ข่าวยุบรวมมหาวิทยาลัยก็เพื่อคุณภาพ .. อีกแล้ว

ploy 11
ploy 11

8 ธ.ค.54 ยุบรวมมหา’ลัยผุด ‘ม.กาฬสินธุ์’ แห่งแรกระบุ สกอ.ไม่มีอำนาจ-จัดตามคำขอท้องถิ่น
“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการ เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัย ใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้น ใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา ได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอน ตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่น เป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156376

6 ธ.ค.54 มติครม. เห็นชอบยุบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ-เชื่ออีก 30 ปีคนเรียนน้อยลง
วันที่ 6 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามแนว ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยคาดการณ์ว่าจากนี้ไป 30 ปี จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลง ฉะนั้นหัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษาหรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้นจึงเตรียมเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจากศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หากจังหวัดหนึ่งมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นหนึ่งแห่ง เช่น
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เสนอโดยจ.ชุมพร โดยยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมม.ราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี กับม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้ง ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดย จ.ตาก เป็นการยุบรวม ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา วิทยาเขตตาก กับมรภ.กำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมรภ.ล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า 4.การจัดตั้ง ม.กาฬสินธุ์ เสนอโดย จ.กาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวม มรภ.กาฬสินธุ์ กับ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้ง ม.ระยอง เสนอโดยจ.ระยอง โดยยุบรวม ม.เทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดย จ.กระบี่ เป็นการหลอมรวม ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่งปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
“วัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อร่างนโยบายประกาศใช้ ศธ. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
ต่อมาเวลา 18.30 น. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แนวทางการยุบรวมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ใช่ผู้สั่งยุบรวม แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอเอง โดยทำเรื่องมาที่สกอ. จากนั้นสกอ. จึงตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหลักเกณฑ์การยุบรวมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์การตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ได้เปิดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีวิทยาเขตอ่อนแอในจังหวัดนั้นๆ ได้รวมกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าจะยุบรวมได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ ความพร้อมของหลักสูตรที่จะไปเปิดใหม่ หรือหลักสูตรต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานในภูมิภาคท้องถิ่น เป็นต้น
“อย่างกรณีการยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัยก็เป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสกอ. ต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร และก็ทำประชาพิจารณ์ต่อด้วย ส่วนประเด็นยุบรวมเพราะมหาวิทยาลัยไปเปิดศูนย์นอกที่ตั้งโดยไม่มีคุณภาพถือ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศูนย์นอกที่ตั้งหากไม่มีคุณภาพก็ต้องปิดตัวไป หรือหากตรวจสอบว่าไม่มีคุณภาพก็สั่งยุบได้”  รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K11426487/K11426487.html
http://nationunews.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

6 ธ.ค.54 ครม.ยุบรวม 6 มหา’ลัย 7 จว. อ้างอีก 30ปีคนวัยเรียนลด เข้าเรียนน้อยลง คาดเพิ่มคุณภาพ-สนองท้องถิ่น จี้ห้ามขอเปิดมหา’ลัยเพิ่มอีก
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ครม.สั่งยุบรวมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำร่อง 6 แห่ง ใน 7 จังหวัด ‘ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-ตาก-ระยอง-กระบี่-กาฬสินธุ์’ อ้างอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรลดลง คาดคนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐน้อยลง และเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
เวลา 13.30 น. วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประชุมครั้งที่ 3 /2554มีการประเมินลักษณะประชากรไทยในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ.2548 อีก 30 ปีข้างหน้า พ.ศ.2578  พบว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆจนอิ่มตัวแล้วลดลง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดต่ำลง คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐลดน้อยลง จึงมีการเตรียมการให้มีการหลวมรวม ยุบรวมสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ  และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า ความหมายของการยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาหมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ หรือจังหวัดหนึ่งๆ จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงยึดรวมเพียงหนึ่งแห่ง  ตัวอย่างการยึดรวม หรือหลอมรวมสถาบันการศึกษา เช่น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เป็นการยึดรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร รวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร  เมื่อยุบรวมกันแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  1 แห่ง หรือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้การยุบรวมหรือหลอมรวม  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ  ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บางจังหวัดไม่ได้มีสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง แต่กลับยุบรวมกันหรือหลอมรวมกัน  คือ ไม่เคยมีมาก่อน แต่กลับจัดตั้งใหม่  ทางรัฐบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เปิดเป็นวิทยาเขต ก็ต้องไปสอบถามว่าจะหลอมรวมด้วยหรือไม่  ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วย ส.ส.หรือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเห็นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม  ความหมายคือ การยุบสองที่ให้เหลือที่เดียวให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ได้หมายถึงการยุบตึกมารวมกัน อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผนวกกัน ส่วนชื่อของมหาวิทยาลัยก็อาจให้ทั้งสองสถาบันไปตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครยอมกัน ในกรณีนี้อาจจะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม ไม่ใช่การฉกฉวยจังหวะแอบมั่วไปเปิดสถานศึกษาใหม่
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.ระบุว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา  ให้ความเห็นด้วยต่อที่ประชุมครม.ว่าเห็นด้วยกับหลักการนี้  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยห้องแถวเปิดขึ้นใหม่จำนวนมาก บางสถาบันการศึกษาเปิดขึ้นบริเวณใต้ทางด่วนก็มี และอีก 30 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยก็จะไม่มีคุณภาพ ซึ่งอนาคตจะทำให้คนที่จบออกมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่มีคุณภาพด้วยเช่น กัน  พร้อมกันนี้ขอเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า “ครม.จะไม่พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยเด็ดขาด”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โต้แย้งว่า ไม่ควรจะใช้คำว่า  “โดยเด็ดขาด” เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ  ทั้งนี้นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การจะใช้คำว่า “โดยเด็ดขาด”ไม่ได้ เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80  บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม…”  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  21 ,มาตรา 34 วรรคสาม, มาตรา 35 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36  ซึ่งข้อสรุปในประเด็นนี้ คือ ถ้าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่รัฐบาลจะพิจารณาโดยละเอียดเป็นกรณี พิเศษ
สำหรับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ใน 7 จังหวัดที่จะมีการยุบรวมกันคือ
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร  เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด (ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยอีก 1 แห่ง  ซึ่งปัจจุบันแปรรูปเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ
6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่  (ปัจจุบันขอจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ใช่รูปแบบหลอมรวม ยุบรวม แต่เป็นการจัดตั้งทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา คือ จากการรายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า การขยายตัวด้านจำนวนของสถาบันการอุดมศึกษาทำให้เกิดปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการกระจายตัวของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่เป็นทางการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) สถาบันการพลศึกษา (สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) วิทยาการทหาร (สังกัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 303 แห่ง อยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการหลอมรวม ยุบรวมและยกเลิกสถาบันการอุดมศึกษา  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก  และ 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง จ.ระยอง  พร้อมทั้งศึกษาแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวโน้มจำนวนประชากร จำนวนนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อีกทั้งข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน
ซึ่งมีข้อสรุปว่า “โดยหลักการไม่ควรมีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีอยู่สามารถรองรับนักศึกษาได้ในปัจจุบัน ประกอบกันแนวโน้มในอนาคตนักศึกษาจะลดลง แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวม ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และรัฐควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วโดย เฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ และวิทยาเขตต่างๆเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งการบริหารทั่วไปและการบริหารวิชาการ”
ทั้งนี้จากการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีในช่วงปี พ.ศ.2548-2578ลดลงถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งหมด  เหลือ 9 ล้านคนเศษ คิดเป็นร้อยละ 14  ส่วนวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้านคน เป็น 43 ล้านคน จากนั้นจะเหลือ 38 ล้านคนในปี 2578 ซึ่งประชากรวัยเด็ก(วัยเรียน) จะลดลงอย่างต่อเนื่อง (อายุ 6-21 ปี) ลดลงจาก 16 ล้านคนในปี 2548 เหลือเพียง 11 ล้านในปี 2578
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลรายงานประจำปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงปี  2546-2552 ปริมาณนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2547 เป็นต้นมาซึ่งส่งผลต่อระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับอาชีวะศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2551
หากพิจารณาข้อมูลในอดีตจะพบว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาโดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัด เดียวกัน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มาจากการหลอมรวมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.นราธิวาสและวิทยาลัยการอาชีพตากใบ อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนครพนม มาจากการหลอมรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม กับวิทยาเขตนครพนมของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้แม้จะมีความก้าวหน้าแต่ก็ประสบปัญหาด้านการบริหารและงานด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ต่างสังกัดและต่างกระทรวงทำให้ไม่ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
http://www.tcijthai.com/investigative-story/1043

แผ่นดินไหวที่ลำปาง พฤศจิกายน 2554

earthquake
earthquake

แผ่นดินไหวลำปางเกิดจากแผ่นโลกขยับตัว
27 พ.ย.54 นายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง เปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2554 นี้ พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวถึง 3 ครั้ง แล้ว จุดศูนย์กลางอยู่ใน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 3.7 ริกเตอร์ และที่ อ.แม่มาะ จ.ลำปาง ที่ผ่านมา ขนาด 3.0 ริกเตอร์ และไหวซ้ำอีกหรืออาฟเตอร์ช็อก 2.5 ริกเตอร์ สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวนั้น ตนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่แผ่นดิน ได้ทยอยระบายพลังออกมาบ้าง จะได้ไม่เก็บพลังไว้มาก และไหวครั้งเดียว ในระดับที่รุนแรงกว่า 5 ริกเตอร์
ทั้งนี้ สาเหตุที่เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ อ.แม่เมาะ นั้น เนื่องจากแผ่นดินโลกเกิดการขยับตัว จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวในต่างประเทศ จนทำให้แผ่นดินเกิดกระเพื่อม ต่อมายังประเทศไทย และไม่เกี่ยวกับกรณีที่ ภูเขาไฟที่มีอยู่ในพื้นที่ เพราะภูเขาไฟนั้น ได้ดับสนิทหมดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะกลับมาปะทุได้อีก หรือทำให้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวครั้งนี้ มาจากเปลือกโลกที่เกิดการขยับตัว
http://news.mthai.com/general-news/142974.html
http://www.cmmet.tmd.go.th/station/lpg/

กฟผ.ยันแผ่นดินไหวลำปาง 2 ครั้งไม่กระทบโครงสร้างเขื่อน
นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวทางภาคเหนือของประเทศไทย 2 ครั้งเมื่อวันที่ 27 พ.ย.นั้น กฟผ.ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กมาก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของเขื่อนขนาดใหญ่ รวมทั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะและบริเวณบ่อเหมืองแม่เมาะแต่อย่างใด ” กฟผ.มิได้นิ่งนอนใจ ได้มีการตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้”นายธาตรี กล่าว
ทั้งนี้เมื่อเวลา 22.02 น.วานนี้ ได้เกิดแผ่นดินไหวตรวจวัดขนาดแรงสั่นสะเทือน ขนาด 3.0 ริกเตอร์ และเวลา 23.42 น. ขนาด 2.5 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ห่างจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่จางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 15 กม. และมีระยะห่างจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ประมาณ 143 กม. และ 115 กม. ตามลำดับ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=95028&catid=176&Itemid=524

คำพยากรณ์
http://www.paipibut.org/view.php?dataid=6371

คนเหนือคัน กับคนใต้คัน

น้ำท่วม คนเหนือคัน กับคนใต้คัน
น้ำท่วม คนเหนือคัน กับคนใต้คัน

ตัวแทน 20 ชุมชนดอนเมือง เผยพรุ่งนี้จะมีการหารือจี้รัฐให้รื้อบิ๊กแบ็ก ยันปิดโทลล์เวย์แน่หากไม่ทำตาม โอดคนเหนือคันไม่ได้เป็นไพร่แบบที่รัฐเคยพูดไว้ พร้อมลั่นอยากให้ลงมาดูพื้นที่จริงบ้าง อย่าพูดแต่ในสภา
วันที่ 12 พ.ย.54 เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. ทางรายการ “ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม” ทางช่องไทยพีบีเอส นายธนรัตน์ พราหมณกุณ ผู้ประสานงานเครือข่าย 20 ชุมชนแขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กล่าวว่า ผู้นำไม่ว่าจะเป็นนายกฯ หรือรัฐมนตรี ไม่ทราบว่าคิดอย่างไรที่เอาบิ๊กแบ็กมากั้น ชุมชนเหนือแนวได้รับความเดือดร้อนมาก ที่หมู่บ้านสิรินธรน้ำสูง 1.6 เมตร น้ำเน่าเสียเหม็นมาก และไม่เคยมีใครมาดูแลเลย
จากที่เปิดแนวกระสอบทรายยักษ์ไว้ 6 เมตร วันนี้ไม่ทราบว่ามาจากฝ่ายไหน ก็มาปิดเหมือนเดิมแล้ว ซึ่งผู้นำ 20 ชุมชน ก็ได้เปิดออกไปแล้ว ตามที่สัญญากับสำนักระบายน้ำ หรือรองปลัดกทม. ที่ให้สัญญาว่าเปิดไว้ ตามเดิม 6 เมตร ชุมชนก็ไม่ได้ละเมิดเปิดไว้เท่านี้
พรุ่งนี้จะมีการหารือร่วมกัน 20 ชุมชน ถ้ารัฐบาลไม่ยอมเปิดทางระบายน้ำให้กว้างกว่านี้ หรือเอาออกไปเลย จะขึ้นโทลล์เวย์แน่นอน เพื่อเรียกร้องว่าชุมชนเหนือบิ๊กแบ็กไม่ได้เป็นไพร่ แล้วคนใต้บิ๊กแบ็กเป็นเจ้าขุนมูลนายตามแบบที่คุณพูดไว้
เมื่อถามว่าต้องการให้เปิดบิ๊กแบ็กกว้างเท่าไหร่ นายธนรัตน์ กล่าวว่า ต้องรอมติจากการประชุมก่อน แต่ทางที่ดีเอาออกไปเลยดีกว่า เพราะทั้งรัฐบาลและกทม.ก็ประโคมข่าวว่ากทม.น้ำลด ๆ แล้วจะมากักน้ำไว้อีกทำไม
ไม่มาดูเลยที่ประกาศน้ำลดๆ แต่ชุมชนที่นี่น้ำยังสูงเป็นเมตรๆ ลดแค่ 4 ซ.ม. อีกทั้งการมาวางบิ๊กแบ็กไม่มีแจ้งก่อนด้วยว่าจะทำ มาถึงก็ทำเลย
นายธนรัตน์ กล่าวต่อว่า พรุ่งนี้ 9 โมงเช้า 20 ชุมชนจะหารือกัน ถ้ารัฐไม่ช่วยเหลือ และเปิดทางให้ คงต้องขึ้นไปหาความเป็นธรรมให้ 20 ชุมชน และชาวบ้าน 80,000 คน อยากให้ลงมาดูบ้าง อย่าพูดแต่ในสภา

ปล้นบ้านปลัดคมนาคม

ปล้นบ้านปลัดคมนาคม
ปล้นบ้านปลัดคมนาคม
“ภาณุพงศ์” นำทีมแถลงจับแก๊งปล้นบ้าน “ปลัดคมนาคม” พร้อมของกลางเงินสด 2.8 ล้าน สร้อยทอง อุปกรณ์งัดแงะ และเครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์ หลัง จนท.ออกตามสืบล่าตัวมาได้ 2 ราย ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออยู่ระหว่างหลบหนี สารภาพวางแผนและดูลาดเลามานาน 1 ปี ก่อนสบโอกาส โดยได้เงินไปกว่า 200 ล้านบาท อ้างลงมือเข้าปล้นบ้านปลัด เพราะโกงมาจากทางราชการ
วันนี้ (17 พ.ย.) เมื่อเวลา 17.00 น.ที่กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บก.สส.บช.น.) พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผบ.ตร. พล.ต.ต.วินัย ทองสอง รรท.ผบช.น. พล.ต.ต.รณศิลป์ ภู่สาระ ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ ผกก.สส.4 พ.ต.อ.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ ผกก.วิเคราะห์ข่าว พร้อมชุดสืบสวน บช.น.ร่วมแถลงผลการจับกุมแก๊งคนร้ายที่ร่วมปล้นบ้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย นายสิงห์ทอง หรือ ไก่ ใจชมชื่น อายุ 44 ปี ที่อยู่ 135/46 ตรอกอาคาร 7 แขวงและเขตคลองเตย กทม.และ นายเสาร์แก้ว หรือ แก้ว นามวงศ์ อายุ 59 ปี ที่อยู่ 238 ม.7 ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ พร้อมของกลางเงินสด 2,822,000 บาท สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท จำนวน 2 เส้น อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เครื่องช็อตไฟฟ้า 3 อัน โทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง โดยจับกุม นายสิงห์ทอง ได้ที่ห้องพักย่านคลองตัน และจับกุม นายเสาร์แก้ว ได้ที่บ้านพัก จ.เชียงราย
พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีกลุ่มคนร้ายได้บุกเข้าไปปล้นบ้านของ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ที่บ้านเลขที่ 77 ซ.ลาดพร้าว 64 แยก 2 โดยกลุ่มคนร้ายอาศัยช่วงจังหวะที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน บุกเข้าไปใช้เทปพันสายไฟมัดมือของแม่บ้าน 2 คน และเข้าไปในห้องน้ำชั้น 2 ได้เงินสดไป 5 ล้านบาท ก่อนขับรถกระบะหลบหนีไป ซึ่งคนร้ายได้ทิ้งชะแลงเหล็ก 3 อัน คัตเตอร์ 1 อัน และผ้าปิดปากไว้ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน ต่อมาเจ้าหน้าที่ กก.สส.บช.น.ได้รวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ ประกอบกับการตรวจสอบกล้องวงจรปิด พบว่า รถกระบะวีโก้ 4 ประตู ขับออกจากที่เกิดเหตุมุ่งหน้าไปยังถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา และต่อมาได้มีประชาชนได้แจ้งเบาะแส ว่า พบบุคคลต้องสงสัยซึ่งมีพฤติกรรมการใช้เงินเปลี่ยนไป โดยร่ำรวยผิดปกติ เจ้าหน้าที่สืบสวนพบว่าเป็น นายสิงห์ทอง จึงได้เชิญตัวมาสอบสวน ซึ่งพบพิรุธหลายอย่าง และไม่สามารถชี้แจงที่มาของเงินได้ จนกระทั่งยอมรับสารภาพว่า ได้ร่วมกับพรรคพวกรวม 6 คน ก่อเหตุปล้นทรัพย์ดังกล่าวจริง
โดยมี นายวีระศักดิ์ หรือ โก้ เชื่อลี อายุ 36 ปี อยู่ที่ 260 หมู่ 2 ต.แชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็นหัวหน้าแก๊ง นายเสาร์แก้ว นามวงศ์ อายุ 59 ปี นายพงษ์ศักดิ์ หรือ เจี๊ยบ นามวงศ์ อายุ 35 ปี ที่อยู่ 238 ม.7 ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย นายสมบูรณ์ หรือ บูรณ์ ริยะเทน อายุ 40 ปี ที่อยู่ 40 ม.5 ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน จ.เชียงราย และ นายคำนวณ หรือ นวน เมฆน้อย อายุ 38 ปี อยู่ที่ 449 ม.9 ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกระทำผิดด้วย
พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ กล่าวอีกว่า แก๊งปล้นดังกล่าวได้ร่วมวางแผนมาหลายเดือนแล้ว มีการวนมาดูบ้านที่เกิดเหตุหลายรอบ แต่ยังไม่กล้าลงมือ จนกระทั่ง นายวีระศักดิ์ ได้ติดต่อมาว่าเตรียมอุปกรณ์ในการลงมือครบถ้วนแล้ว พร้อมที่จะลงมือได้โดยมีการใช้เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เครื่องสัญญาณกล้องวงจรปิด เครื่องตัดสัญญาณประตูเลื่อนหน้าบ้าน หมวกไอ้โม่งไหมพรมสีดำ ถุงมือสีดำ เครื่องช็อตไฟฟ้า วิทยุสื่อสาร ชะแลงเหล็ก ในการลงมือ โดยในวันเกิดเหตุ นายวีระศักดิ์ ได้ขับรถกระบะวีโก้ 4 ประตู สีบรอนซ์ทอง ทะเบียน กฉ 1166 กาญจนบุรี มารับ นายสิงห์ทอง กับพวกที่เหลืออยู่ ในห้องพักของนายสิงห์ทอง จากนั้น นายวีระศักดิ์ ได้ขับรถมายังหน้าบ้านที่เกิดเหตุ จากนั้นได้เปิดเครื่องตัดสัญญาณทั้งหมด และให้นายสิงห์ทอง ลงไปเปิดประตูรั้ว จากนั้นเข้าไปจับแม่บ้าน 2 คน มาอยู่ในห้องครัวมัดมือแล้วพานำขึ้นไปในห้องนอน แล้วเปิดตู้เสื้อผ้ากรีดกระเป๋าเอาเงินใส่กระสอบที่เตรียมมา จากนั้นก็ขึ้นรถกระบะหลบหนีไป
พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ กล่าวอีกว่า วันที่ 16 พ.ย.เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงรวบรวมพยานหลักฐานส่งพนักงานสอบสวนขอออกหมายจับคนร้ายทั้ง 6 ในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ ก่อนจับกุมนายสิงห์ทอง ได้ที่ห้องพักย่านคลองตัน พร้อมของกลางเงินสด 500,000 บาท สร้อยทองหนัก 5 บาท 2 เส้น รวมมูลค่า 760,000 บาท และขยายผลจับกุมนายเสาร์แก้ว ได้ที่บ้านพัก จ. เชียงราย พร้อมของกลางเงินสด 1,050,000 บาท โดย นายเสาร์แก้ว ให้การรับสารภาพว่าได้ส่วนแบ่งจากการปล้นครั้งนี้กว่า 1 ล้านบาท จึงนำตัวส่งพนักงานสอบสวนพร้อมของกลางส่งดำเนินคดี ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออยู่ 4 คน จะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อติดตามจับกุมต่อไป นอกจากนี้ จากการตรวจสอบประวัติ นายเสาร์แก้ว นามวงศ์ อายุ 59 ปี เคยมีประวัติคดีปล้นทรัพย์ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2525 และถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี
จากการสอบสวน นายสิงห์ทอง ให้การรับสารภาพว่า ได้วางแผนพร้อมกับดูลาดเลามานานประมาณ 1 ปี แล้ว โดยมี นายวีระศักดิ์ เป็นหัวหน้าแก๊ง ซึ่งทราบข่าวว่าที่บ้านหลังดังกล่าวมีเงินสดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในวันเกิดเหตุได้เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่าง พร้อมทั้งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ เข้าไปในบ้านทั้ง 5 คน ส่วน นายคำนวณ คอยดูต้นทางอยู่ข้างนอก เมื่อเข้าไปในบ้านแล้วก็ได้บุกเข้าไปขโมยเงินสดที่ใส่อยู่ในถุง และเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าภายในห้องของปลัด ซึ่งพบว่ามีเงินสดจำนวนหลายถุง ส่วนเงินภายในตู้เซฟและเงินสินสอดพวกตนไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
“ก่อนลงมือได้ให้นายคำนวณ เช่าอพาร์ตเมนต์รายวันชั้นสูงสุดที่ใกล้เคียงบ้านที่เกิดเหตุคอยดูความเคลื่อนไหวของคนในบ้าน ก่อนจะตัดสินใจลงมือปล้น เบื้องต้นเงินที่พวกตนได้มาทั้งหมดกว่า 200 ล้านบาท โดยเบื้องต้น นายวีระศักดิ์ ได้ให้เงินจำนวน 15 ล้านบาท มาแบ่งกันใช้ไปก่อน ส่วนเงินสดที่เหลือ นายวีระศักดิ์ เป็นคนเก็บไว้ แล้วจะนำมาแบ่งกันภายหลัง โดยตกลงกันว่าเงินที่ได้มาทั้งหมด 50 เปอร์เซ็นต์ แบ่งให้ลูกพี่ของนายวีระศักดิ์ ซึ่งเป็นข้าราชการ ส่วน 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นของ นายวีระศักดิ์ อีก 20 เปอร์เซ็นต์แบ่งพวกตนที่เหลือ ส่วนภายในบ้านที่เกิดเหตุพบเงินสดซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าต่างๆ รวมประมาณ 700-1,000 ล้านบาท ส่วนเหตุที่ตนได้เข้าปล้นครั้งนี้ ทราบมาว่า เป็นเงินที่โกงมาจากทางราชการ” นายสิงห์ทอง กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนผู้ต้องหาที่หลบหนีอีก 4 ราย นั้น นายวีระศักดิ์ หลบหนีอยู่ที่จังหวัดนครพนม นายคำนวณ หลบหนีอยู่ที่ชายแดนประเทศลาว ส่วน นายสมบูรณ์ และ นายพงษ์ศักดิ์ หลบหนีอยู่ที่ จ.เชียงราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนกำลังอยู่ระหว่างเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี

ปัญหาที่ทำให้ต้องย้ายบ้าน

อย่างนี้ต้องย้ายบ้าน
อย่างนี้ต้องย้ายบ้าน
6 พ.ย.54 เมื่อบ้านมีปัญหา ก็ต้องย้ายบ้าน เหตุผลของแต่ละคน หรือแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน บางคนบอกเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางคนก็รับไม่ได้ .. มีเพื่อนหลายคน ถามว่าทำไมต้องย้าย บ้านดีออก
สรุปปัญหาที่พบกับตัว หรือคนในบ้านเล่าให้ฟัง ดังนี้
1. คนเมามาอวก และถ่ายเบา หน้าประตูบ้านเป็นประจำ เพราะบ้านติดร้านเหล้า
2. ผัวเมียทะเลาะกัน เพราะมารอเมียที่มาดื่มเหล้ากับกิ๊ก ชีวิตดั่งละคร
3. ตีกันขั้นลงไม้ลงมือ ทั้งชายหญิงหรือหญิงหญิง คดีลงหนังสือพิมพ์ก็หลายครั้ง
4. หน้าบ้านเป็นที่โทรศัพท์ คุยอะไรกัน ในบ้านได้ยินหมด ไม่มีลับ
5. รถเข้าบ้านไม่ได้ เพราะมีรถลูกค้าข้างบ้านมาจอดขวาง ต้องไปหาที่จอดใหม่
6. ควันไอเสียจากรถลูกค้าร้านอาหาร แต่ที่หนักคือรถตู้เย็นที่ต้องสตาร์ททิ้งไว้
7. ตั้งแต่เที่ยงวันไปถึงเที่ยงคืนจะมีนักร้องสมัครเล่นมาขับกล่อมทุกวัน ชัดเจน
8. หนู แมลงสาบ ต๊กโต เป็นเพื่อนสนิทในบ้าน เพราะใต้บ้านเป็นร่องน้ำทิ้ง
9. คนผ่านไปใครมา เห็นในบ้านหมด ร้อน ๆ ถอดเสื้อผ้าก็อายเขา
10. บ้านปูนเป็นทาวน์เฮ้าเก่ากว่า 20 ปี ต่อเติมไม่ได้ ทางเทศบาลห้ามไว้

ช็อกวงการโมโตจีพี ซิมอนเชลลี ซิ่งตายคาศึกมาเลเซียนจีพี

วงการมอเตอร์สปอร์ต ต้องพบเรื่องเศร้าอีกครั้ง หลังสูญเสีย แดน เวลดัน นักแข่งรถอินดีคาร์ เมื่อ มาร์โก ซิมอนเชลลี่ นักบิดสองล้อชาวอิตาเลียนเสียชีวิต ในเดือนเดียวกัน หลังถูกรถมอเตอร์ไซค์ทับในศึกโมโตจีพี มาเลเซียน กรังด์ปรีซ์ ส่งผลให้ฝ่ายจัดฯยกเลิกประลองความเร็วทันที

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ 23 ต.ค.2554 ว่า มาร์โก ซิมอนเชลลี สังกัดทีม ซานคาร์โล ฮอนด้า เกรสซินี เสียชีวิต หลังประสบอุบัติเหตุระหว่างลงแข่งขันศึกโมโตจีพี รายการ มาเลเซียน กรังด์ปรีซ์ ที่สนามเซปัง เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย เมื่อช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

เกิดเหตุไม่คาดฝัน เมื่อนัดบิดชาวอิตาเลียน วัยเพียง 24 ปี รถล้มระหว่างแข่งขันรอบที่ 2 ก่อนที่จะถูกรถของ คอลิน เอ็ดเวิร์ดส์ และ วาเลนติโน รอสซี ซึ่งขี่ตามหลังมาทับร่างจนได้รับบาดเจ็บสาหัส กระทั่งสิ้นลมในเวลาต่อมา ขณะที่ เอ็ดเวิร์ดส์ และ รอสซี่ ไม่ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงจากอุบัติเหตุในครั้งนี้

หลังจากได้รับการยืนยันข่าวเศร้าดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้ประกาศยกเลิกการแข่งขันทันที โดยการเสียชีวิตของ ซิมอนเชลลี เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในศึกโมโตจีพี นับตั้งแต่ที่ ไดจิโร คาโตะ ต้องสังเวยชีวิต จากอุบัติเหตุ ศึกเจแปนิส จีพี เมื่อปี 2003 ขณะที่ปีที่แล้ว โชยะ โตมิซาวะ ก็เสียชีวิตในลักษณะเดียวกับ ซิมอนเชลลี ในศึกโมโตทู ที่ ซานมารีโน

นอกจากนี้ การตายของ ซิมอนเชลลี อดีตแชมป์รุ่นโมโตทู เมื่อปี 2008 เกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่วงการมอเตอร์สปอร์ต ต้องสูญเสีย แดน เวลดัน นักแข่งรถอินดีคาร์ ชาวสหราชอารณาจักร ที่เสียชีวิต จากอุบัติเหตุในการแข่งขันที่ลาสเวกัส เมื่อสัปดาห์ก่อน

สำหรับ ซิมอนเชลลี ขยับรุ่นสู่โมโตจีพี เมื่อฤดูกาล 2010 และเคยคว้าตำแหน่งโพลโพซิชั่นครั้งแรกในรุ่นนี้ ในศึกคาตาลุนญา เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา  และสามารถขึ้นเหยียบโพลเดียมครั้งแรก ในรายการที่ สาธารณรัฐเช็ก เมื่อเดือนส.ค. หลังจากที่คว้าอันดับ 3 ก่อนที่จะทำผลงานดีขึ้น ในศึกที่ ออสเตรเลีย เมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการคว้าอันดับ 2 มาครองได้สำเร็จ

ส่วนผลการแข่งขันในรุ่นอื่น ๆ ซึ่งแข่งจบไปก่อนเกิดเหตุช็อก โธมัส ลูธิ นักบิดสวิสจากทีม อินเตอร์เวตเตอร์ แพดด็อก โมโตทู ได้แชมป์สนามนี้ไปครอง หลังเข้าเส้นชัยคนแรก เวลา 36 นาที 35.115 วินาที และ รุ่น 125 ซีซี. มาเวอริค วินาเลส นักบิดสเปนจากทีมบลูเซนส์ บาย ปารีส ฮิลตัน เรซซิง คว้าแชมป์​ด้วยเวลา 40 นาที 34.280 วินาที

http://www.thairath.co.th/content/sport/211397
http://www.winnipegfreepress.com/sports/breakingnews/italian-rider-marco-simoncelli-dies-after-accident-at-malaysian-motogp-132400283.html

เวลดอน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุแข่งรถ

dan racing
dan racing

อุบัติเหตุในวงการมอเตอร์สปอร์ต เศร้า หลัง แดน เวลดอน นักซิ่งชาวอังกฤษเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรุนแรงระหว่างการแข่งขันรถอินดีคาร์ ที่สนามลาสเวกัส มอเตอร์ สปีดเวย์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ต.ค.2554

http://www.youtube.com/watch?v=IK7gICqz3aA

เวลดอน เป็นหนึ่งในรถ 15 คันที่ประสบอุบัติเหตุในรอบที่ 13 ของการแข่งขันสนามสุดท้ายของศึกอินดีคาร์ 300 ประจำฤดูกาล 2011 โดยนักซิ่งวัย 33 ปีซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกนำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เพื่อส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลในลาส เวกัส แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา
“อินดีคาร์เสียใจมากที่จะประกาศให้ทราบว่า แดน เวลดอน ได้เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บสาหัส” แรนดี เบอร์นาร์ด ประธานบริหารอินดีคาร์เปิดเผย “เราทุกคนต่างสวดมนต์ภาวนาให้แก่ครอบครัวของเขาในวันนี้”

การแข่งขันสนามนี้ก็ถูกยกเลิกหลังเกิดอุบัติเหตุส่งผลให้แชมป์อินดี คาร์ 300 ประจำฤดูกาล 2011 ตกเป็นของ ดาริโอ ฟรานชิตตี ขณะเดียวกันนักแข่งที่เหลืออยู่ก็แสดงความไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของ เวลดอน ด้วยการขับรถวนรอบสนามจำนวน 5 รอบ

สำหรับ เวลดอน เป็นแชมป์รถแข่งอินเดียนาโปลิส 500 สองสมัยเมื่อปี 2005 และปีนี้ ซึ่งจบฤดูกาลเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ได้มาเข้าร่วมแข่งขันรถอินดีคาร์ เพื่อหวังเงินโบนัสพิเศษ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 150 ล้านบาท) สำหรับนักขับที่ไม่ได้เป็นสมาชิก และคว้าแชมป์สนามสุดท้ายของซีรีส์ได้
http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132068

เสนอย้ายเมืองหลวง

น้ำท่วมโลก
น้ำท่วมโลก

23 ต.ค.54 ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เสนอย้ายเมืองหลวงไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ นครราชสีมา บุรีรัมภ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม เพราะใน 20 ปี ภาคกลางจะจมอยู่ใต้น้ำ จากเหตุน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่อง และปี 2554 ก็เริ่มเห็นน้ำท่วมกรุงเทพฯ กันแล้ว แต่ครั้งนี้เป็นเพราะการผันน้ำผิดเวลาไปหน่อย ทำให้เวลาน้ำมามากแล้วพื้นที่ที่เคยถูกผันไปแล้ว ก็รับน้ำอีกรอบไม่ได้ ปัญหาคือคนที่พูดเรื่องย้ายเมืองหลวงอาจกลายเป็นคนผิดปกติในสายตาของคนที่อยู่ในเมืองหลวงก็เป็นได้
http://video.sanook.com/_%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-446390-player.html
http://www.youtube.com/watch?v=goWNZSjqitE

สกว ลำปาง จัดงานครบรอบ 10 ปี วิจัยชาวบ้าน

สกว ลำปาง
สกว ลำปาง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น ศูนย์ประสานงานจังหวัดลำปาง ประชาสัมพันธ์งาน ๑๐ปี๋ : วิจัยจาวบ้าน ปราชญ์จาวเมืองละกอน วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ลานหน้าวัดปงสนุก เวลา ๑๓.๐๐ ณ เป็นต้นไป

ผู้สนใจทั่วไปสามารถแจ้ง รายชื่อหรือกลุ่มคณะที่จะ เข้าร่วม มาที่ vijailampang@yahoo.com, pmanoi@hotmail.com เพื่อลงทะเบียนรับหนังสือและของที่ระลึก หากท่านใดมีความประสงค์ต้องการ จดหมายเพื่อแจ้งยังต้นสังกัด รบกวนระบุมาในรายละเอียดด้วยนะคะ .. หรือสื่อสารผ่านทาง FB ก็ได้ค่ะ..ขอบพระคุณค่ะ

มีรายละเอียดที่ http://www.facebook.com/vijailampang

ศรัทธาเท่านั้นที่ช่วยได้

พิธีไล่น้ำ
พิธีไล่น้ำ

พบข้อมูลว่า กทม.ออก จม.เชิญร่วมพิธีไล่น้ำ 8 ตุลาคม 2554 โดยสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ออกจดหมายด่วนที่สุด ถึงผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2554 เรื่องขอเรียนเชิญร่วมพิธีไล่น้ำ ด้วยกรุงเทพมหานครได้กำหนดจัดพิธีไล่น้ำ ในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2554 เวลา 14.39 น. ณ ศาลหลักเมือง เพื่อวิงวอนร้องขอแม่พระคงคาช่วยบันดาลให้น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงขอเชิญท่านร่วมในพิธีดังกล่าว โดยมีกำหนดการ ดังนี้     เวลา 14.39 น. พิธีบวงสรวง (พิธีพราหมณ์) เวลา 15.09 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยพร้อมกัน เวลา 14.00 น. ณ ศาลหลักเมือง การแต่งกายชุดผ้าไทย หรือ ชุดสุภาพ

เป็นอีกครั้งที่ผมเห็นศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=532866
http://www.astv-tv.com/news1/viewnews.php?data_id=1011405&numcate=2