#เล่าสู่กันฟัง 63-061 เล่าในรูปแบบภาษา Markdown

เชื่อว่าหลังปี ค.ศ. 2020 โลกแห่งการบอกเล่าเรื่องราว (Story Telling) อย่างมีรูปแบบ (Formatting) มีแนวโน้มใช้ภาษา Markdown กันมากขึ้น เพราะเขียนเล่าเรื่องได้ง่าย (Lightweight Format) นำไปใช้ต่อได้หลากหลายรูปแบบ พบการใช้งานใน github.com และ facebook.com และ wordpress.com มีรูปแบบพื้นฐานให้ใช้งาน สำหรับแปลงเป็นภาษาเอชทีเอ็มแอลได้ทันที อาทิ กำหนดส่วนหัวหลายระดับ เขียนลำดับข้อมูล ลำดับหัวข้อ ทำย่อหน้าได้ อ้างอิงคำพูด (Block Quote) เป็นต้น

ผลจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการทำงาน การเรียน การใช้ชีวิต เปลี่ยนไปเป็น Work From Home (WFH) หรือ Learn From Home (LFH) กันมากขึ้น การบอกเล่าผ่านการเขียน (Writing) จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้น และน่าจะมีแนวโน้มสื่อสารผ่านการเขียนเพิ่มขึ้น การเขียนที่มีรูปแบบ (Format) ย่อมสื่อสารเนื้อหา (Content) ให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนที่ไม่มีรูปแบบ (No format) และนำไปแปลงร่างเป็นรูปแบบอื่นได้ยากกว่า (Transform)

รูปแบบ Markdown สามารถแปลงไปเป็นเว็บเพจให้เข้าใจได้ง่าย (Webpage .html) ผ่าน Parsedown.php หรือแปลงไปเป็น PDF หรือ Powerpoint สำหรับการใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรมช่วยแปลง (Converter) คือ โปรแกรม Marp หรือ Pandoc ที่ทำให้การแปลงร่างจากเนื้อหาภาษา Markdown ไปเป็น PPTX เพื่อใช้สื่อนำเสนอในห้องเรียนทำได้อย่างรวดเร็ว โดยโฮมเพจหน้านี้ ผมได้รวบรวมหัวข้อที่น่าสนใจ และนำเสนอผ่าน Webpage แล้วเป้าหมายต่อไปคือการแปลงร่างเป็น Powerpoint ซึ่งจะพบร่องรอยผลงานมาให้ดาวน์โหลดส่วนหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-035 ระบบรับทราบหลักสูตร ของประเทศไทย

ชวนอ่านข้อมูลใน #ระบบรับทราบหลักสูตร ของประเทศไทย
สามารถค้นตามชื่อหลักสูตร ชื่อคณะ หรือชื่อหน่วยงาน
พบข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน ซึ่งเข้าถึงโดยไม่ต้อง login
ข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่ทั่วไปเป็นสาธารณะ เพื่อการศึกษา


ส่วนที่ 1 ข้อมูลหลัก ที่น่าสนใจคือจำนวนหน่วยกิตใน 1.3
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1.3 ข้อมูลประกอบ

ส่วนที 2 การอนุมัติ ที่น่าสนใจคือชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ประจำหลักสูตร
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
1.5 ระบบจัดการศึกษา

ส่วนที่ 3 นอกจากแนบมคอ.2 ให้ดาวน์โหลดแล้ว ยังมี Learning Outcomes แยกรายปี
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
1.8 จำนวนนิสิต
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
1.10 เอกสารแนบ

http://202.44.139.57/checo/default.aspx
http://202.44.139.57/checo/UnivSummary2.aspx?id=25521311106617_IP&b=0&u=13100&y=
http://202.44.139.57/checo/frm_report_listcurr.aspx?s=P
http://www.cheqa.mua.go.th/checo2/frm_report_listcurr.aspx?s=E

ตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจ ของหลักสูตรหนึ่ง
1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
ปีที่ 1 นิสิตได้ฝึกประสบการณ์ ในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน รุ่นพี่ และอาจารย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อการเรียน ได้รับทักษะความรู้พื้นฐานในวิชาศึกษาทั่วไป และพื้นฐานวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับทักษะ ศาสตร์วิชาที่สูงขึ้น
ปีที 2 มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เฉพาะเจาะจง มีทักษะด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟ์ตแวร์ ได้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัจจุบัน มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ มีทักษะด้านฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ปีที่ 3 มีทักษะทางด้านการใช้งานเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ มีทักษะในศาสตร์วิชาที่สูงขึ้น ด้านองค์การและระบบสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ ด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟ์ตแวร์ และด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
ปีที่ 4 มีทักษะจากการฝึกประสบการณ์จริงในสถานประกอบการ สามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฎิบัติงานได้ มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์

คุณครูก็เยอะ นักเรียนก็แยะ มีประเด็นที่เค้าแบ่งปันกันมา

เคยได้ยินมาว่า
ถ้าใช้เทคนิควิธีการสอนอย่างสร้างสรรค์
ทั้งครู และนักเรียน ก็จะ happy และเรียนรู้เรื่อง

ก็จริงของเค้า แต่มีหลายมุมให้มอง
ก็จริงของเค้า แต่มีหลายมุมให้มอง

ถ้าในสังคมหนึ่ง เด็กเรียนกับครูที่เปิดสไลด์
เรื่องสร้างสรรค์ ความรู้ ความจำ และวินัย
แต่ละสไลด์ ครูจะบรรจงพูดขยายความไปนับสิบนาที
ครูสอนศิษย์ 10 คน
แล้วศิษย์ 8 คน บอกเป็นสไลด์ที่สุดยอด
แล้วศิษย์ 2 คน บอกครูมาอ่านสไลด์ให้ฟัง
ไม่เห็นมีอะไรเลย โหลดสไลด์อ่านเองก็ได้
ผมว่าศิษย์สองคนนี่ก็มีความคิดเป็นของเค้า
อาจไม่ชอบการสอนแบบนี้
อาจต้องการวิธีจัดการเรียนการสอนแบบอื่นที่ดีกว่า
ซึ่งเป็นไปได้ ครูเค้ายังไม่สมบูรณ์แบบสำหรับทุกคน
https://www.facebook.com/universityinreal/photos/a.1529059383995410.1073741829.1527630557471626/1614320385469309/

ธรรมะออนไลน์ของเจ้าคุณพิพิธ (itinlife

ไอทีในชีวิตประจำวัน # 309  ()

ปลายเดือนกันยายน 2554  ผู้เขียนมีโอกาสฟัง พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม   กรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง อย่า 15 อย่า นำมาซึ่งความสามัคคีธรรม ฟังแล้วก็รู้สึกโดนใจ ทันยุค ทันสมัย เข้าถึงใจคนทำงานในยุคคุณปูเป็นนายก แต่ประเด็นมีถึง 15 หัวข้อ แม้จดทันแต่อาจเก็บประเด็นได้ไม่ครบ แล้วท่านก็บอกว่าให้ใช้ MP3 Recorder บันทึกไว้ไ แต่ตอนนั้นไม่มีอุปกรณ์ หลังจากนั้นก็กลับมาปรึกษาอาจารย์กู๋ หรือ google.com แล้วก็พบเว็บไซต์ของพระท่าน คือ katitham.com อ่านเป็นไทยว่า คติธรรมดอทคอม

ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ คนในองค์กรต้องไม่ประพฤติตัว 15 อย่าง ต่อไปนี้        1) อย่าอวดรู้ 2) อย่าดูแคลน 3) อย่าแสนงอน 4) อย่าซ่อนเงื่อน 5) อย่าเชือนแช 6) อย่าแส่เรื่องของเผือก 7) อย่าเสือกงานของเค้า 8) อย่าเอาแต่งานของตัว 9) อย่ากลัวเขาหาว่า 10) อย่าด่าเจ้านาย 11) อย่าขายความลับ 12) อย่าจ้องจับผิด 13) อย่าคิดไม่ซื่อ 14) อย่าดื้อจนด้าน 15) อย่าค้านจนแค้น ซึ่ง 15 ข้อนี้ถือเป็นข้อพึงระวังและส่งเสริมให้คนในองค์กรมีความสามัคคี แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล เพราะถ้าไม่เข้าใจแล้วนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติงานก็อาจเกิดผลเสียตามมา อาทิ การจัดการความรู้ในองค์กร ก็ต้องสนับสนุนในการเปิดเผยความลับหรือเทคนิคแก่เพื่อนร่วมงาน การนำความรู้ที่ตนมีออกมานำเสนอ การให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่คิดต่างเพื่อการพัฒนา การเข้าไปหนุ่นเสริมช่วยเหลืองานของเพื่อนเพื่อให้องค์กรบรรลุพันธกิจ

ปัจจุบันมีเว็บไซต์เผยแพร่สาระด้านธรรมะในพุทธศาสนาอยู่มากมาย ซึ่ง คติธรรมดอทคอม เป็นเว็บไซต์เก่าแก่ที่จดโดเมนมาตั้งแต่ปี 2549 มีคติธรรมและสื่อการเรียนรู้มากมาย มีทั้งผลงาน บทความ สื่อธรรมะในรูปมัลติมีเดีย อาทิ VCD DVD และ MP3 แล้วท่านก็มีผลงานออกทางทีวีบ่อยครั้งที่คอยเตือนสติทั้งต่อเยาวชน บุคคลทั่วไป นักการเมือง และนักบริหาร อาจเรียกได้ว่า คติธรรมของท่าน เด็กฟังได้ ผู้ใหญ่ฟังดี ผู้บริหารบ้านเมืองก็ยิ่งน่าฟัง

แก้ปัญหาเปิดเว็บเพจไม่ขึ้น เพราะ 8080

30 ก.ย.52 รับแจ้งจากอาจารย์อวุโสว่าพบปัญหาเข้าเว็บเพจที่ใช้ frame ในบางเว็บไซต์ไม่ได้ ทดลองติดตั้ง java runtime ปัญหา ก็ไม่หายไป เมื่อ view source แล้วพบ error message ว่า browser ไม่สนับสนุน ก็คิดว่า ต้องลง browser รุ่นใหม่ จึงจะใช้งานได้ ลองติดตั้ง ie8 ก็ยังเข้าไม่ได้ ..
     อีกสักพัก ผมก็ไปทดสอบกับเครื่องในห้องปฏิบัติการ พบว่า เข้าเว็บไซต์ที่เป็นปัญหาได้ปกติด้วย account ของผมที่มีระดับเป็น admin จึงนึกขึ้นได้ว่า account ที่ใช้ทดสอบที่เครื่องอาจารย์อวุโสนั้น เป็น account ระดับ user เมื่อตรวจสอบลึกลงไปก็พบว่า สิ่งที่แตกต่างของเว็บไซต์ดังกล่าวกับเว็บไซต์ทั่วไปคือเปิด port 8080 ซึ่งเป็น default port ของ java server ทั่วไป เมื่อคุณอนุชิต ยอดใจยา เข้าไปยกเลิกการปิด port ดังกล่าวจาก dhcp server ก็มีผลให้ account ใดใดในระบบสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวได้
+ http://iutcerral.univ-lyon2.fr/conftool/
+ http://it.yonok.ac.th/anuchit/jre-6u14-windows-i586.zip
+ http://www.thaibg.com
+ http://ie6update.kapook.com/ie8_download.php

pingback and trackback

trackback
trackback

PingBack คืออะไร

ปิงแบล็ค (PingBack) คือ การเชื่อมโยงกลับไปยังบันทึกต้นฉบับ เกิดจากการเขียนลิงค์ในบันทึกที่อยู่ในบล็อก
ของนายบี แล้วระบบบล็อกของนายบี จะแจ้งกลับไปยังบล็อกต้นฉบับของนายเอให้รับทราบ
เมื่อนายเอได้รับข้อความในรูป comment ก็สามารถแก้ไข comment ดังกล่าวได้
แต่ไม่ส่งอะไรกลับไปยังบล็อกของนายบีอีก สรุปได้ 2 ส่วนคือ
1) วางลิงค์ในบันทึกก็จะเป็นการสร้างปิงแบล็คทันที บล็อกจะแจ้งกลับไปยังบล็อกของผู้ถูกอ้างอิงให้รับทราบ ถ้าบล็อกทั้งสองระบบสนับสนุนเทคนิกนี้
2) บันทึกที่มีปิงแบล็คจะส่งลิงค์ของบันทึกและบทคัดย่อกลับไปยังบันทึกต้นฉบับอัตโนมัติ และผู้ดูแลบล็อกต้นฉบับเลือก approve ให้เพิ่มเป็น comment ในบันทึกของตนเอง
เทคโนโลยีการสื่อสารของ pingbacks ใช้   XML-RPC  
       

TrackBack คืออะไร
แทร็กแบล็ค (TrackBack) คือ การเชื่อมโยงระหว่างบันทึกเรื่องเดียวกัน
ประเด็นตรงกัน อาจเขียนต่าง เพิ่ม แก้ไขจากที่มีอยู่หรือเหมือนกันก็ได้
โดยเชื่อมโยงข้อคิดเห็น (Comment) มาใช้ร่วมกันเป็นเครือข่าย สรุปได้ 3 ส่วนคือ
1) บล็อกที่เขียนบันทึกใหม่จะส่งการเชื่อมโยงและบทคัดย่อที่เรียกว่า Excerpt กลับไปให้บันทึกต้นฉบับ
2) เมื่อเพิ่มข้อคิดเห็นในบันทึกใหม่ ระบบจะส่งข้อคิดเห็นไปให้กับบันทึกต้นฉบับที่เป็น TrackBack อัตโนมัติ
3) บล็อกต้องสั่ง approve เพื่อส่งเข้าไปเป็น comment ในบันทึกต้นฉบับ
เทคโนโลยีการสื่อสารของ  trackbacks ใช้  HTTP POST

Link Back มี 3 เทคนิค คือ  
1)Refback  คือ การเขียน link ตามปกติ เมื่อคลิ๊กก็จะไปยังเว็บที่ถูก link แบบนี้ไม่ส่งอะไรให้ linked server
2)Trackback คือ การใส่ link เข้าเครื่องบริการ แล้วจะส่ง notification ไปยัง linked server
สิ่งที่อาจส่งไป คือ site name, post title, post excerpt และ post url
3)Pingback คือ การใส่ link เข้าเครื่องบริการ แล้วจะส่ง notification ไปยัง linked server
โดยใช้ XML-RPC มิได้ใช้  HTTP Post
สิ่งที่ส่งไป คือ linked post URL, Linking post URL

http://en.wikipedia.org/wiki/Linkback

http://blog.kudson.com/bimbim/2008/01/28/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81-blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

รายละเอียดดีมาก
http://www.optiniche.com/blog/117/wordpress-trackback-tutorial/

วัดกับชุมชน

PostDateIcon วันอังคารที่ 16 ก.พ. 2010 เวลา 19:20 น.
PostAuthorIcon Author: rungnapa

บทความทางพุทธศาสนา

ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาได้สรุปบทบาทวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนไว้น่าสนใจ แม้จะเป็นกิจกรรมที่หลายคนอาจมองว่า “ธรรมดา ๆ” แต่หากทำได้เชื่อว่ายอดเยี่ยมทีเดียว

การที่จะให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนเช่นในอดีต จำเป็นต้องพัฒนาวัดทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรม เพื่อประโยชน์แก่ชุมชน กิจกรรมของวัดในการให้บริการแก่ชุมชนด้านศาสนาและวัฒนธรรม เช่น

กิจกรรมด้านศาสนบริการ คือ การให้บริการภายในวัดซึ่งได้แก่ กิจกรรมในด้านการบำรุงรักษาวัด มีแบบแปลนแผนผัง รักษาความสะอาด ปลูกต้นไม้ร่มรื่น และมีบรรยากาศสงบจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดี เป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้เข้าวัด กิจกรรมด้านการปกครอง ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่อยู่ในวัด เช่น การทำวัตรสวดมนต์ การสมาทานศีล การฝึกอบรมต่างๆ กิจกรรมด้านให้การศึกษา หรือสนับสนุนผู้ที่อยู่ในวัดให้ได้รับการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม การปฏิบัติธรรม ตลอดจนถึงวิชาการเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความรู้ กิจกรรมด้านสาธารณบริการในวัด การจัดสถานที่ฝึกสมาธิวิปัสสนา ที่พักอาคันตุกะ เมรุ ที่เก็บพัสดุภัณฑ์ ศูนย์อบรมศีลธรรม หรือโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์

กิจกรรมด้านชุมชนบริการ การจัดให้มีธรรมศาลา เปิดบริการทุกวันพระและวันอาทิตย์ ให้ประชาชนได้ฟังธรรม ปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาให้คำปรึกษาแก่ผู้มีทุกข์ จัดอุปสมบทหรือบรรพชาสามเณรในภาคฤดูร้อนหรือเทศกาลเข้าพรรษา ตั้งศูนย์อบรมศีลธรรมและจริยธรรมแก่เยาวชนทั่วไป จัดฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

สำหรับกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในชนบท ได้แก่กิจกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาของชนบท ความยากจน ความเจ็บไข้ วัดช่วยได้โดยจัดกิจกรรมด้านการศึกษาส่งเสริมวิชาชีพการสนับสนุนตั้งสหกรณ์ต่างๆ จัดสาธารณสุขมูลฐาน อบรมจิตใจให้มีคุณธรรม ให้วัดเป็นแหล่งกระจายข่าวให้ความรู้ใหม่ๆ แก่ชุมชนและเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจ เป็นที่ปรึกษากิจกรรมต่างๆ

กิจกรรมของวัดจะเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ด้านการประสานงานกับหน่วยราชการ เพื่อการพัฒนาชุมชน ได้แก่ การให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเบื้องต้น ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งระหว่างชาวบ้านรอบๆวัด ให้คำปรึกษาและแนะนำ การทำงานของกลุ่มอาสาสมัครในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มแม่บ้าน จัดให้วัดเป็นสถานที่ประชุมและอบรมทางวิชาชีพ พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้ กิจกรรมด้านการจัดสวัสดิการ การควบคุมดูแลและรักษาศาสนสมบัติ ศาสนบุคคล ได้แก่ การจัดหาแหล่งน้ำดื่มใช้ในบริเวณวัด บริการให้สะอาดแก่ประชาชนผู้มาติดต่อหรือให้บริการต่างๆ ของวัด ให้มีการศึกษาอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางพระธรรมวินัย กิจกรรมด้านการอนุรักษ์และการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ จัดศาสนพิธีให้ประหยัดและเรียบง่าย ดูแลอนุรักษ์และเผยแพร่พุทธศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม ตลอดจนโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา จัดให้มีนิทรรศการขึ้นในวัดเท่าที่โอกาสจะอำนวย

กิจกรรมด้านการบริหาร กิจการจากพระศาสนาภายในวัด ได้แก่ การจัดทำแผนผังแยกอาคารเสนาสนะ สิ่งก่อสร้างภายในวัดเป็นเขต เช่น เขตพุทธาวาส สังฆาวาส และเขตสาธารณะสงเคราะห์ การประชุมพระภิกษุสามเณรในวัด เพื่อชี้แจงนโยบาย คำสั่ง ตลอดจนความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ของมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประจำ

กิจกรรมด้านศาสนศึกษาเพื่อประชาชน ได้แก่ การจัดหน่วยพุทธมามกะผู้เยาว์ขึ้นในวัด การเปิดสอนธรรมศึกษาแก่ประชาชนและเยาวชนผู้สนใจ กิจกรรมด้านสาธารณสงเคราะห์ ได้แก่ การร่วมมือกับหน่วยราชการในการจัดตั้งศูนย์สาธารณสุข สถานีอนามัย หรือสหกรณ์ยา เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาชนร่วมมือกับทางราชการในการแนะนำให้ประชาชนมีความรู้ทางโภชนาการ รักษาสุขภาพอนามัยการป้องกันรักษาโรค กิจกรรมด้านการเผยแพร่ศาสนธรรม ได้แก่ การจัดให้มีการเผยแพร่ธรรมะทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ จัดให้พระภิกษุและสามเณรออกเยี่ยมและเผยแผ่ธรรมะให้แก่ประชาชนตามหมู่บ้าน

การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนจำเป็นตัองอาศัยความร่วมมือทั้งทางคณะสงฆ์ รัฐบาล เรียกว่า ฝ่ายรัฐ ฝ่ายวัด และชุมชน หรือฝ่ายประชาชน ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการทำให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้ตามนโยบายรัฐบาลและคณะสงฆ์อย่างจริงจัง โดยเร็วๆ นี้จะเปิดตัวโครงการ ณ วัดทุ่งบ่อแป้น อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มุ่งสู่เป้าหมาย คือ ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

โดย ปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์/กองพุทธสารนิเทศ/สำนักงานพระพุทธศาสนแห่งชาติ

http://www1.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2336:2010-02-16-12-26-50

#เล่าสู่กันฟัง 63-023 object ใน moodle 1.9 (2008) กับ 3.8.1 (2020)

6 กุมภาพันธ์ 2563 ปลุก อภิธานศัพท์ (Glossary) ซึ่งเป็นโมดูลใน Moodle 1.9 (stable) บน Thaiall.com ที่ใช้ php 7.3 และ mysql 5.0 ได้สำเร็จ จึงเล่าสั้น ๆ ไว้ใน /blog ซึ่งปัญหาที่ใช้เวลางมงายอยู่พักหนึ่ง คือ script ของ Moodle 1.9 นั้น พัฒนาให้ใช้งานได้บน php5 แต่ใช้ไม่ได้บน php7 โดยเฉพาะพบการสร้าง class ชื่อ object ที่ extends คุณสมบัติของ stdclass มาใช้ พบในบรรทัดที่ 10 บนแฟ้ม lib/setuplib.php หากเปลี่ยนจาก object เป็น obj แต่ก็จะพบปัญหาใหม่อีกจำนวนมาก ที่มี code เรียกใช้คลาส object แต่ใน php 7.2 กำหนดให้ object เป็น reserved word ทำให้ทุกครั้งที่สั่ง new object จะ error เพราะ object ถือว่า deprecated ไปแล้ว ดังนั้น Moodle 1.9 จึงใช้งานบน php 7 ไม่ได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขเรื่อง object

วิธีแก้ไข เรื่อง object คือ สั่ง replace ในแฟ้ม .php ทั้งหมด แทนที่คำว่า “= new object” เป็น “= new stdclass” แต่มีปัญหาเล็กน้อยที่ต้องระวัง คือ = new Object() มีการใช้งานใน javascript ซึ่งมีรูปแบบเหมือนกับที่ใช้ใน Moodle 1.9 แต่ไม่มีคลาสชื่อ stdclass ใน Javascript จึงสลับกันไม่ได้บน Javascript ดังนั้น การแทนที่ Object ด้วย stdclass ก็จะทำให้ Javascript ไม่สามารถทำงานได้ แต่การแทนที่ new object ด้วย new stdclass จะทำให้ทำงานได้ทั้งบน Moodle 1.9 และรุ่นที่สูงกว่า เช่น รุ่น 3.8.1 (ก.พ.2563)
อีก 2 ปัญหาที่พบใน mod/glossary คือ มีการใช้ eregi_replace ที่ต้องใช้ preg_replace แทน เนื่องจาก deprecated ไปแล้ว และพบหลายฟังก์ชันมีการประกาศให้รับตัวแปร จำนวนตัวแปรไม่ตรงกับตอนเรียกใช้ฟังก์ชัน ทำให้เกิด Internal Server Error ก็ต้องตามแก้ไขให้ตอนส่ง และตอนรับตรงกัน

เล่าเรื่องนี้ใน
http://www.thaiall.com/php/php7.htm

#เล่าสู่กันฟัง 63-003 การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA

คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
APA Referencing Guide, 6th Edition
(APA=American Psychological Association)

โดย บุญฑา วิศวไพศาล
จาก http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf

ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่าง ๆ

  1. แบบหนังสือ
    จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
    สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
    สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
    หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
    Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
    American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author.
  2. แบบบทความในหนังสือ
    ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
    กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
  3. แบบวารสาร
    ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
    ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
    ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 – 120). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
    Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
    Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61.
  4. แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
    ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
    Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
    Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.
  5. แบบรายงานการวิจัย
    พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.
  6. แบบปริญญานิพนธ์
    ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
    Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
    วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
    พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
    Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
    Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html
  7. แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
    CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
    บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
    สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ําสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task=
  8. แบบหลายเล่มจบ
    พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
    Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge.
  9. แบบหนังสือแปล
    เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
    Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.

http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm

#เล่าสู่กันฟัง 62-290 การเพิ่ม sharethis ใน footer.php ของ wp

30 ธ.ค.62 พบว่า sharethis.com พัฒนาบริการให้สมบูรณ์ขึ้น ประกอบกับ 1 ส.ค.61 บริการ facebook ไม่บริการ api ให้ tweet ส่งโพสต์อัตโนมัติไป facebook ส่วน facebook เองก็สนับสนุนส่งโพสต์อัตโนมัติไปสื่อสังคมอื่นที่เป็นคู่แข่งก็อาจลดลงในอนาคต ยกเว้น instagram ที่มีเจ้าของเดียวกัน เพื่อเพิ่มบริการ share post ให้ wordpress จึงเข้าไปขอใช้บริการจาก sharethis.com เลือกปุ่มสำหรับ share page จำนวน 5 ปุ่ม (ตามชอบ) แล้วนำ code จากทั้ง 2 ส่วนไปวางใน footer.php ก่อนบรรทัดเรียก function wp_footer(); ของ wordpress ผ่าน menu, appearance, theme editor พบว่าเมื่อเปิดการแก้ไข theme editor มีการแจ้งเตือนว่า ถ้าแก้ไขโค้ดอาจทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงหายไปในอนาคต หากมีการอัพเดทรุ่น wordpress หรือเปลี่ยน theme ใหม่

ขั้นตอนการเพิ่ม sharethis.com เข้า footer.php ดังนี้

  1. เริ่มจากใช้บัญชี facebook หรือ google หรือ email เข้าระบบ
  2. สามารถเลือก inline share buttons
    เพื่อนำไปวางใน right menu ของ wordpress
  3. คัดลอก div จากหน้า inline share buttons
  4. คัดลอก script จากหน้า settings
  5. รวม code จากข้อ 3 และ 4 ไปวางใน webpage footer.php

Facebook API Changes Mean You Can No Longer Auto Post Tweets to Facebook