มองเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในแต่ละรุ่นย้อนหลัง 3 ปี

แต่ละรุ่นของเว็บไซต์ในหลายปีที่ผ่านมา15 ธ.ค.52 วันนี้ทราบจาก อ.ศักดา ดีคำป้อ ว่ารูปแบบของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยใหม่มีความชัดเจนแล้ว การเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งสิ่งที่ดีกว่า ทำให้ผมลองมองย้อนกลับไปในอดีตว่าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเคยมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง ก็พบว่า 3 – 4 ปีหลังมีรุ่นของเว็บไซต์ค่อนข้างหลากหลาย เพราะมีเว็บมาสเตอร์เปลี่ยนหลายรุ่น ทั้ง .พิมาย วงค์ทา คุณนุชจรีย์ นะนันวี และคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ เป็นคนปัจจุบัน
     มองอดีต ไม่ขอกล่าวถึงรุ่นก่อนประวัติศาสตร์ เพราะหาข้อมูลไม่พบแล้ว 1) มายุคแรกในสมัยของ อ.พิมาย วงค์ทา การออกแบบเว็บไซต์ค่อนข้างเน้นที่ความเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นแบบมาตรฐานคือ กว่า 800 * 600 แบ่ง 3 column เหมือนของ eduzones.com หรือ sanook.com ที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น block แต่มี comment เข้ามาบ่อย ทำให้เว็บไซต์ต้องเปลี่ยนรูปแบบหลายครั้ง ช่วงหนึ่งใช้แบบของเว็บไซต์แบบธุรกิจบัณฑิต 2) คุณนุชจรีย์ นะนันวี เข้ามาช่วงสั้น ๆ ในช่วงนี้เว็บไซต์ยังไม่ลงตัวนัก เพราะผู้ให้ข้อเสนอแนะมีจำนวนมาก และไม่มีใครได้สิทธ์ขาดในการตัดสินใจ แต่ก็ยังมีเสียงบ่นว่าไม่สวยเช่นเคย 3) คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ เริ่มใช้ action script เข้ามาควบคุมระบบเว็บเพจของคณะและหน่วยงาน แบบของเว็บไซต์ถูกดูแลโดยคณะกรรมการจัดทำสื่อและกำกับโดยท่านอธิการ มีการใช้ flash ประกอบเว็บไซต์มากขึ้น ทำให้การออกแบบมีเอกภาพมากที่สุดตั้งแต่เปิดมหาวิทยาลัยมา ส่วนเนื้อหาในเว็บของแต่ละคณะดูแลโดยเลขานุการคณะ ช่วงนี้ไม่ได้ยินเสียงคนในมหาวิทยาลัยบ่นเรื่องรูปแบบเว็บไซต์เท่าใดนัก และภาพกิจกรรมก็เปลี่ยนแปลงตลอดด้วยความทันสมัย ตั้งแต่เปลี่ยนท่านอธิการทีมพัฒนาเว็บไซต์ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงแบบเว็บไซต์เลย เพราะทางคณะกรรมการที่ดูแลเว็บไซต์ยังไม่ให้รูปแบบใหม่ที่สอดรับกับภาพลักษณ์องค์กรใหม่นั่นเอง

อยากเห็นผู้คนมีมารยามากกว่านี้

14 ธ.ค.52 ผมว่ามนุษย์เรามีมารยากันน้อยลง ทำอะไรไม่ค่อยได้คิดกัน ไม่ค่อยเกรงใจ ไม่ค่อยเสแสร้งเพื่อให้คนรอบข้างมีความสุข คนมีมารยาก็จะทำอะไรขัดกับความรู้สึกจริง ก็เพื่ออยู่ในกฎในกรอบที่สังคม องค์กร หรือกลุ่มได้ตั้งไว้ เช่น เกียจคนเจ้าชู้ก็ต้องยิ้มให้ จะฉี่ข้างถนนก็ไม่ได้ต้องหาห้องน้ำ เดินก็ต้องเดินให้สวยทำขากระเพกก็อายเขา จะแก้ผ้าเดินเพราะร้อนก็ไม่ได้ จะกินมูมมามก็เกรงสายตาคนรอบข้าง ไม่อยากฟังอาจารย์ก็ฝืนฟัง ไม่ชอบเสื้อเหลืองเสื้อแดงก็ต้องหุบปาก
     แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยมีมารยา เช่น ฟังวิทยากรพูดเรื่องแผนการสอนก็หยิบคอมพิวเตอร์มาเล่นเอ็ม นั่งประชุมอยู่ก็เล่นเกมหรืออ่านนิตยสาร อาจารย์สอนกลับนั่งยิ่มกับเครื่องคอม องค์กรให้เงินเดือนก็ทำตัวเนรคุณ จะเกษียณก็ใส่เกียร์ว่าง นักศึกษาแต่งโป๊ก็ไปด่า ไม่ชอบเจ้านายก็เขียนเมล์ตำหนิ น่าจะเป็นการดีที่เราใส่หน้ากากเข้าหากัน เมื่อก่อนเราเป็นสยามเมืองยิ้ม เจอใครไม่รู้จักยิ้มให้หมด ผมว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่นะครับ เจอคนแปลกหน้าก็ไปเรียกเขาลุง เจอเด็กสาวก็เรียกน้อง มีมารยาให้กันและกัน อะไรทำนองนี้ (สมัยนี้แค่แดงเห็นเหลืองก็ตาขวางเข้าใส่ แต่เห็นเป็นพระสงฆ์ก็ละสายตาลง) อยู่บนโลกนี้ชั่วคราว น่าจะปล่อยวาง แล้วหันมาทำให้ตัวเรา คนรอบข้าง และสังคมรอบตัวเรามีความสุข น่าจะคุ้มค่ากับชีวิตที่เหลือบนโลกใบนี้

กระท่อมปลายนาผ่านคูเหมือง หาคำนี้จาก google.com

13 ธ.ค.52 ปลายพฤศจิกายน52 พาเด็กนักศึกษาไป กระท่อมปลายนา ไปกันเป็นฝูง พบอุบัติเหตุตกหลุมโคลนตอนจบ เราไปคุยงานวิจัยท้องถิ่นที่กระท่อมปลายนา (ซึ่งตอนจบโครงการวิจัย ต้องทำเอกสารอีกชุดนอกเหนือจากส่ง สกว. เพื่อสอบกับ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา อีกมาตรฐานหนึ่ง) ตอนที่เดินอยู่ในคูเหมือง เห็นว่าน่าสนใจก็หยิบกล้องที่เคยให้นักศึกษาเขายืมไปทำงานเอามาถ่ายวีดีโอ แล้ว upload เข้า youtube.com ก็มีคุณภาพในระดับพอใช้ได้ แต่ไม่ถึงกับแข่งขันทำหนัง hollywood ระดับโลกได้ เพราะเครื่องบันทึกราคาไม่กี่พัน แต่ทำหนังแผ่นฉายดูที่บ้าน หรือในห้องเรียนก็เท่านั้น จะใช้ฉายในโรงภาพยนต์สามมิติคงไม่สะดวก ใครมีคลิ๊ปนำมา share กันได้นะครับ ของผมมีหลายสิบเรื่องในหลาย account ของ youtube.com
     ภาพยนต์ที่ได้ก็ใช้โปรแกรมตัดต่ออย่าง moviemaker หรือ premiere หรือ ulead หรือ proshow ช่วยปรับแต่ง ผมเคยสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ med รุ่นคุณยาย แบบไม่กี่ปีก็เกษียณ ตัดต่อหนังด้วย proshow เห็นใช้แล้วท่านก็ชอบใจกัน เพราะสมัยนี้ใคร ๆ ก็พอมีตังดาวน์กล้องรุ่นใหม่มาใช้ได้แล้ว ส่วนภาพยนต์เรื่องพาหัวใจไปสู่ฝัน ของมหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็น DVD คงไม่มีใครหยิบไปเปิด จึงแปลงเป็น vcd แล้วแบ่งครึ่ง upload เข้า youtube.com ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการใช้ประโยชน์จาก youtube.com เท่านั้น .. สรุปว่าเป็นเทคนิคสะท้อนคิด เรื่อง youtube.com จากสิ่งที่เคยพบเห็นมา
กระท่อมปลายนา

นิยามศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล

13 ธ.ค.52 ปีการศึกษานี้เริ่มการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งหลายท่านไม่ทราบนิยามศัพท์ของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทำ นิยามศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล โดยรับความอนุเคราะห์เรียบเรียงจาก อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเทลา  และเผยแพร่ให้ทุกคณะ และหน่วยงานได้รับทราบผ่านบันทึก งทส. ๔๑/๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้
     ๑. ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ การรวมและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน (Integration) โดยมีการจัดกลุ่มข้อมูลให้อยู่ในรูปตาราง (Grouping) ที่สามารถเชื่อมโยงตารางทั้งหมดเข้าหากัน(Sharing) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ (Non Redundancy) ไม่มีความขัดแย้งของข้อมูล (Inconsistency) และมีความคงสภาพของข้อมูล (Integrity)
     ๒. ข้อมูล (Data) คือ ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการ ปรับแต่งหรือประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
     ๓. สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความหมายและมีประโยชน์ตามความต้องการของผู้ใช้
     ๔. ระบบ (System) คือ สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่มีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    ๕. ระบบ (System) มีความหมายอธิบายในคู่มือของ สกอ. (พ.ค.52) หน้า 222
ระบบ (System) ประกอบด้วย 1)วัตถุประสงค์ (Objective) 2)ปัจจัยนำเข้า (Input) 3)กระบวนการ (Process) และ 4)ผลผลิต (Output) แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่าระบบ จะเน้นที่กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการอื่น ๆ
     ๖. ระบบและกลไก มีความหมายอธิบายในคู่มือของ สกอ. (พ.ค.52) หน้า 162
     ระบบและกลไก คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่าง ๆ เป็นกลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย

เรียบเรียงโดย อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากการประเมิน .. ออกแล้ว

วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก
วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก

13 ธ.ค.52 วันนี้ช่วงกลางวันมีภารกิจวิพากษ์แผนพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งวัน โดยมี อ.วิเชพ ใจบุญ เป็นผู้ดำเนินการ และมี อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ เมื่อกลับบ้านก็หายจากอาการทอนซิลอักเสบพอดี จึงนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน ที่เกิดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคม 2552 ที่มาจากผู้ประเมินภายในของแต่ละคณะ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินตนเอง และผลการประเมินของผู้ประเมิน ระหว่างปีการศึกษา 2550 และ 2551 ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนสูงเกินกว่าที่คาดไว้มาก ทำใจเขียนส่วนอภิปรายผล หรือสรุปผลต่อไม่ได้ และคิดว่าคืนนี้ผมคงมีเรื่องอะไรให้นอนคิดมากมายกว่าทุกวัน
     ตารางที่ 1 จำแนกตามจำนวนคะแนนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนจากผลต่างการประเมินตนเองและของผู้ประเมินในปีการศึกษา 2551 พบว่า ผลรวมจำนวนตัวบ่งชี้จากทุกคณะ ที่ผลประเมินตนเองตรงกับผลของผู้ประเมินมีเพียง 58.55% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 1 คะแนนมี 22.22% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 2 คะแนนมี 14.96% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 3 คะแนนมี 4.27% ซึ่งผลในตารางที่ 1 ไม่เห็นอะไรที่ชัดเจนนัก นอกจากตกใจที่เห็นผลประเมินเกือบครึ่งหนึ่งมีความคลาดเคลื่อน และพบว่าคณะของผมมีจำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ 20 ตัวบ่งชี้ แต่คณะบริหารคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ 10 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 2 จำแนกตามจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า ไม่มีคณะใดเลยที่มีความคลาดเคลื่อนลดลงจากปี 2550 ทั้งที่ได้มีการนำเสนอรายงานความคลาดเคลื่อนไปใน การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 22 /2552 วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2552 วาระ 4.3 โดยมีตัวแทนนักวิจัยร่วมประชุมครั้งนี้ 4 ท่านได้แก่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.คนึงสุข นันทชมภู โดย อ.วันชาติ นภาศรี เป็นตัวแทนทีมวิจัยจัดทำข้อเสนอแนะไว้ในรายงานจำนวน 3 ข้อ คือ 1)เร่งพัฒนาศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน การบริการวิชาการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการวิจัย 2)กำหนดนิยามปฏิบัติการในรายตัวบ่งชี้ที่ยังมีความสับสน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3)จัดทำคำอธิบายว่าตัวบ่งชี้ใดใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกคน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลับมาหาสิ่งที่พบในตารางที่ 2 คือ คณะของผมติดอันดับหนึ่งในการที่มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 15 ตัวบ่งชี้ ส่วนคณะที่จำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดมีคณะบริหารกับคณะสังคม คือ 1 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 3 จำแนกตามคะแนนที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า คณะของผมยังเป็นเบอร์ 1 คือ คะแนนคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นอีก 22 คะแนน โดยคณะสังคมคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ 3 คะแนน รองลงมาคือคณะบริหาร 5 คะแนน ทั้ง 3 ตารางนี้ได้เปรียบเทียบในระดับคณะ ยังไม่เปรียบเทียบในระดับตัวบ่งชี้ ว่าองค์ประกอบใด หรือตัวบ่งชี้ใด มีความผิดปกติบ้าง แต่เท่าที่คาดการณ์ก็เชื่อได้ว่าความคลาดเคลื่อนกระจายอยู่ในทุกตัวบ่งชี้อย่างแน่นอน แต่จะมีตัวใดสูงเป็นพิเศษคงต้องใช้เวลาทำ pivot table อีกครั้ง
     จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ผมมีแผนส่งข้อมูลดิบให้แต่ละคณะและทีมวิจัยได้ตรวจสอบ ก่อนดำเนินการเขียนรายงานสรุปผล และอภิปรายผลรายงานการวิจัยต่อไป ซึ่งส่วนของการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนเป็นเพียงผลการวิจัยที่เพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์หลัก แต่นี่คืองานวิจัยสถาบันที่พบว่าระหว่างการวิจัยได้พบประเด็นที่จะเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยได้ และสนับสนุนให้การดำเนินงานวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการค้นหาเป็นหลัก คือความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนและความพึงพอใจสอดคล้องกัน คือ ระดับความพึงพอใจเป็นไปในทางเดียวกับความคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลย และจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปไม่ได้
+ http://www.yonok.ac.th/sar/nsar51.php

แก้ไขปัญหาภาพ convert enlarge to thumb ได้สำเร็จ

ภาพขนาด full size
ภาพขนาด full size

11 ธ.ค.52 เมื่อวานนี้ได้ถ่ายภาพในบริเวณมหาวิทยาลัยโยนกมามากกว่า 20 ภาพ กำหนดขนาดในกล้องเป็น 6M-S มี resolution 2816px * 2112px แต่ละภาพขนาดประมาณ 1.5MB แล้วก็ใช้โปรแกรม openphotodir.php ที่เคยพัฒนาไว้ระบบ photo directory มา upgrade จนสามารถอ่านภาพขนาดใหญ่มาลดขนาด เพื่อแสดงเป็น thumbnail อย่างอัตโนมัติ ผลการทดสอบกับ thaiabc.com local server ไม่พบปัญหา แต่ upload ทั้งภาพและ script ไปในเครื่องบริการของ hypermart.net พบว่าไม่ได้ เพราะ script ไปตายกับฟังก์ชัน  imagecreatefromjpeg()
     มาวันนี้พยายามทดสอบใหม่ พบว่า 1)ลดขนาดจาก 2816px * 2112px เหลือ 1408px * 1056px ทำให้ระบบแสดง thumbnail ทำงานได้ 2)ฝังฟังก์ชัน ini_set(‘memory_limit’, ’80M’); เข้าไปใน php script ทำให้สามารถทำงานกับแฟ้มภาพขนาดใหญ่ได้ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ยากถ้ารู้มาก่อน 3)การเปิดภาพขนาดใหญ่ให้ใครต่อใครเข้าถึงแฟ้มได้ง่ายแบบนี้ ดูไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก จึงเพิ่มการตรวจสอบการพิมพ์ข้อความเข้าไป หากมีการคลิ๊กเลือกภาพ เพื่อต้องการภาพจริง เป็นการกรอง robot ออกจากมนุษย์ด้วย easy captcha
     ซึ่งวิธีนี้ ทำให้เพื่อนอาจารย์ของผมสามารถมีระบบ photo gallery ที่ใช้งานได้สะดวกมาก เพียง upload ภาพเข้าไปด้วยระบบแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ (managefile.php) ก็จะพบภาพที่ถูกจัดระเบียบในทันที โดยไม่ต้องปรับแต่งภาพด้วยโปรแกรมใดมาก่อน เห็นภาพได้อย่างรวดเร็วอย่างมือสมัครเล่น
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9130

อบรมการเขียนแผนการสอนในวันรัฐธรรมนูญ

อาจารย์ดูมีความสุข .. ทำให้บรรยากาศดี
อาจารย์ดูมีความสุข .. ทำให้บรรยากาศดี

10 ธ.ค.52 วันนี้ที่มหาวิทยาลัยจัดอบรมการเขียนแผนการสอน สอดรับกับมาตรฐาน TQF ที่ทุกมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น ท่านวิทยากรคือ ผศ.สุนทรี คนเที่ยง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายด้วยเนื้อหาก็เข้มข้น แฝงไว้ด้วยความเป็นกันเอง  เพราะท่านมีอารมณ์ขันในที สำหรับประเด็นที่บรรยายมีการแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็มีประเด็นมากมายให้ชวนคิด ทั้งการใช้เทคโนโลยี กลวิธีในการจัดการเรียนการสอน คุณธรรมของนักเรียน และครูที่ต้องไปด้วยกัน ช่วงท้ายได้เปิดให้อาจารย์ทุกคนได้เขียนแผนการสอนในแบบฟอร์มที่เตรียมมากันคนละ 1 หน่วย แล้วกล่าวปิดการอบรมโดย รองอธิการทั้งสองท่าน ที่น่าสนใจคือผมสังเกตว่าวิทยากรกล่าวทักทาย อ.แดน กุลรูป และผู้เข้าอบรมอีกหลายท่านที่ใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในระหว่างการอบรม คงเป็นเพราะท่านก็สนใจเรื่องคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ จากนั้นก็มีเพื่อนสมาชิกขอ add ท่านเป็นเพื่อนใน facebook.com รู้สึกว่ามีการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทำให้ไม่รู้สึกห่างเหิน หรือตึงเครียดระหว่างการอบรม .. ก็ขอเขียนสะท้อนคิดวันนี้เท่านี้ (A Reflection A Day)

เห็นว่าภรรยาต้องขอคนนอกออกแบบส.ค.ส. จึงยกร่างให้3ใบ

9 ธ.ค.52 ผมไม่ได้ทำ graphic มานานมากแล้วเรียกได้ว่าหลายปีดีดัก มาวันนี้ภรรยาไปไหว้วานใครก็ไม่ทราบ เป็นคนนอกองค์กรที่ไม่เข้าใจบริบทของมหาวิทยาลัย ให้เขามาช่วยออกแบบ ส.ค.ส. ซึ่งภรรยาก็ไม่มีภาพคุณภาพสูงให้เขาใช้ในการออกแบบ คนในองค์กรเป็น designer ชั้นครูก็หลายท่าน สรุปว่าต้องลงแรงช่วยยกร่าง ส.ค.ส.จากภาพแบบ low resolution ที่มีอยู่ ถ้าพรุ่งนี้มีโอกาสก็จะไปเดินเก็บภาพมาไว้แต่งเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม
     เมื่อตรวจสอบขนาดส.ค.ส.ที่เขาใช้กันทั่วไป พบว่าใช้ขนาดกว้างยาว 5″ * 7″ หรือ 420px*600px ถ้าพับครึ่งก็จะได้ 5″ * 3.5″ แล้วผมก็เลือกใช้โปรแกรม Ms Paint เพราะดูว่างานตัดต่อภาพแค่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ Photoshop ก็น่าจะทำให้ลุล่วงไปได้ โดยมีทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้
     1)แนวคิดของภาพ คือ อ่างน้ำที่ดูเรียบง่ายด้วยสีพื้นเทา กำกับด้วยคำว่า ปีแห่งคุณภาพ 2553 และใช้ภาษาอังกฤษว่า merry christmas and a happy new year สำหรับภาพแรกกำหนด attibute เป็น 500 * 700 pixels เก็บเป็น .bmp พอทำเสร็จจึงนึกได้ว่าขนาดแค่นี้นำไปทำ ส.ค.ส.จริงไม่ได้แน่
แบบที่ 1
แบบที่ 1

 
     2)แนวคิดของภาพ คือ บูรณาการประเด็นกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การออกไปมีส่วนร่วมกับภายนอก และทัศนียภาพเขียวขจีในมหาวิทยาลัย เป็นภาพขนาด 1000 * 1400 pixels ที่น่าจะนำไปทำอะไรต่อได้

แบบที่ 2
แบบที่ 2

     3)แนวคิดของภาพ คือ ใช้เทคนิคของลายเส้นที่ได้จากอาคาร เป็นแนวคิด creative view โดยนำเสนอด้วยมุมมองแปลกตาเป็นตัวนำ

แบบที่ 3
แบบที่ 3

      อันที่จริงผมคิดว่า ส.ค.ส.น่าจะมีปฏิทินไว้ด้านหนึ่ง แต่อีกใจก็รู้ว่า ส.ค.ส.ส่วนใหญ่ไม่มีปฏิทิน เมื่อผู้รับได้รับแล้วก็จะเก็บไว้อย่างดี ไม่นิยมนำส.ค.ส.มาตั้งแสดงไว้บนโต๊ะทำงาน และที่สำคัญปีนี้ผมก็ยังไม่ได้ทำ cgraphic calendar  เหมือนทุกปี จึงไม่มีภาพมา attach เข้ากับส.ค.ส.ข้างต้น
+ http://www.thaiall.com/calendar

พัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านไอที 30 ชั่วโมง

bundit_development
9 ธ.ค.52
อาจารย์วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยโยนก เปิดเผยว่า ได้จัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยโยนก มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน ให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาที่กำลังจะออกไปทำงานในสังคม ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2552 ถึง 22 มกราคม 2552 เวลา 18.00น. – 20.00น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 อาคารบริหารธุรกิจ โดยรุ่นที่ 1 มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมมากกว่า 25 คน
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/bundit_development_enlarge.jpg

ยกร่าง การอภิปรายผล รายงานวิจัย sar51

sar518 ธ.ค.52 ยกร่าง การอภิปรายผล ซึ่งยังขาดผลประเมินคณะ ปีการศึกษา 2551 เพื่อใช้วิเคราะห์ความเบี่ยงเบนเปรียบเทียบปี 50 และ 51 ในขั้นตอนที่เหลือ และยังไม่เสนอให้ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ อ.อาภาพร ยกโต อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.สุรพงษ์  วงค์เหลือง นางเจนจิรา เชิงดี และ นางสาวเพชรี  สุวรรณเลิศ
     จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปายผล ดังนี้ 1) ผลสำรวจความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมตั้งแต่ครั้งแรกไปถึงครั้งที่สี่มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ลดเพียงเล็กน้อยสำหรับครั้งที่สี่ คือ 3.86, 3.93 4.18 และ 4.10 โดยทั้ง 4 ครั้งมีระดับความพึงพอใจเท่ากันคือระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นตัวแทนจากคณะวิชามีความพึงพอใจ ยอมรับ และเข้าใจการใช้งานระบบนี้ 2) หน่วยงานระดับคณะวิชายังใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองเพียง 80% และมีคณะที่ส่งมอบรหัสผ่านให้กับผู้ประเมินเพียง 60% แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าทั้งระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง และกลไกที่สนับสนุนให้คณะวิชาใช้งานระบบยังต้องมีการปรับปรุง 3) ผู้ประเมินได้ใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองทุกคน แต่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24 , S.D = 1.11) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหน่วยงานระดับคณะวิชาส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองยังไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ประเมินเข้าตรวจสอบหลักฐานเอกสารผ่านระบบออนไลน์แล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว จึงทำให้ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
     ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ 1) ผู้บริหาร และสำนักประกันคุณภาพควรผลักดันให้หน่วยงานระดับคณะวิชาใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และมีกลไกในการกำกับดูแลการใช้งานระบบดังกล่าวที่ชัดเจน 2) การใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรเปิดให้อาจารย์ได้เข้าไปใช้งาน และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับคณะวิชา แล้วรวมเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัยในที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกลไกการประกันคุณภาพแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
     ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ 1) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยควรรองรับการใช้งานตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเชื่อมโยงแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ทั้งกับระบบฐานข้อมูลภายใน และภายนอก 2) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรมีฟังก์ชันเผยแพร่รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินแล้ว สู่สาธารณชนผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/sar