มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)

เนชั่นกรุ๊ปรุกตลาดการศึกษา

21 ก.พ.54 นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นของ NMG ที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง อย่างสร้างสรรค์ ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นบริษัทย่อยเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านข่าวสาร

บริษัท ได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายสายธุรกิจด้านความรู้ จึงได้พิจารณากรณีศึกษาจากต่างประเทศในด้านความร่วมมือระหว่างบริษัทสื่อกับ สถานศึกษา เช่น ผู้พิมพ์จำหน่ายนิตยสารรายใหญ่ที่สุดของยุโรป Gruner + Jahr GmbH ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Bertelsmann ได้ร่วมกับ Henri-Nannen School เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์   ในสหรัฐอเมริกา Washington Post ได้ขยายกิจการด้านการศึกษาผ่าน Kaplan ซึ่งเป็นบริษัทลูก ปัจจุบันมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษามากกว่า 500 แห่ง ใน 30 ประเทศ และมีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี

ล่าสุด NMG จึงได้ร่วมทุนกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ซึ่งมีประสบการณ์ด้านบริหารการศึกษากว่า 30 ปี และมีจำนวนนักศึกษาปัจจุบันกว่า 7,000 คน  เพื่อจัดตั้งบริษัท เนชั่น ยู จำกัด ผนึกกับความแข็งแกร่งด้านสื่อและการตลาดของเนชั่นก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยเนชั่น” (Nation University)   โดยได้ซื้อใบอนุญาตประกอบกิจการสถานศึกษา จาก มหาวิทยาลัยโยนก  จังหวัดลำปาง   และเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 เดือน พ.ค.2554

นายธนาชัย กล่าวต่อว่ามหาวิทยาลัย เนชั่น มีแผนที่จะขยายเครือข่ายการศึกษาไปทั่วทุกภูมิภาค โดยเริ่มจากวิทยาเขตภาคเหนือ และวิทยาเขตกรุงเทพภายในปี พ.ศ.2554 โดยมหาวิทยาลัยจะเข้าทำการบริหาร ปรับโครงสร้าง พัฒนาศักยภาพ และเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยโยนก (Yonok University) จังหวัดลำปาง เป็น มหาวิทยาลัย เนชั่น (Nation University) วิทยาเขตโยนก ส่วนวิทยาเขตกรุงเทพจะใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตกรุงเทพ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตโยนก มีพื้นที่รวมกว่า 164 ไร่ และมีพื้นที่ส่วนอาคาร 14,000 ตร.ม. โดยจะมุ่งเน้นการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ (ภาษาอังกฤษและจีน) และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม 1,300 คนภายใน 4 ปี และ 1,800 คนภายใน 10 ปี

พร้อมกันนี้ ได้เปิดมหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตกรุงเทพ ในรูปแบบ Downtown Campus หรือ Campus บนตึกสูงโดยใช้พื้นที่อาคาร i-Tower ถนนวิภาวดี ใกล้ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อความสะดวกในการเดินทางของนักศึกษาที่ทำงานในเมืองช่วงกลางวัน โดยจะเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และ MBA โดยมีเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม 1,000 คนภายใน 4 ปี และ 2,000 คนภายใน 10 ปี บริษัทได้วางงบลงทุน 250 ล้านบาทเพื่อพัฒนา 2 วิทยาเขตแรก

ในส่วนของ แผนการตลาด NMG จะใช้สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งการทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร เช่น โครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับ มาม่า ซึ่งมีนักเรียนมัธยมปลายลงทะเบียนปีละกว่า 8 หมื่นคน และงาน U-Expo ซึ่งจัดร่วมกับ Eduzones.com คาดว่าจะมีนักเรียนมัธยมปลายเข้าชมงานประมาณ 5 หมื่นคน

NMG เชื่อมั่นว่าความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ในการเปิดมหาวิทยาลัย เนชั่น จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยด้วยการร่วมสร้างผู้นำด้านสื่อสารมวลชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ และบริการสาธารณสุข มหาวิทยาลัย เนชั่น พร้อมขยายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพด้วยโครงการที่จะพัฒนาวิทยาเขตภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาคในอนาคต รวมทั้งการต่อยอดบริการการศึกษาไปทางด้านการสอนหลักสูตรระยะสั้นประเภท Non-Degree Program, e-Learning เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นต่อไป

ด้านนายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ กล่าวว่ามหาวิทยาลัย เนชั่น จะสร้างจุดต่างด้วยความได้เปรียบในการ “เรียนกับมืออาชีพ” โดยนักศึกษามีโอกาสพัฒนาทักษะและประสบการณ์นอกเหนือจากภาคทฤษฎี ด้วยการเรียนกับอุปกรณ์ปฏิบัติการของจริง ในสภาพการทำงานจริง และกับมืออาชีพในสายงานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ New Media การโฆษณา และบริหารธุรกิจ ส่วนในสายงานอื่น ๆ เช่น เอเจนซีโฆษณา ธุรกิจบันเทิง ผู้ผลิตภาพยนตร์/ ละคร นักศึกษาสามารถเรียนรู้และฝึกงานกับบริษัทพันธมิตร ทำให้นักศึกษาที่จบมามีโอกาสในการหางานทำได้สูงกว่า โดยสามารถเลือกทำงานกับบริษัทในกลุ่มและพันธมิตรของ NMG ได้หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

นอกจากนี้ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เนชั่น จะมุ่งเน้นด้าน New Media เพื่อรองรับสื่อยุคดิจิตอลและ Social Media ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วน NMG จะได้ประโยชน์ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากการคัดเลือกบุคลากรจากนักศึกษาฝึกงานที่ มีผลงานดีเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานนักศึกษาฝึกงานที่มีต้นทุนไม่สูงมาก นอกจากนี้บริษัทยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความร่วมมือของสายธุรกิจต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัย เนชั่น เช่น NINE และ NBC ในการผลิต Content จากผลงานนักศึกษา หรือ NINE สามารถขยายธุรกิจสิ่งพิมพ์ด้านวิชาการเพิ่มเติมเพื่อผลิต คู่มือ ตำราเรียน หนังสือความรู้ด้านธุรกิจหรือด้านสื่อ ผลงานวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย เนชั่น คล้ายกับ Harvard Business Publishing ของ Harvard Business School

executive of nation university
ผู้บริหารในพิธีแถลงข่าวประกาศเปิดตัวมหาวิทยาลัยเนชั่น

+ http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=136881
+ http://www.bangkokbiznews.com
+ http://www.suthichaiyoon.com/detail/8553
+ http://www.ryt9.com/s/prg/1093392
+ http://www.nation-u.com

เนชั่นกรุ๊ป ผุด บริษัทร่วมทุน “ เนชั่น ยู” ทุ่ม 250 ล้านบาท
http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000023556

เนชั่นกรุ๊ป .. เทคโอเวอร์ มหาวิทยาลัยโยนก พร้อมผุดวิทยาเขตในกทม. อนาคตเล็งเปิดเพิ่มอีกในภาคอีสานและใต้ มองนิวมีเดียและสิ่งพิมพ์ช่องทางสำคัญผลักดันรายได้

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน ) หรือ NMG เปิดเผยว่า ล่าสุดเล็งเห็นโอกาสที่จะเข้ามาต่อยอดธุรกิจทางด้านการศึกษา จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ก่อตั้งบริษัท เนชั่น ยู จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท โดยทางเนชั่น กรุ๊ป ถือหุ้น 55% และทางSAU และ นายเสริมสิน สมะลาภา ถือหุ้นรวมกันอีก 45% ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนชั่น เบื้องต้นใช้งบลงทุนราว 250 ล้านบาท แบ่งเป็น 175 ล้านบาท ในการขอถ่ายโอนใบอนุญาตประกอบการสถานศึกษา (เทคโอเวอร์) จากทาง นาย ศิริธัช โรจนพฤกษ์ เจ้าของมหาวิทยาลัยโยนก จังหวัด ลำปาง มาเป็น มหาวิทยาลัย เนชั่น พร้อมเปิดภาคเรียนแรกในเดือนพ.ค.นี้ ภายใต้หลักสูตรการเรียนการสอน เฉพาะทาง คือ ทางด้านนิเทศศาสตร์ และบริหารธุรกิจ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยโยนกมีนักศึกษาราว 300 คน ใน 3 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะ สังคมและมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับโครงสร้างคณะผู้บริหาร และวางระบบหลักสูตรใหม่ ตั้งเป้าใน 4 ปี จะมีจำนวนนักศึกษาประมาณ 1,300 คน เพิ่มเป็น 1,800 คน ใน 10 ปี

นอกจากนี้ ยังมีวิทยาเขตอีก 1 ที่ คือ ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ ตึก ไอ ทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต เปิดสอนภาคเรียนการศึกษาปี 2554 ในเดือนพ.ค. นี้เช่นเดียวกัน หลักสูตร นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และMBA ตั้งเป้ามีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 1,000 คนใน 4 ปี เพิ่มเป็น 2,000 คนใน 10 ปี และหลังจากทั้ง 2 แห่งแข็งแกร่ง จะขยายวิทยาเขตอีก 2 แห่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหลือ และภาคใต้ คาดว่าไม่เกิน 5 ปีนี้

นายธนาชัย กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมรายได้ ของเนชั่น กรุ๊ปในปีที่ผ่านมานั้น มีการเติบโตขึ้น 15% หรือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์ และนิวมีเดีย เป็นกลุ่มหลักที่ผลักดันรายได้ และมีแนวโน้มการเติบโตสูง จากแผนการตลาดที่ขายเป็นแพกเกจ เชื่อว่าจะส่งผลให้ปีนี้ จะมีรายได้รวมเติบโต 15%

+ http://www.facebook.com/video/video.php?v=115773685170144
+ http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=137532
+ http://www.nation-u.com
+ http://www.nationubangkok.com
+ http://www.facebook.com/nationuniversity
+ http://www.facebook.com/nationuclub

ผู้รับใบอนุญาตพบบุคลากรมหาวิทยาลัยโยนก

change
change

15 ก.พ.54 อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย และ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ และผม ไม่มีคำถามหลังการรับฟัง ดร.ศิริธัช โรจนพฤกษ์ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย พบปะพูดคุยกับบุคลากรของมหาวิทยาลัย เรื่องการเปลี่ยนแปลง (Change) พร้อมทีมผู้บริหารชุดใหม่ ที่จะเข้ามาร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยยุคต่อไป ได้แก่ คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ จากเครือเนชั่น และคุณเสริมสิน สมะลาภา นายกสภามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ยินดีเข้ามาพัฒนามหาวิทยาลัยโยนกให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังการประชุมได้ทานข้าวร่วมกับบุคลากร อย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งมหาวิทยาลัย

ช่วงบ่ายโมงทีมผู้บริหาร ได้พบปะพูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อชี้แจง และทำความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารและอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาต่อไป หลังจากนั้นได้เดินไปยังห้องต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย พบปะบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ

+ มหาวิทยาลัยเนชั่น

การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

mcu lampang
mcu lampang

10 ก.พ.54  ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกัน คุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. และบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มี หลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป

การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ()

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกัน คุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. และบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มี หลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป

ภาพบรรยากาศ และคลิ๊ปวิดีโอ byenior

byenior and seminar
byenior and seminar

งานบายเนียร์ (bye senior) และงานปัจฉิมนิเทศ (seminar) ในชื่องานราตรีแห่งดาว จัดโดยรุ่นน้องนักศึกษามหาวิทยาลัยโยนก เพื่อว่าที่บัณฑิตรุ่นที่ 20 ให้รุ่นพี่เตรียมพร้อมกับการออกไปใช้ชีวิตในสังคม และรับฟังวิทยากรให้ข้อคิดดี ๆ ที่ห้องกิ่งกนก โรงแรมเอเชีย วันที่ 11 ก.พ.2554 ซึ่งเป็นวันเรียนวันสุดท้ายของภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยากรประกอบด้วย พี่อาโก อ.นุช อ.แอร์ และอ.บอย เรียงจากซ้ายไปขวา
มีคลิ๊ปวิดีโอ 4 เรื่อง

http://www.facebook.com/album.php?id=100000232791032&aid=46263
http://www.facebook.com/album.php?id=100000963361034&aid=37158
http://www.facebook.com/album.php?aid=147094&id=814248894

สุดยอด 20 ภาพถ่ายประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยโยนก ของปี 2554

top20 2554
top20 2554

อ.ปาริชาต สอนสมบูรณ์ เป็นแม่งานรวบรวมภาพถ่ายและนำเข้ากรอบสีทองสวยงามน่าประทับใจ ถูกใช้นำเสนอครั้งแรกในงานสภากาแฟ จังหวัดลำปาง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยมหาวิทยาลัยโยนกเป็นเจ้าภาพจัดงานสภากาแฟเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 .. ทั้ง 20 ภาพใช้พื้นที่มากกว่า 50 MB จึงเผยแพร่ผ่าน facebook.com หากต้องการภาพ HD สามารถคลิ๊กลิงค์ด้านล่างของแต่ละภาพใน fb ได้

http://www.facebook.com/album.php?aid=54399&id=119920918018135

ดึงลิงค์ของภาพไปสร้าง gallery

yonok alumni gallery
yonok alumni gallery

29 ก.ค.53 คัดลอกลิงค์ภาพจาก facebook.com ไปเข้าฐานข้อมูล แล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์ภายนอก เพราะ fb ยอมให้ link ภาพออกไปแสดงได้ ทำให้สร้าง gallery ที่ดึงภาพจาก profile ของศิษย์เก่าไปรวมเป็นระบบ gallery แล้ว link กลับมายังเจ้าของภาพได้ ทดสอบที่ http://www.thaiabc.com/ynalumni/photo.asp
วิธีการ คือเขียน code อ่านข้อมูลจาก .mdb แล้วปรับการแสดงผลด้วย css ซึ่งจัดระเบียบภาพได้ยอดเยี่ยม ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงเสียเวลาจัดการอีกพักใหญ่ ส่วนการรวมภาพผมใช้การคัดลอกที่ตั้งของภาพแต่ละภาพใน facebook มาวางไว้ในช่องที่เตรียมไว้ เมื่อกดปุ่ม upload ก็จะเพิ่มลิงค์นั้นเป็นระเบียนข้อมูลใหม่ใน .mdb ทำให้ code ที่เขียนด้วย .asp สามารถนำข้อมูลมาแสดงผลในรูป gallery หน้าละ 15 ภาพต่อหน้า ใต้ภาพจะมี link ไปยังเจ้าของภาพใน facebook เป็นการแนะนำให้รู้จักเพื่อนใน facebook อีกทางหนึ่ง .. แต่ปัญหาเรื่องสิทธิ์ของภาพ ยังต้องถกกันนิดหน่อยกับเจ้าของภาพ ถ้าผมจะคัดลอกภาพใครมาวางไว้ใน gallery คงต้องคุยกับเข้าซะก่อน มิเช่นนั้นอาจพบปัญหาในภายหลัง .. ขณะนี้มีภาพทดสอบเพียง 37 ภาพ จาก 3 account

ปัญหาการอ้างอิงภาพ profile แบบ static

yonok alumni profile
yonok alumni profile
yonok alumni profile

31 ส.ค.53 จากกลุ่มตัวอย่างศิษย์เก่าที่ผมไม่ทราบรหัสจำนวน 43 คน เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 เดือน มีศิษย์เก่าเปลี่ยนภาพ profile ไปถึง 20 คน คิดเป็นร้อยละ 46.5 แสดงว่าถ้าใช้ภาพ profile อย่างจริงจังมาเป็นข้อมูลแบบ static คงต้องใช้คนช่วยตรวจสอบ หรือไม่ก็เขียน script ดูดภาพ profile มาปรับฐานข้อมูล ซึ่งยังไม่ได้ทดสอบว่าภาพ profile ที่เปลี่ยนไปนั้นทาง facebook ยอมให้ script เข้าไปดูด url ได้หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ แสดงว่าศิษย์เก่ายังมีการเคลื่อนไหวใน facebook หรือใช้งานกันตามปกติ มิได้หนีหายไปไหนในสังคม facebook และข้อมูลนี้ทดสอบไว้ที่ http://www.thaiabc.com/ynalumni