ไมค์พร้อมหูฟัง ราคาเยาว์ก็ย่อมมี

microphone & headphone
microphone & headphone

ได้ไมค์ (microphone) พร้อมหูฟัง (headphone)
ยี่ห้อ OKER รุ่น OE750 ราคาเพียง 100 บาท
ที่ร้านบอกว่าถ้าไมค์ติดกับสาย ราคาเหลือเพียง 90 บาท
แต่ผมเลือกแบบไมค์ใกล้ปาก น่าจะรับเสียงได้ดีกว่าอยู่ที่สาย

เหตุเพราะต้องการติดต่อสื่อสาร (communication) กับผู้คนแบบสาธารณะ
โดยใช้เสียง (sound) นำสาร (message) ผ่านไปตามคลื่นวิทยุ (radio wave)
มีตัวส่งสัญญาณ (Transmitter) คือสถานีวิทยุ (Radio station)
แล้วมีมนุษย์เป็นผู้ส่ง (sender) มีมนุษย์เช่นกันเป็นผู้รับ (Receiver)
แต่ฝั่งผู้รับก็ต้องมีอุปกรณ์ในการรับสัญญาณคลื่นวิทยุไปแปลงเป็นสัญญาณเสียง
แล้วส่งออกไปยังเครื่องขยายเสียง (speaker)

อุปกรณ์ที่ซื้อมานี้ช่วยบันทึกเสียงผ่านโปรแกรม sound recorder
แล้วบันทึกเสียงเป็นแฟ้มดิจิทอล (digital file) ในแบบ mp3
หากไม่สะดวกไปจัดรายการด้วยเสียงสด ก็ส่งแฟ้มที่บันทึกไว้
ส่งไปให้กับผู้ดูแลสถานีได้ แล้วเปิดให้กับผู้ฟังทั่วไปผ่านโปรแกรม winamp

อุปกรณ์ตัวนี้ ซื้อที่ร้านพาวเวอร์คอมพิวเตอร์ อยู่หลังห้างรุ่งเรืองเฟอร์นิเจอร์
เจ้าของร้านให้เบอร์มา 082-3921269 083-4817213 093-1403894

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152464061997272.1073741864.350024507271

ร่างผลการเทียบเกณฑ์ จากร่างเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2557 กับเกณฑ์ 2554-2556

ร่าง iqa 2557
ร่าง iqa 2557

ทบทวนร่างเกณฑ์ประเมินที่เปิดใช้ในปีการศึกษา 2557
เนื้อหาจากฉบับร่าง ห้ามใช้อ้างอิง แต่น่าจะเหมาะกับการเตรียมความพร้อม
โดยนำมาเปรียบเทียบกับคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา 2554-2556
และมีคุณศัลณ์ษิกา ไชยกุล  นักศึกษาฝึกงานมาช่วยเติมเต็มรายละเอียดต่าง ๆ

กลุ่มตัวบ่งชี้หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
* เกณฑ์ที่ 1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร – ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร – 1) มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 2) คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อย 2 คน  (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 3. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร – 1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือเทียบเท่า หรือ 2) ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คน   (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน – 1) อาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีวุฒิปริญญาโทหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน 2) มีประสบการณ์ด้านการสอน 3) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ – 1) เป็นอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา – (เฉพาะแผน ก เท่านั้น) ต้องเป็นรายงานสืบเนื่องฉบับเต็มในการประชุมทางวิชาการ (proceeding) หรือวารสารหรือสิ่งพิมพ์วิชาการซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน และการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 10. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ – อย่างน้อย 1 เรื่องในรอบ 5 ปี (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 11. มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด – ต้องไม่เกิน 5 ปี (จะต้องปรับปรุงให้สำเร็จและอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานในปีที่ 6) หมายเหตุ สำหรับหลักสูตร 5 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 7 หรือหลักสูตร 6 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 8 (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 12. การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ หลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ – ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ต้องดำเนินการทุกตัว (ตรี – โท – เอก)

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.2]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.3]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง  ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร (เอก)
เกณฑ์การประเมิน :
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 2.5 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 3.0 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.25 = 5 คะแนน

ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร (ตรี)
เกณฑ์การประเมิน :
คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรกับเกณฑ์มาตรฐาน และนำมาเทียบกับค่าความต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าที่กำหนดเป็นคะแนน 0 และ 5 คะแนน และใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์ดังนี้
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 6 กำหนดเป็นคะแนน 5
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกินกว่าร้อยละ 12 กำหนดเป็นคะแนน 0
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในระหว่างร้อยละ 6 และ ร้อยละ 12
ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตรดังนี้เพื่อเป็นคะแนนของหลักสูตรนั้นๆ

ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (ตรี)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ในระหว่างอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน และการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในระหว่างการเรียนโดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7 หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน) [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 2 การนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการทางวิชาการ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 3 การนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัย โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) ยกเว้นวิชาวิธีวิจัย และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน [สกอ 4.1]
เกณฑ์ที่ 4 การสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนหรือการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน [สกอ 6.1]
เกณฑ์ที่ 5 การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนต่ำกว่า 3.51 และมีการดำเนินงานตามระบบ โดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) [สกอ.2.6]

ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การควบคุมระบบการรับนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 2 การควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน ที่สร้างเสริมการประกอบอาชีพ ที่ส่งเสริมทักษะการได้รับการจ้างงาน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 3 การวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 4 การจัดเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  [สกอ 2.5]
เกณฑ์ที่ 5 การควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 7 การติดตามคุณภาพการผลิตบัณฑิต [สกอ 2.7]
เกณฑ์ที่ 8 การควบคุมกำกัการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ [สกอ 2.1]

ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.6 ]
เกณฑ์ที่ 1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เกณฑ์ที่ 2 การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้เกรดการเรียนรู้
เกณฑ์ที่ 3 การใช้ประโยชน์จากการประเมิน
เกณฑ์ที่ 4 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์

ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเรียน [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 2 กระบวนการให้คำปรึกษาทางการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิทยานิพนธ์ [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 3 การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ของนักศึกษา [สกอ 2.7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การสร้างโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสากล (บัณฑิตศึกษา)

ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 2]
เกณฑ์การประเมิน :  นำผลจากการประเมินบัณฑิตที่มีคะแนนเต็ม 5 จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อย 20

ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (โท) [สมศ 3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 25 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (เอก) [สมศ 4]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ตรี) [สมศ 1]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน1 ปีเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

กลุ่มตัวบ่งชี้คณะวิชา

ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.2]
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม ที่คณะเน้นกระบวนการ PDCA
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 2 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 ที่ทั้งโครงการที่มีรายได้และโครงการที่ให้บริการแบบไม่หวังผลเชิงธุรกิจ
เกณฑ์ที่ 3 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 และนำเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณา [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 4 นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 5 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนฯ ทุกโครงการมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา หรือชุมชน หรือสังคม

ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ (มหาวิทยาลัยใช้คะแนนของคณะมาเฉลี่ย)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ [สกอ 7.2]

กลุ่มตัวบ่งชี้มหาวิทยาลัย

ตัวบ่งชี้ 3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 3.2 การบริการนักศึกษา [สกอ 3.1] เหมือนคณะ แต่เพิ่มข้อ 5 – 6
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในสายอาชีพแก่ศิษย์เก่า

ตัวบ่งชี้ 3.3 กิจกรรมนักศึกษา [สกอ 3.2] เหมือนคณะ
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิกจรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [สกอ 4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ  [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม  [สกอ 5.2 สมศ 9] ที่มหาวิทยาลัยเน้นชุมชนเป้าหมาย
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า [สกอ 5.2.2]
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน หรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1 [สมศ 9.1.1]
เกณฑ์ที่ 3 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฎชัดเจน [สมศ 9.1.3]
เกณฑ์ที่ 4 ชุนชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง [สมศ 9.1.4]
เกณฑ์ที่ 5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองคค์การเป้าหมาย [สกอ 5.2.2]

ตัวบ่งชี้ 3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม [สกอ 6]
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
เกณฑ์ที่ 3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
เกณฑ์ที่ 7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ตัวบ่งชี้ 3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถาบันอย่างต่อเนื่อง [สกอ 9]

ตัวบ่งชี้ 3.10 ผลการบริหารงานของคณะ (คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะทุกคณะ)
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะของทุกคณะ

http://www.scribd.com/doc/221987061/

ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4. การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา


เกณฑ์ประกันคุณภาพ กค.2553 ของ สกอ
http://blog.nation.ac.th/?p=1629

ไทยรัฐ ทำสกู๊ปออนไลน์ได้ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่อง โชว์เซ็กซ์

ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์
ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์

พบว่า ไทยรัฐทำสกู๊ปออนไลน์ เรื่อง ถอดรหัส FB หล่อ สวย โชว์ เซ็กซ์ ทำไมฟีเวอร์
คำว่า ฟีเวอร์ (Fever) ในที่นี้น่าจะหมายถึงชื่นชอบมาก หรือคลั่งไคล้
การเรียบเรียงสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

แต่ถ้าผู้ทรงศีลมาอ่านเข้าอาจจะบอกว่าไม่จริงนะ ไม่ใช่มนุษย์ทุกคน
เพราะบางคนหลุดพ้นไปแล้ว

มีระบบแสดงความคิดเห็นว่าชอบเรื่องนี้มากกว่า 50%
ลองกดดู เห็นว่าระบบรับการคลิ๊กของผมหลาย ๆ ครั้งติดต่อกันได้
ทำให้ % เปลี่ยนทุกครั้งต่อคลิ๊ก แสดงว่าคนหนึ่งสามารถทำรัวคลิ๊กได้ด้วย

http://www.thairath.co.th/content/427293

ข้อความข้างล่างนี้จากเว็บไซต์ thairath.co.th ทั้งหมด

“เชื่อมั้ยว่าในปัจจุบันเราเปิดเข้าดูเว็บไซต์เพื่อดูภาพโป๊ ภาพอนาจารน้อยลง ดูหนังโป๊น้อยลง มีผลการวิจัยออกมาว่าการเข้าถึงของเว็บไซต์เพื่อดูรูปโป๊น้อยลง แต่จริงๆ แล้วความต้องการเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปเลย” นั่นเป็นเพราะอะไร…” ไทยรัฐออนไลน์” จะพาไปถอดรหัสกับเรื่องราวของความฟีเวอร์ของกระแสแฟนเพจในเฟซบุ๊ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ยิ่งในสังคมเฟซบุ๊กด้วยแล้ว ช่างยิ่งใหญ่กว้างขวางซะเหลือเกิน ถ้าถามว่าวันนึงไม่มีเฟซบุ๊กขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็ได้คำตอบกันไปแล้วในวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ชาวโซเชียลทั้งหลายแทบจะชักดิ้นชักงอที่ “เฟซบุ๊ก” ในประเทศไทย ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานถึง 40 นาที และนอกจากนี้ไม่ว่าประเทศไทยจะอยู่ในภาวะไหน สังคมเฟซบุ๊กก็จะมีอะไรมาเป็นสีสันให้ได้ฟีเวอร์กันอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะอะไร เราไปหาคำตอบกันเลย

เฟซบุ๊ก เซลฟ์โปรโมต…?

ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ วิเคราะห์ผ่านไทยรัฐออนไลน์ ถึงเหตุผลที่ทำไมเพจต่างๆ โดยเฉพาะจำพวกขายหน้าตา หนุ่มหล่อ สาวสวย เซ็กซี่ ถึงได้รับความนิยมในเฟซบุ๊ก มีคนไลค์เป็นหมื่นเป็นแสน เหตุผลของมันจริงๆ คือ ปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น เชื่อมั้ยว่าในปัจจุบันเราเปิดเข้าดูเว็บไซต์เพื่อดูภาพโป๊ อนาจารน้อยลง ดูหนังโป๊น้อยลง มีผลการวิจัยออกมาว่าการเข้าถึงของเว็บไซต์เพื่อดูรูปโป๊น้อยลง แต่จริงๆ แล้วความต้องการเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปเลย แต่เมื่อเกิดโซเชียลมีเดียขึ้น ยกตัวอย่างให้ได้เห็นกันชัดๆ อย่างเช่นเมื่อเกิดเฟซบุ๊กขึ้น ได้ทำให้ใครๆ ก็มีช่องทางโพสต์รูป ระบายเรื่องของตัวเอง แล้วเมื่อคนเปลี่ยนจากการดูภาพลามกในเว็บไซต์ต่างๆ จึงหันมาให้ความสนใจจากคนด้วยกันเอง

ถ้าเราสังเกตคนที่มีจำนวนฟอลโลเวอร์เป็นหมื่นเป็นแสน ส่วนมากจะเป็นพวกผู้หญิงสวย น่ารักๆ และผู้ชายหล่อๆ หุ่นดี มีซิกซ์แพ็ก มันบ่งบอกถึงพฤติกรรมว่าคนเราเริ่มที่จะขายตัวเอง เรียกว่า เซลฟ์โปรโมต คือการทำยังไงให้เราเป็นที่รู้จัก วิธีการที่ง่ายที่สุดในการโปรโมตตัวเองก็คือการโพสต์รูปในลักษณะเย้ายวนทางเพศ วาบหวิว น่ารัก คิขุ อาโนเนะ เพราะว่ามันง่ายที่จำทำให้คนจะรู้จักมากขึ้น ซึ่งต้องบอกไว้เลยว่าการเสพเรื่องเพศในอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องธรรมชาติ พอเราไม่เสพรูปโป๊แบบฉบับเก่าในอินเทอร์เน็ตแล้ว เราจึงต้องมาเสพความสัมพันธ์ของบุคคลที่เราสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยตรง

เปลี่ยนช่องทาง…เสพเรื่องเพศ !

การเห็นรูปคนสวย คนหล่อ หน้าตาน่ารัก เซ็กซี่ วาบหวิว มันก็เป็นการสื่อสาร หรือการเสพในเรื่องเพศตามเดิม เพียงแต่มันไม่ได้อยู่ในลักษะเก่า มันแค่เปลี่ยนรูปแบบไป และรูปแบบที่มันเปลี่ยนไปคือ เราเสพหน้าตาของเขาด้วย แต่เราไม่ได้ดูแค่ภาพ เรายังได้ติดตามชีวิตส่วนตัวของคนคนนั้นด้วย และสัญชาตญาณของมนุษย์ทุกคนล้วนมีการอยากดู อยากรู้ อยากเห็นเรื่องของคนอื่น ยิ่งหน้าเพจเฟซบุ๊กคุณจะสามารถดูเรื่องราวของเขาได้ตลอดเลย ไม่ว่าจะทำอะไร เราก็สามารถเข้าถึงเขาได้ และมีสิทธิอย่างเต็มที่

ถ้าย้อนไปแต่ก่อน คุณจะทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันยิ่งบ่งบอกว่า ในสังคมปัจจุบันมีคนแบบนี้เยอะ มีคนที่ขายตัวเองและตามคนอื่น ด้วยเหตุนี้ก็อาจจะบอกได้ว่าในปัจจุบันการเข้าถึงเรื่องเพศเป็นในลักษณะที่เป็นการติดตามซึ่งกันและกัน คนที่โพสต์ก็จะรู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้น ว่าฉันมีคนที่แอบดูตั้งเยอะแหน่ะ ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นก็จะเป็นจำพวกเพจผู้หญิงที่มีคนติดตามเยอะ เพราะในเชิงจิตวิทยา เรื่องเพศหญิงจะมีความรู้สึกที่พึงพอใจเมื่อได้ถูกมอง นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงถึงต้องแต่งตัวสวย

ในเชิงจิตวิทยาบอกไว้ว่า ผู้หญิงจะรูุ้สึกมีคุณค่ามากขึ้นเมื่อเป็นที่หมายปองในลักษณะทางเพศ ส่วนผู้ชายมีความสุขเมื่อได้จ้องมอง นี่เป็นแนวคิดเรื่องสื่อลามก เป็นการตอบสนองเชิงจิตวิทยาในเรื่องเพศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องลามกสัปดนอะไร เพราะว่ามันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นตอนนี้ บุคคลที่เป็นคนธรรมดาก็สามารถมีเสน่ห์ดึงดูดและมีคนที่ติดตามเราได้ง่ายขึ้น เป็นเรียลลิตี้ขึ้น แล้วก็ลึกมากขึ้น

“เมื่อเทียบกับแต่ก่อน พวกรูปโป๊เป็นเพียงแค่การจินตนาการจากการเห็นในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะเราเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นจากเฟซบุ๊ก เราสามารถเห็นได้ว่า อ๋อ! นี่รูปกินข้าว ว่ายน้ำ ไปเที่ยวทะเล เซ็กซี่ วาบหวิว ดังนั้นการจินตนาการของเราเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเพราะว่าผู้ใช้งานเฟซบุ๊กปัจจุบันได้เผยแพร่ตัวเอง เล่าเรื่องตัวเองแถมรูปอีกด้วย มันทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ใกล้ชิดกับคนนั้นๆ โดยที่เราไม่ต้องไปจินตนาการแบบแต่ก่อน”

วัฒนธรรม ‘เน็ตไอดอล’ จากไฮไฟว์ สู่เฟซบุ๊ก

นักวิชาการด้านสื่อ ยังบอกอีกว่า กระแสแฟนเพจสวย หล่อ จริงๆ น่าจะเกิดขึ้นประมาณปี 2008 แต่วัฒนธรรมการเป็นเน็ตไอดอลหรือเรื่องที่คนพูดถึงเรื่องตัวเองมันมีมาตั้งแต่ในยุคของไฮไฟว์ ในยุคนั้นผู้คนสนใจในเรื่องของการปรุงประดิษฐ์เว็บไซต์ของตัวเองในการแต่งรูปโปรไฟล์ แบล็กกราวน์ แต่เมื่อเกิดเฟซบุ๊ก มันมีลูกเล่นมากกว่านั้น ไฮไฟว์เป็นแค่หน้าร้าน แต่เฟซบุ๊กมันเป็นเหมือนสมุดไดอารี่ประจำตัว ที่สามารถอัพเดตเรื่องราวแบบเรียลไทม์ได้

เพราะฉะนั้นคนจึงรู้สึกว่ามันง่ายที่ฉันจะปรุงแต่ง ง่ายต่อการเชื่อมโยงกับคนอื่น และมีสถานะทางสังคม (social status) ได้ดี เพราะฉะนั้นการบูมของเรื่องนี้อาจจะบอกได้ว่าการที่เราโพสต์รูปตัวเอง เรื่องตัวเอง มีการเซลฟี่เกิดขึ้น (Selfie คือการถ่ายรูปตัวเองจากกล้องที่ติดกับกล้องถ่ายรูปมือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องจากคอมพิวเตอร์) เพราะเราอยู่ในยุคการสื่อสารที่ทุกคนพูดเรื่องของตัวเอง (you communication) หรือยุคที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นผู้ผลิตเนื้อหาสารเอง ดังนั้นเนื้อหาสารที่เรารู้ดีที่สุดก็คือเรื่องของเรา

คนปัจจุบันจะพูดเรื่องตัวเองบนเฟซบุ๊ก เพราะว่าเขารู้สึกว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่จริงๆ แล้วเขากำลังใช้พื้นที่ส่วนตัวบนพื้นที่สาธารณะอีกทีหนึ่ง นั่นก็เหมือนการขายตัวเองบนพื้นที่สาธารณะ และเรื่องที่ดีที่สุดที่จะขายก็คือภาพ ทำให้ทุกวันนี้ได้เกิดแฟนเพจหนุ่มหล่อ สาวสวย เซ็กซี่มากมาย

เฟซบุ๊ก ช่องทางอันตราย ขาดความมั่นใจ ขี้เหงา หลงตัวเอง

ธาม เชื้อสถาปนศิริ บอกต่อว่า นอกจากจะมีคนติดตามเราเยอะแล้ว เฟซบุ๊กก็เป็นเหมือนดาบสองคม อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับเราได้ เพราะเราจะไม่รู้ตัวว่ามีใครมาหมายปอง ติดตามชีวิตของเรา ในแต่ละวันมีใครเข้ามาบ้าง เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตัวเองมากเกินไป เช่น เปิดเผยเรื่องเพศ กิจวัตรประจำวันมากเกินไป คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าคุณเปิดเผยช่องทางอันตรายเหมือนเป็นการเปิดประตูบ้านไว้ตลอดเวลา ยิ่งผู้คนในยุคปัจจุบันมีความกังวลใจน้อยลง เมื่อพูดถึงเรื่องข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ ที่ทำงาน ชีวิตส่วนตัว เพราะว่าทุกคนต้องการเปิดเผยเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

จริงๆ มนุษย์ทุกคนต้องการเป็น somebody ในสังคม แต่คุณหารู้ไม่ว่าคุณจะต้องเสี่ยงที่จะสูญเสียตัวเองพอสมควร เพราะว่าการสร้างสถานะถูกสร้างมาจากแรงกดดัน ของคนที่อยู่ในโซเชียลมีเดีย คุณอาจจะมีคนฟอลโลว์เป็นหมื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณเป็นคนขี้เหงา ขาดความมั่นใจ และอาจจะเป็นคนหลงตัวเองมากขึ้น เพราะการเล่าเรื่องตัวเองบ่อยๆ เซลฟี่บ่อยๆ ก็จะทำให้คุณเป็นคนที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของการสื่อสาร นำมาสู่เรื่องของภาวะซึมเศร้า โรคติดเฟซบุ๊ก เริ่มกระวนกระวายใจเมื่อไม่มีคนมากดไลค์ คอมเมนต์ หรือมีคนมาคอมเมนต์ในทางที่ไม่ดี ความคิดเห็นต่างๆ เหล่านั้นในโซเชียลมีเดียมาคิดปนกับชีวิตจริง เพราะฉะนั้นสถานการณ์ปัจจุบันอยากจะดังมากขึ้น จนต้องยอมที่จะสูญเสียอัตลักษณ์ แต่บางคนก็บอกว่าวิธีการสร้างสถานะให้สังคมยอมรับคือ ต้องสร้างสถานะทางเฟซบุ๊กให้ดีแล้วจะมีคนติดตาม บางครั้งมันก็จะนำมาสู่การสูญเสียความสัมพันธ์ และความสามารถในการที่จะปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว

บางรายมีถึงขั้นโดนหลอกลวงด้วย เนื่องจากมันง่ายมาก เพราะช่องทางในโซเชียลมีเดียเหมือนการคุยกับคนแปลกหน้า อย่าลืมว่าถ้าเราคุยกับคนในชีวิตจริง เราจะเห็นหน้า แต่ในเฟซบุ๊กทุกคนแต่งและประดิษฐ์ได้ คนส่วนมากมักจะโพสต์แต่เรื่องที่ดี ไม่มีใครบอกเรื่องแย่ๆ ของตัวเองมีอะไรบ้าง ทุกคนจะประดิษฐ์ตกแต่งชีวิตตัวเองให้มันดูสวยงาม เพราะเมื่อสวยงามก็ดูเย้ายวนให้น่าติดตาม พอน่าติดตามก็นำไปสู่การที่จะถูกล่อลวง เพราะบางคนเปิดเผยเรื่องตัวเองมากเกินไป มันเป็นช่องทาง 24 ชม. ของอาชญากรที่มุ่งจะจ้องชีวิตเราอยู่ ยิ่งเปิดเผยมากก็อันตรายมาก เพราะฉะนั้นหลายๆ ครั้งสำหรับเด็กที่มีวุฒิภาวะต่ำในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป เพราะมันนำไปสู่อาชญากรรมทางออนไลน์ คดีที่เกิดขึ้นก็เป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางเพศ

นักวิชาการด้านสื่อ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ให้ได้คิดอีกว่า มีงานวิจัยออกมาว่า ต่อให้มีเพื่อนประมาณห้าพันคนแต่โดยเฉลี่ยแล้วเพื่อนที่คุณรู้จักจริงๆ เคยเห็นหน้าต่ำกว่า 200 คน แล้วสิ่งที่คุณต้องคิดมากขึ้น หน้าฟีดหรือไทม์ไลน์ข่าวสารของคุณ ระบบทำความสะอาดของเฟซบุ๊กมันจะคำนวณให้ว่าคุณเคยมีปฏิสัมพันธ์กับใครบ้าง โดยรวมๆ จะอยู่แค่ 20-30 คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าความสัมพันธ์ของผู้คนจริงๆ ในโลกออนไลน์มันไม่ใช่ความสัมพันธ์ในชีวิตจริง มันคนละเรื่องกัน ต้องแยกให้ออก เพราะโลกออนไลน์คือโลกเสมือนจริง อีกอย่างก็คือเฟซบุ๊กทำให้ระยะห่างของความเป็นคนแปลกหน้ามันสั้นลง และที่สำคัญคือความไว้วางใจ เราก็รู้สึกที่จะวางใจเพื่อนในเฟซบุ๊กมากขึ้น มีระยะห่างของคนแปลกหน้าน้อยลงและวางใจอะไรได้ง่าย

นักวิชาการด้านสื่อได้วิเคราะห์ถึงเรื่องความฟีเวอร์ในเฟซบุ๊กไปแล้ว ต่อไป “ไทยรัฐออนไลน์” จะเจาะหาสาเหตุ ที่มาที่ไป และกระบวนการขั้นตอนของแฟนเพจพวกนี้ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง และทำไมถึงได้ฮอตขนาดนี้!!

แฟนเพจสุดฮอต ยอดไลค์พุ่งกระฉูด !

แอดมินเพจสมาคมนิยมสาวสวยแห่งประเทศไทย (สสสท.) บอกว่า จุดเด่นของเพจนี้อย่างแรกคือชื่อ “สมาคมนิยมสาวสวยแห่งประเทศไทย (สสสท.)” อ่านง่ายจำได้ ติดตาดีด้วย ในส่วนเรื่องรูปผู้หญิงโป๊นั้น ไม่จำเป็นต้องโป๊แต่เซ็กซี่ต้องมีแน่ๆ เพจเรามีหลายแนว มีทั้งแบบ น่ารัก สวย หมวย อึ๋ม สาวมหาลัย มัธยม วัยทำงาน เราสร้างแฟนเพจนี้ขึ้นมาเพราะเห็นคนอื่นทำก็เลยอยากลองทำดูบ้าง ช่วงนั้นว่างๆ อยู่ด้วย ทำไปทำมารู้ตัวอีกทีก็ทำมาเรื่อยๆ แล้ว ยอดไลค์พุ่งกระฉูดสองล้านกว่า ตอนนั้นก็รู้สึกเกินคาดมาก ไม่คิดว่าจะถึงสองล้านเร็วขนาดนี้เท่านั้นเอง

ในส่วนของกระบวนการในการอัพรูปนั้นคือ ในสมัยก่อนจะเว้นเวลาระหว่างรูปละสิบนาทีก็อัพได้เลย แต่สมัยนี้ปรับเปลี่ยนมาเป็น สามสิบนาทีถึงหนึ่งชั่วโมงแทน เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนกฎของเฟซบุ๊ก และกลัวว่าสมาชิกจะเบื่อที่รูปจะเยอะเกินไปในหน้า news feed ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะทำให้เกิดการ unlike เพจที่มากเกินไป ส่วนแอดมินมีหลายคน ระบุจำนวนแน่นอนไม่ได้ เดี๋ยวมีเข้ามีออก มีทั้งหญิงชาย แต่จะมีคนดูแลเพจที่ใหญ่ที่สุดอยู่คนนึง ที่จะเป็นคนตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องที่คนอื่นตัดสินใจกันไม่ได้

หนึ่งในแอดมินแฟนเพจ สสสท.
แอดมินเพจ สสสท. เล่าต่ออีกว่า ส่วนเรื่องของการนำรูปมาอัพเราได้มีการขออนุญาตเจ้าตัวด้วย และบางคนก็เสนอตัวขอให้ลงรูปให้ นอกเหนือจากสองอย่างนี้คือหารูปจากที่ต่างๆ ที่หาได้ตามได้อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีเหตุการณ์ดราม่าเกิดขึ้นบ้าง เป็นเรื่องปกติที่จะมีดราม่าเกิดขึ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวปลอมมาฝากอัพรูปจนตัวจริงเห็นและตามมาต่อว่าหรือไม่พอใจที่ไม่ยอมอัพรูปให้ซักที

“เราก็คิดว่าจะทำเพจไปเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้มีการคุยเรื่องอนาคตของเพจกันบ้าง ว่าจะต่อยอดไปทางไหนดี สมควรเพิ่มเติมอะไรเข้าไปดีนอกจากรูปสาวๆ ไหม หรือจะไปเปิดเป็นบริษัทแมวมอง จัดหาคู่ ฯลฯ เป็นต้น ก็คิดกันไปเรื่อยๆ แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอนาคต แต่ยังไงเราก็ต้องทำวันนี้ให้ดีก่อน เราต้องขอบคุณทุกคนที่กดติดตามและเข้ามาดูรูปของเพจเรา ถ้าไม่มีพวกคุณเพจนี้ก็จะไม่มีใครรู้จัก และเพจเราอาจไม่มีสาระอะไรเลย เพราะมีแค่รูปสาวสวยที่เอาไว้ดูเพลิดเพลินเท่านั้น แต่แค่นี้ก็ทำให้จิตใจที่เหนื่อยล้านั้น กลับมากระชุ่มกระชวยได้ ว่าโลกนี้สาวสวยยังมีอีกเยอะ (หัวเราะ)” แอดมินเพจ สสสท. เล่าอย่างสนุกสนาน

แอดมินแฟนเพจ BTS cuteguys เพจใหม่มาแรง บอกผ่านไทยรัฐออนไลน์ว่า จุดเด่นของเพจนี้ที่ไม่เหมือนใคร คือ มัน Real และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ มันเป็น Insight ของผู้หญิงและเกย์หลายๆ คน เวลาเจอผู้ชายน่าสนใจ ถ้ามีโอกาสจะถ่ายรูปให้เพื่อนสาวช่วยพิจารณา/กรี๊ดกร๊าดกันในกรุ๊ปไลน์ เกิดเป็นบทสนทนาฮาๆ ตามมาในกลุ่มเพื่อน เช่น “เค้าคือของฉัน” “ฉันรักเค้า” “เจอแล้วสามีในอนาคต” “ฟินนนนนน” “สิบ สิบ สิบ” etc. ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างเพจ โดยเรามีความเชื่อว่ามันไม่ใช่แค่กลุ่มเราแน่ๆ ที่ทำกัน น่าจะมีผู้หญิงหรือเกย์อีกเยอะที่ทำแบบนี้ในกลุ่มเพื่อน ไหนๆ ก็ไหนๆ สร้างที่ให้มาร่วมกันฟินกันไปเลย ซึ่งตัวแอดมินทั้ง 3 คนเอง ตอนแรกก็แอบถ่ายส่งให้ดูกันในกรุ๊ปไลน์เล่นๆ ขำๆ มีวันนึงแอดมินคนนึงพูดขึ้นมาว่า พี่เปิดเพจเถอะ ก็เลยลองดู ทำเอาฮา
ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนติดตามเราเยอะ ยอดไลค์พุ่งกระฉูด ภายในเวลาไม่นาน เราก็รู้สึกตกใจเหมือนกันไม่รู้ว่าตัวเพจจะ Viral ได้ขนาดนี้ เพราะว่าตอนเริ่มทำก็เริ่มทำกันเอาฮา คิดว่าคงมีลูกเพจจำนวนนึง แต่ไม่คิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ซึ่งทุกวันนี้เราก็ได้รับผลตอบรับจากลูกเพจในหลายๆ รูปแบบที่ส่งเข้ามาใน inbox หลากอารมณ์มาก แต่ส่วนใหญ่จะดีใจที่มีเพจแบบนี้ เราก็มีแอดมินเป็นกลุ่มเพื่อนร่วมงาน 3 คน จริงๆ ก็ไม่ได้แบ่งหน้าที่อะไรกันชัดเจน แรกๆ ก็พยายามช่วยกันถ่ายรูป หลังๆ แทบไม่ต้องเลย เพราะมีส่งมาทาง Inbox เยอะมาก ก็มีพี่ใหญ่หนึ่งคนที่เป็นคนคอยคัดเลือกรูปจาก inbox มาลง
“เราก็อยากจะทำเพจนี้ไปนานๆ จนกว่าจะไม่มีคนส่งภาพมา แต่เราก็อยากให้มองว่าเพจนี้เป็นที่พักสายตา สนุกๆ ขำๆ อย่าซีเรียส อย่าจริงจัง และก็อยากให้มองว่ามันเป็นชุมชนหนึ่งของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน อยากแบ่งปันความฟินให้กับคนอีกหลายๆ คน แล้วก็ที่สำคัญฝากถึงคุณผู้ชายทุกคนที่รูปปรากฏขึ้นในเพจของเรา ว่าจงภูมิใจเถิด เพราะคุณหล่อ คุณถึงโดนถ่าย แล้วเราก็ไม่ใช่โรคจิตนะค้าาา” แอดมินเพจ BTS cuteguys บอกทิ้งท้าย

นอกจาก 2 เพจนี้ก็ยังมีอีกหลาย ๆ เพจที่เป็นที่นิยม

เช่น
สมาคมนิยมสาวมหาลัยแห่งประเทศไทย (สสมท)
สมาคมนิยมนิสิต นักศึกษาแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนพท.)
สมาคมหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
หนุ่มไฉไล by นายร้อยครับผม
ทหารหล่อบอกด้วย
สมาคมนิยมผู้ชายมีหนวด

ส่งภาพเข้าผิดห้อง หลังย้าย directory ของ blog

wordpress media folder
wordpress media folder

ในระบบ blog ของเครื่องบริการเครื่องหนึ่งที่ผมร่วมดูแล
พบว่า หลายคืนมาแล้วที่ส่งภาพ image เข้า blog แล้วหาย
ไม่ฟ้อง error เหมือนใคร ๆ เขา
เหมือนส่งเข้าได้ปกติ แต่กลับไม่แสดงผล
ก็คิดว่าเป็นปัญหาที่ระบบ directory
วันนี้นั่งหาวิธีแก้ไขว่าอะไรคือสาเหตุ

สุดท้ายก็พบว่า wordpress ที่เริ่ม post แรก
ตั้งแต่ 8 เมษายน 2009 นั้น มีการย้ายระบบมาหลายรอบ
อัพเกรดก็หลายครั้ง ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
มีการย้ายจาก appserv เป็น xampp
แต่มีค่า config ใน mysql ได้บันทึกชื่อ directory ไว้
สำหรับห้องเก็บ media เมื่อย้าย directory ของ script
แต่ไม่ไปแก่ config ก็ทำให้ระบบสับสนว่าจะเลือกห้องเก็บภาพที่ไหน
ตอนส่งภาพเข้าไป ก็ส่งเข้าห้องเก่า แต่ตอนเรียกใช้ กลับเรียกจากห้องใหม่
จากความพยายามหาว่าอะไรคือสาเหตุ ก็ได้มีการ upgrade version
เป็น 3.9.1 เป็นที่เรียบร้อย ดูทันสมัยขึ้นพอสมควร

ทำ ubuntu หาย แต่ชวน grub กลับมาได้

disk management
disk management

เล่าสู่กันฟัง (กันตนเองลืม)
.. เหตุเกิดเพราะได้คอมพิวเตอร์มา 1 เครื่อง
1. ผมให้ร้านแบ่ง partition เป็น 3 ส่วน
คือ Primary partition กับอีก 2 logical drive
ใน Extended partiton
โดยลง win7 ใน Primary partition ไปก่อน
2. มาถึงบ้านก็ลง Ubuntu 14.04 server
ใน drive สุดท้ายของ harddisk
โดยเลือกให้แบ่ง partition แบบอัตโนมัติ
แล้วก็เกิด /sda6 กับ /sda7 เป็น root กับ swap
ซึ่ง ubuntu ลง grub ทับ /dev/sda
แต่เพิ่ม option ให้เข้าถึง win7 ได้ .. จึงไม่เป็นไร
ยังเข้าได้ 2 OS ทั้ง ubuntu และ win7
3. ลง win8 ใน drive d: แต่ถ้า boot ด้วย win8
จะสลับให้เห็น drive d: เป็น drive c:
ถ้าลง drive เดียวกับ win7 ไม่ได้จะย้ายเป็น windows.old
แสดงว่าการลง windows 2 ตัว ใน drive เดียวกันจะมีปัญหา
4. ผลการลง win8 ซึ่งระบบปฏิบัติการได้สร้าง option ให้เลือก
ว่าจะเปิดด้วย windows ตัวใดก็ได้ ข่าวร้ายคือ ubuntu หรือ grub หายไป
แต่แก้ไขได้ สำหรับปัญหาที่ mbr ซึ่งเคยมี grub ถูก win8 ทับไป
5. การแก้ไขต้องใช้แผ่นของ ubuntu เพื่อ boot ขึ้นมา
แล้วเลือก rescure mode แล้วเลือกไปตามตัวเลือก
เมื่อเข้าไปที่ root prompt ผมลองใช้ update-grub
ในห้อง /etc/default/ ซึ่งเก็บแฟ้ม grub
ก็พบว่า update และเห็น win8 ในผลการ update
6. ขั้นตอนสุดท้าย
ให้ทำการ reinstall grub boot loader
โดยเลือกให้ติดตั้งใน /dev/sda
จากนั้นก็ reboot ซึ่งทำให้ grub ใน /dev/sda เหมือนเดิม
7. จากนี้ก็จะเลือกได้ว่าจะ boot เข้า os ใด
ระหว่าง ubuntu, win7 หรือ win8

ปล. ผมไม่เลือกใช้ virtual box สำหรับ ubuntu ตัวนี้
เพราะต้องการใช้ ubuntu ให้เหมือน os ที่ใช้งานจริง
ไม่ต้องการสภาพแวดล้อมเสมือน

ตอบช่างไปว่าซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ดูหนังฟังเพลง

brochure toppc
brochure toppc

31 พ.ค.57 มีโอกาสไปซื้อคอมพิวเตอร์ประกอบไว้ดูหนังฟังเพลง
มา 1 เครื่อง ผมเลือก spec ต่ำสุดจาก brochure
เพราะใช้งานที่บ้านคนเดียวกับสมาชิกในครอบครัว
โดยเพิ่มขนาด Harddisk ไม่เพิ่มการ์ดจอ เพราะไม่ได้เล่นเกม
แต่ผมของ LAN 2 ช่อง เพราะต้องนำไปทำอะไรบางอย่าง
ร้านเสนอจะลงโปรแกรมให้ผมก็ยินดี เพราะเป็นการทดสอบเครื่องไปด้วย
ผมขอแบ่ง 3 Partition จะได้ไม่ต้องมาแบ่งเอง

กลับมาบ้านก็ได้เด็กที่บ้านช่วยประกอบให้
สมัยนี้ประกอบคอมพิวเตอร์ง่ายมากครับ
แกะจากกล่องแล้วก็หาสายเสียบให้ตรงช่อง
เปิดเครื่องแล้วใช้ได้เลย
อย่างสายลำโพงก็เสียบเข้าช่องสีเขียว

อุปกรณ์ไอที ก็เหมือนร่างกายของเรา
ย่อมเจ็บป่วยได้เป็นธรรมดา
อาจป่วยถาวร ป่วยเรื้อรัง หรือป่วยแล้วหาย
ถ้าเจ็บป่วยก็ต้องแก้ไข อาจเปลี่ยนอะไหล่เมื่อใช้ไปสักพัก
เหมือนเปลี่ยนปอด หัวใจ ตับในมนุษย์
บางทีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เจ็บป่วยตั้งแต่เกิดได้
ถ้าเป็นคนก็อาจทนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่อาการ

สำหรับกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ เป็นกันตั้งแต่เกิดเลย
หลังลง OS ตัวที่ 2 ก็พบปัญหาจอลายเป็นพัก ๆ
ก็ไม่ได้เช็คว่าเป็นที่จอ หรือคอมฯ เพราะรีบช่วงประกัน
จึงพาไปหาช่างในเช้าวันรุ่งขึ้น

สรุปว่าช่างบริการรวดเร็วทันใจ
ตรวจสอบแล้วบอกว่าเปลี่ยน Mainboard ให้ใหม่
ก็หวังว่าจะเป็น Mainboard ที่อยู่กับเรา
ต่อไปได้อีกนานเท่านาน

เท่าที่อ่านจากเน็ต อาการจอลาย
มักเป็นที่การ์ดจอ กรณีนี้อยู่บน mainboard
และสมัยนี้ไม่ค่อยได้ซ่อมคอมพิวเตอร์กันแล้ว
ส่วนใหญ่เสียก็ต้องเปลี่ยนใหม่ครับ

new computer
new computer

ปล. เหตุที่ต้องหาเครื่องใหม่
เพราะเครื่องเดิมมี RAM 1 GB
CPU 2.11GHz
กับ Harddisk 80 GB
ขยับอะไรแต่ละที ยากเหลือเกินกับ Software
ที่กินจุขึ้นทุกวัน ทั้งพื้นที่ และหน่วยความจำ

ขาดคุณสมบัติประกวด young blood ไปวันนี้ซะเลย

ชอบเก้าอี้ เป็นครั้งแรกในชีวิต นั่งเก้าอีกแบบนี้ ที่นี่
ชอบเก้าอี้ เป็นครั้งแรกในชีวิต นั่งเก้าอีกแบบนี้ ที่นี่

25 พ.ค.57 ทราบจาก fb page ของ งานประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลลำปาง
สนใจเรื่อง Young blood Donor Lampang 2014
แต่อายุไม่เข้าเงื่อนไข ก็เลยบริจาควันนี้ ให้สิ้นเรื่องสิ้นราว .. ไม่วันที่ 14 มิ.ย.57
รู้สึกทำอะไรที่เขาต้องการ ดีกว่าทำอะไรที่เขาไม่ต้องการ
https://www.facebook.com/PR.LPH123

ต้องการโลหิต ขั้นวิกฤต
ต้องการโลหิต ขั้นวิกฤต

ด่วน ขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤต
ขอวอนร่วมกันบริจาคเพื่อช่วยผู้ป่วยที่กำลังรอความหวัง
งานธนาคารเลือด รพ.ลำปาง
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 23.00 น.
ยินดีมอบหนังสือธรรมะ 1 เล่ม ด้วยความขอบคุณยิ่ง
ตามที่สภากาชาดไทย ขอรับบริจาคโลหิต
เนื่องจากช่วงนี้กำลังขาดแคลนโลหิตอย่างหนัก
โรงพยาบาลทั่วประเทศเบิกโลหิตเพิ่มสูงถึงวันละ 5,000-6,000 ยูนิต
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
จัดหาโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมาย คือวันละ 1,600-2,000 ยูนิต
และจะต้องมีโลหิตสำรองคงคลัง วันละ 3,000 ยูนิต
แต่ปัจจุบันมีเพียง 300 ยูนิตเท่านั้น
ในขณะที่ยอดขอเบิกโลหิตให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
มีจำนวนมากถึงวันละ 5,000-6,000 ยูนิต
สภากาชาดไทยจึงขอรับบริจาคโลหิต

วันบริจาคโลหิต คือ 14 มิถุนายน ของทุกปี
วันผู้บริจาคโลหิตโลก คือ 14 มิถุนายน ของทุกปี

งานประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลลำปาง
บริจาคโลหิตวันผู้บริจาคโลหิตโลก
รับเสื้อยืด ใบประกาศเกียรติคุณ และลุ้นรับรางวัล
พร้อมชมการประกวดหนุ่มสาวสุขภาพดี
ชิงทุนการศึกษา 10,000 บาท

เหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง ร่วมกับโรงพยาบาลลำปาง
กำหนดจัดกิจกรรมวันผู้บริจาคโลหิตโลหิตโลก 2557
ในวันเสาร์ ที่ 14 มิถุนายน 2557 และกิจกรรมการประกวดหนุ่ม-สาว
Young blood Donor Lampang 2014
สหพันธ์สภากาชาดสากล กำหนดให้วันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี
เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก
เพื่อระลึกถึง ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ผู้ค้นพบหมู่โลหิตระบบเอบีโอ
เหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง จึงร่วมกับโรงพยาบาลลำปาง
จัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้บริจาคโลหิต ภายใต้สโลแกน

“Save blood for saving mothers”
(สละโลหิตพลิกวิกฤตช่วยชีวิตแม่และลูก)

เพื่อให้มีผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ
และสร้างแบบอย่างของผู้บริจาคโลหิตรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพดี
จัดกิจกรรมการประกวด Young blood Donor Lampang 2014
สำหรับเยาวชนชาย หญิง อายุระหว่าง 17-25 ปี
สัญชาติไทย เคยบริจาคโลหิต ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ และกำลังศึกษาอยู่ในจังหวัดลำปาง
รางวัลชนะเลิศประเภทชายและหญิงจะได้รับสายสะพาน
พร้อมทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2557
ที่สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง ถนนทิพย์ช้าง
อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ 054-217758
พบกับแสดงบนเวทีอีกมากมาย

ในวันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 8.00 – 16.00 น.
ณ อาคารบุญชูตรีทอง โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง

ไม่ชอบเลือด หลับตาทำใจ นึกถึงที่ชอบที่ชอบ
ไม่ชอบเลือด หลับตาทำใจ นึกถึงที่ชอบที่ชอบ

สไลด์แนะนำโปรแกรมเสียง 3 โปรแกรม

adobe audition
adobe audition

การใช้โปรแกรมจัดการเสียง
ด้วย Adobe Audition
สำหรับผู้จัดรายการวิทยุชุมชน
ในการเตรียมเสียงมาเปิดที่สถานี
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/800107180008575/

การใช้โปรแกรม CDEX
สำหรับบันทึกเสียงจาก Analog Input
หรือ ไมโครโฟน นั่นเอง
เป็นโปรแกรมขนาดเล็กใช้ง่าย
และยังแปลง audio cd มาเป็น mp3 ได้ง่าย
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/800107083341918/

การใช้โปรแกรม Sound Recorder ของ Windows
และแนะนำโปรแกรมกลุ่ม audio player
ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่มีมากับ windows
สมัยนี้บันทึกเสียงได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก
เพราะอุปกรณ์รอบตัวเรา รองรับกันหมด
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/800108156675144/

ประชุมร่วมกับอาจารย์จาก fukui university of technology

fukui & ntu meeting
fukui & ntu meeting

21 พ.ค.57 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นทั้งผู้บริหาร และคณาจารย์
นำโดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี ได้ประชุมร่วมกับ
Prof.Fumio Nakayasu (Head of International Center of FUT)
และ Ms.Ayako Kobayashi (Chief of an International Center)
จากมหาวิทยาลัย fukui ประเทศญี่ปุ่น
http://www.fukui-ut.ac.jp
เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านวิชาการ
การจัดประชุมวิชาการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ หลักสูตรร่วม
จัดกิจกรรมศึกษาในต่างประเทศทั้งระยะสั้น ทั้งตรีและโท และการโอนหน่วยกิต เป็นต้น

fukui document
fukui document
fukui document
fukui document

ตามเอกสารนำเสนอข้อมูลมหาวิทยาลัย Fukui
ทำให้ทราบว่าที่ fukui กำลังดำเนินการเปิดหลักสูตร
ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กีฬาและสุขภาพ (Sport & Health Science)
ซึ่งเชื่อมโยงกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเนชั่นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งก่อนหน้านี้มีคณะออกแบบ และคณะไอทีให้ความสนใจ เสนอหัวข้อ
โดยผลการประชุม ทางญี่ปุ่นจะนำไปหารือกับคณะวิชาต่าง ๆ
และจัดทำแผนต่อไป ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องช่วงเวลาและรูปแบบเป็นสำคัญ
ซึ่งฝ่ายเมืองไทยได้กำหนดแผนจัดประชุมวิชาการ ntc2014
ในวันที่ 6-8 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หากติดขัดเรื่องการเปิดปิดภาคเรียนก็อาจกำหนดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2558
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.637111256365963.1073741984.228245437252549

ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านอธิการบดี  Prof. Dr.Yotaro Morishima
ของ Fukui University of Technology
ได้มาเป็น keynote speaker ในงานประชุม ntc2014
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2557 ในหัวข้อ
Challenges of Japanese Universities in the Borderless Era
http://www.thaiall.com/blog/burin/5733/
http://blog.nation.ac.th/?p=2887