การใช้ scratch สร้างโปรแกรมพิมพ์ 1 ถึง 5

scratch programming tool
scratch programming tool

ทราบข่าวว่า google สนับสนุนให้เด็กที่สหรัฐ
เรียนรู้ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
มีคลิ๊ปและรายละเอียดที่ https://www.cs-first.com/overview
เคยสนใจเรื่องพิมพ์ตัวเลข
จึงลองใช้ scratch ที่ https://scratch.mit.edu สร้างโปรแกรม
เพื่อพูด 1 ถึง 5 แบบทำซ้ำ
พูด 1 จำนวน 1 ครั้ง คั่นด้วย , ทุกครั้ง แล้วเลื่อนเป็น 2
พูด 2 จำนวน 2 ครั้ง คั่นด้วย , ทุกครั้ง แล้วเลื่อนเป็น 3
ไปถึง 5
พูด 5 จำนวน 5 ครั้ง คั่นด้วย , ทุกครั้ง แล้วหยุด
โดยพิมพ์ผ่าน say

ตัวอย่างการใช้ randomnumber กับภาษาจาวา
http://wpbcsc115.weebly.com/uploads/1/3/6/8/13682593/simplerandomnumbers.pdf

ยุคใหม่ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ (itinlife537)
โอบาม่ากล่าวผ่าน whitehouse.gov ที่เผยแพร่เมื่อ 30 มกราคม 2559 ว่า “ในเศรษฐกิจยุคใหม่ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) จะไม่เป็นเพียงทักษะทางเลือก แต่จะเป็นทักษะพื้นฐาน” ที่มีทั้งการอ่าน การเขียน และการคำนวณ แล้วเขาจะหางบ 4 พันล้านเหรียญมาผลักดันหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้มีการเรียนในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ซึ่งเดิมจะเน้นให้อ่านออกเขียนได้ แต่ยุคใหม่ต้องให้การคำนวณเป็นทักษะพื้นฐานของเยาวชนทุกคน แม้ว่าหางบประมาณก้อนใหญ่ไม่ได้ ก็ยังหน่วยงาน National Science Foundation ได้เตรียมงบ 135 ล้านเหรียญไว้อบรมพัฒนาครูผู้สอนให้มีความสามารถทางวิทยากรคอมพิวเตอร์ไว้แล้ว
อเมริกาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่ถือเป็นจุดแข็ง เพราะเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน มีผลงานของคนในประเทศ อาทิ Facebook.com, Microsoft.com, Google.com, Apple.com, Oracle.com ดังนั้นการเสริมจุดแข็งจึงเป็นสิ่งที่ตอกย้ำความสำเร็จว่าเดินไปถูกทาง โดยมองไปที่การพัฒนาการศึกษาที่บูรณาการกับวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กตั้งแต่เริ่มอ่านออกเขียนได้ ในอนาคตเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลกจะยึดโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ประเทศจีนมีคุณแจ็ค หม่า ที่ทำ Alibaba.com บริการ B2B ก็ขึ้นอันดับหนึ่งของคนรวยที่สุดในจีนแล้ว ที่ประเทศอังกฤษในอดีตมีคุณอลัน ทัวริ่ง ผู้คิดค้นเครื่องถอดรหัสเครื่อง Enigma ของเยอรมันจนทำให้สงความยุติลงเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ถือเป็นผลงานที่ต้องจดจำ และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์
จากการสำรวจทักษะคนงานไทยเพื่อเตรียมออกไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียน พบว่า ทักษะภาษาอังกฤษน่าเป็นห่วงมากที่สุด และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัญหารองลงมา เราคงไม่ต้องถามว่าแข่งกับใครอย่างไร คงต้องถามว่าจะพัฒนาคนไทยอย่างไรมากกว่า เพราะปัญหาความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศของคนไทยมีกันในทุกระดับ ตั้งแต่ปัญหาโรงเรียนเล็กที่มีเด็กไม่ถึง 60 คน ส่งผลถึงจำนวนครูในโรงเรียน และส่งผลถึงงบประมาณทุกด้าน ปัญหาการให้ความสำคัญของภาครัฐและเอกชนที่จะใช้และให้บริการสารสนเทศอย่างจริงจัง ปัญหาผู้บริหารที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการในองค์กร เพราะถ้าเด็กในปัจจุบันขาดทักษะไอทีก็เชื่อได้ว่าทักษะของผู้ใหญ่ในปัจจุบันก็ต้องอ่อนแอถึงอ่อนมากเป็นธรรมดา
http://tinyurl.com/js9ssod


ม.3 ของไทยก็เรียน C# นะครับ
ได้อ่านหนังสือวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับ ม.3
มีบทที่ 3 การพัฒนาโปรแกรม หน้า 39 – 68
มีเนื้อหาสอนการใช้โปรแกรมประเภท IDE คือ Sharpdevelop
http://www.thaiall.com/csharp/sharpdevelop/
น่าสนใจครับ กับแนวทางพัฒนา Computer Science ของประเทศต่าง ๆ