โครงสร้างของสมอง (Brain Structure) 3 ชั้น หรือสมองสามระบบ (Triune brain)

โครงสร้างของสมอง (Brain Structure) ถูกแบ่งพิจารณาสมองออกเป็น 3 ชั้น
หรือสมองสามระบบ (Triune brain) ตาม นายแพทย์พอลแมคลีน (Paul Maclean)
โดยแบ่งตามการวิวัฒนาการและการเจริญเติบโต
1. สมองส่วนแรก คือ สมองของสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian brain)
เป็นส่วนที่เรียกว่า ก้านสมอง (Brain stem)
สมองส่วนนี้เป็นส่วนของสมองมนุษย์ที่ได้รับตกทอดมรดกมาจากสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์
สมองในส่วนนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพันธุกรรม และจะเจริญเติบโตเต็มที่ในครรภ์มารดาประมาณ 90-95%
2. สมองส่วนที่สอง หรือ สมองชั้นกลาง คือ สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมยุคโบราณ (Old mammalian brain)
หรือ ลิมบิคซิสเต็ม (Limbic system)  หรือ ลิมบิคเบรน (Limbic brain)
เนื่องจากสมองส่วนนี้มีรูปร่างดูแล้ว
คล้ายหัวเสือดาวจึงมีผู้เรียกสมองชั้นกลางนี้ว่า สมองเสือดาว (Leopard brain)
เป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก เป็นสมองส่วนที่ ดูคล้ายวงแหวนที่หุ้มรอบ ๆ สมองส่วนแรก
สมองส่วนนี้ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ และการเรียนรู้ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0-8 ปี
3. สมองส่วนที่สาม หรือ สมองชั้นนอก คือ สมองเลี้ยงลูกด้วยนํ้านมยุคใหม่ (Neomammalian brain)
หรือ คอร์เท็กซ์เบรน (Cortex brain) เป็นสมองที่พบในสัตว์ชั้นสูงเท่านั้น
เช่น มนุษย์ ปลาโลมา และลิงวานร
สมองส่วนนี้ยังไม่ได้รับการพัฒนาครรภ์ แต่จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรก
เมื่ออายุครบ 3-6 ขวบ สมองส่วนนี้จะได้รับพัฒนาประมาณ 80%
แต่พออายุ 9 ขวบก็จะได้ 90% และสามารถเติบโตไป จนกระทั่งอายุ 25 ปี
สมองในส่วนนี้ได้รับอิทธิพลน้อยมากจากพันธุกรรม (10-20%) เพราะ มาเติบโตภายหลังคลอด
http://www.wfc.kmutt.ac.th/public/th/downloadHeader/15
http://thainame.net/edu/?p=3899
http://www.thaiall.com/hci/
http://e-ducation.datapeak.net/brain.htm

แท่นวางเมาส์หลุดร่วงหลายตัว

แท่นวางเมาส์
แท่นวางเมาส์

ที่มา
เห็นแผ่นเหล็กทรงวงกลม ที่นำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการเรียน
เป็นสัญลักษณ์สื่อว่าผู้ที่ได้รับเหรียญคือผู้ที่หลุดเข้าไปในเครือข่ายสังคม
แล้วทิ้งห้องเรียนไว้ด้านหลัง ก็จะมีผลต่อเกณฑ์การประเมินในชั้นเรียน
เมื่อมองแผ่นเหล็ก ก็เห็นว่าเป็นแผ่นที่ใช้ประกอบแท่นว่างเมาส์ของโต๊ะคอมฯ ทุกตัว

สำรวจกับนักศึกษา พบว่า
1. โต๊ะคอมพิวเตอร์หลายตัวที่มีแท่นวางเมาส์นั้น แท่นวางเมาส์หลุดออกมา
เมื่อตรวจในรายละเอียด พบว่า ไม่สามารถประกอบกลับเข้าไปให้เหมือนเดิม
ถ้าพยายามจะประกอบ ก็ยังทำได้อยู่ แต่หัวหมุดจะยื่นออกมาบนถาดวางแป้นพิมพ์
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ พลาสติกที่ใช้รองรับหัวน็อตเสื่อมสภาพ รับน้ำหนักแท่นวางเมาส์ไม่ไหว
ทำให้พลาสติกรับน้ำหนักหลุดมาเฉพาะส่วนที่รับน้ำหนักเป็นรูปวงกลม
เมื่อประกอบกลับเข้าไป พบว่าไม่มีพลาสติกรองรับหัวน๊อต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ
ที่ใช้ยึดแท่นวางเมาส์กับถาดวางแป้นพิมพ์เข้าด้วยกัน
2. ใน 50 เครื่อง มีแท่นวางเมาส์หลุดออกมามากกว่า 5 ตัว
และพบว่านักศึกษาไม่นิยมใช้ถาดวางเมาส์ แต่วางไว้บนโต๊ะคอมพิวเตอร์
และหลายครั้งที่พบว่าการหลุดร่วงของแทนวางเมาส์ไม่ได้หลุดจากการใช้งาน
แต่หลุดลงมาเฉย ๆ ทั้งที่มีนักศึกษานั่งอยู่ และไม่มีนั่งอยู่
สาเหตุน่าจะมาจากพลาสติกรองรับหัวน๊อตบางเกินไป และหมดอายุ จนรับน้ำหนักต่อไปไม่ไหว
3. ปัจจุบัน แท่นวางเมาส์ไม่ถูกใช้งาน
ปัญหาน่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบโต๊ะ เพราะแท่นวางเมาส์ยื่นเข้าตัว และอยู่ห่างจากจอภาพมาก
พบว่า นักศึกษานิยมใช้เมาส์วางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์มากกว่า เพราะสะดวกในการใช้งาน
ทำให้ไม่พบนักศึกษาดึงเมาส์ลงมาวางบนแท่นวางเมาส์ ขณะใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ผ่านมาจึงไม่พบการร้องเรียนว่าแท่นวางเมาส์ชำรุด
4. สรุปว่าจะไม่พยายามประกอบเข้าไป
ถ้าประกอบเข้าไปหัวน๊อตจะไปชนกับแป้นพิมพ์ แล้วทำให้ใช้งานแป้นพิมพ์เป็นปัญหา
และการประกอบเข้าไปก็จะไม่ได้ประโยชน์ใดเพิ่ม
เพราะไม่พบการใช้งานแท่นวางเมาส์ จากการให้ข้อมูลของนักศึกษาผู้ใช้งาน
ปล.ผมสนใจเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
http://www.thaiall.com/hci/
ว่าคบหากันดีอยู่รึเปล่า หรือมีปัญหาแบบพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง ที่ฆ่าชิงทรัพย์
http://www.komchadluek.net/detail/20151101/216169.html


ภาพประกอบจาก
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10153701189182272.1073741900.350024507271

ฟังมาว่าโปรเจคเตอร์ระเบิด ต้องไปดู ว่าอะไรที่ระเบิด เพราะอะไร

หลอดดี เทียบให้ดูกับหลอดที่ระเบิด
หลอดดี เทียบให้ดูกับหลอดที่ระเบิด
หลอดระเบิด ข้างในมีเศษแก้วเต็มไปหมด
หลอดระเบิด ข้างในมีเศษแก้วเต็มไปหมด
ภาพหลอดระเบิด ถ่ายโดยคุณเปรม
ภาพหลอดระเบิด ถ่ายโดยคุณเปรม
ราคาหลอด กับโปรเจคเตอร์
ราคาหลอด กับโปรเจคเตอร์
projector ก็เสียได้ และมักเสียเมื่อหมดประกันแล้ว
projector ก็เสียได้ และมักเสียเมื่อหมดประกันแล้ว

มีอยู่วันหนึ่ง เลขาฯ คนสวย บอกว่าหัวหน้าประชุมร่วมกับอีกหลายท่าน
แล้วอยู่ ๆ โปรเจคเตอร์ก็ระเบิดดังตูม ตกใจกัน
จากนั้น ก็ส่งอีเมลเป็นเรื่องเป็นราวมา ขอให้ไปดูให้หน่อย
ก็ต้องไปดูจะได้อะไรอะไรกันต่อไป ก็มีเรื่องเล่าดังนี้
1. ไปดูที่เกิดเหตุ เห็นโปรเจคเตอร์วางบนโต๊ะหินอ่อน มีสายไฟโยงกับปลั๊ก สายไฟค่อนข้างตึง
2. ปลั๊กพ่วงอยู่ใต้โต๊ะคอมพิวเตอร์ แถวที่วางเท้า อาจเผลอไปเตะใส่ได้
3. นำโปรเจคเตอร์กลับมาตรวจสอบว่าหลอดชำรุดหรือไม่ ก็ได้คุณเปรมช่วยแกะดู
พบว่าหลอดโปรเจคเตอร์แตกละเอียด มีเศษแก้วในหลอดเต็มไปหมด
4. ประกันหลอดไฟ ปกติคือ 1 ปี หรือ 1000 ชั่วโมงแรก
ถ้าเปิด 6 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะได้ 166 วัน แต่อายุเกิน 3 ปีแล้ว
ถ้าเสียที่ตัวเครื่อง เช่นวงจร หรือพัดลม ก็หมดประกัน 3 ปีไปแล้วเช่นกัน
5. สรุปว่าหาตัวใหม่ไปให้คุณเลขาฯ ส่วนตัวนี้ก็แทงจำหน่ายว่าชำรุด
เพราะถ้าซื้อหลอดราคา 8000 บาทมาใส่ ก็ไม่กล้ารับประกันว่าจะใช้ได้ถึง 1 ปีหรือไม่

ปล. การระเบิดอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีอุปกรณ์เก่ามากแล้ว อุณหภูมิสูง หรือสภาพแวดล้อมไม่ดี


ราคาโปรเจคเตอร์ และหลอด EB-X7
– เครื่องราคา 2 หมื่นขึ้นไป
– หลอดราคา 8000 กว่าบาท
http://www.priceza.com/s/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2/Projector-Epson-Eb-X7

แนะนำวิธีการเปลี่ยน หลอดภาพ Epson Lamp โดยละเอียด
http://www.winboardtechnology.com/index.php?route=information/information&information_id=23

คำแนะนำเพื่อยืดอายุการใช้งานของ Projector Lamp ของคุณ
1. วางในที่ ๆ เหมาะสม
2. ทำความสะอาดและเปลี่ยนตัวกรองอากาศสม่ำเสมอ
3. ปิดเครื่องแล้วรอให้เย็น ก่อนเก็บ
4. ไม่ย้ายเครื่องขณะใช้งานอยู่
5. ใช้แสงที่เหมาะกับสภาพห้อง
6. ระหว่างตัวเครื่องและปลั้กไฟ สายไฟฟ้าต้องไม่ตึง ไม่งอสายเกินไป
7. ไม่วางปลั๊กไฟไว้ในจุดที่เท่าแตะถึง หรือไม่มั่นคง
http://www.epson.co.th/epson_thailand/my_epson/tips_and_tricks/eb_s7/prolong_your_projector_lamp_life.page

พระคณาจารย์จีนธรรม ปัญญาจริยาภรณ์ มรณภาพลงด้วยอาการสงบ

พระคณาจารย์จีนธรรม ปัญญาจริยาภรณ์ มรณภาพลงด้วยอาการสงบ
พระคณาจารย์จีนธรรม ปัญญาจริยาภรณ์ มรณภาพลงด้วยอาการสงบ
สาธุ สาธุ สาธุ
25 ต.ค.58 มีการยืนยันข่าวว่า พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) เจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่
รองเจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกาย ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ในเวลา 02.07 น. ของวันที่ 25 ต.ค.2558 ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56 ในการนี้จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพแด่ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาภรณ์ ในเวลา 17.00 น. ที่วัดมังกรกมลาวาส
นายพิสิทธิ์ชนนท์ นิวัฒนากุล เลขานุการพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ และกรรมการวัดมังกรกมลาวาส
กล่าวว่า สมัยก่อนหลวงพ่อมีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารมาโดยตลอด
กระทั่งได้รับการผ่าตัด แต่อาการมาเกิดขึ้นอีกช่วงตรุษจีน หลวงพ่อได้เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ
ตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนเป็นต้นมาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ จากนั้นหลวงพ่อก็ได้มรณภาพลงก็ลงด้วยอาการสงบ
โดยคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ จะเคลื่อนศพของหลวงพ่อไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดมังกรกมลาวาส
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/regional/356497
บัณฑิต และมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเนชั่น มีโอกาสได้ฟังท่านบรรยายธรรม
ใน พิธีประสาทปริญญาบัตรครั้งที่ 21 ของมหาวิทยาลัยเนชั่น
มีความตอนหนึ่งในคลิ๊ป ของพระคณาจารย์จีนธรรม ช่วงเวลา 0:25 – 0.49
ชีวิตที่จบแล้วเนี่ย เราจะดำรงชีวิตของเราอย่างไร
เราจะใช้ชีวิตของเราที่เรียนมา 4 ปี ที่เรียนมาในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างไร
ข้อนี้น่ะที่เป็นปัญหาที่มหาบัณฑิต และบัณฑิตทุกคน
—-
พระคณาจารย์จีนธรรม ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ช่วงเวลาที่ 3:12 – 3:20
—-
มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรครั้งที่ 21
ประจำปีการศึกษา 2557 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558 ณ เวทีกลางแจ้งริมอ่างตระพังดาว
มีบัณฑิต-มหาบัณฑิต 463 คน จากผู้สำเร็จการศึกษา 540 คน
ในพิธีการมีการบรรยายธรรมะ โดยพระคณาจารย์จีนธรรม ปัญญาจริยาภรณ์
เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส(เล่งเน่ยยี่)
คุณบุญเกียรติ โชควัฒนา ให้โอวาท ช่วงเวลาที่ 0:52 – 1:12
เพราะการที่เราคิดว่าเราสำเร็จ
จะเป็นเครื่องขัดขวางการพัฒนาต่อไปในอนาคต ทั้งตัวเอง การงาน และอาชีพ
ควรคิดว่า เรามีสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เพื่อให้เราพัฒนาต่อไป
และคอยสังเกตุความเจริญก้าวหน้าของตนทั้งทางโลก และทางธรรม
รวมคลิ๊ปพิธีประสาทปริญญาบัตรครั้งที่ 21
พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ผู้สถาปนาโรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย
พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ผู้สถาปนาโรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย
พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ ผู้สถาปนาโรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย บรรยายแสดงมุฑิตาจิตแก่บัณฑิตและมหาบัณฑิต ในวันพิธีประสาทปริญญาบัตร บัณฑิตและมหาบัณฑิต ครั้งที่ 21 ณ อัฒจันทร์เวทีกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตร ท่ามกลางความสวยงามของธรรมชาติเมฆไม้และขุนเขา และเป็นพิธีประสาทปริญญาบัตรกลางแจ้งท่ามกลางธรรมชาติ แห่งเดียวในประเทศไทย เมื่อ วันจันทร์ ที่ 26 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา
พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เจ้าคุณเย็นเชี้ยว)
พูดเรื่องการศึกษาใน Now/26 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ช่วงเวลา 2.40 – 4.21

ผลงานภาพวาด น้องถงถง ณภัทร นานาชิน

ถงถง
ถงถง

https://www.igspin.com/post/1096690563671826855_178987983

อ่านมาจากเว็บไซต์ดาวคณะ (Daokana)
ว่า น้องถงถง ณภัทร นานาชิน
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
มีความสามารถด้านการวาด สร้างรายได้ถึงหลักแสนต่อเดือน
http://daokana.com/433
เคยเห็นผลงานของน้องถงถงใน line ที่
https://www.igspin.com/post/977168390519956302_178987983

tongtong napat
tongtong napat

แนวความคิดทางการบริหารของ ฮาร์โรลด์ ดี คูนซ์ (Harold D. Koontz)

principles of management
Principles of Management

การบริหารเป็นการดำเนินการที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการรวมตัวกันของมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั้น จำเป็นที่มนุษย์ต้องพยายามหาแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันเองภายในกลุ่มให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งตอบสนองความต้องการของตนเอง ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องทำความรู้จักกับคำว่า “การบริหาร” เพื่อควบคุมดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยอดีต มีความพยายามแสวงหาวิธีการในการบริหารให้ได้ผลตามที่ตนเอง กลุ่ม หรือองค์กรต้องการ การบริหารจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม เช่น การบริหารบุคคล การบริหารองค์กร และการบริหารประเทศ สำหรับแนวความคิดและทฤษฎีทางการบริหารในสมัยใหม่ที่เริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจังนั้น เริ่มขึ้นเมื่อราวหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง โดยแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มของการศึกษาทางการบริหารยุคใหม่ ได้แก่ แนวความคิดของ Frederick W. Taylor ซึ่งนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหาร โดยเสนอแนวความคิด วิทยาศาสตร์การจัดการ (Scientific Management) ขึ้น และทำให้การศึกษาการบริหารมีการศึกษากันอย่างจริงจัง และมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาโดยตลอด พัฒนาการของแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และเทคโนโลยี การนำแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารมาใช้ในการบริหารงานนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามแนวทางหรือความสนใจของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือผู้บริหารองค์กร

การบริหารองค์กรในทางวิชาการ เสนอว่า ควรดำเนินการเป็นกระบวนการ คือ ทำไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีการขาดตอน การจำแนกขั้นตอนการบริหารที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ได้แก่ แนวความคิดทางการบริหารของ ฮาร์โรลด์ ดี คูนซ์ (Harold D. Koontz) ได้กำหนดกระบวนการบริหารไว้เป็น 5 ประการ คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การเจ้าหน้าที่ (Staffing) การอำนวยการ  (Directing) และการควบคุมงาน (Controlling) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. การวางแผน (Planning)
เป็นกระบวนการในการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ นโยบาย โครงสร้าง และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลในอนาคต ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพยากรณ์เหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งต้องมีการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการคาดคะเนผลที่จะได้รับ ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

2. การจัดองค์กร (Organizing)
เป็นการกำหนดรูปแบบโครงสร้างขององค์กร  จัดระบบ ระเบียบการทำงานขององค์กร เพื่อให้เกิดความสะดวกในการมอบหมายงาน หรือการสั่งการ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานอย่างชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อน

3. การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing)
การจัดคนเข้าทำงาน หรือการบริหารงานบุคคล เป็นการจัดการเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหา คัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษา การแต่งตั้ง โยกย้าย การพัฒนา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน นับว่าเป็นกระบวนการบริหารจัดการทั้งหมดเกี่ยวกับคน หรือ บุคลากร ที่จะสามารถปฏิบัติงานให้กับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

4. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หรือการสั่งการ เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงบุคลากรให้ ปฏิบัติงานและมีความกระตือรือร้นในการที่จะทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีภาวะผู้นำ  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และใช้ศิลปะในการบังคับบัญชา

5. การควบคุม (Controlling)
การควบคุม เป็นการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์กรเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ที่กำหนดไว้หรือไม่ การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนดหรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไรเพื่อนำไปสู่การทำการแก้ไข การควบคุมอาจตรวจสอบจากการใช้งบประมาณ การตรวจงาน  การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการประเมินผลการปฏิบัติงาน

เรียบเรียงโดย ปฏิญญา ธรรมเมือง



หนังสือ Principles of management , Fourth Edition
หน้า 3 พูดถึง Process of Managment โดย Harold D. Koontz
+ https://books.google.co.th/books?id=trMz8Jy89C8C
+ https://en.wikipedia.org/wiki/Harold_Koontz
+ http://hacha555.blogspot.com/2013/07/harold-koonz.html

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

แม่ทัพแนวหน้าถูกเตือนให้ดำเนินการตามระบบ

attack on titan
attack on titan

http://big-cartoon.blogspot.com/2013/09/attack-on-titan.html

เช่าหนังญี่ปุ่นมาดู เรื่องไททัน (Attack on Titan)
ขณะไททันกำลังบุกฝ่ากำแพงเมืองเข้าไป
แม่ทัพแนวหน้าสั่งเตรียมพร้อมเป็นการด่วนที่สุด
เพื่อจะปกป้องบ้านเมืองจากความเสี่ยงใหญ่หลวง
ลูกน้องวิ่งเข้าไปเตือนสติแม่ทัพแนวหน้า
ว่า “เรายังไม่ได้รับคำสั่ง ให้บรรจุกระสุนดินปืน
.. นั่งอึ้งไปเลย ลุ้นว่าทหาร ๆ แนวหน้า
จะกลับไปขออนุมัติใช้กระสุนดินปืนยิงยักไททัน
ที่กำลังเดินเข้าไป หมายกินคนในบ้านเมืองรึเปล่า
แม่ทัพแนวหน้าตอบสนองคำเตือนสติทันควัน
ด้วยการต่อยลูกน้องไปหนึ่งหมัด แล้วสั่งยิงทันที
ซึ่งคาดได้ว่าแม่ทัพบอกเป็นนัยว่าไม่ทันแล้ว จะโดนกินกันอยู่แล้ว
ลูกน้องคนนี้คงนิยมรอรับคำสั่ง ถ้าไม่สั่งจากแม่ทัพไม่ทำ
ซึ่งคาดได้ว่าลูกน้องไม่รู้ว่าบ้านเมืองกำลังอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
อาจเป็นไปได้ที่ลูกน้องขาดความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียกับบ้านเมือง
พอไม่ชอบเมืองนี้ ลูกน้องก็คงจะย้ายไปเมืองอื่น แล้วโทษว่าเมืองไม่ดี

ทดสอบการทำงานของเครื่องบริการ กับเครื่องลูก

การเชื่อมต่อเข้ามาพร้อมกัน 10 connection
การเชื่อมต่อเข้ามาพร้อมกัน 10 connection

ที่มา ที่ไป
เตรียมสอนนักศึกษาเรื่องศักยภาพของเครื่องบริการ
ไม่ได้อยู่ที่ RAM อย่างเดียว ยังมีรายละเอียดอีกมาก
แม้เครื่องจะอยู่ใน Cloud ก็ยังสุ่มเสี่ยงต่อการเดี้ยงกลางอากาศได้เช่นกัน
เพราะเวลาเช่าเครื่องบริการใน Cloud ก็ต้องกำหนดว่าจะจ่ายให้กับอะไรอยู่ดี

การเชื่อมต่อเข้ามา 1 connection ก็ยังรับไหว
การเชื่อมต่อเข้ามา 1 connection ก็ยังรับไหว

การทดสอบเครื่องที่ทำงาน
ทดลองใช้เครื่องหนึ่งร้องขอบริการจากอีกเครื่องหนึ่ง
ในที่นี้ desktop2 คือ เครื่องบริการเว็บและอีเมล
ส่วนเครื่อง notebook คือ เครื่องลูกที่ส่ง request ไปยังเครื่องบริการ
ด้วยการเปิดเว็บเพจเดียวกันพร้อม ๆ กัน 10 iframe ใน 1 หน้าต่าง
แต่ละ iframe เรียกไปยัง url แบบส่งค่า get ที่แตกต่าง
และ url คือ php ที่เรียกใช้ smtp ก็จะ load เครื่องบริการเกือบ 50 Kbps
โปรแกรมที่ monitor ใช้ tcpview for windows ซึ่ง download ได้ฟรี
จาก https://technet.microsoft.com/en-us/library/bb897437.aspx
และใช้ task manager ดู performance ของ ethernet ว่าขึ้นลงอย่างไร
เมื่อเครื่อง notebook ส่งคำขอใช้บริการไปยัง desktop2
เครื่องบริการทดสอบเปิดบริการด้วย xampp เฉพาะส่วนของ apache
ถ้าเปิด mercury ก็คงจะทำให้เกิดภาระกับเครื่อง desktop2 ขึ้นอีกเยอะ

ในขณะที่เครื่องลูกยังไม่ได้เชื่อมต่อเข้ามาผ่าน port 80
ในขณะที่เครื่องลูกยังไม่ได้เชื่อมต่อเข้ามาผ่าน port 80

สรุปผลการทดสอบเครื่องที่ทำงาน
เครื่อง desktop2 เป็นเพียงเครื่อง PC ที่มีทรัพยากรต่ำ
และ Bandwidth ต่ำ รองรับการ download ได้ไม่มาก
และไม่ได้ออกแบบให้ทำงานกับ Cache server : Static file แต่อย่างใด
ถ้ามี request เข้ามาสัก 20 – 30 คน พร้อม ๆ กัน
เครื่องนี้ก็คงจะรองรับการเชื่อมต่อไม่ไหวเป็นแน่ เพราะคอขวดเยอะครับ

การประเมินเจ้านาย ด้วย 20 คำถาม

ถ้าเป็นนายก ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นเจ้าของบริษัท ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผู้ว่า ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผบ. ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ผู้เข้าประเมิน ก็มีทั้งภายใน และภายนอก ก็จะประเมินกันไปคนละอย่าง
การประเมินเจ้านาย ก็เพื่อพัฒนาองค์กรนั้น มักทำโดยลูกน้องสุดที่รัก
เพราะคนนอกที่ไหนเขาจะมาทำ มาสนใจองค์กรที่เราทำงานอยู่
ถ้าคนนอกเข้ามา ก็มาแป๊ป ๆ แล้วเดี๋ยวก็ไป .. คือ คนที่หายไป

blame
blame

http://kidsermons.com/2012/06/the-blame-game/

มีตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจ รวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ  มาแบ่งปัน
หากท่านใดจะไปประเมินเจ้านาย ก็ลองเก็บ 20 คำถามไปคิดดู

1. เจ้านาย ทำให้องค์กรมีความโดดเด่น แตกต่างจากองค์กรอื่นชัดเจนไหม
2. เจ้านาย ทำแผนกลยุทธ์ขึ้นมา ดูแล้วจะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าได้ไหม
3. เจ้านาย แปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนปฏิบัติการ ได้ไหม
4. เจ้านาย ทำแผนขึ้นมาคนเดียว มีคนอื่นรู้เห็นเป็นใจด้วยรึเปล่า หรือ copy เจ้านายคนก่อนมา
5. เจ้านาย ทำตามแผน หรือแผนเขียนตามที่ทำ เพราะถ้าไม่มีแผน ก็จะทำ ๆ ไป แล้วมาสร้างแผนทีหลังก็มี
6. เจ้านาย ประเมินลูกน้อง แล้วใช้ผลประเมินไหม มีประสิทธิภาพไหม นึกถึงโรงเรียน กับสมศ.เลย
7. เจ้านาย ให้ใช้ทรัพยากรที่ระบุในแผนไหม หรือให้ทำตามแผน แต่ไม่ให้ทรัพยากร
8. เจ้านาย เชื่อในแผนผังองค์กรไหม หรือใช้บัญชีทำตลาด ใช้ฝ่ายผลิตไปเป็นเลขาฯ
9. เจ้านาย รู้ไหมใครถนัดอะไร ชอบอะไร มีความรู้ด้านใด แล้วใช้คนให้ถูกกับงานหรือไม่
10. เจ้านาย เขียนระบบ และเดินตามระบบหรือไม่ ระบบที่มีดีพอรึยัง
11. เจ้านาย เอาแต่ใจ เปลี่ยนระบบตามใจปรารถนารึเปล่า
12. เจ้านาย มองเห็นไหมว่าลูกน้องแต่ละคน มีวิสัยทัศน์เดียวกับเจ้านายรึเปล่า
13. เจ้านาย สอนงานลูกน้องไหม หรือตำหนิเสมอ หรือคอยซ้ำเติมเวลาลูกน้องพลาด
14. เจ้านาย ติดตามงานจากลูกน้องไหม แต่ถ้าตามแล้วโดนลูกน้องตะหวาดจะทำอย่างไร
15. เจ้านาย ส่งลูกน้องไปอบรมพัฒนาบ้างไหม
16. เจ้านาย หาคนเก่งมาทำงานด้วยได้ไหม หรือปล่อยให้คนเก่งหลุดมือประจำ
17. เจ้านาย เคยสร้างขวัญกำลังใจให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไหม
18. เจ้านาย ทำให้ทุกคนเห็นความก้าวหน้าในอาชีพของตนไหม หรือต้องลุ่นการเมืองไปแบบวันต่อวัน
19. เจ้านาย เคยถามไหมว่า ถ้าคู่แข่งขององค์กรที่น่าสนใจมาชวนไปทำงานด้วย จะไปไหม
20. เจ้านาย มีความสามารถในการจัดการไหม รู้จักวางแผน จัดองค์กร บังคับบัญชา ประสานงาน และควบคุมไหม

กฎมีอยู่ไม่กี่ข้อในโลก แต่คนให้เหตุผลมีมากมาย
กฎของเจ้านาย บางคน
กฎข้อ 1 เจ้านายถูกเสมอ
กฎข้อ 2 ถ้าเจ้านายผิด (แสดงว่าลูกน้องต้องเรียนรู้เพิ่มเติม) ให้ย้อนกลับไปดูข้อ 1

กฎของลูกน้อง บางคน
กฎข้อ 1 ลูกน้องถูกเสมอ เจ้านายอาจถูกบ้างเป็นบางครั้ง
กฎข้อ 2 ถ้าลูกน้องผิด เจ้านายต้องรับผิดชอบ และย้อนกลับไปดูข้อ 1
กฎข้อ 3 ถ้าเจ้านายผิด ต้องเปลี่ยนเจ้านาย