#เล่าสู่กันฟัง 63-040 แฟ้มข้อมูลเอ็กเอ็มแอลเป็นมาตรฐานมานานแล้ว

มีโอกาสเห็นข้อมูลที่ภาครัฐเผยแพร่
ทำให้นึกถึงเรื่องราว และโค้ดที่ใช้อ่าน
แฟ้มข้อมูลแบบเอ็กเอ็มแอล (xml)

พบว่า code ใช้ php5 เมื่ออัพเกรดเครื่องเป็น php7
พบ code ใช้ไม่ได้เยอะ
จึงกลับไปทบทวนเว็บเพจที่เล่าเรื่อง xml
พร้อมกับปรับแก้ code ให้กลับมาทำงานได้อีก

ประเด็นหนึ่ง คือ ie ที่เคยใช้งาน js
เปิด xml ได้ เมื่อมีการลด secure เป็น low แต่ ie รุ่นใหม่
กำหนดให้ปรับ secure ต่ำสุด คือ medium
บางคำสั่งเคยใช้ได้ในอดีต
แต่ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว

http://www.thaiall.com/xml
http://www.data.go.th

ข้อมูลเปิด (Open Data) และเกี่ยวกับ data.go.th

ข้อมูลเปิด (open data)
ข้อมูลเปิด (open data)

Open Data

.. เคยอ่านวัตถุประสงค์ของ data.go.th แล้วก็ชื่นชม
ข้อแรก คือ ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ  สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย ข้อมูลที่เปิดให้ Download จากเว็บไซต์พบว่า มีหลายรูปแบบ อาทิ excel, json และ xml แล้วบรรทัดสุดท้ายของหน้า About พูดถึง ข้อมูลเปิด ว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ แล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการได้

ท่านที่สนใจก็เข้าไปสืบค้นข้อมูลกันได้นะครับ
ที่ https://data.go.th/About.aspx

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)

[เพิ่มเติม]
เกี่ยวกับข้อมูล Data ผมก็สนใจจึงทำโฮมเพจไว้หลายหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

http://www.thaiall.com/xml

http://www.thaiall.com/ajax

http://www.thaiall.com/lampang/index.php

http://www.github.com/thaiall

[Top Open Data]

ข้อมูลที่ถูก Download มากที่สุด คือ พิกัดตำบลจาก data.go.th
วันที่ 25 กันยายน 2560 พบมีคนเข้าชม จำนวนการเข้าชม 46423 ครั้ง
เป็นข้อมูลขอบเขตการปกครอง ของ กรมการปกครอง

ได้แฟ้มพิกัดตำบลของทั้งประเทศ
จำนวน 7768 รายการ จาก data.go.th มาในแฟ้ม tambon.xlsx
แล้วแปลงเป็น csv แต่เรียงตามรหัสตำบลเก็บในแฟ้ม tambon.csv
เลือกเฉพาะลำปางได้ 97 ตำบล เก็บในแฟ้ม tambon_lampang.csv
นับจาก tambon.xlsx ด้วย pivot table ในลำปางมี 97 ตำบล
สรุปว่ายืนยันข้อมูลว่าตรงกับรายการข้อมูลที่มีจริงใน tambon_lampang.csv
ตรวจตำแหน่งของ ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง
พบว่า latitude,longitude ไปตกกลางทุ่งนา
หลังศูนย์แสดงสินค้าเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
ห่างทางหลวงไปหลายร้อยเมตร

ทั้งหมดเก็บไว้ที่ https://github.com/thaiall/lampang

พบว่า MS Edge มี Bug เกี่ยวกับการ xml + xslt + javascript แล้ว return null

internet explorer 11
internet explorer 11

พบการรายงาน Bug เรื่อง ใช้ javascript และ XSLTProcessor
ที่ MS Edge ไม่ Return value กลับมาอย่างถูกต้อง
ที่พบ คือ “Created fragment is null” จากการ run test
โพสต์ปํญหาโดย Martin Honnen เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2558
ที่ https://connect.microsoft.com/IE/feedback/details/2030537
แล้ว MS ก็ย้าย Bug Report ไปยังกลุ่มที่ถูกต้อง
ที่ https://developer.microsoft.com/../issues/5552211/
มีตัวอย่างแฟ้มที่ https://developer.microsoft.com/../issues/9484576/
ทดสอบที่ http://encinematheque.fr/js7/_testHtml.htm
ดูผลการทดสอบใน _testHtml.htm
พบว่า

Test failed. Created fragment is: null.

แล้ว Microsoft Edge ที่ผมใช้อยู่รุ่น 38.14393.1066.0
แต่รุ่นล่าสุดคือ 40.15063 Desktop April 11,2017
ไปอ่าน ถาม-ตอบ ในเว็บของ Microsoft.com
เค้าว่าถ้า update MS Windows ก็จะ update MS Edge ให้โดยอัตโนมัติ
ก็รอลุ้นว่ารุ่นใหม่จะแก้ bug ตัวนี้หรือไม่ เพราะ browser ตัวอื่นผ่านหมด
https://en.wikipedia.org/wiki/Microsoft_Edge

firefox local
firefox local

สรุปว่าตอนนี้ เขียน Script ไว้ที่ http://www.thaiall.com/xml/list01.htm
เพื่ออ่านแฟ้ม XML ส่งเข้าปรับรูปแบบด้วย XSLT แล้วแสดงผลเป็น HTML
ได้ทดสอบกับ Firefox, IE, Opera, Chrome ก็ใช้งานได้แล้ว
ก็ใช้หลายวิธี ให้เหมาะสมกับแต่ละ Browser
เหลือแต่ MS Edge นี่หละครับ ค้างใจอยู่

 

4 ขั้นตอนกับการทำ sitemap ของสถาบัน

sitemap ของมหาวิทยาลัย รุ่น 1

2 ก.ค.53 ใช้เวลา 2 วัน เริ่มจากวางโครงของ sitemap โดยใช้ template ที่เป็นคำแนะนำของคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ แล้ววาง tag html จากที่ศึกษาในเว็บไซต์เดิม และจัดให้มีการแสดงผลตามความต้องการของผู้กำหนด  แล้วนำไปใช้ต่อโดยใช้ php script ดูดเว็บเพจไปแสดงผลเพียงบางส่วน ขั้นตอนที่ 3 คืออ่าน html มาแปลงเป็น xml ตามมาตรฐานของ sitemap 0.9 ที่ต้องใช้กับ google.com ขั้นตอนที่ 4 คือส่งแฟ้ม xml เข้าระบบของ google analytics หรือ webmaster tools ทำให้ google.com ยอมรับเว็บเพจทั้งหมดของเว็บไซต์เรา (คุณเคี้ยงนำรายงาน google มาเสนอ และอ.บอย เป็นผู้คุมนโยบายของเว็บไซต์ creative) โดยมีเงื่อนไขตามที่เรากำหนดเข้าไปใน sitemap ซึ่งผมกำหนดเป็น monthly ในการปรับปรุงแต่ละเว็บเพจของเว็บไซต์ .. ได้คุณอนุชิต ยอดใจยา คอยให้กำลังใจอยู่ใกล้ชิด และถามว่าผมทำอะไร .. ชื่นใจที่ยังมีคนสนใจห่วยใยครับ .. รูปสึกเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ถูกถาม เพราะปกติผมมักจะเป็นฝ่ายถาม .. แต่ผมถามตัวเองทุกชั่วโมงอยู่แล้ว
+ http://www.yonok.ac.th/intranet
+ http://www.yonok.ac.th/sitemap
+ http://www.yonok.ac.th/sitemap/sitemap.xml
+ http://www.google.com/webmasters/tools/