ที่สุดแห่งปี 2558 โดย Nation U Poll ทาง Nation TV

nation u poll
nation u poll

มีโอกาสพบข้อมูลจาก รายการเก็บตกจากเนชั่น (ภาคเที่ยง) ของ Nation TV
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558
ที่ อ.ดรรชกร ศรีไพศาล แชร์มาในกลุ่ม Nation_University
หรือ คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ แชร์ใน กลุ่ม Line
จึงได้พบผล Nation U Poll ที่สำรวจโดยสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่สอบถามในพื้นที่ของกรุงเทพฯ จำนวน 1083 คน
ระหว่าง 22 – 28 ธ.ค.58
เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ประทับใจที่สุด และเศร้างใจที่สุดของปี 2558
และความคาดหวังปี 2559 มีผลสำรวจดังนี้

ประทับใจที่สุด
ประทับใจที่สุด

เหตุการณ์ประทับใจที่สุด ในปี 2558
อันดับที่ 1 กิจกรรม Bike for Dad 22.8%
อันดับที่ 2 ฟุตบอลไทยลุ้นไปฟุตบอลโลก 14.6%
อันดับที่ 3 การจัดระเบียบจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล 11.9%
อันดับที่ 4 Miss Universe Thailand เข้ารอบ Top 10 Miss Universe 10.3%
อันดับที่ 5 การเตรียมความพร้อมเปิด AEC 9.1%

เศร้าใจที่สุด 2558
เศร้าใจที่สุด 2558

เหตุการณ์เศร้าใจที่สุด ในปี 2558
อันดับที่ 1 อาการป่วยของนักแสดง ปอ ทฤษฎี 22.0%
อันดับที่ 2 การโจมตีกรุงปารีส 17.4%
อันดับที่ 3 เหตุระเบิดย่านราชประสงค์ 12.3%
อันดับที่ 4 หลวงพ่อคูณมรณภาพ 9.4%
อันดับที่ 5 ขบวนการค้ามนุษย์โรฮิงญา 8.7%

ความคาดหวังในปี 2559
ความคาดหวังในปี 2559

ความคาดหวังในปี 2559
อันดับที่ 1 เศรษฐกิจดีขึ้นและมีเสถียรภาพ 19.9%
อันดับที่ 2 การเลือกตั้ง 14.3%
อันดับที่ 3 การกำจัดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 11.9%
อันดับที่ 4 บ้านเมืองสงบสุข คนในชาติมีความสามัคคีกัน 10.5%
อันดับที่ 5 รายได้และสวัสดิการเพิ่มขึ้น 10.2%

การใช้คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐในสหรัฐ (itinlife493)

browser ranking
browser ranking

ข้อมูลทางสถิติถือเป็นสารสนเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจได้ เมื่อมีนาคม 2558 ได้เข้าไปอ่านบทความของ Steven J. Vaughan-Nichols ใน Zdnet.com ที่เล่าถึงข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) และประเภทของอุปกรณ์สืบค้นเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศสหรัฐโดยเก็บข้อมูล 90 วันจาก 37 หน่วยงาน มีข้อมูลการเข้าเว็บไซต์กว่า 1.39 พันล้านครั้ง ซึ่งมากพอที่จะนำมาวิเคราะห์ว่าใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ประเภทใด

อุปกรณ์ที่มีใช้ในหน่วยงานสหรัฐแบ่งได้ 3 ประเภท พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) ถูกใช้มากที่สุดมีร้อยละ 67.5 รองลงมาคือสมาร์ทโฟน (Mobile) มีร้อยละ 24.9 และอันดับสุดท้ายคือแท็บเล็ต (Tablet) มีร้อยละ 7.6 ทำให้เห็นว่าหน่วยงานของสหรัฐใช้งานสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในการทำงาน ต่างกับภาครัฐของไทยที่ยังไม่มีนโยบายสนับสนุนการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ในที่ทำงานที่ชัดเจน ส่วนหน่วยงานเอกชนที่ยังไม่มีนโยบายก็น่าจะนำไปพิจารณาสนับสนุน และควบคุมตรวจสอบ เพราะการส่งเสริมก็ต้องมาพร้อมกับกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกติกาในการใช้อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการทำงาน ปัจจุบันสมาร์ทโฟนราคาถูกลง ค่าเชื่อมต่อเครือข่ายก็ลดลงมากจนเป็นเจ้าของได้ทุกคน ทำให้พนักงานบริษัทอาจปฏิเสธการสนับสนุน เพราะต้องการใช้อุปกรณ์กับเรื่องส่วนตัวในเวลางานเป็นหลัก ถ้าเจ้าของบริษัทเข้าใจก็จะต้องออกมาตรการกำกับดูแล เพื่อไม่ให้มีการใช้เทคโนโลยีในเวลางานที่ไม่ตรงกับนโยบาย แล้วส่งผลเสียต่อบริษัทได้

สถิติการใช้โปรแกรมบราวเซอร์ พบว่า Chrome มาเป็นอันดับหนึ่ง มีร้อยละ 34.7 อันดับสองคือ IE มีร้อยละ 28.3 อันดับสามคือ Safari มีร้อยละ 20.3 อันดับสี่คือ Firefox มีร้อยละ 11 ซึ่งสถิติโดยทั่วไปจะพบว่า Firefox มีอันดับสูงกว่า Safari แต่ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าอุปกรณ์ส่วนหนึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการ iOS ที่มีโปรแกรม Safari มาให้ใช้งาน ส่วน IE ก็พบว่ารุ่น 11 ถูกใช้งานมากที่สุดในกลุ่มเดียวกัน มีร้อยละ 14.8 การต่อสู้ของโปรแกรมบราวเซอร์ยังไม่ยุติ ในเวทีนี้ IE ชิงอันดับสองมาได้ แต่ในเวทีอื่น ก็ยังเป็นของ Firefox แล้วท่านล่ะเลือกใช้อุปกรณ์และโปรแกรมใดอยู่

http://internet-browser-review.toptenreviews.com/

http://www.w3schools.com/browsers/browsers_stats.asp

http://www.zdnet.com/article/the-most-u-s-popular-web-browsers/

โปรแกรมต่อต้านไวรัสคอมพิวเตอร์

worm diagram
worm diagram

http://www.microsoft.com/thailand/security/Safety.aspx?GroupID=2&No=2

โปรแกรมต่อต้านไวรัส ฆ่าไวรัส หรือป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ คือโปรแกรมสามัญประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ (Malicious Software) ที่ถูกนักคอมพิวเตอร์บางกลุ่มสร้างขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลง ทำลายข้อมูล หรือก่อกวนการทำงาน ซึ่งมีหลายประเภท อาทิ ไวรัส เวิร์ม ม้าโทรจัน สปายแวร์ แอดแวร์ หรือสแปม แต่มีนักคอมพิวเตอร์อีกกลุ่มพัฒนาโปรแกรมขึ้นมา เพื่อตรวจจับ ป้องกันการทำงานของโปรแกรมไม่พึงประสงค์ คอยทำหน้าที่เฝ้าระวัง ตรวจสอบว่ามีโปรแกรมเหล่านี้เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ และดำเนินการอย่างเหมาะสมกับโปรแกรมแต่ละประเภท ในโปรแกรมต่อต้านไวรัสบางตัว เมื่อพบโปรแกรมต้องสงสัยจะนำไปเก็บไว้ในส่วนกักกัน (Quarantine) ไว้ก่อน ให้เจ้าของเครื่องได้พิจารณาก่อนดำเนินการลบออกไปจากเครื่องเป็นลำดับต่อไป

โปรแกรมต่อต้านไวรัสที่น่าเชื่อถือมักพัฒนาโดยบริษัทเอกชน และจัดทำเป็นชุดซอฟท์แวร์ที่มีความสามารถที่สมบูรณ์สำหรับจำหน่าย แยกประเภทตามลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ทั้งประเภทบุคคล องค์กร หรือเครื่องบริการ แต่ถ้ายังไม่มีกำลังทรัพย์สามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้ (Trail) ซึ่งคล้ายกับรุ่นสมบูรณ์แต่จำกัดเวลา หรือรุ่นฟรีที่ถูกจำกัดความสามารถ มาทดสอบใช้งานจนมั่นใจในสินค้า แล้วกลับไปซื้อรุ่นสมบูรณ์ในภายหลังได้ การเลือกโปรแกรมต่อต้านไวรัสขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ สามารถหาข้อมูลจากผลการจัดอันดับโปรแกรมฆ่าไวรัสฟรี หรือสอบถามเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ก็อาจได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
การจัดอันดับโปรแกรมต่อต้านไวรัสมีเกณฑ์พิจารณาตามที่ผู้จัดอันดับกำหนดขึ้น อาทิ ความสามารถในการป้องกัน การค้นหา การซ่อมแซม การใช้งานง่าย ประสิทธิภาพ ครอบคลุมการตรวจจับโปรแกรมไม่พึงประสงค์อื่น อาทิ keylogger, bot, phishing, rootkits, email scan, quarantine, auto USB detect และมีจำนวนรายชื่อโปรแกรมไม่พึงประสงค์ที่ครอบคลุม สำหรับโปรแกรมที่ผู้เขียนแนะนำว่าใช้ได้ฟรี คือ Bitdefender, AVG, Avast และ Avira ที่มักติดอยู่ในผลการจัดอันดับอยู่เสมอ

อาชีพนักข่าวจัดว่าต่ำสุดที่สหรัฐอเมริกา

ดูเรื่องมายาตวัน ผมชอบครับ รู้สึก Drama
มีคนบอกว่า ชีวิตจริงดั่งละคร ก็ไม่รู้หมายความว่าอย่างไร
แต่ผมชอบ อุรัสยา  สเปอร์บันด์ หรือ ญาญ่า น่ารักดี

drama แปลว่า ละคร
drama แปลว่า ละคร


จาก 4 เกณฑ์ที่ใช้จัดอันดับอาชีพ
1. สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Environment)
2. รายได้ (Income)
3. โอกาสในการจ้างงาน  (Outlook)
4. ความเครียดของงาน (Stress)
http://www.thairath.co.th/content/edu/341959

อาชีพนักข่าวถูกจัดให้เป็นอาชีพที่ตกต่ำที่สุด เป็นอาชีพที่ต่ำต้อยที่สุด ในบรรดาการงานอาชีพที่ทำกันอยู่ในอเมริกา 200 ชนิด ตกต่ำยิ่งเสียกว่าพนักงานเก็บขยะ คนโค่นต้นไม้และตัดไม้ คนงานล้างจาน และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

บริษัทพัฒนาทรัพยากรบุคคล “คาเรีย แคสท์” ผู้จัดอันดับได้อ้างว่าจัดโดยถือหลักตัวแปร 4 ตัวด้วยกัน ตั้งแต่สภาพแวดล้อมในการทำงาน รายได้ โอกาสในการจ้างงาน และความเครียดของงาน โดยหลักเกณฑ์ 4 ประการนี้ บริษัทได้ยกย่องให้อาชีพผู้คิดอัตราค่าประกัน เป็นงานที่อยู่อันดับสูงส่งที่สุด

โดยพิจารณาจากข้อมูลสำรวจรายปี อาชีพนักข่าวได้เริ่มส่อเค้าตกต่ำ มาเป็นต่ำต้อยที่สุด ตั้งแต่ปีกลาย โดยถูกจัดรวมอยู่ในอาชีพที่ตกต่ำที่สุด 5 อาชีพด้วยกัน

ขณะที่ผลการจัดอันดับในปีนี้ ได้เลือกให้อาชีพนักข่าวเป็นอาชีพที่ตกต่ำที่สุดกว่าเพื่อน อยู่อันดับที่ 200 โดยมีอาชีพคนโค่นต้นไม้และตัดไม้ อยู่อันดับที่ 199 อาชีพทหารเกณฑ์ อันดับที่ 198 ดารา อันดับ 197 คนงานขุดเจาะน้ำมัน อันดับ 196 และคนงานในฟาร์มโคนม อันดับ 195 อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อันดับ 191 ช่างภาพหนังสือพิมพ์ อันดับ 188

บริษัทกล่าวว่า รัศมีอาชีพนักข่าวได้หม่นหมองลงตั้งแต่ 5 ปีมาแล้ว และยังวิตกว่ากว่าจะถึง พ.ศ.2563 จะยิ่งตกต่ำยิ่งกว่านี้ลงไปอีก

ทางด้านอันดับสูง ๆ นอกจากอาชีพผู้คิดอัตราค่าประกันแล้ว ยังตามด้วยอาชีพวิศวกรด้านวิศวกรรมชีวเวช วิศวกรซอฟต์แวร์ นักโสตสัมผัสวิทยา และนักวางแผนทางการเงิน.

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2556, 12:00 น.

http://www.careercast.com/jobs-rated/best-worst-jobs-2013 (all)
http://www.careercast.com/jobs-rated/best-jobs-2013
http://www.careercast.com/jobs-rated/worst-jobs-2013
http://www.careercast.com/jobs-rated/jobs-rated-2013-methodology
http://drama.kapook.com/view56016.html

หนังไทย พี่มากพระโขนง มีรายได้ 3 ร้อยกว่าล้าน

อันดับหนังทำเงิน เทียบรายการไทยกับฝรั่ง
อันดับหนังทำเงิน เทียบรายการไทยกับฝรั่ง
เห็นปกนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ บอกว่า พี่มากพระโขนง ทำรายได้แซงโกโบริไปมากมาย ก็มากกว่าถึง 10 เท่า ทำให้ผมสนใจว่า คนไทยดูภาพยนตร์เรื่องอะไรกันบ้าง
พบว่า การทำภาพยนตร์ของไทย ใน 30 อันดับ มีหนังประวัติศาสตร์ 7 เรื่อง มีหนังผีระทึก 4 เรื่อง มีหนังบู้ 3 เรื่อง มีหนังตลก และรัก 16 เรื่อง
แต่ไม่รู้จะเทียบหนังไทยกับหนังฝรั่งอย่างไร เพราะปัจจัยของการดูภาพยนตร์น่าจะอยู่ที่คนดู สำหรับประเทศไทย ผมรู้สึกไปเองว่าประเภทของภาพยนตร์ไทยขึ้นอยู่กับผู้สร้าง เพราะผู้ดูก็จะไปดูทุกเรื่องที่มีให้ดู แต่ผู้สร้างไม่ได้สร้างให้ดูก็คงจะไม่เห็นในรายการจัดอันดับหนังทำเงินของไทย เพราะเห็นความแตกต่างระหว่างรายการหลังไทย กับหนังฝรั่ง  แล้วหนังฝรั่งคนไทยก็ดูนะครับ อย่างรายการ top 50 นั่นผมดูแล้วทุกเรื่อง ส่วนหนังไทยยังดูไ่ม่ครบครับ
อันที่จริงมีคำถามในใจ ว่า “ทำไมคนไทยไปดูหนังเรื่องพี่มากพระโขนง มากถึง 3 ล้านคนเลยเหรอ” เพราะรายได้ 300 ร้อยกว่าล้าน ที่ได้จากผู้ชมคนละร้อย ก็น่าจะมีคนชมกว่า 3 ล้านคน
1. สุริโยไท
2. พี่มากพระโขนง
3. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1
4. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2
5. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี
6. ต้มยำกุ้ง
7. ATM เออรัก เออเร่อ
8. บางระจัน
9. นางนาก
10. รถไฟฟ้า..มาหานะเธอ
11. หลวงพี่เท่ง
12. แฟนฉัน
13. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง
14. กวน มึน โฮ
15. สุดเขตสเลดเป็ด
16. มือปืน/โลก/พระ/จัน
17. ลัดดาแลนด์
18. 5 แพร่ง
19. ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ
20. 32 ธันวา
21. องค์บาก 2
22. คุณนายโฮ
23. แหยมยโสธร
24. องค์บาก
25. สตรีเหล็ก
26. แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า
27. สาระแนห้าวเป้ง
28. ก้านกล้วย
29. วงศ์คำเหลา
30. โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง

ข่าวใน moe สมัคร มทร.ธัญบุรี 1.6 หมื่นคน รับแค่ 2.7 พัน

seven career in asean
seven career in asean
ข่าวนี้ทำให้นึกถึง 7 อาชีพอาเซียน
มติชน ฉบับวันที่ 13 มี.ค. 2556 (กรอบบ่าย)
นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2556 มทร.ธัญบุรี ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประเภทสอบตรง
พบว่า มีผู้สมัครและชำระเงินแล้วทั้งสิ้น 16,472 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 1,000 คน
ขณะที่ยอดรับตรงที่สามารถรับได้อยู่ที่ 2,730 คน
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สมัคร 1,954 คน รับ 455 คน
2. คณะบริหารธุรกิจ สมัคร 4,592 คน รับ 530 คน
3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สมัคร 1,260 คน รับ 106 คน
4. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสมัคร 962 คน รับ 210 คน
5. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สมัคร 2,007 คน รับ 275 คน
6. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัคร 661 คน รับ 172 คน
7. คณะศิลปกรรมศาสตร์ สมัคร 1,139 คน รับ 340 คน
8. คณะศิลปศาสตร์ สมัคร 1,888 คน รับ 30 คน
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สมัคร 779 คน รับ 78 คน
10. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สมัคร 946 คน รับ 215 คน
11. วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย สมัคร 239 คน รับ 45 คน
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า สำหรับสาขาที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุด
โดยมี สัดส่วนจำนวนรับต่อจำนวนผู้สมัครสูงสุด คือ
1. สาขาถ่ายภาพและภาพยนตร์ 1 ต่อ 47
2. สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย 1 ต่อ 28
3. สาขาเทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง 1 ต่อ 25
4. สาขาการจัดการทั่วไป 1 ต่อ 25
5. สาขาการศึกษาปฐมวัย 1 ต่อ 21
6. สาขาอาหารและโภชนาการ 1 ต่อ 17
โดยมีกำหนดการสอบ ในวันที่ 16 มีนาคม คือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ส่วนวันที่ 17 มีนาคม 2556 คณะ ที่สอบ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เฉพาะหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สอบที่ มทร.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
สอบสัมภาษณ์ใน วันที่ 27 มีนาคม 2556 ณ คณะที่สมัครสอบ
ประกาศผลสอบวันที่ 30 มีนาคม 2556
ภาพเปรียบเทียบการขาดแคลนของคนไทยในเวที AEC
thai need english and science skills
thai need english and science skills
webometrics january 2013
webometrics january 2013

เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ

เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ
เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ

28 มิ.ย.2555 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สมศ. ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554 พบว่า โรงเรียนที่สอนเด็กระดับประถม และมัธยม

1. มีผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 71
2. ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 29

http://www.thaiall.com/blog/admin/4884/

ถ้าตีความแบบชาวบ้าน
ก็ต้องบอกว่าเด็กไทย 1 ใน 3
เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ
เมื่อเชื่อว่าโรงเรียน คือ กลไกสำคัญในการพัฒนาเยาวชน
มีคำว่าเอกลักษณ์เป็นของโรงเรียน และอัตลักษณ์เป็นของเด็ก

ถ้าโรงเรียนมีคุณภาพ ก็ย่อมสอนให้เยาวชนมีคุณภาพ
ถ้าเชื่อกราฟ ก็ย่อมหมายความว่า
โรงเรียนในไทยผลิตเด็กที่ไม่มีคุณภาพ ออกมา 1 ใน 3 ของประเทศ

โดยส่วนตัว .. ผมไม่เชื่ออย่างนั้นนะครับ
.. บ่อยครั้งที่ตัวเลขไม่อาจสะท้อนความจริงได้ทั้งหมด

5 คำแนะนำในการพัฒนาการศึกษา

learning curve by country
learning curve by country

ปลายปี 2555 มีรายงานใน pearson ว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ
โดยประเทศฟินแลนด์อยู่อันดับ 1 ส่วนอันดับสุดท้ายคืออินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผลการจัดอันดับของบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน”
แล้วมีคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาระดับประเทศ 5 ข้อ
ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาก็ควรจะอ่านไว้สักหน่อย ถ้าไม่ใช่จะอ่านไว้ .. ก็ไม่เสียหาย
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

5 บทเรียน สำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษา
Five lessons for education policymakers

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
1. There are no magic bullets: The small number of correlations found in the study shows the poverty of simplistic solutions. Throwing money at education by itself rarely produces results, and individual changes to education systems, however sensible, rarely do much on their own. Education requires long-term, coherent and focused system-wide attention to achieve improvement.

2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
2. Respect teachers: Good teachers are essential to high-quality education. Finding and retaining them is not necessarily a question of high pay. Instead, teachers need to be treated as the valuable professionals they are, not as technicians in a huge, educational machine.

3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
3. Culture can be changed: The cultural assumptions and values surrounding an education system do more to support or undermine it than the system can do on its own. Using the positive elements of this culture and, where necessary, seeking to change the negative ones, are important to promoting successful outcomes.

4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
4. Parents are neither impediments (ผลักดัน) to nor saviours (ผู้ไถ่บาป) of education: Parents want their children to have a good education; pressure from them for change should not be seen as a sign of hostility but as an indication of something possibly amiss in provision. On the other hand, parental input and choice do not constitute a panacea. Education systems should strive to keep parents informed and work with them.

5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต
5. Educate for the future, not just the present: Many of today’s job titles, and the skills needed to fill them, simply did not exist 20 years ago. Education systems need to consider what skills today’s students will need in future and teach accordingly.

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/

วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

ผลจัดอันดับตามสื่อช่วงสิ้นปี (itinlife375)

facebook ranking
facebook ranking

30 ธ.ค.55 หนึ่งปีมี 365 วัน ซึ่งเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ถูกรวบรวมเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลหรือวิเคราะห์แล้วนำมาจัดอันดับ รายงานสรุปและเผยแพร่ ทุกองค์กรมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี หน่วยงานอิสระ เอกชน หรือภาครัฐหลายแห่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูล เสนอประเด็นตามบทบาท หรือความเชี่ยวชาญของตน หน่วยงานทางการศึกษามีการรายงานข้อมูลว่าสถาบันใดมีคุณภาพ โดยให้คะแนนตามเกณฑ์ หน่วยงานด้านความบันเทิงก็จะจัดอันดับเพลง ภาพยนตร์ หรือนักแสดง หน่วยงานด้านความปลอดภัยก็จะเก็บสถิติ 7 วันอันตรายและเผยแพร่แบบวันต่อวันให้ประชาชนได้ตระหนักรู้และใช้สารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน

ผลการจัดอันดับมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่ได้คะแนนสูง และได้คะแนนต่ำ เพราะผู้ที่มีคะแนนดีก็จะนำผลจัดอันดับไปประชาสัมพันธ์องค์กร ถือเป็นความสำเร็จที่จะต้องส่งต่อให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มยอดขายและยอดลูกค้า ส่วนผู้ที่ได้คะแนไม่ดีก็จะศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน ทบทวนจุดแข็งจุดอ่อนในอดีตว่าสอดรับกับเกณฑ์ที่ผู้จัดอันดับใช้พิจารณาหรือไม่ แล้วเพิ่มทรัพยากร วางแผนพัฒนา จัดให้มีกลไกรองรับสำหรับปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้มีการดำเนินการจนผ่านเกณฑ์ได้ชัดเจน และนำองค์กรสู่สนามการแข่งขันต่อไป แต่หากไม่สนใจแล้วรอโชคชะตาบันดาลให้ก็จะทำให้องค์กรหลุดจากวงจรการแข่งขันในกลุ่มนั้น ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ผลการจัดอันดับหลั่งไหลออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงสิ้นปี ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เกิดผลดีต่อผู้บริโภคที่ใช้ข้อมูลชัดเจน แต่ผลเสียต่อผู้ผลิตที่อยู่ท้ายตารางมักเป็นผลกระทบใหญ่หลวงนัก หลายองค์กรต้องยุบรวม ปิดกิจการ หรือเลิกจ้างบุคลากรนับหมื่นคน ในทางกลับกันผู้ที่ประสบความสำเร็จก็จะยิ่งทะยานไปข้างหน้า เพราะมีทรัพยากรที่พร้อม แต่ผู้ที่อยู่ส่วนท้ายของรายงานมักมียอดขายตกลง ส่งผลให้มีงบประมาณน้อยลง ประชาสัมพันธ์หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้น้อยลง ย้อนกลับไปกระทบยอดขายให้ลดลงอีกรอบ ส่งผลโดยตรงต่อความอยู่รอดขององค์กร เหตุการณ์ข้างต้นเป็นกระแสวัฒนธรรมการบริโภคที่อำนาจการตัดสินใจเป็นของผู้บริโภคที่จะเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ แล้วการแข่งขันแบบนี้ก็จะพบได้ตลอดเวลาในสังคมบริโภคนิยม ที่เสพสื่อมาประกอบการตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ

http://www.thairath.co.th/content/oversea/260523

http://www.2poto.com/201011291879/2010-11-29-09-36-47-1879.html