งานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ประธานมูลนิธิโยนก
และอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโยนก
ไปร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และผู้ปกครอง
ในงานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562
สถาบันแห่งนี้มีนักศึกษาสำเร็จไปแล้ว 30 รุ่น
ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตไปแล้ว 8000 คน

อ่านเว็บเพจข้อมูลบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ (4M)

620113_bpa
620113_bpa

อ่านข้อมูล “คณบดี/บุคลากร” ของคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เนชั่น แล้วสนใจในหลายเรื่อง มีความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลนี้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) full screen image, 2) responsive screen image และ 3) file.mht โดยใช้ extension ของ chrome ชื่อ Full Page Screen Capture แล้วแชร์ให้นักศึกษาวิชาสื่อฯ (MIT) ได้เห็นตัวอย่างการจัดเก็บใน github.com และ github.io เพราะเคยพานักศึกษา CS เข้าใช้ github.com สำหรับเผยแพร่ ผลงานโฮมเพจน.ศ. ซึ่งหน้าเว็บบุคลากรใช้ CMS ที่จัดทำด้วย Joomla ขนาดของภาพที่ส่งเข้าไป ต้องใช้ css กำหนด width ให้เท่ากันคือ 188 px และฟอนต์ใช้ kanit เป็น free font ของ google ซึ่งการเรียกใช้ และ bootstrap เกี่ยวกับ web2 และ html5 ส่วนการเห็นคุณค่าของบุคลากร ตามหลักบริหาร 4M คือ Man, Money, Materials และ Management ก็สนใจเรื่องคุณภาพของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทำให้นึกถึงบทบาทของ มูลนิธิโยนก ที่ส่งเสริม สังคมรักการอ่าน และทำโครงการครูภาษาอังกฤษเพื่อโรงเรียนไทย (TTC) พัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย โดยจัดหาบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการ

โพสต์เป็นซี่รี่ใน fb ปิดปี 1 ไปที่ 70 โพสต์ วันนี้นับ 1 กันใหม่

13 fonts ราชการ
13 fonts ราชการ

เริ่มพุทธศักราชใหม่ 2562 ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงนู่นนี่นั่น
[มองย้อน]
อดีตไม่ไกลนัก ปีพ.ศ. 2561
นั่งเขียนโพสต์สั้น ๆ แบบมี series นับได้ 70 โพสต์
เริ่มโพสต์แรก Northwind Database เมื่อ 19 ส.ค.61
ด้วย tag #เล่าสู่กันฟัง 61-001
โพสต์สุดท้ายของปี คือ วันที่ 31 ธ.ค.61
เป็นโพสต์ที่ 070 เรื่อง do กับ like
มีเพื่อนกดไลท์จำนวน 3 คน (ถือว่าใช้ได้)
https://web.facebook.com/thaiall/photos/a.10152906385302272/10157059279497272/
[และแล้ว]
ปัจจุบัน คือ วันนี้ 1 ม.ค.62 เปิดปีพ.ศ.ใหม่
นั่งเทียบ 13 ฟอนต์ราชการไทย
พบว่า ผลการเปรียบเทียบ คงทำให้ต้องค่อย ๆ ปรับเว็บเพจทั้งหมด
เป็น TH KodChaSal2 เพราะ TH ChaKraPetch ขนาดเล็กกว่านิดหน่อย
พร้อมเพิ่มขนาดเป็น 20px ให้หมด
แสดงผลการเทียบขนาดไว้ที่ /html5 กับ /web2
http://www.thaiall.com/html5
#เล่าสู่กันฟัง 62-001

 

การทำให้ xampp บริการ ssl

ขั้นตอนการทำให้ xampp บริการ ssl ใน localhost
ซึ่งใช้งานได้จริงกับใน localhost เท่านั้น

1. https://ssl.indexnl.com/
2. กรอก localhost ในช่อง domain
3. download 51398a-localhost.zip
แฟ้มนี้ใครก็ใช้ได้ครับ ถ้ามี domain คือ localhost
https://drive.google.com/open?id=1St..IHKE3
คลาย zip พบ 4 แฟ้ม
– ca.ssl.indexnl.com.crt
– localhost.crt
– localhost.key
– readme.txt
4. ใน readme.txt แนะนำว่า
– มีวิธีติดตั้งที่ https://ssl.indexnl.com/xampp-wamp-ssl/
– มี certificate อายุ 3 เดือนที่ https://wildcard.indexnl.com/
– มี community พูดคุยกันที่ https://community.apachefriends.org/f/
5. คัดลอก 2 แฟ้ม
– localhost.key ไปไว้ใน c:\xampp\apache\conf\ssl.key\
– localhost.crt ไปไว้ใน C:\xampp\apache\conf\ssl.crt\
6. ค้น certmgr พบ manage computer certificates
คลิ๊กเลือก Trusted Root Certification Authorities
ที่บน menu bar คลิ๊ก Action, All tasks, import, next, browse
เลือกแฟ้ม ca.ssl.indexnl.com.crt แล้ว open, next, finish
พบ The import was successful.
7. เข้าห้อง c:\xampp\apache\conf\extra\
แล้วเปิดแฟ้ม httpd-vhosts.conf ด้วย editor
8. เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ ต่อท้ายสุดของแฟ้ม

<VirtualHost *:80>
ServerAdmin webmaster@localhost
DocumentRoot “c:\xampp\htdocs”
ServerName localhost
ServerAlias localhost
ErrorLog “logs/localhost-error.log”
CustomLog “logs/localhost-access.log” common
</VirtualHost>

9. ในแฟ้มเดิม ลบโค้ดเดิม และเพิ่มโค้ดใหม่
ข้างล่างนี้เป็นของใหม่

<VirtualHost *:443>
ServerAdmin webmaster@localhost
DocumentRoot “c:\xampp\htdocs”
ServerName localhost
ServerAlias localhost
SSLEngine on
SSLCertificateFile “c:\xampp\apache\conf\ssl.crt\localhost.crt”
SSLCertificateKeyFile “c:\xampp\apache\conf\ssl.key\localhost.key”
<FilesMatch “\.(cgi|shtml|phtml|php)$”>
SSLOptions +StdEnvVars
</FilesMatch>
ErrorLog “logs/localhost-error.log”
CustomLog “logs/localhost-access.log” common
</VirtualHost>

10. restart xampp
แล้วเปิด https://localhost

อ่านเพิ่มที่ http://www.thaiall.com/omni/indexo.html

android app : kickweb server

ทดสอบ ติดตั้ง android app : kickweb server
บริการ lighttpd + php + mysql + phpmyadmin
/mnt/sdcard/htdocs เป็น document_root
ตัวโทรศัพท์ปล่อย hotspot มี ip =192.168.43.1
ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเข้าไป
ได้ ip=192.168.43.108
ทดสอบ http:// .. :8080/?phpinfo ก็ใช้ได้
หรือ phpmyadmin http:// .. :10000/
โดย user:root pass:blank
ทดสอบสร้าง db, tb, insert แล้ว drop db ก็ได้

Features
– Built-in PHPMyAdmin ( phpMyAdmin 4.1.10)
– PHP 5.5.9
– MySQL 5.1.62
– Lighttpd 1.4.34
– MSMTP 1.4.31
– Nginx 1.5.1

 

phpmyadmin on kickweb
phpmyadmin on kickweb
phpinfo on kickweb server
phpinfo on kickweb server

การดู IP address ของ smart phone ผ่าน app : terminal
$ netcfg
$ netstat

 

อ่าน text file หลายแฟ้ม ทั้ง utf-8 และ tis-620 ก็ต้องแปลงกัน

check utf-8 and convert
check utf-8 and convert

เดิมอ่านข้อมูล text file แบบ tis-620 แล้ววันหนึ่ง ก็มีแฟ้มข้อมูล (Data) เป็น utf-8 ที่ต้องใช้ script สำหรับอ่าน utf-8 แล้วก็ต้องกำหนด meta content-type ให้ charset เป็น utf-8

แต่หากต้องการอ่านแฟ้ม utf-8 มาแสดงใน tis-620 ก็ต้องมีการ convert ข้อมูลกันหน่อย เดิมทีนั้น จะอ่านข้อมูลจาก text file แบบ tis-620 ลงอาร์เรย์ แล้วใช้งาน ก็ต้องปรับให้รองรับแฟ้มทั้งแบบ tis-620 และ utf-8

code เดิม คือ

<meta http-equiv=”content-type”
content=”text/html;charset=tis-620″ />
<?php
$f=@file(“data.txt”);
echo $f[0];
?>

code ใหม่ คือ

<meta http-equiv=”content-type”
content=”text/html;charset=tis-620″ />
<?php
$f=@file(“data.txt”);
if (mb_check_encoding(file_get_contents(“data.txt”), ‘UTF-8’)) {
$f[0] = iconv(“utf-8″,”tis-620”,$f[0]);
}
echo $f[0];
?>

แฟ้มที่เป็น utf-8 คือ http://www.thaiall.com/checklist.php

การปล่อยให้ editor สร้าง backup file อาจมีปัญหาตามมา ต้องเลือกเอง อย่าให้ค่าปริยายเลือกให้

editplus backup
editplus backup

โปรแกรมสำหรับจัดการรหัสต้นฉบับ มีมากมาย
เช่น editplus, notepad++ , atom , sublime หรือ textpad
ที่ดีมักมีตัวเลือกสร้าง backup file หรือ .bak
สิ่งที่ต้องระวัง คือ การอัพโหลดทั้ง folder หรือทำงานอัตโนมัติ
อาจพาแฟ้ม .bak และแฟ้มอื่นที่ไม่เหมาะไม่ควร
พากับขึ้นอยู่ในเครื่องบริการอย่างสงบ
และเปิดให้ชาวโลก รวมถึง google.com ได้เข้าถึง
ดังนั้น ไม่ควร หรือห้ามอัพโหลดเหมาเข่ง
หรือ ยกเลิกการสร้าง .bak อัตโนมัติ

สร้าง Github page ชื่อ mycsharp เป็นต้น

ไม่ได้เขียน blog นานล่ะ
วันนี้ เล่าขั้นตอนว่าจะสมัคร Github pages อย่างไร
(ในเอกสารหนึ่ง ก็หยิบขั้นตอนมาเขียน blog ซะเลย)
เพราะหวังว่า
จะให้เด็ก ๆ มีกรุ (Repositories) ไว้เก็บของ
และมีโฮมเพจ (Homepage) ไว้ปล่อยของที่เก็บไว้
แต่เริ่มต้นจากการสมัครใช้บริการก่อน
แล้วค่อยสร้างเพจเปล่า ๆ ง่าย ๆ ขึ้นสักเพจหนึ่ง
ผ่านการเขียน code html ในแบบที่ github กำหนด
ขั้นต่อไปก็ค่อยให้เด็ก ๆ หาของมาหย่อนตามกรุของตน

ก็เป็นอีกเวที ที่เด็ก ๆ กลุ่มหนึ่งควรรู้จัก
และเข้ามาใช้งาน ใช้การกัน
ที่สำคัญ ใช้ฟรี และมีมืออาชีพเข้ามาปล่อยของฟรี เยอะมาก

ชวนสร้าง Github pages
ชวนสร้าง Github pages

สร้าง Github page ชื่อ mycsharp เป็นต้น
1. เข้า Github.com
2. สร้าง Repositories คือ กรุ หรือ ที่รับ เช่น mycsharp
3. เมื่อเข้าใน Repositories แล้ว
4. ให้สร้างเพจ ตามกรุที่สร้างขึ้น
เช่น https://thaiall.github.io/programming-page/
เชื่อมกับ https://github.com/thaiall/programming-page
จะพบแฟ้ม index.md เพื่อแนะนำตัวเอง และ repositories
5. วิธีสร้าง page ใน github.io
1. เข้า Settings ของ Repositories (ไม่ใช่ของ Account)
README.md ใน https://github.com/thaiall/vscode
index.md ใน https://github.com/thaiall/programming-page
เป็นหน้าแรก แต่คนละบทบาท กรณีนี้เป้าหมาย คือ index.md
2. หลังเข้า Setting
– Scroll down ลงมาหา GitHub Pages
– choose theme = time machine
– select theme
– Commit changes
หากเข้า Settings ของ Repositories อีกครั้งจะพบ link
https://thaiall.github.io/blank_repository/
3. หากต้องการแก้ไขให้เลือก edit index.md
มองหา Top Right มี Drop down list ให้เลือก
– Your Repositories
จาก Repository ชื่อ blank_repository หรือ mycsharp
คลิ๊กปากกา ที่มุมบนขวา ก็จะแก้ไขแฟ้ม index.md ได้
4. เนื้อหาใน index.md
– ชื่อ สกุล
– สาขาวิชา สถาบัน
– ประเด็นที่สนใจ
– ประสบการณ์
– งานอดิเรก หรือ ความสามารถพิเศษ
– แนะนำเพื่อน คนรู้จัก หนังสือที่ชอบ หรือแหล่งเรียนรู้
5. หากมีแฟ้มอะไรที่ต้องการแชร์เข้า Repositories
– Create new file หรือ Upload files
– ส่งลิงค์ เช่น https://thaiall.github.io/programming-page/

page settings
page settings

เล่าว่าเจอถูกปิดกั้นเข้าควบคุมเครื่องจากระยะไม่ไกลนัก

ได้ลองของอีกครั้ง
วันนี้บน Win10 ที่มี license แถมมาจากร้าน
ก็คงเป็น Win10 Home Single Lang ตามระเบียบ
ได้ทดสอบการใช้ VNC (ตัวนี้ใช้เยอะครับ) เข้าควบคุมเครื่องในวง LAN
มี viewer เป็น app บน Android ได้ทดสอบ 2 กรณี
ทั้งจาก WIFI ในเครื่องข่าย ADSL ที่บ้านหัวหน้า
และเครื่องข่าย WIFI ที่แชร์ผ่าน Hotspot 1 Mbps จากโทรศัพท์
พบว่ามีปัญหา หากไม่จัดการเรื่อง Firewall
ถ้าไม่อยากเข้า Firewall ลึก ๆ ก็ปิดไปเลย เดี๋ยวค่อยเปิดใหม่
แต่ถ้าเข้าไปเปิด Allow app แล้วก็สบายใจได้ว่า Firewall ยังทำงานอยู่
การทดสอบ สิงหาคม 2561 มีขั้นตอนดังนี้
1. ติดตั้ง VNC Server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลง Win10
2. ติดตั้ง VNC Viewer บนโทรศัพท์ที่ลง Android
3. ปิด Firewall หรือเปิด Allow app
4. มองหา ip ที่ถูกต้องบน Server เพื่อให้ Viewer เชื่อมเข้ามา
กรอกเลขผิด หมดสิทธิสื่อสารกันเลยครับ
5. มีวิธีการ authen หลายวิธี
จากการทดสอบผมเลือก VNC password แล้วไปกำหนดรหัสผ่านให้ Admin
ลองมองหาปุ่มตามภาพ
6. เปิด viewer กำหนด ip ที่ได้จากข้อ 4
ถ้าเชื่อมต่อได้ ก็จะมีช่อง user และ password มาให้กรอก
หากกรอกตรงกับที่กำหนดในข้อ 5 ก็จะมองเห็นหน้าจอ win10
บน android และเข้าควบคุมได้เลย
7. เรื่องความเร็ว หายห่วง เพราะเป็น home network
ทดสอบในเครื่องข่ายบนวง LAN เดียวกัน
เสียก็แต่หน้าจอเล็กไปหน่อย ถ้าใช้ Tablet น่าจะได้จอเต็ม ๆ
กว่าใช้โทรศัพท์หน้าจอเล็ก ๆ น่ะครับ

 

อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร

เรื่อง “อุดมศึกษาไทยที่จะอยู่รอดในยุคแข่งขันเดือดและผู้เรียนลดลง อย่างไร
บทความโดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
พบว่า อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์มาในกลุ่ม จึงนำมาแชร์ต่อ

ทุกวันนี้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย (ป.ตรี – เอก) ทั้งของรัฐ และเอกชน ต่างก็มีปัญหา เพื่อความอยู่รอดของกลไกตลาด (Market Mechanism) ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลัก ๆ คือ

1. สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน มีมากเกินกว่า “ตลาดผู้เรียน” เรียกว่าเป็น “สภาพการณ์อุปทานล้น (Over Supply Circumstances)” ของ อุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) เนื่องจากโครงสร้างการเกิดของประชากรที่ลดลง จะเห็นได้ว่ารับกันหลายรอบ ต่างก็ไม่เต็มกันแทบทุกหลักสูตร ทุกสถาบัน

2. นโยบายและการกำกับของรัฐ ที่มีรายละเอียดมาก ทั้งการควบคุม มาตรฐาน การประกันคุณภาพ สารพัดองค์/ตัวบ่งชี้ และ เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ที่ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งยังมีหลายมาตรฐานควบคุม ระหว่าง 1) มหาวิทยาลัยรัฐ 2) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ- ราชมงคล 3) มหาวิทยาลัยของรัฐนอกระบบ / ในกำกับ (Autonomous University) 4) มหาวิทยาลัย-สถาบัน-วิทยาลัย เอกชน ซึ่งในหลายๆมิติ จะเห็นว่าบุคลากรทางการศึกษา ต้องใช้เวลาหลายอย่างมากกว่าเน้นการจัดการสอน
http://www.cheqa.mua.go.th/

3. โอกาสเปิดกว้างกับสถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ และ การเรียนผ่านระบบเครือข่าย (Online Degree and Courses) ที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเรียนในชั้นปกติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ในขณะที่มาตรฐานองค์รวมของสถาบันอุดมศึกษาไทยขยับตัวพัฒนาช้า จนทำให้มาตรฐานดูพัฒนาในภาพรวมช้า
https://www.thaicyberu.go.th/

4. ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนมุมมองของคน Generation Y และ Generation Z ซึ่งรวมถึงคนวัย 30 ลงมาถึง teenage ที่มีเกือบครึ่งประเทศ ต้องการมีอิสระ และทางเลือกของตนเอง ดังนั้นทั้งต้องการเรียนรู้เอง ต้องการหาประสบการณ์ และ อาชีพเฉพาะตน/ SME มากขึ้น

ทั้งปัญหา ตลาด ระบบ คู่แข่งขันหน้าใหม่ และ วิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น สถาบันการศึกษาไทย จึงต้องปรับตัว ขอตอบด้วยทฤษฎี Ansoff Matrix จากที่ทำได้ง่ายสุด ไปถึงที่ทำยากสุด ดังนี้

1. กลยุทธ์เจาะตลาด (Market Penetration) ลงลึก เน้นหนักตลาดปัจจุบัน ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ (Present Market + Present Product)

สถาบันนั้นๆต้องปรับตัว เน้นทำตลาดให้ชัด สื่อสารการตลาดครบวงจร (Integrated Marketing Communication:IMC) ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ทันการณ์ สดใส ทั้ง คณาจารย์ สร้างภาพมืออาชีพ เน้นใช้เทคโนโลยีช่วยสอน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเชิงประจักษ์ ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) , CRM (Customer Relationship Management), CEM (Customer Experience Management) ให้ตลาดเห็นสถาบันเรามีตัวตน โดดเด่น (Outstanding) ออกมา พร้อมทั้งสร้างจุดเด่นจุดยืน (Brand Positioning) หาจุดยืนให้ชัดไปเลยว่าเราเป็นใครในตลาด เช่น เราคือ สถาบันวิจัย เราคือ สถาบันที่มีมาตรฐานการสอนสูงสุด เราคือผู้นำด้านสื่อสารมวลชน เป็นต้น หาแม่เหล็ก (Magnets) ด้วยตัวแทนสร้างชื่อ (Brand Ambassadorship) เน้นนำเสนอ เหล่าดารา นักกีฬา นักธุรกิจ มาเรียนที่เรา และอย่าลืม ลดต้นทุน ที่ไม่สำคัญออก ส่วนใดตัด Outsourcing ได้ ก็ทำ

2. กลยุทธ์พัฒนาตลาด (Market Development) หาตลาดใหม่ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีเดิม (New Market + Present Product)

เป็นวิธีที่เราเชื่อว่าสถาบันมีหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนที่ดีแล้ว ก็หาตลาดใหม่ เปิดตลาดหาผู้เรียนจากต่างชาติเป็นภาษาไทย หรือปรับหลักสูตรให้เป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 นำหลักสูตรไปหาตลาดต่างประเทศ สอนในต่างประเทศ ทั้งนี้ รวมถึงใช้เทคโนโลยีหาตลาดใหม่ด้วยการศึกษา Online ในหลักสูตร/ คณะต่างๆ เพิ่มขึ้น

3. กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) หาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โดนใจตลาดเดิม (Present Market + New Product)

สถาบันที่มีศักยภาพในความพร้อมทั้งบุคลากร เงินทุน เครื่องมือ และระบบสนับสนุนต่าง ๆ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา (ต้องตอบโจทย์ที่เป็นที่ต้องการตลาดด้วย) ได้แก่ การเปิดคณะใหม่/ สาขาใหม่ ที่รองรับตาม Trend เช่น สังคมสูงวัย (Aging Society) ดังนั้นให้เปิดคณะ/ สาขา ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์- สุขภาพ ครบวงจร

อีกทั้งพัฒนาบริการที่เกี่ยวเนื่องการศึกษาอื่น ๆ (Subsidiaries) เช่น เป็นศูนย์บริการเชิงพาณิชย์ เช่น วิจัยธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจ ฝึกอบรม บริการสอนให้วุฒิบัตรต่าง ๆ (certificate) และยังสามารถมองตลาดแบบพัฒนาถอยหลัง (Backward Integrations) ลงไปเชื่อมธุรกิจกับระดับโรงเรียนมัธยม/ ปวช-ปวส หรือ พัฒนาเดินหน้า (Forward Integrations)เชื่อมเป็น Partner กับภาคธุรกิจ- ภาครัฐ รูปแบบต่าง ๆ

4. กลยุทธ์เข้าธุรกิจใหม่ (Diversification) หาผลิตภัณฑ์และตลาดที่มีศักยภาพใหม่ ที่เราพร้อมลุย
(New Market + New Product)

มองหาธุรกิจใหม่เพิ่มเติม ที่ทีมบริหาร เห็นโอกาส ว่ายอดขาย กำไร และ ส่วนแบ่งตลาด ที่เราทำได้ อาจใกล้ตัวหรือไกลตัว เช่น ธุรกิจหอพัก ศูนย์การค้า บริษัทการค้าต่าง ๆ เป็นต้น

สถาบันต่าง ๆ ควรต้องปรับตัว/ พัฒนา ไปทางใดทางหนึ่ง อย่าหยุดนิ่ง ซึ่งนึกถึงกฎของเมอฟี่ (Murphy’s Law) ที่ว่า “Anything that can go wrong, will go wrong” คือ “อะไรที่มีทิศทางเชิงลบ อย่าปล่อยไป” และ “อย่าปล่อยโอกาสให้มีการผิดพลาด โดยไม่สนใจ” เรารู้อยู่แล้วว่าอุดมศึกษาไทยแข่งเดือด แย่งกัน หลายสถาบันกำลังไปไม่รอด เริ่มมีสัญญาณปิดตัว โดนต่างชาติยึด เริ่มควบรวม เป็นต้น

หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้ แค่มุมมองส่วนตัว ในฐานะที่เป็นอาจารย์คนหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในวงการอุดมศึกษาไทยมา 21 ปี

ทฤษฎี Ansoff Matrix
ทฤษฎี Ansoff Matrix

https://www.tutor2u.net/business/reference/ansoffs-matrix