คุณชายชาตรี ผู้ชำนาญและรับผิดชอบ ในการกระตุ้นการตัดสินใจของนักเรียนให้เลือกเรียนมหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังถึงเทคนิค และกระบวนการที่จะนำไปสู่การปิดการขายของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพราะการตลาดมี 2 แบบ คือ below the line และ above the line ตามที่ท่านประธานเครือสื่อยักใหญ่ ได้บรรยายให้เห็นความสำคัญของ below the line ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ above the line เพียงด้านเดียว เพราะเป็นด้านสว่างที่มองเห็นได้ แต่กลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่มีกลไกปิดการขายจะไม่เป็นที่เปิดเผย เพราะเป็นเทคนิควิธีที่จะทำให้ตนประสบความสำเร็จ ไม่ต้องการให้รายใดนำไปใช้เป็นเครื่องมือโดยเฉพาะคู่แข่ง และบางเทคนิคอาจไม่ถูกต้องตามจริยธรรมมากนัก อาทิ ให้โควตารับนักเรียนทั้งชั้น เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์นี้คงหาอ่านที่ไหนได้ยาก
แบบสอบถามงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1 ด้านภูมิหลัง
1.1 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.2 ระยะทางจากบ้านถึงมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.3 รายได้ของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
2 ด้านความสามารถส่วนบุคคล
2.1 เกรดเฉลี่ยของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
2.2 ความรู้พื้นฐานที่มีของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด 2.3 ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการของท่าน เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม วิชาชีพครู มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
3 ด้านความคาดหวังของนักเรียน ที่มีต่อมหาวิทยาลัย
3.1 ความต้องการของตลาดแรงงานมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
3.2 ความภูมิใจของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4 ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
4.1 การที่ท่านมีรุ่นพี่ / คนรู้จักเรียนอยู่ ในมหาวิทยาลัยนั้นมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.2 การที่เพื่อนแนะนำ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.3 การที่อาจารย์แนะนำให้เรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.4 บุคคลที่ท่านประทับใจ(Idol) เป็นศิษย์เก่าสถาบันนี้ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.5 การที่ผู้ปกครองอยากให้เรียน เช่น อยากให้เป็นหมอ เป็นครู หรือเรียนบริหารเพื่อมาช่วยงานที่บ้าน เป็นต้น มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.6 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากอินเตอร์เนต มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.7 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากหนังสือคู่มือการศึกษาต่อ ,หนังสือพิมพ์,วารสาร มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.8 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอน ที่ได้รับจากใบปลิว , แผ่นพับ, โปสเตอร์ ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.9 ข้อมูลของสถาบันการศึกษาที่ท่านได้จากการเข้าร่วมงานแนะแนวการศึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5 ระบบการสอบคัดเลือก
5.1 รูปแบบการรับนักศึกษา เช่น รับนักศึกษาจากคะแนนแอดมิสชั่น สอบตรง หรือเลือกรับเข้าจากทั้งสองทาง มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.2 วิชาที่ใช้สอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ หรือวิชาความถนัด มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.3 อัตราการแข่งขันในการสอบเข้าคณะนั้นๆ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6 คุณภาพมหาวิทยาลัย
6.1 ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.2 ชื่อเสียงของคณาจารย์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.3 ชื่อเสียงของนักศึกษาปัจจุบัน หรือศิษย์เก่า มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7 ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
7.1 ขนาดพื้นที่ ความใหญ่โตและความทันสมัยของอาคารเรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.2 ความสวยงามและความร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.3 ความพร้อมและความทันสมัยของอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.4 มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น หอพัก สนามกีฬา สถานพยาบาล มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
8 ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน
8.1 ค่าเล่าเรียนในการสึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
8.2 ทุนการศึกษา มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
http://www3.eduzones.com/questionnaire/
—
หลักการ/ทฤษฎี คำแนะนำในการเลือกเรียนมหาวิทยาลัย
http://blog.eduzones.com/noknik15clab/33088
—
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2554
ปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี FACTORS RELATED THE ADOPTION TO STUDY IN PRIVATE VOCATIONAL SCHOOL IN PRACHIN BURI PROVINCE
กฤษณ์ บุตรเนียน จุไร โชคประสิทธิ์ และอรสา จรูญธรรม Kit Butnian, Julai Chokprasit, and Orasa Charoontham
1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชน ในจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านอิทธิพล จากโรงเรียน/ครูแนะแนว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก และด้านอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านภาพลักษณ์ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก และด้านค่าเล่าเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก
http://grad.vru.ac.th/pdf-journal/JourTs52/09-Kris.pdf
—
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย
องค์กร International Graduate Insight Group (i-graduate) องค์กรวิจัยอิสระที่สนับสนุนผลการวิจัยและให้คำปรึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษา กว่า 140 สถาบันทั่วโลก โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์ อเมริกาเหนือ และแอฟริกาใต้ ได้เผยสำรวจล่าสุดแก่นิตยสารไทมส์ไฮเออร์ (Times Higher Education Supplement: THES) เมื่อปลายมกราคม 2008 ในประเด็นที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศของนัก ศึกษาต่างชาติมากที่สุด โดยสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษา 11,000 คน ใน 143 ประเทศทั่วโลก
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ความคาดหวังของนักศึกษาต่างชาติต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรกำลังการ ท้าทายสหรัฐฯ อย่างมาก และสหรัฐฯ กำลังเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ในปัจจุบัน ได้หันมาเพิ่มศักยภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายในประเทศ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเสียส่วนแบ่งในอัตราที่เร็วกว่าสหราชอาณาจักร แต่คงง่ายเกินไปที่จะสรุปว่า ในตลาดการศึกษาระดับอุดมศึกษา สหรัฐฯ กำลังกลายเป็นผู้เล่นรอง ผลสำรวจยังถือว่าเป็นเพียงสัญญาณเตือนเบื้องต้นของสหรัฐฯ เท่านั้น เพราะผลสำรวจ พบว่า นักศึกษากว่า 2 ใน 3 เลือกเรียนเพราะสถาบันการศึกษามากกว่าประเทศ โดยปัจจัยด้านชื่อเสียงและการดำเนินการทางการตลาดของแต่ละสถาบัน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสหรัฐฯ ยังได้รับการยอมรับด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยมากกว่าสหราชอาณาจักร คืออยู่ที่ร้อยละ 99 สหราชอาณาจักรอยู่ที่ร้อยละ 97 แคนนาดา เยอรมนี และฝรั่งเศส อยู่ที่ร้อยละ 97
http://www.oknation.net/blog/kriengsak/2008/03/13/entry-1
—
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกาาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
http://doc2.clib.psu.ac.th/home/porntip.t/public14/research3/abs/311701.pdf
—
ปัจจัยในการเลือก
# ความชอบและความถนัด ของตัวเรา
# ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
# ชื่อเสียงของคณาจารย์ผู้สอน
# หลักสูตรที่เราเรียน
# ความเป็นที่ยอมรับในวงการ ต่อหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เราเรียน
# ขนาดของมหาวิทยาลัยและห้องเรียน
# เพื่อน
# คุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย
# ความคาดหวังว่าพอจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว เราจะได้อะไร
# ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และบริเวณแถวนั้น
# บางคนอาจจะรวมไปถึง อยากไปอยู่ต่างจังหวัด หรืออยากเข้ามากรุงเทพก็ได้
# ค่าเล่าเรียน
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/152480