สาธิตการแปลงแฟ้มภาพเป็น e-book
โดยต้นเหตุเกิดจากการ scan หนังสือทั้งเล่มเป็นแฟ้มภาพ (.jpg) จำนวน 200 หน้า ด้วยเครื่อง scan แบบฝาปิดเปิด แล้วต้องการทำเป็น e-book ด้วยการรวมภาพทั้งหมดเป็นแฟัม .pdf แล้วผมก็เลือกโปรแกรม pdf creator ทำหน้าที่จำลอง printer ขึ้นมา เมื่อ print ภาพทั้งหมดผ่านโปรแกรม photo printing wizard ก็จะส่งผลลัพธ์ทั้งหมดไปให้กับเครื่องพิมพ์เสมือนจริงชื่อ pdf creator ทำหน้าที่แปลงเป็น e-book หรือแฟ้ม .pdf ตามต้องการ ซึ่งขนาดแฟ้ม pdf ก็พอ ๆ กับขนาดจากการรวมภาพทั้งหมดครับ
Category: เทคโนโลยี
สาธิตการสแกนหนังสือ เป็น pdf ผ่าน multi-function printer
mindjet on android with freemind on windows and export to webpage
เล่าสู่กันฟัง
เรื่อง การประยุกต์ใช้ mindmap ในเว็บเพจ
1. เคยบอกเพื่อนว่า “ไม่ศรัทธา mindmap” แม้เขียนด้วย mindjet หรือ freemind ก็ตาม เพราะไม่สามารถเชื่อมแผนภาพความคิดเข้าเป็นกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ แต่วันนี้ความคิดเปลี่ยนไป (change)
2. 27 ก.ค.55 ผมลองใช้ mindmap เตรียมสอนการเขียนเว็บเพจด้วย php ในระดับของการยกร่างหัวข้อ โดยเขียนผ่าน mindjet app บน samsung galaxy tab 10.1
แล้ว save as เป็น freemind ซึ่งช่วยให้รวบรวมความคิด และปรับแต่งหัวข้อได้ง่ายจริง
*ข้อเสนอแนะทางเทคนิค ผมเสนอแนะว่าต้องเรียงจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง เนื่องจากใน source code และการนำเสนอต่อไปจะเป็นเช่นนั้น
3. ผมส่งไปเข้า freemind ใน windows ผ่าน dropbox app แล้ว export ใน pc ออกไปได้หลายรูปแบบ แต่ที่ผมนำไปใช้ได้จริง คือ XHTML (Clickable map image version) เพราะผลได้เป็นกลุ่มแฟ้มแบบ webpage
ที่มีภาพและรายการแยกออกมา
4. ผมนำไปใช้ในเว็บเพจหน้าเดียว เพื่อนำเสนอหัวข้อทั้งแบบ mindmap และ bullet หากคลิ๊กบนภาพก็จะเลื่อนไปที่ bullet ที่อยู่ด้านล่าง และยังทำงานแบบ javascript หด-ขยายหัวข้อ ใน bullet หรือจะคลิ๊กตาม hyperlink ที่ฝังไว้กับแต่ละหัวข้อก็ได้
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
คลิ๊ปนี้ใช้ microphone ของ logitech รุ่น h530 usb headset
แล้วใช้โปรแกรม camtasia 7.1 บันทึกภาพจาก powerpoint แล้วจัดเก็บแบบ mp4 สำหรับ web ขนาด 1024 * 768 px มี frame rate อยู่ที่ 15 frame/sec ระยะเวลา 18 นาที ใช้พื้นที่ประมาณ 18 MB ที่ได้แฟ้มขนาดไม่ใหญ่เกิดจากมี slide เพียง 3 slides มีเนื้อหาเกี่ยวกับ โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
แต่ถ้าใช้ slide เพิ่มขึ้น แล้วเปลี่ยนบ่อยขนาดของแฟ้มก็จะเพิ่มขึ้น
บ่นเรื่องความไม่ชินกับ tablet
ผมใช้ tablet แบบ two-way ไม่ใช่ readonly หรือ listen only หรือ watch only
จึงมองหาการส่งข้อมูล และแลกเปลี่ยนกับผู้คนใน social network พบปัญหากับอุปกรณ์ ดังนี้
1. กดอักษรมากขึ้น : กว่าจะพิมพ์เสร็จ 30 ตัวอักษร จิ้มไปซะ 60 ที จะซ้ายขวาบนล่างก็ต้องใจเย็นกันหน่อย
2. เบิ้นต้องรอ : ถ้าพิมพ์อักษรเบิ้นต้องรอสักครู่ เช่น “สรร” หรือ “มากกว่า” เพราะต่อเนื่องไม่ได้ หลายปุ่มมี 3 ตัวอักษร จะจิ้มอักษรบนต้องกด 3 ครั้ง ถ้ากด 2 ครั้งคือเปลี่ยนตัวไม่ได้ออกเบิ้น
3. แป้นใหม่ : ต้องเรียนรู้แป้นพิมพ์ใหม่ ปกติผมพิมพ์สัมผัส ตอนนี้ต้องจ้อง เพราะใช้สัมผัสไม่ได้ ต้องจำ
4. ของแถม : ปัญหาใหม่ พอพิมพ์เสร็จแล้วส่ง บางทีมีตัวอักษรแถมต่อท้ายเข้าไปใน fb เกิดหลายครั้ง เริ่มสงสัยว่าอุปกรณ์รับสัมผัสเร็วไปรึเปล่า
5. ท่านั่ง : ถ้าต้องค้นงาน แล้วพิมพ์งานติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ยังไม่มีท่านั่งที่เหมาะสม
6. สายตายาว : เวลาใช้ tablet ต้องถอดแว่น เพราะจอเล็ก ตัวเล็ก แม้ซูมได้ ถ้าเปลี่ยนโปรแกรมขนาดก็กลับสุ่มาตรฐาน
—
มีความเชื่ออยู่ว่า ความเคยชิน ทำให้มนุษย์ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
1. ถ้าชินกับ การเปิดพัดลมนอน ก็จะไม่ถามถึงแอร์
2. ถ้าชินกับ การดื่มน้ำบ่อ ก็จะไม่ถามถึงน้ำสิงห์
3. ถ้าชินกับ การดื่มเหล้าเป็นประจำ ก็จะไม่ถามถึงการรักษาศีล
สักวันหนึ่ง ผมอาจเคยชิน คิดว่า tablet ใช้ง่ายกว่า desktop .. ใครจะไปรู้
ที่รู้แน่ ๆ คือวันนี้ผมยังไม่ชินกับ tablet
หนังสือ imarketing 10.0
16 เม.ย.55 เข้าร้าน B2S ที่ BigC ลำปาง ทีแรกว่าจะไปดูหนังสือ “Future career future education สาขา อาชีพ แห่งอนาคต 3” ปกสีแดง โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ แต่ไปพบหนังสือ “imarketing 10.0 10 กลยุทธ์การตลาดออนไลน์เขย่าโลก” ราคา 299 บาท ซะก่อน มี 2 ประเด็นที่เลือกซื้อเล่มนี้ คือ 1) มีผู้เขียนระดับสุดยอดถึง 12 คน และ 2) พบความพยายามอธิบายเรื่อง AR:Augmented Reality หน้า 258 โดยพูดถึง Minority Report ของ Steven Spielberg และผมก็ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ (เป็นหนังสืออีกเล่มที่พูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ และผมก็ซื้อเพราะเหตุผลนี้เช่นเดิม)
มาติดตามนักเขียน 12 ท่านกันครับ
1. วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ @TheInk www.eventpro.in.th
2. สุธีรพันธุ์ สักรวัตร @sutirapan www.dtac.co.th
3. รณพงศ์ คำนวณทิพย์ @rockdaworld www.universalmusic.co.th
4. นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล @butthun www.butthun.com
5. สุธาทร สุทธิสนธิ์ @toppercool www.dbd.go.th
6. บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ @daydev www.daydev.com
7. วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง @worawisut www.appreview.in.th
8. อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ @macroart www.pantip.com
9. อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล @art3t www.zheza.com
10. ปภาดา อมรนุรัตน์กุล @goople www.redrank.co.th
11. ชุตินธรา วัฒนกุล @chutin www.nationgroup.com
12. จิรัสย์ พิพัฒน์วศิน @Jiraz www.jiraz.com
หนังสือเล่มนี้ แสดงให้เห็น ปัญหาการทำการตลาดกับ fb page ที่ผิดพลาด หน้า 97 หัวข้อ “ข้อผิดพลาด 7 ประการของการทำการตลาดด้วย facebook page”
#1: Assuming People Go To Your Fan Page (Versus Seeing Your Posts In Their News Feed)
#2: Expecting Welcome Tabs To Get You Lots Of Fans
#3: Overestimating Apps and Tabs
#4: No Budget For Ads To Acquire Fans
#5: Posting In A Self Centered Way, Not Trying To Get Likes And Comments
#6: Not Optimizing For Impressions And Feedback Rate
#7: Over-Selling and Hard-Selling Without Conversing Or Arousing Desire First
ในวิธีที่ 4 สนับสนุนให้ซื้อ facebook Ads และบอกว่าคุ้มค่ากว่า email marketing
http://allfacebook.com/7-biggest-fan-page-marketing-mistakes_b43011
http://www.nbcdigitalforum.com/10ch.php
http://www.eventpro.in.th/blog/digital-marketing-summit-2012/
http://www.pinnyforever.com/2011/07/12/imarketing-10-0/
http://futurecareer.eduzones.com/
http://www.thaiall.com/news/news.php?l=9520000071488&site=mgr
http://www.facebook.com/imarketing10.0
http://www.facebook.com/itmartretail
slide.com ปิดแล้ว
9 เม.ย.55 หลายปีก่อนได้ใช้บริการของ hi5.com แล้วก็ได้รู้จักบริการของ slide.com คุณจ๋อมเคยเอาภาพไปใส่ใน slide แล้วเลือก template อย่างสนุกสนาน ผมจึงไปคัดลอก code สำหรับ embeded ใน webpage วางไว้ใน gallery ของคุณจ๋อม .. วันนี้คุณ Nasim Suphawinee ได้ share slide ที่ทำด้วย app ของ fb ชื่อ tripwow
เมื่อย้อนไปดูคลิ๊ปใน gallery ของคุณจ๋อม ก็ทำให้ทราบว่าเว็บไซต์ slide.com ประกาศปิดบริการ ว่า “Slide.com closed its doors on March 6, 2012 and is no longer available. Thanks for all of your support over the years!”
http://apps.facebook.com/tripwow/ta-04a9-ac2c-6d40
http://www.thaiall.com/actress/joom.htm
ตัวอย่าง embed flash เข้า webpage
<embed src="http://widget-1a.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" quality="high" scale="noscale" salign="l" wmode="transparent" flashvars="cy=h5&il=1&channel=1224979098653456922&site=widget-1a.slide.com" style="width:426px;height:320px" name="flashticker" align="middle"/>
(8/25/2011)We wanted to give you all advance notice that in the coming months, a number of Slide’s products and applications will be retired. This includes Slide’s products such as Slideshow and SuperPoke! Pets, as well as more recent products such as Photovine, Video Inbox and Pool Party. We created products with the goal of providing a fun way for people to connect, communicate and share. While we are incredibly grateful to our users and for all of the wonderful feedback over the years, many of these products are no longer as active or haven’t caught on as we originally hoped.
Most importantly, we wanted to take this opportunity to reassure you that we’re committed to helping our users preserve their data as easily as possible. We recognize that many of you have stored valuable content with us and want to assure you that, wherever possible, you will have ample time to download that information or transfer it to another service.
For example, on Slide.com, we will enable users to either download their photos or export them to a Picasa account. We are working to release this export feature over the coming weeks and, once added, users will have several months to take advantage of transferring their photos.
Thanks again for all of your support, and we appreciate your patience as we continue to share more details in the coming days and weeks on how to access and save your content from specific Slide products. If you have any questions or feedback, don’t hesitate to contact us at feedback@slide.com. Or visit this page for any additional updates.
From the Slide Team http://www.slide.com/static/blog
นักเรียน ป.1 560,000 คน จะได้รับแท็บเล็ต
ปลาย มี.ค.55 ประชุมบอร์ดแท็บเล็ต สรุปลงนามสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ต หลังวันที่ 2 เม.ย.นี้ ด้าน “อนุดิษฐ์” ยันมีการคุมเข้มคุณภาพแท็บเล็ต กำหนดให้จีนผลิต 2,000 เครื่องรุ่นแรก มารับการทดสอบเข้มข้น ตกทดสอบแม้แต่เครื่องเดียวทุกอย่างวงแตก กลับไปเริ่มต้นใหม่
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหาร ที่มี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการยกร่างสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ต กับบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ (Shenzhen Scope Scientific Development Co,Ltd) ที่รัฐบาลจีนเสนอมาและได้ข้อสรุป ว่า คู่สัญญาจัดซื้อจะเป็น กระทรวงไอซีที กับ บริษัทเสิ่นเจิ้น โดยจะทำเป็นสัญญาหลัก (Main Cantact ) พร้อมแนบสัญญาจัดซื้อเพิ่มเติม หรือ Repeat Order เพื่อเปิดช่องให้มีการของบประมาณจัดซื้อเพิ่มเติมภายหลัง ทั้งนี้ เพราะงบประมาณที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ประมาณ 1,900 ล้านบาท ไม่เพียงต่อจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามงบประมาณที่ได้ในปี 2555 นั้น ยังขาดอีก 90,000 เครื่อง ซึ่ง สพฐ.จะเปลี่ยนแปลงงบประมาณในส่วนอื่นมาจัดซื้อเพิ่มเติมก่อน แต่ขณะนี้ ก็ยังตอบไม่ได้ว่า ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมเท่าไร ขึ้นอยู่กับงบประมาณ 1,900 ล้านบาทนี้ จะสามารถจัดซื้อได้กี่เครื่อง
นายอนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานโอนงบประมาณมาให้กระทรวงไอซีที ซึ่งจะเป็นผู้จัดซื้อแทนพร้อมกันในวันที่ 2 เมษายน 2555 และในวันเดียวกันนี้ ไอซีทีจะได้สรุปยกร่างสัญญาจัดซื้อให้แล้วเสร็จเรียบร้อยแล้วส่งไปให้สำนักอัยการสูงสุดตรวจทานร่างสัญญา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเมืองพัทยา และ กทม. มีกฎหมายเฉพาะทำให้ไม่สามารถโอนงบประมาณมาให้ยังไอซีทีได้เช่นกับหน่วยงานอื่นๆ จำเป็นต้องแยกทำสัญญา เพราะฉะนั้นการทำสัญญาจะต้องทำเป็น 3 ฉบับ ซึ่งได้มีการเจรจาเรียบร้อยว่าเงื่อนไขการจัดซื้อจะมีเนื้อหาเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อสัญญาผ่านการตรวจทางจากอัยการสูงสุดแล้วจะเร่งลงนามโดยเร็วที่สุด และเพื่อให้ทุกฝ่ายหมดความกังวลใจในเรื่องคุณภาพ
“ในยกร่างสัญญาจะมี การกำหนดไว้ว่า บ. เสิ่นเจิ้น ต้องผลิตเครื่องแท็บเล็ตรุ่นแรกจำนวน 2,000 เครื่อง ให้เสร็จภายใน 15 วัน หลังจากลงนามแล้ว เพื่อนำแท็บเล็ตรุ่นแรกนี้มาเข้ารับการทดสอบอย่างเข้มข้นจากคณะกรรมการจัด ซื้อของไทยที่จะเดินทางไปประเทศจีนเพื่อตรวจดูการผลิตตั้งแต่ต้น โดยคณะกรรมการจัดซื้อจะร่างเกณฑ์การทดสอบขึ้นมา มีการระบุขั้นตอนและจุดต่างๆ ที่ต้องทดสอบเครื่องโดยละเอียด และเครื่องแท็บเล็ตทั้ง 2,000 เครื่อง จะต้องผ่านการทดสอบ 100% ถึงจะเริ่มกระบวนการผลิตได้ แต่ถ้าการทดสอบปรากฎว่ามีเครื่องแท็บเล็ต แม้แต่เครื่องเดียวที่พบข้อบกพร่องในระบบหลักทั้งหมดก็จะต้องย้อนกลับมา เริ่มดำเนินการใหม่ ยกเว้นถ้าข้อบกพร่องนั้นไม่ใช่จุดสำคัญ ก็จะให้เดินหน้าการผลิตได้หลังจากที่มีการปรับปรุงแก้ไขตามเงื่อนไขที่ทางไทยกำหนดแล้ว” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว
นอกจากนี้ จะมีการตั้งสำนักงานบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา พร้อมจัดทำแผนใช้คอมพิวเตอร์ส่งเสริมการสอนเสนอ ครม.ด้วย เบื้องต้นสำนักงานนี้จะแบ่งโครงสร้างเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารสื่อการเรียนการสอน กลุ่มบริหารจัดการระบบสารสนเทศและโครงข่าย กลุ่มบริการและดูแลรักษา และกลุ่มส่งเสริมและพัฒนา
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า วันที่ 2 เมษายน 2555 ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องโอนเงินไปให้ กระทรวงไอซีที เพื่อดำเนินการจัดซื้อแท็บเล็ตให้กับนักเรียน ป.1 ซึ่งขณะนี้ สพฐ.มีงบประมาณจำนวน 1,182 ล้านบาท เพียงพอกับเด็ก ป.1 จำนวน 470,000 คน ขณะที่ สพฐ.มีนักเรียน ป.1 ทั้งหมด 560,000 คน เท่ากับว่า ยังขาดงบประมาณ 350 ล้านบาท เพื่อจะซื้อแท็บเล็ตอีก 90,000 เครื่อง ให้กับนักเรียนทุกคน ซึ่งจากการหารือกับ สำนักงบประมาณ ได้แนะนำให้ สพฐ.เจียดจ่ายงบประมาณที่ได้รับ
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000040145
ไลฟ์บล็อก – สตอรีไฟ (Live Blog – Storify)
แฟนของผม วาง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555 แล้วก็ชำเรืองไปพบหัวข้อที่น่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาอ่าน เห็นคำว่า สตอรีไฟ และ บทบาทที่น่าสนใจของ นักนิเทศศาสตร์ หลายท่าน แล้วไปค้นข้อมูลจากเน็ต รวมถึงทดสอบใช้บริการของ http://storify.com/ajburin/storify ที่สามารถดึงเนื้อหาจาก social media มารวมกันใน post เดียวได้ง่าย แบบที่เรียกว่า right to left and up to down
คนข่าวยุคเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ (Facebook-Twitter) ต้องบูรณาการแบรนด์ตัวเองสู่ “ไลฟ์บล็อก-สตอรีไฟ“ (Live Blog – Storify) … “สุทธิชัย หยุ่น” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำทีมคนข่าวเนชั่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย @imsakulsri หรือ “สกุลศรี ศรีสารคาม” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มาอัพเดทเทรนด์โซเชียลมีเดีย 2012
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้ “โซเชียลมีเดีย เพื่อการรายงานข่าว” (Social Media & Journalism) อ.สกุลศรี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียนั้น จะช่วยเสริมความต้องการของผู้บริโภคจากสื่อกระแสหลัก เนื่องจากมีความเร็ว ความลึก สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยรายงานข่าวหรือใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวนั้นได้
ขณะเดียวกัน คนข่าวก็ต้องสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมารวมไว้ เป็นแหล่งเดียว เพื่อเพิ่มความกว้างและลึกของประเด็นข่าวนั้นด้วยการใช้พื้นที่จากเว็บไซ ต์ข่าว แสดงผลจากการกระจายปัญหาไปยังฝูงชน เพื่อให้ร่วมค้นคำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา อย่างกรณีน้ำท่วมซึ่งมีผู้เช็กอินเข้ามารายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วม กองบรรณาธิการต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะมีทั้งรูป คลิปวิดีโอ และเนื้อหา โดยให้เครดิตผู้ที่ส่งข้อมูลเข้ามาด้วย นอกจากนี้ คนข่าวก็ต้องเขียนบล็อกไลฟ์ เพื่อรายงานสดถ่ายทอดประเด็น ต่อยอดเนื้อหาข่าวนั้นๆ พร้อมด้วยคลิปและภาพ เพื่อดึงผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นแฟนคลับ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
“ยกตัวอย่าง งานศพของวิทนีย์ ฮุสตัน ก็นำไลฟ์บล็อกมาอัพเดทความเคลื่อนไหวทั้งภาพ ข้อความ และคลิป หรือ “Cholas Kristof” ผู้สื่อข่าวจากนิวยอร์กไทม์ เขียนเฟซบุ๊กรายงานสดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เช่นเดียวกับ “Amanda michel” จากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารตอบโต้ประเด็นข่าว โดยมี “สตอรีไฟ” รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียไว้ในที่เดียวกัน” อ.สกุลศรี กล่าว
ทั้งนี้ “สตอรีไฟ” คือ การเล่าเรื่องด้วยโซเชียลมีเดีย มีลักษณะคล้ายกับการเขียนบล็อก แต่ “สตอรี่ไฟ” สามารถดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, คลิปวิดีโอจากยูทูบ ฯลฯ ซึ่งอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงลากและวาง (drag and drop) เท่านั้น ตอนนี้ก็มีเว็บข่าวจำนวนมากใช้บริการสตอรีไฟอยู่ อาทิ กอว์เกอร์ (Gawker), วอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal), การ์เดี้ยน (Guardian) เป็นต้น
ด้าน @jin_nation “สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์” บก.ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผู้ผ่านประสบการณ์การทำข่าวตั้งแต่ยุคส่งข่าวทางโทรศัพท์สาธารณะ มาจนถึงยุคทวีตส่งข่าว ยอมรับว่า สื่อต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก และกำลังสนใจไลฟ์บล็อก และสตอรีไฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมและนำเสนอข่าวที่น่าสนใจมากช่องทางหนึ่ง
“สุทธิชัย” เสริมว่า สตอรีไฟเป็นช่องทางที่น่าสนใจ คนข่าวทีวีสามารถนำไปขึ้นหน้าจอทีวีได้เลย แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านสตอรีไฟ ใครเริ่มทำก่อนจะเท่มาก ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียนอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนทำข่าวแล้ว ยังใช้สร้างแบนด์ส่วนตัวได้ สมัยก่อนกระบวนการทำข่าว 80 เปอร์เซ็นต์จะเสียไปกับขั้นตอนการส่งข่าว แต่ปัจจุบันกระบวนการส่งข่าวเร็วขึ้นใช้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงมีเวลามากพอที่จะทำข่าวที่มีเนื้อหา กว้าง ลึก ผ่านโซเชียลมีเดียได้
“นักข่าวของเราปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียมา 4-5 ปีแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเราจะยืนอยู่แถวหน้า ก้าวนำคนอื่นอยู่ 2-3 ก้าว หากถึงวันที่โซเชียลมีเดียทำเงินได้ เราจะเป็นกลุ่มแรกที่อยู่รอด เพราะเราก้าวพ้นความกลัวมาแล้ว และผมยังเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่ตาย สื่อทีวีก็ไม่ตาย เพราะมีโซเชียลมีเดียมาเสริมซึ่งกันและกัน” สุทธิชัย กล่าว
http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/03/12/entry-1
http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2012/03/live-blogs-storify.html
http://www.wired.com/gadgetlab/2011/10/apple-iphone-5-live-blog/
open house มหาวิทยาลัย
open house มหาวิทยาลัยเนชั่น
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 เวลา 12.30 – 16.30 น. มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดกิจกรรมเปิดบ้าน ณ ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ กรุงเทพฯ โดยถ่ายทอดไปยัง มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนต์ (Video Conference)
เสวนาเวทีแรก
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ 3 คนร่วมกันทำเวทีเสวนา มีผู้ดำเนินรายการคือ นายธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย ร่วมกันเล่าประสบการณ์จากการเรียน และการลงมือปฏิบัติจริง กับมืออาชีพ ซึ่งมีการแสดง และกิจกรรมร่วมกับน้องนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มาร่วมกิจกรรม ทำให้ทราบว่าการเรียนนิเทศศาสตร์กับมหาวิทยาลัยเนชั่น จะได้สัมผัสพิธีกร นักข่าว และได้เข้าไปร่วมปฏิบัติกับมืออาชีพจริง ๆ อาจารย์พาออกพื้นที่จริง นักศึกษาจะได้พบคุณกนก และคุณสุทธิชัย หยุ่น ทั้งในห้องอาหาร หรือในลิฟท์ทุกวัน
เสวนาเวทีที่สอง
จากนั้นก็มีเสวนา เรื่อง “ทำไมต้องเรียนฯกับมืออาชีพ” โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการข่าวในเครือเนชั่น คุณธนะชัย สันติชัยกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ประธานกรรมการอำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นักศึกษาที่มุ่งมั่นก็จะได้ร่วมงานกับหน่วยงานของเครือเนชั่นตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ได้ฟังบรรยายจากมืออาชีพ อาทิ คุณสุทธิชัย หยุ่น นำผู้แปลหนังสือ steve jobs มาพูดคุย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่า หาได้ยาก และไม่อยู่ในตำราใด ๆ ซึ่งคุณธนะชัย ย้ำเน้นว่า อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมี 3 เรื่องที่เราจะพัฒนานักศึกษา ของมหาวิทยาลัยให้โดดเด่น คุณอดิศักดิ์ให้ข้อมูลว่าทีวีที่บริษัททำอยู่มีถึง 5 ช่อง ที่นักศึกษาจะได้มีโอกาสเข้ามาปฏิบัติจริงกับมืออาชีพ ปัจจุบันนักศึกษาก็มีโอกาสผลิตรายการส่งให้กับสถานีข่าวระวังภัย
สำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนที่กรุงเทพฯ มี 2 หลักสูตรในระยะแรกคือ
1. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชานิเทศศาสตร์)
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)
เสวนาเวทีที่สาม
แล้วต่อด้วยเสวนา เรื่อง “เรียนอะไรดีใน ม.เนชั่น” โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น คุณอุดม ไพรเกษตร ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการ ในระหว่างที่ท่านอธิการตอบประเด็นของ อ.อุดม พบว่ามีประเด็นสำคัญเรือ่งหนึ่ง คือ อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ที่สื่อให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บัณฑิตของมหาวิทยาลัยจะมี 3 ทักษะ คือ professional skill, communication skill และ english skill และหลักสูตรที่เปิดสอนมีดังนี้
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)
3. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี)
4. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)
5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์)
6. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการท่องเที่ยว)
7. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ต่อด้วยงานแถลงข่าวความร่วมมือ การเลือกใช้ Samsung Galaxy Tab เพื่อการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยเนชั่น กับบริษัท ไทยซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ จำกัด
ในตอนท้ายของกิจกรรม
ได้เปิดให้ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ของเครือเนชั่นกรุ๊ป
กลุ่มที่ 1 เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการข่าว หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
กลุ่มที่ 2 เยี่ยมชมและทดลองเป็นผู้ประกาศ(ข่าวบันเทิง) สตูดิโอ Mango TV
กลุ่มที่ 3 เยี่ยมชมและทดลองเป็นผู้ประกาศ(ข่าวเศรษฐกิจ,การเมือง) สตูดิโอ Nation Channel
กลุ่มที่ 4 เยี่ยมชมและทดลองเป็นผู้จัดรายการวิทยุ (ห้องออกอากาศ Nation Radio)
สนใจติดต่อ 02-3383777 หรือ 054-820099
http://www.nation.ac.th