เล่าจากความทรงจำสีจาง ในช่วงเดือนครึ่ง เมื่อ 22 ปีก่อน

นานมากแล้ว
วันนี้หวลนึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต
ที่ค่อย ๆ ปรากฎหลังม่านหมอก ออกมาทีละท่อน ทีละตอน
นั่นก็นานนับได้ 22 ปี
ในวันนี้ทราบข่าวเศร้าการจากไป
ของ อ.โชติ ผู้ใหญ่ของผมในมหาวิทยาลัย
ที่ร่วมเดินทางในโครงการ Sabbatical leave
ไปอยู่ที่มหาวิทยาลัย Baylor สหรัฐอเมริกา เป็นเวลาเดือนครึ่ง
ได้ข่าวที่ไม่คาดฝันว่า
ท่านจากไปตามวิถีธรรมชาติที่เราท่าน ทุกคนจะต้องพบเจอ
คิดถึงท่านตอนที่เราทำกิจกรรมหลายอย่างร่วมกัน
หลังท่านเกษียณอายุราชการกับการรถไฟแห่งประเทศไทย
ก็มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันภาษาญี่ปุ่นระยะหนึ่ง
เคยพานักศึกษาของวิทยาลัยโยนกไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่น
ที่จำได้แม่นเลย คือ เราเดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนร่วมกันที่อเมริกา

ทริปไปอเมริกาของทีมเรานั้น
ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ท่านอธิการวิทยาลัยโยนก เมื่อ 22 ปีที่แล้ว
ท่านเมตตาสนับสนุนให้ทีมของเรา ประกอบด้วย อ.โชติ อ.ยุวดี และผม
เดินทางไปศึกษา แลกเปลี่ยนทางวิชาการเป็นเวลาเดือนครึ่ง
ระหว่าง 1 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2540
จำได้ว่า อ.สุวรรณ ตรีมานะพันธ์ รองอธิการ ฝ่ายวิชาการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง
ส่วน อ.ดร.สุพรชัย ศิริโวหาร รองอธิการ ฝ่ายบริหาร ไปส่งทีมงานที่สนามบิน
ทีมของเราพักที่อพาร์ทเม้นท์ในบริเวณมหาวิทยาลัย
จากที่พัก เดินทางไปเรียนก็ราวหนึ่งกิโลเมตร ไม่มีรถบริการในมหาวิทยาลัย
เดินไปแล้วก็ต้องเดินกลับ
เป็นการเดินเท้าที่ตื่นเต้นครับ ระหว่างทางพบสิ่งต่าง ๆ แปลกหูแปลกตา
เช่น ชมรมเรือแคนนู ที่เห็นฝึกกันบ่อย ๆ
หรือ ชมรมเบสบอล ที่ขว้างบอลข้ามสนามกันทุกเช้า
หรือ การแสดงละครสัตว์ใกล้ที่พัก (Circus)
หรือ กิจกรรมรอบมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นสม่ำเสมอ
เราเดินทางไปถึงช่วงปลายหนาว เช้ามาก็เดินฝ่าความหนาวไปเรียนหนังสือกัน
ยังต้องสวมเสื้อกันหนาวตลอดช่วงเวลาที่อยู่ที่นั่น

จำได้ว่าที่ Baylor University
มี Prof. Kathryn (Kay) Mueller
พาทีมของเราไปในที่ต่าง ๆ หลายครั้ง
ผมรู้จักท่าน ตั้งแต่ก่อนไปที่ BU. เพราะท่านมาเมืองไทยบ่อย
ท่านคุยสนุก ร่าเริง พานักศึกษามาแลกเปลี่ยนที่วิทยาลัยโยนก
เป็นแขกของ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ หลายปีติดต่อกัน
จำได้ว่า Kay พาทีมเราไปกินขนมเค้กที่เขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ
คงเป็นครั้งแรกที่ผมได้กิน Pecan cake
เป็นที่ท่องเที่ยวที่ท่านทำให้เราประหลาดใจ
เดินทางไกล ข้ามทุกดอกสีม่วงกว้างสุดลูกหูลูกตา
แวะถ่ายภาพกันด้วย

ตอนไปที่ BU. เราไปพบหน่วยงานต่าง ๆ
ตามโครงการแลกเปลี่ยน
อ.โชติ และ อ.ยุวดี ไปเรียนในวิชาที่ตนสนใจ
ส่วนผมจำได้ว่าเรียนระบบปฏิบัติการ และอีกวิชาทางเทคโนโลยี
ผมจำได้ว่าเคยเขียนบันทึกการเดินทางไว้ในสมุดหลายหน้า
แต่ ณ ตอนนี้ไม่ได้มีสมุดเล่มนั้นใกล้ ๆ มือ
ทุกอย่างที่เล่ามา หรือเล่าต่อจากนี้ มาจากความทรงจำสีจาง ๆ

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ เดินทางไปเยี่ยมพวกเราที่นั่นหลายวัน
พาไปพบศูนย์นักศึกษาต่างชาติ
พาไปร้าน supermarket
พาไปสำนักหอสมุด
พาไปร่วมงานดนตรีคอนเสิร์ต ออร์เคสตรา
จำได้ว่าอากาศเย็นมาก คงเพราะอากาศเย็น
ทำให้ผมผลอยหลับไป ตั้งแต่โน๊ตแรก ๆ เริ่มดังขึ้นเลยทีเดียว เย็นมาก

หนึ่งในเรื่องที่จำได้ คือ การทานอาหาร
Kay พาผมไปร้านอาหารไทยหลายร้าน
ที่นั่นนิยมทานบุฟเฟ่ต์ เป็นอาหารไทยสไตล์ฝรั่ง
ยุคนั้น เมืองไทยยังไม่มีบุฟเฟต์อย่างในปัจจุบัน
อยู่เดือนครึ่ง ผมอ้วนเลย
เพราะผมได้รับสวัสดิการ มีบัตรเข้าศูนย์อาหาร
ที่จะทานอะไรก็ได้ 3 มื้อต่อวัน
แล้วผมก็ไม่มีปัญหากับอาหารต่างชาติ ทานได้หมด

การศึกษาที่นั่น ส่งเสริมการอ่าน
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ห้องสมุดที่นั่น เปิดกัน 24 ชั่วโมง
แต่ผมไม่เคยอยู่ถึงโต้รุ่งนะครับ อย่างมากก็แค่ 5 ทุ่ม
ที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้ มีหลายมหาวิทยาลัย
เปิดห้องสมุด 24 ชั่วโมงแล้ว

การสื่อสารสมัยนั้น
การใช้ hotmail.com ยังไม่เป็นที่นิยม
ที่นิยมยังเป็น email ที่บริการผ่าน pop3 หรือ imap ขององค์กร
ผมยังใช้ software ของ Baylor University
ในการเปิดอีเมล เค้ามีคอมพิวเตอร์ให้ตรวจอีเมล
วางตามจุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครมีโน๊ตบุ๊ค หรือสมาร์ทโฟน
ส่วนเว็บไซต์ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น
เข้าอินเทอร์เน็ตก็จะใช้ Linux หรือ Unix สั่งผ่าน Command Line
โปรแกรมอ่านอีเมลที่ผมใช้ประจำก็คงเป็น Pine ที่สมัยนี้คงไม่มีใครใช้แล้ว

จำได้ว่า
ในมหาวิทยาลัยมีไปรษณีย์ ผมส่งของจากที่นั่นกลับเมืองไทยชิ้นหนึ่ง
ค่าส่งแพงมาก จึงส่งเพียงครั้งเดียว
โทรศัพท์ทางไกล ผมซื้อบัตร
แต่ก็ใช้เพียงไม่กี่ครั้ง เพราะสมัยนั้นไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เมืองไทย
ค่าโทรแพงมาก โทยไม่กี่นาทีเสียไปหลายร้อยบาทแล้ว
ค่าอาหารแพงระดับหนึ่ง แต่ผมไม่ค่อยได้จ่าย
เพราะทานในศูนย์ตลอด
ยกเว้นว่า Kay จะพาไปนอกรั้วมหาวิทยาลัย
จำได้ว่าแฮมเบอเกอร์ชิ้นละ 1 – 3 ดอลล่าร์ ซึ่งถือว่าไม่แพง
ต่างกับบุฟเฟ่ต์ ที่ต่อหัวประมาณ 10 ดอลล่าร์

ผมอาจจำอะไรไม่ได้มากนัก สมองอาจเสื่อมไปตามกาลเวลา
เรื่องที่เล่ามา
เกิดขึ้นก่อนผมอายุสามสิบ
เกิดขึ้นก่อนผมจะเขียนหนังสือ
เกิดขึ้นก่อนผมทำเว็บไซต์
เกิดขึ้นก่อนผมแต่งงาน
เกิดขึ้นก่อนคุณแม่ผมจะป่วยอัลไซเมอร์
แต่ก็ดีใจที่ได้เล่าผ่านตัวอักษร ทั้งที่อยากเล่ามาหลายสิบปี
จดจดจ้องจ้องบันทึกเล่มเก่าเล่มนั้น ซึ่งตอนนี้หาไม่พบแล้ว
ยังมีผู้มีพระคุณอีกมากที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผม
แต่สมองของคนเรา มีข้อจำกัด
ย่อมลืมเลือน เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา
คิดถึงทุกคน คิดถึงอดีต คิดถึงทุกช่วงเวลาดี ๆ ในอดีต
ขอบคุณโชคชะตา และทุกคนรวมตัวผม ที่ช่วยให้ผมมีกำลัง
ทำให้ชีวิตยังมีวันนี้ และหวังว่าจะมีพรุ่งนี้
และพรุ่งนี้ต่อไปอีกนาน ๆ ขอบคุณครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิวปีหนึ่ง ถามติดตั้ง CMS ด้วยความอยากเรียนรู้

ในชั่วโมง Home room – 27 มี.ค.62
ที่ อ.แนน นัดเด็ก ๆ คุยกัน ที่ห้องแล็บคอม
คุยกันเรื่องนู้นนั้นนี้ เกี่ยวกับกิจกรรมในระดับหลักสูตร
พอมีเวลา
ผมก็ชวนคุยเรื่องการเรียนรู้ และชวนที่จะลงไปเรียนรู้หน่วยงาน
คอม กับนิก ลง joomla เสร็จหลายวันแล้ว
ส่วนวิว กับมิ้ม ก็พูดถึงการลงเซิร์ฟและ joomla
พูดถึงการสร้างฐานข้อมูลผ่าน phpmyadmin
ตอนนี้ก็รอน้องแบล็ค หนึ่ง กิม และพี่ปีสองมาพูดคุยด้วย
เป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร เพราะไม่มีวิชาเรียนในระดับปีหนึ่ง
แต่เค้าสนใจการเรียนรู้
ที่น่าจะต้องหาเวลาเรียนรู้กันตั้งแต่ปีหนึ่งได้แล้ว


เมื่อวาน 28 มี.ค.62 พี่ปี 4
ก็เอา code OCR เขียนด้วย React Native ทำงานบน Expo
ซึ่งการเขียน Javascript สร้าง app บน Mobile นั้น
ก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่ได้สนใจเอาซะเลย (เดี๋ยวนี้มีหลายค่าย)
เพราะเป็นสาวกของ Android Studio : Java มานาน
แต่ก็ไม่ได้ลงเต็มที่ เข้าไปสัมผัสงาน Mobile เพียงเล็กน้อย
พี่ปี 4 เอา code มาให้ทดสอบ
พบว่า น่าสนใจ React Native เขียนง่ายไม่กี่ร้อยบรรทัด
และพี่บอลก็เคยเล่าให้น้องฟังว่า
เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ง่ายในการพัฒนา mobile app


ลักษณะของ React native on expo
ที่พี่ปี 4 ทำเรื่อง OCR น่าสนใจดังนี้

1. เขียนบน pc แต่ทดสอบบน mobile ได้ง่าย
เช่น การเรียกผ่าน link ผ่าน QR code ในเครือข่ายเดียวกัน
2. อัพโหลดเข้า expo.io แล้วเปิดผ่าน mobile
เช่น https://expo.io/@thaiall/myapp1
หรือ exp://exp.host/@thaiall/myapp1
3. เปิดผ่าน browser ตามลิงค์ใน expo.io
มี appetize-simulator ช่วยจำลอง mobile
4. สำหรับเจ้าของ app สามารถโหลด .apk
มาติดตั้งได้ โดยโหลดจากหน้า builds
พบที่ https://expo.io/@thaiall/myapp1/builds
#เล่าสู่กันฟัง 62-057

การส่งข้อความข้ามเครื่องผ่าน IP เขียนด้วย C# บน console application

listener เปิดรับ client ส่งข้อความlistener ได้รับ

ฟัง ดร.ถาวร ล่อกา พูดเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research)

https://www.facebook.com/ajarnburin/posts/2482414421772674

ทำให้นึกถึงเรื่อง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ช่วงนี้ ลองทำโปรแกรม 2 เซต คือ แต่ละเซตมี ตัวรับ กับตัวส่ง
ระหว่างเครื่องผ่าน ip เขียนด้วย C#

http://www.thaiall.com/csharp

เพราะนักศึกษาสนใจภาษานี้
เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ มี 2 เซต คือเซต sharp develop และเซต VS
(แฟ้ม program.cs ใช้ร่วมกันได้ระหว่าง 2 tools นี้ ในกรณีนี้)
เพราะใช้ .net framework ทั้งคู่ คำสั่งที่ใช้ต่างกัน
คือ ตัวหนึ่งเปิดพอร์ตผ่าน TcpListener(ipaddr,8888);
อีกตัวใช้ new Socket(ipAddress, Stream, ProtocolType.Tcp);
เป้าหมายคือเปิดให้ listener รับฟังจาก client ได้ ก็ถือว่า ok แล้ว

ภาพประกอบมี 3 ภาพคือ
1. listener เปิดรับ
2. client ส่งข้อความ
3. listener ได้รับ

สรุปว่าเล่าเรื่อง Docker กับ Container

มีเรื่องที่อยากเล่าหลายเรื่องเมื่อ 22 ก.พ.62
แต่ละวันมีเรื่องอยากเล่าเยอะ แต่ก็ไม่ได้เล่า เพราะมีเรื่องมากไป
เช้ามา ดร.นิรันดร์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากร
บรรยายให้ศิษย์ของ อ.ธวัชชัย ฟัง เรื่องการเรียน การใช้ชีวิต
สายหน่อย อ.แนน หัวหน้าก็ไปร่วมต้อนรับ กรรมการตรวจคณะพยาบาล
ได้ข้อเสนอแนะกลับมาให้ผมว่า วิชาสื่อต้องปรับคำอธิบายรายวิชาและแผน
ต้องเพิ่มสมรรถนะดิจิทัล ตามที่ประกาศว่า ป.ตรี ในไทยต้องเพิ่มใน มคอ.
ข้างห้องมี ม.ฟุกุอิ มาประชุมวิชาการ อ.อดิศักดิ์ กับ อ.แม็ค
ก็ทำกิจกรรมกันตลอดหลายวันที่ผ่านมา ข้าง ๆ ห้องเลย
บ่ายมาก็ปรับข้อสอบตามข้อเสนอแนะของพี่นาย และอ.นุ้ยได้เม้นไว้
พอว่างก็นั่งส่องผลงานนักศึกษา 6 กลุ่ม บวกนิเทศอีกกลุ่ม เป็น 7 กลุ่ม
ผลงานปีหนึ่งทั้งหมดที่ไปท่องเที่ยว ส่ง #เจอนี่ที่ลำปาง
ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
อีกเรื่องที่ชื่นใจคือใช้กระเป๋าตังจริง จากที่ไม่ค่อยอยากใช้
ภาษาอังกฤษเรียก True wallet จ่ายค่าค้างชำระ True move H
เพราะเด็กที่บ้านโดนตัดเน็ต ก็ไปเติมเงินเข้ากระเป๋าที่ 7-11
พอกดจ่ายค่าโทร ก็ขึ้นยอดมา 600 กว่าบาท จ่ายง่ายเลย
ช่วงเช้า หัวหน้าทักว่า รูปเพื่อนหายไป 1 รูป ก็หาเวลาอัพรูปจนเสร็จไปอีกเรื่อง
ระบบนี้ใช้ joomla
นี่ก็ฝันว่าจะหาเวลาเข้า home room เพื่อฟิตนิสิตให้เป็น dev อยู่
จะได้กระจายแทรกซึม ฝังตัวตามหน่วยงาน
เย็นล่ะจะออกงาน เห็น อ.กร เล่าเรื่องนักศึกษาในกลุ่มเฟส
ผมก็อยากชวนเค้าเล่าเรื่อง 5W1H
แล้วนึกถึงละครภาษาอังกฤษของ อ.เก๋ ที่แสดงไปเมื่อศุกร์ที่ 15
ซึ่งน่าจะเล่าเป็นเรื่องย่อได้สนุก ๆ อยากชวนนิสิตเขียน blog กันอีก
ย้อนไปเริ่มเช้าวันนี้ ดร.นิรันดร์ ท่านชวนดูภาพเก่า ๆ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ตอนผมอายุสัก 18 หยกหยก
นั่นก็นึกเรื่องที่จะเล่าตามภาพได้อีกเยอะเลย
กลับบ้าน เย็นล่ะมาดูคนรักบ้านเมืองในช่องไทยรัฐ
เค้ามาดีเบสกันพูดเรื่องเสียสละเพื่อประเทศ
เดี๋ยวนี้คนเสียสละเพื่อประเทศ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวเยอะมาก ๆ
ลำปางมีคนเสียสละอุทิศกายใจ เป็นตัวแทนดูแลชาติบ้างเมืองของผม
ใน 4 เขตลำปางมีถึง 117 คน มีเพื่อน ครู อาจารย์ของผมสมัครหลายท่าน
ตกเย็นเจ้าอาวาสนัดหมายไปทำ Big Cleaning Day วันศุกร์ที่ 1 (ที่จะถึง)
ย้อนนึกถึงวันพุธที่ 20 มีแผ่นดินไหวที่ลำปาง แต่ผมก็ไม่ได้เล่า
ตอนเค้าไหวกันหนัก ๆ
ผมติดแหงกอยู่ที่ท่า docker ไม่ได้ขยับตาออกจากจอหลายชั่วโมง
อะไรสั่นไหวก็ไม่รู้ได้ครับ เหมือนตัวถูกหวันอยู่ในกล่อง container
ปล. สรุปว่าเล่าเรื่อง docker ครับ
http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=190209134522

docker
docker

เล่าเรื่อง ท่าเรื่อ (Docker) ที่มีคอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า (Container)
แต่ก็ไม่ได้ชวนออกทะเลไปไหนนะครับ
เรื่องมีอยู่ว่า เกือบสัปดาห์ ที่สร้าง image แล้ว push ขึ้น docker 2 ตัว
คือ php กับ mariadb โดยมี database และ script เป็นของ joomla
สลับกันทดสอบโดยใช้ docker toolbox บน Win 10 Home
ทำงานกับ VBox และ docker บน Win 10 Pro ทำกับ Hyper-V
เป็น Container ที่สร้างเสร็จ version 1
จึงยังมีหลายประเด็นที่ต้องปรับแบบ manual
ก่อนที่ server จะทำงานได้ตามเป้าหมาย
สุดท้ายก็ได้เห็นหน้าตาของ joomla ทำงานได้ปกติ
พร้อม extension 2 ตัว
คือ SP Easy Image Gallery และ SP Page Builder
ปัญหาคือผมไม่ได้ใช้งาน Volume ตามแนวคิดที่ Docker ให้ไว้
และไม่ใช้ image สำเร็จรูปที่เค้าเตรียมมาให้ อยากเชื่อ Container เอง
#เล่าสู่กันฟัง 62-043

โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข สร้างสัปปายะด้วยวิถี ๕ ส

วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ

15 ก.พ.2562 ณ วัดมิ่งเมืองมูล มีกิจกรรมเกี่ยวกับ
โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข สร้างสัปปายะด้วยวิถี ๕ ส
ถึง 2 กิจกรรม ในช่วงเช้า และช่วงบ่าย
โดยช่วงเช้าเป็นการประชุมทำความเข้าใจ
และลงมือปฏิบัติตามแนวทางของโครงการในหลายขั้นตอน
เป็นการจับมือระหว่าง วัด กับ องค์กรเอกชน
โดยพระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี,ผศ. เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จับมือกับ
คุณวิภาวรรณ ลิมป์ไพบูลย์ ผู้บริหารบริษัท ควอลิตี้เซรามิก
คุณไพรวัลย์ ชัยยา หัวหน้าฝ่าย HR และทีมงานของบริษัทควอลิตี้เซรามิก
โดยมี คุณจุฑาภรณ์ นันทจินดา สสส. และ
คุณอนงค์ ตามคุณ สำนักพระพุทธศาสนา จังหวัดลำปาง มาร่วมขับเคลื่อน และ
ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ นักวิจัย และ
อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมสนับสนุนกิจกรรม
มีการจัดตั้งกรรมการ เดินสำรวจ และแบ่งหน้าที่ตามแผนผังของวัด
แบ่งเป็นส่วน A, B, C, D, E ที่กำหนดผู้รับผิดชอบในเบื้องต้น

ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง
ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง
ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง
ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง

แล้วในช่วงบ่าย
คุณจุฑาภรณ์ นันทจินดา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
บรรยายให้ความรู้ ทำความเข้าใจ และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโครงการ
สำหรับ วัด และ เทศบาล/อปท. ที่จับมือกันทำโครงการฯ 75 คู่
โดยกล่าวเปิดงาน และนำสวดมนต์
โดย พระจินดารัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง(ม)
ซึ่ง พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี,ผศ. เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล
รับเปิดเจ้าภาพสถานที่ในการจับประชุมครั้งนี้

โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข สร้างสัปปายะด้วยวิถี ๕ ส
มีเฟสบุ๊คที่ https://web.facebook.com/watsangsook/
มีเว็บไซต์ที่ http://www.watsangsook.com
คู่มือที่ https://drive.google.com/open?id=1lBW2d3nCbyNQ8Rq42NxRZml6XXwAn7Pt

โหลดคู่มือจาก watsangsook.com
โหลดคู่มือจาก watsangsook.com

การใช้งาน git บน github.com ผ่าน command line ของทีมนักศึกษา

git add , commit แล้ว push
git add , commit แล้ว push

11 ก.พ.62 สร้าง repository ชื่อ mygitfriends
เพื่อแบ่งปันงาน และพัฒนาร่วมกันกับเพื่อนในทีม
วันนี้ตั้งใจ download งานทั้งหมดลงมาไว้ในเครื่อง
สิ่งที่จะทำมีดังนี้
1. Download แล้ว push แฟ้มใหม่ : peach_girl.jpg
2. แก้ไข README.md เพิ่มชื่อเราเข้าไป
แต่ละงานจะ push ขึ้นเครื่องบริการ แล้วตรวจผล
ปล. พี่บอลศิษย์เก่ามาพูดคุยกับรุ่นน้อง จุดประกายไฟในตัวน้อง

ขั้นตอนหลังติดตั้งระบบ git ในเครื่อง ใช้งานใน CMD ดังนี้
https://git-scm.com/download/win (มีตัวใหม่มาเสมอ)
1. DOS> git –version
เพื่อตรวจสอบว่า ใช้รุ่นอะไรอยู่
แล้วสร้าง folder สำหรับเก็บงาน
ตัวอย่างนี้สร้าง folder ชื่อ mygit ไว้ใน drive d
DOS> d:
DOS> cd mygit
2. DOS> git init
D:/mygit/.git/ มีแฟ้มต่าง ๆ เกี่ยวกับการ config
3. DOS> git config –global user.email “you@example.com”
4. DOS> git config –global user.name “Your Name”
5. DOS> git remote add origin https://github.com/thaiall/mygitfriends.git
6. DOS> git pull origin master
7. copy peach_girl.jpg เข้าห้องนี้
คัดลอกจาก http://www.thaiall.com/blogacla/burin/6206/
ทำผ่าน chrome ครับ แล้วตรวจสอบด้วย dir
8. DOS> git add peach_girl.jpg
9. DOS> git commit -m “i love this”
10. DOS> git push -u origin master
หากติดปัญหาอาจต้องจัดการใน Credential manager
แล้วเข้า Windows Credential เพื่อลบ และสร้างใหม่
11. DOS> notepad README.md
แล้วเพิ่มชื่อตนเอง
12. DOS> git add README.md
13. DOS> git commit -m “บุรินทร์ แก้ไขแล้ว”
14. DOS> git push -u origin master
15. กลับไปตรวจใน github.com ว่า 2 รายการนี้ ดำเนินการเรียบร้อยหรือไม่

งานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ประธานมูลนิธิโยนก
และอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโยนก
ไปร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และผู้ปกครอง
ในงานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562
สถาบันแห่งนี้มีนักศึกษาสำเร็จไปแล้ว 30 รุ่น
ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตไปแล้ว 8000 คน

อ่านเว็บเพจข้อมูลบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ (4M)

620113_bpa
620113_bpa

อ่านข้อมูล “คณบดี/บุคลากร” ของคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เนชั่น แล้วสนใจในหลายเรื่อง มีความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลนี้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) full screen image, 2) responsive screen image และ 3) file.mht โดยใช้ extension ของ chrome ชื่อ Full Page Screen Capture แล้วแชร์ให้นักศึกษาวิชาสื่อฯ (MIT) ได้เห็นตัวอย่างการจัดเก็บใน github.com และ github.io เพราะเคยพานักศึกษา CS เข้าใช้ github.com สำหรับเผยแพร่ ผลงานโฮมเพจน.ศ. ซึ่งหน้าเว็บบุคลากรใช้ CMS ที่จัดทำด้วย Joomla ขนาดของภาพที่ส่งเข้าไป ต้องใช้ css กำหนด width ให้เท่ากันคือ 188 px และฟอนต์ใช้ kanit เป็น free font ของ google ซึ่งการเรียกใช้ และ bootstrap เกี่ยวกับ web2 และ html5 ส่วนการเห็นคุณค่าของบุคลากร ตามหลักบริหาร 4M คือ Man, Money, Materials และ Management ก็สนใจเรื่องคุณภาพของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทำให้นึกถึงบทบาทของ มูลนิธิโยนก ที่ส่งเสริม สังคมรักการอ่าน และทำโครงการครูภาษาอังกฤษเพื่อโรงเรียนไทย (TTC) พัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย โดยจัดหาบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการ

โพสต์เป็นซี่รี่ใน fb ปิดปี 1 ไปที่ 70 โพสต์ วันนี้นับ 1 กันใหม่

13 fonts ราชการ
13 fonts ราชการ

เริ่มพุทธศักราชใหม่ 2562 ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงนู่นนี่นั่น
[มองย้อน]
อดีตไม่ไกลนัก ปีพ.ศ. 2561
นั่งเขียนโพสต์สั้น ๆ แบบมี series นับได้ 70 โพสต์
เริ่มโพสต์แรก Northwind Database เมื่อ 19 ส.ค.61
ด้วย tag #เล่าสู่กันฟัง 61-001
โพสต์สุดท้ายของปี คือ วันที่ 31 ธ.ค.61
เป็นโพสต์ที่ 070 เรื่อง do กับ like
มีเพื่อนกดไลท์จำนวน 3 คน (ถือว่าใช้ได้)
https://web.facebook.com/thaiall/photos/a.10152906385302272/10157059279497272/
[และแล้ว]
ปัจจุบัน คือ วันนี้ 1 ม.ค.62 เปิดปีพ.ศ.ใหม่
นั่งเทียบ 13 ฟอนต์ราชการไทย
พบว่า ผลการเปรียบเทียบ คงทำให้ต้องค่อย ๆ ปรับเว็บเพจทั้งหมด
เป็น TH KodChaSal2 เพราะ TH ChaKraPetch ขนาดเล็กกว่านิดหน่อย
พร้อมเพิ่มขนาดเป็น 20px ให้หมด
แสดงผลการเทียบขนาดไว้ที่ /html5 กับ /web2
http://www.thaiall.com/html5
#เล่าสู่กันฟัง 62-001

 

การทำให้ xampp บริการ ssl

ขั้นตอนการทำให้ xampp บริการ ssl ใน localhost
ซึ่งใช้งานได้จริงกับใน localhost เท่านั้น

1. https://ssl.indexnl.com/
2. กรอก localhost ในช่อง domain
3. download 51398a-localhost.zip
แฟ้มนี้ใครก็ใช้ได้ครับ ถ้ามี domain คือ localhost
https://drive.google.com/open?id=1St..IHKE3
คลาย zip พบ 4 แฟ้ม
– ca.ssl.indexnl.com.crt
– localhost.crt
– localhost.key
– readme.txt
4. ใน readme.txt แนะนำว่า
– มีวิธีติดตั้งที่ https://ssl.indexnl.com/xampp-wamp-ssl/
– มี certificate อายุ 3 เดือนที่ https://wildcard.indexnl.com/
– มี community พูดคุยกันที่ https://community.apachefriends.org/f/
5. คัดลอก 2 แฟ้ม
– localhost.key ไปไว้ใน c:\xampp\apache\conf\ssl.key\
– localhost.crt ไปไว้ใน C:\xampp\apache\conf\ssl.crt\
6. ค้น certmgr พบ manage computer certificates
คลิ๊กเลือก Trusted Root Certification Authorities
ที่บน menu bar คลิ๊ก Action, All tasks, import, next, browse
เลือกแฟ้ม ca.ssl.indexnl.com.crt แล้ว open, next, finish
พบ The import was successful.
7. เข้าห้อง c:\xampp\apache\conf\extra\
แล้วเปิดแฟ้ม httpd-vhosts.conf ด้วย editor
8. เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ ต่อท้ายสุดของแฟ้ม

<VirtualHost *:80>
ServerAdmin webmaster@localhost
DocumentRoot “c:\xampp\htdocs”
ServerName localhost
ServerAlias localhost
ErrorLog “logs/localhost-error.log”
CustomLog “logs/localhost-access.log” common
</VirtualHost>

9. ในแฟ้มเดิม ลบโค้ดเดิม และเพิ่มโค้ดใหม่
ข้างล่างนี้เป็นของใหม่

<VirtualHost *:443>
ServerAdmin webmaster@localhost
DocumentRoot “c:\xampp\htdocs”
ServerName localhost
ServerAlias localhost
SSLEngine on
SSLCertificateFile “c:\xampp\apache\conf\ssl.crt\localhost.crt”
SSLCertificateKeyFile “c:\xampp\apache\conf\ssl.key\localhost.key”
<FilesMatch “\.(cgi|shtml|phtml|php)$”>
SSLOptions +StdEnvVars
</FilesMatch>
ErrorLog “logs/localhost-error.log”
CustomLog “logs/localhost-access.log” common
</VirtualHost>

10. restart xampp
แล้วเปิด https://localhost

อ่านเพิ่มที่ http://www.thaiall.com/omni/indexo.html