ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน

เพื่อนท่านหนึ่งพูดให้ฟังว่า “ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน” เมื่อจับความได้ ก็นำมาพิจารณาก็พบว่า ปัจจุบันผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้งานเฟซบุ๊ค เมื่อใช้มาก ๆ เข้าก็หลงใหลถึงขั้นติดงอมแงม (คุณโน๊ต : fb เพื่อ บ่น ปฏิญาณตน อวด แอ็บแตก ทำคำคม) เหมือนที่ คุณโน๊ตอุดม พูดไว้ใน เดี่ยว 8 เรื่อง Hi5 ว่า “ถ้าบริษัทมึงเจ้งกูก็ไม่แปลกใจ” นั่นหละครับ

ความสามารถของ fb ที่เด่นและเห็นได้ชัดมี 3 บริการ
1. profile มีไว้คุยกับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อน
2. page มีไว้นำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบบล็อก หรือตอบข้อซักถาม
3. group มีไว้พูดคุยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน

สรุปประเด็น
1. profile มีประโยชน์ต่อการทำงานที่หวังเป้าหมายในระดับบุคคลถือว่าต่ำสุด แม้จะใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ก็ต้องเป็นเพื่อนเท่านั้น ถ้าเพื่อนในองค์กรไม่รับท่านเป็นเพื่อน ก็คงสื่อสารด้วยเฟซบุ๊คกันไม่ได้
2. page มักถูกใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กรในแบบบล็อกเป็นสำคัญ แต่เปรียบเทียบกับ website ไม่ได้ เพราะเว็บไซต์สามารถนำเสนอเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพคลิ๊ป ในรูปมัลติมีเดีย และอินเทอร์แอ็คทีฟได้สมบูรณ์ สามารถควบคุม header และ footer ที่ไม่มีโฆษณาของ facebook มากวนใจ มีระบบบล็อก และเว็บบอร์ดที่ควบคุมได้ และสามารถจัดการ seo ได้อย่างสมบูรณ์
3. group มีประโยชน์ในการทำงานสูงสุด แต่มีข้อแม้เพียงข้อเดียว คือไม่เข้ามาใช้ประโยชน์ กลับเลือกใช้บริการที่ไม่ก่อประโยชน์ในการทำงานเหมือนที่คุณโน๊ตว่าไว้

ผมเชื่อว่า มีองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ facebook for working ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ บุคลากรต้องไม่เป็นแบบที่โน๊ตว่าไว้ และการใช้งานต้องมีการควบคุม เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการใช้งานที่วัดได้


หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ
หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151022111276768&set=a.493024076767.276129.370539266767

อัปเปหิตนเอง ออกการเป็น admin ของ page

page admin & member
page admin & member

คำว่า อัปเปหิ หมายถึง ขับไล่ ผลักไสให้ออกไป
แล้วผมใช้คำว่า “ผมได้อัปเปหิตนเองออกจากการเป็น admin จาก page”
เพื่อแปรเปลี่ยนสถานะของตนเองเป็นเพียง member

ทำให้ต่อไป การ post ข้อความต่าง ๆ ก็จะทำได้ในฐานะ member

เดิมการเป็น admin ของ page
จะพบว่า ผลการ post ถูกแสดงออกมาในบทบาทของกลุ่ม admin

ดังนั้น เพื่อสร้าง identity ที่หลายหลายในการ comment
และเป็นภาพการเกิดกิจกรรมจากการมีส่วนร่วม

จึงตัดสินใจ อัปเปหิตนเอง ออกจากเพจดังกล่าว
เพราะต้องการให้เห็น activities จากบุคคลที่หลากหลายกว่า
มิใช่เกิดจากกลุ่ม admin เท่านั้น

บริการที่แตกต่างกันของ fb
1. group ใน fb มีเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม
และมีภารกิจบางอย่างต้องทำร่วมกันให้บรรลุ
2. page ใน fb มีเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของเพจที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แต่ละเพจก็จะมีผู้ดูแล ซึ่งมีบทบาทตามวัตถุประสงค์ข้างต้น
3. profile ใน fb มีเพื่อบันทึกเรื่องราวของตนเอง
อาจเป็นภาพ เอกสาร หรือคลิ๊ปเกี่ยวกับตนเอง

ข่าวยุบรวมมหาวิทยาลัยก็เพื่อคุณภาพ .. อีกแล้ว

ploy 11
ploy 11

8 ธ.ค.54 ยุบรวมมหา’ลัยผุด ‘ม.กาฬสินธุ์’ แห่งแรกระบุ สกอ.ไม่มีอำนาจ-จัดตามคำขอท้องถิ่น
“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการ เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัย ใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้น ใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา ได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอน ตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่น เป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156376

6 ธ.ค.54 มติครม. เห็นชอบยุบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ-เชื่ออีก 30 ปีคนเรียนน้อยลง
วันที่ 6 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามแนว ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยคาดการณ์ว่าจากนี้ไป 30 ปี จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลง ฉะนั้นหัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษาหรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้นจึงเตรียมเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจากศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หากจังหวัดหนึ่งมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นหนึ่งแห่ง เช่น
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เสนอโดยจ.ชุมพร โดยยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมม.ราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี กับม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้ง ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดย จ.ตาก เป็นการยุบรวม ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา วิทยาเขตตาก กับมรภ.กำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมรภ.ล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า 4.การจัดตั้ง ม.กาฬสินธุ์ เสนอโดย จ.กาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวม มรภ.กาฬสินธุ์ กับ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้ง ม.ระยอง เสนอโดยจ.ระยอง โดยยุบรวม ม.เทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดย จ.กระบี่ เป็นการหลอมรวม ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่งปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
“วัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อร่างนโยบายประกาศใช้ ศธ. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
ต่อมาเวลา 18.30 น. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แนวทางการยุบรวมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ใช่ผู้สั่งยุบรวม แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอเอง โดยทำเรื่องมาที่สกอ. จากนั้นสกอ. จึงตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหลักเกณฑ์การยุบรวมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์การตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ได้เปิดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีวิทยาเขตอ่อนแอในจังหวัดนั้นๆ ได้รวมกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าจะยุบรวมได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ ความพร้อมของหลักสูตรที่จะไปเปิดใหม่ หรือหลักสูตรต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานในภูมิภาคท้องถิ่น เป็นต้น
“อย่างกรณีการยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัยก็เป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสกอ. ต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร และก็ทำประชาพิจารณ์ต่อด้วย ส่วนประเด็นยุบรวมเพราะมหาวิทยาลัยไปเปิดศูนย์นอกที่ตั้งโดยไม่มีคุณภาพถือ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศูนย์นอกที่ตั้งหากไม่มีคุณภาพก็ต้องปิดตัวไป หรือหากตรวจสอบว่าไม่มีคุณภาพก็สั่งยุบได้”  รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K11426487/K11426487.html
http://nationunews.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

6 ธ.ค.54 ครม.ยุบรวม 6 มหา’ลัย 7 จว. อ้างอีก 30ปีคนวัยเรียนลด เข้าเรียนน้อยลง คาดเพิ่มคุณภาพ-สนองท้องถิ่น จี้ห้ามขอเปิดมหา’ลัยเพิ่มอีก
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ครม.สั่งยุบรวมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำร่อง 6 แห่ง ใน 7 จังหวัด ‘ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-ตาก-ระยอง-กระบี่-กาฬสินธุ์’ อ้างอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรลดลง คาดคนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐน้อยลง และเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
เวลา 13.30 น. วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประชุมครั้งที่ 3 /2554มีการประเมินลักษณะประชากรไทยในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ.2548 อีก 30 ปีข้างหน้า พ.ศ.2578  พบว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆจนอิ่มตัวแล้วลดลง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดต่ำลง คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐลดน้อยลง จึงมีการเตรียมการให้มีการหลวมรวม ยุบรวมสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ  และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า ความหมายของการยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาหมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ หรือจังหวัดหนึ่งๆ จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงยึดรวมเพียงหนึ่งแห่ง  ตัวอย่างการยึดรวม หรือหลอมรวมสถาบันการศึกษา เช่น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เป็นการยึดรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร รวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร  เมื่อยุบรวมกันแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  1 แห่ง หรือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้การยุบรวมหรือหลอมรวม  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ  ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บางจังหวัดไม่ได้มีสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง แต่กลับยุบรวมกันหรือหลอมรวมกัน  คือ ไม่เคยมีมาก่อน แต่กลับจัดตั้งใหม่  ทางรัฐบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เปิดเป็นวิทยาเขต ก็ต้องไปสอบถามว่าจะหลอมรวมด้วยหรือไม่  ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วย ส.ส.หรือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเห็นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม  ความหมายคือ การยุบสองที่ให้เหลือที่เดียวให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ได้หมายถึงการยุบตึกมารวมกัน อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผนวกกัน ส่วนชื่อของมหาวิทยาลัยก็อาจให้ทั้งสองสถาบันไปตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครยอมกัน ในกรณีนี้อาจจะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม ไม่ใช่การฉกฉวยจังหวะแอบมั่วไปเปิดสถานศึกษาใหม่
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.ระบุว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา  ให้ความเห็นด้วยต่อที่ประชุมครม.ว่าเห็นด้วยกับหลักการนี้  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยห้องแถวเปิดขึ้นใหม่จำนวนมาก บางสถาบันการศึกษาเปิดขึ้นบริเวณใต้ทางด่วนก็มี และอีก 30 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยก็จะไม่มีคุณภาพ ซึ่งอนาคตจะทำให้คนที่จบออกมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่มีคุณภาพด้วยเช่น กัน  พร้อมกันนี้ขอเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า “ครม.จะไม่พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยเด็ดขาด”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โต้แย้งว่า ไม่ควรจะใช้คำว่า  “โดยเด็ดขาด” เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ  ทั้งนี้นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การจะใช้คำว่า “โดยเด็ดขาด”ไม่ได้ เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80  บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม…”  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  21 ,มาตรา 34 วรรคสาม, มาตรา 35 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36  ซึ่งข้อสรุปในประเด็นนี้ คือ ถ้าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่รัฐบาลจะพิจารณาโดยละเอียดเป็นกรณี พิเศษ
สำหรับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ใน 7 จังหวัดที่จะมีการยุบรวมกันคือ
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร  เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด (ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยอีก 1 แห่ง  ซึ่งปัจจุบันแปรรูปเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ
6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่  (ปัจจุบันขอจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ใช่รูปแบบหลอมรวม ยุบรวม แต่เป็นการจัดตั้งทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา คือ จากการรายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า การขยายตัวด้านจำนวนของสถาบันการอุดมศึกษาทำให้เกิดปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการกระจายตัวของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่เป็นทางการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) สถาบันการพลศึกษา (สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) วิทยาการทหาร (สังกัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 303 แห่ง อยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการหลอมรวม ยุบรวมและยกเลิกสถาบันการอุดมศึกษา  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก  และ 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง จ.ระยอง  พร้อมทั้งศึกษาแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวโน้มจำนวนประชากร จำนวนนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อีกทั้งข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน
ซึ่งมีข้อสรุปว่า “โดยหลักการไม่ควรมีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีอยู่สามารถรองรับนักศึกษาได้ในปัจจุบัน ประกอบกันแนวโน้มในอนาคตนักศึกษาจะลดลง แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวม ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และรัฐควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วโดย เฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ และวิทยาเขตต่างๆเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งการบริหารทั่วไปและการบริหารวิชาการ”
ทั้งนี้จากการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีในช่วงปี พ.ศ.2548-2578ลดลงถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งหมด  เหลือ 9 ล้านคนเศษ คิดเป็นร้อยละ 14  ส่วนวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้านคน เป็น 43 ล้านคน จากนั้นจะเหลือ 38 ล้านคนในปี 2578 ซึ่งประชากรวัยเด็ก(วัยเรียน) จะลดลงอย่างต่อเนื่อง (อายุ 6-21 ปี) ลดลงจาก 16 ล้านคนในปี 2548 เหลือเพียง 11 ล้านในปี 2578
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลรายงานประจำปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงปี  2546-2552 ปริมาณนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2547 เป็นต้นมาซึ่งส่งผลต่อระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับอาชีวะศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2551
หากพิจารณาข้อมูลในอดีตจะพบว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาโดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัด เดียวกัน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มาจากการหลอมรวมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.นราธิวาสและวิทยาลัยการอาชีพตากใบ อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนครพนม มาจากการหลอมรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม กับวิทยาเขตนครพนมของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้แม้จะมีความก้าวหน้าแต่ก็ประสบปัญหาด้านการบริหารและงานด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ต่างสังกัดและต่างกระทรวงทำให้ไม่ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
http://www.tcijthai.com/investigative-story/1043

การ์ตูนโป๊ญี่ปุ่นโจมตีเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลี

anime girl band
anime girl band

การ์ตูนแนววาบหวิวจากประเทศญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ได้รับความสนใจจากทั้งชาวเกาหลีใต้ และแฟนคลับของศิลปินกิมจิเป็นจำนวนมาก ด้วยเนื้อหาและภาพที่ล่อแหลม ในการกล่าวโจมตีศิลปินสาวจากประเทศเกาหลีใต้ ชนิดหนักหน่วงรุนแรงเอามาก ๆ
การ์ตูนสุดอื้อฉาวเรื่องนี้ที่มีชื่อว่า “การสืบสวนเพื่อตีแผ่ ความไม่จริงของกระแสความนิยมจากเกาหลี” ถูกอัพโหลดขึ้นบนเวบบอร์ดของชาวญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทั่งต่อมาถูกส่งต่อกระจายไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นข่าวทั้งในประเทศญี่ปุ่นเอง รวมถึงในเกาหลี
เรื่องราวของการ์ตูนกล่าวถึงอดีตไอดอลสาวชาวเกาหลีใต้รายหนึ่ง ที่ขณะนี้ทำงานเป็นโฮสเตส และเธอได้นัดพบกับนักข่าวเพื่อเปิดเผยความจริงหลาย ๆ ข้อของวงการบันเทิงเกาหลีใต้

ในเรื่อง สาวคนนี้อ้างว่าเกิร์ลกรุ๊ปสัญชาติเกาหลีใต้ SNSD (Girls’ Generation) และ KARA ที่กำลังโด่งดังได้รับความนิยมในการขายความเซ็กซี่ ประสบความสำเร็จขึ้นได้ก็เพราะเงินลงทุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่จ่ายให้กับบริษัทเอเยนซี่ในญี่ปุ่น ความโด่งดังที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงการประโคมขึ้นมา มากกว่าจะเป็นไปอย่างธรรมชาติ โดยการ์ตูนสุดฉาวเรื่องนี้ ถึงกับอ้างว่าในเหตุการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นมารอรับสาว ๆ SNSD ที่สนามบินถึง 800 คนนั้นไม่ใช่เรื่องจริงอย่างที่ข่าวรายงาน เพราะจริง ๆ แล้วมีคนไปรอรับทั้ง 9 สาวจากแดนกิมจิเพียงประมาณ 100 คนเท่านั้น และส่วนใหญ่ ก็เป็นลูกจ้างของบริษัทที่รับงานมาเกาหลีใต้นั่นเอง

การ์ตูนยังมีการกล่าวถึงอดีตแสดงสาวผู้ล่วงลับ จางจายอน (Jang Ja Yeon) ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในปี 2009 หลังถูกต้นสังกัดกดดันให้ค้าบริการทางเพศด้วย “การให้บริการทางเพศ เป็นเรื่องปกติซึ่งเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในวงการบันเทิงกาหลีใต้ การ์ตูนเรื่องนี้มีพื้นฐานมาจากการสืบสวนแล้ว” ผู้เขียนอ้าง

ซึ่งนอกจากเนื้อหาแล้ว ผลงานชิ้นนี้ยังประกอบไปด้วยภาพวาบหวิวเรตเอ็กซ์ รวมถึงภาพของศิลปินสาว KARA กับท่าเต้น ‘ส่ายก้น’ ในแบบเปลือยด้วย

โดยต่อมีการตรวจสอบพบว่า การ์ตูนสุดฉาวมาจากนิตยสารเล่มหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ที่มีเนื้อหาเฉพาะสำหรับ ‘โอตาคุ’ กลุ่มหนึ่ง ที่มีรสนิยมชื่นชอบเรื่องทางเพศแบบเฟติชนั่นเอง
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นตัวแทนของ SM Entertainment และ DSP Media ซึ่งเป็นต้นสังกัดของเกิร์ลกรุ๊ปสาวที่ถูกพาดพิง ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เราขอจัดลำดับทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหาครั้งนี้ก่อน ซึ่งเราจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างแน่นอน”

+ http://news.mthai.com/world-news/99991.html
+ http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000004506
+ http://www.astv-tv.com/news1/viewnews.php?data_id=1009304
+ http://www.4manga.in.th/board/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=8301
+ http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2028841

เกิร์ลกรุ๊ปเกาหลี (itinlife 303)

rainbow โชว์พุง
rainbow โชว์พุง

กระแสคลั่งไคล้วัฒนธรรมเกาหลีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ละครแดจังกึม หนังแผ่นซีรี่เกาหลี หรือละครทีวีตามช่องฟรีทีวี ทำให้มีการแต่งตัวเรียนแบบชาวเกาหลี ทำศัลยกรรม ไปเที่ยวเกาหลี แต่งหน้าทำผม หรือแม้แต่การรับประทานอาหารเกาหลีก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ในอนาคตเราอาจแยกไม่ออกว่าอะไรคืนเกาหลี อะไรคือไทย อะไรคืออเมริกา เพราะเกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ปัจจุบันพบรายการอาหารชื่อข้าวไก่กรอบเขียวหวานในร้านขายไก่ทอดเคเอฟซี  พบข้าวไก่ย่างน้ำตกและข้าวอบไก่ย่างเบนโตะในร้านเชสเตอร์ กริลล์ ในอนาคตอาจพบข้างคลุกกะปิคู่ไก่ทอด หรือข้าวน้ำพริกหนุ่มคู่ไก่ย่างในร้านข้างต้น

ได้เข้าไปดูงานจำหน่ายสินค้าด้านเทคโนโลยีทั้งคอมพิวเตอร์ ทีวี ทีวีสามดี แท็บเล็ตพีซี สมาร์ทโฟน กล้องดิจิทอล แล้วก็พบการนำเสนอศักยภาพด้านเสียงและภาพของทีวีหรือคอมพิวเตอร์ด้วยการเปิดมิวสิกวีดีโอของนักร้องกลุ่มวัยรุ่นหญิงชาวเกาหลี หรือที่เรียกว่าเกิร์ลกรุ๊ป มีผู้สนใจมุงดูกันเต็มไปหมด ปัญหาด้านวัฒนธรรมที่มีนักร้องออกมาเต้นของเกิร์ลกรุ๊ปที่ประเทศเกาหลีก็เป็นปัญหาที่ชาวเกาหลียังแก้ไม่ตกเช่นกัน อาทิ เกิร์ลกรุ๊ป Rainbow สังกัด DSP Entertainment ที่ทั้ง 7 สาวออกมาเต้นโชว์พุง ได้ถูกตักเตือนและสั่งห้ามจากบริษัทผู้รับผิดชอบการออกอากาศ ด้วยเหตุผลว่า มันแสดงออกถึงเรื่องเพศมากเกินควร

ในใจของผู้เขียนรู้สึกดีใจที่ในประเทศไทยยังไม่มีเกิร์ลกรุ๊ปที่เน้นการเต้นที่แสดงออกถึงเรื่องเพศเป็นหลัก เพราะมีวัยรุ่นมากมายให้ความสนใจและชื่นชอบ สังเกตได้จากพฤติกรรมโฟสต์คลิ๊ปในเฟซบุ๊ก หรือจำนวนผู้เข้าชมคลิ๊ปในยูทูป สำหรับชาวไทยที่ชื่นชอบเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีก็คงมีไม่กี่ท่านที่ฟังภาษาเกาหลีออกทุกคำ แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่ชอบในท่าเต้นประกอบมิวสิกวีดีโอที่มุ่งสื่อในเรื่องเพศเป็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยของเรามีผู้ใหญ่เสียงดังในสังคมหลายท่านที่เราชื่นชม และอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทย เพราะมีอะไรที่ส่อไปในทางที่เสื่อมศีลธรรมก็จะออกมาปกป้อง หรือประนามพฤติกรรมเหล่านั้นในทันที เราจึงไม่พบเกิร์ลกรุ๊ปที่ใจกล้าแบบที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเกาหลี แต่ไม่ทราบว่าประเทศไทยจะทนการโหมกระหน่ำของวัฒนธรรมตะวันตก และตะวันออก จนวัฒนธรรมไทยถูกกลืนหายไปได้อีกนานเท่าใด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคนเป็นผู้ตัดสินใจ

http://atcloud.com/stories/87732

40 things you need to know about the next 40 years

40 things
40 things

หนังสือ “40 things you need to know about the next 40 years” ของ Nation Group จัดทำในโอกาสครบ 40 ปี Nation Group : ผมอ่านแล้วประทับใจในการมองไปข้างหน้าของทีมนักเขียน .. ประเด็นที่อ่านแล้วน่าสนใจ อาทิ  1) การศึกษา p.84 ที่มองไปที่ cloud apps, การก้าวสู่ยุคโลกไร้พรมแดนของคอร์สแวร์ และ เครือข่ายสังคม 2) ทุเรียน p.46 ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และคุณภาพสู่ตลาดโลก

นักเขียนในแต่ละหัวข้อมีดังนี้
1. Thai buddhism : Aree Chaisatien
2. Gender : Tulsathit Taptim
3. The funeral ceremony : Chularat Saengpassa
4. Thainess : Bill Klausner Senior Fellow ISIS-Thailand Chulalongkorn University
5. Cross-cultural marriage : Bill Klausner Senior Fellow ISIS-Thailand Chulalongkorn University
6. National ideology : Nithinand Yorsaengrat
7. Merit-making : Aree Chaisatien
8. Thai Music : Phatarawadee Phataranawik
9. Architecture : Phatarawadee Phataranawik
10. Bangkok : Phatarawadee Phataranawik
11. Aging : Wannapa Khaopa, Pongphon Sarnsamak
12. Thai language : Manote Tripathi
13. OTOP : Achara Pongoutitham
14. Nanotechnology : Lawrence Neal
15. Biotechnology : Lawrence Neal
16. Television : Tulsathit Taptim
17. Birds : Lawrence Neal
18. Wildlife : Yodsroi Sukdinunt
19. Red bull : Lawrence Neal
20. Durian : Pairin Kanisan
21. Khao yai : Kwandao Haruensat
22. Future cars : Yodsroi Sukdinunt
23. Rail ways : Kwandao Haruensat
24. Pattaya : Lawrence Neal
25. Beauty : Kwandao Haruensat
26. Coastal erosion : Tanjira Pongrai
27. Rice : Pairin Kanisan
28. The mekong : Pairin Kanisan
29. Solar thailand : Kwandao Haruensat
30. Thai theatres : Yodsroi Sukdinunt
31. Thai soaps : Pairin Kanisan
32. Olympics : Preechachan Wiriyanupappong
33. Trade : Sasithorn Ongdee
34. Thai football : Kitinan Sanguansak
35. Credit : Achara Deboonme
36. Thai food : Manote Tripathi
37. Education : Asina Pornwasin
38. Karaoke : Phatarawadee Phataranawik
39. Indochina : Supalak Ganjanakhundee
40. Burma : Supalak Ganjanakhundee

closed group ของ facebook

โดยปกติผมไม่คิดว่า closed group ของ fb มีเพื่อประชาสัมพันธ์ เพราะมีคนไม่กี่คนที่เข้าถึงเป็นการเฉพาะกลุ่ม .. แล้วเกิดเหตุว่าแผนก A ให้ข้อมูลข่าวสารแก่คนทั้งโลกผ่านเว็บไซต์ โดยมีผมเป็นเครื่องมือ .. อยู่มาวันหนึ่ง 1) ผมนำข่าวสารที่เผยแพร่แก่คนทั้งโลกตามที่ได้รับมอบหมาย ก็เห็นชอบดีอยู่ 2) แล้วก็นำไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มคนที่ควรรู้ ก็คือคนในองค์กร คือ closed group fb 3) หลังผ่านไปหลายวันก็มีความเห็นกลับมาว่า ไม่ควรเผยแพร่ใน fb แล้วแผนก A ก็แจ้งว่าไม่รู้ว่ามีแหล่งเผยแพร่กลุ่มนั้น 4) สรุปว่าไปลบออกจาก fb แล้ว แต่ไม่มีประเด็นเรื่องการเผยแพร่ในเว็บไซต์ ถึงอย่างไรก็ต้องลบในเว็บไซต์ด้วย .. ประเด็นสำคัญคือ fb ไม่ใช่แหล่งเผยแพร่แก่คนทั่วไป เป็นแค่กลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น แล้วก็มิใช่ทุกคนที่สนใจเข้ากลุ่ม แม้ควรเข้าอย่างยิ่งก็ตาม .. เล่าสู่กันฟังครับ