สร้างแบรนด์ผ่านการแชร์ภาพ

kfc egg tart
kfc egg tart

คุณฮัน share บทความเรื่อง “เคล็บลับการสร้างแบรนด์ผ่านการแชร์ภาพถ่ายสินค้า

ที่คุณ charathBank สรุปไว้ 5 ประเด็น
1. เริ่มเปิดการสนทนาด้วยการแชร์รูป
(Open up to a dialogue of sharing)
– ภาพสินค้าที่ถูกแชร์ขึ้นไปนั้นโดยเจ้าของแบรนด์หรือผู้ดูแลจะถูกจินตนาการและตีความหมายโดยผู้ที่ได้เห็นเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นแล้วการเลือกรูปเพื่อที่จะสื่อสารกับลูกค้าที่ติดตามและสนใจเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะต้องทำให้ครอบคลุมกับสิ่งที่เราต้องการสื่อให้ลูกค้าได้เหมือนกับที่เราต้องการ รวมทั้งสร้างความอยากให้ลูกค้าซื้อสินค้าจากรูปที่เราแชร์
2. สร้างบทสนทนาขึ้นมาจากภาพที่ลูกค้าเป็นคนมาโพสต์ภาพไว้
(Let that dialogue spark conversations)
– นอกจากการโพสต์รูปจากทางเจ้าของแบรนด์แล้ว ลูกค้าก็สามารถมาโพสต์รูปส่งมาหาเราได้เช่นกัน เช่นทาง Facebok Page หรือ Twitter ดังนั้นแล้วผู้ดูแลแบรนด์จะต้องพยายามสร้างการสนทนากับลูกค้ที่โพสต์รูปขึ้นมา เพราะนอกจากลูกค้าเองที่จะแฮปปี้แล้ว ยังมีลูกค้าคนอื่นๆ ที่ติดตามหน้าเว็บที่จะคอยดูและติดตามการสนทนาอีกด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบโดยอ้อมกับคนที่อ่าน
3. อย่าจงใจขายสินค้าโดยตรง
(Stop trying to sell something)
– เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าทุกวันนี้กลุ่มลูกค้าผู้บริโภคฉลาดที่จะเลือกซื้อสินค้ามากขึ้นและรู้ทางเจ้าของแบรนด์มากขึ้นว่าจะทำอะไร 1 ในสิ่งที่รับรู้ได้โดยง่ายในปัจจุบันนั่นคือการยัดเยียดขายสินค้าโดยตรง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าอึดอัดโดยตรงและจะทำให้เราเสียลูกค้าไปแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นแล้วการทำ 2 ขั้นตอนแรกเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และสินค้าได้โดยอ้อมซึ่งจะมีผลในระยะยาวในการมัดใจลูกค้านั่นเอง
4. เปิดใจให้ลูกค้าแชร์ข้อมูล
(Validate consumers to boost their ego)
– ทุกวันนี้เรามักจะเห็นการแชร์ข้อมูลผ่านออนไลน์เพื่อบรรยายการใช้งานให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ รวมไปถึงสอบถามว่าใช่หรือไม่ในสิ่งที่เขาสงสัย ดังนั้น สิ่งที่เราจะทำได้นั่นคือการแชร์รูปนั้นซ้ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นและให้ได้รับรู้ว่าเราไม่ได้นิ่งเฉยต่อการส่งข้อมูลมา และอย่าลืมที่จะตอบข้อสงสัยของลูกค้านั้นด้วยนะครับ
5. ช่วย 1 คนเหมือนได้ช่วยหลายคน
(Help people help each other)
– อีก 1 ในเหตุผลในการแชร์รูปบนโซเชียลเน็ตเวิร์คนั่นคือ การขอความช่วยเหลือ ดังนั้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้อมูลที่เอามาแชร์ จงกระตุ้นให้ลูกค้าของคุณทำการแชร์รูปกับผลิตภัณฑ์ของเรา ตัวอย่างเช่น หากขายเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ เจ้าของแบรนด์อาจมีการขอให้ลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าไปแล้วทำการแชร์รูปสินค้าที่ถูกสวมใส่หรือใช้งานจริง เพื่อให้คนอื่นได้เห็นและเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นเรายังสามารถที่จะแนะนำแนวทางการเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากทางเราทั้งหมด (แต่อย่าลืมข้อ 3 ด้วยนะครับ)
จะเห็นได้ว่า ภาพถ่ายมีส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและแบรนด์ สามารถสร้างสังคม (Community) ของคนที่ชอบสินค้าเดียวกัน และสร้างให้ผู้ใช้ผลิตภัณฆ์มีความจงรักภักดี (Loyalty) กับแบรนด์ที่เราดูแลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จะทำให้แบรนด์อยู่ในใจกับลูกค้าไปได้ตลอดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้นๆ ว่าจะมีความสม่ำเสมอในการเข้าไปดูแลจัดการ รวมทั้งสร้างความแปลกใหม่ให้ลูกค้าได้เห็น เพื่อที่จะให้ลูกค้ายังคงใช้งานกับเราไปอีกนานๆ แถมเพิ่มลูกค้าหน้าใหม่ๆ ได้อีกด้วย
บทความจาก

บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง

โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ
โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ

จากละครฉากที่หนึ่ง บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง p.21 – 26 ในหนังสือ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล (หนังสือเล่มนี้แฟนให้ผมอ่าน เพราะอาจารย์แนะนำมา)

ถอดบทเรียน ในฐานะผู้อ่านคนหนึ่ง

ปัญหา
มนุษย์ในเรื่อง .. พยายามนำเสนอผลงานของตนให้ [คุณณัฐวุฒิ อภิศัยกิติศักดิ์] ในฐานะประธานของที่ประชุมผู้บริหารได้ทราบ โดยเลือกเฉพาะผลสำเร็จที่ตนรับผิดชอบมานำเสนอ อาจมองข้าม หรือตั้งใจมองไม่เห็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากหน่วยของตน ก็เพื่อให้ผู้บริหารได้ชื่นชมผลงาน และหวังจะได้รับความดีความชอบ แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น” แล้ว .. [กิมหงส์] นำเสนอความจริง ว่ายอดไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  แม้ข้อมูลสรุปผลจะกองอยู่บนโต๊ะของท่านประธาน แต่ .. [คุณณัฐวุฒิ อภิศัยกิติศักดิ์] ขาดศักยภาพข้อที่ 3 ที่คนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่ขาดคือ Numerical เขาไม่เข้าใจตัวเลข ไม่รู้จักการอ่านตัวเลข แล้วนำมาใช้ตัดสินใจ จึงไม่รู้ว่าลูกน้องบอกความจริงไม่ครบ และที่สำคัญ เขาไม่เข้าใจปัญหา และเสนอทางแก้ปัญหาที่หลงทิศทาง

ข้อเสนอแนะ
ผมว่าที่สำคัญที่สุด .. ประธานมีปัญหานะครับ
ในหนังสือได้เสนอ ระบบการวัดผลขององค์กร
พบคำสำคัญคือ วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ เป็นต้น

ปล. หากผมถอดบทเรียน 2 เรื่องคือ ปัญหา และข้อเสนอแนะได้ไม่ดีก็ขออภัยด้วย เพราะใช้เวลาอ่านไม่ถึง 2 ชั่วโมงสำหรับละคร 9 ฉาก และก็ถอดบทเรียนในฐานะปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่นักวิชาการสายใด จึงไม่ได้นำ theory มาจับประเด็นครับ

http://www.thaiall.com/blog/burin/4063/
http://thaitrainingnetwork.com/speakers.html

โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost)

tragedy of lost
tragedy of lost

รศ.เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสอนหนังสือเพื่อนคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ให้อ่านหนังสือชื่อ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะเรื่องเล่า เร้าพลัง หรือ Story Telling เหมาะกับนักศึกษาทางบริหารธุรกิจอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารทุกระดับ ผมว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวก็อ่านดีครับ ที่สำคัญอ่านแล้ว อาจช่วยให้ขายดิบขายดีได้

ในหนังสือมีกรณีศึกษาที่ใช้แนวการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) แบ่งเป็น 9 บท ได้แก่  1) บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง 21-26 2) ใช้ Management Tools โดยไม่เข้าใจ 37-42 3) กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง  51-57 4) ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร 65-70 5) ตอบสนองลูกค้าไม่ได้ 77-82 6) การปฏิบัติการล้มเหลว (Bad Operation) 93-98 7) พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง 109-113 8) รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้ 121-125 9) ภาวะผู้นำล้มเหลว 133-138

ทีแรกก็ไม่สนใจ เพราะผมเป็นคนอ่านหนังสือยาก .. แต่พออ่านไม่กี่หน้า ผมว่าหนังสือเล่มนี้สุดยอดจริง ๆ เหมือนเป็นตัวละครในหนังสือเลย .. อ่านแค่ชื่อบททั้ง 9 บท ผมก็ว่ายอดเยี่ยมแล้ว .. ชอบคำหนึ่งคือคำว่า “พูดเอง เออเอง” หน้า 71 ที่เล่าว่าเครื่องมือทางบริหารที่เรียกว่า inside-out กับ outside-in จะเลือกอย่างไร  หรือการอธิบายความต่างของ SWOT กับ Balanced Scorecard (BSC) หน้า 44 ว่า Swot นั้นเกิดจากสำนักคิดทางกลยุทธ์ที่เน้นสร้างกลยุทธ์จากความลงตัว แต่ BSC เน้นสร้างกลยุทธ์ให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยการวางตำแหน่ง (Positioning)

สำหรับเรื่องที่น่าสนใจที่สุดอีกเรื่อง อยู่หน้า 149 เป็นกราฟ “ความสัมพันธ์ของสาเหตุแห่งความล้มเหลวขององค์กร” ว่าอะไรที่วินิจฉัยง่าย กับอะไรที่กระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร .. อ่านแล้วนึกถึง Steve Jobs ครับ

http://www.ryt9.com/s/prg/1139329
http://www.hrcenter.co.th/book_detail.php?book_id=1028
http://www.thairath.co.th/content/eco/182486
http://www.lib.ku.ac.th/index.php/2009-03-26-04-10-35/3878-tragedy-of-lost

Steve Jobs- Walter Isaacson

steve jobs
steve jobs

29 ม.ค.55 ทดสอบค้นหาอีบุ๊คของ Steve Jobs รุ่น english
ดูว่าเข้าข่ายลิขสิทธิ์หนังสือของ Walter Isaacson บ้างไหม
ค้นเจอใน bit ใน rapidshare ลอง download ก็ไม่ได้
แต่ไปพบใน scribd.com เมื่อทดสอบ download พบว่าได้ครับ .. ไม่น่าเชื่อ
มีหลายภาษาโดยหลายคน  สำหรับภาษาอังกฤษโดย Amber Chen
http://www.scribd.com/amber_chen_17

http://www.oknation.net/blog/SteveJobsBookClub

ปล.ไม่พบใน edocr.com หรือ slideshare.net หรือ authorstream.com หรือ docstoc.com