เคยค้นดู .. มีผู้กล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่า albert einstein เขียนประโยคที่ quite นี้จริง
—
ชวนคิดว่าในอีกมุมมองหนึ่งว่า
“ผู้เข้ามาในเวที่นี้โปรดฟัง เป้าหมายของการสอบครั้งนี้
คือ เลือกสิ่งมีชีวิตที่จะไปทำงานเก็บแอปเปิ้ลในสวนอีเดน”
—
ระบบการศึกษาของเรา
“ไม่มีใครเป็นอัจฉริยะไปทุกเรื่อง
แต่ถ้าตัดสินว่าช้างจะดำน้ำ ทำงานเหมือนปลา
ช้างก็คงคิดว่าตนเองบกพร่องไปทั้งชีวิต
แต่ถ้าตัดสินว่าลิงลากซุง ทำงานในป่า
ลิงก็คงคิดว่ตนเองไม่มีเรื่ยวแรงทั้งชีวิต”
สรุปว่า
“หลังจากทุกชีวิตเรียนรู้ที่จะหายใจบนโลกแล้ว
ก็จะแยกย้ายกันไปอยู่ในเวทีที่เหมาะสมสำหรับตน“
Tag: education
ศ.พิเศษ ภาวิช ขอแค่ 6 เดือนทำหลักสูตรใหม่
ปฏิรูปการศึกษา
1. ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ขอ 6 เดือน ทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่เสร็จ
2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครูก่อน
3. รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ชี้ว่าประเทศผู้นำด้านการศึกษาใช้เวลาปฏิรูปหลักสูตรถึง 10-20 ปีกว่าจะสำเร็จ
กรุงเทพฯ * “ภาวิช” ขอ 6 เดือนทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่เสร็จ ชี้จะกำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าครูต้องสอนอะไร สอนอย่างไร ขณะที่นักเรียนจะเรียนในห้องเรียนน้อยลง แต่ให้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแทน พร้อมเสนอ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาชาติ ขณะที่ “พงศ์เทพ” ขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครูก่อน “สมพงษ์” เตือนต้องรอบคอบระวังพลาด ชี้เพราะประเทศผู้นำด้านการศึกษาใช้เวลาปฏิรูปหลักสูตรถึง 10-20 ปีกว่าจะสำเร็จ แต่ไทยจะใช้เวลาแค่ 6 เดือนหรือ
ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) ในฐานะประธานกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวบรรยายเรื่อง “การปฏิรูปหลักสูตร : ประเด็นสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาไทย” ในงานประชุมระดมความคิดเรื่องกรอบแนวทางการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศธ. เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า หลักสูตรการศึกษาเป็นสาเหตุหนึ่งของคุณภาพการศึกษา ซึ่งหลักสูตรการศึกษาที่ดีจะต้องมีความทันสมัย มีวงจรการประเมินผลการใช้งาน มีการกำหนดระยะเวลาปรับหลักสูตรเป็นรอบๆ ขณะที่ปัจจุบันระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของเราใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งหากดูในเนื้อหาแล้วหลักสูตรดังกล่าวเป็นเพียงการปรับเล็กจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ฉะนั้นอาจบอกได้ว่าหลักสูตรที่เรายึดใช้อยู่เก่าไปแล้ว ขณะเดียวกันก็ดูจะมีปัญหากับการใช้อยู่ในปัจจุบัน
ที่ปรึกษา รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า หากลงลึกในหลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ.2551 จะพบว่าเป็นหลักสูตรแบบย่อ เพื่อจะเปิดโอกาสให้ครูสามารถนำความรู้ไปต่อยอดการสอนเอง หรือเป็นการออกแบบหลักสูตรที่ต้องการครูเก่ง แต่สภาพความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้น ทำให้หลักสูตรปัจจุบันไม่ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์การศึกษาดีขึ้น ขณะเดียวกันหลักสูตรปัจจุบันยังมีวิธีการบรรจุความรู้ให้นักเรียนแบบหน้ากระดาน ผ่านวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 โดยเฉพาะกับนักเรียนช่วงชั้นประถมต้น ไม่เหมือนในต่างประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์การศึกษาดี อย่างประเทศฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ และอังกฤษ ที่มีวิธีการบรรจุความรู้ให้นักเรียนอย่างมีการวางระบบที่สอดคล้องกับช่วงวัย อย่างช่วงชั้นประถมต้น จะเน้นเรื่องการสอนทักษะชีวิต การใช้ภาษาเป็นหลัก อาทิ วิชาวิทยาศาสตร์ จะเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เบื้องต้นที่ผ่านการบรูณาการหลายเนื้อหาของช่วงชั้นประถมต้น และเพิ่มเป็นรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นประถมปลาย หรือช่วงชั้นที่สูงขึ้น
ส่วนโครงสร้างเวลาเรียน พบว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีชั่วโมงเรียนในห้องเรียนมากเป็นอับดับ 2 ของโลก คือระดับประถมศึกษา 1,000 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษา 1,200 ชั่วโมงต่อปี เป็นรองประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาที่มีชั่วโมงในห้องเรียนมากสุด 1,400 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ประเทศฮ่องกงซึ่งมีคะแนนการสอบพิซาเป็นอันดับ 1 มีชั่วโมงเรียนในห้องเรียน 700 ชั่วโมงต่อปี และผลวิจัยของยูเนสโกชี้ว่า ชั่วโมงเรียนในห้องเรียนที่ดีต้องอยู่ที่ประมาณ 800 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้น แน่นอนว่าการปฏิรูปหลักสูตรครั้งนี้จะต้องมีการปรับสัดส่วนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลดลงแน่นอน แต่ก็ยืนยันว่าไม่ใช่การลดการจัดการศึกษา เพราะจะเป็นการทดแทนด้วยชั่วโมงเรียนโครงงาน กิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
“คาดว่าจะออกแบบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ได้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ส่วนแนวทางหลักสูตรครั้งนี้ เราจะลงลึกในรายละเอียดมากขึ้น อย่างครู เราจะกำหนดเลยว่าต้องสอนอะไร สอนอย่างไร หรือครูคนใดเก่งอยู่แล้ว อยากสอนนอกเหนือที่กำหนดก็สามารถทำได้ ใครไม่คิดเพิ่มก็ทำตามที่กำหนด ส่วนนักเรียนจะเรียนเนื้อหาวิชา มีชั่วโมงเรียนที่เหมาะสม โดยเราจะออกแบบไม่ทำให้การเรียนเหมือนการติดคุก” ศ.พิเศษภาวิชกล่าว
ศ.พิเศษภาวิช กล่าวทิ้งท้ายว่า การปฏิรูปหลักสูตรจะทำอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำควบคู่กันไปเป็น 5 ยุทธ ศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปครู การตั้งศูนย์ STEME ทุกจังหวัดเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ และอังกฤษ ให้โรงเรียนทั่วประเทศ การใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา และการปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. ซึ่งที่ผ่านมาเคยเสนอนายพงศ์เทพไปแล้ว ขณะที่ รมว.ศธ.ก็หนักใจ และขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตรก่อน อย่างไรก็ตาม เพราะเรื่องการกระจายอำนาจก็มีผลต่อคุณภาพการศึกษา อย่างกรณีตั้งเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเขตพื้นที่ฯ ไม่รู้ว่าหน้าที่คืออะไร เพราะเราไม่กำหนดชัดเจน ทำให้เกิดการกินหัวคิวโยกย้าย การรับใต้โต๊ะเต็มไปหมด ขณะที่โรงเรียนก็เริ่มหมดความเข้มแข็งลงไปทุกวัน แต่หากเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกลับไม่ต้องมีเขตพื้นที่ฯ เพราะเขาให้อำนาจโรงเรียนไปเลย
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เราต้องมีการทบทวนสัดส่วนโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ ปัจจุบันเรามีชั่วโมงเรียนมาก แต่ประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกลับมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเรา ดังนั้นทัศนคติที่ว่าเรียนมากจะรู้มากก็ไม่จริงเสมอไป ทั้งนี้ หากเราสอนให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น เด็กก็สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องอื่นได้ด้วยโดยอาจไม่ต้องสอนเนื้อหานั้น อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปหลักสูตรและการปฏิรูปครูเป็นเรื่องหลักที่ตนเน้น ส่วนเรื่องปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.เป็นเรื่องเสริม ซึ่งค่อยทำเมื่อเรื่องหลักสำเร็จก็ได้
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราฯ กล่าวว่า ระยะเวลา 6 เดือนที่ตั้งเป้าทำหลักสูตรใหม่เสร็จสิ้น อยากเตือนให้ออกแบบหลักสูตรด้วยความละเอียดรอบคอบ เพราะกลัวจะพลาด อย่างประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาอันดับที่ 1 หรือ 2 ของโลก เขาทำทั้งวิจัยและพัฒนาหลักสูตรใช้เวลา 10-20 ปี ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ยุทธศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งอยากให้นำแต่ละข้อเสนอมากำหนดขอบเขตเวลาที่จะเริ่มต้นและเสร็จสิ้นเพื่อให้เป็นรูปธรรมด้วย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
http://www.glongchalk.com/?p=3174
http://www.thaipost.net/news/110313/70685
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32003&Key=hotnews
เว็บกระทรวงศึกษาธิการ กับภาพประกอบข่าว
28 ม.ค.56 เวลาอยู่บ้าน ก็มักใช้เวลาว่างเปิดเว็บไซต์เพราะความอยากรู้อยากเห็นเรื่อยเปื่อยของมนุษย์ ซึ่งหนึ่งในเว็บไซต์ที่เข้าไปอ่าน คือ กระทรวงศึกษาธิการ คงเพราะอาชีพเกี่ยวข้องกับกระทรวงนี้มากที่สุด เนื่องจากมหาวิทยาลัย คณะวิชา หรือหลักสูตร ก็ล้วนมีต้นสังกัดที่เรียกว่ากระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการศึกษาก็จะสะท้อนผลการจัดอันดับก็ล้วนสะท้อนว่าเราอยู่อันดับท้าย เด็กไทยอ่านน้อย หรือนักวิชาการที่ผมรู้จักก็จะเขียนข่าวพาดพิงกระทรวงนี้เสมอ
เมื่อเข้าไปในเว็บของกระทรวง ก็มักจะติดตามข่าวสาร เพราะมีเรื่องใหม่มาให้อ่านตลอด ช่วงต้นปี 2556 พบหัวข้อ “ข่าวเด่นประเด็นร้อน” ก็จะเข้าไปในส่วนอ่าน “ทั้งหมด” เมื่อเข้าไปก็สงสัยในความผิดปกติอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไร มาวันนี้นึกออกว่า ที่แปลกไปกว่าปกติ คือ คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” ซึ่งคาดหมายต่อไปได้ว่า อันที่จริงผู้พัฒนาระบบเตรียมให้ ผู้เขียนข่าวเป็นผู้อัพโหลด เพิ่มภาพประกอบข่าวเข้าไปได้ เห็นเว็บข่าวต่างประเทศอย่าง cnn.com หรือ bbc.com หากไม่มีภาพก็จะปรากฎข้อความข้างต้น แต่ที่ผ่านมาคงไม่มีภาพ จึงไม่พบภาพประกอบข่าว พบก็แต่คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” เป็นกรณีศึกษาที่จะไปเล่าให้นักศึกษาฟังได้
http://www.moe.go.th/moe/th/news/index.php?Key=hotnews
5 คำแนะนำในการพัฒนาการศึกษา
ปลายปี 2555 มีรายงานใน pearson ว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ
โดยประเทศฟินแลนด์อยู่อันดับ 1 ส่วนอันดับสุดท้ายคืออินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผลการจัดอันดับของบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน”
แล้วมีคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาระดับประเทศ 5 ข้อ
ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาก็ควรจะอ่านไว้สักหน่อย ถ้าไม่ใช่จะอ่านไว้ .. ก็ไม่เสียหาย
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary
5 บทเรียน สำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษา
Five lessons for education policymakers
1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
1. There are no magic bullets: The small number of correlations found in the study shows the poverty of simplistic solutions. Throwing money at education by itself rarely produces results, and individual changes to education systems, however sensible, rarely do much on their own. Education requires long-term, coherent and focused system-wide attention to achieve improvement.
2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
2. Respect teachers: Good teachers are essential to high-quality education. Finding and retaining them is not necessarily a question of high pay. Instead, teachers need to be treated as the valuable professionals they are, not as technicians in a huge, educational machine.
3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
3. Culture can be changed: The cultural assumptions and values surrounding an education system do more to support or undermine it than the system can do on its own. Using the positive elements of this culture and, where necessary, seeking to change the negative ones, are important to promoting successful outcomes.
4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
4. Parents are neither impediments (ผลักดัน) to nor saviours (ผู้ไถ่บาป) of education: Parents want their children to have a good education; pressure from them for change should not be seen as a sign of hostility but as an indication of something possibly amiss in provision. On the other hand, parental input and choice do not constitute a panacea. Education systems should strive to keep parents informed and work with them.
5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต
5. Educate for the future, not just the present: Many of today’s job titles, and the skills needed to fill them, simply did not exist 20 years ago. Education systems need to consider what skills today’s students will need in future and teach accordingly.
ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ล้นตลาด ต้องการวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์/คอมพิวเตอร์
http://news.voicetv.co.th/thailand/60043.html
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ
รัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์
เนื่องจากตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศต้องการ
ขณะที่บุคลากร ด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ล้นตลาดแล้ว
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระบุถึง ผลกระทบของการเปิดประชาคมอาเซียนต่อระบบการศึกษาไทย
ว่าหลังจากนี้ การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานด้วย
ซึ่งขณะนี้กำลังต้องการ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
ส่วนด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีจำนวนมากกว่าความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว
จึงทำให้บัณฑิตที่จบในสาขาดังกล่าว สูญเสียโอกาสในการทำงาน
เนื่องจากแต่ละปี มีบัณฑิตด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์จบการศึกษา 4 – 5 หมื่นคน
โดยปีการศึกษา 2555 มีการรับนักศึกษาใหม่ใน 2 สาขาดังกล่าวเกือบ 1 แสนคน
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทำให้เห็นว่า จำนวนดังกล่าวล้นความต้องการของตลาดแล้ว
เช่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปีล่าสุด ทั่วประเทศมีการเปิดบรรจุ 1,500 อัตรา
มีผู้สมัครสอบเกือบ 2 แสนคน จึงทำให้มีบัณฑิตตกงานจำนวนมาก
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มี 7 สาขาวิชาชีพ
1. วิศวกรรม (Engineering Services)
2. พยาบาล (Nursing Services)
3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. แพทย์ (Medical Practitioners)
6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. บัญชี (Accountancy Services)
สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้
โดยให้ศึกษารายละเอียด เช่น ใบอนุญาตการทำงาน ภาษาถิ่น และกฎหมายแรงงานของประเทศนั้น
ทั้งนี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ยังระบุอีกว่า
นอกจากความต้องการให้บัณฑิตมีงานทำตรงกับสาขาที่เรียนแล้ว
รัฐบาลยังเปิดกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตใหม่ ที่จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี
สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้เปิดรับสมัคร ผ่านศูนย์บ่มเพาะใน 56 แห่งทั่วประเทศ
โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และไม่มีกำหนดการปิดรับสมัคร
+ http://education.kapook.com/view54072.html
+ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=29610&Key=hotnews
อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40
พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
http://www.sesa10.go.th/sesa10/data/mar55/2.pdf
http://www.scribd.com/doc/115003666
29 พ.ย.55 ฟินแลนด์และเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน”
เนชั่น อ.พ.ร.สัมพันธ์ ที่จังหวัดลำปาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬา “เนชั่น อ.พ.ร.สัมพันธ์” (เอกชน พละศึกษา ราชภัฎ ราชมงคล) ครั้งที่ 1/2555 โดยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสร้างสานสัมพันธ์ ซึ่งปีนี้มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขัน ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 โดยกีฬา “เนชั่น อ.พ.ร.สัมพันธ์” ประจำปีการศึกษา 2555 จะจัดขึ้นในเสาร์ที่ 19 มกราคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมกีฬา อพร.สัมพันธ์ ประกอบด้วย
1. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
3. วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
4. วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง
5. วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา
6. วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
7. วิทยาลัยการอาชีพเถิน
8. วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
9. โรงเรียนลำปางพาณิชการ
10. สถาบันการพลศึกษาลำปาง
11. มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
กีฬา อพร. สัมพันธ์ 2554 “วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา” 7 ม.ค. 2555
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150503904528895.391152.814248894
กีฬา อพร. สัมพันธ์ 2553 ที่ “มหาวิทยาลัยราชภัฎ ลำปาง” 27 พ.ย. 2553
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.465783609141.252081.248411859141
31 นโยบายหลักด้านการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวให้นโยบายถึงการทำงานในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ขับเคลื่อนการทำงานตาม “31 นโยบายหลักด้านการศึกษา” ๑) ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ๒) ปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ ๓) ปรับเลื่อนวิทยฐานะโยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม ๔) สอบ O-Net ป.๖ ม.๓ ม.๖ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ๕) กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด ๖) ปฏิบัติธรรม นำการศึกษา ๗) แท็บเล็ตพีซี เพื่อการศึกษา ๘) เรียน ม.๖ จบได้ใน ๘ เดือน ๙) กองทุนตั้งตัวได้ ๑๐) ๑ อำเภอ ๑ ทุน ๑๑) สื่อสารภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN ๑๒) เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖ ๑๓) สร้างผู้นำอาเซียน ASEAN Leaders Scholarship ๑๔) ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingency Loan ๑๕) ครูมืออาชีพ ๑๖) ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center ๑๗) การศึกษาดับไฟใต้ ๑๘) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน OTOP Mini MBA ๑๙) กระทรวงศึกษาไทย ปลอดภัย ไร้บุหรี่ ๒๐) ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ๒๑) อัจฉริยะสร้างได้ ๒๒) อินเทอร์เน็ตตำบลและหมู่บ้าน ๒๓) คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ ๒๔) โรงเรียนในโรงงาน ๒๕) อาชีวะไทย ก้าวไกล ใช้เทคโนโลยี ๒๖) สร้างพลังครู ๒๗) หลักสูตรคิดเป็น ทำเป็น ๒๘) โรงเรียนร่วมพัฒนา ๒๙) ศูนย์อบรมอาชีวศึกษา ๓๐) ตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ ๓๑) เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือน
http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/477/477.aspx
นอกจากนั้นยังได้เน้นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา อาทิ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center , ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน , โรงเรียนในโรงงาน , การตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ รวมทั้งนโยบายเทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือนแล้ว ได้กล่าวถึงเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะดูแลลูกหลานของพี่น้องประชาชนเหมือนลูกหลานของเราเอง ซึ่งก็คือการ “ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” โดยอธิบายว่าหากเป็นลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร คือให้มองเด็กๆ ให้เป็นลูกหลานของเรา ขณะเดียวกันครูอาจารย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารก็ควรมองให้เป็นเหมือนน้องชายน้องสาว เพราะว่าผู้บริหารก็เหมือนครูรุ่นพี่ ซึ่งต้องมาช่วยเราสอนลูกของเราให้มีอนาคตมีการศึกษา
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนต้องการให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สร้างบุคลากรคุณภาพ ครูและนักศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ แต่มีความเป็นห่วงว่าเงินงบประมาณ ปี2556 ซึ่งได้น้อยลงจะทำให้การพัฒนาอาชีวศึกษาที่เข้มแข็งทั้งคุณภาพ และประมาณได้มากน้อยเพียงใด ฝากให้ส่วนกลางจัดทำฐานข้อมูลของสถานศึกษาให้ชัดเจนเพื่อช่วยให้การจัดสรรเงินงบประมาณมีความเป็นธรรม และตรงกับความต้องการมากที่สุด
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประสานงานขอรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นของกลางที่ไม่สามารถใช้งานได้มาเป็นวัสดุฝึก หรือนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อมาใช้ประโยชน์ การสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีรายได้โดยแปลงทักษะวิชาชีพให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ รวมทั้งต้องเตรียมพร้อมการแข่งขันในประชาคมอาเซียน โดยเน้นให้เด็กสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียน
โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ 10 สิงหาคม 2555
การประยุกต์ใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
มีผู้รู้สรุปว่าการวิเคราะห์คือการแยก หากจะวิเคราะห์ประโยคที่ว่า “ประยุกต์ใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา” ก็จะพบว่ามีคำสำคัญทั้งหมด 3 คำ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ (Application) แท็บเล็ต (Tablet PC) และการศึกษา (Education) คำที่เชื่อมโยงคำอื่นคือคำว่าการประยุกต์ใช้ ก็ต้องมาวิเคราะห์กันต่อว่าแท็บเล็ตนำมาประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง และการศึกษาจะสามารถใช้แท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร คำว่าการศึกษามีผู้เกี่ยวข้องมากมาย อาทิ นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน รัฐมนตรีฯ ผู้ปกครอง โรงเรียนกวดวิชา วัด และชุมชน ซึ่งทั้งหมดควรเข้าใจคำว่าแท็บเล็ต
แต่ละกลุ่มมีบทบาทเกี่ยวข้องที่ต่างกัน อาทิ เป้าหมาย กระบวนการ ความคาดหวัง ระบบ กลไก บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ ค่านิยม วัฒนธรรม และทัศนคติ กรณีที่นักเรียน ป.1 ได้แท็บเล็ตล็อตแรกเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือ ครูใหญ่ที่ต้องเข้าใจ วางแผน มอบหมาย กำกับ ติดตามให้คุณครูได้ใช้งานอุปกรณ์ตามแผนการจัดการเรียนการสอน และกำหนดแนวการประเมินให้คุณครูประจำชั้นไว้ถือปฏิบัติ และเข้าใจตรงกันทั้งชั้น ดูเหมือนในระดับโรงเรียนทุกอย่างเริ่มต้นที่ครูใหญ่ที่รับนโยบายจากกระทรวงฯ และครูใหญ่ก็ควรเข้าใจการประยุกต์ใช้แท็บเล็ต ถ้าครูใหญ่ใช้ไม่เป็นหรือไม่เข้าใจ แล้วจะกำกับสนับสนุนให้ครูน้อยได้ใช้เครื่องมือสุดวิเศษที่เปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึกนี้ได้อย่างไร
เมื่อนโยบายพร้อมอุปกรณ์มาถึงครูน้อยที่สอนในชั้นป.1 ก็จำเป็นที่ผู้รับผิดชอบต้องร่วมกันวางแผนรับมือกับอุปกรณ์ ศึกษาใช้งานให้ชำนาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถควบคุมการใช้งานของนักเรียนในประเด็นว่าโดยใคร เมื่อไร ที่ไหน กับใคร อย่างไร เพราะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไฟฟ้า เปราะบาง ซับซ้อน มาใหม่ และมีมูลค่า หากวางแผน กำกับ ติดตาม พัฒนาได้ไม่ดีก็จะส่งผลให้การใช้ประโยชน์นั้นขาดประสิทธิภาพ แล้วผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย หรือ ตัวชี้วัด/มาตรฐานและจุดเน้นตามหน่วยการเรียนรู้ ก็จะไม่บรรลุตามที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายกับการศึกษาไทยในพ.ศ.นี้
สินเชื่อเพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ข่าวการศึกษา จากเพื่อนร่วมงาน .. น่าสนใจครับ
นักศึกษาที่สนใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น 1) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) 2) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.) 3) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.) สามารถติดต่อธนาคารธนชาต ขอสินเชื่อเพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ได้แล้ว ซึ่งมีสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของตนเองในระดับปริญญาโท
รายละเอียด
* วงเงินสินเชื่อ : 100% ของค่าเล่าเรียนตามหลักสูตร ขั้นต่ำ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท
* ระยะเวลาการผ่อนชำระ : สูงสุดไม่เกิน 8 ปี
* การค้ำประกัน : บุคคล หรือเงินฝากประจำ หรืออสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน
* การชำระคืน : ชำระคืนค่างวดทันที แบบลดต้นลดดอก
* วิธีการชำระคืน : หักบัญชีอัตโนมัติธนาคารธนชาต
* วิธีการเบิกเงินกู้ :
o ทยอยเบิกเงินกู้เป็นงวด ตามเอกสารการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา โดยจ่ายเช็คในนามสถาบันการศึกษา
o กรณีผู้กู้ลงทะเบียนไว้ก่อนที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อ ให้จ่ายเงินกู้ตามใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาออกให้โดยนับย้อนหลังได้ 1 ภาคการศึกษาเท่านั้น
* ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการเบิกเงินกู้งวดต่อไป ถ้าผู้กู้ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.thanachartbank.co.th/tbankcmsfrontend/personalTHDetail.aspx?PTypeID=9&ProID=19&PName=personal
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
http://www.thanachartbank.co.th/tbankcmsfrontend/downloadgroupth.aspx?downloadid=2