ชอบภาพใน Spotlight บน Windows 10

เปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาทีไรก็เห็นภาพสวย
ตรวจสอบ พบว่า
เป็นบริการ Spotlight ใน Windows 10
ก็อยากเก็บไว้เป็นที่เป็นทาง
เปิดดูวิธีการใน https://www.beartai.com/beartai-tips/74769
กับอีกหลายคำแนะนำในหลายเว็บไซต์ ก็อยากทำบ้าง
แต่อยากให้ง่ายกว่าที่อ่านมาหน่อย
แบบ one click แล้ว ผ่าน batch file แล้วได้เห็นภาพเลย

ขั้นตอนการใช้ batchfile
1. Right click บน link
http://www.thaiall.com/assembly/myspotlight.bat
หรือ
https://raw.githubusercontent.com/thaiall/programming-page/master/batch/myspotlight.bat
แล้ว Save link as ไปไว้ที่ Desktop

2. เปิด Windows Explorer เลือก Desktop
แล้ว Double click เพื่อ run myspotlight.bat
ถ้า Windows protected your PC ขึ้นมาเตือน
ให้เลือก More info
แล้วคลิ๊ก Run anyway

3. ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย
โปรแกรม Windows explorer จะเปิดภาพแรกขึ้นมา
และเปิด Folder ที่เก็บภาพทั้งหมดให้

 

สรุปว่า
ผมเขียน Batch file ชื่อ myspotlight.bat
ทำหน้าที่คัดลอกแฟ้มภาพ ที่เก็บไว้อยู่แล้ว
ไปวางไว้ในห้อง myspotlight บน desktop
แล้วเปลี่ยนชื่อ และเลือกมา เฉพาะแฟ้มภาพใหญ่ที่ขนาดเกิน 100KB

บริการนี้เป็นของ Windows 10
ตรวจสอบบริการ โดยกด Right click บน Desktop
เลือก Personalize, Lock screen,
Background Preview = “Windows spotlight

Windows Spotlight is a feature included by default in Windows 10 that downloads pictures and advertisements automatically from Bing and displays them when the lock screen is being shown on a computer running Windows 10. Users are occasionally given an opportunity to mark whether they wish to see more or fewer images of a similar type, and sometimes the images are overlaid with links to advertisements. In 2017, Microsoft began adding location information for many of the photographs.
https://en.wikipedia.org/wiki/Windows_Spotlight

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง rename
https://technet.microsoft.com/en-us/library/bb490987.aspx
ตัวอย่างการเขียน for
https://www.microsoft.com/resources/documentation/windows/xp/all/proddocs/en-us/for.mspx?mfr=true
ตัวอย่างการเขียน goto
https://stackoverflow.com/questions/37515901/where-does-goto-eof-return-to

https://gist.github.com/thaiall/ebf9a005fa322f559c0f04960fe727b9

13 หัวข้อ เก็บและเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

13 หัวข้อ เก็บและเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

kingdom grieves
kingdom grieves

ตลอด 1 ปีแห่งความโศรกเศร้า จากการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9
พบว่า ในสื่อต่าง ๆ ที่จัดทำสื่อเทิดพระเกียรติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 รวมเวลากว่า 360 วันที่ผ่านมา พบเห็น ได้ยิน ได้ฟังมีทุกช่วงเวลา ทุกช่องสื่อแล้วในวันที่สุดแสนเศร้าสลดอีกวันหนึ่ง คือ วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

http://www.nationtv.tv/main/content/social/378544562/

และมติ ครม. ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ เอกชนบางแห่งก็ประกาศเป็นวันหยุดเช่นกันอาทิ เทสโก้ โลตัส ปิดบริการชั่วคราว ทั่วประเทศในวันที่ 26 ต.ค.2560 ให้พนักงานร่วมถวายความอาลัย

http://www.krobkruakao.com/index.php/local/53841

มีสื่อมากมายที่พบเห็น มีการแชร์กันอย่างแพร่หลาย คนไทยรักในหลวงได้จัดทำ จัดเก็บ และเผยแพร่แฟ้มเหล่านั้น เพื่อเทิดพระเกียรติซึ่งกระผมก็เป็นผู้หนึ่งที่จัดเก็บ และเผยแพร่สื่อที่ได้มา

1. เผยแพร่ใน Facebook Page

เป็น ปฏิทินตั้งโต๊ะของ ธนาคารธนชาต ปี 2560
ที่ https://www.facebook.com/pg/thaiall/photos/?tab=album&album_id=10154977481492272

2. เผยแพร่ใน Facebook Profile

โดยเพื่อน ๆ ในองค์กรที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ร่วมทำกิจกรรม รวมพลังแห่งความภักดี เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154682169098895.1073741921.814248894

3. เผยแพร่ผ่าน Homepage ปฏิทิน 2560

ได้จัด scan ภาพจากปฏิทิน ชุด “๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา”
ที่ http://www.thaiall.com/calendar/caltdesk60.htm

4. เผยแพร่ผ่าน Homepage รักในหลวง

ที่รวมสื่อแบบ Multimedia, e-book, Album และปฏิทิน
และเป็นเว็บเพจที่ share สื่อ 8 แฟ้ม
ที่ http://www.thaiall.com/thai/kingsong.htm

ดังนี้

[1] นิทานเทิดพระเกียรติ 9 เรื่อง [28.8 MB]

หนังสือชุดสำหรับเยาวชน : หนังสือสื่อประสมเฉลิมพระเกียรติ
จัดทำเนื่องในพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

 1 – ในหลวงของฉัน 30 หน้า

2 – กล้องของใคร 30 หน้า

3 – เพลงแผ่นดิน 30 หน้า

4 – วาดภาพตามพ่อ 30 หน้า

5 – เมฆน้อยของพระราชา 30 หน้า

6 – เรือใบใจกล้า 30 หน้า

7 – การเดินทางของความสุข 30 หน้า

8 – ต้นไม้ของพระราชา 30 หน้า

9 – ตามยายไปวัด

[2] คมชัดลึก ฉบับ 14 ต.ค.59 [78.8 MB]

เสด็จสู่สวรรคาลัย ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์มีพระราชประวัติตลอดเล่ม 9 หน้า

[3] 48 เพลงพระราชนิพนธ์ [151 MB]

รวมเพลง MP3 และแฟ้มรายชื่อเพลงใน .zip

รวมเพลงพระราชนิพนธ์

[4] ธนบัตรในรัชกาลที่ 9 [9.71 MB]

รวม 220 หน้า ในรูปแบบ PDF file

[5] The Nation ฉบับ 14 ต.ค.59 [12.4 MB]

ภาพปกเป็น พระเสโท
Kingdom grieves (ร่ำไห้)
12 Pages, Volume 41, No.54920 / Bt30
Hist Majesty King Bhumibol Adulyadej 1927-2016
Truly the King of hearts
Kingdom plunges into sorrow after King’s passing

[6] The Nation ฉบับ 15 ต.ค.59 [23.6 MB]

King begins his final journey
Last page : What Mourners say ..12 Pages

[7] เดลินิวส์ ฉบับ 15 ต.ค.59 [21.5 MB]

ในหลวง สวรรคตลดธงครึ่งเสา-ขรก.ไว้ทุกข์ 1 ปี
กษัตริย์จิกมี-ผู้นำทั่วโลกอาลัย
ในหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องราวของในหลวงทั้งหมด 27 หน้า
Scanned by CamScanner

[8] หนังสือโดยรัฐบาล [3.4 MB]

หน้า 5 “ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย
หนังสือภาพ จัดพิมพ์โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ISBN 978-616-543-421-8 มี 52 หน้า

5. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ Google Drive

ที่ https://drive.google.com/drive/folders/0B57tftxwECsiM1h6bkh1VXR3Qmc

6. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ Dropbox

ที่ https://www.dropbox.com/sh/4p8i5x9k0rhrlia/AAB5JE9gpAPiozE06w7BvFufa?dl=0

7. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ 4shared.com

ที่ https://www.4shared.com/folder/4YgEC7_s/royal_files.html

8. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ one drive

ที่ https://onedrive.live.com/?cid=ad5d4db8b448d28d&id=AD5D4DB8B448D28D%21641&authkey=!AKaPBjs8mvkPp2I

9. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ box.com

ที่ https://app.box.com/embed/s/jp0ujjehyb5qlzqg366je3ux7nyf6zt2/folder/11801920926

10. แล้วสื่อทั้ง 8 ยังเผยแพร่เป็น embeded ใน homepage

วิชาสื่อและเทคโนโลยี (TECH 100)
ที่ http://www.thaiall.com/mit/

11. เขียนบทความไอทีในชีวิตประจำวัน ITinLife 575

เมื่อ ตุลาคม 2559 เผยแพร่การเก็บสื่อเทิดพระเกียรติ
ที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/8078/

12. รวบรวมคลิ๊ปใน Playlist ผ่าน youtube.com

ที่ https://www.youtube.com/playlist?list=PLYv8A28PGRQzX0V0tJl33d81QO6nouASp

13. ทั้ง 8 แฟ้มรวมเป็น royal_files.zip ขนาด 361 MB

เผยแพร่ผ่าน google drive (public sharing)
ที่ https://drive.google.com/file/d/0B57tftxwECsic01uRl92eEUzNzQ/view?usp=sharing

14. แชร์เรื่องราวใน blog ของ oknation.net

ที่ http://oknation.nationtv.tv/blog/thaiabc/2017/10/07/entry-1

all files

การบันทึก และเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ยังดำเนินต่อไปตราบนานเท่านาน ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

กระแสวัตถุนิยมเริ่มเสื่อม เดี๋ยวนี้เป็นกระแสนิยมคนดี เข้ามาแทน

ภาพนี้เชยล่ะ
สมัยนี้ ไม่มีใคร
เห็นแก่ มอเตอร์ไซค์หรอก
เห็นแก่ กีฬา คือ ยาวิเศษ
เห็นแก่ รถยนต์หรู
เห็นแก่ เรือลำโต
ทุกคนชอบคบคนอ่านหนังสือ
ปล. กระแสนิยมวัตถุเริ่มเสื่อมล่ะ

มีตัวอย่างเยอะเลย กับกระแสรักการอ่าน

 
http://www.illumeably.com/2017/07/27/success-vs-failure/

หรือ

วิธีดูมิตรภาพระหว่างเรากับเพื่อน ใน facebook.com ว่าหนิดหนมกันแค่ไหน

Case study of friendship

เพื่อนของเรา หมายถึง คนที่เรารู้จักเค้า และเค้าก็รู้จักเรา สนิทสนมกันในระดับหนึ่ง
เพื่อนของเพื่อน หมายถึง คนที่เพื่อนของเรารู้จักมักคุ้น หรือเป็นเพื่อนของเพื่อนเรา
แล้วต่อไป อาจเปลี่ยนความสัมพันธ์มาเป็นเพื่อนของเราอย่างจริงจังในอนาคตก็ได้

หนิดหนมกันแค่ไหน ทาง facebook.com มีคำตอบมาทั้งตัวเลข และภาพ และโพสต์

ถ้ามีเพื่อนประมาณ 3600 คน ก็จะได้รับแจ้งวันเกิดเพื่อนประมาณวันละ 10 คน
เป็นการเอา [จำนวนเพื่อน] หารด้วย [จำนวนวันใน 1 ปี] = [จำนวนเพื่อนต่อวัน]

วันนี้มีวันคลัายวันเกิดของเพื่อนหลายคน
และ facebook.com มีบริการดูมิตรภาพของเรากับเพื่อน
อาทิ ajburin กับ harncharnchai
ก็จะเปิดได้ผ่าน link : facebook.com / friendship / [me] [friend]
ลองตรวจสอบดูพบว่า
เราเข้าไปส่งดูมิตรภาพของเพื่อนของเราคนหนึ่งกับของเพื่อนอีกคนหนึ่งได้

อาทิ
บุรินทร์ กับ อติชาต มีเพื่อนร่วมกัน 290 คน
https://www.facebook.com/friendship/ajburin/harncharnchai/

หรือ
บุรินทร์ กับ ปู่เก๋ มีเพื่อนร่วมกัน 6 คน
https://www.facebook.com/friendship/ajburin/gthaiall/

หรือ
บุรินทร์ กับ ขวัญชนก มีเพื่อนร่วมกัน 394 คน
https://www.facebook.com/friendship/ajburin/100000864060918/

หรือ
นสพ.แมงมุม กับ นิเวศน์ มีเพื่อนร่วมกัน 572 คน
https://www.facebook.com/friendship/mangmumnewspaper/nivate2012/

 

ใช้ bootstrap ทำเมนูไว้ใช้งาน

Bootstrap อาจแปลว่า สิ่งที่ช่วยทำให้ง่ายขึ้น หรือ สิ่งที่ทำได้ด้วยตัวเอง

Bootstrap คือ Front-end Framework ที่ช่วยพัฒนาเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น
ซึ่ง Bootstrap มีเครื่องมือหลักให้ 4 อย่าง คือ
1) Scaffolding หรือ Grid system ช่วยจัด column และ row บน screen เพื่อจัด Layouts
2) Base CSS ช่วยจัด form, table, icons หรือ buttons
3) Components ช่วยจัด Navbar หรือ Pagination หรือ Progress bars หรือ Media object
4) JavaScript ช่วยจัด Dropdown, Tab, Popover, Collapse, Carousel

มีตัวอย่างการเรียกใช้ที่ http://www.thaiall.com/web2

เมนูคอมพิวเตอร์ ก็คล้ายกับเมนูอาหาร มีตัวเลือกมากมายให้เลือกสั่ง ต้ม ผัด แกง ทอด ไอศครีม เมนูคอมพิวเตอร์ที่คุ้นตาก็จะมี file, edit, view, help เป็นต้น นักพัฒนา (Developer) จะเลือกเครื่องมือจัดเมนูให้ผู้ใช้ (User) เข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้น ต่อไปเป็นตัวอย่างการทดสอบ menu  ทั้ง 6 แบบ ที่ใช้ bootstrap กับ Java script ข้างนอก และเขียนเอง
ซึ่งแชร์ source code 6 แบบ

ขั้นตอนการทดสอบ ให้เห็นภาพเมนู มีดังนี้
1. download clone (repository)
จาก ใน https://github.com/thaiall/programming-page
ได้แฟ้ม programming-page-master.zip
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 มีขนาด 4,713,347 bytes

2. start โปรแกรม apache ใน xampp

3. unzip แฟ้มในข้อแรก
ได้ห้อง programming-page-master
แล้วย้าย folder นี้ไปไว้ใน c:\xampp\htdocs

4. เปิด menu แบบที่ 1
ด้วย http://localhost/programming-page-master/php/menu01.php
จนถึง menu06.php
ซึ่งทั้ง 6 แบบทำงานแบบ client-sided script

https://gist.github.com/thaiall/8e2a113c7cde54d4e18c217ba3dd8dae

 

5. พบว่า menu01.php – menu03.php ใช้ bootstrap

6. พบว่า menu04.php ใช้ javascript ของ DHTML Menu version 3.3.19

7. พบว่า menu05.php ใช้ jqueryui.com

8. พบว่า menu06.php เขียน javascript และ css ใช้เอง

มีหน้าตาของ Menu ทั้ง 6 แบบ ดังนี้

menu01.php
menu01.php
menu02.php
menu02.php
menu03.php
menu03.php
menu04.php
menu04.php
menu05.php
menu05.php
menu06.php
menu06.php
signin.php
signin.php

 

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน คือ กิจกรรมหนึ่งในวิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ให้นักศึกษาไปสืบค้นหนังสือที่ชอบในห้องสมุด นำมาอ่าน สรุปใจความสำคัญลงกระดาษ แล้วก็ถ่ายภาพกระดาษที่ได้สรุปเนื้อหาเหล่านั้น พร้อมกับถ่ายภาพตนเองระหว่างการอ่านหนังสือท่ามกลางกองหนังสือ จากนั้นก็ zip ผลงานทั้งหมดเป็นแฟ้มเดียว ส่งเข้าระบบอีเลินนิ่ง เมื่อเห็นภาพนักศึกษาตั้งใจถ่ายระหว่างอ่านหนังสือ ก็นำมาแชร์ต่อ เพราะเห็นเป็นเรื่องน่าชื่นชม

รักการอ่าน : http://www.thaiall.com/readbookt

แชร์ผ่าน photos google
ที่ https://photos.app.goo.gl/uJjXqkKvoZalZkim2

แชร์ผ่าน fan page
ที่ https://www.facebook.com/pg/ajarnburin/

 

รักการอ่าน
รักการอ่าน

การใช้บริการ Photos ของ Google.com เพื่อ Share Album สำหรับผู้มีบัญชีของ gmail.com สามารถ install app เพื่อเก็บ photos หรือ Video ใน cloud storage หรือ share ทั้งแบบ photo หรือ album แล้วยังสั่งเปิดแบบ slide show ได้

คำแนะนำการใช้งาน ดังนี้ 1) Sign in : http://photos.google.com 2) แล้วอัพโหลด 78 ภาพ ผ่าน Web browser 3) แล้วเลือก Add to Album, New album, พิมพ์ชื่ออัลบั้มแล้ว click เครื่องหมายถูกที่มุมบนซ้าย มีตัวอย่าง Album ที่ share เช่น “Love to read a book (2560-1)” , “โครงการ อพ.สธ-ม.เนชั่น” , “Miss Grand 2016” หรือ “Miss Grand 2017 (PWA)” “Fanpage สวนนายบู” สำหรับ Android : download

 


หลังอ่านหนังสือสักเล่ม ก็ต้องทบทวน ว่าในหนังสือมีอะไรดี สรุปออกมาอย่างน้อยสักหน้าให้รู้เรื่องราวความเป็นมาเป็นไป ก็น่าจะดี เป็นความคิดรวบยอดจากการอ่าน 
การเลือกหนังสือก็สำคัญ นักศึกษามักเลือกหนังสือที่สัมพันธ์กับสายของตนเอง (Major)
อาทิ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาสาธารณสุขศาสตร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาบัญชี
สาขาบริหาร
สาขานิเทศศาสตร์

ข้อมูลเปิด (Open Data) และเกี่ยวกับ data.go.th

ข้อมูลเปิด (open data)
ข้อมูลเปิด (open data)

Open Data

.. เคยอ่านวัตถุประสงค์ของ data.go.th แล้วก็ชื่นชม
ข้อแรก คือ ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ  สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย ข้อมูลที่เปิดให้ Download จากเว็บไซต์พบว่า มีหลายรูปแบบ อาทิ excel, json และ xml แล้วบรรทัดสุดท้ายของหน้า About พูดถึง ข้อมูลเปิด ว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ แล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการได้

ท่านที่สนใจก็เข้าไปสืบค้นข้อมูลกันได้นะครับ
ที่ https://data.go.th/About.aspx

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)

[เพิ่มเติม]
เกี่ยวกับข้อมูล Data ผมก็สนใจจึงทำโฮมเพจไว้หลายหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

http://www.thaiall.com/xml

http://www.thaiall.com/ajax

http://www.thaiall.com/lampang/index.php

http://www.github.com/thaiall

[Top Open Data]

ข้อมูลที่ถูก Download มากที่สุด คือ พิกัดตำบลจาก data.go.th
วันที่ 25 กันยายน 2560 พบมีคนเข้าชม จำนวนการเข้าชม 46423 ครั้ง
เป็นข้อมูลขอบเขตการปกครอง ของ กรมการปกครอง

ได้แฟ้มพิกัดตำบลของทั้งประเทศ
จำนวน 7768 รายการ จาก data.go.th มาในแฟ้ม tambon.xlsx
แล้วแปลงเป็น csv แต่เรียงตามรหัสตำบลเก็บในแฟ้ม tambon.csv
เลือกเฉพาะลำปางได้ 97 ตำบล เก็บในแฟ้ม tambon_lampang.csv
นับจาก tambon.xlsx ด้วย pivot table ในลำปางมี 97 ตำบล
สรุปว่ายืนยันข้อมูลว่าตรงกับรายการข้อมูลที่มีจริงใน tambon_lampang.csv
ตรวจตำแหน่งของ ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง
พบว่า latitude,longitude ไปตกกลางทุ่งนา
หลังศูนย์แสดงสินค้าเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
ห่างทางหลวงไปหลายร้อยเมตร

ทั้งหมดเก็บไว้ที่ https://github.com/thaiall/lampang

l3nr.org เป็นห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ไปซะแล้ว

ชอบเว็บไซต์ l3nr.org และแนะนำให้นักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นเวทีปล่อยของบ่อยครั้ง เพราะเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งปล่อยของสำหรับนักเรียนนักศึกษา ดังคำสำคัญ หรือนิยาม ที่พบในเว็บไซต์ว่า L3nr คือ “เกมส์การเรียนรู้” หรือ “เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)” และ “การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล

แล้วปี 2017 จะให้นักศึกษาไปปล่อยของกันที่นี่เหมือนเดิม ก็มีนักศึกษาเข้าไปสมัครสมาชิก แล้วพบข้อความว่า “ระบบ L3nr ในขณะนี้ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่แล้วค่ะ กรุณาใช้งานระบบ ClassStart ซึ่งเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทยในปัจจุบัน” สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่รับสมาชิกใหม่ของเว็บไซต์นั้น เคยเกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาทิ geocities.com หรือ thai.net เป็นต้น ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีเหตุผลที่ต้องปรับนโยบายไปเช่นนั้น ซึ่งผู้ดูแล L3nr.org มีอีก 2 เว็บไซต์หลักที่ต้องดูแล และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ GotoKnow.org คือ เว็บไซต์สำหรับคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตและการทำงาน ครู อาจารย์ คนทำงานภาครัฐและภาคสังคม และ ClassStart.org คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการการเรียนการสอนได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านนิยามของเว็บไซต์ L3nr.org เสร็จ .. ทำให้นึกถึงน้อง Kittichai Mala-in FramyFollow (ป.6) ที่ใช้ medium.com เป็นเวทีแชร์ประสบการณ์ใน โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่ 126 ตั้งแต่สมัย ป.3 ที่ทำ root Smartphone ของ True ผ่าน King Root พอขึ้น ป.4 กับ ป.5 สร้างเกมด้วย RPG Maker VX เดี๋ยวนี้ ป.6 สนใจ Dream Weaver CS5 กับ CSS ได้ความรู้เยอะเลยจาก thaicreate.com เขียนได้ดี น่านำไปแชร์ต่ออย่างมาก

แล้วนึกถึงหนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูเป็นโค้ช ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี quote ที่หน้าปกว่า “ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มหลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย
ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
” แล้วห้องเรียนกลับทางก็เป็นห้องเรียนที่สร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง

สรุปว่า .. มีเวทีมากมายที่เป็นห้องเรียนกลับหัว ที่ให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นเวทีปล่อยของ จะปล่อยกันเองตามอำเภอใจ ปล่อยตามประเด็นที่ครูอาจารย์มอบหมาย หรือปล่อยเพื่อประกวดแข่งขัน ก็ทำได้ตามสะดวก อย่าใช้แต่เฟสบุ๊กโปรไฟร์หรือแฟนเพจอย่างเดียว ก็แนะนำให้ไปใช้ในหลายแหล่ง มีเวทีมากมายที่เปิดรับเป็น public อย่างแท้จริง อาทิ  1) blogger.ccom, 2) wordpress.com, 3) oknation.net=oknation.nationtv.tv, 4) medium.com, 5) dek-d.com, 6) gotoknow.org, 7) github.com, 8) FreeWebHosting อีกมากมาย และนี่ยังไม่นับรวมเวทีมัลติมีเดียทั้ง คลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ ซอฟต์แวร์ หรืออีบุ๊ค เป็นต้น

ใน 7 sites แรกที่แนะนำไปด้านบน
มี WordPress.com ที่ชอบมากเป็นพิเศษ เพราะ export post ที่เลือกแบบ published ไปให้เพื่อนที่ลง WP ไว้ในระบบ แล้ว import แฟ้ม XML ได้เลย เรียกว่า ปล่อยของไว้ที่ WP วันดี คืนดี อยากเปลี่ยนเวที ก็ Export ไปที่อื่นได้เลย

นี่ผมก็ export จากไซต์ของ wordpress.com ได้แฟ้ม xml ไปฝากไว้กับ github.com
ที่ https://github.com/thaiall/programming-page/tree/master/wordpress

 

ก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ดี ๆ อย่าง Wonkdy.org
เขียนโดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ร่วมเขียนโดย ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
http://www.usablelabs.org
ข้อมูลจาก https://web.archive.org/web/20150908071932/https://www.wonkdy.org/pages/101

ในวันที่เจ้าต้นไม้เข้าเรียนประถมหนึ่ง แม่ถามพ่อว่า “รู้ไหม ลูกเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง?”

แน่นอนว่าพ่อตอบไม่ได้และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ Wonkdy Academy (หวังดี อคาเดมี)

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่รวบรวมโน้ตของพ่อและแม่เพื่อจะได้รู้และช่วยสอนลูกได้ เพราะพ่อกับแม่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นที่บ้าน

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่พ่อและแม่จะได้แบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ให้พ่อและแม่ของคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน การเกื้อกูลกันโดยแบ่งปันความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้แก่สังคม

นอกจากนี้พ่อและแม่ยังชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูง ทั้งในวงการการศึกษาที่พ่อและแม่ทำงานอยู่และคนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันแบ่งปันเนื้อหาดีๆ ให้ทุกคนสามารถตอบคำถามเดียวกันที่แม่ถามพ่อได้ว่า “เรารู้ว่าลูกเราเรียนอะไร”

หวังดี อคาเดมี เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเขียนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับ Wikipedia โดย หวังดี อคาเดมี พยายามพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย และเหมาะกับเนื้อหาด้านการศึกษามากที่สุด

โครงการ หวังดี อคาเดมี ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ส่วนคำว่า “หวังดี” นั้นมาจากคำแปลของคำว่า “ปิยะวิชญ์” (Piyawish) ที่เป็นชื่อจริงของเจ้าต้นไม้ ที่พ่อและแม่พยายามคิดโดยเอาบาลีบวกสันสกฤตบวกอังกฤษเพื่อเป็นชื่อของ “ดช.หวังดี” คนดีของพ่อและแม่นั่นเอง

ปล. เรารู้ความหมายของคำว่า wonk, wonky, (และ wank) ในภาษาอังกฤษดีจึงตั้งชื่อเว็บนี้ว่า “wonkdy” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงระบบการศึกษาของโลกนี้ที่พ่อกับแม่ได้เจอมา และด้วยความหวังว่าลูกคงได้เจอสิ่งที่ดีกว่า

 

อยากแก้ไข source code ของเราในเครื่องเราที่อยู่ใน Github.com เริ่มจาก pull แล้วค่อย push

ทบทวนกันนิดนึง  .. ก่อนไป clone vscode ของ microsoft
ปัจจุบันมีบัญชีใน Github.com แล้วอยากแก้ไข code ทั้งของเรา และของเขา บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ถ้าเป็นของเราก็ push กลับไปได้ เริ่มจาก pull มาในเครื่องเรา พอแก้ไข code เสร็จ ก็ push กลับเข้าไป

clone vscode
clone vscode

มีขั้นตอนดังนี้

1. ติดตั้ง git หา Download
ได้ที่ https://git-scm.com/download

2. เข้า cmd หรือไม่ก็ใช้ Atom editor เป็นอีกทางเลือกนึง
สร้างห้องเตรียมรับ repository ที่จะดึงมาแก้ไข
อาทิ d:\git\mygitfriends
แล้ว cd d:\git\mygitfriends

3. พบห้อง DOS> หลัง run cmd
เคยเล่าขั้นตอน 9 ข้อใน http://www.thaiall.com/blog/burin/8875/
หรืออ่านเพิ่มเติมที่ https://git-scm.com/book/en/v2/Git-Basics-Working-with-Remotes
วันนี้สั้นหน่อย แบบรวบรัด
DOS> git init
DOS> git config –global user.email “test@test.com”
DOS> git config –global user.name “test”
DOS> git remote -v เพื่อดูว่าเชื่อมต่อทิ้งไว้แล้วหรือไม่ จะได้ไม่ซ้ำ เช่น burin
DOS> git remote remove burin แค่นี้ก็ล้างข้อมูลที่เคยเชื่อมต่อไว้ แต่ folder ไม่หายนะครับ
DOS> git remote add mytest https://github.com/thaiall/mygitfriends.git
DOS> git pull mytest master ก็ดึง branch:master ตามลิงค์ข้างต้นมาในเครื่อง ต่อไปก็เรียก mytest
ข้อมูลมาเยอะเลย ไม่ถาม user & password เพราะเป็น public และมีรูปนึกศึกษาเพียบเลย
DOS> notepad README.md
แล้วเพิ่ม This is my test on 16 september 2017. ต่อท้ายไปอีก 1 บรรทัด
เอาละ Mission complete แล้วนะ ต่อจากนี้ก็ push ล่ะ
DOS> git add README.md
เพื่อให้ git รู้ว่ามีรายการเปลี่ยนแปลง คือ “แฟ้มนี้นะ ที่ส่งเข้าประกวด”
DOS> git commit -m “i want to write lesson at http://www.thaiall.com/blog
DOS> git push -u mytest master
ผมเลิกใช้คำว่า origin จะได้ไม่สับสน เพราะเราใช้อะไรก็ได้ ไม่ต้อง origin
จากนี้ก็จะลบข้อมูลการทดสอบทิ้งหละครับ เพราะ Mission complete
เนื่องจาก login github.com ไว้แล้ว เมื่อ push ก็ไม่ถาม user & password อีก

4. ถ้าต้องการ project ใน github.com ไม่ต้อง pull ก็ได้
ใช้ clone เพื่อ download ลงมาเลย แบบนี้แก้แล้ว push กลับไม่ได้นะครับ
เริ่มต้นก็ลบทุกอย่างใน current directory ก่อน clone อะไรมาได้ ก็จะได้รู้

4.1 แบบ pull
เริ่มจากกำหนดชื่อ branch อาทิ mytest ในเครื่องเรา ที่จะเชื่อมกับ branch master
แบบนี้คล้ายกับ clone แต่หวังจะ push ถึงได้ใช้ pull
DOS> git init
DOS> git remote add mytest https://github.com/thaiall/mygitfriends.git
DOS> git pull mytest master
มาเลย

4.2 แบบ clone ไม่ต้องอะไร สั่ง git clone ตามด้วย url ก็มาเลย
ไม่ต้องสั่ง git init ก็ได้ download มาเลย แล้วสร้าง Folder แยกให้
DOS> git clone https://github.com/schacon/ticgit
DOS> git clone https://github.com/thaiall/mygitfriends
DOS> git clone https://github.com/toyoshim/SyobonAction
DOS> git clone https://github.com/Microsoft/vscode
ถ้ารอ download นาน แล้วอยากยกเลิก ก็กด Ctrl+C หรือ close window

น้องวงศ์แชร์แนวคำถาม ในกลุ่มโปรแกรมเมอร์ไทย ลองแกะ for ดู

ตอน i=9 ไล่ ascii ผิดครับ ภาพนี้แก้ไข
ตอน i=9 ไล่ ascii ผิดครับ ภาพนี้แก้ไข

<introduction>
อ่านโจทย์ที่น้อง Wongsakorn แชร์มาในกลุ่มสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
บอกว่าเป็นแนวข้อสอบที่ ม. เห็นแล้วก็สนใจ สมาชิกเข้าไปเม้นท์เพียบ
https://www.facebook.com/groups/ThaiPGAssociateSociety/
มาโปรแแกรมเดียวแต่มี 12 คำถาม
เท่าที่ดูเป็นภาษา C ปรับเพิ่ม include แล้วเอาไปลองที่ jdoodle.com ได้
https://www.jdoodle.com/c-online-compiler
</introduction>

https://gist.github.com/thaiall/3f682a040fa1ebdd5d68dcbdede05750

<question>
คำถาม 12 ข้อมีดังนี้
1. loop for ทำงานกี่รอบ
2. ถ้า i=9 แล้วค่า t1 คืออะไร
3. ถ้า i=9 แล้วค่า s2[9] คืออะไร
4. ถ้า i=5 แล้วค่า t1 คืออะไร
5. ถ้า i=5 แล้วค่า t2 คืออะไร
6. ถ้า i=1 แล้วค่า t1 คืออะไร
7. ถ้า i=1 แล้วค่า t2 คืออะไร
8. ถ้า i=1 แล้วค่า s2[1] คืออะไร
9. ถ้าออก for แล้วค่า i คืออะไร
10. ถ้าออก for แล้วค่า sum คืออะไร
11. ถ้าออก for แล้วค่า s1[1] คืออะไร
12. ถ้าออก for แล้วค่า s2[7] คืออะไร
</question>

<process>
1. ดู code แล้วก็ต้องลองนำไป compile
เพราะถ้าตอบแล้วก็อยากพิสูจน์คำตอบ ว่าใช่หรือไม่
สุดท้ายแล้ว ผมก็ไม่ได้แก้ code ให้เฉลยตามโจทย์
เพราะดูผลจาก excel ก็น่าจะได้คำตอบครบแล้ว
แต่อาจนับผิดตำแหน่งใน Ascii table นั่นก็เป็น human error หละครับ

2. ลอง code ภาษา C
ที่ https://www.jdoodle.com/c-online-compiler

3. source code ไม่ได้มีเฉพาะ while, for และ variable
แต่มี function เข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวแปรแบบ Array of character
และการตรวจสอบค่าก็เกี่ยวกับ Ascii table ชัดเจน
https://www.cs.bu.edu/teaching/cpp/string/array-vs-ptr/

4. ค่าของ Array of character และ strlen
ทดสอบ code กันก่อน ไปดู code จริง

#include <stdio.h>
 #include <string.h>
 void main() {
 char var1[] ="abcdef"; // strlen คืนค่า 6
 char var2[5] = "abc"; // size of the array is determined at compile-time
 char var3[5] = {'a', 'b', 'c', '\0'};
 char var4[3] = "abc";
 printf("%zu\n %zu\n",strlen(var1),strlen(var2)); //6 3
 printf("%zu\n %zu\n",strlen(var3),strlen(var4)); //3 3
 printf("%zu\n %s\n %c\n %c\n",strlen(var3),var4,var4[0],var4[2]); //3 abc a c
 // http://www.cplusplus.com/reference/cstdio/printf/
 // var1 = "abc"; can not do this for array of character in c language
 }

5. ฟังก์ชัน strcmp กับ strcat กับ strcpy
ทดสอบ code กันก่อน ไปดู code จริง
https://www.tutorialspoint.com/c_standard_library/c_function_strcmp.htm

void main() {
 #include <stdio.h>
 #include <string.h>
 void main() {
 char var1[] ="abcd";
 char var2[5] = "abc";
 char var3[5] = "ABC";
 char var4[2] = {'a','\0'};
 char var5[2] = {'0','\0'}; //
 if(strcmp(var1,var2)>0) printf("true"); else printf("false"); // true : [3] 100 > 0
 if(strcmp(var2,var3)>0) printf("true"); else printf("false"); // true : [0] 97 > 65
 if(strcmp(var3,var4)>0) printf("true"); else printf("false"); // false : [0] 65 > 97
 if(strcmp(var4,var5)>0) printf("true"); else printf("false"); // true : [0] 97 > 30
 if(strcmp(var5,var1)>0) printf("true"); else printf("false"); // false : [0] 30 > 97
 strcpy(var4,var2); // var4 replaced by var2
 if(strcmp(var2,var4)==0) printf("true"); else printf("false"); // true : [0] abc = abc
 printf("%s %s",var2,var4); //abc abc
 strcpy(var5,var1); // var5 replaced by var1
 printf("%s %s",var1,var5); //abcd abcd
 strcat(var3,var4); // var3 = var3(ABC) + var4(abc) = ABCabc
 printf("%s %s",var3,var4); //ABCabc abc
 }

6. โปรแกรมนี้ใช้ mod ด้วย
ทดสอบ code กันก่อน ไปดู code จริง

char var1[] ="abcd";
printf("%i",var1[0] % 2); // 1
printf("%i",var1[1] % 2); // 0
printf("%i",var1[2] % 2); // 1

ในโจทย์ต้อง mod y คือตัวที่ 25 ในภาษาอังกฤษ น่าจะ mod 2 แล้วได้ 1 นะ

7. มีคำถามเรื่อง i ที่ออกจาก for แล้ว
ภาษา c จะคำนวนค่า i แล้วเปรียบเทียบ
ดังนั้นค่า i จะเป็นค่าที่อยู่นอกเงื่อนไขของ for

int i;
for(i=5;i>0;i=i-2) {}
printf("%i",i); // -1

8.มีคำถามหนึ่งที่เค้าไม่ได้ถาม แต่ผมสงสัย
คือ char ที่ไม่มีค่า หาก -1 จะได้เท่าใด คำตอบ คือ -1 เหมือนเดิม
เพราะค่าที่จองไว้ default เป็น 0 หมด
แต่ถ้าพิมพ์ค่าที่เกินจากที่จอง โปรแกรมไม่ error แต่เอาที่ไหนมาก็ไม่รู้
เช่น v[20] ออกมาเป็น 55 นั่นหละครับ

char v[10] = "abcde";
v[9] = v[9] - 1;
printf("%i %i %i %i %i",v[1],v[5],v[6],v[9],v[20]); // 98 0 0 -1 55

9. ถ้าเข้าใจฟังก์ชันทั้ง 4 แล้วก็เหลือแต่วน loop
ปกติก็จะทำเป็นตารางแบบ excel มี header แยก column ตามตัวแปร หรือตามชอบ
row ก็เป็นค่าของ i เท่าที่ดู code ก็ไม่เปลี่ยนค่า i กระทันหัน วนจนจบเลย
จากนี้ผมจะไปเปิด excel ช่วยล่ะครับ

10. สรุปว่าคำตอบทั้งหมด ผมไม่ได้ตอบนะ
แต่ดูจาก excel ที่ได้จากการไล่ค่าใน loop
ซึ่งเก็บเรื่องนี้ไว้ไปเล่าต่อ หากมีโอกาสน่ะครับ
เพราะผมเล่า for ซ้อน for กับ mod แค่นั้นก็เหนื่อยล่ะ
</process>

ภาพนี้ไล่ลำดับ i=9 ผิด ทำภาพมาใหม่อยู่ด้านบน
ภาพนี้ไล่ลำดับ i=9 ผิด ทำภาพมาใหม่อยู่ด้านบน