พันธนาการแห่งปราณ

าจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง อ่านหนังสือ แล้วแชร์ประสบการณ์ในเฟสบุ๊กในวันครู 2565 เล่าเรื่องหนังสือของศิษย์รุ่น 2 ที่เขียนเรื่อง อาจารย์น้อยผู้มาสอนธรรม ไว้หลังปกได้น่าอ่าน หนังสือเล่มนี้เขียนโดย หมวย – สมจิต คูมณีปกรณ์ ผู้ใช้นามปากกาว่า จินตะมันตา มีบทชวนอ่านหลังปกที่ชวนให้ติดตาม .. แล้วผมจะต้องรออะไรอีก ก็ซื้อหามาเร่งพลังปราณซะเลย เผื่ออาจารย์น้อยจะฝากศาตราวุธเทพบรรพกาลให้ศิษย์พี่ใหญ่แห่งสยบฟ้าพิชิตปฐพีได้ดูแล ช่วยสู้รบปรบมือกับเผ่ามารอีกแรงหนึ่ง

พันธนาการแห่งปราณ
เมื่อเผ่าสวรรค์เทพเซียนถูกเผ่ามารปีศาจเข้าถล่มโจมตี
นางเป็นเพียงอาจารย์น้อยผู้มาสอนธรรม จะเข้าปกป้อง
เผ่าสวรรค์ได้อย่างไร การต่อสู้ระเบิดพลังปราณเทพเซียน
กับพลังปราณมารปีศาจ อาจารย์น้อยจะทำเช่นไร
เมื่อศาตราวุธเทพบรรพกาลตกอยู่ในมือนางเพียงผู้เดียว
มิตรภาพ ความแค้น ความผูกพันในอดีต หน้าที่อันยิ่งใหญ่
ความยุติธรรม และความรักในปัจจุบัน อาจารย์น้อยจะเลือก
หนทางเดินเช่นไร 

นวนิยาย น่าอ่าน by จินตะมันตา

พันธนาการแห่งปราณ

#เล่าสู่กันฟัง 63-043 กระแสเขียนหนังสือกำลังมาแรง

มีเพื่อนทั้งรอบตัว และใกล้ตัวหลายท่านเขียนหนังสือ เขียนบล็อก หรือเขียนทั้งสองอย่างกันเพียบ หันไปทางไหน ก็พบแต่การเขียนแบบ Story Telling หรือ Formal Writing ที่พบแล้วอยากเล่าต่อ คือ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ (อ.ป๊อป) ท่านเขียนเรื่องราวที่โน้มเอียงไปทางพฤติกรรมมนุษย์กับองค์กร อ่านครั้งใดก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องของมนุษย์เรานี่เอง ท่านสนใจเรื่องนี้ก็สอดคล้องกับที่ท่าน ได้ลิขสิทธิ์หนังสือจากสำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ในประเภทงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน หนังสือ มีชื่อผลงานว่า “พฤติกรรมองค์การ Organizational Behavior” เลขที่ 375087 ให้ไว้ ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2562

ส่วนรุ่นน้องที่ชื่อ สรรค์ชัย ไชยสกุลวงศ์ (อ.แมน) เขียนหนังสือขาย ในชื่อ “อ.แมน สร้างแรงบันดาลใจ” ชอบตั้งแต่หน้าแรกที่เล่าประวัติกันเลย ท่านเป็นคนเชียงราย เป็นชาวไทยภูเขา เผ่าอีก้อหรืออาข่า จบปริญญาตรี และปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น หรือวิทยาลัยโยนก (เดิม) ทำงานหลายอย่างที่ลำปาง ตอนนี้ไปลงหลักปักฐานที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นอาจารย์ประจำที่วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ จากการติดตามพบว่ากำลังออกเล่มใหม่

ชื่อหนังสือ “ชีวิต พิชิตฝัน” อีกหลายท่านก็เขียนอะไรให้อ่านผ่านเฟสบุ๊คอยู่เสมอ ในสายเทคโนโลยีบ้าง ในสายสุขภาพบ้าง สายกินสายเที่ยวนี่เยอะสุด เขียนกันทุกเมื่อ อ่านกันทุกวันครับ มีความสุขและสนุก เขียนกันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เป็นสังคมอ่านเขียนกันเพลิน ๆ

อบรมการเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

หน้าปกเอกสารแจก
หน้าปกเอกสารแจก

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

– เปิดงาน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
– หัวข้อเรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หัวข้อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดีตอาจารย์ National University of Singapore

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม
อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม

พบ อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4 ถ่ายภาพร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม
แล้วก็ถ่ายภาพกับน้องแก้วตาและผม ญาติกันที่ลำปาง

อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

อ.แก้วตา
อ.แก้วตา

อบรมการเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ

วิทยากร การเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ
วิทยากร การเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ

6 ต.ค.52 เข้าอบรมการเขียนงานวิจัยภาษาอังกฤษ จัดโดยคณะสังคมฯ ซึ่งวิทยากรรับเชิญเป็นกลุ่มอาจารย์สอนปริญญาโทจากมหาวิทยลัยพายัพ แม้วันนี้เป็นวันที่สอง ก็มีคนแน่นห้องเหมือนเดิม บุคลากรภายใน 29 คน บุคคลภายนอกอีกพอกัน เนื้อหาบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านมีดังนี้ 1)Sudha Subramanian เปิดด้วยการชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัย อาจารย์หลายท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งของโยนก และอาจารย์จากบุรีรัมย์ ฟังแล้วทึ่งในประสบการณ์ของหลายท่าน สำหรับหัวข้อประกอบด้วย Where do i start? และ How do i start? และ Three P’s : Probe ค้นหา, Passion ความชอบ , Persistence ความเพียร 2)Philip Keay, M.A., Dip,ELT สอนเขียนบทความแบบ Free writing โดยหัวข้อใหญ่คือ The process of writing มี 5 ขั้นตอนคือ 2.1)generating idea 2.2)planning 2.3)writing 2.4)revising 2.5) editing 3)Pearl Wattanakul, Ph.D. Department Head ท่านดู Active มาก สอนเรื่องการเขียนงานวิจัย ซึ่งมี Powerpoint นำเสนอวิธีการ 37 slides สำหรับหัวข้อที่สำคัญ อาทิ Process of Research, Research Proposal Structure, Classification of Research by Purpose, Classification of Research by Method 4)David Richards, M.Phil. เป็นท่านสุดท้าย แต่ผมติดภารกิจ จึงไม่อาจนำรายละเอียดมาเล่าให้ฟังได้ เสียดายมากครับ
     สำหรับการเรียนกับ Philip Keay ท่านให้ทำงานเขียนบทความแบบ free writing ในห้องอบรม แล้ว อ.นาดีน ช่วย prove เรื่อง gramma ซึ่งมีผลงานดังนี้

Nowadays, globalization is the life style of everybody. It is a new generation of life. Digital computer can use data in type of 0 and 1 and it can be applied to images, sounds, animation and movies. We have tried to make artificial intelligence which looks like humans. All computers go into one network among wire and wireless technology. Everybody has an email account on the internet and communicate on social networking sites. If i mention the twitter website, it would represent individuals of today.

+ http://www.thaiall.com/ppt/research_proposal_drpearl.ppt
+ http://www.facebook.com/family/Subramanian
+ http://tesol.payap.org/Faculty.html