ฟัง ดร.นิรันดร์ จัดรายการวิทยุ ฟังเพลงเพลิน ๆ วนไป

ไอทีในชีวิตประจำวัน

ถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊คใครก็ทำได้ (itinlife589)

live on facebook
live on facebook

https://www.facebook.com/yonokfoundation/videos/346723779043394/

http://lampang.prdnorth.in.th/

https://www.facebook.com/YONOKVARIETY/

คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่า เฟสบุ๊คมีบริการถ่ายทอดคลิ๊ปวีดีโอแบบสด (Live on Facebook.com) และได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยเหตุผลสนับสนุนมากมาย อาทิ ระบบอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นและถูกลง สมาร์ทโฟนราคาถูกลง เฟสบุ๊คเป็นที่นิยมทำให้บริการถ่ายทอดสดเป็นที่นิยมด้วย ใช้บริการได้ง่าย มีตัวเลือกที่คำนึงถึงความปลอดภัย เชื่อมโยงกับเพื่อน และไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริม เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ทำให้เวลาของผู้ใช้บริการที่จะรับรู้สื่อกระแสหลักลดลงเป็นธรรมดา สื่อหลักเริ่มใช้สื่อสังคมเป็นเครื่องมือ เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ใช้บริการอีกทางหนึ่ง

มีผู้ใช้ทั่วไป หรือนักข่าวสมัครเล่นหันมาให้บริการถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊ค จนมีคำถามว่า แล้วต่อไป ผู้เสพสื่อกระแสหลักจะลดลงหรือไม่ อันที่จริงปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เลือกรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก กระแสเม็ดเงินโฆษณาที่ลงสื่อกระแสหลักก็มีแนวโน้มลดลง เพราะนักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้น สื่อหลักทุกช่องทางต่างประสบปัญหาการทำธุรกิจ ก็สืบเนื่องจากผู้คนหันไปหาสื่อออนไลน์ที่ผู้ใช้เป็นผู้ส่งสาร อาทิ Line, Instagram, Youtube, Facebook ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่แนวทางการหารายได้ของสื่อกระแสหลัก คู่แข่งที่เพิ่มขึ้นและมีอิทธิพลอย่างมาก คือ ผู้ใช้ทั่วไปที่ทำตัวเป็นแหล่งข่าว และเผยแพร่ข่าวสารเอง ซึ่งสื่อกระแสหลักเองก็ยังนำข้อมูลข่าวสารมาเผยแพร่ต่อให้เห็นกันได้ทั่วไป

มีโอกาสฟังรายการวิทยุ FM 97 MHz สวท.ลำปาง ที่ปัจจุบันฟังได้ทั้งทางวิทยุ หรือผ่านเว็บไซต์ของสถานี ล่าสุดได้ฟัง ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ จัดรายการ Yonok Variety on Radio เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดสดผ่าน Facebook จึงเข้าไปฟัง และชมคลิ๊ปย้อนหลังได้ แม้เป็นรายการวิทยุ แต่ได้เห็นบรรยากาศในห้องถ่ายทอดเสียงแบบสด ไปพร้อมกับการฟังเสียง ถือว่าเป็นนวัตกรรมของสถานีวิทยุยุค 4.0 และผู้จัดรายการวิทยุที่จะนำเสนอสาระความรู้ความบันเทิงไปถึงผู้ฟัง ผู้ชม หรือสมาชิกได้ไกล กระจายเสียงผ่านเสาอากาศที่ลำปาง แต่อยู่อเมริกาก็ฟังได้แล้ว เสียงวิทยุไปไกลกว่าที่คิดไว้มาก

 

Social Networking in Plain English @commoncraft

Video Transcript: 1.47 Minutes
https://www.commoncraft.com/video/social-networking

Networks get things done. Whether it’s sending a letter or lighting your home. Networks make it happen.

To get from Chicago to Santa Fe, we need to see the network of roads that will get us there. We see that Chicago is connected to St Louis, which is connected to Dallas, which is connected to Santa Fe.

Of course, people networks can help us with finding jobs, meeting new friends, and finding partners. You know how it works. Bob is your friend, he knows Sally, and Sally’s friend Joe has a job for you. This is a network of people – a social network. Yaaay!

The problem with social networks in the real world is that most of the connections between people are hidden. Your network may have huge potential, but it’s only as valuable as the people and connections that you can see. Boooo!

This problem is being solved by a type of web site called a social networking site. These websites help you see connections that are hidden in the real world.

Here’s how it works. You sign up for a free account and fill out your profile. Then, you look for people you know.

When you find someone, you click a button that says, “Add as Friend”. Once you do this, you and that person have a connection on the website that others can see. They are a member of your network, and you are a member of theirs.

What’s really cool, is that you can see who your friends know, and who your friends’ friends know. You’re no longer a stranger, so you can contact them more easily.

This solves a real world problem because your network has hidden opportunities. Social networking sites make these connections between people visible.

Like a map for a highway, they can show you the people network that can help you get to your next destination, whether it’s a job, a new partner, or a great place to live. Your network is suddenly more useful.

What it teaches:
This video introduces the basic ideas behind Social Networking. It focuses on the role of social networking in solving real-world problems. It teaches:
+ The role of people networks in business and personal life
+ The hidden nature of real-world people networks
+ How social networking sites reveal hidden connections
+ The basic features of social networking websites

ความเป็นมาของการส่งความสุขที่เปลี่ยนไป (itinlife 481)

ส.ค.ส. ที่มีรูปธงไตรรงค์ ธงชาติไทยที่เก่าแก่ที่สุด
ส.ค.ส. ที่มีรูปธงไตรรงค์ ธงชาติไทยที่เก่าแก่ที่สุด

http://tccontent.blogspot.com/2013/11/blog-post_3001.html

ตามบันทึกในประวัติศาสตร์ พบว่าเริ่มมีการส่งบัตรเยี่ยม หรือ การ์ดข้อความมามากกว่า 200 ปีแล้ว ประเทศไทยรับธรรมเนียมการส่งบัตรอวยพรจากต่างชาติ แบบแรกคือ บัตรอวยพรปีใหม่ ซึ่งพบหลักฐานที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เคยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2409 ปรากฏในหนังสือพิมพ์ The Bangkok Recorder ของ หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ต่อมาได้เกิดคำว่า ส.ค.ส. ที่ย่อจาก ส่งความสุข ในต้นรัชกาลที่ 5 จนมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเมษายน เป็นมกราคม ตามแบบสากลเมื่อ พ.ศ.2483 และนิยมสงการ์ดอวยพรเรื่องมาถึงปัจจุบัน

เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างมาก หลายปีก่อนนิยมส่งข้อความถึงกันด้วยอีเมล (E-Mail) และมีบริการส่งบัตรอวยพรทางเว็บไซต์ ทำให้บัตรอวยพรที่ส่งทางไปรษณีย์เริ่มเสื่อมความนิยมลง แต่มีการรับส่งบัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (E-Card) ทางอีเมลกันมากขึ้น ต่อมาโทรศัพท์มีบริการรับส่งข้อความแบบสั้น หรือ SMS (Short Message Service) ทำให้การส่งความสุข หรือข้อความยินดีในแต่ละเทศกาลเริ่มเปลี่ยนไป บางท่านที่มีเพื่อนมากอาจได้รับข้อความในเทศกาลปีใหม่นับร้อย บางท่านมีเพื่อนน้อยอาจได้รับเป็นสิบข้อความเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในต้นปี 2558 สถิติการส่งข้อความสั้นลดลงตามคาด และลดลงมากกว่าปีที่ผ่านมา จากรายงานข้อมูลของผู้ให้บริการทั้ง ดีแทค เอไอเอส และทรูมูฟ เอช

การใช้งานดาต้าในช่วง 23.45 – 00.15น. เปลี่ยนปีเก่าเป็นปีใหม่ เทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่ามียอดการใช้งานสูงขึ้น 3 – 4 เท่า ซึ่งผู้ใช้ส่งข้อความหากันผ่านโซเชียลมีเดียหลัก 3 ราย คือ Line, Facebook และ Instagram ทั้งนี้กระแสการใช้งาน Line Sticker ได้รับการสนับสนุนประชาสัมพันธ์จากภาครัฐ มีแบบสติ๊กเกอร์ 16 แบบให้ดาวน์โหลดฟรี เพื่อส่งเสริม “ค่านิยมสิบสองประการ” และแบบที่ 13 มีคำว่า “สวัสดีปีใหม่” ซึ่งผมก็ได้รับจากเพื่อนหลายท่าน แต่ในทางตรงกันข้ามปีนี้กลับไม่ได้รับข้อความส่งความสุขทาง SMS เลย ต่อจากนี้แนวโน้มการส่งข้อความของผู้ใช้เทคโนโลยีก็จะใช้บริการผ่าน Line และ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าท่านกำลังพิจารณาว่าจะส่งความสุขถึงใครสักคนก็คงต้องพิจารณาว่าผู้รับจะสะดวกรับทางใด ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากนักในยุคสังคมก้มหน้า

http://www.jobmarket.co.th/news/detail.php?dd=5978

http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000000110

http://www.mxphone.net/010115-3-operetor-new-year-data-usage-up/

เพลงสังคมก้มหน้า ของ cobrak

social,internet,facebook,instagram
social,internet,facebook,instagram
กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
กลอนแปด บทหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละวรรคมี 8 คำ

เนื้อเพลง สังคมก้มหน้า มีลักษณะคล้ายกลอนแปด
แต่สัมผัสระหว่างวรรค หรือระหว่างบทไม่ตรงตามรูปแบบของกลอนแปด
http://www.tangklon.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%998


บทที่ 1
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 2
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 3
โลกสมัยใหม่ที่ล้ำหน้ากว่ายุค[เดิม] วิ่งตามกันเท่าไรเหมือนกับอยู่ที่[เดิม]
บทนิยามเพิ่มเติมเรียกสังคมก้ม[หน้า] เปิดเผยกันทุกอย่างอวัยวะใต้ร่ม[ผ้า]
บทที่ 4
ห่างกันแค่สองวาก็ต้องคุยด้วยอัก[ษร]  อยากย้อนยุคกลับให้นารายณ์มาปัก[ศร]
บทกลอนพุทธทาสเคยบอกมา[ตลอด] ทำนายไว้ไม่ผิดมันคือยักษ์ตา[บอด]
บทที่ 5
ฮันโหลโซเชียลสังคมบนหน้า[จอ] สร้างภาพบ้าบอมีแต่ติ่งที่บ้า[ยอ]
ทำงานผ่านเน็ตแค่ห้าชั่วโมงต่อ[วัน] กับข้อความลูกโซ่มันน่ารำคาญพอพอ[กัน]
บทที่ 6
เทคโนโลยีไม่สามารถแทนความ[รัก] เขย่าแค่กริกเดียวก็ได้ซั่มกันตาม[นัด]
อินเทอร์เน็ตเข้าเส้นต่อให้ขายรถหรือดาวน์[บ้าน] มือถือต้องติดตัวจะได้ส่องเรื่องชาว[บ้าน]
บทที่ 7
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 8
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 9
อดีตของดวงตาคือหน้าต่างของหัว[ใจ] ยุคนี้มันไม่ใช่แถมยังด่าว่าหนักหัว[ใคร]
เอามีดกรีดมือถ่ายรูปลงไอ[จี] ผอมเห็นถึงซี่โครงโพสต์บอกอ้วนจะทำยังไง[ดี]
บทที่ 10
ถ้าพี่ไลค์มาน้องไลค์กลับไม่โกงร้อยเปอร์[เซ็น] เพื่ออะไรไม่รู้ละสรยุทธมาถกสักประ[เด็น]
ทะเลาะอยู่กับเมียมาโชว์โง่หน้าเฟส[บุ๊ค] ออกมาแฉมาราธอนแทบจะลงกิเนส[บุ๊ค]
บทที่ 11
กินข้าวแค่นี้มาอวดอะไรกันนัก[หนา] โพสต์ทุกการเคลื่อนไหวอันนี้ต้องพาไปรัก[ษา]
หน้าใสฟรุ้งฟริ้งหน้าจริงตาย[สนิท] เซลฟี่ไม่สะใจต้องเสริมไม้เท้ากาย[สิทธิ์]
บทที่ 12
ติดแท็กขายเสื้อผ้าขายครีมตั้งแต่เปิด[ใช้] นี้มันเฟสบุ๊คไม่ใช่ตลาดเปิด[ท้าย]
พยายามเป็นเซเรปต้องโชว์นมโชว์ใต้สะ[ดือ] วิจารณ์กันให้ตายแต่ยิ่งดังตะพึดตะ[พือ]
บทที่ 13
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 14
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 15
ตะกอนความคิดเอาสมองออกมาเว้น[แยก] เป็นเกียรติวงศ์ตระกูลศึกชิงเม้น[แรก]
มันกลับเป็นเรื่องแปลกเสพข่าวไม่ต้อง[กรอง] ก้มหน้าก้มตาข้ามถนนก็ไม่ต้อง[มอง]
บทที่ 16
โลกแห่งจิตวิทยาเดินหน้าด้วยอา[รมณ์] เหตุผลคือเรื่องรองเรื่องหลักคือสัป[ดน]
นั่งยิ้มกับมือถือก้มหน้าบนบีที[เอส] อิสระในกรงทองเหมือนกับปล่อยให้ไทยมีฟรี[เซ็ก]
บทที่ 17
แมซซาร์ทมันทั้งวันคุยกับเพื่อนอยู่ประ[จำ] พ่อแม่นั่งอยู่บ้านไม่เห็นคุยสักกะ[คำ]
หันหลังให้กับโลกกลัวความจริงมาข่วน[ตัว] ลืมสังคมส่วนร่วมอยู่กับโลกส่วน[ตัว]
บทที่ 18
คนรวยคนจนร้อยบาทมีค่าไม่เท่า[กัน] คนคิดคนทำหนึ่งประยะไม่เท่า[กัน]
คนชั่วคนดีสิบนัดประสงค์ไม่เหมือน[กัน] คำพูดหนึ่งประโยคคนเป็นล้านก็ตีความหมายไม่เหมือน[กัน]
บทที่ 19
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 20
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 21
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] ไลค์แรกเมนท์แรกสังคมก้ม[หน้า]
เร่งสร้างแลนด์มาร์คสังคมก้ม[หน้า] เฮ้ย!!มีถั่วไหมสังคมก้ม[หน้า]
บทที่ 22
ดาราโชว์ร่องสังคมก้ม[หน้า] เยสนมธรรมะสังคมก้ม[หน้า]
เกาหลีขี้โกงสังคมก้ม[หน้า] ผมยืนขึ้นเลยไอ้สังคมก้ม[หน้า]
คลิ๊ปนาน 4.42 นาที

พูดกันดี ๆ เรื่องสังคมก้มหน้า

จุดตรวจสอบการเข้าระบบเฟสบุ๊ค (itinlife407)

fb ขอเบอร์ รีบให้ไปเลยนะครับ ถ้าไม่ให้ต่อไปอาจเสีย account
fb ขอเบอร์ รีบให้ไปเลยนะครับ ถ้าไม่ให้ต่อไปอาจเสีย account

ในโลกของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ที่ผู้คนเชื่อมต่อสื่อสารกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ย่อมมีผู้ไม่ประสงค์ดีปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2556 มีข่าวว่าระบบกระดานเสวนาของกลุ่มผู้ใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ Ubuntu ถูกคัดลอกรหัสผู้ใช้ออกไปกว่า 1.82 ล้านรายชื่อ ซึ่งกระดานข่าวนี้ใช้ซอฟท์แวร์ของ vBulletin การกระทำแบบนี้จำเป็นต้องมีความชำนาณ มีเวลา และเทคนิคพิเศษ การเข้าระบบที่มีการป้องกันสูงนั้นผู้ไม่ประสงค์ดีมักเขียนซอฟท์แวร์ขึ้นมาให้ทำงานเฉพาะอย่าง เพื่อเจาะผ่านการป้องกันให้ได้ ยิ่งระบบใดเป็นที่นิยมและถูกใช้แพร่หลายก็จะมีรายละเอียดให้ศึกษามากกว่าระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมด จึงเป็นที่สนใจของผู้ไม่ประสงค์ดี

ระบบการป้องกันของเฟสบุ๊คถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ เคยมีข่าวว่าบางคนรับจ้างเพิ่มจำนวนคนกดไลค์ในแฟนเพจ (Fan Page) ซึ่งเคยเป็นไปได้ แต่ในปัจจุบันเฟสบุ๊คได้เพิ่มนโยบายมากมายขึ้นมาป้องกันโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ (Malware) ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎ นโยบายสำคัญคือหนึ่งคนมีได้เพียง 1 บัญชี เมื่อสมัครหลายบัญชีก็จะมีกฎให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งระบบจะส่งรหัสความปลอดภัย (Security code) ให้ทางอีเมล เพราะ captcha อาจไม่ใช่เทคนิคในการยืนยันตัวตน เป็นเพียงการยืนยันความเป็นมนุษย์ หากจะยืนยันตัวตนก็ต้องใช้โทรศัพท์ของเข้าของโปรไฟล์ ด้วยการส่งรหัสความปลอดภัย 6 หลักไปให้ทางโทรศัพท์ แล้วกรอกลงไปในเว็บไซต์

นอกจากการป้องกันการสร้างบัญชีเพิ่มใหม่ด้วยการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งไปให้ทางโทรศัพท์ ก็ยังมีการตรวจจุดใช้บริการ (Check Point) ว่าอยู่ในพื้นที่ใดบนผิวโลก ใช้บราวเซอร์ (Browser) รุ่นที่เคยใช้อยู่หรือไม่ และเวลาเท่าใด การสมัครสมาชิกจำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้ที่จะสร้างในแต่ละครั้ง ถ้าสร้างมากกว่าที่กำหนดไว้ก็ต้องยืนยันหมายเลขโทรศัพท์ หรืออนุญาติให้ดำเนินการใหม่ในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นหากไปใช้เฟสบุ๊คในต่างพื้นที่ ทางเฟสบุ๊คอาจตีความว่าเครื่องที่เรากำลังใช้อยู่เป็นฝีมือแฮกเกอร์ แล้วให้ยืนยันการมีตัวตน และความเป็นเจ้าของผ่านข้อความที่เฟสบุ๊คส่งไปให้ทางโทรศัพท์ สำหรับผู้ใช้บริการ Net Cafe หรือ 3G Air card มาใหม่ โปรดตรวจสอบว่าอีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ถูกต้อง เพราะอาจทำให้ท่านไม่สามารถยืนยันตัวตนเพื่อเข้าไปใช้เฟสบุ๊คได้ตามปกติ

ต้องใช้ secure code หากเข้าจากเครื่องต่างถิ่น เพราะ fb กลัวเป็น malware
ต้องใช้ secure code หากเข้าจากเครื่องต่างถิ่น เพราะ fb กลัวเป็น malware

ถ้าต้องใส่ secure code แล้วไม่อยากใส่
มีคำแนะนำว่า ไปเปิดเครื่องที่ใช้ประจำ
จะพบ notication ก็เข้าไปยืนยันว่า Browser ที่ขอมานั้นปลอดภัยชัวร์
เมื่อกลับไปยังเครื่องที่มีปัญหา ก็ไม่ต้องใส่แบบชั่วคราว
ถ้าไม่อยากใส่แบบถาวรก็ไปแก้ setting, security, login approvals

secure code from unknown browser
secure code from unknown browser

http://facebookmobileverification.blogspot.com/

https://www.facebook.com/notes/facebook-security/malware-checkpoint-for-facebook/10150902333195766

fb เป็นพื้นที่ส่วนตัว อยากด่าใครก็จะด่า ไม่ชอบก็ unfriend ซะ

major cineplex
major cineplex

เหตุเริ่มจาก ผู้จัดการโรงภาพยนตร์กับลูกค้ามีปากเสียงเรื่องเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน แล้วมีโทษะทั้งคู่

แต่ rule ของ Philip Kotler มี 2 ข้อ
Rule 1 : The customer is always right.
Rule 2
: If the customer is wrong, go back to rule 1.

ทำให้ผู้จัดการพิจารณาตนเอง แล้วลาออก แต่เกิดอารมณ์ร่วมกับพนักงานของโรงภาพยนตร์ แล้วไปเขียนแสดงความคิดเห็นว่าลูกค้าไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อ CSR เชิงลบอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อโรงภาพยนตร์ตรวจสอบว่าเป็นพนักงานจำนวนสองท่าน จึงพิจารณาให้พ้นจากสภาพการเป็นพนักงาน


เคยมีเพื่อน ๆ โพสต์ในเฟส
ว่า  “ฉันอยากโพสต์อะไรก็จะโพสต์
บางคนก็ “สบถ อยู่เป็นประจำ
.. ใครรับไม่ได้ก็ให้ unfriend ไปซะ

แต่กรณีนี้ ผู้เป็นเจ้านายประกาศผ่านสื่อเลยว่า Layoff .. ไม่ใช้ unfriend อย่างที่คาดไว้

ความเคยชินกับการ post ที่ไม่แคร์ใคร
อาจเป็นผลเสีย อย่างกรณีนี้ก็ได้

.. แล้วเพื่อนท่านหนึ่ง post แสดงความเห็นว่า “มีผู้ด้อยโอกาสมากมาย ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ต่างกับคนที่มีโอกาสบางคน ขาดกระบวนการในการยั้งคิด ว่าควรใช้สื่ออย่างไร

manager
manager

ทั้งกรณี ของผู้จัดการ และพนักงาน เป็นสถานการณ์และเหตุผลที่ต่างกันไป หยิบไปพูดถึงได้หลายวิชา

ภาพจากเฟส อ.เกียรติ
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=577659912258407&set=a.111585805532489.13446.100000432096291

กระแสไลค์ในเฟซบุ๊ค (itinlife378)

facebook in cities
facebook in cities

http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

12 ม.ค.56 ปี 2555 ที่ผ่านมาเป็นอีกปีหนึ่งที่กระแสการใช้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมทวีความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลใน zocialrank.com ที่ให้ข้อมูลว่าเฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) เมื่อต้นปี 2555 มีคนกดถูกใจ (Like) ถึงล้านคนเพียง 2 เพจ แต่ผ่านไปได้ไม่ถึงปีพบปริมาณการกดไลค์เพจเพิ่มขึ้นเกินคาด  ข้อมูลต้นปี 2556 พบว่ามีเพจที่ถึง 2 ล้านจำนวน 3 เพจ และยอดเกินล้านมีถึง 35 เพจ เกือบทั้งหมดเป็นเพจด้านความบันเทิง แต่ไม่มีเพจใดมีเนื้อหาหลักด้านการศึกษา มีเพียงเพจของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ที่เน้นด้านการศึกษาทางธรรม มียอดคนกดไลค์เกินล้าน

ผู้สื่อข่าวทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย ใช้ข้อมูลที่อยู่ในเฟซบุ๊ค นำมาพูด บอกต่อ ตีความ ขยายความ แสดงความเห็นทั้งเชิงบวก เชิงลบ จนทำให้เกิดการรับรู้ พูดถึงเรื่องราวที่มาจากเฟซบุ๊ค ออกไปสู่สังคมภายนอกได้รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การกดไลค์ต่อเพจมิใช่เครื่องแสดงถึงประสิทธิภาพของการสื่อสารในเพจ แต่เป็นจำนวนคนเข้ามามีส่วนร่วม (Engage) ที่วัดด้วยค่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ที่มาจากจำนวนกดไลค์ในแต่ละข้อความ (Post like) จำนวนการแบ่งปัน (Share) จำนวนความคิดเห็น (Comment) และกิจกรรมอื่น ๆ

สถิติการกดไลค์และการถูกพูดถึงมักเกิดกับเฟซบุ๊คเพจด้านความบันเทิง ที่ผู้ดูแลนิยมโพสต์ภาพ หรือข้อความเกี่ยวกับความรัก ทั้งสมหวัง ผิดหวัง ประชด ตัดพ้อ หรือคำพูดที่น่าประทับใจที่อ้างอิงว่ากล่าวโดยพระสงฆ์ หรือปราชญ์ อาทิ ดร.เทียม โชควัฒนา หรือขงจื้อ ข้อมูลทางสถิติเมื่อต้นเดือนมกราคม 2556 จาก socialbakers.com เปรียบเทียบในระดับเมืองพบว่า มีผู้ใช้ในกรุงเทพฯ เป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 12,797,500 เฉือนจากาต้าของอินโดนีเซียไม่มากนัก ส่วนระดับประเทศข้อมูลของประเทศไทยคือ 18,335,420 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสถานภาพความสุขและมุมมองการใช้ชีวิตของชาวโลก พบว่าชาวไทยติดอันดับ 5 ของโลก ก็อาจเป็นเพราะเรามีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล โดยเมืองหลวงของไทยมีประชากรเข้าถึงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกย่อมจะมีความสุขในอันดับต้น ๆ เช่นกัน แต่ระบบการศึกษาของไทยไปอยู่ท้ายของรายการก็อาจเป็นเพราะเรามีความสุขแบบไม่ยึดทางสายกลาง

http://www.oknation.net/blog/roisaii/2012/12/23/entry-1

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2335/

วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

ผลจัดอันดับตามสื่อช่วงสิ้นปี (itinlife375)

facebook ranking
facebook ranking

30 ธ.ค.55 หนึ่งปีมี 365 วัน ซึ่งเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ถูกรวบรวมเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลหรือวิเคราะห์แล้วนำมาจัดอันดับ รายงานสรุปและเผยแพร่ ทุกองค์กรมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี หน่วยงานอิสระ เอกชน หรือภาครัฐหลายแห่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูล เสนอประเด็นตามบทบาท หรือความเชี่ยวชาญของตน หน่วยงานทางการศึกษามีการรายงานข้อมูลว่าสถาบันใดมีคุณภาพ โดยให้คะแนนตามเกณฑ์ หน่วยงานด้านความบันเทิงก็จะจัดอันดับเพลง ภาพยนตร์ หรือนักแสดง หน่วยงานด้านความปลอดภัยก็จะเก็บสถิติ 7 วันอันตรายและเผยแพร่แบบวันต่อวันให้ประชาชนได้ตระหนักรู้และใช้สารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน

ผลการจัดอันดับมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่ได้คะแนนสูง และได้คะแนนต่ำ เพราะผู้ที่มีคะแนนดีก็จะนำผลจัดอันดับไปประชาสัมพันธ์องค์กร ถือเป็นความสำเร็จที่จะต้องส่งต่อให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มยอดขายและยอดลูกค้า ส่วนผู้ที่ได้คะแนไม่ดีก็จะศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน ทบทวนจุดแข็งจุดอ่อนในอดีตว่าสอดรับกับเกณฑ์ที่ผู้จัดอันดับใช้พิจารณาหรือไม่ แล้วเพิ่มทรัพยากร วางแผนพัฒนา จัดให้มีกลไกรองรับสำหรับปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้มีการดำเนินการจนผ่านเกณฑ์ได้ชัดเจน และนำองค์กรสู่สนามการแข่งขันต่อไป แต่หากไม่สนใจแล้วรอโชคชะตาบันดาลให้ก็จะทำให้องค์กรหลุดจากวงจรการแข่งขันในกลุ่มนั้น ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ผลการจัดอันดับหลั่งไหลออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงสิ้นปี ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เกิดผลดีต่อผู้บริโภคที่ใช้ข้อมูลชัดเจน แต่ผลเสียต่อผู้ผลิตที่อยู่ท้ายตารางมักเป็นผลกระทบใหญ่หลวงนัก หลายองค์กรต้องยุบรวม ปิดกิจการ หรือเลิกจ้างบุคลากรนับหมื่นคน ในทางกลับกันผู้ที่ประสบความสำเร็จก็จะยิ่งทะยานไปข้างหน้า เพราะมีทรัพยากรที่พร้อม แต่ผู้ที่อยู่ส่วนท้ายของรายงานมักมียอดขายตกลง ส่งผลให้มีงบประมาณน้อยลง ประชาสัมพันธ์หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้น้อยลง ย้อนกลับไปกระทบยอดขายให้ลดลงอีกรอบ ส่งผลโดยตรงต่อความอยู่รอดขององค์กร เหตุการณ์ข้างต้นเป็นกระแสวัฒนธรรมการบริโภคที่อำนาจการตัดสินใจเป็นของผู้บริโภคที่จะเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ แล้วการแข่งขันแบบนี้ก็จะพบได้ตลอดเวลาในสังคมบริโภคนิยม ที่เสพสื่อมาประกอบการตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ

http://www.thairath.co.th/content/oversea/260523

http://www.2poto.com/201011291879/2010-11-29-09-36-47-1879.html

ถูกไล่ออกเพราะไม่คิดก่อนโพส

ถูกไล่ออกเพราะไม่คิดก่อนโพส
ถูกไล่ออกเพราะไม่คิดก่อนโพส
สมัยผมเป็นเด็ก ได้ยินคำพูดว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” เป็นคติพจน์ที่น่าสนใจ ผมจึงคัดลอกบันทึกเรื่องหนึ่งจาก โครงการรณรงค์คิดก่อนโพส (Think-before-you-post Campaign) มาเผยแพร่ต่อ ดังนี้
หญิง: OMG (Oh My God) ฉันเกลียดงานตัวเอง! เจ้านายฉันเป็นพวกน่ารำคาญ จุกจิก ชอบสั่งให้ทำโน่นทำนี่ ชอบกวนโมโห น่ารังเกียจ Wanker!
(ปล. คำว่า wanker เป็นคำด่าแสลง หยาบคายพอสมควร สามารถเอาไว้ใช้เรียกพวกจิตวิปริต ที่ชอบแก้ผ้าสำเร็จความใคร่ในที่สาธารณะได้ สามารถใช้หมายถึงคนที่น่ารังเกียจได้)
ชาย: สวัสดี ญ. เธอคงลืมไปแล้วมั้งว่าเธอ add ฉันไว้ใน Facebook
ประเด็นแรกสุด ฉันขอบอกเลยนะที่รัก ว่าอย่าหลงตัวเองให้มาก
ประเด็นที่สอง เธอทำงานมาได้ 5 เดือน เธอไม่รู้เหรอว่าฉันเป็นเกย์ ถึงแม้ว่าฉันจะไม่ได้ลอยไปลอยมาเป็น Queen แต่ก็ไม่ได้เป็นความลับอะไร เธอน่าจะดูออก
ประเด็นที่สาม ไอ้ที่เธอบอกว่าถูกสั่งให้ “ทำโน่นทำนี่” น่ะ คนทั่วไปเขาเรียกกันว่า “ทำงาน” เขาจ้างเธอมาทำงาน แต่ก็เอาเหอะ ฉันเข้าใจดี เพราะขนาดงานง่ายๆ เธอยังทำไม่ได้เลย ประสาอะไรกับงานอื่นๆ
ประเด็นสุดท้าย เธอคงลืมไปว่ายังเหลืออีก 2 สัปดาห์ถึงจะหมดระยะเวลาพ้นโปร 6 เดือน ก็เอาเป็นว่า พรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ เดี๋ยวฉันจะเขียนใบประเมินทิ้งไว้ในตู้เอกสารของเธอ แล้วก็มาเก็บของกลับบ้านไปด้วย
“ฉันไม่ได้พูดเล่น”
ปล. ขอขอบคุณ http://www.passiveaggressivenotes.com/ สำหรับรูปภาพและข้อมูล