15 ต.ค.52 วันนี้ได้ร่วมเวที “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด เครือข่ายสถาบันการศึกษากับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ณ ห้องประชุมบัวตอง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มีผมกับอ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุน ร่วมเสวนาจากทั้งหมด 16 คนบนเวที โดยผู้ร่วมเวทีมีเป้าหมายมาจากมหาวิทยาลัยที่มีรับทุนในลำปาง 4 สถาบันเป็นหลัก ได้แก่ 1)มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 2)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 3)มหาวิทยาลัยโยนก 4)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร โดยแบ่งกลุ่มการเสวนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)การเรียนรู้ตลอดชีวิต/การศึกษานอกระบบ 2)การศึกษาระดับประถม/มัธยมศึกษา 3)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbr-cbpus 4)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbmag
เวทีนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1)เพื่อนำเสนอความเชื่อมโยงขององค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ถูกนำไปใช้ในด้านการศึกษาและรูปธรรมที่เกิดขึ้น 2)เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกับเครือข่ายการศึกษาในอนาคต
กิจกรรมภาคเช้า คุณภัทรา มาน้อย ชวนนักวิจัย 16 คนบนเวทีได้เล่าถึงกลไก บทเรียนและการนำไปใช้ในด้านการศึกษา แล้วผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่านออกมาให้ข้อเสนอแนะถึงการพัฒนาชุมชนในยุทธศาสตร์การศึกษาท่านสุดท้ายคือ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ พักกลางวันพบว่ามีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมดกว่า 6 ท่าน และนักศึกษาคณะวิทย์ที่รับทุน cbpus คือ กร กับปราง ภาคบ่าย คุณกฤษฎา เขียวสนุก(บอย-ศิษย์เก่า) เล่าภาพความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในเวทีช่วงเช้า ต่อจากนั้นก็มีการเปิดเวที โดยอาจารย์จากโยนกหลายท่านเข้าร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งนำโดย อ.ศิรดา ชัยบุตร และอ.วิเชพ ใจบุญ ประเด็นเสวนาที่ชัด คือ 1)มหาวิทยาลัยลำปาง 2)co-fund, co-working 3)training 4)วารสารวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่แนวว่าจะได้รับงบจากคลังสมอง 5)โค้ช coach ตีพิมพ์งานวิจัยระดับชาติ
Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
เตรียมอบรมอีเลินนิ่งด้วยมูเดิ้ล
15 ต.ค.52 เตรียมสอนมูเดิ้ล (moodle) ทำให้พบข้อผิดพลาดในเว็บสอนมูเดิ้ลเดิมหลายจุด และขาดรายละเอียดสำคัญที่จะใช้บรรยายในวันที่ 19 ต.ค.52 ร่วมกับ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น ส่วนหนึ่งที่ปรับปรุงคือเพิ่มภาพถ่ายของวิทยากรคู่ที่จะร่วมนำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง วัตถุประสงค์ของการอบรมอีเลินนิ่งครั้งนี้ คือ 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) และสามารถประยุกต์ใช้ ในระบบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างและนำเสนอบทเรียนสำหรับ E-learning ด้วยตนเองและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในระบบบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 3) เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
กิจกรรมการอบรมอีเลินนิ่ง 1 วัน ประกอบด้วย 1)บรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง 2)สมัครเข้าเป็นสมาชิกของระบบ 3)ฝึกใช้งานระบบในบทบาทนักเรียน 4)ฝึกนำเอกสารเข้าสู่ระบบในฐานะครู ทำกิจกรรม และการประเมินการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 5)สร้างเครือข่ายครูผู้พัฒนาอีเลินนิ่งมหาวิทยาลัยโยนก 6)เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ระดับมหาวิทยาลัย
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
+ http://class.yonok.ac.th
ร่าง นโยบายด้านระบบฐานข้อมูล
14 ต.ค.52 ประชุมทำความเข้าใจ การประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ. ได้รับมอบหมายจาก ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ อธิการบดีและวิทยากร ให้เขียนสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกร่างนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล จึงสืบค้นข้อมูลจากหลายองค์กร และอ้างอิงจากคู่มือประกันคุณภาพ เป็นแนวในการเขียน แต่ก็ยังต้องตรวจสอบร่วมกับทีมงานคือ คุณอนุชิต คุณธรณินทร์ และคุณอรรถชัย ว่าที่ยกร่างมานี้จะผ่านความเห็นชอบร่วมกันหรือไม่ โดยมีข้อความดังนี้
มหาวิทยาลัยโยนกมีนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล คือ ให้บริการสารสนเทศแก่บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และให้บริการสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการวิจัย ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้งานสารสนเทศที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งกำหนดให้มีระบบฐานข้อมูล ดังนี้
1. ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (4.1.2)
2. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร (7.5)
3. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียนการสอน (7.5)
4. ระบบฐานข้อมูลทางการเงิน (8.1.3)
5. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากร (8.2)
6. ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพ (9.1.6)
แหล่งอ้างอิง
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/center_policy.doc
+ http://www.tisi.go.th/thai/qms_policy.html
+ http://www.unionpioneer.co.th/code/profile_t3.html
+ http://www.chaiyaboon.com/TH/Tservice.html
+ http://www.human.nu.ac.th/nweb/about/plan.php
+ http://www.bjclogistics.co.th/th/company_quality.php
+ http://sot.swu.ac.th/CP342/Lesson12/cs1t1.htm
+ http://www.yonok.ac.th/sar/
อุบายลวงจิตลดโทษะต่ออัตตาในมนุษย์
12 ต.ค.52 เพื่อนในองค์กรหนึ่งโทรมาระบาย เรื่องความมีอัตตาในตัวมนุษย์ เขารู้สึกไม่สบายใจเมื่อถูกมนุษย์ด้วยกันแสดงตนว่าเหนือกว่า ด้วยการยกตนข่มท่าน แสดงตนว่าเหนือกว่าด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือบุญคุณ เหมือนคนไทยที่ยึดมั่นถือมั่นในอำนาจ ความรู้ วัยวุฒิและศักดิ์ศรี ผมก็เลยอาศัยคำพระว่า “คนทุกคนเกิดมา ไม่ได้พกอะไรมา ตอนไปก็ไม่พกอะไรไป แต่ตอนอยู่ กลับทำตัวว่ามีอะไรซะมากมาย” และ “มนุษย์ยังมีกิเลสยังไม่รู้จักพอเพียง” อีกคำที่พระหลายรูปท่านชอบเปรียบเปรยว่ามนุษย์ไม่ใช่สัตว์ประเสริฐเสมอไป ฟังพระท่านด่าว่าเป็นสัตว์เดรัชฉานอยู่บ่อยครั้ง เช่น “อย่ากินเหล้าแล้วเมาเหมือนหมา อย่าดีแต่เห่า สีซอให้ควายฟัง” ผมก็ชักคล้อยตาม เหมือนดูละครทีวีบ่อย ๆ ก็มักจินตนาการไปว่าตนเองเป็นพระเอกอยู่ร่ำไป แต่นี่พระท่านสอนโดยเปรียบเปรย ว่าผมเป็นสัตว์เดรัชฉานแล้วนี่ผมก็ต้องจินตนาการไปตามนั้นแล้วสิ
กลับมาพูดถึง การให้คติเตือนใจเพื่อนคนนั้นว่า มนุษย์เราเกิดมามักอยู่ไม่ถึง 100 ปี เกิดมาต้องตายกันทุกคน ยับยั้งกิเลสในตน ทำจิตให้สงบ ลดอัตตา ลดศักดิ์ศรี ต้องรู้จักให้อภัย แล้วนึกซะว่า “คนที่มีอัตตาก็เป็นเพียงสัตว์เดรัชฉาน เป็นเพียงหมาตัวหนึ่งเห่าบ๊อกบ็อกน่ารักจะตาย” เราก็จะสบายใจแล้วให้อภัยเขา หรือไม่ก็นึกซะว่า “เขาคือปลาตัวมื้อเย็นนี้จะกลับไปทุกหัวแล้วทอดเป็นอาหารเย็น จิตที่หมกมุ่นกับความหม่นหมองก็น่าจะปลอดโปร่งขึ้นได้” เพราะถ้าไม่อภัยแล้วไปทำร้ายเขาด้วยบันดาลโทสะ ก็อาจติดคุกติดตาราง .. ไม่คุ้มกับความเป็นผู้มีบุญได้เกิดมาเป็นสัตว์ผู้ประเสริฐครั้งหนึ่งบนโลกนี้ .. ก็หวังแต่ว่าเพื่อนทางโทรศัพท์ผู้นั้นจะเข้าใจ
.. ลอกมาจากที่ไหนก็จำไม่ได้แล้ว ขออภัยที่ไม่ได้เขียนแหล่งอ้างอิงไว้
เปิดโครงการวิจัยนักศึกษาที่บ้านไหล่หินในพื้นที่ครั้งแรก
2 – 4 ต.ค.52 นายกร กับน.ส.มะปราง พร้อมเพื่อนคือนายอั๋น และนายบอย เข้าเปิดตัวโครงการวิจัยที่รับทุน CBPUS เวลา 20.00น – 23.00น. ของศุกร์ที่ 2 ในเวทีนี้ที่มีโครงการวิจัยเชื่อมโยงกัน 3 โครงการ ซึ่งคืนแรกนอนกันที่วัดโดยพระครูดูแลพาสวดมนต์ค่ำ คืนนั้นก็พอถูไถไปได้อยู่ แต่คืนที่สอง ต้องไปนอนบ้านอ.เก๋ แล้วกรบอกว่ากลัวผีเข้าวัดได้ เนื่องจากดูภาพยนต์เรื่องทางห้าแพร่งมาก่อน อ.เก๋ ถึงกับอ้าปากค้าง (เล่าขวัญลูกศิษย์) ตะลึงว่าสมัยนี้ยังมีภาพยนต์หลอกเด็กจนเด็กเชื่อแบบนี้อยู่อีกหรือ ก็เป็นการเข้าพื้นที่ครั้งแรก ต้องใช้น้ำเย็นเข้าลูบกันก่อน ครั้งต่อไปก่อนปิดโครงการจะเกลี้ยกล่อมให้นอนวัดให้ได้ ไม่งั้นเสียชาติเกิดเป็นคนไอทีหมด วันรุ่งขึ้นและวันถัดไปเข้าสัมภาษณ์และบันทึกวีดีโอจากนักวิจัยชุมชนกว่า 10 ท่าน ได้พบผู้นำ นักเรียน และครูใหญ่ มีเรื่องเล่ากันมากมาย แต่ที่แน่ ๆ คือนอนตื่น 10 โมงเช้า เพราะอ.เก๋ ชวนเคลียร์ประเด็นเกือบตีสามทั้ง 2 คืน และคุยกันอีกยาวหลายต่อหลายรอบ
ประเด็นการประชุมมี 3 โครงการ คือ สรุปปิดโครงการของผม มี 11 วาระดังนี้ 1)นำเสนอบทสรุปของโครงการด้วยกิจกรรมชวนทุกคนร่วมทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการขยายผลทั้งองค์ความรู้ผ่านสื่อวีดีทัศน์ในรูปของโครงการวิจัยต่อยอด และความร่วมมือกับกลุ่มในชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชน โดยกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นคือการชวนทีมวิจัยเล่าเรื่องซึ่งมีประเด็นหลักดังนี้ 1)การเริ่มต้นของโครงการ 2)การได้มาของประเด็นปัญหา 3)นำเสนอปัญหาในฐานะแม่บ้าน 4)การรวมตัวของทีมต่างบทบาท 5)อุปสรรคในระยะแรก 6)การเข้ามาของเครื่องมือช่วยคลายปมปัญหา 7)ส่วนร่วมของนักเรียน 8)ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่สัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน 9)พลังของทีมวิจัยร่วม 10)ผลของการศึกษาดูงาน 11)ความประทับใจของนักวิจัย 2)นายกร ศิริพันธุ์ และน.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม ในนามนักศึกษาทุนวิจัย CBPUS นำเสนอโครงการวิจัย “แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” เพื่อต่อยอดขยายผลโครงการนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเด็นข้อตกลงในการจัดการงานศพในบ้านไหล่หิน 2)เพื่อจัดทำสื่อวีดีโอเผยแพร่ประเด็นข้อตกลง และกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นตามโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน 3)พระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ อิสฺสรธมฺโม ในนามประธานชมรมธรรมะสว่างใจ นำเสนอ “โครงการขยายแนวร่วม ร่วมสร้างหมู่บ้านพอเพียง เพื่อรากฐานสุขภาพที่ยั่งยืน บ้านไหล่หิน จ.ลำปาง” ที่ต้องอาศัยการรวมกลุ่มของทีมวิจัยที่เข้มแข็งมาเป็นกลไกขับเคลื่อนอีกแรกหนึ่ง แล้วอธิบายวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1)เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านไหล่หินมีคุณธรรมสามารถ ลด ละ เลิกสิ่งเสพติด และอบายมุข 2)เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านไหล่หินได้พัฒนาไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” 3)เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านไหล่หินมีครอบครัวอบอุ่น มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
ก่อนกลับนักศึกษาได้ไปลาพระครู ท่านก็ให้พร และชวนไปทำวีดีโอโครงการของท่าน ซึ่งจะมีเครือข่ายสานสัมพันธ์กับผู้นำทั้งในและนอกพื้นที่ สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะเหล่าศิษย์ที่ท่านจะชวนไปรู้จักและไปเป็นเครือข่าย .. ผมยังนึกในใจว่าอยากกลับเป็นเด็กอีกครั้งจะได้มีโอกาสวิ่งเข้ามาชนแบบนี้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องลุ่นว่าศิษย์ของผมเห็นโอกาสเหล่านั้นอยู่ในทางเลือกของพวกเขาหรือไม่ ดังคำว่าตบมือข้างเดียวไม่ดัง .. คืนวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552 ลูกศิษย์หลายคนจะไปเดินจงกลมรอบเจดีย์วัดไหล่หินลุ่ม และปีนดอยฮางศึกษาธรรมชาติ ศิษย์โยนกท่านใดสนใจติดต่อผมได้ แต่มีเงื่อนไขไม่รับคนกลัวผี
น.ศ.เข้าเรียนรู้กิจกรรมงานศพในชุมชน
10-11 ต.ค.52 นักศึกษาโครงการ PDG52N0013 คือ นายกร ศิริพันธุ์ และน.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม เข้าพื้นที่บ้านไหล่หินครั้งที่ 2 เพื่อ 1)สัมภาษณ์ อ.สุวรรณ เกษณา อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และพระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ เพิ่มเติมจากการเข้าพื ้นที่ครั้งแรก 2)เรียนรู้กระบวนการจัดการงานศพ 2 งานด้วยการเดินสำรวจ เก็บภาพ และร่วมกิจกรรมจูงศพในวันดา และวันเผา เพราะมีงานศพที่เผาวันเสาร์ และวันอาทิตย์วันละศพ โดยทั้ง 2 งานมีลักษณะแตกต่างกันเกี่ยวกับบทบาทของเจ้าภาพในชุมชน และมีประเด็นที่ทำให้ต้องพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะวิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยช่วงเวลาที่ให้ความสำคัญคือช่วงเวลาของมนุษย์ยุคปัจจุบัน 3)พานักศึกษาไปเรียนรู้วัฒนธรรมบนดอยฮาง เพราะประเมินสมรรถภาพแล้วน่าจะไหว เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ และความงดงามของศาสนา ได้พบกับถ้ำกลางดอย และสักการะเจดีย์ดอยฮางที่ยอดดอย
แม้ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่พักในพื้นที่วิจัย แต่น.ศ.ก็ยังไม่สามารถค้างคืนที่วัดด้วยความสมัครใจ คาดว่าครั้งที่ 3 จะปรับตัวกันได้ มีแผนย้ายจากการพักบ้านอ.บุรินทร์ เป็นพักที่วัด การเข้าพื้นที่ครั้งต่อไปนอกจากจะเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมเสริมการยกร่าง story board แล้ว ยังกำหนดให้นักศึกษาตัดต่อวีดีโอลง VCD ชุดแรกให้เสร็จโดยใช้ข้อมูลวีดีโอของคนในชุมชนที่บันทึกไปนับสิบท่าน และเข้ามาทำความคุ้นเคยกับชุมชนด้วยการร่วมกิจกรรมกับวัดไหล่หินลุ่ม คือ เดินเวียนเทียนในวันศีล เพราะต่อไปต้องร่วมโครงการวิจัยกับพระครูฯ ซึ่งเป็นผลจากการทำงานครั้งนี้ที่มีเครือข่ายร่วมกับชุมชน
อบรมการเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ
6 ต.ค.52 เข้าอบรมการเขียนงานวิจัยภาษาอังกฤษ จัดโดยคณะสังคมฯ ซึ่งวิทยากรรับเชิญเป็นกลุ่มอาจารย์สอนปริญญาโทจากมหาวิทยลัยพายัพ แม้วันนี้เป็นวันที่สอง ก็มีคนแน่นห้องเหมือนเดิม บุคลากรภายใน 29 คน บุคคลภายนอกอีกพอกัน เนื้อหาบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านมีดังนี้ 1)Sudha Subramanian เปิดด้วยการชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัย อาจารย์หลายท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งของโยนก และอาจารย์จากบุรีรัมย์ ฟังแล้วทึ่งในประสบการณ์ของหลายท่าน สำหรับหัวข้อประกอบด้วย Where do i start? และ How do i start? และ Three P’s : Probe ค้นหา, Passion ความชอบ , Persistence ความเพียร 2)Philip Keay, M.A., Dip,ELT สอนเขียนบทความแบบ Free writing โดยหัวข้อใหญ่คือ The process of writing มี 5 ขั้นตอนคือ 2.1)generating idea 2.2)planning 2.3)writing 2.4)revising 2.5) editing 3)Pearl Wattanakul, Ph.D. Department Head ท่านดู Active มาก สอนเรื่องการเขียนงานวิจัย ซึ่งมี Powerpoint นำเสนอวิธีการ 37 slides สำหรับหัวข้อที่สำคัญ อาทิ Process of Research, Research Proposal Structure, Classification of Research by Purpose, Classification of Research by Method 4)David Richards, M.Phil. เป็นท่านสุดท้าย แต่ผมติดภารกิจ จึงไม่อาจนำรายละเอียดมาเล่าให้ฟังได้ เสียดายมากครับ
สำหรับการเรียนกับ Philip Keay ท่านให้ทำงานเขียนบทความแบบ free writing ในห้องอบรม แล้ว อ.นาดีน ช่วย prove เรื่อง gramma ซึ่งมีผลงานดังนี้
Nowadays, globalization is the life style of everybody. It is a new generation of life. Digital computer can use data in type of 0 and 1 and it can be applied to images, sounds, animation and movies. We have tried to make artificial intelligence which looks like humans. All computers go into one network among wire and wireless technology. Everybody has an email account on the internet and communicate on social networking sites. If i mention the twitter website, it would represent individuals of today.
+ http://www.thaiall.com/ppt/research_proposal_drpearl.ppt
+ http://www.facebook.com/family/Subramanian
+ http://tesol.payap.org/Faculty.html
แก้ postfix ให้รับอีเมลยืนยันจาก thailis
1 ต.ค.52 อ.อัศนีย์ ณ น่าน ประสานโครงการ Thailis แล้วสมัครสมาชิกเป็นผู้ใช้ เพื่อสืบค้น fullpaper research ฉบับเต็ม เพราะการดำเนินการเป็นผู้ให้บริการข้อมูลจำเป็นต้องมีขั้นตอน และใช้เวลา จากนั้นคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ สมัครเป็นผู้ใช้ด้วย e-mail gmail.com ก็ได้รับอีเมลยืนยันการสมัคร และสืบค้นได้ตามปกติ แต่คุณอนุชิต ยอดใจยา และผมสมัครด้วย e-mail ของมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้รับอีเมลยืนยันใดเลย ซึ่งปัญหานี้เป็นไปได้ 2 กรณีคือ 1)thailis server ไม่ส่งเข้ามหาวิทยาลัย 2)server มหาวิทยาลัยมองเป็น bad mail จากข้อสงสัยข้อที่ 2 จึงเข้าไปตรวจ mail log ของคุณอนุชิต ยอดใจยา ก็พบข้อความว่า “Sender address rejected: Domain not found” และพบว่าเครื่องส่ง mail ของ thailis ถูกปฏิเสธ วิธีแก้ไขที่ง่ายคือแก้ที่ตัวเรา ถ้าแก้ที่ต้นเหตุอาจต้องคุยกันยาว
ดำเนินการแก้ปัญหา 1)เข้าห้อง /etc/postfix ใน mail server 2)เปิดแฟ้ม main.cf ด้วย vi 3)พบค่า config ว่า smtpd_sender_restrictions = reject_unknown_sender_domain 4)ยกเลิกค่าในข้อ 3 5)reboot server ก็จะได้รับ email จาก thailis ตามปกติ ทำตาม 5 ขั้นตอนข้างต้น ผมก็สืบค้นงานวิจัย และ download fullpaper research ได้แล้ว ผลการทดสอบ download พบบทความเรื่อง scorm ของ อ.อิงอร วงษ์ศรีรักษา ซึ่งเป็นงาน scan จากเอกสารขนาด 5 หน้า
+ http://tdc.thailis.or.th/tdc/
แก้ปัญหาบล็อกเว็บด้วย port 8080
30 ก.ย.52 รับแจ้งจากอาจารย์อวุโสว่าพบปัญหาเข้าเว็บเพจที่ใช้ frame ในบางเว็บไซต์ไม่ได้ ทดลองติดตั้ง java runtime 6 ปัญหาก็ไม่หายไป เมื่อ view source แล้วพบ error message ว่า browser ไม่สนับสนุน ก็คิดว่า ต้องลง browser รุ่นใหม่ จึงจะใช้งานได้ ลองติดตั้ง ie8 ก็ยังเข้าไม่ได้ ..
อีกสักพัก ผมก็ไปทดสอบกับเครื่องในห้องปฏิบัติการ พบว่า เข้าเว็บไซต์ที่เป็นปัญหาได้ปกติด้วย account ของผมที่มีระดับเป็น admin จึงนึกขึ้นได้ว่า account ที่ใช้ทดสอบที่เครื่องอาจารย์อวุโสนั้น เป็น account ระดับ user เมื่อตรวจสอบลึกลงไปก็พบว่า สิ่งที่แตกต่างของเว็บไซต์ดังกล่าวกับเว็บไซต์ทั่วไปคือเปิด port 8080 ซึ่งเป็น default port ของ java server ทั่วไป เมื่อคุณอนุชิต ยอดใจยา เข้าไปยกเลิกการปิด port ดังกล่าวจาก dhcp server ก็มีผลให้ account ใดใดในระบบสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวได้
+ http://iutcerral.univ-lyon2.fr/conftool/
+ http://it.yonok.ac.th/anuchit/jre-6u14-windows-i586.zip
+ http://www.thaibg.com
+ http://ie6update.kapook.com/ie8_download.php
บันทึกลูก ครั้งที่ 104
28 ก.ย.52 เด็กของผมเติบโตขึ้นผิดหูผิดตา เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้นผ่านการเรียนที่บ่มเพาะโดยกระบวนการกลุ่มที่จัดขึ้นตามกลุ่มสาระ ในเทอม 1 ของประถม 4 1) มาหยา ต้องค้นเน็ตทำรายงานเรื่องขนมไทย เครื่องดนตรี รายงานภาษาไทย รายงานคณิตศาสตร์ ต้องไปทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสบู่เหลวบ้านเพื่อนชื่อ milk แถวซอย 11 ทางไปวัดพระเจ้าทันใจ มีทีมชื่อ ขวัญชีวา อรณิชา อนุวัฒน์ รัฐศาสตร์ และธัชพล โครงการนี้ไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของห้อง แต่โครงการกลุ่มอื่นของเพื่อนได้รับรางวัลชื่อ ยาฆ่าแมลงสาบ 2) พีรยา ต้องค้นเน็ตทำรายงานเรื่องปริศนาคำทาย คำควบกล้ำ คำพ้องเสียง เป็นตัวแทนของเพื่อนทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำยาล้างจานจากมะกรูด ทดลองใช้งานที่บ้านด้วย มีทีมชื่อ สุรัตน์วดี อารยา ภาสินี ธัญญาพร ศิรินยา โครงการไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของห้อง แต่โครงการของเพื่อน เรื่องเจลล้างมือได้รับคัดเลือก 3) ฝนดาว ต้องค้นเน็ตทำรายงานเรื่องปริศนาคำทาย วัยรุ่น เครื่องดนตรี ไปทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกล่องดักยุง บ้านเพื่อนชื่อพิมลนาฎ ที่สี่แยกเชียงใหม่ มีทีมชื่อ พัชมล หนู หนุน ฝ้าย โครงการไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของห้อง แต่โครงการของเพื่อน เรื่องเอ็กซเลมหัศจรรย์ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของห้อง ก่อนปิดภาคเรียนนี้มีกิจกรรมกาดหมั้วคัวอนุบาล หนูจะหามะนาวไร้เมล็ดที่บ้านไหล่หินไปขายในกาด
ฝนดาวสมัครสอบกับ บริษัท เสริมปัญญา จำกัด เพื่อทดสอบความรู้สังคมศึกษา ครั้งที่ 13 และภาษาไทยครั้งที่ 14 ระดับประถม 5 ผลคือ 1)สังคมศึกษาได้ 70 จาก 125 คะแนน ได้อันดับ 43 จาก 95 ของจังหวัด หรือ 383 จาก 1088 ของภาค หรือ 2348 จาก 6563 ของประเทศ 2)ภาษาไทยได้ 56 จาก 120 คะแนน ได้อันดับ 64 จาก 111 ของจังหวัด หรือ 757 จาก 1426 ของภาค หรือ 4228 จาก 8345 ของประเทศ ให้ไว้ ณ 18 กันยายน 2552 วันนี้เป็นวันจันทร์สุดท้ายของภาค 1 ก็จะปิดภาคเรียนแล้ว กิจกรรมที่บ้านก็มีหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา เช่น ฝึกร้องเพลงสากล ร้องเพลงธรรมะ ทบทวน Logowriter ทำข้อสอบในคู่มือสอบ ถ้าปิดเทอมว่าจะให้ลูก clear คู่มือสอบที่มีอยู่ให้เรียบร้อยสักรอบ
+ http://www.thaiall.com/girl