ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์ *

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

mcu book
mcu book หน้า 25 - 64


http://www.mcu.ac.th/site/pres_info_content_desc.php?p_id=13

19 พ.ค.56 หลายปีก่อนเคยเห็นการทำ SWOT ของมจร.ลำปาง รู้สึกประทับใจ มาวันนี้พบหนังสือ “ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว” เมื่อเปิดอ่านหน้า 25 – 64 ก็พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ เล่าว่า มจร.เติมโตมาจนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยวิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) p.39  แล้วให้นิยามคำว่า การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์
http://www.thaiall.com/swot/

ขอถวายความเคารพ และแสดงความนับถือแด่พระเถรานุเถระ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และเพื่อนสหธรรมิกทุกรูป  และขอเจริญพรผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตฝ่ายคฤหัสถ์และสาธุชนทุกท่าน

วันนี้จะเป็นวันที่ประทับอยู่ในความทรงจำของพวกเราไปอีกนานเท่านาน พวกเราชาวมหาจุฬาฯนับหมื่นรูป/คนได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ห้องประชุม มวก. ๔๘ พรรษาแห่งนี้เพื่อร่วมพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างเป็น ทางการ  ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันนี้ มหาจุฬาฯ มีสำนักงานใหญ่เป็นของตนเองบนที่ดินที่เป็นของตนเอง ซึ่งสร้างแล้ว เสร็จในช่วงเวลาที่พวกเราทั้งหลายมีส่วนร่วมในการดำเนินการไม่ทางใดก็ทาง หนึ่ง ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ความสำเร็จครั้งนี้งดงามควรแก่ความภาคภูมิใจ ทำให้นึกถึงพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า

วายเมเถว ปุริโส                   ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา

นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา          ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ

เกิดเป็นคนต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

เป้าหมายงดงามเมื่อทำสำเร็จ

ไม่มีเหตุแห่งความสำเร็จใดจะยิ่งไปกว่าความอดทน

ความสำเร็จของพวกเราวันนี้ได้มาด้วยขันติคือทนลำบาก ทนตรากตรำและทนเจ็บใจ

วันนี้ ผมขอถือโอกาสพูดถึงยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์(Strategy)ใน การพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งเรามีวันนี้ที่วังน้อย เพื่อที่ว่าพวกเราทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะได้นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาส่วนงานของเราให้ดียิ่งขึ้นโดยกระจายการพัฒนาให้ เกิดพร้อมกันทุกภาคส่วนตั้งแต่วิทยาเขตลงไปจนถึงหน่วยวิทยบริการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สร้างมหาจุฬาฯด้วยความคิดเชิงยุทธศาสตร์

หลายคนมาเห็นสถานที่แห่งนี้แล้วตั้งคำถามว่าพวกเราสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยได้ ยิ่งใหญ่และงดงามขนาดนี้ได้อย่างไร ผมขอตอบว่าพวกเราสร้างมหาวิทยาลัยด้วยการใช้ความคิดเชิงยุทธศาสตร์หรือความ คิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตฺเตน นียตี โลโก โลกหมุนไปด้วยความคิด ถ้าเราปรับความคิดให้ถูกต้อง เราจะหมุนโลกนี้ได้  เหมือนกับที่ อาคีมิเดส (Archimedes) เจ้าของทฤษฏีคานงัด บอกว่าไม่มีอะไรที่เขางัดไม่ได้ ต่อให้ของหนักที่สุดก็งัดได้ตามทฤษฎีของเขา ถ้าเขามีที่ยืนอยู่นอกโลกตรงไหนก็ได้ เขาจะใช้คานงัดดีดโลกนี้กระเด็นออกไป นี่แหละที่ว่าโลกหมุนไปตามความคิด โลกหมุนไปในทางเดียวกันเพราะความคิด โลกชนกันพินาศวอดวายก็เพราะความคิด

พระพุทธศาสนาเรียกระบบความคิดว่าทิฐิ เมื่อปรับทิฐิความเห็นให้ถูกต้อง โลกก็หมุนไปถูกต้อง ถ้าเราสามารถปรับทิฐิของคนนับหมื่นนับแสนให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ มันจะเกิดพลังมหาศาล อย่างที่พวกเรามาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนหมื่นวันนี้ในฐานะผู้บริหาร  คณาจารย์ หรือนิสิตของมหาวิทยาลัยหรือในฐานะครูพระสอนศีลธรรม  เมื่อใจเรารวมเป็นหนึ่ง คือปรับทิฐิหรือทัศนะให้ตรงกันได้แล้ว คนหมื่นคนก็จะทำงานประสานกลมเกลียวกันเหมือนคนคนเดียว    ถ้าเราร้อยใจหมื่นดวงให้เป็นดวงเดียว อะไรก็เกิดขึ้นได้  ปาฏิหาริย์ ก็เกิดขึ้นได้ เหมือนการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยนี้ซึ่งหลายคนเคยบอกว่าเป็นไปไม่ได้  แต่วันนี้มันเป็นไปได้แล้วเพราะอะไร ก็เพราะความคิดเชิงกลยุทธ์

ก่อนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะย้ายสำนักงานใหญ่มาที่วังน้อยที่นี่เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑  มหาวิทยาลัยตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร  เรามีป้ายมหาวิทยาลัยหนึ่งป้ายพร้อมอาคารหนึ่งหลัง นั่นคือบ้านเก่าของเรา   อาคาร ที่นั่นงดงามแต่คับแคบเพราะเรามีนิสิตและคณาจารย์ส่วนกลางจำนวนนับพัน เราอยู่ที่บ้านเก่าอย่างแออัดคับแคบเหมือนปลาใหญ่อยู่ในสระเล็ก มันจะว่ายไปไหนมาไหนก็ไม่ได้ พอเราจับปลามาปล่อยในสระใหญ่ที่วังน้อย ปลาค่อยยิ้มได้และหายใจโล่งอก

ตอนที่เราอยู่รวมกันที่วัดมหาธาตุ ผมได้ยินพวกเราถกเถียงกันในที่ประชุมว่าใครจะอยู่ห้องไหน มุมไหน เราแบ่งสันปันส่วนสำนักงานกันไม่ลงตัวเพราะมีสถานที่จำกัด ผมเคยตั้งข้อสังเกตตั้งแต่เรายังไม่มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นของเรา เองว่า มหาจุฬาฯตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาไม่กี่เดือน เอกสารและบุคลากรก็ขยายเต็มห้อง จนล้นออกมาตรงนั้นตรงนี้ ผมนึกอัศจรรย์ใจว่าชาวมหาจุฬาฯ มีศักยภาพที่จะพัฒนางานได้เป็นอย่างดี ขออย่างเดียวคือให้เขามีโอกาสคือมีสถานที่ทำงานที่เป็นสัปปายะ  ผมเชื่อมั่นอย่างนี้ตั้งแต่สมัยที่ผมเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา

ในฐานะฝ่ายวางแผน ผมต้องคิดฝันล่วงหน้า ผมไม่สงสัยในศักยภาพ ความสามารถ ฝีมือ สติปัญญา น้ำใจและความใจถึงของพวกเราชาวมหาจุฬาฯ   ตอนนั้นเรายังทำอะไรไม่ได้ เพราะเรายังไม่มีเวทีเป็นของเราเอง เรารำสวยแต่ไม่มีเวทีให้รำ  เราแสดงดีแต่ไม่มีโอกาสได้แสดง ตอนนั้นผมจึงใฝ่ฝันว่าถ้าผมมีโอกาสเมื่อไร ผมจะสร้างเวทีให้พวกเราชาวมหาจุฬาฯ ได้แสดงฝีมือกันอย่างเต็มที่ แต่โอกาสที่เรารอคอยก็มาไม่ถึงสักที จนกระทั่งเราต้องสร้างโอกาสขึ้นมาเองด้วยการผลักดันให้มีการตราพระราช บัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๔๐

ตอนที่พวกเราผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ใกล้สำเร็จก็มีคนสบประมาทพวกเราคือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในกรมการ ศาสนาสมัยนั้นไปฟ้องพระเถระผู้ใหญ่ว่าถ้ามหาจุฬาฯ มีพระราชบัญญัติเป็นของตนเองจะยุ่งกันใหญ่เพราะพระสงฆ์ทำงานไม่เป็น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร รู้สึกห่วงใยพวกเราจึงได้เรียกผมไปเตือนว่ามีคนเขาสบประมาทพวกท่านว่าพระ สงฆ์ทำงานไม่เป็น เพราะฉะนั้นท่านต้องระวังอย่าให้ล้มเหลวเพราะจะเสียหายไปถึงคณะสงฆ์โดยรวม   คำเตือนนั้นยังก้องอยู่ในหูของผมจนทุกวันนี้

ความสำเร็จของพวกเราในวันนี้เป็นการลบล้างคำสบประมาทที่ว่าพระสงฆ์ทำงานไม่เป็น พวกเราชาวมหาจุฬาฯได้พิสูจน์ให้ชาวโลกเห็นว่าพระสงฆ์ไทยสามารถทำงานระดับ ชาติและระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดีขอเพียงแต่ให้มีโอกาสและมีเวทีในการ แสดงออก

วันนี้มีครูพระสอนศีลธรรมจำนวนมากมาอยู่ในห้องประชุมนี้ ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าตอนนี้คำสบประมาทได้ย้ายไปลงที่ครูพระสอนศีลธรรมใน โรงเรียนว่าพระสงฆ์สอนเด็กไม่เป็นจึงทำให้วิชาพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องน่า เบื่อสำหรับเด็กในโรงเรียน คำสบประมาทแบบนี้เคยมีมาแล้วเมื่อพระสงฆ์ได้รับนิมนต์ให้ไปสอนในโรงเรียน เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ในสมัยรัชกาลต่อมาพระสงฆ์ก็หยุดไปสอนในโรงเรียนเพราะมีเสียงค้านว่าพระสงฆ์สอนได้แต่เด็กผู้ชาย แต่สอนเด็กผู้หญิงไม่ได้  ครู ประจำการจึงดึงงานสอนทั้งหมดไปจากพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงว่างงานในการสอนศีลธรรมในโรงเรียนไปเกือบหนึ่งร้อยปี จนกระทั่งเมื่อสามปีที่ผ่านมา รัฐบาลบอกให้มหาจุฬาฯช่วยเป็นคนกลางนิมนต์พระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ รูปไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน พวกเราก็รับหน้าที่เป็นคนกลางให้ แต่ผมก็ห่วงลึกๆ ว่าถ้าพระสงฆ์ล้มเหลวในการสอนศีลธรรมในโรงเรียนครั้งนี้ พระสงฆ์ในอนาคตก็จะหมดโอกาสที่จะเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียนและอาจจะต้องรอ อีก ๒๐๐ ปีก่อนที่พระสงฆ์จะได้กลับเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน พระสงฆ์ในอนาคตคงจะสวดรุ่นพวกท่านว่าสอนศีลธรรมในโรงเรียนแบบไหน จึงทำให้โรงเรียนกลายเป็นเขตปลอดครูพระสอนศีลธรรมขึ้นมาได้

ดังนั้น เพื่อลบล้างคำสบประมาทที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาจุฬาฯต้องเป็นคนกลางที่เร่งพัฒนาศักยภาพของพวกเราด้วยการจัดหลักสูตรฝึก อบรมให้พวกท่าน  ทางที่ดีคือพวกท่านเข้าเรียนมหาจุฬาฯ เริ่มจากหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์หรือ ปบส.  เมื่อ เรียนมหาจุฬาฯ แล้วท่านจะรู้ว่ามหาจุฬาไม่ได้สอนแค่ความรู้วิชาการ แต่ยังปลูกฝังให้มีจิตสำนึกสาธารณะในการเป็นผู้ให้เป็นผู้เสียสละดังคำกล่าว ที่ว่า Come to learn, leave to serve” แปลว่า มาเรียนเพื่อรู้ จบไปเป็นผู้ให้บริการ นี่ คือสิ่งที่มหาจุฬาฯ สั่งสอนอบรมนิสิตติดต่อกันมากว่าหกสิบปีจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ของมหาวิทยาลัย พวกเรามีความสุขในฐานะเป็นผู้ให้ เราไม่เคยถามว่าให้แล้วเราจะได้อะไร  เพราะการให้เป็นความสุขอยู่ในตัวเอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า “มนาปทายี ลภเต มนาปํ” แปลว่า ให้สิ่งที่น่าพอใจแก่เขา เราก็ได้สิ่งที่น่าพอใจตอบ

เราสร้างอาคารใหญ่โตที่วังน้อยโดยไม่ได้คิดหวงไม่ให้ใครเข้ามาใช้  เราประกาศมาตลอดว่าที่นี่สร้างมาด้วยแรงศรัทธาของประชาชน  คนทั่วไปจึงเข้ามาใช้ได้ ขอให้มาใช้กันเถอะ ที่นี่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ พระสงฆ์ทุกรูปจึงมีสิทธิเข้ามาใช้   และ ไม่ใช่เฉพาะพระสงฆ์ไทยเท่านั้น พระสงฆ์ทั่วโลกก็เข้ามาใช้ได้ นี่คือสมบัติของพระศาสนาที่สร้างมาด้วยเงินบริจาคของประชาชนร้อยละ ๖๐ และด้วยงบประมาณจากรัฐบาลอีกร้อยละ ๔๐

เมื่อเราสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยขึ้นมาได้งดงามอย่างที่เห็นอยู่นี้ เราจึงทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยให้ยิ่งใหญ่เพื่อจะประกาศให้คนทั้งหลายเข้ามา ใช้ศึกษาและปฏิบัติธรรม  ปรากฏว่าทุกวันนี้อาคารหอ พักถูกจองกันล่วงหน้าหลายเดือนโดยส่วนราชการต่างๆที่นำบุคลากรเข้ามาปฏิบัติ กรรมฐาน นี่เป็นกิจกรรมหนึ่งในการให้บริการวิชาการแก่สังคมของพวกเรา

เพราะเหตุที่พวกเราชาวมหาจุฬาฯ  มีจิตอาสาชอบเสียสละเพื่อส่วนรวมดังกล่าวมา เวลาที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) มาประเมินมหาวิทยาลัย ปรากฏว่าเราได้คะแนนประเมินสูงมากในด้านการบริการสังคม แม้ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ เราอาจจะไม่เลิศเลอนัก   แต่ในเรื่องน้ำใจเสียสละและจิตอาสา เราไม่แพ้ใครในโลก  ผมใช้คำว่าในโลกเพราะตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมาผมได้เห็นพวกเราจัดงานระดับโลก  ตั้งแต่การจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลก (Buddhist Summit) ในปี ๒๕๔๓ จนถึงการจัดกิจกรรมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลกในปัจจุบัน เรา ทำงานกันอย่างทุ่มเทหามรุ่งหามค่ำ จนถึงขนาดที่ว่าชาวต่างประเทศประหลาดใจที่เห็นพระสงฆ์ไทยเสียสละทำงานกัน อย่างจริงจัง พวกเขาถามอธิการบดีว่าท่านสอนกันอย่างไรจึงได้ผลผลิตอย่างนี้ พวกเขาอยากให้เราไปผลิตบัณฑิตแบบเดียวกันนี้ให้เขาบ้างจึงมาสมัครเป็นสาขา ของมหาจุฬาฯ นี่คือที่มาของสถาบันสมทบในต่างประเทศ ในปัจจุบันมหาจุฬาฯมีสถาบันสมทบในต่างประเทศ ๕ แห่ง คือเกาหลีใต้  ไต้หวัน สิงคโปร์ ศรีลังกา และฮังการี

อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับจุดแข็งของมหาจุฬาฯที่พวกเราควรตระหนักให้ดีก็คือว่า  พระมหาเถระชาวต่างประเทศหลายรูป โดยเฉพาะพระศรีธัมมานันทะ (K. Sri Dhammananda) ซึ่ง เป็นพระสงฆ์ชาวศรีลังกาประจำอยู่มาเลเซียได้แสดงความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาจุฬาฯ ในการเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาของมหาจุฬาฯนั้น ท่านได้เห็นพระบัณฑิตหลายพันรูปเข้าแถวรับปริญญาพร้อมกับท่าน ภาพที่พระสงฆ์จำนวนนับพันรูปเข้ารับปริญญาอย่างนี้ไม่มีที่ไหนในโลก  มีแต่ที่มหาจุฬาฯเท่านั้น เมื่อจัดอันดับตามจำนวนพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบัน ปรากฏว่า มหาจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่ที่สุดในโลก การได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจึงเป็นเรื่องที่พระมหาเถระทั่วโลกภาคภูมิใจกันมาก  เรา จึงได้ข้อสรุปว่า เอกลักษณ์หนึ่งของมหาจุฬาฯที่ทำให้เราโดดเด่นในเวทีโลกวันนี้ซึ่งพวกเราหลาย คนอาจมองข้ามก็คือการที่มหาจุฬาฯมีพระสงฆ์เข้าศึกษาอยู่มากที่สุดในโลก มหาจุฬาฯในอนาคตต้องรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้ให้ดี

ดื่มน้ำให้นึกถึงคนขุดบ่อ ทานผลไม้ให้นึกถึงคนปลูกต้นไม้

เพื่อที่จะช่วยกันถนอมรักษาจุดเด่นและ จิตวิญญาณของเราให้คงอยู่สืบไป เราถือคติเตือนใจวันนี้ว่า ดื่มน้ำให้นึกถึงคนขุดบ่อ ทานผลไม้ให้นึกถึงคนปลูกต้นไม้ น้ำในบ่อที่เราดื่มได้เพราะใครก็ไม่รู้ ได้ขุดไว้เราผ่านมาได้ดื่ม ต้องขอบคุณเขา ผลไม้ที่เขาปลูกไว้ เราได้รับประทาน มีต้นไม้ชนิดหนึ่งในประเทศจีนชื่อว่าแปะก้วย  คนปลูกไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ปลูก เพราะใช้เวลาเติบโตเกือบ ๑๐๐ ปีจึงจะออกดอกออกผล คนปลูกตายไปแล้ว คนอื่นกินผลของมันไปอีกหลายร้อยปี

ที่ มหาจุฬาฯมีวันนี้เราเป็นหนี้พระคุณขององค์ผู้สถาปนาคือพระบาทสมเด็จพระปรมิ นทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงให้ย้ายศาลาบอกหนังสือพระหรือโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจากวัด พระศรีรัตนศาสดารามมาไว้ที่วัดมหาธาตุ เรียกว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” ซึ่งเปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๒   ต่อมาพระองค์ผู้ทรงสถาปนาทรงเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อปี ๒๔๓๙ เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์  ทรง มีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์เอง คู่กันกับ “มหามกุฏราชวิทยาลัย” ซึ่งทรงสถาปนาไว้เป็นอนุสรณ์เฉลิพระเกียรติแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  ดังพระราชหัตถเลขาลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๔๓๙ ที่ทรงมีถึงหม่อมเจ้าประภากร รองอธิบดีกรมศึกษาธิการในสมัยนั้น ความตอนหนึ่งว่า เดิม นั้นคิดว่าจะทำศาลาบอกหนังสือพระ ให้คู่กันกับศาลาบอกหนังสือที่วัดบวรนิเวศน์ที่ให้ชื่อว่ามหามกุฏราช วิทยาลัย เป็นส่วนธรรมยุติกา ที่นี่จะสร้างขึ้นสำหรับส่วนมหานิกาย จะให้ชื่อว่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่วัดมหาธาตุเป็นเวลา ๑๒๐ ปีจนกระทั่งย้ายมาตั้งอยู่ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นมา หลายคนรู้สึกประหลาดใจที่พบว่า มหาจุฬาฯเปลี่ยนสภาพจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ที่บนที่ดินของ วัดมหาธาตุกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ขนาดใหญ่ที่มีที่ดินเป็นของตนเองจำนวน ๓๒๓ ไร่ที่วังน้อย มีอาคารเรียนรวมที่จุผู้เรียนได้ ๑๔,๐๐๐ รูป/คน มีหอประชุมขนาดใหญ่ที่จุคนได้ ๓,๕๐๐ คน มีอุโบสถกลางน้ำใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งจุพระสงฆ์ได้ ๔,๐๐๐ รูป ปัจจุบันมหาจุฬาฯเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกทั้งที่ส่วน กลางและส่วนภูมิภาคกว่า  ๔๐ จังหวัดทั่วประเทศ   มีนิสิตทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์จำนวน ๑๗,๐๐๐ รูป/คน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลปีละกว่าหนึ่งพันล้านบาท ที่สำคัญก็คือมหาจุฬาฯยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติอีกด้วย

หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ความเจริญเติบโตของมหาจุฬาฯเป็นไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมานี่เอง บางคนตั้งคำถามว่าพัฒนาการเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ขอตอบว่า กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด มหาจุฬาฯก็ฉันนั้นคือไม่ได้สร้างเสร็จภายในเวลาหนึ่งทศวรรษ หากแต่เราใช้เวลาเตรียมความพร้อมอยู่ที่วัดมหาธาตุนานหลายปีกว่าจะเป็นอย่าง วันนี้ได้ การสะสมบารมีที่ยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษเป็นปัจจัยหนุนส่งให้มหาจุฬาฯเติบโตมา จนถึงวันนี้

ในประเทศจีนมีต้นไผ่ชนิดหนึ่งที่คนจีนเรียกว่าเมาซูแต่ฝรั่งเรียกว่าโมโซ่ (Moso) ไผ่ชนิดนี้คนแก่ไม่อยากปลูก แต่คนหนุ่มสาวชอบปลูก เหตุที่คนแก่ไม่อยากปลูกก็เพราะว่าปลูก ๕ ปีแล้ว มันสูงจากพื้นนิดเดียว คนแก่บอกว่าเราคงตายเสียก่อนที่มันจะโตเต็มที่  แต่ คนหนุ่มสาวชอบปลูกไผ่ชนิดนี้เพราะหลังจากปลูกได้ ๕ ปี ไผ่จะโตอย่างรวดเร็ว คือมันโตวันละ ๒ ฟุตครึ่ง จนมันสูงเต็มที่ถึง ๗๕ ฟุต ภายใน ๖ สัปดาห์  หลัง จากนั้นมันจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นไผ่ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายคนคงเคยเห็นไผ่ชนิดนี้ในหนังจีนกำลังภายในที่มีฉากต่อสู้ฟันดาบกันบนยอด ไผ่โมโซ่นี่แหละ

นักพฤกษศาสตร์ศึกษาธรรมชาติของไผ่ชนิดนี้ด้วยการขุดดูรากไผ่ใต้ดินแล้วพบว่า  ในช่วง ๕ ปีแรกไผ่โตอยู่ใต้ดิน รากของมันงอกขดเป็นขนดอยู่ใต้ดิน  ถ้าดึงให้ขยายเป็นเส้นตรงจะมีความยาวเกือบหนึ่งกิโลเมตร นี่แสดงว่ามันเตรียมความพร้อมอยู่ใต้ดิน พอครบ ๕ ปี รากของมันดูดซับอาหารจนต้นไผ่โตพรวดๆ กลายเป็นไผ่ยักษ์

มหาจุฬาฯเปรียบเหมือนไผ่โมโซ่คือซุ่มเตรียมความพร้อมอยู่ที่วัดมหาธาตุตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ เราเตรียมความพร้อมอยู่ที่วัดมหาธาตุเป็นเวลานานก่อน ที่จะมีพระราชบัญญัติเป็นของตนเอง การเตรียมความพร้อมที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นเหตุให้มีพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็คือการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ แผนพัฒนานี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แผนพัฒนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๙) เราจงใจใส่คำว่า ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๗ ไว้ในชื่อแผนพัฒนามหาวิทยาลัยก็เพราะเราไม่ต้องการให้คนทั่วไปรู้ว่ามหา จุฬาฯเพิ่งทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปีเป็นครั้งแรก ผมรู้เรื่องนี้ดีเพราะขณะนั้นผมเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนซึ่งเป็น ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้

การบริหารเชิงกลยุทธ์

เมื่อมองย้อนดูเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผมถือว่าการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำพามหา จุฬาฯให้เจริญเติบโตมาถึงจุดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทั้งนี้เพราะในการระดมสมองเพื่อจัดทำแผนของมหาวิทยาลัยนั้น เราสร้างวิสัยทัศน์ร่วม กันว่าเราต้องการเห็นมหาจุฬาฯพัฒนาไปเป็นอะไร ถ้าเราไม่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันเช่นนั้น เราก็จะไม่มีทางรู้เลยว่ามหาจุฬาฯจะพัฒนาไปในทิศทางใด

ตัวอย่างของการทำงานที่ขาดวิสัยทัศน์ก็คือการแล่นเรือไปพบทวีปอเมริกาของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เขาเป็นนักสำรวจคนแรกผู้ค้นพบทวีปอเมริกาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕ ก่อนจะแล่นเรือออกเดินทางจากสเปนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โคลัมบัสไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าตนเองกำลังจะไปไหน (เขาเข้าใจผิดคิดว่าตนเองกำลังแล่นเรือไปทวีปเอเชีย) เมื่อเดินทางถึงทวีปอเมริกาแล้ว โคลัมบัสก็ไม่รู้ว่าเขากำลังอยู่ที่ใด (เขาเข้าใจว่าตนเองกำลังอยู่ที่ทวีปเอเชียจึงเรียกคนพื้นเมืองที่นั่นว่าคน อินเดีย) เมื่อเดินทางกลับถึงสเปน โคลัมบัสก็บอกไม่ได้ว่าเขาไปที่ใดมา (เขาบอกคนในยุโรปว่าเขาไปถึงทวีปเอเชีย) ดังนั้น แม้โคลัมบัสจะเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ค้นพบทวีปใหม่ นักประวัติศาสตร์ก็ไม่ตั้งชื่อทวีปใหม่ตามชื่อของโคลัมบัส ตรงกันข้าม นักประวัติศาสตร์กลับตั้งชื่อว่าทวีปอเมริกาตามชื่อของผู้ค้นพบคนที่สองซึ่ง มีชื่อว่า อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ทั้งนี้เพราะอเมริโกประกาศยืนยันว่าทวีปที่เขาค้นพบหลังจากโคลัมบัสนั้นไม่ใช่ทวีปเอเชียอย่างที่โคลัมบัสเข้าใจแต่เป็นทวีปใหม่ นักประวัติศาสตร์จึงตั้งชื่อทวีปใหม่แห่งนี้ว่าทวีปอเมริกา

การสร้างวิสัยทัศน์ประกอบการวางแผนนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารเชิงกลยุทธ์หรือการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Management) นั่นหมายความว่าที่มหาจุฬาฯเติบใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยอาศัยวิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์นั่นเอง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้นิยามความหมายของคำว่ากลยุทธ์ไว้ว่า การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม, วิธีการที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ, เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้ และได้นิยามความหมายของคำว่ายุทธศาสตร์ไว้ว่า วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยามสงบและยามสงคราม

อย่างไรก็ตาม วงการนักบริหารในปัจจุบันนิยมใช้คำว่ากลยุทธ์และยุทธศาสตร์ในความหมายเดียวกันเพราะแปลมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันว่า “Strategy”  ซึ่งหมายถึง “วิธีการ แผนการหรือวิธีพลิกแพลงเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (A method, plan, or stratagem to achieve some goal)” ดังนั้น ผมจึงใช้คำว่ากลยุทธ์และยุทธศาสตร์ในความหมายเดียวกันว่า “การใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้” ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา มหาจุฬาฯใช้วิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย คำว่า “การบริหารเชิงกลยุทธ์” หมายถึง การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์

ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนามหาจุฬาฯในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาก็คือ เราสร้างวิสัยทัศน์ว่าจะผลักดันให้มหาจุฬาฯพัฒนาไปเป็นอะไร นั่นคือ พวกเรากำหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจนก่อนจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยให้ดำเนิน ไปสู่เป้าหมายนั้นตามลำดับมีขั้นมีตอนและมีการปรับเปลี่ยนแผนการตาม สถานการณ์ ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายและแผนการร่วมกันจึงเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารองค์กร องค์กรที่ขาดเป้าหมายและการวางแผนก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือย่อมจะแล่นสะเปะ สะปะและบางทีอาจจะแล่นวนกลับมาที่จุดตั้งต้นก็ได้

ถ้า บริหารโดยไม่มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์จะทำให้การทำงานมีความซ้ำซ้อนและกินแรง มากเพราะไม่มีการส่งไม้ต่อๆกันไปเป็นทอดๆ เวลาทำแผนเชิงกลยุทธ์เราจะตั้งเป้าหมายว่าจะไปที่ใด จากนั้นก็กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการไปสู่เป้าหมายนั้นซึ่งรียกว่าการวางแผน ในการวางแผนนั้นเราคิดหลายชั้น ไม่ใช่คิดชั้นเดียว เหมือนการเล่นหมากรุกที่ต้องคิดล่วงหน้าหลายตา จากนั้นก็เดินไปตามแผนที่วางไว้ เมื่อเจอปัญหาก็ต้องรู้จักยืดหยุ่นพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่เดินอาหัวชนกำแพง มีการถอยตั้งหลักหรือเปลี่ยนเส้นทางเดิน แต่ไม่เคยลืมเป้าหมาย เราต้องเอาชนะปัญหาอุปสรรคให้ได้ และไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ดังคำกล่าวของประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) ที่ว่า ตาดูดาว เท้าติดดิน (Keep your eyes on the stars and your feet on the ground)สองตามองที่ดวงดาวคือเป้าหมาย ส่วนสองเท้าก็เดินไปตามแผนเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น

เราเห็นวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการเล่นบิลเลียด ผู้เล่นต้องวางแผนตีกระทบลูกหนึ่งเพื่อให้วิ่งไปกระทบลูกไหนต่อไปลงช่องไหน หรือทำให้ตามแทงได้ง่ายขึ้น นี่คือการคิดเชิงกลยุทธ์ที่ทำอะไรอย่างมีเป้าหมายเสมอ

ถ้า ท่านดูการแข่งขันฟุตบอลให้ดูด้วยว่าแต่ละฝ่ายเขาวางแผนกันอย่างไร เป้าหมายอยู่ที่การทำประตูในเขตแดนของคู่ต่อสู้ ผู้เล่นต้องส่งลูกฟุตบอลจากกองหลังไปกองกลางจนถึงศูนย์หน้าเพื่อให้ยิงเข้า ประตูฝ่ายตรงข้าม นักเตะแต่ละคนส่งลูกต่อกันเป็นทอดๆรู้จักหลบหลีกคู่ต่อสู้ ต้องรู้จักวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ว่าอยู่ตรงไหน พยายามหลีกเลี่ยงจุดแข็งและเข้าโจมตีจุดอ่อน นั่นคือการพลิกแพลงตามสถานการณ์

ใครที่เล่นหมากรุกย่อมรู้จักคิดวางแผนล่วงหน้าว่าถ้าเราเดินไปตานี้ เขาจะเดินไปตาไหน เราจะรุกฆาตเขาได้หรือไม่ ถ้าเรายอมเสียเบี้ยให้เขาไปหนึ่งตัว เราจะกินม้าหรือโคนของเขาได้หรือไม่  นี่คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ต้องมีการคิดวางแผนล่วงหน้าเสมอ

การบริหารเชิงกลยุทธ์นี้มีอยู่แล้วในพระพุทธศาสนาซึ่งผมเรียกว่าการบริหารตามแนวอริยสัจ ๔ ซึ่งเริ่มจากการตระหนักรู้ปัญหาหรือทุกข์ขององค์กร เราตรวจดูว่าอะไรเป็นสมุทัยคือสาเหตุของปัญหา เราคาดว่าปัญหานั้นแก้ได้หรือไม่ซึ่งเป็นการเก็งนิโรธ จากนั้นเราวางแผนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งตรงกับอริยสัจข้อที่ ๔ คือมรรค กระบวนการทั้งหมดนี้เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์

เมื่อศึกษาพุทธประวัติ เราพบว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักวางแผนชั้นเยี่ยม  เมื่อ จะประกาศพระศาสนาในปีแรกหลังตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ แต่ก็ไม่ตรงไปเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธในทันที  ทรง เห็นว่าพระเจ้าพิมพิสารและชาวมคธเคารพนับถือชฎิลสามพี่น้อง พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปปราบพยศของชฎิลทั้งสามพร้อมลูกศิษย์อีก ๑,๐๐๐ คนจนกระทั่งทุกคนขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จากนั้นจึงเสด็จไปพร้อมพระภิกษุเหล่านั้นเพื่อเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสาร   เมื่อ พระเจ้าพิมพิสารและชาวมคธเห็นว่าชฎิลสามพี่น้องที่พวกตนเคารพนับถือกลายเป็น ศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว จิตใจของคนเหล่านั้นก็อ่อนลงพร้อมที่จะฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าเทศน์จบลง  พระเจ้าพิมพิสารได้ดวง ตาเห็นธรรม ชาวมคธเหล่านั้นปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นี่แสดงให้เห็นว่า แม้พระพุทธเจ้าตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารและ ชาวมคธ แต่ก็ทรงวางแผนดึงชฎิลสามพี่น้องมาเป็นศิษย์ให้ได้ก่อนซึ่งจะช่วยให้เทศน์ โปรดพระเจ้าพิมพิสารและชาวมคธได้โดยง่าย นี่คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของพระพุทธเจ้า

การผลักดันเพื่อให้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พวกเราลูกศิษย์พระพุทธเจ้าได้วางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นขั้นเป็นตอนส่งต่อกันเป็นทอดๆ ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ ๑ วางแผนดำเนินการให้มหาจุฬาฯมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นของตนเอง เพื่อให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล

ขั้นที่ ๒ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคลแล้วก็สามารถเป็นเจ้าของที่ดินและดำเนินการก่อสร้างสำนักงานใหญ่บนที่ดินนั้นได้

ขั้นที่ ๓ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัย เราจึงกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะให้มหาจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต

การดำเนินการในขั้นแรกเพื่อให้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นของตนเองนั้น เริ่มขึ้นเป็นรูปเป็นร่างเมื่อเราทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕ ในแผนพัฒนาฉบับแรกนี้ เราเขียนเป็นนโยบายไว้ว่า “พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสถานภาพสมบูรณ์ตามกฎหมาย” และกำหนดเป็นมาตรการรองรับไว้ว่า “ดำเนินการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”

ในการบริหารเชิงกลยุทธ์นั้น เราต้องตระหนักว่าเมื่อเรามีทรัพยากรน้อยและมีเวลาจำกัด เราต้องระดมสรรพกำลังเท่าที่มีอยู่ไปสู่เป้าหมายที่เราเห็นว่าสำคัญที่สุด และในช่วงปี ๒๕๓๕-๒๕๓๙ นั้น เราเห็นว่าการดำเนินการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับต้น ตลอดช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปี(๒๕๓๕-๒๕๓๙)นั้น เราทุ่มเทดำเนินการในเรื่องนี้เป็นหลักจนกระทั่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสำเร็จออกมาในปี ๒๕๔๐

ในช่วงเวลาห้าปีที่ว่านี้เราเกือบไม่ทำอะไรเลยนอกจากเรื่องผลักดันพระราช บัญญัติมหาวิทยาลัย เป้าหมายหลักของเราคือให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯให้จงได้ และในที่สุดเราก็ทำสำเร็จในปี ๒๕๔๐ เหตุที่เราทำได้ก็เพราะเราทำอย่างมีแผนกลยุทธ์  นี่ แหละที่ผมบอกว่าเราทำเป็นขั้นเป็นตอนกว่าจะมาถึงวันนี้ เราประสบความสำเร็จด้วยพรแสวงไม่ใช่พรสวรรค์ เราทำงานหนักมากในการไปชี้แจงเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯเพื่อ ให้ผ่านด่านแต่ละด่านตั้งแต่กรมการศาสนาในสมัยนั้นไปจนถึงวิปรัฐบาล เราเข้าไปชี้แจงในคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการวุฒิสภาและคณะกรรมาธิการร่วมของทั้งสองสภา การที่ผมเองได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เป็นหัวหน้าคณะเข้าไปชี้แจงในทุก ด่านนั้นทำให้ในตอนนั้นผมจำพระราชบัญญัติมหาจุฬาฯได้เกือบทุกมาตรา

ในการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้เราต้องทำ SWOT Analysis นั่นคือการวิเคราะห์จุดเด่น(Strengths) จุดด้อย (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ของมหา จุฬาฯ การวิเคราะห์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย เราได้นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ไปประกอบการชี้แจงให้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯผ่านด่านทุกด่านดังกล่าวมา

อะไรคือจุดเด่นที่สุดของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คำตอบก็คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๐ ยิ่งไปกว่านั้น องค์ผู้สถาปนายังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พระปรมาภิไธยของพระองค์เป็นชื่อสถาบันว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ เพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์เอง

ควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

จุดเด่นประการที่ ๒ ของมหาจุฬาฯ มาจากพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงมีถึงเจ้าพระยาปภากร ความตอนหนึ่งว่า “ที่นี่จะสร้างขึ้นสำหรับส่วนมหานิกาย จะให้ชื่อว่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เพราะ เหตุนี้ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุในขณะนั้นได้เรียกประชุม พระเถระนุเถระฝ่ายมหานิกาย ๕๗ รูปที่วัดมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๐ ได้ข้อยุติร่วมกันให้เปิดการศึกษามหาจุฬาฯในรูปแบบมหาวิทยาลัย จึงได้ประกาศใช้ระเบียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๙๐  ผมดีใจที่ท่านเจ้าคุณพระราชเวที (พร) เป็นต้นเสียงสวดชะยันโตตอนที่ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมประกาศเรื่องนี้จบลง

การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชประสงค์ให้มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์มหานิกายนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยประการหนึ่ง เพราะเท่ากับว่าจำนวนประชากรสงฆ์ที่ มหาวิทยาลัยจะต้องรับภาระดูแลด้านการศึกษานั้นมีจำนวนมากกว่าสามแสนรูป ด้วยเหตุนี้เองมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเพื่อให้คงความเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเอาไว้ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้มีมติให้มหาวิทยาลัยรับพระสงฆ์ และคฤหัสถ์เข้าศึกษาในอัตราส่วน ๗๐/๓๐ นั่นคือให้รับนิสิตฝ่ายพระภิกษุสามเณรร้อยละ ๗๐ และรับนิสิตฝ่ายคฤหัสถ์ร้อยละ ๓๐

อุปสรรคในการเสนอพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใช่ว่าจะราบรื่นเสียทีเดียว เคยมีความพยายามก่อนหน้านี้หลายครั้งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และมีอยู่ครั้งเดียวเท่านั้นที่ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ผ่านวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ใน สมัยที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการก็ได้มีการ ยุบสภาไปเสียก่อน  ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นอันตกไป หลังจากนั้นรัฐบาลก็ไม่เคยเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าสภาอีกเลยจนกระทั่งเรามาเริ่มต้นผลักดันกันใหม่ในปี ๒๕๓๕

อุปสรรคสำคัญต่อการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าสภาในปี ๒๕๑๘ ก็คือมติข้อโต้แย้งจากสังคมในสมัยนั้น ๓ ประการ ดังนี้

๑.      มีข้อห่วงใยว่า ถ้าพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรับรองปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ก็จะเป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรลาสิกขากันมากขึ้น

๒.    การรับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นสิ่งจูงใจเพื่อให้คนบวชเพียงเพื่อต้องการเอาปริญญา ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการบวช

๓.     การรับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรเป็นผู้เอาเปรียบสังคม

เมื่อถึงปี ๒๕๓๕ ที่เราเริ่มดำเนินการผลักดันพระ ราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น ข้อโต้แย้งจากสังคมทั้ง ๓ ประการดูจะคลายน้ำหนักลงไปเป็นอันมาก โดยเฉพาะข้อโต้แย้งที่ ๑ ที่ว่าการรับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะทำให้พระภิกษุสามเณรลา สิกขากันมากขึ้นนั้นเป็นอันหมดความหมายไปโดยปริยายเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่รับรองปริญญาแต่ไม่รับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์

ข้อโต้แย้งที่ ๒ ที่ว่า การ รับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นสิ่งจูงใจเพื่อให้คนบวช เพียงเพื่อต้องการเอาปริญญานั้นก็ไม่มีน้ำหนักในปี ๒๕๓๕ เพราะในปีนั้นสถาบันอุดมศึกษาได้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะสถาบันราชภัฎได้กลายเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาไปแล้ว ถ้าผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาต้องการปริญญา พวกเขาคงไม่ลงทุนมาบวชเรียน เพื่อต้องการเอาปริญญาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ คนเหล่านั้นคงเลือกที่จะเข้าเรียนที่สถาบันราชภัฎมากกว่า

ดังนั้น ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงลดบทบาทในการเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เราเน้นบทบาทใหม่ในการเป็นมหาวิทยาลัยสำหรับผู้สนใจศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา ดังที่ปรัชญามหาวิทยาลัยในปัจจุบันมีอยู่ว่า จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีพันธกิจสำคัญคือการสร้างศาสนทายาทดังที่เราได้กำหนดให้มีแผนงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ๒๕๓๕-๒๕๓๙ และมีมาตรการรองรับข้อหนึ่งว่า “จัด ฝึกอบรมบุคลากรของสถาบันสงฆ์ เช่น พระสังฆาธิการ พระธรรมทูต พระวิปัสสนาจารย์ พระจริยานิเทศก์ พระปริยัตินิเทศก์ และครูสอนพระปริยัติธรรมให้สามารถส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทะนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม” กว่าคณะสงฆ์โดยรวมจะไว้วางใจให้มหาวิทยาลัยพัฒนาบุคลากรสงฆ์ เราต้องรอมาจนถึงปี ๒๕๕๐ จึงสามารถทำหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)ให้เป็นที่นิยมของพระสังฆาธิการทั่วประเทศ ปัจจุบันเราเปิดหลักสูตรป.บส. สำหรับพระสังฆาธิการกระจายอยู่กว่า ๔๐ จังหวัดทั่วประเทศ และได้ทำหลักสูตรการจัดการเชิงพุทธเพื่อพัฒนาพระสังฆาธิการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาเอก

สำหรับข้อโต้แย้งที่ ๓ ที่ว่าการ รับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรเป็น ผู้เอาเปรียบสังคมนั้น เราสามารถชี้แจงอย่างเสียงดังฟังชัดว่า พระบัณฑิตของเราไม่ได้เป็นผู้เอาเปรียบสังคมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยมีประเพณีที่ถือปฏิบัติมากว่า ๓๐ ปีแล้วว่าผู้ เรียนจบตามหลักสูตรปริญญาตรีสี่ปีของมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถรับปริญญาได้จน กว่าจะได้ปฏิบัติศาสนกิจอีกหนึ่งปีเต็ม นั่นหมายความว่า หลังจากเรียนครบสี่ปีตามหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว นิสิตต้องออกไปปฏิบัติงานเพื่อสังคมอีก ๑ ปีโดยไม่อาจเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ เมื่อปฏิบัติงานครบ ๑ ปีแล้วจึงมีสิทธิ์รับปริญญา ด้วยเหตุนี้พระนิสิตของเราจึงถูกฝึกหัดให้เป็นผู้มีจิตอาสาพร้อมเสียสละ เพื่อส่วนรวม

คำชี้แจงของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างจังหวัด ที่ได้เห็นผลงานของพระนิสิตปฏิบัติศาสนกิจมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูลาดเลาล่วงหน้าแล้ว เราเชื่อว่าร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยน่าจะผ่านสภาไปได้เพราะข้อโต้แย้งจาก สังคมทั้งสามข้อลดน้ำหนักไปมาก แต่มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นนั้นคือรัฐบาลลังเลที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงฆ์เข้าสภาเพราะมีเสียงพูดกันว่าเป็นพระราชบัญญัติอาถรรพ์ที่เสนอเข้าสภาทีไรเป็นอันต้องยุบสภาทุกทีไป

การผลักดันพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยครั้งนี้เริ่มต้นในเดือนธันวาคม ๒๕๓๕ สมัยนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย การดำเนินการในช่วงต้นมีอุปสรรคมากเพราะกรมการศาสนาในสมัยนั้นไม่ยอมปล่อย ให้มหาจุฬาฯเป็นอิสระจากการกำกับดูแลของกรม ดังจะเห็นได้จากการที่กรมการศาสนาชิงเสนอให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นหลักแทนที่จะให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษาของกรมการศาสนาในสมัยนั้นได้แถลงไว้เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๓๗ ว่า “ควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนด วิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นหลัก เพราะนโยบายของท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยสงฆ์จะไม่มีสองมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะขณะนี้จะมีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกเกิดขึ้นโดยตั้งงบประมาณไว้ แล้ว”

ความล้มเหลวและความสำเร็จในการผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย

กว่าเราจะผ่านด่านกรมการศาสนามาได้เวลาก็ล่วงเลยมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ดร.รุ่ง แก้วแดง อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนในสมัยนั้นได้เข้ามาช่วยปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้พร้อมที่จะเสนอกระทรวงศึกษาธิการและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๘ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระ ราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ในช่วงที่รอการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่นี้ก็มีการประกาศยุบสภา

วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชามีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมา สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๙ และตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนี้ ผมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยไปชี้แจงในคณะกรรมาธิการจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยก็ มีการประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๙ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงเป็นอันตกไปอีก

ต่อมา ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วเสนอเข้า สู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในทันทีเพราะเสียงพูดว่าเป็นพระราชบัญญัติ อาถรรพ์เริ่มหนาหู จนกระทั่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการในวาระที่ ๑ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๐ และมีมติเห็นชอบในวาระที่ ๒ และที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐  จะเห็นได้ว่าขั้น ตอนการพิจารณาคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยไปชี้แจงในคณะกรรมาธิการอีกเช่นเคย

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณากลั่นกรองที่ผมต้องเข้าไปชี้แจงอีก

ต่อมาวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์โดยแก้ไขตาม ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการจึงเป็นเหตุให้ต้องส่งเรื่องกลับมาที่สภาผู้แทน ราษฎร

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐ สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของสองสภาที่ผมต้องเข้าไปชี้แจง อีกเช่นเคย จากนั้น วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ตามด้วยวุฒิสภา ที่มีมติเห็นชอบเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐ อันมีผลให้ภารกิจของพวกเราในการผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ สำเร็จลุล่วงบริบูรณ์หลังจากที่พวกเราดำเนินการในเรื่องนี้มา ๕ ปีเต็ม เป็นช่วง ๕ ปีที่เราใจหายใจคว่ำเพราะมีการยุบสภา ๒ ครั้งและเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง  ๓ คน

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา ๕ ปีที่เราดำเนินการผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร ณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ จนสำเร็จนั้นเปรียบเหมือนเวลา ๕ ปีแรกแห่งการเตรียมความพร้อมอยู่ใต้ดินของไผ่โมโซ่ และหลังจาก ๕ ปีผ่านไปแล้วไผ่โมโซ่เติบโตเหนือพื้นดินอย่างรวดเร็ว นั่นก็เหมือนกับช่วงที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วที่วังน้อยแห่งนี้หลังจากมีพระราชบัญญัติเป็นของตนเอง

ก่อนหน้าที่จะมีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยไม่สามารถเป็นเจ้าของครอบครองที่ดินได้ เมื่อมีผู้บริจาคที่ดินก่อนนั้นเราโอนโฉนดให้วัดมหาธาตุและมูลนิธิมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัยถือครอบครองแทน มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ได้บัญญัติให้มหาวิทยาลัยมีสถานภาพเป็น นิติบุคคลซึ่งสามารถมีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินได้

วิสัยทัศน์ในการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อย

เจ้าภาพรายแรกที่บริจาคที่ดินผืนใหญ่ให้มหาวิทยาลัยหลังจากที่เรามีพระราชบัญญัติแล้วก็คือนายแพทย์รัศมี คุณหญิงสมปอง วรรณิสสรที่ ได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน ๘๔ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา ณ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถวายมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เจ้า ภาพเก็บที่ดินผืนนี้ไว้สำหรับสร้างวิทยาลัยแพทย์ของโรงพยาบาลสยาม แต่ได้เปลี่ยนใจมาถวายเป็นสถานที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ คุณหญิงสมปองได้ตั้งเงื่อนไขในการบริจาคที่ดินไว้ว่า เมื่อรับถวายที่ดินแล้ว มหาวิทยาลัยต้องเริ่มดำเนินการก่อสร้างทันที อย่าเก็บที่ดินไว้เฉย ๆ

ผมในฐานะอธิการบดีได้รับปากกับเจ้าภาพว่าจะดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยโดย ไม่ชักช้าจึงระดมผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบเพื่อให้พร้อมที่จะก่อสร้างทันทีที่หา เจ้าภาพบริจาคเงินค่าก่อสร้างได้ เรากำหนดวงเงินค่าก่อสร้างไว้หนึ่งพันล้านบาท ในช่วงนั้นเราหาเจ้าภาพยากมากๆเพราะเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังกู้เงินจากกอง ทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) มาฟื้นฟูเศรษฐกิจฟองสบู่ที่แตกไปเพราะการลดค่าเงินบาทในปี ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีที่เราได้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมานั่นเอง

ยุทธศาสตร์ที่เรานำมาใช้ในการระดมทุนช่วงนั้นคือเราตั้งเป้าหมายว่าเราจะสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกเหมือน มหาวิทยาลัยนาลันทาของอินเดียในอดีตที่คนจากทั่วโลกมาศึกษาเล่าเรียน แม้แต่พระถังซัมจั๋งจากประเทศจีนก็เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทานานถึง ๕ ปี

วิสัยทัศน์ของผมก็คือสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยให้เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานา ชาติเหมือนมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต เพื่อจูงใจให้คนเห็นคล้อยตามวิสัยทัศน์นี้ ผมได้ขอให้พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (ปัจจุบันเป็นพระศรีคัมภีรญาณ) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเขียนหนังสือเรื่องจากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ ผมได้เขียนคำปรารภของหนังสือนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า งานก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัยแห่งใหม่เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้กำลังทรัพย์และกำลัง สติปัญญามาก ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งในส่วนของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป การจัดพิมพ์หนังสือเรื่องจากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความรู้สึกสำนึกร่วมกันในการที่จะช่วยกันส่งเสริมงานนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์

หนังสือนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

ผมได้สั่งให้จัดพิมพ์หนังสือนี้เป็นครั้งที่ ๒ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารเสด็จฯทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓

ผมใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ในการระดมทุนสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อย ในช่วงนั้นผมหายใจเข้าออกเป็นเรื่องการก่อสร้างมหาจุฬาฯ เมื่อใดที่ผมไปพูดบรรยายธรรมทางทางวิทยุและโทรทัศน์ ผมเป็นต้องชักชวนให้คนมาบริจาคสนับสนุนการก่อสร้างมหาวิทยาลัยทุกครั้ง ดังที่ครั้งหนึ่งผมแสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “วันวิสาขบูชาคือวันสำคัญของโลก” ที่ท้องสนามหลวง ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  ๒๕๔๔  ถ่าย ทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่งผมได้พูดถึงการสร้างมหาจุฬาฯให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ของโลกไว้ดังต่อไปนี้

พระ สงฆ์ทั้งหลายต้องช่วยกันชักชวนญาติโยมให้ทำบุญอุปถัมภ์การศึกษาสงฆ์ ฆราวาสบางคนถามว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปสร้างอาคารเรียนที่วังน้อย ทำไม ขอบอกว่าที่วังน้อยจะให้เป็นสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัย เพราะเรามีวิทยาเขตอยู่ทั่วประเทศ ต่อไปคนทั่วโลกที่สนใจพระพุทธศาสนาจะมาเรียนพระพุทธศาสนากันที่นี่ การสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นการลงทุนเรื่องการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สมควร ช่วยเหลือ เพราะฉะนั้น   ขอให้ท่านทั้งหลายช่วยทำบุญอุปถัมภ์การศึกษาสงฆ์ ซึ่งถือว่าเป็น วิเจยฺย ทานํ  คือ เลือกพิจารณาให้ทานในที่ที่จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และในวันวิสาขบูชาในแต่ละปี ขอให้ทอดผ้าป่าช่วยการศึกษาสงฆ์ ช่วยมหาวิทยาลัยสงฆ์”

ในช่วงแรกของการระดมทุนนั้น แม้ผมจะพูดชักชวนมากมายขนาดไหน คนทั่วไปก็ยังไม่กล้าบริจาคเงินก้อนโต เขาคงเกรงจะเอาเงินมาจมกับโครงการพันล้านในทุ่งวังน้อย อภิมหาโครงการอย่างนี้ไม่มีใครเขาทำกันในยุคที่เศรษฐกิจบ้านเมืองกำลังตกต่ำ ผมจำได้ว่า พระเถระรูปหนึ่งแห่งวัดมหาธาตุถึงกับเตือนผมด้วยความหวังดีว่า “ถ้า ผมเป็นท่านอธิการบดี ผมจะไม่กล้าประกาศเปิดตัวโครงการก่อสร้างมหาจุฬาฯที่ต้องใช้เงินเป็นพันล้าน บาทอย่างนี้ ถ้าประกาศไปแล้วผมคงนอนไม่หลับเพราะไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาสร้างตามที่ ประกาศไว้” ถ้าท่านไม่เกรงใจท่านคงจะพูดต่อว่า ผู้ที่จะทำอภิมหาโครงการระดับนี้ต้องมีอายุพรรษามาก มีบารมีสูงหรือไม่ก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แล้วอธิการบดีมหาจุฬาฯเป็นใครจึงกล้าหาญชาญชัยขนาดนี้

บางทีในตอนแรกเราอาจจะดูเหมือนพวกฝันเฟื่องก็เป็นได้ เช่นตอนที่พวกเราประกาศเปิดตัวโครงการก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยผ่านสื่อ ทุกประเภท โดยกำหนดให้วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นวันระดมทุนทอดผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กองๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เรากะว่าจะได้เงินอย่างน้อย ๘๐๐ ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเราได้เงินจากการทอดผ้าป่าครั้งนั้นแค่  ๖  ล้านบาท มันเป็นไปไม่ได้เลยที่อภิมหาโครงการหนึ่งพันล้านบาทจะเริ่มต้นได้ด้วยเงินแค่นั้น

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ผลิดอกออกผล

อย่างไรก็ตาม พวกเราได้พยายามหาทางสร้างมหาวิทยาลัยกันต่อไปแม้ความสำเร็จดูจะไกลเกิน เอื้อม ในระยะแรกนั้นรัฐบาลยังไม่ได้เข้ามาช่วยด้านงบประมาณ เพราะยังอยู่ในช่วงพิจารณาว่าจะสนับสนุนดีหรือไม่ เนื่องจากเรายังไม่มีเงินบริจาคเป็นทุนประเดิมจากเอกชน  ดัง นั้น ผู้บริจาครายแรกจึงสำคัญที่สุด เพราะเมื่อมีผู้บริจาครายแรกก็จะมีรายอื่นๆ ตามมา ถึงตอนนั้น รัฐบาลจึงจะให้งบประมาณสนับสนุนการก่อสร้าง นี่คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของเรา

เราถือว่า เอกชนรายแรกผู้จะเข้ามาช่วยบริจาคให้งานก่อสร้างมหาจุฬาฯเริ่มตั้งไข่และ เดินหน้าไปได้มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของพวกเรา ใครเล่าจะเป็นเทวดาเหาะลงมาโปรดพวกเรา

เราต้องจารึกไว้ตรงนี้ถึงความมีน้ำใจและความกล้าหาญชาญชัยของผู้บริจาครายแรก ที่กล้าเข้ามารับเป็นเจ้าภาพสร้างอาคารหลังแรกให้เราโดยที่ยังไม่มีความมั่น ใจว่าอภิมหาโครงการนี้จะสำเร็จหรือไม่

เหตุให้มีผู้บริจาครายแรกท่านนี้ก็เนื่องมาจากวันหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เรียกผมในฐานะอธิการบดีของมหาจุฬาฯไปพบและแจ้งให้ทราบว่าเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ มีความประสงค์จะสร้างอาคารหนึ่งหลังถวายมหาจุฬาฯที่วังน้อย

ผมรีบไปกราบพบเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าประคุณสมเด็จฯถามผมว่ามีอาคารอะไรจะให้ท่านช่วยสร้างได้บ้าง ผมนำแบบแปลนอาคาร ๒ หลังไปให้ท่านพิจารณา คือ อาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎกราคา ๓๙ ล้านบาท กับอาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศราคา ๗๕ ล้านบาท ท่านชี้ไปที่แบบแปลนอาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วกล่าวว่าผมจะสร้าง อาคารนี้ให้หนึ่งหลัง

ดังนั้น เจ้าภาพสร้างอาคารรายแรก ก็คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้า อาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ การที่เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ประกาศว่าจะช่วยสร้างอาคารหลังใหญ่ให้หนึ่งหลัง ทำให้คนทั่วไปเชื่อมั่นว่าอภิมหาโครงการของเราไม่แท้งแน่นอน

เมื่อ ดร. ยุวรี เอื้อกาญจนวิไล ทราบข่าวว่ามีผู้เจ้าภาพสร้างประเดิมให้หนึ่งหลังแล้วก็มาแสดงความจำนงขอสร้างหอพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก จากนั้น พระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามกับพวกเราชาวมหาจุฬาฯก็ช่วยกันสร้างหลังที่สามคือ สำนักงานอธิการบดี เมื่ออาคารสามหลังนี้มีเจ้าภาพเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลจึงประกาศให้งบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนรวมและอาคารหอพัก นิสิตแก่มหาวิทยาลัย

ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น พระวิสุทธาธิบดี (ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามรับเป็นเจ้าภาพสร้างอาคารหอฉัน ๑ หลัง คุณศักดิ์ชัย คุณสุดาวรรณ เตชะไกรศรีรับเป็นเจ้าภาพสร้างอาคารมหาจุฬาบรรณาคาร ๑ หลัง

การ ก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยมีสภาพไม่ต่างจากขบวนรถไฟที่วิ่งออกจากสถานี ตอนแรกที่หัวรถจักรเริ่มลากตู้โดยสารออกจากสถานีนั้น น้ำหนักตู้โดยสารจะถ่วงดึงให้ขบวนรถไฟเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่เมื่อขบวนรถไฟแล่นไปสักระยะหนึ่ง ตู้โดยสารเริ่มไหลลื่นไปตามหัวรถจักรโดยไม่ต้องมีการออกแรงดึงมากนัก ตอนนี้แหละที่ขบวนรถไฟแล่นฉิวไปเลย

บารมีธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทะ

การก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยแล่นฉิวไปแบบสบายๆก็เพราะได้บารมีธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทะหรือพระพรหมมังลาจารย์แห่งวัดชลประทานรังสฤษดิ์มาสนับสนุนส่งเสริมพวกเราในช่วงนี้เอง

หลวงพ่อปัญญานันทะได้ข่าวการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยจากสื่อมวลชนก็ให้ลูกศิษย์คือ ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคมพามาดูผลงานของพวกเราที่วังน้อย โดยที่พวกเราไม่ได้มีโอกาสต้อนรับเพราะไม่ทราบว่าท่านมาเมื่อไร

ดร.ชาติชาย ซึ่งเป็นรองอธิการบดีของมหาจุฬาฯในขณะนั้นได้รายงานภายหลังว่าหลวงพ่อ ปัญญานันทะมาเห็นการก่อสร้างมหาวิทยาลัยในช่วงนั้นแล้วก็ออกปากว่า มหาวิทยาลัยออกใหญ่โตอย่างนี้ ทำไมสร้างกันเงียบๆ ให้อธิการบดีพาคณะผู้บริหารไปพบท่านหน่อย

พวกเราฟังแล้วพากันดีใจว่าหลวงพ่อปัญญานันทะคงจะช่วยสร้างอาคารสักหลังสองหลัง เป็นแน่ จึงรีบพากันไปกราบท่านในช่วงเข้าพรรษาปี ๒๕๔๕ ท่านถามถึงการก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยและบอกว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ผมจะช่วยพวกท่าน”

พวกเราก็ตั้งใจฟังว่าท่านจะช่วยเรื่องอะไร

ปัญญานันทภิกขุ
ปัญญานันทภิกขุ

หลวงพ่อปัญญานันทะ บอกว่า “ผมจะช่วยออกหัวคิดให้พวกท่านไปทำ คือให้พวกท่านจัดทอดผ้าป่าระดมทุนที่ท้องสนามหลวง จัดให้ใหญ่ มหาจุฬาฯตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมื่อจัดงานทั้งทีอย่าให้อยู่ในกำแพงวัดมหาธาตุ ต้องออกไปจัดที่ท้องสนามหลวง

ฟังไอเดียหลวงพ่อแล้วพวกเราก็มึนเลย ตอนแรกนึกว่าท่านจะช่วยสร้างอาคารสักหลังหนึ่ง ที่ไหนได้ ท่านกลับวางแผนให้พวกเราทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวง เรากังวลว่าจะหาคนที่ไหนมาร่วมงานเพราะสนามหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก

เมื่อหลวงพ่อปัญญานันทะแนะนำพวกเราอย่างนี้ ด้วยความเคารพและศรัทธาในหลวงพ่อเสมอมา พวกเราก็กลับมาปรึกษาหารือกันและในที่สุดตกลงว่าจะจัดงานทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวงเนื่องในวันปิยมหาราชปี ๒๕๔๕

เราจัดทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวงตามที่หลวงพ่อปัญญานันทะแนะนำ เราได้ เงินจาการทอดผ้าป่าไม่มากนักแต่ได้ใจของหลวงพ่อปัญญานันทะมากกว่า พอทอดผ้าป่าเสร็จหลวงพ่อปัญญานันทะเรียกพวกเราไปพบอีก ท่านชอบใจที่เรากล้าทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวง ท่านบอกว่า “ผมเคยเสนอมหา จุฬาฯมาตั้งนานแล้วว่าให้จัดทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวง แต่ไม่มีใครกล้าทำ มีแต่อธิการบดีรูปนี้แหละที่ตัวเล็กแต่ใจใหญ่จึงกล้าทำ ตกลงว่า ผมจะช่วยสร้างหอพักอาคันตุกะให้มหาจุฬาฯหนึ่งหลัง”

หลวงพ่อปัญญานันทะได้แนะนำให้พวกเราซื้อที่ดินเพิ่มอีก ซึ่งเราก็ทำตามคือซื้อที่เพิ่มไปด้านหลังของโครงการอีก ๑๔๐ ไร่ ตอนแรกหลวงพ่อบอกว่าจะหาเงินมาจ่ายค่าที่ดินให้พวกเรา แต่พอหลวงพ่อหันไปสร้างอุโบสถกลางน้ำ ท่านก็ลืมเรื่องค่าที่ดินสนิท เราจึงต้องหาเงินมาจ่ายค่าที่ดินกันเอง

เหตุที่หลวงพ่อปัญญานันทะประกาศสร้างอุโบสถกลางน้ำก็เนื่องจากว่าวันหนึ่งท่าน เห็นสระขนาดใหญ่ ๑๖ ไร่ ลึก ๑๑ เมตรที่เกิดจากการที่เราขุดเอาดินไปถมที่ในโครงการ หลวงพ่อบอกว่าท่านจะสร้างอุโบสถกลางน้ำในสระนี้ จากนั้น ท่านก็มอบหมายให้คุณภิญโญ สุวรรณคีรีศิลปินแห่งชาติออกแบบอุโบสถกลางน้ำมาให้ผมดู แบบที่ผมเห็นครั้งแรกนั้นเป็นอุโบสถขนาดที่จุพระสงฆ์ได้ ๓๐๐ รูป

ผมบอกว่า มหาจุฬาฯต้องการอุโบสถขนาดใหญ่ที่จุพระสงฆ์ได้ ๓,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ รูป

คุณภิญโญย้อนผมว่า ถ้าอุโบสถใหญ่ขนาดนั้นจะไม่สวย อุโบสถที่สวยจะไม่ใหญ่ อุโบสถที่ใหญ่จะไม่สวย

ผมยืนยันว่า เราอยากได้อุโบสถกลางน้ำที่ทั้งใหญ่ทั้งสวย

คุณภิญโญถามผมว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร

ผมเสนอให้คุณภิญโญออกแบบอุโบสถเป็นสองชั้นโดยชั้นบนเป็นโรงอุโบสถสวยงามตามที่ คุณภิญโญออกแบบไว้แล้วนั้นแหละ ส่วนชั้นล่างให้ซ่อนรูปคือดูผิวเผินแล้วคล้ายเป็นลานอุโบสถธรรมดา แต่ที่จริงเป็นโรงอุโบสถขนาดใหญ่อยู่ชั้นล่างติดกับผิวน้ำในสระ

คุณภิญโญยอมกลับไปออกแบบใหม่ตามที่ผมเสนอ ผลที่ออกมาก็คืออุโบสถกลางน้ำที่ทั้งใหญ่ทั้งสวยงาม สามารถจุพระสงฆ์ได้  ๔,๐๐๐ รูปจึงเป็นอุโบสถใหญ่ที่สุดในโลก

แม้วันนี้หลวงพ่อปัญญานันทะจะถึงมรณภาพไปแล้ว พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์รูปปัจจุบันได้สานต่อปณิธานของหลวงพ่อด้วยการ ก่อสร้างอุโบสถกลางน้ำต่อมาจากที่หลวงพ่อสร้างค้างไว้จนใกล้จะแล้วเสร็จ มีกำหนดยกช่อฟ้าอุโบสถในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓

สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปหลังจากสร้างอุโบสถกลางน้ำสำเร็จแล้วก็คือการสร้างวัดมหาจุฬาลงกรณวรารามบนที่ดินจำนวน ๑๒ ไร่ติดกันกับอุโบสถกลางน้ำ ครอบครัวไม้ตราวัฒนาได้บริจาคที่ดินผืนนี้ไว้สำหรับสร้างวัดของมหาวิทยาลัย

ตรงบริเวณที่ติดกับสระน้ำใกล้อาคารเรียนรวม เราได้สร้างอาคารหอประชุม มวก. ๔๘ พรรษาแล้วเสร็จด้วยงบประมาณแผ่นดิน ขณะนี้พวกเรากำลังนั่งประชุมกันอยู่ในหอประชุมนี้ เราสามารถคุยได้ว่าอาคารหลังนี้เป็นหอประชุมพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดใน ปัจจุบันเพราะจุคนได้ถึง ๓,๕๐๐ คน

ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ

แม้เราจะได้สร้างอาคารไปมากมายหลายหลังดังกล่าวมาแล้ว เราได้แต่สร้างอาคารสำหรับคนไทยเป็นส่วนใหญ่ เรายังขาดอาคารเรียนและหอพักสำหรับชาวต่างประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มอีก ๘๐ ไร่ ซึ่งทำให้ขณะนี้มหาวิทยาลัยมีที่ดินรวมทั้งสิ้น ๓๒๓ ไร่

เราวางแผนที่จะสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (International Buddhist Studies College) ในพื้นที่ที่เราซื้อเพิ่มเติมนั้น วิทยาลัยนานาชาติแห่งนี้จะเป็นสถานศึกษาและวิจัยของคนทั่วโลก ใครจะเข้าไปศึกษาในวิทยาลัยนี้ต้องพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีนหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ คือพูดภาษาอะไรก็ได้ยกเว้นภาษาไทย ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งสถาบันภาษาสำหรับเตรียมคนเพื่อการนี้

เราคาดหวังไว้ว่า การก่อสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติจะแล้วเสร็จในช่วงแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) เราใช้เงินก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่วังน้อยไปแล้วไม่น้อยกว่าสองพันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินบริจาคทั่วไปร้อยละ ๖๐ เราจะต้องหาเงินก่อสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติในจำนวนไม่น้อยกว่ากัน ทั้งนี้เพราะราคาค่าก่อสร้างมหาวิทยาลัยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาย่อมถูกกว่า ราคาค่าก่อสร้างในอนาคต ยิ่งดำเนินการช้าเท่าไร ราคาค่าก่อสร้างก็จะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น

เมื่อใดเราสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติแห่งนี้แล้วเสร็จ เมื่อนั้นก็ถือว่าเราได้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่เราวางไว้ว่าเราจะสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต

ผมเคยฝันที่จะเห็นประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ดังที่ผมพูดเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  ๒๕๔๔ ในการแสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “วันวิสาขบูชาคือวันสำคัญของโลก” ที่ท้องสนามหลวง ถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ผมพูดไว้ตอนหนึ่งว่า

เราต้องยกระดับการศึกษาของพระสงฆ์ ปรับให้การศึกษาของพระสงฆ์สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่ในต่างประเทศ ให้มากขึ้น ให้ชาวบ้านได้เรียนพระพุทธศาสนา ให้พระสงฆ์เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษ สามารถสอนพระพุทธศาสนาในระดับโลก และจัดประชุมนานาชาติมากขึ้น  อาตมาจัดประชุมนานาชาติโดยเชิญผู้นำชาวพุทธทั่วโลกมาประชุมร่วมกันเรียกว่า Buddhist Summit  พระสังฆราชจาก ๑๖ ประเทศมาประชุมพร้อมกันโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเป็นองค์ประธาน  มหาจุฬาฯ จัดทำเองโดยไม่ได้เงินรัฐบาลสนับสนุนเลย  การประชุมแบบนี้จัดได้ไม่ยากถ้ามีเงินทุนประมาณ ๑๐ – ๒๐ ล้านบาท มหาจุฬาฯ จะทำให้ดูอีก ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก แต่ว่ามหาจุฬาฯ ที่ผ่านมาเหนื่อยมาก  เงิน สนับสนุนก็ไม่มี แต่อาศัยความเชื่อมั่น อาศัยความศรัทธาจึงจัดได้ เรื่องนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าพระสงฆ์ไทยมีความสามารถจัดประชุมระดับ นานาชาติเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ถ้าจะจัดต่อไปรัฐบาลต้องมีเงินอุปถัมภ์ให้ ถ้ารัฐบาลจะจัดประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ มหาจุฬาฯ จะช่วยทำให้ก็ได้ ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทย”

ความฝันที่ผมพูดไว้เมื่อปี ๒๕๔๔ ได้กลายเป็นจริงเมื่อรัฐบาลและมหาเถรสมาคมได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นองค์กรหลักในการจัดงานวิสาขบูชาโลกในปี ๒๕๔๘  ผลที่ตามมาก็คือผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกตั้งแต่บัดนั้น

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยเป็นสถานที่ตั้งของสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICUNDV) ซึ่งมีอธิการบดีของมหาจุฬาฯเป็นประธานสภา และยังเป็นที่ตั้งของสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ(IABU) ซึ่งมีสมาชิก ๑๑๖ มหาวิทยาลัยทั่วโลกและมีอธิการบดีของมหาจุฬาฯเป็นนายกสมาคม

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับจนมีวันนี้ที่วังน้อยก็ด้วยอาศัยวิธีบริหารเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) ดังกล่าวมาแล้ว

ผมขอสรุปจบด้วยบทกลอนเกี่ยวกับการบริหารที่ผมแต่งไว้เป็นคติเตือนใจว่า

เดินหมากรุกแต่ละครั้งยังต้องคิด

หมากชีวิตเดิมพันนั้นใหญ่กว่า

แม้ประมาทพลาดพลั้งพังทันตา

คิดล่วงหน้าให้ตลอดจะปลอดภัย

ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงานแสดงความยินดีกับพวกเราเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยอย่างเป็นทางการ

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญไว้ในพระศาสนาจงอำนวยพรให้ทุก รูป ทุกท่าน ทุกคนเจริญงอกงามไพบูลย์ในร่มธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดกาลนาน เทอญฯ

* เรียบเรียงจากปาฐกถาพิเศษที่แสดงเนื่องในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓

ทรัพย์สินทางปัญญาสัญจร (itinlife397)

ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย
ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย

ได้เข้าร่วมงานสัมมนาโครงการออกหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาสัญจร ครั้งที่ 2 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ แผนผังภูมิของวงจรรวม ความลับทางการค้า และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันที่ 17 พ.ค.56 ทำให้ทราบว่าทรัพย์สินทางปัญญามีกฎระเบียบ เงื่อนไข และหน้าที่ของหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครอง ให้สิ่งที่ได้ถูกสร้างสรรค์ของเราไม่ถูกคัดลอก ไม่แอบอ้าง และมีการนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์

ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 7 ฉบับ ซึ่งดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นิยามในแบบที่คุ้นเคยว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอะไรที่เราทำขึ้นแล้วมีคนลอกไปได้ แสดงว่าจดทรัพย์สินทางปัญญาได้ สำหรับสถานที่รับจดทะเบียนเพื่อขอรับการคุ้มครอง โดยปกติจะยื่นได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เป้าหมายของการปกป้องก็เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ ป้องกันการลอกเลียน ที่เห็นสินค้าลอกเลียนใกล้ตัว เช่น สินค้าจากประเทศจีน ทั้งซีดี รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า ของตกแต่ง และเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิทยากรได้นำเสนอ วงจรของสินค้า คือ ออกแบบใหม่ จำหน่ายได้ราคา ลอกเลียนสินค้า แล้วราคาตก จากนั้นก็ต้องออกแบบใหม่เป็นวงจรเรื่อยไป ซึ่งหลังออกแบบนี้เองที่จะต้องยื่นจดสิทธิบัตร เพื่อให้ผลงานที่จำหน่ายไม่ถูกลอกเลียน แล้วมีราคาสูง เมื่อสิทธิบัตรหมดอายุก็จะมีคู่แข่งผลิตขึ้นมาจำหน่ายจำนวนมากเป็นผลให้ราคาตกลงไปจากเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือบริษัท sony ยื่นจดสิทธิบัตรทีวีจอแบน แต่ใช้เวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเวลานานจึงนำออกจำหน่าย เมื่อหมดอายุก็จะมีบริษัทคู่แข่งผลิตออกมา ทำให้สินค้าที่เคยมีเพียงบริษัทเดียวมีราคาลดลง ซึ่งสรุปได้ว่าสินค้าที่จะได้รับความคุ้มครองต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ ทำซ้ำได้ มีลักษณะเฉพาะ ไม่มีลักษณะต้องห้าม และต้องไม่เหมือนที่จดไปแล้ว หากสนใจเรื่องนี้ก็ต้องศึกษารายละเอียดจากเอกสารเผยแพร่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป

ดร.วันชาติ นภาศรี กล่าวรายงาน และผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม กล่าวเปิดงาน
ดร.วันชาติ นภาศรี กล่าวรายงาน และผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม กล่าวเปิดงาน

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

Irritable bowel syndrome
Irritable bowel syndrome

ตั้งแต่ 14 พ.ค.56 ผมคงต้องคุมอาหารแล้ว โดยเฉพาะงดกาแฟ
เพราะคาดว่าร่างกายมี ภาวะไวต่ออาหาร
หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี
ต่อไปก็ต้องคัดอาหารออกแล้ว จะหลีกหนีอาการแน่นท้องเพราะลมในท้อง

1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร

ตอบ โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ

2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม

ตอบ ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15 % ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์

3. โรคนี้หายได้หรือไม่

ตอบ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว

4. สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย

ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคน
จากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้
ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเอง
ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น “visceral hyperalgesia”) ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น

5. อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง

ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้

5.1 ปวดท้อง – มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน

5.2 มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) – ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)

5.3 ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน

5.4 ท้องผูก – อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย

5.5 อาการลำไส้อื่น ๆ – เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย

5.6 อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ – เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

6. จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร

ตอบ มีโรคมากมายที่อาการคล้ายโรคนี้ ได้แก่โรคที่มีปัญหาการย่อยอาหาร (malabsorption), โรคภูมิแพ้ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease เช่น ulcerative colitis และ Crohn’s disease) และ โรคลำไส้อักเสบจากโรค microscopic และ eosinophilic colitis (พบได้น้อยมากในเมืองไทย) เนื่องจากไม่มีการตรวจวินิจฉัยใด วินิจฉัยเดียวได้ ผู้ป่วยจะเริ่มการวินิจฉัยจากการเปรียบเทียบอาการกับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้ โดยสมาคมแพทย์ทางเดินอาหารโลก ที่กรุงโรม (Rome หรือ Manning criteria) แต่เกณฑ์นี้ไม่สามารถแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาการรักษาได้ จึงควรได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ ตรวจเพิ่มเพื่อประกอบการรักษาจากแพทย์ร่วมด้วย

เมื่อเลือกการตรวจใด ๆ แพทย์จะเลือกการตรวจตามข้อมูลที่ได้ ราคาการตรวจ ความเหมาะสมตามอายุของผู้ป่วย แตกต่างกัน ควรปรึกษาร่วมกันคิดกับแพทย์ของท่าน เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมต่อไป

การซักประวัติ – การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน จะประกอบด้วย ลักษณะอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ ความรุนแรงของอาการลำไส้ รวมทั้งประวัติว่าอาการสัมพันธ์กับอาหาร หรือ ยาด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะซักปัญหาความเครียด และ โรคทางจิตเวชในทุกรายที่เป็นภาวะนี้ ดังที่กล่าวแล้ว

การตรวจร่างกาย – มักไม่พบความผิดปกติใด ๆ การตรวจก็เพื่อแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายโรคนี้

การตรวจพิเศษ – แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งตรวจเลือด โดยมักพบว่าปกติทุกอย่าง รวมทั้งแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ โดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย ตัวอย่างเช่นอาจเช็คไทรอยด์ อุจจาระ รวมทั้งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หรือ ลำใส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) ซึ่งมักในคนที่สงสัยภาวะมะเร็ง หรือ ทำในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง การตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่)

การรักษา โรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

มีวิธีการรักษา และ ยารักษามากมาย บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก็แตกต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้วิธีปรับยาหลายครั้งจึงดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้าใจโรคดังกล่าวด้วยว่าโรคนี้ไม่ร้ายแรง (หลังจากตรวจค้นหา จนแน่ใจ 1 ถึง 2 ครั้ง หรือ บางคนแค่ประวัติตรวจร่างกายก็แน่ใจได้ว่าไม่ได้มีโรคร้ายแรงโดยตรวจเพิ่มเติมแค่เล็กน้อย) รวมทั้งต้องติดตามการรักษาอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วย และ แพทย์ที่รักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

การติดตามการรักษา – ในการรักษาขั้นแรก อาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยต้องรายงานอาการ นิสัยความเป็นอยู่ และ การรับประทานของผู้ป่วย รวมทั้งต้องทราบประวัติทุกอย่างที่อาจมีผลต่อลำใส้ บางรายอาจจับจุดได้ว่าแก้ไขได้ง่าย เช่นอาจแพ้อาหารบางอย่าง หรือ ย่อยอาหารกลุ่มนมไม่ได้ (lactose intolerance) รวมทั้งการแก้ความเครียด โรคซึมเศร้าอาจทำให้อาการดีขึ้นได้มาก ควรมีสมุดบันทึกเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียดจะช่วยในการรักษาได้มาก

การเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน – จากทฤษฎี ที่อธิบายแล้วว่าผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งอาจมีปัญหาการย่อย แพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหาร เช่นอาหารที่ทำให้เกิดลม มันมาก กลุ่มนม อาหารย่อยยาก ผัก หรือ เนื้อบางอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละคน หรือ บางคนอาจไม่เกี่ยวกับอาหารใด ๆ เลยก็ได้ ควรมีบันทึกอาหาร แต่ละมื้ออย่างละเอียด และ ดูร่วมกับอาการ อาจทำให้ค้นหาอาหารที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลองหยุดอาหารกลุ่มนมดูในช่วงแรก เพราะ พบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนม (lactose intolerance) พบได้บ่อยมาก (กินนมแล้วท้องเสีย กินแล้วอืด หรือ กินนมช่วยระบาย) การงดนมก็ควรทดแทนด้วยการกิน calcium ทดแทนด้วย เพื่อบำรุงกระดูก

อาหารบางอย่างจะมีการย่อยแค่บางส่วน จนเมื่อถึงลำไส้ใหญ่จึงจะใช้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ช่วยย่อย ทำให้เกิดลมในท้อง และ ปวดบีบได้ อาหารดังกล่าวได้แก่ legumes (คืออาหารประเภทถั่ว beans) และ อาหารกลุ่มกระหล่ำ บลอคคาลี่ cruciferous vegetables เช่น cabbage, brussels sprouts, cauliflower, และ broccoli บางรายอาจมีปัญหากับอาหาร หัวหอม onions, celery, แคลลอท carrots, เลซิน raisins, กล้วย bananas, แอปปริคอท apricots, พรุน prunes, sprouts, และ wheat.

พยายามกินอาหารที่มีไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น – มักดีในผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดท้อง แบบท้องผูก บางรายแม้ปวดแบบท้องเสียการกินไฟเบอร์ กลับทำให้ลำไส้ได้ฝึกบีบตัวดีขึ้นได้ การกินผักผลไม้อาจเกิดข้อเสียดังที่กล่าวแล้วในบางคนที่มีปัญหาการย่อย หรือ ไวต่อลม บางครั้งอาจต้องพิจารณาให้ fiber ทางการแพทย์ เช่น psyllium [Metamucil] หรือ methylcellulose [Citrucel] โดยเริ่มจากขนาดน้อย ไปหาขนาดมาก สาเหตุที่ fiber ทำให้ดีขึ้นยังไม่เข้าใจเหตุผลนัก อาจจากทำให้ลำใส้ได้ฝึกบีบตัวตามที่กล่าวแล้ว ก็ได้

การช่วยเหลือ ความเครียด หรือ แก้ปัญหาซึมเศร้า จิตเวช ตามที่กล่าวแล้วว่า ความเครียด และ ความกังวลใจ อาจทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้ในบางราย ผู้ป่วยควรนึกคิด และ ปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา

ผู้ป่วยบางคนอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ หรือ ไม่ให้ยากลุ่มนี้ รวมทั้งการให้ยานอนหลับ หรือ สอนการทำ biofeedback เป็นต้น
บางรายอาจดีขึ้นหลังเข้ากลุ่มปรึกษาทางจิตเวช
ผู้ป่วยหลายรายดีขึ้น หลังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือดีขึ้นจากการเดิน เพราะช่วยในการทำงานของลำไส้ได้ด้วย

ยารักษา แม้มียารักษาหลายอย่าง แต่ไม่สามารถทำให้โรคนี้หายขาดได้ ส่วนใหญ่เพื่อทำให้ดีขึ้น หรือ หายไปชั่วคราวเท่านั้น ยารักษาจะขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นกลุ่มใด ระหว่างท้องเสียเด่น ท้องผูกเด่น หรือ ปวดท้องเด่น ควรลองการเปลี่ยนอาหาร เพิ่มไฟเบอร์ใยอาหาร ก่อนทานยา

ข้อมูลจาก http://www.praram9.com/th/article_detail.php?id=220

เกณฑ์การเลือกคู่มีหลายแบบ

การได้มาซึ่งคู่ครองก็จะมีเกณฑ์ของแต่ละคนต่างกันไป

1. บางคนบอกว่าใครก็ได้ขอให้มีอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยให้
2. บางคนบอกว่าใครก็ได้ขอให้ขาว สวย ดูต้องตาต้องใจก็พอ
3. บางคนบอกว่ารักแรกพบ ไม่มีต้องการเหตุผล
หากความรักเกิดในความฝัน ในเพลง “ไม่รู้จักฉันไม่รู้จักเธอ”
http://www.youtube.com/watch?v=48dpTUwqDqg
4. บางคนบอกว่ารักต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกัน
อย่างนี้ต้องดู speed
http://www.youtube.com/watch?v=Fk4A1AY10U0
5. บางคนบอกว่าดูดี มีฐานะ นิสัยดี ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นหวย รักเดียว ขยัน สมาร์ท อยู่ใกล้บ้าน ว่านอนสอนง่าย ไม่เถียง มีเวลาให้ 24 ชม.

เพราะมีคนบอกว่ารักมา 10 ปี เลิกกันก็มีถมไป
สุดยอดนักกีฬากับนางงามจักรวาลเลิกก็มีมาแล้ว

ืnews
ืnews

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=600233536654556&set=a.270865052924741.81816.187350317942882

เคยดูหนังเรื่อง Mural อาบรักทะลุมิติ
ออกแนวโปเยโปโลเย หนังแนวนี้เป็นรักที่ไม่ต้องการเหตุผล
http://www.adintrend.com/show_admovie.php?id=6760

คลิ๊ปเรื่อง Mural
http://www.youtube.com/watch?v=Z0rAxVxAQyg

อาชีพนักข่าวจัดว่าต่ำสุดที่สหรัฐอเมริกา

ดูเรื่องมายาตวัน ผมชอบครับ รู้สึก Drama
มีคนบอกว่า ชีวิตจริงดั่งละคร ก็ไม่รู้หมายความว่าอย่างไร
แต่ผมชอบ อุรัสยา  สเปอร์บันด์ หรือ ญาญ่า น่ารักดี

drama แปลว่า ละคร
drama แปลว่า ละคร


จาก 4 เกณฑ์ที่ใช้จัดอันดับอาชีพ
1. สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Environment)
2. รายได้ (Income)
3. โอกาสในการจ้างงาน  (Outlook)
4. ความเครียดของงาน (Stress)
http://www.thairath.co.th/content/edu/341959

อาชีพนักข่าวถูกจัดให้เป็นอาชีพที่ตกต่ำที่สุด เป็นอาชีพที่ต่ำต้อยที่สุด ในบรรดาการงานอาชีพที่ทำกันอยู่ในอเมริกา 200 ชนิด ตกต่ำยิ่งเสียกว่าพนักงานเก็บขยะ คนโค่นต้นไม้และตัดไม้ คนงานล้างจาน และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

บริษัทพัฒนาทรัพยากรบุคคล “คาเรีย แคสท์” ผู้จัดอันดับได้อ้างว่าจัดโดยถือหลักตัวแปร 4 ตัวด้วยกัน ตั้งแต่สภาพแวดล้อมในการทำงาน รายได้ โอกาสในการจ้างงาน และความเครียดของงาน โดยหลักเกณฑ์ 4 ประการนี้ บริษัทได้ยกย่องให้อาชีพผู้คิดอัตราค่าประกัน เป็นงานที่อยู่อันดับสูงส่งที่สุด

โดยพิจารณาจากข้อมูลสำรวจรายปี อาชีพนักข่าวได้เริ่มส่อเค้าตกต่ำ มาเป็นต่ำต้อยที่สุด ตั้งแต่ปีกลาย โดยถูกจัดรวมอยู่ในอาชีพที่ตกต่ำที่สุด 5 อาชีพด้วยกัน

ขณะที่ผลการจัดอันดับในปีนี้ ได้เลือกให้อาชีพนักข่าวเป็นอาชีพที่ตกต่ำที่สุดกว่าเพื่อน อยู่อันดับที่ 200 โดยมีอาชีพคนโค่นต้นไม้และตัดไม้ อยู่อันดับที่ 199 อาชีพทหารเกณฑ์ อันดับที่ 198 ดารา อันดับ 197 คนงานขุดเจาะน้ำมัน อันดับ 196 และคนงานในฟาร์มโคนม อันดับ 195 อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อันดับ 191 ช่างภาพหนังสือพิมพ์ อันดับ 188

บริษัทกล่าวว่า รัศมีอาชีพนักข่าวได้หม่นหมองลงตั้งแต่ 5 ปีมาแล้ว และยังวิตกว่ากว่าจะถึง พ.ศ.2563 จะยิ่งตกต่ำยิ่งกว่านี้ลงไปอีก

ทางด้านอันดับสูง ๆ นอกจากอาชีพผู้คิดอัตราค่าประกันแล้ว ยังตามด้วยอาชีพวิศวกรด้านวิศวกรรมชีวเวช วิศวกรซอฟต์แวร์ นักโสตสัมผัสวิทยา และนักวางแผนทางการเงิน.

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2556, 12:00 น.

http://www.careercast.com/jobs-rated/best-worst-jobs-2013 (all)
http://www.careercast.com/jobs-rated/best-jobs-2013
http://www.careercast.com/jobs-rated/worst-jobs-2013
http://www.careercast.com/jobs-rated/jobs-rated-2013-methodology
http://drama.kapook.com/view56016.html

เรื่องของตับ ที่อ้างว่าหนิดหนมกับเรา

ตับ (liver)
ตับ (liver)

หวัดดี…ฉันคือตับ ของคุณ
ให้ฉันเล่าให้คุณฟังว่า ฉันรักคุณมากเท่าใด 9 ข้อ

1. ฉันสะสมธาตุเหล็กสำรองรวมทั้งวิตามิน และ แร่ธาตุ ต่างๆ ที่คุณต้องการ
หากไม่มีฉัน คุณก็จะไม่มีเรี่ยวแรงที่อยู่ต่อไป

2. ฉันผลิตน้ำย่อย สำหรับย่อยอาหารให้คุณ
หากไม่มีฉัน คุณก็สูญเสียอาหาร จนไม่มีอะไรเหลืออยู่

3. ฉันทำหน้าที่ล้างพิษของพวกสารเคมีที่คุณมอบให้ฉัน
ไม่ว่าจะเป็น แอลกอฮอล์ เบียร์ ไวน์ ยาต่างๆ(ที่มีและไม่มีใบสั่งของแพทย์)
รวมทั้งบรรดาสิ่งผิดกฏหมายทั้งหลาย
หากไม่มีฉันแล้วนิสัยไม่ดีของคุณ ก็จะฆ่าคุณไปแล้ว

4. ฉันเก็บพลังงานเหมือนแบตเตอรี่ โดยสะสมน้ำตาล(คาร์โบไฮเดรท , กลูโคส และ ไขมัน)
ไว้ให้คุณเมื่อคุณต้องการมัน
หากไม่มีฉัน ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณจะลดลงต่ำมาก จนทำให้คุณล้มพับไป

5. ฉันสร้างเลือดให้ระบบต่างๆ ของคุณ ก่อนที่คุณจะเกิดเสียอีก
หากไม่มีฉันแล้วก็คงจะไม่มีคุณอยู่ที่นี่

6. ฉันผลิตโปรทีนใหม่ที่ร่างกายของคุณต้องการเพื่อการมี สุขภาพดีและเจริญเติบโต
หากไม่มีฉันแล้วคุณก็จะไม่เจริญเติบโตอย่างที่ควร

7. ฉันกลั่นกรองสารพิษจากอากาศ ไอเสียรถยนต์ และสารเคมี ที่คุณหายใจเข้าไป
หากไม่มีฉันแล้วคุณก็จะเหมือนถูกวางยาพิษโดยมลภาวะเหล่านั้น

8. ฉันผลิตสารทำให้เลือดแข็งตัว ถ้าคุณบังเอิญไปโดนอะไรบาด
หากไม่มีฉันแล้วคุณจะต้องตายเพราะเลือดไหลไม่หยุด

9. ฉันคอยต่อสู้ ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ โจมตีคุณ ไม่ว่าจะเชื้อหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่
อะไรก็ตาม ฉันจะน็อคมันให้ตายหมด หรือ ไม่ก็ทำให้มันอ่อนแรงลง
หากไม่มีฉันแล้วคุณก็เหมือนเป้านิ่ง รอให้สารพัดโรคโจมตี

ดูซิว่า ฉันรักคุณแค่ไหน….
แล้วคุณล่ะ รักฉันบ้างไหม ?

ขอให้ฉันบอกวิธีง่ายๆ ที่จะ รัก ฉัน , ตับ ของคุณ

อย่ากดฉันให้ต้องจมลงในน้ำเบียร์ แอลกอฮอล์ หรือ ไวน์ เลย
สำหรับบางคนแล้วเพียงแก้วเดียว ก็ทำให้ฉันเป็นแผลเป็นไปตลอดชีวิต

ระวังบรรดา ” ยา ” ทั้งหลาย
ยาทุกอย่างมาจากสารเคมี
และเมื่อคุณเอามันมนผสมกันเข้า โดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์
มันก็กลายเป็นยาพิษที่สามารถทำลายฉันได้อย่างดีทีเดียวละ
ฉันเป็นแผลเป็นง่าย เมื่อเป็นแล้ว เป็นอย่างถาวรเสียด้วย
บางครั้งยาก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ การกินยาเกินความจำ เป็น เป็นนิสัยไม่ดี
บรรดาสารเคมีเหล่านั้น สามารถทำลายตับได้

จงระวังบรรดากระป๋องสเปรย์ทั้งหลาย
จำไว้ว่า ฉันจะต้องล้างพิษทุกอย่างที่คุณหายใจเอาเข้าไปด้วย
ดังนั้นเวลาคุณทำความสะอาดอะไรด้วยพวกสเปรย์
ต้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือสวมหน้ากากด้วย
อันตรายเพิ่มเป็นสองเท่า สำหรับพวกสเปรย์ฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อรา สี และสารเคมี
ระวังว่าคุณหายใจเอาอะไรเข้าไป

ระวังว่าอะไรโดนผิวหนังคุณด้วย ยาฆ่าแมลงที่คุณฉีดต้นไม้ พุ่มไม้นั้น
สามารถผ่านผิวหนังของคุณเข้ามาโจมตีฉันได้ด้วย
ป้องกันผิวหนังของคุณโดยการสวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว หมวก หน้ากากทุกครั้ง
ที่คุณฉีดยาฆ่าแมลง

คำเตือน
ฉันไม่สามารถ และ ไม่บอกคุณด้วยว่าฉันประสพกับปัญหา
จนกระทั่งเกือบจะถึงวาระสุดท้ายของทั้งฉันและคุณเสียแล้ว
จงจำไว้ว่า ฉันไม่ใช่ประเภทขี้บ่น
ให้ฉันทำงานหนักเกินไปโดยอัด ยา แอลกอฮล์ และ บรรดาอาหารขยะ
สามารถทำร้ายฉันได้!
นี่อาจเป็นการเตือนครั้งเดียวที่คุณจะได้รับ

โปรดฟังคำแนะนำฟรี
พาฉันไปให้คุณหมอตรวจ
การตรวจเลือด สามารถบอกปัญหาบางอย่างได้
ถ้าฉันยังอ่อนนุ่ม และไม่เป็นตะปุ่มตะป่ำ แสดงว่าฉันยังดีอยู่
ถ้าคุณหมอสงสัย การอัลตร้าเซาวนด์ หรือ ซีที แสกน ช่วยได้
อายุของฉัน กับอายุของคุณ ขึ้นอยู่กับว่า คุณดูแลฉันดีแค่ไหน

คราวนี้คุณรู้แล้วละซี ว่าฉันรักคุณแค่ไหน
ได้โปรดดูแลฉันหน่อยด้วยความรักและผูกพัน
จาก เพื่อนร่วมชีวิตผู้สงบเงียบ
และคู่รักนิรันดร
ของคุณ

ตับ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=466394080045943&set=a.355484451136907.90716.320028258015860

ภาพ และรายละเอียดเรื่องตับ จาก
http://www.astellas.co.th/ltx_en.php
http://www.astellas.co.th/images/pic_ltx.gif

รัก 7 ปี ดี 7 หน

seven years
seven years

ผู้หญิงอายุ 42 รักกับหนุ่มหล่ออายุ 24
ผมมีโอกาสรู้จักนิชคุณ ผ่านหนังเรื่อง “รัก 7 ปี ดี 7 หน
ผมว่าดูแล้วรู้สึกดีนะครับ ..
โอกาสมีเสมอ เพียงแต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะไขว่คว้า

พระเอกหล่อ นางเอกก็สวย
พระเอกหล่อ นางเอกก็สวย

เรื่องย่อ .. 26 ก.ค.55
“14”  กำกับโดย ปวีณ ภูริจิตปัญญา
ความรักของ ป่วน (จิรายุ ละอองมณี) และ มิลค์ (สุทัตตา อุดมศิลป์) ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป ฉับพลันที่ป่วนตัดสินใจเปลี่ยน Status ใน Facebook เป็น ‘In Relationship’ ป่วนโพสต์คลิปเผยแพร่ความรักของตัวเองลงใน Youtube อย่างละเอียดยิบด้วยความภาคภูมิใจและเนิร์ดแฟน หลากหลายคอมเม้นต์ ความอยากรู้อยากเห็น และยอด Views ที่พุ่งอย่างไม่หยุดยั้ง ดึงป่วนให้ถลำลึกลงไปในโลกของฟีดแบ็คจากคนที่เขาไม่รู้จัก ส่วนคนที่เขารักนั้น ยิ่งนานวันเธอก็ยิ่งมีค่าน้อยกว่ายอดคลิก Like ในหน้า Wall Facebook ของเขา
“21/28”  กำกับโดย อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม
เรื่องราวรักนอกจอของอดีตสองซุปเปอร์สตาร์ที่เคยมีหนังร้อยล้านร่วมกันเมื่อ 7 ปีก่อน ปัจจุบันฝ่ายหญิง แหม่ม (คริส หอวัง)ในวัย 28 ยังกระเสือกกระสนหาทางกลับไปยืนแป้นนางเอกอีกครั้ง โอกาสมาถึงเมื่อสตูดิโอเจ้าของหนังประกาศสร้างภาคสอง แต่นั่นหมายถึงต้องได้พระนางคู่เก่าคืนจอ ปัญหาอยู่ที่ จอน (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) นั้นสาปส่งวงการหนีไปเป็นผู้ดูแลสัตว์น้ำใน Siam Ocean World ไปแล้ว แหม่มจึงต้องบากหน้าไปตื๊อแฟนเก่าทั้งที่ตัวเองเป็นฝ่าย ‘ดังแล้วทิ้ง’ เพียงเพื่อจะพบว่าอดีตพระเอกเจ้าของกล้ามซิคแพ็คได้แปรสภาพเป็นไอ้อ้วนหนัก 80 ที่เกลียดเธออย่างกับขี้ไปซะแล้ว
“42.195”   กำกับโดย จิระ มะลิกุล
ซึ่งจับเอาเรื่องราวของชีวิตและการวิ่งมาราธอนมาเปรียบล้อกัน เรื่องราวของ หล่อน (สู่ขวัญ บูลกุล) ผู้ประกาศข่าวสาววัย 42 ที่กำลังหลงแผนที่ชีวิต หล่อนประสบกับความสูญเสียใหญ่หลวงและไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปเพื่ออะไร จนกระทั่งหล่อนได้พบกับ เขา (นิชคุณ หรเวชกุล) อายุ 24 ปี นักวิ่งหนุ่มที่ชวนให้หล่อนเข้าแข่งขันมาราธอน ลมหายใจของหล่อนก็เหมือนจะกลับมามีความหมายอีกครั้ง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cartoonthai&month=06-2012&date=16&group=18&gblog=334

สปอยคืออะไร

korea spoil
korea spoil

ได้ยินคำว่า สปอย หรือสปอยล์ (Spoil) หรือสปอยเลอร์ (Spoiler)
มาหลายครั้ง ก็ต้องบอกว่าเป็นศัพท์ใหม่
เพราะ สมัยผมจะใช้คอมพิวเตอร์แต่ละทีต้องมีกล่องแผ่นดิสก์ 5.25 คู่กาย
ไม่เคยพูดคำนี้มาก่อน เพราะมีคำให้พูดมากมายเหลือเกิน .. อยู่แล้ว

นิยาม (Meaning)

spoil หมายถึง  ทำให้เสีย ทำให้แย่ ทำให้เสียทรง

สปอยเลอร์ (Spoiler) ในทางภาพยนตร์ หรืออินเทอร์เน็ต
หมายถึง ผู้ที่ได้รับความบันเทิงจากแหล่งต่าง ๆ
เช่น ภาพยนตร์ นวนิยาย วรรณกรรม หรือเนื้อหาของเกม
แล้วนำเนื้อหาความบันเทิงเฉพาะส่วนนั้น มาเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
โดยมีเนื้อหาบางตอนค่อนข้างละเอียด หรืออาจจะเป็นการบอกฉากจบ
หรือตอนจบของแหล่งบันเทิงนั้น

ผลของการสปอย คือ ส่งผลเสียต่อการรับชมภาพยนตร์
อาจพอใจที่ได้ข้อมูลในระดับหนึ่งก็จะไม่ไปดู
หรือไม่พอใจเรื่องย่อเหล่านั้นก็จะไม่ไปดู
http://en.wikipedia.org/wiki/Spoiler_%28media%29

ต.ย.1 มีคนไปดูเรื่องพี่มากพระโขนง แล้วเล่าว่าเป็นหนังตลก
และเขียนบล็อกไว้ละเอียดยิบ พร้อมความรู้สึกที่ไม่สร้างสรรค์
ทั้งตอนเริ่ม ตอนกลาง และตอนจบ
เมื่อมีคนอ่านแล้วคล้อยตามเชิงลบ แล้วไม่ไปดู
ก็จะเรียกพฤติกรรมนี้ว่าสปอย

ต.ย.2 ผมอ่านหนังสือ Steve Jobs หรือ Albert Einstein
ที่เรียบเรียงโดย Walter Isaacson แล้วบอกว่าน่าอ่านมาก
เพราะว่าหน้านั่นเขียนอย่างนั้น หน้านี้เขียนงี้
ก็มีคนบอกว่าผมกำลัง spoil หนังสือเล่านี้อยู่
ผู้วิจารย์ผมไว้คงคิดว่าการรู้เรื่องหน้าสองหน้าใน 600 กว่าหน้า
จะมีผลให้ผู้รับสารไม่ไปซื้อหนังสือมาอ่านเป็นแน่

ต.ย.3 คำว่า สปอยดาราเกาหลี
ก็จะนำภาพสมัยเด็กแบบไม่สวย หรือตอนไม่แต่งหน้า
มาเปรียบเทียบกับตอนที่แต่งหน้า เป็นนางฟ้านางสวรรค์
ให้รู้สึกเห็นความแตกต่าง และลดความชื่นชอบไป
http://world.kapook.com/pin/50a9ff9f38217a1120000003

ต.ย.4 คุยแบบวัยรุ่น
วันนี้นำเสนอคำว่าสปอย บ่องตงว่าเมพขิง รู้สึกฟินจุงเบ
http://www.rakjung.com/facebook-no178.html
http://teen.mthai.com/variety/57302.html

ศัพท์วัยรุ่น
อายุผมก็เยอะแล้ว ตามกระแสไม่ค่อยทัน
บ่องตงบ้าง สปอยบ้าง จุงเบบ้าง เมพขิงบ้าง ฟินบ้าง
วันนี้ตามคำว่า spoil ซะหน่อย จะได้ไม่ตกกระแส
เห็นในสื่อพูดอยู่บ่อย ๆ

กรุงเสีย หรือเสียกรุง

คลิ๊ปนี้เชื่อว่า คนเราจะมองปัญหาในอดีต
แล้วจะไม่ปล่อยให้ปัญหาในอดีต เกิดขึ้น
อีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้งในปัจจุบัน
http://www.youtube.com/watch?v=D5P9Bm8ua9Q

23 เม.ย.2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่ฮือฮากันกันในโลกออนไลน์ถึงคลิปวิดีโอ 7 นาทีชื่อ “จดหมายเหตุ กรุงเสีย”  ยิ่งในช่วงเวลาที่ไทยกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชากรณีเขาพระวิหาร ขณะเดียวกันคลิป “The Fall of Ayutthaya จดหมายเหตุกรุงเสีย” ก็ได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งของชาวโซเชียล

สำหรับคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย.2555 จัดทำโดย นายกีรติ วรรณเลิศศิริ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับเลือกให้ไปแสดงโชว์ในงานปล่อยแสงของ TCDC เมื่อปี 2555 และมีการนำมาลงในเว็ปไซต์ยูทูปอีกครั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับชมซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ไทยและกัมพูชาในเวลานี้พอดี

ประโยคนี้ “ชาวเน็ตให้กำลังใจ คลิปครูหมวยจีน” .. มีคำถาม

lady teacher
lady teacher

ประเด็นจากข่าวนี้
1. ไม่เผยแพร่แหล่งที่มา เพราะสงสัยในเจตนาว่า เมตตา หรือ ไม่กรุณา
2. เกี่ยวกับ พรบ.คอมฯ 2550 มาตรา 16 เรื่องตัดต่อ แล้วเผยแพร่ก่อให้เกิดความเสียหาย
http://www.thaiall.com/article/law.htm

16 เม.ย.56 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า “คลิปครูชาวจีน” ซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์วิชาการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองxxx มณฑลxxx ประเทศจีน กำลังถูกแพร่ว่อนโลกอินเตอร์เน็ตในประเทศเวียดนาม โดยชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความเห็นใจครูสาว เพราะเชื่อว่าเหตุเกิดจาก ครูสาวมีปากเสียงกับแฟนหนุ่มที่กล่าวหาว่าเธอไปมีชายคนใหม่ ก่อนจะปล่อยคลิปออกมาเพื่อประจาน

ทั้งนี้ มีรายงานว่าแฟนหนุ่มมือปล่อยคลิปถูกจับกุมแล้ว โดยตำรวจตั้งข้อหาเผยแพร่วัสดุลามกอนาจารในอินเทอร์เน็ต ขณะครูสาวต้องลาหยุดงานยาวเพื่อตั้งหลัก แต่ก็ถูกบังคับให้ออกจากสมาชิกภาพของสมาคมครูในท้องถิ่น

ปล.

ไม่ได้คัดลอกภาพประกอบข่าว เพราะนั่นเป็นหลักฐานว่า
เรื่อง
ไม่ได้เมตตา .. ถ้า share ภาพคุณครู ก็จะมีคนกด like ตรึม
แต่ภาพนั้นเป็นหลักฐานตาม พรบ.ฯ ว่าเผยแพร่ให้คุณครูได้รับความอับอาายเพิ่มขึ้น
ดูจากเจตนา