สตาร์ท httpd ไม่ขึ้น ทำอย่างไรดี

httpd start ไม่ขึ้น
httpd start ไม่ขึ้น

วันนี้ (15 ก.ค.58) คุณ ต. ถามพี่ ส. จากเครือ น. ว่าทำไม
สตาร์ท httpd ไม่ขึ้น แล้วพี่เขาตอบมาว่า
ดูจากแฟ้ม nss_error_log
พบว่า Certificate not verified: ‘Server-Cert’

เมื่อใช้ [root]# certutil -d /etc/httpd/alias -L -n Server-Cert
พบช่วงเวลาที่ใช้งานได้ Validity:
Not Before: Sun Jun 19 21:28:36 2011
Not After : Fri Jun 19 21:28:36 2015

แล้วแนะนำว่ามีวิธีแก้ไข 2 วิธี
วิธีที่ 1. เพิ่มคำว่า NSSEnforceValidCerts off
ในแฟ้ม /etc/httpd/conf.d/nss.conf
วิธีที่ 2. ถอน mod_nss แล้วติดตั้งใหม่ เพื่อให้ได้ Server-Cert ใหม่
#service httpd stop
#rm /etc/httpd/conf.d/nss.conf
#rpm -e mod_nss
#rm /etc/httpd/alias/*
#yum install mod_nss
#service httpd start
ซึ่งวิธีที่ 2 นี้ทำไม่ได้ในเครื่องกับทุกเครื่องนะครับ ทำได้เฉพาะเครื่องที่ลงทะเบียนกับ RHN

มีคำแนะนำที่ https://bugzilla.redhat.com/show_bug.cgi?id=711085

the system is not registered
the system is not registered

ปั่นเพื่อแม่ (Bike for mom) ได้รับความสนใจเกินกว่าความคาดหมายจนล่มในช่วงแรก

ปั่นเพื่อแม่ (Bike for mom) ได้รับความสนใจเกินกว่าความคาดหมายจนล่มในช่วงแรก
ปั่นเพื่อแม่ (Bike for mom) ได้รับความสนใจเกินกว่าความคาดหมายจนล่มในช่วงแรก

ข้อความจาก thaibike.net ว่า
ผู้สนใจร่วมเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “BIKE FOR MOM ปั่นเพื่อแม่
เพียง 15 นาทีมีผู้สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก
ส่งผลให้เว็บไซต์มีปัญหาขัดข้อง และมีการเพิ่มเครื่องบริการอีกหลายตัวเพื่อแก้ปัญหา
ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ในกรุงเทพ เต็มจำนวนแล้ว 40,000 คน
เช็คที่เหลือแต่ละจังหวัด ได้ที่ศาลากลางจังหวัด

https://www.youtube.com/watch?v=UDnLVEanwnM

ซึ่งผมก็จะร่วมกิจกรรมที่ลำปางด้วย ได้เข้าเว็บไซต์ http://bikemom2015.moi.go.th
หรือ http://www.bikeformom2015.com
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 พบว่าหลังเปิดระบบให้ลงทะเบียนไม่กี่นาที ระบบก็ล่ม ลงทะเบียนไม่ได้
แต่ปัจจุบันลงทะเบียนได้แล้ว และเปิดไปถึง 9 สิงหาคม 2558 ปั่นร่วมกันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435733620
แล้ววันแรกพบภาพที่คุณ krisda ถ่ายจากทีวีว่าออกข่าวช่อง 3 ด้วย
โพสต์ในกลุ่ม “ลำปาง นครแห่งจักรยาน” ซึ่งการลงทะเบียนออนไลน์เป็นเพียงช่องทางหนึ่ง
อีกช่องทาง คือ การไปลงทะเบียนที่ศาลากลาง ของแต่ละจังหวัด
https://www.facebook.com/groups/723715197696029/permalink/877043582363189/
ส่วน ข่าวช่อง 7 ก็มีที่ http://news.ch7.com/detail/130336/

ที่น่าสนใจว่าเว็บไซต์ล้มนั้น หรือทำไมเว็บไซต์ช้า หรือล้ม
มีคำอธิบายวิธีป้องกันที่ blog.levelup.in.th โดยคุณ heha ซึ่งสรุปไว้ดังนี้
http://blog.levelup.in.th/2011/01/31/why-do-your-website-slow-or-crash%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93/
Database ตอบสนองช้า
1. Database ไม่ได้ใส่ index key ต้องทำกันตั้งแต่ตอนออกแบบระบบฐานข้อมูลกันเลย
2. จำนวนคิวรี่ (Query) ต่อหน้ามีมากเกินไป ก็เป็นการออกแบบเว็บเพจ
3. เว็บไซต์ไม่มีการใช้ระบบ Cache อันนี้เป็นเรื่องการ config server
อยากรู้ว่าใช้ระบบ cache รึเปล่าใช้บริการได้ที่
https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/
ลองตรวจของ จังหวัดในประเทศไทยดูครับ มักพบปัญหา Leverage browser caching
เว็บไซต์ของผมก็มีปัญหา ยังไม่ได้ตามไปแก้ไขเลย
4. Table ถูก Lock บ่อย เนื่องจาก update หรือ insert บ่อย
และเปลี่ยนเป็น innodb แทน myisam เพราะ innodb จะ lock เฉพาะ row
ไม่ lock ทั้ง table จึงช่วยเรื่องความเร็วได้มาก

CPU Server ขึ้นสูง
1. Script php มีปัญหา ไม่ optimize code ให้ดี ไม่ clear ตัวแปรเมื่อเลิกใช้
วนลูปที่ไม่จำเป็น หรือสร้าง object แล้วไม่ใช้ หรือเขียน algorithm ไม่ดี
2. process กิน memory มากไป
เช็คตัวแปรต่าง ๆ และตั้งค่าให้เหมาะสม สำหรับ web server มีให้ตั้งเยอะ

Server Crash บ่อย
1. ลด MaxClients ใน apache config ลง จำกัดจำนวนผู้ใช้ ป้องกัน server ล้ม
2. ตั้งเวลา reboot เครื่อง หากมีเหตุผลที่ตอบได้ว่าจำเป็น
3. เพิ่ม max_connections ของ mysql ก็น่าจะรองรับได้เพิ่มขึ้น
4. อัพเกรดทุกอย่างที่คิดว่าน้อย เช่น cpu, memory, harddisk หรือ bandwidth

ทดสอบการทำงานกับแฟ้มขนาด 1 ล้านไบท์

หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ
หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ

ได้มีการเขียนเว็บเพจ และใช้ java script มา 4 เว็บเพจ ทุกเว็บเพจมีขนาด 1 ล้านไบท์เท่ากัน
เพื่อทดสอบการใช้เวลา download ของ script แต่ละเว็บเพจ
ทดสอบใน firefox, chrome และ ie มีประเด็นที่สนใจดังนี้
1. เปิด และปิด script ในเว็บเพจ มีผลอย่างไร
2. การ refresh ของแต่ละ browser เมื่อใช้ no-cache แตกต่างกันหรือไม่

โดยใช้ javascript ในการประมวลผลเวลาของแต่ละหน้า ผลการทดสอบที่น่าสนใจ ดังนี้

การทดสอบที่ 1 พบว่า การส่งค่าผ่าน url จะทำให้ load เว็บเพจทั้งหน้าใหม่
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillion.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6186 millseconds
เมื่อคลิ๊กลิงค์ Reload แบบส่ง get ใหม่ ใช้เวลาไป 9784 milliseconds
แต่ถ้า Refresh ผ่าน browser จะเรียก script เดิมจากใน cache ใช้เวลา 23 milliseconds

การทดสอบที่ 2 พบว่า การทำงานใน script เดียว ตั้งแต่ต้นถึงท้าย script จะใช้เวลาน้อยมาก
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv1.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 4 millseconds ซึ่งไม่ได้สะท้อนเวลาจริง
เมื่อเปลี่ยนเป็น Reload หรือ Refresh แบบใด ก็ใช้เวลาเท่าเดิม
เพราะทั้งเว็บเพจมีคำว่า script คำเดียว ทุกอย่างอยู่ใน script เดียว หรือ thread เดียว
ไม่มีการเปิดปิด tag script หลายครั้ง เป็นการทำงานใน thread เดียวกัน
จึงได้เวลาจากการประมวลผลตั้งแต่ต้น thread ถึงท้าย thread ไม่แตกต่างกันมากนัก

การทดสอบที่ 3 พบว่า เป็นการทดสอบที่ยืนยันผลของการทดสอบที่ 1
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv2.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6077 millseconds
ใช้เทคนิคว่า การเปิด tag script ต้นแฟ้ม และปิดทันที เพื่อบันทึกเวลาเริ่มต้น
แล้วเปิด tag script ท้ายแฟ้ม เพื่อประมวลเวลา และแสดงผล
จะแสดงเวลาที่ใช้ ในการ load เว็บเพจ ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
คือ ใช้เวลาประมาณ 6 วินาที หรือ 6000 millisecond ต่อการ load หนึ่งครั้ง
แต่ถ้าโหลดจากใน cache ของ browser ก็จะใช้เวลาน้อยมาก คือ ไม่กี่ millisecond

การทดสอบที่ 4 พบว่า เป็นการทดสอบโดยเพิ่ม no-cache ที่ header
ว่า <meta http-equiv=”cache-control” content=”no-cache”>
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv3.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 9562 millseconds
ให้ผลเหมือนกับกรณีทดสอบที่ 1 เมื่อทดสอบบน firefox และ chrome
แต่บน ie (internet explorer) 11
การ refresh ของ browser ใช้เวลา 3776 milliseconds หรือประมาณนี้
สรุปว่า ie ยอมรับคุณสมบัติ no-cache ทำให้การ refresh จะ load ข้อมูลมาใหม่ทุกครั้ง
และการ force reload ด้วยการกด Ctrl-F5 สามารถใช้ได้กับทุก browser ที่ทดสอบ

สรุปว่า การเปิดปิด script หลายครั้ง มีผลแตกต่างกับการเปิดครั้งเดียว
การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บเพจ
และคุณสมบัติ no-cache ก็ใช้ได้กับบาง browser เท่านั้น ไม่ควรไว้วางใจ
และการโหลดภาพไม่มีผลต่อเวลาในการโหลดเว็บเพจ เพราะแยกส่วนกันชัดเจน

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ที่วัดก็เป็นชีวิตจริง ที่ต้องมีคุณภาพ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด

เดี่ยวนี้การประกันคุณภาพลงไปที่วัดวาอารมแล้ว
คุณภาพของวัด ขึ้นอยู่กับศรัทธา ถ้ามีจำนวนศรัทธามาก เงินบริจาคมาก
ศรัทธามีความเลื่อมใส ในหลายปัจจัย ทั้งวัตถุ ทำเล และตัวบุคคล
แสดงว่าวัดนั้นมีคุณภาพ เกณฑ์การวัดคุณภาพของวัดอาจมีหลายตัวบ่งชี้
เรื่องหนึ่ง ๆ มีอะไรให้เรามองเยอะ
บางคนมองเหตุ บางคนมองผล บางคนมองถูกผิด บางคนมองพระธรรม
แต่เรื่องนี้ผมสนใจที่กระบวนการ

จากข่าวที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435994010
“จึงขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน
ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา 3 เดือน
และถ้าพระสังฆาธิการที่ถูกตำหนิโทษยังไม่ดำเนินการตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) อีก
ให้เจ้าคณะผู้ปกครองทำเรื่องเพื่อเสนอขอปลดพระสังฆาธิการรูปนั้น
และให้เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุขัดมติ มส.และไม่สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดฯ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”

อ่านดู เห็นว่ามีตัวบ่งชี้เดียว คือ จำนวนคนมาทำบุญ
เขียนเป็นซูโดโค้ดได้ว่า

if (จำนวนคนทำบุญ < 50) {

if (วัดของเจ้าคณะตำบล == true)
if (ไม่เคยได้รับหนังสือตำหนิ == true)
do(“ออกหนังสือตำหนิ”)
else
if (ได้รับหนังสือ >= 3เดือน) do(“ทำเรื่องขอปลดจากตำแหน่ง”)

} else {
do(“ผ่านเกณฑ์ ได้คุณภาพ”)
}

แสดงว่าตำแหน่งของพระสงฆ์ในวัด เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ต้องพึงรักษาไว้
ด้วยคิดเป็นระบบ เป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน เป็นกลไก
ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ (action plan) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan)
แล้วดำเนินการตามแผนเพื่อตอบเป้าหมายของแผน (do)
แล้วมีการตรวจสอบว่าดำเนินการครบถ้วนตามแผนหรือไม่ (check)
หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็ดำเนินการปรับปรุง (action)

ต่อไปวัดต่าง ๆ คงต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk management)
เพื่อป้องกันการถูกตำหนิในอนาคต
แล้วควรมีการจัดการความรู้ (Knowledge management)
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผน ตรงตามเป้าหมาย ดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตามประเด็นที่ตั้งไว้ เป็นการเคเอ็มเพื่อต่อยอดการพัฒนวัด

การประเมินผลงานวิจัย หรือเครื่องมือมีหลายแบบ

3 กรกฎาคม 2558 มีโอกาสไปฟังการนำเสนอผลงานบทความจากการวิจัย
ของอาจารย์ และนักศึกษา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT
ใน session ของ
Dr.Montean Rattanasiriwongwut (เช้า)
และ
Mr.Tanapon Jensuttiwetchakl (บ่าย)
ได้แนะนำผู้นำเสนอผลงานเรื่องการประเมินไว้หลายเรื่อง
1. ความเที่ยงตรง (Validity)
– ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
– ความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-related Validity)
– ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ
โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น
โดย IOC=Index of Item-Objective Congruence
ปล.มีนิสิตเรียกว่าประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ น่าสนใจ
2. ความเชื่อมั่น (Reliability)
2.1  การวัดความคงเส้นคงวา ด้วยการวัดซ้ำแล้วได้ผลเหมือนเดิม
จะทำการทดสอบกับผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดียวกัน 2 ครั้งในเวลาต่างกัน
2.2 การวัดโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha method)
วิธีของครอนบาคได้รับความนิยมเพราะเก็บข้อมูลครั้งเดียว

หากเป็นข้อสอบก็จะมีเครื่องมือวัดอื่น
3. การวัดอำนาจจำแนก (Discrimination)
เช่น วัดกลุ่มอ่อน ออกจากกลุ่มเก่งได้
ว่าข้อใด มีอำนาจจำแนกเป็นอย่างไร
4. การวัดความยาก (Difficulty)
เทียบจำนวนข้อที่ถูกต้องต่อผู้สอบทั้งหมด
5. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
คำถามน้อย ใช้เวลาน้อย ใช้งบประมาณน้อย
6. ความเป็นปรนัย
มีความชัดเจน ผู้ใดตรวจก็ให้คะแนนเหมือนกัน
7. ความหมายในการวัด (Meaningfulness)
ประเด็นคำถามสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
ว่าใช้นามบัญญัติหรือเรียงลำดับจึงเหมาะสม
8. ความสามารถในการนำไปใช้ (Usability)
– นำไปใช้ได้ง่าย
– ใช้เวลาที่เหมาะสม
– ให้คะแนนง่าย
– คุ้มค่ากับเวลา
– แปลผลที่ได้ง่าย

9. วัดความถูกต้อง จากการทำงานของระบบที่สร้างขึ้น
10. วัดระดับความแม่นยำ (Precision)
11. วัดเรียกซ้ำ (Recall)

http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/01/10.pdf

ร่วมประชุม NCCIT 2015 มีประเด็นมากมายที่น่าสนใจ

NCCIT 2015
NCCIT 2015

2-3 กรกฎาคม 2558 มีโอกาสไปฟังการนำเสนอผลงานบทความจากการวิจัย
ของอาจารย์ และนักศึกษา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT 2015
ประธานจัดงานคือ Assoc.Prof.Dr.Phayung Meesad
http://www.nccit.net

มี key note 2 ท่าน
1. Prof.Dr.Nicolai Petkov
Brain-inspired pattern recognition
2. Assoc.Prof.Dr.Andrew Woodward
An uncomfortable change: shifting perceptions to establish pragmatic cyber security

ประเด็นห้องที่ผมสนใจ คือ
Information Technology and Computer Education
วันที่ 2 กรกฎาคม 2558
1. ศึกษาการยอมรับการใช้แอพพลิเคชันบนมือถือ
A Study The Acceptance of Mobile Application
Passana Ekudompong and Sirirak Khanthanurak

2. การพัฒนาระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้
Development of the System for Electronic Media Classification by
Using the Dewey Decimal Classification System
Worapapha Arreerard,Laongthip Maturos, Monchai Tiantong and
Dusanee Supawantanakul

3. การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการปั่นจักรยานท่องเที่ยว
บนระบบปฏิบัติการ iOS กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
Application Development on iOS for Cycling to Travel A case
study: Phuket Tourism
Amonrat Prasitsupparote, Phuriphong Phumirawi, Apichaya
Khwankaew and Kantida Nanon

4. โปรแกรมต้นแบบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ภายใต้การตัดสินใจการจัดสรรน้ำ
อย่างเหมาะสมในเขตพื้นที่ชลประทานฝายไม้เสียบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
A Prototype of Geographic Information System based on
Appropriate Irrigation Decisions in Maiseab Weir, Nakhon Si
Thammarat Province
Sarintorn Wongyoksuriya, Onjira Sitthisak and Anisara Pensuk Tibkaew

5. การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร
โดยใช้ตัวแบบทูน่า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Information System Integration by TUNA
Model Using : A Case Study of Nation University
Burin Rujjanapan

6. การพัฒนาชุดฝึกอบรมการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
ด้วยภาษาซี สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
Development of the Training Packages the Robot Control
Programming with C for Students of Technical Teacher Training
Program
Kitti Surpare and Patpong Armornwong

7. การสร้างกรณีทดสอบจากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจอิงเหตุการณ์ขับเคลื่อน
Test Cases Generation from Business Process Model Based on
Event Driven
Sarawut Waleetorncheepsawasd and Taratip Suwannasart

8. การทำเจซันแคชด้วยโนเอสคิวแอล
JSON Cache with NoSQL
Aiyapan Eagobon and Nuengwong Tuaycharoen 247

9. ระบบสารสนเทศบนเว็บสำหรับการรายงานสินบนตำรวจจราจร
ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iOS ด้วย Tor
A Web-based Information System for Reporting Traffic Police
Bribe via iOS Smartphones with Tor
Sitichai Chumjai and Nuengwong Tuaycharoen

10. การค้นคืนเอกสารข้อความภาษาไทยด้วยเสียงพูด
Speech-based Thai Text Retrieval
Paphonput Sopon, Jantima Polpinij and Thongparn Suksamer

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558
11. การพัฒนาแบบจำลองพื้นผิวทะเล เพื่อสนับสนุนการคัดเลือกเรือขนส่งถ่านหิน รฟ.กระบี่
Sea Floor Model Visualization for Barge Selection, Krabi Power
plant
Nuttanan Pipitpattanaprap and Sakchai Tangwannawit

12. แนวทางการออกแบบกรณีทดสอบ และซีนนาริโอด้วยวิธีวิเคราะห์เมทริกซ์
The guidelines for Test Cases and Scenarios by Analysis Matrix
Taksaporn Phanjhan and Sakchai Tangwannawit 636

13. ขั้นตอนวิธีสำหรับพัฒนาแบบฝึกหัดการเขียนอักษรไทยที่ใช้งานบนแท็บเล็ตพีซี
An Algorithm for Handwriting Exercise in Thai Alphabet on the
Use of Tablet PC
Dechawut Wanichsan, Taweesak Rattanakom, Nitat Ninchawee and
Phannika Kongjuk

14. การวิเคราะห์โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเข้าสู่บ้าน
โดยอิงมาตรฐานไอทียูร่วมกับการวางข่ายสายตอนนอก
Analysis of Fiber to the Home Network Based on ITU Standards
with Outside Plant
Tanaporn Jesadamethakajorn and Pudsadee Boonrawd

15. ขั้นตอนวิธีการแปลงแผนภาพบีพีเอ็มเอ็นเป็นแผนภาพลำดับ
ด้วยเมต้าดาต้าโมเดลและกฎการแปลงแผนภาพ
Transformation Algorithm from BPMN Diagram to Sequence
Diagram by Metadata Model and Rule-Based
Shavan Tansap and Pudsadee Boonrawd

16. ระบบติดตามเวลาการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์
ด้วย GPS บนมือถือ กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย
Time Train Tracking System Automatic and Real-Time of GPS
Based on Mobile Case Study for State Railway of Thailand
Phongphodsawat Sangthong and Pongpisit Wuttidittachotti

17. การนำแนวทางการบริการเบ็ดเสร็จมาบริหารจัดการแบบสอบถามออนไลน์
Adopting a TurnKey Solution Model to Manage Survey System
Online
Surakiat Rattanarod and Nattavee Utakrit

18. ระบบจัดการครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดบนแอนดรอยด์โฟน
Durable Articles Management System on Android Phone by Using
QR code Technology
Jutarat Thochai and Nattavee Utakrit

19. การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
เพื่อบริหารงานซ่อมบำรุงอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Building Prevention Maintenance System
Korapat Siriwan and Nattavee Utakrit 680

20. การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้พันธุ์ข้าวในประเทศไทย
Development a Rice Knowledge Management System In Thailand
Thiptep Manpholsri and Montean Rattanasiriwongwut 685

21. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามยอดเงินค้างชำระ
โดยใช้วิธีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Management Information System for Monitoring the Accrued
Income by Customer Relationship Management Technique
Ratchada Khantong, Montean Rattanasiriwongwut and Maleerat
Sodanil

22. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่ออีดีแอลทีวี
The Development of the Model of Cooperative Learning Activities of
Flipped Classroom by using eDLTV Media
Sommai Kaewkanha, Worapapha Arreerard and Tharach Arreerard

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

เปิดกาสิโน เห็นด้วยหรือไม่

gamble in thai
gamble in thai

มีข่าวทางทีวีว่า สถาบันวิจัยเนชั่น ทำโพล มีผลการสำรวจ
พบว่าร้อยละ 56 ค้านเปิดกาสิโน
แสดงว่าคนไทยเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อน
ผู้สื่อข่าว Morning News รายงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558
ว่า เนชั่นยูได้ไปสำรวจมา 56% คัดค้านการเปิดกาสิโน
โดยสำรวจคนในกรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 980 คน

เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย
– มองว่ามอมเมาประชาชน
– หนี้สินครอบครัว
– อาชญากรรมมากขึ้น

เหตุผลที่เห็นด้วย
– สร้างรายได้ให้ประเทศ
– ควบคุมจัดระเบียบได้
– เงินไม่รั่วไหล
– ชอบเสี่ยงโชค
ที่มา สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.now26.tv/view/48634/
Tags : NOW26,ผลสำรวจ,สถาบันวิจัยเนชั่น,ค้านเปิดกาสิโน,บ่อนการพนัน

nationpoll
nationpoll

http://daily.bangkokbiznews.com/detail/208351

nationpoll
nationpoll

http://blog.nation.ac.th/?p=3350

ถ้าคิดแบบเดิม ทำแบบเดิม ย่อมได้ผลแบบเดิม

ถ้าคิดแบบเดิม ทำแบบเดิม ย่อมได้ผลแบบเดิม
ปัจจุบัน สกอ. เชื่อว่าระบบที่ดี ต้องดีขึ้นกว่าเดิม
จึงเชื่อว่า คิดแบบใหม่ ทำแบบใหม่ ย่อมได้ผลแบบใหม่
คำว่าระบบ กระบวนการ หรือวงจร
นำเสนอด้วยภาพ 2 ภาพก็จะเห็นความแตกต่าง

pdca
pdca
pdca แบบคิดใหม่ ทำใหม่ ได้ผลใหม่
pdca แบบคิดใหม่ ทำใหม่ ได้ผลใหม่

ระบบที่ดีจะต้องมีพัฒนาการ ดังนี้
เมื่อมีระบบที่เผยแพร่แล้ว ก็ต้องมีการดำเนินการ หากใช้ระบบไปแล้ว ก็ต้องมีการประเมิน
แล้วนำผลประเมินมาปรับปรุง ซึ่งก็ต้องมีผลการปรับปรุงที่ดีขึ้น หากระบบนั้นดีจริงก็ต้องสะท้อนถึงการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศได้
หากภาพที่ใช้เว็บวงจรเดียวก็จะมองไม่เห็นพัฒนาการ แต่ถ้าเป็นวงจรหลายวงซ้อนกัน และมีความแตกต่างชัดเจนก็จะสะท้อนระบบที่มีการปรับปรุงได้ชัดเจน

นิยามศัพท์
ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
http://www.thaiall.com/iqa
http://www.thaiall.com/os/os01.htm
http://www.problem-solving-for-business.com/pdca-cycle.html
http://depositphotos.com/12988856/stock-photo-pdca-life-cycle-as-business.html

แผน สอน ข้อสอบ วัดผล และผล ก็ต้องไปด้วยกัน
แผน สอน ข้อสอบ วัดผล และผล ก็ต้องไปด้วยกัน

อยากให้สอนแบบใหม่ แต่ข้อสอบเป็นแบบเดิม วัดผลแบบเดิม ครูงง เด็กสับสน
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/849340605087925/

รายชื่อวารสารกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่ปรากฎใน TCI

tci
tci

ผลการประเมินวารสารวิชาการไทยรอบที่ 3 (พ.ศ.2558-2562)
มีเอกสารรายงานผลการประเมินวารสารในฐาน TCI รอบที่ 3
– วารสารกลุ่มที่ 1 วารสารที่มีคุณภาพสูง และผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI มี 259 ฉบับ
– วารสารกลุ่มที่ 2 วารสารที่มีคุณภาพ และผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI มี 221 ฉบับ
– วารสารกลุ่มที่ 3 วารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฎอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต มี 119 ฉบับ
จากวารสารทั้งหมด 626 ฉบับ
ในทั้งหมดนี้มีวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 280 ฉบับ
และวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 346 ฉบับ

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/2558/Announced/News.html

มหาบัณฑิต MBA NATION ตอน… เรียนต่อปริญญาโทไปทำไม ?

ดร.ฑัตษภร ศรีสุข
ดร.ฑัตษภร ศรีสุข

การเข้าสู่ AEC ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ทุนมนุษย์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ “การศึกษา” จึงเป็นเครื่องมือหลักที่จะสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙: สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ที่ต้องการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม สามารถสร้างโอกาสให้ตนเองด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนในสังคมไทย
หลักสูตรการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาต่าง ๆ จึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ตนเองทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว มีความคาดหวังให้บัณฑิตเรียนจบออกไปพร้อมกับความสามารถหลักในการทำงาน และขณะเดียวกันก็รู้แนวทางการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม อาจาร์ยผู้สอนมุ่งศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเนื้อสาระของโปรแกรมการศึกษาให้ตามทันความก้าวหน้าของสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ รูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชาที่สอนมีความสอดคล้องกับความต้องการและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้เรียน

มหาวิทยาลัยเนชั่น ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตและมหาบัณฑิตให้มีคุณภาพ ได้ยึดหลักการบริหารการศึกษาที่มีรูปแบบเป็นปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาตนเองของผู้เรียนและการนำไปใช้ประโยชน์ภายในองค์กร ทิศทางการพัฒนาบัณฑิตจึงสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรต่างๆ โดยสร้างคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคน อันประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สังคมรอบข้าง และนายจ้าง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งเป็นหน่วยการศึกษาที่มุ่งพัฒนามหาบัณฑิตด้วยการประยุกต์แนวความคิดทางธุรกิจเข้าผสมผสานกับการจัดการศึกษา ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนและการทดสอบในลักษณะกระตุ้นให้รู้จักคิดและพัฒนาทักษะการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกสร้างทักษะและความสามารถให้ตนเองจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รู้จักเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ด้านการศึกษาให้สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงเป็นทางเลือกสำคัญแห่งหนึ่งที่เปิดประตูให้คนหนุ่มสาวยุคใหม่เข้ามาไขว่คว้าหาโอกาสเพื่อสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงให้ตนเอง.