เล่นโซเชียลในเวลางานผิดด้วยเหรอ (itinlife485)

online love
online love

ปลายเดือนมกราคม 2558 กรมการปกครองออกหนังสือถึงผู้ว่าทั่วประเทศว่า ได้รับแจ้งว่าบุคลากรภาครัฐบางท่านใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเวลาของทางราชการเข้า Social media ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เพื่อความเรียบร้อย จึงให้ใช้เฉพาะในงานราชการเท่านั้น โดยย้ำว่าห้ามใช้ในทางส่วนตัว ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องทำหน้าที่กำกับดูแล ถ้าไม่ควบคุมดูแลแล้วเกิดเป็นคดีความ ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดด้วย สอดรับกับเมื่อกันยายน 2555 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยพบว่า ข้าราชการส่วนหนึ่งโหลดคลิ๊ปและภาพในเวลางานที่ไม่เกี่ยวกับงานกันมาก ทำให้ช่องสัญญาณ (Bandwidth) ไม่พอกับการใช้งาน จึงระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ที่บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

จากข้อมูลทำให้เข้าใจว่ากรณีแรกนั้นมีประชาชนไปพบว่าข้าราชการเข้าใช้ Social media ในเวลาราชการ ทั้งโพสต์ แชท เม้นท์ และแชร์ที่ไม่เกี่ยวกับงาน ผู้รับผิดชอบจึงมีหนังสือตักเตือนว่าถ้ามีการแชร์แล้วเข้าข่ายผิดกฎหมายใด จะถือว่าผู้บังคับบัญชามีความผิดด้วยในฐานะที่ไม่ควบคุมดูแลลูกน้องให้รู้จักกาลเทศะ ก็คงมีข้าราชการที่ติดเฟสบางกลุ่มออกมาแสดงทัศนะไม่เห็นด้วย  ส่วนพนักงานบริษัทที่ติดโซเชียลก็คงมีกังวลเล็กน้อยว่าจะมีมาตรการนี้เข้าบริษัทหรือไม่ หากเจ้านายที่ไม่ติดโซเชียลเกิดคิดได้ขึ้นมาก็อาจทำให้ต่อไปต้องลักลอบเข้าเน็ต ทำให้นึกถึงละครเรื่องแอบรักออนไลน์ ที่นางเอกต้องแอบคุยกับหนุ่มไม่ให้ใครรู้

กรณีที่สองเกิดขึ้นเมื่อปี 2555 ผู้รับผิดชอบเรื่องช่องสัญญาณพบว่าช่องที่มีอยู่มีปริมาณการใช้หนาแน่น ตรวจสอบแล้วพบว่าดาวน์โหลดคลิ๊ปหนัง (Video) กันมาก ผมก็ไม่รู้จะเป็นซีรี่เกาหลีรึเปล่าเพราะในหนังสือไม่ได้ระบุไว้ คาดว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียงบประมาณเช่าช่องสัญญาณเพิ่มรองรับความต้องการที่หนาแน่น จึงปรึกษาผู้ใหญ่แล้วผลคือมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะปิดกั้นการเข้าถึงบางเว็บไซต์ แล้วเชื่อได้ว่าข้าราชการในสมัยนั้นอาจมองหาทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงคลิ๊ปหนังในเวลาราชการผ่านบริการ 3G ซึ่งปัจจุบันมีราคาลดลง และอาจเร็วกว่าเน็ตของส่วนราชการบางแห่ง ก็ต้องมาติดตามว่าจะมีหนังสือแบบนี้ฉบับต่อไปจากหน่วยงานใดหรือไม่ เพราะเชื่อว่ากระแสโซเชียลในกลุ่มราชการจะไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก ถ้าบอสไม่เอาจริง

+ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000011774

+ http://www.manager.co.th/Drama/ViewNews.aspx?NewsID=9570000145325

+ http://news.mthai.com/general-news/188920.html

ห้องเครื่องคือเขตอันตราย (itinlife298)

power
power

จากภาพยนตร์เรื่อง Erin Brockovich ที่ฉายในปี พ.ศ.2543 นำเสนอเรื่องราวที่ชวนให้ตระหนึกถึงความน่าสะพรึงกลัวของพลังงานไฟฟ้า ผลพวงของการผลิตไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนใกล้เคียง ส่วนจอภาพคอมพิวเตอร์แบบ CRT จะส่งคลื่นแม่เหล็กออกมีผลต่อการเป็นหมัน มะเร็ง และเนื้องอกได้ ทำให้มีการพัฒนาจอภาพแบบ LCD และ LED ที่มีคลื่นแม่เหล็กลดลงมาก อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่ใช้ไฟฟ้าจะเกี่ยวข้องกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ยิ่งใช้กำลังไฟฟ้ามากก็ยิ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก และยิ่งมีจำนวนชิ้นของอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมอยู่ในที่เดียวจำนวนมาก ก็ยิ่งยากต่อการควบคุมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สูงเป็นเงาตามตัว ความไม่กลัวหรือไม่ตระหนักต่อพลังแฝงที่มองไม่เห็นอาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างที่คาดไม่ถึง

ห้องเครื่องบริการคอมพิวเตอร์ (Server Farm หรือ Server Room) เป็นสถานที่ที่ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และสายไฟจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าห้องอื่น มักเป็นห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน 24 ชั่วโมงมีอุณหภูมิที่อยู่เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ในการออกแบบห้องจะมี 2 แบบ คือ ให้เป็นเพียงห้องเก็บเครื่องบริการที่แยกส่วนจากห้องทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา หรือ ให้มีเจ้าหน้าที่นั่งอยู่ในห้องเครื่องบริการเพื่อคอยเฝ้าตรวจปัญหาทางจอภาพ หรืออุปกรณ์แจ้งเตือน ถ้ามีเจ้าหน้าที่นั่งประจำมักมีเหตุผลจากความจำเป็นที่ต้องเฝ้าตรวจปัญหาที่จะปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้ หากเกิดขึ้นก็ต้องแก้ไขในทันที อาทิ ชุมสายโทรศัพท์ ชุมสายไฟฟ้า ชุมทางรถไฟฟ้า เป็นต้น

การออกแบบห้องต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เพราะห้องเครื่องบริการเป็นพื้นที่อันตรายที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูงอยู่ตลอดเวลา การเข้าไปทำงานชั่วคราวอาจเกิดขึ้นได้ และไม่ส่งผลมากนัก ถ้าต้องใช้ชีวิตในห้องดังกล่าวนานถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะมีคำถามว่าเจ้าหน้าที่ที่ประจำการรู้ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองในระยะยาวหรือไม่ และมีทางเลือกอื่นหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีระบบที่เรียกว่าการควบคุมระยะไกล (Remote Control) ทำให้ไม่ต้องเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่อันตราย แต่สามารถทำงานได้จากระยะไกลในพื้นที่ที่ปลอดภัย ถ้ามีเจ้าหน้าที่ไปอยู่ในนั้นได้มีมาตรการป้องกันอย่างไร ผู้เขียนเสนอว่าตระหนักไว้ไม่เสียหาย เป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะกันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน