ประโยชน์ของวิชาฟิสิกส์คืออะไร

คำตอบ คือ วิชาฟิสิกส์มีประโยชน์มากมายในชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ ดังนี้
# ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้ 1) การทำความเข้าใจกระบวนการธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเกิดพายุ 2) การใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3) การดูแลสุขภาพ เช่น การใช้เครื่องมือแพทย์ การรักษาด้วยการฉายแสง 4) การอนุรักษ์พลังงาน เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
# ประโยชน์ในอุตสาหกรรม มีดังนี้ 1) การผลิตพลังงาน เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานจากแหล่งทดแทน 2) การพัฒนาวัสดุ เช่น การผลิตวัสดุใหม่ การพัฒนาวัสดุสำหรับอุตสาหกรรม 3) การผลิตยานพาหนะ เช่น การออกแบบและพัฒนายานพาหนะ 4) การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 5) การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การลดมลพิษ การจัดการขยะ
# ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้ 1) การทำความเข้าใจจักรวาล เช่น การศึกษาดาวเคราะห์ การศึกษากาแล็กซี่ 2) การพัฒนาการแพทย์ เช่น การวิจัยและพัฒนาการรักษาโรค 3) การพัฒนาการขนส่ง เช่น การออกแบบและพัฒนายานพาหนะ 4) การพัฒนาการสื่อสาร เช่น การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สื่อสาร 5) การพัฒนาการคำนวณ เช่น การออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ วิชาฟิสิกส์ยังช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในชีวิตและอาชีพ
/kindee/
[.meta.]
#สร้างภาพนักเรียนกำลังทดลอง ในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์

วุ่นรักทายาทพันล้าน the heirs

เล่าเรื่องทีวีซีรี่เกาหลี – วุ่นรักทายาทพันล้าน

วุ่นรักทายาทพันล้าน the heirs


ดูซีรี่เกาหลี แล้วพบว่า ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ พูดถึง การบูลลี่ที่เกิดขึ้นกับห้องเรียนในปัจจุบัน คอยเตือนสติ ชีแนะสังคม ให้คำแนะนำถึงวิธีการป้องกันด้วยการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจ ไม่ว่าร้าย แต่ชื่นชม ยอมรับ และให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้การบูลลี่เป็นเรื่องน่าละอายเกินกว่าจะพูดถึง เป็นสิ่งที่ต้องต่อต้านรังเกียรติอย่างที่สุด

https://www.imdb.com/title/tt3243098/

ทำให้นึกย้อนไปถึงทีวีซีรี่ปี 2003 เรื่อง The Heirs วุ่นรักทายาทพันล้าน ที่เล่าถึงชีวิตรักของหนุ่มรวย กับสาวจน ท่ามกลางการแข่งขัน การดูุถูกดูแคลนกันทางการศึกษา และปัญหาครอบครัว ภาพฉายเรื่องราวในโรงเรียนที่เกิดการบูลลี่อย่างชัดเจน ระบบการปกครองของนักเรียนในโรงเรียน ที่มีการแบ่งแยกชนชั้นของคนรวยกับคนจน คนรวยคิดจะส่งลูกไปเรียนสหรัฐ คนจนฝันที่จะถีบตัวเองไปให้ถึงสหรัฐ เหมือนพี่สาวของนางเอกตามบทละครในตอนต้นเรื่อง สรุปว่าการไปเรียนสหรัฐหรือโรงเรียนเอกชนที่มีค่าเรียนสุดแพง ที่ถือเป็นการยกระดับทางสังคมให้ดูดีมีฐานะ เพื่อจะได้เป็นฐานในการทำธุรกิจ หรือโอกาสได้เล่นการเมืองของผู้คนตามต้องเรื่อง”

http://www.thaiall.com/handbill/

#เล่าสู่กันฟัง 63-004 กฎเรื่องไว้ผม กับสีกางเกง

อ่านข่าวว่าที่ญี่ปุ่นมีโรงเรียน ม.ต้น
ที่ญี่ปุ่น ออกกฎ ห้ามไว้ทรงผมโพนี่เทล หรือมัดผมหางม้า และระบุสีกางเกงชัดเจนให้ใส่ ศิษย์เก่าบางคนบอกว่าละเมิดสิทธิ์

องค์กรวิจัย TG Hamamatsu ของกลุ่มบุคคลข้ามเพศ (บุคคลผู้มีเพศสภาวะไม่ตรงกับเพศสภาพของตันเอง) ที่เมือง Hamamatsu ได้พบว่าโรงเรียนมัธยมต้น 10 แห่งจากทั้งหมด 48 แห่งมีการออกกฎโรงเรียนที่ว่าด้วยการต้องใส่กางเกงในสีขาวและกฎอื่น ๆ อย่างการห้ามไว้ทรงผมโพนี่เทล ซึ่งสมาชิกขององค์กรมีความเห็นว่ากฎระเบียบเหล่านี้เป็น “การละเมิดสิทธิมนุษยชน”

ในโลกของเรามีกติกาในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน

เช่น
– งดแจกถุงพลาสติก
– แจกเบี้ยผู้สูงอายุ
– มีแบบฟอร์มนักเรียนที่กำหนดสีกางเกงใน
– กำหนดทรงผม
– อนุญาตกัญชา

แล้วผู้คนก็เห็นว่าแปลกหยิบยกมาพูดถึง
จนรู้สึกว่าไม่ปกติ แตกต่างจากความคุ้นชินเดิม เพราะความคุ้นชินเดิมไม่เป็นตามกฎที่ตั้งขึ้นมา

https://www.online-station.net/anime/view/153710

การยืนยันตัวตนก็เพื่อความปลอดภัย (itinlife549)

pay day
pay day

จากข่าวปี 2553 ที่เด็กป้ำน้ำมันในลำปางมีผู้ต้องหารวม 7 คนยักยอกเงินเป็นกระบวนการด้วยการดัดแปลงมิเตอร์ เพราะระบบบัญชีการเงินที่หละหลวม ปัจจุบันเวลาไปเติมน้ำมันจะพบว่ามีพนักงานเก็บเงินคอยออกใบเสร็จ หรือใบสำคัญรับเงิน หรือมีระบบสมาชิกบันทึกข้อมูลโดยละเอียด เมื่อลูกค้าจ่ายเงินก็ต้องรอเงินทอนจากพนักงานเก็บเงินที่มีอยู่คนเดียวและต้องกดปุ่มที่เครื่องเก็บเงิน ในอดีตพนักงานเติมน้ำมันทุกคนจะสามารถทอนเงินได้ ทำให้มีความรวดเร็วในการใช้บริการ เมื่อถึงเวลาก็จะนำเงินไปส่งให้เจ้าหน้าที่การเงินนำไปเข้าแบงค์ หรือส่งให้เจ้าของป้ำ ซึ่งมีโอกาสที่จะรั่วไหลได้หลายช่องทาง

ในระบบสารสนเทศของธนาคาร พนักงานจะมีบัตรประจำตัวเพื่อยืนยันตัวตน และต้องพกบัตรไว้กับตัวตลอดเวลา เมื่อลูกค้าเข้าทำรายการฝากถอนหรือเปิดบัญชี  พนักงานที่รับเรื่องก็ต้องใช้บัตรประจำตัวยืนยันตัวตนก่อนเข้าประจำเครื่องและทำรายการ แต่เมื่อใดมีข้อผิดพลาด หรือมีรายการที่ต้องใช้ระดับสิทธิที่สูงขึ้น ก็ต้องขอให้ผู้จัดการมาอนุญาตหรือยืนยันรายการ ซึ่งข้อมูลในการทำรายการทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ และนำมาตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้ให้บริการลูกค้าคนใด รับจ่ายเท่าใด หากเงินในลิ้นชักหมด ก็ต้องไปขอเบิกจากผู้จัดการเพื่อมาจ่ายให้ลูกค้า รายละเอียดของแต่ละธนาคารที่จะอนุมัติแต่ละขั้นตอนก็ขึ้นกับนโยบายในการควบคุมว่าเป็นอย่างไร บัญชีลูกค้ารายใดไม่เคลื่อนไหว ก็จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลหนึ่ง หากต้องการฝากถอนกับบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวก็ต้องติดต่อขอทำรายการ แล้วผู้จัดการก็จะพิจารณาเปิดสิทธิเป็นกรณีไป ซึ่งต่างกับบัญชีที่เคลื่อนไหวบ่อยก็จะทำรายการได้ตามปกติ

ในร้านจำหน่ายเครื่องสำอางบางแห่งจะทำรายการขายสินค้า พนักงานต้องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scan) ยืนยันตัวตน (Authentication) เพื่อป้องกันการแอบมาเปิดลิ้นชักจากพนักงานคนอื่น ในโรงเรียนกวดวิชาที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงเทพฯ และมีสาขาในต่างจังหวัด บางโรงเรียนจะไม่มีพนักงานเก็บเงิน นักเรียนที่จะสมัครเรียนต้องทำรายการผ่านอินเทอร์เน็ต และพิมพ์เอกสารที่มีรหัสอ้างอิง (Reference code) แล้วไปชำระเงินที่ธนาคาร แล้วนำหลักฐานการชำระเงินมายืนขอรับหนังสือที่โรงเรียนกวดวิชา ระบบบัญชีการเงิน และระบบฐานข้อมูลจะถูกควบคุมจากส่วนกลางทั้งหมด โรงเรียนกวดวิชาในต่างจังหวัดเพียงแต่มีห้องเรียน มีพนักงานคอยจ่ายหนังสือ ตอบคำถาม ดูแลความเรียบร้อย เปิดห้องเรียนให้เด็กเท่านั้น เป็นการป้องกันปัญหาทางการเงินที่มีประสิทธิภาพสูง

http://mcot-web.mcot.net/mcot-testing/site/content?id=4ff6726e0b01dabf3c019b7e

https://www.youtube.com/watch?v=5C35PtmjwQ4

รถคันไหนควรได้ไปก่อน ถ้าถึงพร้อมกัน

car 4
car 4

ก่อนดูรูป ผมขอเพิ่มเงื่อนไขว่า
ถ้าเปลี่ยน รถโรงเรียน เป็น รถดับเพลิง

ผมก็ยังไม่กล้าฟันธง
และนึกไม่ออกเลยว่า คนเฉลยจะเลือกข้อใด
แล้วผู้มีอาชีพทั้ง 4 จะยอมรับคำเฉลยนั้นได้รึเปล่า
เพราะงานนี้อาจมีน้อยใจ

ท่านลองตั้งคำถามกับคนรอบข้างสิครับ
ถ้านำคน 4 อาชีพมาคุยกัน
อาจคุยไม่จบนะ .. งานนี้ ถ้าพกอีโก้มาด้วย

http://www.thaiall.com/flowchart

เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ

เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ
เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ

28 มิ.ย.2555 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สมศ. ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554 พบว่า โรงเรียนที่สอนเด็กระดับประถม และมัธยม

1. มีผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 71
2. ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 29

http://www.thaiall.com/blog/admin/4884/

ถ้าตีความแบบชาวบ้าน
ก็ต้องบอกว่าเด็กไทย 1 ใน 3
เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ
เมื่อเชื่อว่าโรงเรียน คือ กลไกสำคัญในการพัฒนาเยาวชน
มีคำว่าเอกลักษณ์เป็นของโรงเรียน และอัตลักษณ์เป็นของเด็ก

ถ้าโรงเรียนมีคุณภาพ ก็ย่อมสอนให้เยาวชนมีคุณภาพ
ถ้าเชื่อกราฟ ก็ย่อมหมายความว่า
โรงเรียนในไทยผลิตเด็กที่ไม่มีคุณภาพ ออกมา 1 ใน 3 ของประเทศ

โดยส่วนตัว .. ผมไม่เชื่ออย่างนั้นนะครับ
.. บ่อยครั้งที่ตัวเลขไม่อาจสะท้อนความจริงได้ทั้งหมด

อาจารย์มหาวิทยาลัย .. ลูกเมียน้อยในกระทรวงศึกษาธิการ

อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม
อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม

มติชนรายวัน 4 ธ.ค.55
โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354609254&grpid&catid=02&subcatid=0207

เกือบทุกครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด รัฐมนตรีที่เป็นเป้าหมายจะต้องถูกปรับ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาแล้ว 52 คน ในขณะที่มีนายกรัฐมนตรี 28 คน

ผู้บริหารประเทศ มักจะพูดเสมอว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ แต่ในความเป็นจริงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระทรวงนี้เท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ กระทรวงมหาดไทย คมนาคม เกษตรและสหกรณ์ และพาณิชย์ มากกว่า

ในอดีตกระทรวงศึกษาธิการถูกมองว่าเป็นกระทรวงเกรดซี แต่ปัจจุบันปรับขึ้นมาเป็นกระทรวงเกรดบี เหตุที่ปรับก็เพราะกระทรวงนี้มีบุคลากรและงบประมาณมาก เป็นฐานเสียงสำคัญของนักการเมือง

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านมาก็เช่นกัน กระทรวงที่หนีไม่พ้นที่จะต้องถูกปรับก็คือกระทรวงศึกษาธิการอีกเช่นเคย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันชื่อพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการชื่อเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ซึ่งเคยเป็นเบอร์หนึ่งของกระทรวงมหาดไทย

รัฐมนตรีทั้งสองท่านไม่เคยเป็นครูหรือทำงานด้านการศึกษามาก่อน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญก็คือท่านทั้งสองตั้งใจจะมาอยู่กระทรวงนี้จริงแค่ไหน ท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาการศึกษาของชาติจริงจังมากน้อยเพียงใด หรือมาเพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอข้ามไปอยู่กระทรวงอื่น

สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอฝากรัฐมนตรีว่าการ (คุณพงศ์เทพ) ก็คือขอให้ช่วยดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง อย่าให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจนลาออกไปขายเต้าฮวยกันหมด

ท่านรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้เงินเดือนน้อยกว่าครูประถม พูดไปก็แทบไม่มีใครเชื่อ แต่ความจริงเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ครูประถมได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย 8% ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มาถึงวันนี้ก็กว่า 2 ปีแล้ว

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยยังสบายดีอยู่หรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีได้อย่างไร ท่านไม่คิดจะดำเนินการแก้ไขอะไรเพื่อพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างเลยหรือ

อีกเรื่องหนึ่งที่ครูประถม/มัธยมสังกัด สพฐ.ก้าวล้ำอาจารย์มหาวิทยาลัยไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎ กคศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือขั้นต่ำกว่า หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่) พ.ศ…………ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างกฎ กคศ. ฉบับดังกล่าวเสร็จแล้ว รอ ศธ.แจ้งยืนยัน และจะได้นำเรื่องนี้แจ้งให้ ครม.รับทราบเพื่อรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของร่างกฎ กคศ.ดังกล่าวก็คือ ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.2 ในขั้นสูงสุด สามารถเลื่อนอันดับเงินเดือนไปที่ คศ.3 ได้เลย จากเดิมการจะเลื่อนอันดับเงินเดือนแต่ละ คศ.ได้จะต้องผ่านการเลื่อนและประเมินวิทยฐานะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

เช่นเดียวกันผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.3 จะเลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 และผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.4 ก็จะได้เลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.5 ซึ่งเป็นการเลื่อนโดยอัตโนมัติไม่ต้องทำผลงานใด ๆ ทั้งนี้ ให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 เมษายน 2554

สิ่งนี้ต้องขอชื่นชม กคศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ด้วยความจริงใจ เพราะเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับครูสังกัด สพฐ. ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งหันมาเป็นครูมากขึ้น

ข้าราชการพลเรือนก็มี ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) คอยดูแลและพิทักษ์สิทธิของข้าราชการ เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ก.พ.ได้ปรับเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบไปประมาณ 8% แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้รับอานิสงส์นี้แต่อย่างไร เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน

อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมี กกอ.(คณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย

แต่ที่ผ่านมา กกอ. แทบจะไม่เคยทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนที่ยังน้อยกว่าครูประถมถึง 8% หรือเรื่องเงินเดือนของครูสังกัด สพฐ.ที่สามารถไหลข้ามแท่งได้

นั่นคือหากอาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนตัน (ขั้นสูงสุด) อยู่ในแท่งเงินเดือนใดก็ยังไม่สามารถไหลข้ามแท่งได้ เช่น เงินเดือนตันในแท่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะไม่สามารถเลื่อนไหลไปรับเงินเดือนในแท่งรองศาสตราจารย์ได้

ท่านคิดว่าอย่างนี้มันยุติธรรมสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือ กกอ. เคยคิดจะทำอะไรเพื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างไหม ถ้ายังคิดไม่ออกไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร อยากแนะนำให้ไปลอกของ กคศ. และไม่ควรออกมาแก้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่ เพราะเรื่องเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยกว่าครูประถม 8% ก็ยังไม่เห็นได้ดำเนินการอะไรเลย

จริง ๆ แล้วสถาบันอุดมศึกษาควรจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องคอยวิ่งไล่ตามก้นครูประถมอยู่ร่ำไป

เรื่องน่าเศร้าที่ไม่อยากพูดอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องโบนัสสำหรับข้าราชการ จริงๆ แล้วไม่อยากให้เรียกว่าเงินโบนัส แต่อยากให้เรียกว่าเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้มากกว่า

ท่านทราบไหมว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยระดับรองศาสตราจารย์ (ซี 9 เดิม) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี ได้รับเงินโบนัสปีละประมาณ 3,000- บาท (สามพันบาทถ้วน) เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งได้รับโบนัสไม่ถึง 2 วัน ในขณะที่ครูประถมสังกัดเทศบาล หรือ อบต.บางแห่งได้รับโบนัสกันปีละ 2 เดือน ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทหลายแห่งรับโบนัสกันปีละ 2 เดือน 3 เดือนบ้าง บางแห่งสูงถึง 9 เดือนก็มี แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับโบนัสเพียง 2 วัน แล้วอย่างนี้ยังจะให้เรียกว่าโบนัสอีกหรือ

หรือจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยย้ายไปสังกัด กคศ. เพื่อว่าต่อไปอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับครูประถมกันเสียที

มีเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ อาทิ

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ
ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ

3 พ.ย.55 คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบผลการแข่งขันในสื่ออินเทอร์เน็ต เมื่อมีผู้ที่ชนะก็ย่อมมีผู้ไม่ชนะ องค์ประกอบของการแข่งขันมีมากมาย อาทิ กรรมการตัดสิน กองเชียร์ ผู้ร่วมเกม เกณฑ์ประเมิน ช่วงเวลา รายงานผล และผลกระทบที่ตามมา ซึ่งการแข่งขันที่ใกล้ตัวก็เห็นจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ ซึ่งผลจากการเลือกตั้งจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนผ่านการบริหารของผู้ที่เราเลือกเข้าไป ส่วนผลการจัดอันดับที่ไกลตัวคือ การแข่งขันฟุตบอลในต่างประเทศ ที่ถึงแม้จะไกลตัว แต่เวลาฟังเพื่อนคุยเรื่องนี้ทีไรมักรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดระแวกบ้านทุกที

การจัดอันดับในประเทศไทย ย่อมมีทั้งผู้ชนะและผู้ไม่ชนะ ซึ่งเกณฑ์ก็มักจะสร้างขึ้นกันเอง และผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็มักได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ปัจจุบันสถาบันการศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างก็ตกอยู่ในภาวะที่ต้องแข่งขัน สถาบันที่ไม่ได้มาตรฐานหรือล้มเหลวในการดำเนินงานก็ต้องปิดตัว เด็กนักเรียนก็ต้องแข่งขันกันพัฒนาตนเองด้วยการเรียนพิเศษเพิ่มเติม ทั้งหลังเลิกเรียนและในวันสุดสัปดาห์ โรงเรียนกวดวิชาก็จะประชาสัมพันธ์ด้วยการนำเสนออันดับผลสอบของศิษย์ และจำนวนนักเรียนที่สอบติดในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ

มีผลการจัดอันดับประเทศไทย ที่รู้แล้วก็ต้องบอกว่าอึ้งไปชั่วขณะ คือ ผลการจัดอันดับศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ในชื่อ EF English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ โดยเราชนะประเทศลิเบียประเทศเดียว ส่วนในเอเชียเราอยู่อันดับสุดท้าย และเป็นเพียงประเทศเดียวของเอเซียที่อยู่ในระดับ Very Low Proficiency มีค่า EF EPI เท่ากับ 44.36 ซึ่งทั้งโลกมีสถานะในระดับต่ำมากจำนวน 16 ประเทศ หากต้องการหนีคำว่าสุดท้ายของเอเชีย เราต้องชนะจีน ซึ่งปี 2012 จีนอยู่อันดับที่ 36

http://www.newsenglishlessons.com/1210/121028-esl_speakers.html

http://www.ef.com/__/~/media/efcom/epi/2012/full_reports/EF%20EPI%202012%20Report_MASTER_LR.pdf

http://www.thelocal.se/44062/20121026

แก้วน้ำแห่งความสุข

แก้วน้ำแห่งความสุข
แก้วน้ำแห่งความสุข

ลูกสาว ม.1 นำบทความในกระดาษมาให้อ่าน
เพราะครูให้สรุปมาสั้น ๆ ว่า เขาพูดถึงอะไร
ผมก็ให้ลูกอ่านให้ฟัง แล้วก็ชอบครับ
.. เห็นความคิดของมนุษย์อีกแบบหนึ่ง

จึงนำเนื้อหามาแบ่งปันต่อครับ
ถ้ามีโอกาสก็จะไปหาหนังสือ ความหวัง ไม่เห็น ไม่ใช่ ไม่มี มาอ่านสักหน่อย

จิตร์ ตัณฑเสถียร มือเก๋าของแวดวงโฆษณาพูดเรื่อง “การยึดมั่นถือมั่น

เขายกตัวอย่างเรื่อง “แก้ว”
แก้วที่ว่างเปล่านั้น  เมื่อใส่น้ำ มันก็เป็น “แก้วน้ำ”
แต่ถ้าเราเอาดอกไม้ปักลงไป มันก็จะเป็น “แจกัน”
และถ้าแก้วใบนั้นใหญ่หน่อย เราเติมน้ำและใส่ “ปลา” ลงไป
“แก้วน้ำ” ก็จะกลายเป็น “ตู้ปลา”
และหากเราคว่ำ “แก้วน้ำ” เอาดินสอขีดรอบแก้ว
“แก้วน้ำ” จะกลายเป็น “วงเวียน”

“จิตร์” บอกว่าคนเราอย่ายึดมั่นถือมั่น
อย่าคิดว่า “แก้วน้ำ” ต้องเป็น “แก้วน้ำ” ตลอดไป
ครับ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ไม่ได้หยุดนิ่ง
มันแปรเปลี่ยนตาม “ตัวแปร” ต่างๆ
เรานำไปใช้งานอย่างไร มันก็เป็นเช่นนั้น

“ชีวิต” ก็เช่นกัน
เหมือนนักเรียนที่เชื่อว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือทั้งหมดของชีวิต
ถ้าสอบไม่ติดก็เสียใจ และรู้สึกว่าชีวิตสิ้นหวัง
หรือถ้าสอบเข้าคณะที่คนคิดว่า “ดี” ก็จะคิดว่าชีวิตนับต่อจากนี้ต้องรุ่งเรืองอย่างแน่นอน

สมัยก่อน “ด่าน” วัดความสำเร็จของชีวิตจะอยู่ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
แต่ปัจจุบันนี้ผู้ปกครองเพิ่ม “ด่าน” มากขึ้น
เริ่มต้นจากระดับ “โรงเรียน”
ถ้าเข้าโรงเรียนนี้ได้ต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
จากนั้นก็ขยับเป็นทอดๆ จนถึง “มหาวิทยาลัย”
ใช้ “โรงเรียน” หรือ “มหาวิทยาลัย” เป็นดัชนีวัดความสำเร็จ
คิดแบบ “หยุดนิ่ง” ว่าเมื่อเข้าคณะดีๆ มหาวิทยาลัยดังๆไปแล้ว
ชีวิตก็ต้อง “ดี” แบบนี้ตลอดไป
เป็น “แก้วน้ำ” ก็เป็น “แก้วน้ำ” ตลอดไป

นั่นคือเหตุผลที่เด็กวันนี้ต้องใช้เวลากับการ “เรียนพิเศษ” มากกว่าในห้องเรียนปกติ
ไม่มีเวลาเล่นกับชีวิตเลย
ผมไม่เคย “เรียนพิเศษ”
ดังนั้น ทุกครั้งที่เห็นเด็กเรียนพิเศษแบบหามรุ่งหามค่ำ ผมจะรู้สึกสงสารและเสียดาย
“สงสาร” เด็กที่ต้องเรียนหนัก
“เสียดาย” โอกาสสำหรับความสุขนอกห้องเรียนในวัยเด็ก

ขออนุญาตเล่าชีวิตวัยเด็กของผมให้เด็กรุ่นใหม่อิจฉาสักหน่อย
ตอนเรียนอยู่ที่เมืองจันท์ ผมใช้ชีวิตอยู่กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ๑๐-๑๒ ชั่วโมงต่อวัน
ค่าเทอมที่พ่อแม่จ่ายไปคุ้มค่าจริงๆ
ไปเรียนตอนเช้า เรียนเสร็จเดินกลับบ้าน
เปลี่ยนชุดเสร็จก็วิ่งกลับไปโรงเรียนอีก
ไม่ได้ไป “เรียน” แต่ไป “เล่น” ครับ

ตอนเช้าใช้ห้องเรียนของโรงเรียน แต่ตอนเย็นใช้สนามกีฬา
ถ้าไม่เล่นวอลเลย์บอล ก็เล่นฟุตบอล
ใช้แสงอาทิตย์เป็น “นาฬิกาปลุก”
หมดแสงเมื่อไรก็หมดแรงเมื่อนั้น

ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าไม่ไปสวนกับ “ป๋า” หรือ “แม่” ก็จะแวะไปบ้านเพื่อน
ฮาเฮกันตลอด
ปิดเทอมก็เล่นฟุตบอล วอลเลย์บอล เข้าสวน ไปห้องสมุดประชาชน หรือหานิยายอ่าน หรือไม่ก็ไปบ้านเพื่อน
ไม่เคยเรียนพิเศษเลย
จนช่วงหนึ่งที่บ้านมีปัญหาทางการเงิน แม่ต้องเปิดแผง ขายสาคูไส้หมูและขนมใส่ไส้หารายได้เพิ่ม
ช่วงนั้นจึงเริ่มทำตัวมีประโยชน์
ช่วยทำขนมและเปลี่ยนผลัดกับแม่ไปนั่งขายที่หน้าแผงตอนค่ำ
แต่ก็ยังเล่นกีฬาตลอด
จนอีก ๑ ปีก่อนเอ็นทรานซ์ ชีวิตผมจึงเปลี่ยนไป
ลุยอ่านหนังสือเต็มที่ก่อนสอบ

ครับ ในขณะที่เด็กวันนี้ใช้เวลาเรียนพิเศษตั้งแต่ระดับประถมจนถึงชั้น ม.๖
ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี
แต่ผมใช้เวลาลุยอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแค่ปีเดียว
ที่เหลือ “เล่น”
น่าอิจฉาไหมครับ
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มัก “ยึดมั่นถือมั่น” ว่า “โรงเรียน” หรือ“มหาวิทยาลัย” เป็น “ด่าน” วัดความสำเร็จ
ลืมไปว่าชีวิตไม่ใช่ “เกมโชว์”
ผ่านด่านนี้ไปก็ชนะในเกมเลย
ชอบคิดแบบ “หยุดนิ่ง”
เช่นเดียวกับ “เกรด” ในใบปริญญา
นิสิตนักศึกษาจำนวนมากไม่รู้ว่าตัวเลขของ “เกรด” มีค่าเพียงแค่ใช้ในการสมัครงาน
พ้นจากวันนั้น “เกรด” ก็เป็นแค่ “ตัวเลข” ในใบปริญญา
ไม่มีใครสนใจ
เพราะเมื่อเริ่มทำงานจริง คุณค่าของเราจะอยู่ที่การทำงาน
ใครทำงานเก่งกว่ากัน
ใครทำงานกับคนได้ดีกว่ากัน ฯลฯ
หัวหน้างานไม่สนใจแล้วว่าใครเรียนจบมาด้วยเกรดเท่าไร

ที่สำคัญ  ชีวิตของเราไม่ใช่ “เส้นตรง”
แต่เป็น “ทางแยก” ที่ต้องเลือกเสมอ
ดุลพินิจในการใช้ชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะ “ชีวิต” ก็เหมือน “แก้วน้ำ” ครับ
มันแปรเปลี่ยนไปเสมอ ไม่เคยหยุดนิ่ง

“แก้วน้ำ” จะเป็นอะไร
ขึ้นอยู่กับ “การใช้งาน”
“ชีวิต” ก็เช่นกัน
จะเป็นอะไร
ก็ขึ้นอยู่กับ “การใช้ชีวิต”
ที่สำคัญ ต้องอย่าลืมว่าทุกช่วงเวลาของชีวิตมีค่าเท่าเทียมกัน

ถ้าคนเรามีอายุ ๗๐ ปี
๑๐ ปี ก็คือ ๑ ใน ๗ ของชีวิต
๑๐ ปีในวัยเด็กก็มีค่าเท่ากับ ๑๐ ปีในวัยหนุ่มสาว
หรือ ๑๐ ปีในช่วงท้ายของชีวิต
ไม่มีช่วงเวลาใดมีค่ามากกว่ากัน
ดังนั้น ใครสะสมห้วงเวลาแห่งความสุขได้มากกว่ากัน
คนนั้นถือว่า “โชคดี”
เวลาของ “ความสุข” ที่แท้จริงจึงไม่ใช่ “วันพรุ่งนี้”
แต่เป็น “วันนี้”

http://www.se-ed.com/eShop/Products/Detail.aspx?CategoryId=0&No=9789740208495
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321953970

โรงเรียนข้างถนน (road-side school)

24 ต.ค.54 ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเปิดโรงเรียนข้างถนนแห่งแรกของจังหวัด โดยนำเอาเด็กที่บ้านถูกน้ำท่วมมาเรียน
จังหวัดลพบุรี ได้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมมานานกว่า1ดือนแลวหลังจากที่หูช้างของ ประตูน้ำบางโฉมศรีพังลงทำให้มวลน้ำเข้าท่วมใน3อำเภอของจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่อำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอเมืองลพบุรี ทำให้มีชาวบ้านจำนวนกว่า7หมื่นครอบครัวประชาชนจำนวนกว่า2แสนคนได้รับความ เดือร้อน และขณะนี้ทางจังหวัดได้ทำการอพยพชาวบ้านมาอยู่ในจุดพักพิงผู้ประสบภัยน้ำ ท่วมจุดต่างของ3อำเภอแล้วกว่า3หมื่นคน โรงเรียนถูกปิดอย่างไม่มีกำหนด

หลังจากที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่เห็นโรงเรียนถูกน้ำท่วม จึงกังวลว่าเด็กที่ไม่ได้ไปโรงเรียนอาจได้รับอันตรายจากน้ำท่วมสูงของจังหวัดลพบุรี จึงหาทางรวมเด็กให้อยู่เป็นกลุ่มและหาผู้ดูแล ซึ่งทางนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลพบุรี จึงมีการทำแผน ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนข้างถนนขึ้น เพื่อร่วมเด็กเข้ามาอยู่รวมกันและจ้างชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครต่าง ๆ มาสอนหนังสือให้กับเด็กที่อยู่ตามจุดอพยพริมถนน หรืออีกส่วนหนึ่งหากเด็กเดินทางมาไม่ได้ก็จะให้อาสามนัครเดินทางไปสอนถึงบ้าน โดยมีค่าใช้จ่ายให้กับเด็กนักเรียนวันละ30บาทเป็นค่าขนม ซึ่งถ้ามาเรียนที่จุดของจังหวัดจัดก็จะมีข้าวให้กิน

โดยนายฉัตรชัย กล่าวว่าสำหรับโรงเรียนข้างถนนแห่งแรกบริเวณริมถนนสายสระบุรี-ลพบุรี ถนนบายพาสหมู่ที่ 7 ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี นั้นได้มีนักเรียนลงชื่อมาเรียนแล้วจำนวน 90 คน และทุกวันจะมีนักเรียนมาเข้าเรียนจำนวน70-80คนทุกวัน ทางจังหวัดจัดอาหาร นม ขนมมาเลี้ยงดูอย่างดีทุกวันเฉลี่ยค่าหัวของเด็กวันละ 30 บาท เพื่อเป็นการจูงใจให้มาเรียน เด็กทุกคนก็จะปลอดภัยไม่ไปเล่นน้ำและอาจจะจมน้ำเสียชีวิตได้ โรงเรียนข้างถนน ถือเป็นการดูแลเด็กแทนผู้ปกครองได้ด้วย ซึ่งทางจังหวัดจะมีการขยายโรงเรียนข้างถนนไปจุดอื่น ๆ ทั่วพื้นที่ที่น้ำท่วมของจังหวัดลพบุรี และขณะนี้มีนักเรียนที่ชอบแต่ละด้าน เช่น ด้านการอ่าน หนังสือ และด้านการแสดงอย่างน้องสิรัญญา แตงไทยทอง หรือน้องแป้ง ที่รักการแสดงสามารถร้องลิเกและร้องเพลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นผลผลิตจากโรงเรียนข้างถนนของจังหวัดลพบุรี
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=535311