10 มิ.ย.53 วันนี้ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ให้เกียรติรับเชิญจากมหาวิทยาลัยโยนกเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเรียนแบบ Creative ให้กับนักศึกษาใหม่ ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบริหารธุรกิจ ระหว่าง 11.00น. – 12.00น. โดยเน้นว่านักศึกษายุคนี้ต้องมีความคิดแบบสร้างสรรค์คือ คิดใหม่ คิดต่าง คิดไม่เหมือนใคร ให้ดีกว่าเดิม ซึ่งข้อคิดสำคัญประการหนึ่งคือ นักศึกษายุคนี้ต้องเก่ง โดยมีให้เลือก 4 เก่งหรือจะเก่งทั้งหมดก็ยิ่งดี คือ เก่งภาษา (Language) เก่งประสาน (Merge) เก่งเชี่ยวชาญ (Expert) และเก่งคิด (Think)
Tag: ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ในวันวุ่นและพลาดประชุมของผมอีกวัน
28 เม.ย.53 วันนี้มีเหตุให้ผมทำงานไม่สำเร็จงานหนึ่ง คือ การจัดประชุมการจัดการความรู้ที่ อ.อติชาต หาญชาญชัย เป็นประธานการประชุมของคณะ ซึ่งมีแผนประชุมเวลา 13.00น. แต่บุคลากรในคณะทั้ง 8 คน ผมมาทราบช่วงก่อนประชุมว่าเพื่อนติดภารกิจ 5 คน จะประชุมก็ไม่สมเหตุสมผลทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไป ในใจก็ดีใจ (หาย) เพราะอันที่จริงเวลานี้ผมก็มีสอนภาคเรียนฤดูร้อน จึงปลีกตัวไปสอนหนังสือได้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งก็ติดเป็นกรรมการสอบแทนหัวหน้าที่ต้องไปประชุมผู้บริหาร ซึ่งพอสรุปกิจกรรมของวันนี้ไว้เป็นบทเรียนให้มีการวางแผนให้ดีก่อนใช้ชีวิตในแต่ละวัน
เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า 1) จัดทำบันทึกให้ท่านอธิการลงนามในใบประกาศนียบัตรคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ก็มีคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ช่วยทำใบประกาศสำหรับผู้ถูกคัดเลือก 4 ท่าน และดำเนินการจนสำเร็จ 2) สรุปเอกสารเตรียมจัดอบรมอีเลินนิ่ง โดยมีเอกสารของ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เข้ามารวมเป็นเอกสารครบชุด แล้วมอบให้ คุณศิริพร ยาสมุทร ช่วยเตรียมทั้งเอกสาร และอาหารสำหรับอบรมวันรุ่งขึ้น 3) ไปตรวจเอกสารมาตรฐานที่ 3 บริการวิชาการ ในคณะบริหารธุรกิจ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ร่วมกับคุณลักขณา 4) ประชุมติดตามการดำเนินการมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ร่วมกับ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ในกลุ่มงานวิชาการที่ผมดูแลงานด้านไอทีว่าทิศทางควรเป็นอย่างไร 5) ไปซ่อมและให้คำปรึกษาปัญหาเครื่องพิมพ์ของผู้บริหารท่านหนึ่งหลังสระว่ายน้ำช่วงเที่ยงวัน 6) ก่อนบ่ายโมงจัดทำเอกสารงบประมาณของงานเทคโนโลยีเสนอฝ่ายงบประมาณ 7) บ่ายโมงทราบว่าประชุม KM ต้องเลื่อน จึงไปสอนหนังสือตามปกติ โดยไม่ใช้เทคนิคมอบงานให้เรียนรู้ด้วยตนเองตามแผนที่กำหนดไว้ 8 ) บ่ายสามโมงร่วมเป็นกรรมการสอบกับ อ.เกศริน อินเพลา แทนหัวหน้า ในการสอบหัวข้อของนักศึกษา ที่ชื่อ นฤมล 9) ตั้งแต่ทุ่มจัดทำซีดี 30 แผ่นเตรียมให้อาจารย์ที่ร่วมอบรม e-learning วันรุ่งขึ้น 10) ระหว่างรอเขียน CD 30 แผ่นก็มานั่งเขียน blog นี่หละครับ
สิ่งที่เตรียมในซีดี คือ 1) โปรแกรม thaiabc สำหรับจำลอง webserver ที่บริการ moodle แบบ noinstall 2) เอกสารสอน moodle ทั้งในฐานะนักเรียน และครู 3) เอกสารสอน e-learning โดย รศ.ดร.มนต์ชัย เทียนทอง 4) เอกสารกรอบ TQF และตัวอย่าง มคอ.3 5) โปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับจัดทำ Learning Object อาจใช้ exe หรือ reload หรือ flip หรือ fpf ก็เชื่อได้ว่าอาจารย์ทุกท่านที่ได้ซีดีจะนำประสบการณ์ไปพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งอย่างสร้างสรรค์
+ http://www.thaiabc.com
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
การทำอีบุ๊คด้วยการวางชื่อแฟ้ม jpg ใน xml
21 เม.ย.53 คิดถึงครั้งที่ อ.ชลาพันธ์ สนใจการทำ e-book แบบของ compasscm.com โดย post ให้ผมอ่านใน yoso เมื่อ 10 มี.ค.53 ซึ่งตรงกับแนว creative campus ของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ แล้วผมก็ศึกษาแบบค่อยเป็นค่อยไปจนทดสอบใช้ flip ทำ e-book ของสถาบันไป 2 เล่มมาก่อนหน้านี้ใน thaiall.com/flip มาวันนี้ดูทีวีตอนเช้าพบว่า อ.นิวัฒน์ กองเพียร (niwatkongpien.com) ก็ทำ e-book แบบไม่ต้องใช้ plug-in อย่าง flip publisher หรือ plakatebook เมื่อตรวจสอบก็พบว่าท่านใช้โปรแกรมแบบ flash page flip ทำ e-book แบบที่ใช้ง่าย แค่ scan หนังสือที่มีอยู่เป็น jpg แล้ววางลงไปใน xml ก็ได้ e-book ชั้นยอดแล้ว .. คงกลายเป็นชุด script หลักสำหรับทำ e-book ในไซต์ของผมเป็นแน่ เพราะรุ่นที่ใช้เป็น free version ลองไปดูตัวอย่างที่ thaiall.com/e-book แล้วค่อยดาวน์โหลดมาติดตั้งใน web server ของคุณก็ได้นะครับ
+ http://www.thaiall.com/flip
+ http://www.thaiall.com/e-book
เว็บไซต์ creative university
14 มี.ค.53 พบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือ www.bu.ac.th ใช้คำว่า creative university ออกแบบได้สวย เป็นระเบียบ (พบคำว่า creative ที่มี idea สอดคล้องกับที่ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ บรรยายที่มหาวิทยาลัย) เมื่อเข้าไปแต่ละคณะก็พบว่ามี creative ในแบบของตน คือ ไม่ได้เหมือนกันไปซะหมด แต่ละคณะก็มีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันไป เหมือนเป็นทีมพัฒนากันคนละทีมกับหน้าแรก โทนสีของเว็บไซต์น่าจะเป็นม่วงส้ม เพราะเว็บเพจที่พัฒนาโดยหน่วยงานกลางจะใช้เมนูด้านซ้ายเป็นสีม่วง ส่วนตัวหนังสือก็พยายามใช้ม่วงกับส้มสลับกัน เช่น ถาม-ตอบ หรือ ควันหลงรับปริญญา การนำเสนอเรื่องการแต่งตัวของนักศึกษาดูเป็นมืออาชีพ และเรียบร้อยสมเป็นนักศึกษาสมัยใหม่ในสถาบันการศึกษา และมีการเชื่อม facebook กับ twitter เกาะกระแส Social Network ด้วยครับ แต่ไม่พบการใช้บริการสถิติกับ truehits.net
+ http://www.facebook.com/bangkokuniversity
+ http://twitter.com/BUCreative
+ http://www.youtube.com/bucreative
bynoir 2549 และ 2548
11 ก.พ.53 เคยถ่ายภาพนักศึกษาร่วมงาน bynior เป็นที่ระลึก หลักจากนี้อีกสิบปีจะได้มีหลักฐานให้ชวนระลึกแสดงว่าพวกเขาเคยมีตัวตนจริงอยู่บนโลกนี้ อยู่ในมหาวิทยาลัยโยนก อยู่ในจังหวัดลำปาง ร่วมกับเพื่อน พี่ น้องและอาจารย์ เห็นใบหน้าเปื้อนฝุ้นสีขาวที่ยิ้มแย้มแจ่มใจ โชว์สิ่งที่ใครต่อใครอยากมอง ก็ชวนให้ประทับใจ จึงส่งเข้า facebook แบ่งปั้นให้พี่น้องร่วมสถาบันได้ชื่นชม ในปีพ.ศ.2553 วันที่ 12 ก.พ.53 มีการจัดงาน bynior ขึ้นอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ผมไม่มีโอกาสไปร่วมเก็บภาพประทับใจหรือแสดงความยินดีกับพี่ปี 4 ที่กำลังจะลารั้วสถาบันออกไปเผชิญโลกแห่งความเป็นจริง เพราะติดภารกิจกตัญญู ต้องไปไหว้ตรุษจีนและนอนบ้านแม่ที่ต่างอำเภอกับครอบครัว
กำหนดการวันปัจฉิมนิเทศที่พอทราบ คือ งานเริ่มรับลงทะเบียนพี่บัณฑิต ตอน 12.00น. มีการบรรยายพิเศษโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความรู้ความเข้าใจ และพร้อมออกไปเผชิญโลกแห่งความเป็นจริง ตอนเย็นจะมีงานเลี้ยงพี่ปีสี่ และมีรุ่นน้องเข้าร่วมฉายภาพเป็นที่ระลึก ก่อนจะอำลากันไปคนละทิศละทาง และได้พบกันอีกครั้งเมื่อบุญพาวาสนาส่งจนได้พบกันในโอกาสต่อไป .. ขอให้ทุกคนมีความสุขตามกระแสเวลาที่กำลังไหลอย่างค่อยเป็นค่อยไป
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=147094
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=147102
รับเมล เรื่องการเลือกเรียนเพราะบรรยากาศน่าเรียน
11 ม.ค.53 อ.มงคล ใจสุข ส่งอีเมลให้ผม มีภาพ 11 ภาพ ซึ่งสำเนาถึงเพื่อนอาจารย์อีกกว่า 20 คน หลังเราเข้าอบรม creative+ กับ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ จึงเข้าใจคำว่าภาพศิลปะ เพราะคำว่าภาพศิลปะ หมายถึงภาพที่มีอารมณ์ น่าจะเป็นเพราะต้องการส่งภาพให้นำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ หรือเป็นตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์จากการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ ที่ชี้ให้เห็นความสุขของนักศึกษาที่มาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ .. ผมก็คิดไปทำนองนั้น จึงตัดต่อมาให้ชื่นชมครับ