีต่างกันที่ กรณีที่ 1 อ้างอิงฟอร์มเป้าหมายผ่าน mdiparent1 แล้ววนลูปตาม object ทั้งหมดในนั้น โดยมองหาวัตถุที่ชื่อ FORM2 เมื่อพบก็จะส่งเข้าวัตถุชิ้นใหม่ให้อ้างอิง แล้วจึงเรียกใช้ textbox1 ตามวัตถุประสงค์ แต่กรณีที่ 2 อ้างอิงฟอร์มเป้าหมายผ่าน Application.Openforms ซึ่งเรารู้ว่า Form1 เปิดอยู่ แล้วก็วนลูปเข้าไปใน controls ทั้งหมด เมื่อพบ textbox1 ก็ดำเนินการทันที