ร้านอาหารของไทย

ไปพบ ชุดข้อมูลภัตตาคาร ร้านอาหาร ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยแพร่ใน ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เป็นแพลตฟอร์มกลาง ของงานบริการภาครัฐ สำหรับภาคธุรกิจและประชาชน

ในชุดข้อมูลนี้ มีรายชื่อร้านอาหารทั่วประเทศ เกือบ หมื่นสองพันรายการ คิดว่าที่กรุงเทพ น่าจะมีจำนวนร้านอาหารมากที่สุด

ข้อมูลอยู่ในรูปแบบของ CSV เป็นข้อมูลที่แบ่งเขตข้อมูลด้วยเครื่องหมาย Comma ส่วนการแบ่งข้อมูลร้านอาหารจะใช้ Line feed โดยในข้อมูลชุดนี้ แต่ละร้านมี 26 เขตข้อมูล ซึ่งผมได้นำข้อมูลที่ระบบเปิดให้ดาวน์โหลดนี้ ไปใส่ไว้ในโฟรเดอร์ restaurant_tat ของ thaiall แล้วเขียนโค้ดด้วย pure javascript อ่านข้อมูลมาแสดงในรูปของตาราง

ข้อมูลร้านอาหารหมื่นกว่ารายการของทั้งประเทศนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ แต่ผมเป็นคนลำปาง และค้นข้อมูลร้านอาหารที่เผยแพร่ในหลายองค์กร เมื่อมองเฉพาะ ศูนย์กลางข้อมูล  และ จังหวัดลำปาง พบว่า มีร้านอาหารในระบบนี้ทั้งหมด 219 รายการ และผมก็นำไปแชร์ต่อใน fieldset บนโฮมเพจข้างต้นเป็นที่เรียบร้อย

มาดูกันครับว่า ถ้าท่านเป็นคนลำปาง หรือเป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมาลำปาง เคยไปร้านไหนมาบ้าง คุ้นชื่อไหน และมีแผนอยากแวะเวียนไปชิมอาหารที่ร้านไหน ซึ่งในระบบมีตำแหน่ง GPS และ อีเมล มาให้ด้วย สามารถตามรอย หรือเข้าไปในระบบข้อมูลของภาครัฐก็จะพบข้อมูลมากมาย รอให้เรานำไปใช้ประโยชน์

https://www.thaiall.com/restaurant_tat/

ร้านอาหารในลำปาง

จดหมายจากลูกถึงพ่อแม่ ฉบับที่ 18(BC) ฉุกระหุก รายงานตัว เครียด(จะ)ไม่ทันเอา

สวัสดีค่ะ พ่อเก๋ แม่ขวัญ พี่รีม

เครียด ลุ่น ระทึก ใจหาย” นานาความรู้สึกระหว่างเดินทาง
วันนี้ครอบครัวต้องเดินทาง ชีวิตคือการเดินทางจริง ๆ
เรา 2 คน ต้องไปรายงานตัว #ครูคืนถิ่น ที่ มน. กับ มช.
ของ น้องบี รายงานตัวที่ #ทีมมน
ของ น้องซี รายงานตัวที่ #ทีมมช
แม่วางแผนให้ไป ม.นเรศวร ก่อน
เพราะไกลกว่า .. ขับรถไปเองจะเหนื่อยกว่าไปเชียงใหม่
เช้า ลำปาง – ตาก – สุโขทัย – พิษณุโลก
บ่าย อุตรดิตถ์ – แพร่ – ลำปาง – เชียงใหม่ – ลำปาง
เราเช่ารถของ มีโชค พร้อมคนขับ
มีพี่แนน สาวหล่อ เป็นคนขับ คุยกันสนุก ๆ ตลอดทาง

จุดรายงานตัวที่ ม.นเรศวร
จุดรายงานตัวที่ ม.นเรศวร

การเริ่มต้น
การเดินทาง นาฬิกาหมุน ตั้งแต่เช้ามืด 27 เม.ย.60
แม่ตั้งแต่ตี 5 สงสัยตื่นเต้นแทนลูก ๆ
วันนี้ต้องเดินทางไกล ไปถึงจังหวัดพิษณุโลก และเชียงใหม่
การเดินทางครั้งนี้ มีอุปสรรคหลายปราการ

ปราการแรก คือ น้ำไม่ไหล!! โอ้ว้าว
แล้วพวกเราจะอาบน้ำกันยังไง ?
จึงถ่อสังขารไปอาบน้ำที่บ้านกล้วยไม้ห่างไปกว่าสิบโล
วางแผนออก 6.00 ก็เลื่อนเป็น 7.00 เลยกำหนดไป 1 ชั่วโมงล่ะ
เรานั่งทานข้าวบนรถ
ทานเสร็จพ่อก็ชวยคุยเรื่อง Capital letter ของ Ms.Walker
ขาไป ผ่านตาก สุโขทัย แล้วถึงพิษณุโลก ราว 11 โมง

ปราการที่สอง ที่ทำให้ถึง 11 โมงเศษ
คือ หลงไปทาง 2 แยก ต้องยูเทิร์นกลับมา
หลงนิด ๆ น่ะค่ะ เราลงรถที่หน้าสำนักอธิการ
เมื่อไปถึง คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร
หลังลงชื่อรายงานตัวกับอาจารย์ และรับรหัส TCAS แล้ว
ก็มีรุ่นพี่ เค้าพาฉัน ไปเลือกไซต์เสื้อผ้า รองเท้า ชุดกราว
จากนั้นก็พบเพื่อนชื่อแป๊ป ด้วย
ติดโครงการเดียวกัน แต่คนละสาขา เค้าเรียนครูคอมฯ

เลือกเสื้อ เลือกกระโปรง เลือกรองเท้า
เลือกเสื้อ เลือกกระโปรง เลือกรองเท้า

ปราการที่สาม คือ พ่อซื้อกาแฟ
เค้าค่อย ๆ บนกาแฟ และมีลูกค้า 3 ราย
กว่าจะได้กาแฟก็เกือบครึ่งชั่วโมง
กว่าจะขึ้นรถก็เกือบ 12.00
เรารีบกันมาก กลัวจะไป ม.เชียงใหม่ ไม่ทัน
จึงแวะทานข้าวที่ เซเว่นอีเลฟเว่น

อบใหม่ร้อน ๆ จากเตา
อบใหม่ร้อน ๆ จากเตา

ปราการที่สี่ คือ เส้นทางใหม่โหด
ทางชัน ขึ้นลงเขา และจำกัดความเร็ว
จากพิษณุโลก กลับเข้าอุตรดิตถ์ ผ่านแพร่ เข้าลำปาง
ขึ้นเขา ลงเขา และเป็นทาง 2 เลน หลายช่วงห้ามแซง
สุดท้ายกว่าจะถึงลำปางก็ 15.00 น.
แอบคิดว่าไม่ทันหรอก
แต่ก็ไป … ไปกันให้สุด ให้รู้ดำรู้แดง

รุ่นพี่ถ่ายภาพระหว่างลองเสื้อ
รุ่นพี่ถ่ายภาพระหว่างลองเสื้อ

ปราการที่ห้า รถติดหลังมอ
กว่าจะถึงมช. ก็ 16.30 เพราะรถติดเป็นช่วงหลัง มช.
แม่โทรถามฝ่ายทะเบียนฯ ของคณะก่อน เขารอได้
น้องบีช้ากว่าตาราง 5 นาที เข้าไปไม่ถึง 5 นาทีก็ออกมา
เข้าห้องทะเบียน พบพี่เจ้าหน้าที่นั่งรออยู่
เพียงยื่นเอกสาร ตรวจสอบ ลงชื่อ ก็เป็นอันเรียบร้อย
สุดท้าย ภารกิจรายงานตัวครูคืนถิ่นก็สำเร็จลุล่วงในวันเดียว

แล้วพอจัดการธุระเรื่องรายงานตัวเสร็จแล้ว
เราพากันแวะทานมื้อเย็นที่ Sizzler ที่ Central festival ต่อ
เจอรุ่นพี่บุญวาทย์ทำงานที่ Sizzler ด้วย
พี่เขาใจดีมาทักทายเรา

แอบเห็นใจ พี่แนน คนขับรถที่ขับรถให้พวกเราทั้งวัน
จึงต้องรีบกลับลำปาง ทำให้ไม่มีเวลาให้เดิน shopping ฮือ …
กว่าจะกลับถึงลำปางก็สองทุ่มกว่าแล้ว
พ่อและแม่จึงให้ Tip พิเศษ
เพราะเขาแทบจะไม่ได้พักเลย เห็นใจค่ะ
มีอะไรจะเล่าสู่กันฟังใหม่ค่ะ

Bye Bye จ้า .. รักทุกคนนะ จุ๊บ จุ๊บ
จาก พี่เอของน้อง ๆ และลูกที่น่ารักของพ่อเก๋ แม่ขวัญ
มีอะไรทักแชทได้เหมือนเดิมน้า

ไปรายงานตัว ครูคืนถิ่น
ไปรายงานตัว ครูคืนถิ่น

ต่อจาก
จดหมายจากลูกถึงพ่อแม่ ฉบับที่ 13(B)
หนูจะจบ ม.ปลาย ล่ะค่ะ February 4, 2018

ขนมจีนบางรายก็มีสารกันบูดที่อาจทำให้ตับไตพัง

ขนมจีน
ขนมจีน

พบข้อมูลในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2559
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สุ่มตรวจขนมจีน (Khanom chin) ทั้งหมด 12 ยี่ห้อ
พบว่ามีสารกันบูดตกค้างทั้ง 12 ตัวอย่าง
มากบ้าง น้อยบ้างต่างกันไป แต่เบื้องต้นมีกันทุกยี่ห้อ ถ้าไม่ใส่ก็จะเสียนั่นเอง
ปัญหาคือ สารกันบูดทำให้มีความเสี่ยงเรื่องตับไตพัง
ถ้าขับออกทันก็สะสมปัญหากันไป หากขับออกไม่ทันถึงพิการได้เลย


สุ่มตรวจมา 12 ราย พบว่าใส่ทุกราย
แต่ใส่แล้วไม่เกินที่กำหนดมี 10 ราย
ที่เกินกำหนดมี 2 ราย คือ 1114.30 และ 1121.37
มาตรฐานหรือที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

สรุปว่าทานขนมจีนมาก ๆ เสี่ยงตับไตพัง
แต่คนที่ขายขนมจีนแบบสด และหมดใน 1 วัน เค้าก็ไม่จำเป็นต้องใส่นะครับ
http://health.sanook.com/2897/

ขนมจีน ทำมาจากข้าวจ้าวที่นำไปหมักที่ใช้จุลินทรีย์เข้าย่อยแป้ง แล้วนำไปบด ไปต้ม แล้วคั้นผ่านรูให้ออกมาเป็นเส้นลงในน้ำเดือดก็จะได้ขนมจีนที่สุกแล้วจุ่มลงน้ำเย็น และนำไปทานได้


ขนมจีน เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย เส้นหมี่ รับประทานกับน้ำยา น้ำพริก เป็นต้น อาหารชนิดนี้ ภาษาเหนือเรียก “ขนมเส้น” และภาษาอีสานเรียก “ข้าวปุ้น”
https://en.wikipedia.org/wiki/Khanom_chin

ข้อมูลเรื่องสารกันบูด
ที่ http://guru.sanook.com/4320/

ประเทศไทยมีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนน อันดับ 3 ของโลก

สืบเนื่องจาก อ.ทรงเกียรติ แชร์ข่าวมาให้อ่าน ว่าไทยเราติดที่ 3 เรื่องภัยทางถนน พอติดตามก็ทำให้รู้สึกกังวล เพราะมีผู้คนที่รู้จักจำนวนไม่น้อยจากไป หรือประสบภัยทางถนนในหลายรูปแบบ .. ต่อไปจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย อย่างเอาจริงเอาจังซะแล้ว ก็เพราะไทยที่ 3 ของโลกนี่หละ

ประเทศไทยมีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนน อันดับ 3 ของโลก
ประเทศไทยมีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนน อันดับ 3 ของโลก

http://www.thairath.co.th/content/edu/359132

อึ้ง .. ไทยติดที่ 3 ของโลก ‘ประเทศที่มีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนน’

องค์การอนามัยโลกเผยรายงานสถานะประเทศ 2013 ไทยมีอัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นที่ 3 ของโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ยทุกๆ 1 ชั่วโมงมีคนเจ็บ-ตาย 2 คน
เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2556 นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2556 (Global Status Report on Road Safety 2013) จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก พบอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก เสียชีวิตถึง 38.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน รองจากประเทศเกาะนีอูเอ และสาธารณรัฐโดมินิกัน

นพ.วิทยา กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวมจากทุกพาหนะและคนเดินเท้าแล้วถึง 13,766 คน จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554  (ปี ค.ศ.2010) เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “แต่จากการประมาณการการเสียชีวิตจากอุบัติภัยบนท้องถนนของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ. 2010 สูงถึง 26,312 คน คิดเป็นอัตรา 38.1 ต่อประชากร 100,000 คน”
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของแต่ละประเทศ ด้วยบรรทัดฐานเดียวกันคือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากร 1 แสนคน แล้วกลายเป็นว่า ไทยมีอัตราผู้เสียชีวิต 38.1 คนต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน นับเป็นอันดับ 3 รองจากอันดับ 1 คือ นีอูเอ (Niue) มีอัตราผู้เสียชีวิต 68.3 คน ต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน อันดับ 2  คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน มีอัตราผู้เสียชีวิต 41.7 คนต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน
โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยในรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ. 2556 (Global Status Report on Road Safety 2013) ภาพรวมของการสำรวจจาก 182 ประเทศ มี 6 ประเทศที่ลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้อย่างน่าชื่นชม ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอังกฤษ ส่วนที่เหลืออีก 176 ประเทศ มี 88 ประเทศที่ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้จริง ขณะที่ 87 ประเทศ อีก 1 ประเทศไม่ระบุ มีสถิติผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในรายงานยังบอกว่า 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตเป็นคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-29 ปี  ถ้าแต่ละประเทศไม่ป้องกัน การเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจะขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของการเสียชีวิตของคนทั้งโลกภายในปี พ.ศ. 2573
ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลก ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกกับโรงพยาบาลขอนแก่น แถลงผลการรายงานสถานะความปลอดภัยทางถนนโลก ปี 2556 และจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ ทำไมประเทศไทยถึงมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุอยู่อันดับต้นของโลกเพื่อหา แนวทางแก้ไขและแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะในการบรรเทาผู้เสียจากอุบัติเหตุทางถนน ซึ่ง ดร.นิมา อัสการี รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า
รายงานความปลอดภัยทางถนนของโลกปี 2556 (Global Stabal Report on Road 2013) พบอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิต 38.1 รายต่อประชากร 1 แสนราย รองจากอันดับ 1 แสนราย อันดับ 2 คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน มีอัตราผู้เสียชีวิต 41.7 รายต่อประชากร 1 แสนราย และองค์การอนามัยโลกกำลังเป็นห่วงในเรื่องนี้ เพราะจากตัวเลขยานพาหนะที่จดทะเบียนทั่วโลกมีมากขึ้นร้อยละ 15 และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอับุติเหตุเป็น 1.24 ล้านราย
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำถึง ระดับปานกลาง มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 33 บางประเทศสูงถึงร้อยละ 75 และจากการสำรวจระหว่างปี 2550-2553 ใน 182 ประเทศ มีประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอังกฤษ ที่สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้อย่างน่าชื่นชม
อย่างไรก็ตาม นพ.วิทยา กล่าวย้ำว่า เป็นที่น่าตกใจที่ข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวมจากทุกพาหนะและคนเดินเท้าแล้ว แค่ 13,766 คน ต่างจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่ทำการประเมินในปีเดียวกัน มีจำนวนสูงถึง 26,312 ราย คิดเป็นอัตรา 38.1 ต่อประชากร 1 แสนราย เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันอาจเกิดจากวิธีการเก็บข้อมูลที่ต่างกัน แต่ก็มีความหมายเดียวกันว่า ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนของประเทศไทย ถือว่าค่อนข้างวิกฤติมีคนเจ็บ คนตาย เฉลี่ยชั่วโมงละ 2คน และทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเหมือนกัน.

โดย ทีมข่าวไทยรัฐทีวี 25 กรกฎาคม 2556, 05:15 น.

http://www.autoyim.com/252081/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94-jpg2

สนธยา ติง ใบเตย นุ่งสั้นไม่เหมาะ ชี้ไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย

ชุดไทย ต่อไปก็คงเหลือแต่ในความทรงจำ
ชุดไทย ต่อไปก็คงเหลือแต่ในความทรงจำ

รัฐมนตรีว่ากระทรวงวัฒนธรรม ชี้ ‘ใบเตย’ นุ่งสั้น ไม่สามารถดำเนินการได้
เนื่องจากไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย
ระบุ ‘อาร์เอส’รับจะคำนึงเรื่องวัฒนธรรมมากขึ้น

20 มิ.ย. 56 นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่ากระทรวงวัฒนธรรม กล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ ถึงกรณี “ใบเตย อาร์สยาม” นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแต่งตัวที่ไม่เหมาะสม ว่า เราต้องดูภาพรวมของงาน อย่าไปมองเฉพาะเรื่องการแต่งตัว เพราะหากมองในส่วนที่แคบลง เรื่องการแต่งตัวที่เหมาะสมหรือไม่ ก็ถือว่าไม่เหมาะสม แต่หากเราเห็นว่าเป็นอาชีพ ในมุมการตลาด ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของธุรกิจ และเห็นว่า เรื่องนี้ทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วม รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรม ที่ต้องช่วยกันทำให้สังคมดีขึ้น

เรื่องนี้หากไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย กระทรวงก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนเรื่องความเหมาะสม เห็นว่าควรมีการร่วมมือกันเพื่อช่วยทำให้สังคมดีขึ้น ซึ่งจากการพูดคุยกับทางอาร์เอส ทางเขาก็ยอมรับ และรับว่าจะคำนึงถึงเรื่องวัฒนธรรมให้มากขึ้น ส่วนเราเองในฐานะกระทรวงวัฒนธรรมก็จะต้้องดูว่า ต้องปรับปรุงแก้ไขระเบียบหลักการเรื่องไหนได้บ้าง รวมไปถึงการขอความร่วมมือในเรื่องความเหมาะสมด้วย เพื่อช่วยให้สังคมไทยดีขึ้น” นายสนธยา กล่าว.

กฎหมายเอื้อมไม่ถึง
กฎหมายเอื้อมไม่ถึง

http://www.thairath.co.th/content/edu/352462

หนังไทย พี่มากพระโขนง มีรายได้ 3 ร้อยกว่าล้าน

อันดับหนังทำเงิน เทียบรายการไทยกับฝรั่ง
อันดับหนังทำเงิน เทียบรายการไทยกับฝรั่ง

เห็นปกนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ บอกว่า พี่มากพระโขนง ทำรายได้แซงโกโบริไปมากมาย ก็มากกว่าถึง 10 เท่า ทำให้ผมสนใจว่า คนไทยดูภาพยนตร์เรื่องอะไรกันบ้าง
พบว่า การทำภาพยนตร์ของไทย ใน 30 อันดับ มีหนังประวัติศาสตร์ 7 เรื่อง มีหนังผีระทึก 4 เรื่อง มีหนังบู้ 3 เรื่อง มีหนังตลก และรัก 16 เรื่อง
แต่ไม่รู้จะเทียบหนังไทยกับหนังฝรั่งอย่างไร เพราะปัจจัยของการดูภาพยนตร์น่าจะอยู่ที่คนดู สำหรับประเทศไทย ผมรู้สึกไปเองว่าประเภทของภาพยนตร์ไทยขึ้นอยู่กับผู้สร้าง เพราะผู้ดูก็จะไปดูทุกเรื่องที่มีให้ดู แต่ผู้สร้างไม่ได้สร้างให้ดูก็คงจะไม่เห็นในรายการจัดอันดับหนังทำเงินของไทย เพราะเห็นความแตกต่างระหว่างรายการหลังไทย กับหนังฝรั่ง  แล้วหนังฝรั่งคนไทยก็ดูนะครับ อย่างรายการ top 50 นั่นผมดูแล้วทุกเรื่อง ส่วนหนังไทยยังดูไ่ม่ครบครับ
อันที่จริงมีคำถามในใจ ว่า “ทำไมคนไทยไปดูหนังเรื่องพี่มากพระโขนง มากถึง 3 ล้านคนเลยเหรอ” เพราะรายได้ 300 ร้อยกว่าล้าน ที่ได้จากผู้ชมคนละร้อย ก็น่าจะมีคนชมกว่า 3 ล้านคน
1. สุริโยไท
2. พี่มากพระโขนง
3. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1
4. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2
5. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี
6. ต้มยำกุ้ง
7. ATM เออรัก เออเร่อ
8. บางระจัน
9. นางนาก
10. รถไฟฟ้า..มาหานะเธอ
11. หลวงพี่เท่ง
12. แฟนฉัน
13. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง
14. กวน มึน โฮ
15. สุดเขตสเลดเป็ด
16. มือปืน/โลก/พระ/จัน
17. ลัดดาแลนด์
18. 5 แพร่ง
19. ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ
20. 32 ธันวา
21. องค์บาก 2
22. คุณนายโฮ
23. แหยมยโสธร
24. องค์บาก
25. สตรีเหล็ก
26. แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า
27. สาระแนห้าวเป้ง
28. ก้านกล้วย
29. วงศ์คำเหลา
30. โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง

ข่าวใน moe สมัคร มทร.ธัญบุรี 1.6 หมื่นคน รับแค่ 2.7 พัน

seven career in asean
seven career in asean

ข่าวนี้ทำให้นึกถึง 7 อาชีพอาเซียน
มติชน ฉบับวันที่ 13 มี.ค. 2556 (กรอบบ่าย)
นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2556 มทร.ธัญบุรี ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประเภทสอบตรง
พบว่า มีผู้สมัครและชำระเงินแล้วทั้งสิ้น 16,472 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 1,000 คน
ขณะที่ยอดรับตรงที่สามารถรับได้อยู่ที่ 2,730 คน
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สมัคร 1,954 คน รับ 455 คน
2. คณะบริหารธุรกิจ สมัคร 4,592 คน รับ 530 คน
3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สมัคร 1,260 คน รับ 106 คน
4. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสมัคร 962 คน รับ 210 คน
5. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สมัคร 2,007 คน รับ 275 คน
6. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัคร 661 คน รับ 172 คน
7. คณะศิลปกรรมศาสตร์ สมัคร 1,139 คน รับ 340 คน
8. คณะศิลปศาสตร์ สมัคร 1,888 คน รับ 30 คน
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สมัคร 779 คน รับ 78 คน
10. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สมัคร 946 คน รับ 215 คน
11. วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย สมัคร 239 คน รับ 45 คน
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า สำหรับสาขาที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุด
โดยมี สัดส่วนจำนวนรับต่อจำนวนผู้สมัครสูงสุด คือ
1. สาขาถ่ายภาพและภาพยนตร์ 1 ต่อ 47
2. สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย 1 ต่อ 28
3. สาขาเทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง 1 ต่อ 25
4. สาขาการจัดการทั่วไป 1 ต่อ 25
5. สาขาการศึกษาปฐมวัย 1 ต่อ 21
6. สาขาอาหารและโภชนาการ 1 ต่อ 17
โดยมีกำหนดการสอบ ในวันที่ 16 มีนาคม คือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ส่วนวันที่ 17 มีนาคม 2556 คณะ ที่สอบ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เฉพาะหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สอบที่ มทร.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
สอบสัมภาษณ์ใน วันที่ 27 มีนาคม 2556 ณ คณะที่สมัครสอบ
ประกาศผลสอบวันที่ 30 มีนาคม 2556
ภาพเปรียบเทียบการขาดแคลนของคนไทยในเวที AEC

thai need english and science skills
thai need english and science skills

webometrics january 2013
webometrics january 2013

คันหู

http://www.youtube.com/watch?v=ikFsZi3PeLo

จากคลิ๊ปโน๊ต 9 พบว่าเพลง คันหู ของคนไทย พอจะไล่ตามเพลงเกาหลีได้แล้ว ลองดูเพลง A Dance ของ rainbow ที่ถูกห้ามออกอากาศจนต้องตัดบางตอนออก กับที่มาที่ไปของเพลง คันหูในรายการวู้ดดี้

http://www.youtube.com/watch?v=NjWq8YrkSJw