17 พ.ค.53 เพื่อนชื่อ ช. จากองค์กรหนึ่งโทรมาพูดคุย โดยเขาเป็นคนที่ยึดมั่นในหลักกฎเกณฑ์มากกว่าเกื้อกูลเป็นแนวปฏิบัติ เล่าว่า 1) ทุกเช้าจะเห็นคนในบริษัทนั่งกินข้าวเช้าในเวลาทำงาน ออกไปทานข้าวก่อนเที่ยง กลับเข้าทำงานหลังบ่าย … ทำให้รู้สึกรับไม่ได้ 2) บางคนก็นั่งเล่นเกม เล่นแชท นั่งหลับ อ่านข่าว facebook ในเวลางาน แต่เขาทำงานหนักอยู่คนเดียว ไม่อยากช่วยเหลืออะไรใครสักเท่าใด เวลาเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา 3) บางคนเอาคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมาให้ซ่อม แม้จะใช้ในงาน ใช้บ้าง หรือไม่ใช้ในงานเลย ก็ไม่อยากช่วยเหลือ ไม่อยากบริการ .. เพราะอย่างนี้องค์กรที่เขาทำงานอยู่ จึงได้มีปัญหาจากการที่ผู้คนไม่ยึดมั่นในกฎเกณฑ์และไม่มีวินัย .. เป็นปัญหาของความเกื้อกูล และปล่อยปะละเลย
ฟังแล้วก็รู้สึกว่าเขาออกจะเอียงซ้ายไปสักหน่อย .. ผมก็ตามน้ำย้อนเหตุผลกลับไปว่า ถ้ายึดมั่นในกฎเกณฑ์ ก็ไม่ต้องให้บริการซ่อมเครื่องให้กับใคร ไม่ต้องสนใจว่าเขาจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์กรหรือไม่ นำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมานำเสนองานให้ผู้บริหารก็ไม่ต้องช่วยเหลือ เพราะเป็นเครื่องส่วนตัว แม้นำมาใช้ในงานก็จะไม่ช่วยเหลือ แล้วคุณจะยึดกฎเกณฑ์หรือเกื้อกูลล่ะ .. คำตอบ คือ เขาก็ต้องช่วยเหลือ ตามหลักความสมเหตุสมผล
เพื่อนชื่อ ช. เล่าอย่างเอียงซ้ายต่อว่า เห็นใครต่อใครนั่งเล่น MSN ทั้งวัน ไม่อยากให้ใครเล่นเลย ผมก็ตามน้ำย้อนเหตุผลกลับไปว่า ก็ปิดบริการที่ต้องสงสัยซะคุณคุมเครือข่ายอยู่นี่ ไม่ต้องให้ใครใช้นอกจากใช้กับงาน มีบริการอีกมากมายที่ควรปิด เพราะคนในองค์กรนี้ส่วนหนึ่งเสียเวลาทำงานไปกับการเปิดเว็บดูดวง เว็บอ่านข่าว เว็บ facebook ดาวน์โหลดเกม ดาวน์โหลดหนัง ผมก็แนะนำว่าปิดบริการทุกบริการที่จะทำให้บุคลากรในองค์กรนั้นไม่ทำงาน ใครอยากใช้ทำงานให้ทำบันทึกถึงผู้บริหาร และรายงานเป็นรายบุคคล แล้วคุณจะยึดกฎเกณฑ์หรือเกื้อกูลล่ะ.. คำตอบ คือ เขาเองก็ยังใช้บริการข้างต้นเหมือนใครต่อใคร
? คุณยึดมั่นในกฎเกณฑ์หรือเกื้อกูลล่ะ .. แต่ผมเป็นพวกเข้ากลุ่มคนหมู่มาก ไม่นิยมแปลกแยก