ทางออกของการศึกษาไทย คือ decentralization

centralization decentralization
centralization decentralization

ไปอ่านพบเรื่อง การกระจายอำนาจการศึกษา คือทางออกของการศึกษาไทย
ที่ http://board.palungjit.org/f10/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-143339.html

อ่านดูแล้ว ผมว่าเขาสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยเน้นการกระจายอำนาจ
แต่มองเห็นปัญหา จำแนกได้ 5 ข้อ ..
เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ คือ การทำอย่างไรจึงจะมีระบบบริหารการศึกษาที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คนแต่ละคนที่มีหน้าที่ทำงานอะไร ได้ทำงานนั้น ๆ ได้อย่างไม่มีอุปสรรค ระบบบริหารที่ดี คือทำให้เกิดระบบที่จริงจังที่จะทำงานต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ และสำหรับประเทศไทยที่มีประชากร 64-65 ล้านคน การรวมศูนย์อำนาจเป็นสิ่งที่รังแต่จะทำให้ระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบราชการเดินไปได้ยาก ระบบการศึกษาที่ยึดโยงกับระบบราชการ จะต้องกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่น

ผลแห่งการพยายามปฏิรูปการศึกษา จึงทำให้เกิดเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นมา 176 แห่ง ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เป็นผลตามมามีดังต่อไปนี้

1. บทบาทหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา (Roles and Functions)
ยังไม่ชัดเจน คือไม่มีกฎหมายรองรับให้เป็นนิติบุคคลที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในเขตพื้นที่การศึกษาของตน หากในทัศนะของผม ควรให้เขตพื้นที่ได้มีหน้าที่ครบถ้วนต่อไปนี้ คือ การวางแผนรวมของเขตพื้นที่, การจัดสรรกำลังคน เกลี่ยกำลังคน, การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการรณรงค์หางบประมาณเสริมจากงบประมาณที่ได้จากส่วนกลาง การจะทำได้ดังกล่าว จะต้องมีการเสนอเป็นกฎหมายลูก ประกอบการปฏิรูปการศึกษา ทำให้เกิด CEO การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่

2. การเปลี่ยนแปลงยังไม่เกิดแรงผลักดันให้ต้องพัฒนาอย่างชัดเจน (Impact and Momentum)
จากการสังเกตของผม ครูอาจารย์จำนวนมาก ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ยังไม่มีการดำเนินการไปตามมาตรฐานการศึกษา ดังที่ทาง สมศ. ได้รายงานต่อสาธารณะหลายครั้ง ก็ยืนยันได้ว่า ยังไม่มีการพัฒนาการทำงานของครู ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนของนักเรียนก็เลยยังไม่พัฒนา จากการศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เรามีจุดอ่อนด้าน “ขีดความสามารถของกำลังคน” ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การที่ต่างชาติคิดจะมาลงทุนในไทยก็ต้องคิดมาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ก็เป็นผลพลอยที่จะเห็นได้จากอาการชะงักให้เห็นในช่วง 4-5 ปีหลังนี้

3. การยังไม่เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชน (Participation)
ผมลองได้ศึกษาจากที่สอนในระดับดุษฎีบัณฑิตทางความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา ทั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และการสอนที่อื่นๆ พบว่า ต้นทุนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่น่าจะเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาระดับ ป. 1 ถึง ม. 6 เฉลี่ยน่าจะเพียงพอที่ 16,500 บาท ในช่วงที่ค่าเงินเฟ้อและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยปัญหาราคาน้ำมัน จะทำให้มีผลกระทบต่อการศึกษาเช่นกัน ในอีกไม่นานคงต้องมองต้นทุนที่ 20,000 บาท นั้นหมายความว่าจะจัดการศึกษาให้ได้ดีเป็นมาตรฐาน คงต้องมีเงินเสริมจากงบประมาณแผ่นดินสักร้อยละ 30 ซึ่งต้องมาจากท้องถิ่น พ่อแม่ผู้ปกครอง และอื่นๆ หากไม่ได้การมีส่วนร่วมจากชุมชน การศึกษาของชาติในระดับภูมิภาคก็จะประสบปัญหา

4. ความเสื่อมล้าของการศึกษาภาคเอกชน (Private Education)
จากการประมาณการของผมเอง คิดว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทในการศึกษาขั้นพื้นฐานเหลือไม่เกินร้อยละ 10 โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา ที่พอจะเป็นความต้องการ และเอกชนทำได้ดี คือระดับอนุบาลศึกษา การศึกษาประถมวัย โรงเรียนเอกชนนั้นเป็นทางเลือกของการศึกษา ที่หากเขามีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง ภาครัฐก็ไม่ต้องไปเหนื่อยทำแทนเขา พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง เขามีความสามารถจ่ายเงินได้บางส่วน หากมีการสนับสนุนเงินสมทบ หรือมี Education Coupon ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการศึกษาที่ผู้ปกครองได้เลือกส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนเอกชนได้หัวละเท่าใด และประกาศอย่างชัดเจนแน่นอน เอกชนเขาจะได้ไปคิดแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ถูก แต่ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน เขาลงทุนทำไปแล้ว มีแต่ล้มเหลว ก็เป็นความสูญเปล่า

5. การขาดระบบพัฒนานักบริหารการศึกษาพันธุ์ใหม่ (New Leadership)
เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารการศึกษากันมากมาย หลายแห่ง แต่ทั้งหมดยังมีปัญหาในด้านต่อไปนี้
– การมีวิสัยทัศน์ที่จะมองการณ์ไกล (Visions) บางที่อาจต้องเข้าใจในความเป็นไปในโลกสากล ประเทศที่เขาพัฒนากันไปแล้วนั้น มีแนวโน้มกันอย่างไร
– การมีความสามารถในการวางแผน มีแผนพัฒนา (Planning Skills) การจะต้องไปขอเงินขอทางจากกลุ่มต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หากเป็นภาคธุรกิจ เขาต้องมีแผนงานที่จะเห็นได้ว่าจะต้องการใช้เงินจำนวนเท่าใด ไปใช้เรื่องอะไร จะมีความคุ้มหรือไม่ จะต้องมีการสนับสนุนต่อเนื่องกันนานสักเท่าใด
– การมีความเข้าใจและทักษะทางการเมือง (Political Skills) นักบริหารการศึกษายุคใหม่หนีไม่พ้นการเมือง ต้องสามารถทำงานร่วมกับนักการเมือง ตัวแทนประชาชนในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการถ่วงดุลแรงผลักดันของกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม
– ความรอบรู้ในเรื่องกฎหมาย (Legal Education) การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ มีการออกกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติที่ต้องโปร่งใสมีหลักที่จะยึด

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่นักบริหารการศึกษารุ่นใหม่ ๆ ต้องพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถ

มองในอีกด้านหนึ่งคือ “โอกาส” ผมคิดว่าในช่วง 5-10 ปีต่อไปนี้ เราคงต้องมีนักบริหารพันธุ์ใหม่ ระดับนำ อาจจะเรียกว่า CEO ทางการศึกษาสัก 1000 คน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค คนระดับนี้อาจได้แก่ ผอ. เขตพื้นที่การศึกษา รองผอ. ที่จะเตรียมตัวเรียนรู้เพื่อจะรับหน้าที่ต่อไป นอกกจากนี้คือ ผอ. อาจารย์ใหญ่สถานศึกษาทั้งของภาครัฐ และเอกชน ขนาดใหญ่

อีกระดับหนึ่ง อาจจะนับเป็นหมื่น ๆ คนทีเดียว เขาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีทั่วประเทศนับกว่า 30000 แห่ง อีกส่วนคือพวกที่จะมีบทบาทจากภายนอก จากภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน ระบบปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล, อบจ., อบต., เขาเหล่านี้ โดยเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรของการศึกษาโดยตรง แต่เขาจะมีบทบาทในการช่วยผลักดันระบบการศึกษาให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง

เราคงต้องมองวิธีการผลิตกำลังคนไปนำระบบการศึกษา และระบบสังคมในแบบใหม่ โดยต้องเน้นไปที่ขีดความสามารถในการไปเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างจริงจัง มากกว่าการจะผลิตคน โดยเน้นไปที่ปริญญาบัตร หรือกระดาษ

ระบบผลิตคนและผู้นำทางการศึกษานั้น จะต้องเป็นระบบประสมประสานที่ทำให้นักบริหารการศึกษาใหม่ มีเครื่องมือที่ติดตัวไปในการทำงาน และสามารถผลักดันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติไปได้อย่างจริงจัง เราต้องไม่หวังการนำจากระบบการเมืองส่วนกลาง เพราะแนวโน้มความไม่มั่นคงทางการเมืองในส่วนกลาง ประกอบกับมันเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะยึดการบริหารแบบรวมศูนย์ แบบหวงอำนาจ

ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ

need to change in Thailand Education System
need to change in Thailand Education System

ไปอ่านพบเรื่อง ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย
โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น
ที่ http://www.grandassess.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1551926

อ่านดูแล้ว ผมว่าคุณอรรถพล สนับสนุนให้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่มีแผนอยู่แล้ว แต่เราไม่ทำตามแผน ทิศทางการพัฒนาก็เลยรวนอย่างทุกวันนี้ .. เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

เรียน ท่านผู้จัดการหน่วยประเมินแกรนด์ แอสเซสเมนท์ ที่เคารพ

ผมนายอรรถพล จันทร์ชีวะ  ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น  ขอรบกวนใช้กระดานสนทนาของท่าน ในการแสดงความคิดเห็นด้านการศึกษาไทยสักนิดนะครับ

สืบเนื่องจากผลการจัดอันดับการศึกษาไทยจาก WEF ระบุว่าไทยอยู่ อันดับ 8 (สุดท้าย) แย่กว่าเขมรและเวียดนาม ทำให้ผมมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ข้อเสนอแนะไว้สักหน่อย ดังนี้

๑. ผมเคยเสนอแนะในเวปไซต์เคมบริดจ์ฯ ไว้ว่า ถ้าเอาการเมืองออกจากการศึกษาไทยได้ ก็น่าจะทำให้การศึกษาไทยมีความชัดเจน ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกิดจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาให้สับสนกันบ่อย ๆ ซึ่งในความเป็นจริงผมว่าประเด็นนี้ เป็นไปได้ยากไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ฉะนั้นผมจึงไม่อยากให้นักการศึกษาไทย คิดวนไปวนมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เสียเวลา แต่ผมพบว่าจริง ๆ แล้ว สมศ. รู้ดีว่า ทางออกของการศึกษาไทยในประเทศนี้ คือ การใช้แนวทางการปฏิรูปการศึกษานั่นเอง  เรียนว่า เรามีการประกาศปฏิรูปการศึกษาไทยมา ๒ ครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีใครให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งนั่นแหล่ะครับ จะมีใครทราบสักกี่ท่าน ว่านี่คือทางออกของความก้าวหน้าในการศึกษาไทยที่ดีขึ้นได้

ด้วยปัจจัยสำคัญที่กว่าจะได้ประเด็นข้อสรุปจากการปฏิรูปการศึกษาไทย จะปฏิรูปต้องใช้ข้อมูลและผลวิจัย รวมทั้งประเด็นที่ได้จากการจัดเวทีระดมความคิดเห็นกันมากกมาย ฉะนั้น ข้อสรุปที่เป็นประเด็นในการปฏิรูป ในรอบที่สองนี้แหล่ะคือ ทางออกที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าการศึกษาไทยอย่างถูกทิศทาง

โดยสังเกตกันดี ๆ ว่า สมศ. ชี้ประเด็นให้คนในวงการศึกษาไทยรับรู้ว่า การปฏิรูปการศึกษาไทยสำคัญและมีคุณค่ามาก ๆ โดยบรรจุไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 12 ในการประเมินรอบที่สามนี้ใช่ไหมครับ

๒. สิ่งที่เราควรทำในตอนนี้ ไม่ใช่การเรียกร้องให้เปลี่ยนระบบการศึกษาไทย หรือ เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ  หากแต่เราควร รณรงค์ให้การปฏิรูปการศึกษามีความศักดิ์สิทธิ์และนำประเด็นทั้ง 4 แนวทางที่ได้จากการสรุปประเด็นการปฏิรูปนี้ กล่าวคือ

1. การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2. การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3. การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
4. การพัฒนาคุณภาพการบริหารใหม่

ซึ่งมีรายละเอียดเป็นแนวทางเพิ่มเติมในแต่ละข้อนี้ให้ท่านพิจารณาได้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก  โดยผมคิดว่า เค้าทำมาดีมีแนวทางที่ดีและอิงผลการวิจัย ใช้งบประมาณมากมายไปแล้ว เราจึงควรเชื่อมั่นและยึดถือ รวมทั้งหากรัฐมนตรีคนใดมารับหน้าที่ ต้องมีหน้าที่หลักคือการผลักดันให้กระบวนการปฏิรูปเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะออกกฎ จะเปลี่ยนแปลง หรือ  สร้างนโยบายใด ๆ ใหม่ ๆ ควรจะสอดคล้องหรืออาจเปลี่ยนเเปลงเชิงยุทธวิธีมากกว่า ออกนโยบายมาให้ซ้ำซ้อนหรือสร้างความสับสน หรือ ทำเพียงเพื่อล้มล้างสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำไว้ ซึ่งผมเห็นด้วยกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาคนล่าสุด ที่เน้นการสร้างนโยบายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง เพียงแต่ผมว่า ท่านควรศึกษารายละเอียดประเด็นการปฏิรูปให้ดีอีกนิด จะได้ไม่เกิดการตกหล่น เป็นต้น

๓. ผมฝากประเด็นสุดท้าย คือ เราควรทบทวนการมีสถานศึกษาจำนวนมาก แต่ครูไม่ครบห้องครบชั้น ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยแห่งความล้มเหลวที่สุด ที่ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และอื่น ๆ เค้าให้ความสำคัญและกำลังแก้ไข มีกฎเหล็กว่าคุณภาพการจัดการศึกษาต้องเน้นครูครบชั้น นำคนคุณภาพมาเป็นครู  ซึ่งปัญหานี้บ้านเรายังคงเป็นอยู่ ซึ่งบางโรงเรียน มีครู ๑ คนแต่ต้องสอนทั้ง ๓ หรือ ๔ ชั้นเรียน ซึ่งควรเลิกคิดกันได้แล้วว่า สัดส่วนจำนวนครูกับเด็กก็เหมาะสมแล้ว ผมว่าอย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหน ธรรมชาติของคนเป็นครูไม่ได้เก่งหรือรอบรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเมื่อครูต้องสอนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ยังไงก็สู้เขมรไม่ได้ เพราะเค้าเน้นครูต้องตรงวิชาเอก โท ถ้าไม่มีก็ยุบไปเรียนรวมกัน เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ เป็นต้น

ผมเรียนว่า ระบบการศึกษาไทยเรามีปัญหาหลายอย่าง แต่เราก็พยายามแก้ไขกันมาหลายอย่างแล้ว ทางที่ดีคือ เราควรทบทวนและพิจารณาจากสิ่งที่เรา  ทำมาแล้วว่าใช้ประโยชน์มันอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง ไม่ควรมองแต่ว่า เราจะหานวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรมาเสริมเพียงเท่านั้น และควรเคารพผู้ทรงคุณวุฒิที่พยายามร่างเเนวทางการปฏิรูปและยึดถือร่วมกัน เมื่อพัฒนาการึกษาไทยให้ก้าวหน้า แก้วิกฤตนี้ให้สำเร็จร่วมกันนะครับ

ผู้ตั้งกระทู้ ผจก.เคมบริดจ์ฯ :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-08 14:14:12

ข้อมูลเพิ่มเติม
สมศ. = สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

สร้างโฮมเพจของนักเรียนมัธยมต้นด้วย artisteer.net

9 kings = 9 รัชกาล
9 kings = 9 รัชกาล

http://www.thainame.net/home/king/

สมัยมีบริการอินเทอร์เน็ต คนรุ่นใหม่สมัยนั้น
ก็จะใช้ geocities.com เป็นแหล่งเผยแพร่
แต่จำได้ว่าต่อมาผมใช้ hypermart.net แล้วก็เป็นสาวก
ของเขาจนทุกวันนี้ ส่วน geocities.com ก็ปิดบริการไป
เหมือนแหล่งบริการอื่น ๆ นับร้อย ที่หายไปเกือบทั้งหมด
มีรายหนึ่งคือ thai.net ที่เคยแนะนำใคร ๆ ว่าสุดยอด
แต่ท้ายที่สุดก็ปิดบริการไปอย่างน่าเสียดาย

ปัจจุบันครูโรงเรียนประถม และมัธยมหลายแห่งสอนเขียนเว็บเพจ
ถ้าเป็นมัธยมต้นก็จะใช้เครื่องมือเขียนเว็บ
ถ้าเป็นมัธยมปลายก็จะสอนเขียน HTML หรือ PHP หรือ C หรือ JAVA

วันนี้เป็นเรื่องของเด็ก ม.ต้น คนหนึ่ง
ที่จัดทำ “โฮมเพจ 9 รัชกาล
เป็นนักเรียน ม.3 เทอม 1 ที่จัดทำด้วยโปรแกรม Artisteer.net
แล้ว export เป็น html ได้แฟ้มหลาย ๆ แฟ้มที่เปิดผ่าน ie ได้เลย

แล้วผมก็ใช้งานระบบ free hosting ของ thainame.net
โดย upload แฟ้มทั้งหมดเข้าห้องที่สร้างขึ้นผ่าน file manager
พบผลการอัพโหลดที่
http://www.thainame.net/home/king/

http://artisteer.net/

SQL server and MS Access

sql server and microsoft access
sql server and microsoft access

เล่าสู่กันฟัง
นำข้อมูลจาก SQL server มาทำรายงานใน MS Access
เป็นกรณีที่เพื่อนบอกว่ามีข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูล SQL Server

แล้วการทำรายงานก็ต้องเขียนโปรแกรมภาษา PHP ส่งเป็น html หรือ pdf
แต่บางครั้งผู้ใช้ระดับสูงที่สนใจศึกษา MS Access
ก็ต้องการที่จะสร้างรายงานด้วยตนเอง อย่างง่าย แบบเร่งด่วน
การเชื่อมระหว่าง MS Access กับ SQL server ผ่าน ODBC
จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีความเชื่อกันว่า การทำรายงานด้วย
MS Access สามารถสร้างได้ง่ายโดยผู้ใช้ระดับสูง
นอกจากทำ query, form, report, macro และ module แล้ว
ยัง export ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว ไปเป็น txt และ xls ได้อีกด้วย
โดยทดสอบบน win xp และ office 2010 พบว่าเรียบร้อยดี

ยังไม่ได้เช็คชื่อ ไปขี้มา

child
child

+ http://www.gotoknow.org/posts/328479
+ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=560780

4 กันยายน 2556 เป็นวันที่ได้รับข้อมูลเรื่องจัดอันดับด้านการศึกษา ก็นึกถึงพฤติกรรม “เล่นเกมใน smart phone ขณะครูสอน” หรือ “พูดโทรศัพท์กับแฟนขณะเรียน” หรือคำพูดของเด็กที่คิดเป็นว่า “ยังไม่ได้เช็คชื่อ ไปขี้มา” ที่อาจเป็นเหตุการณ์ ช่วงปิดชั้นเรียนวิชาหนึ่ง แล้วมีนักเรียนเดินเข้ามาบอกคุณครูว่าขอเช็คชื่อ เพราะยังไม่ได้เช็คชื่อเลย เหตุการณ์แบบนี้แสดงถึงเสรีภาพในการใช้ภาษาอย่างสุดโต่งของนักเรียน เป็นเสรีภาพที่ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าเด็กสมัยกล้าคิด กล้าทำ อย่างที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในสังคมไทยยุคการศึกษารั้งบ้วย

นึกย้อนไปในอดีตว่าสมัยก่อน ที่โรงเรียนเอกชนประจำจังหวัด ใครสอบตกก็จะถูกเรียกไปบนเวที แล้วโบยด้วยไม้ท่อนใหญ่ ๆ เพื่อให้สัญญาณนี่คือโทษของความไม่ตั้งใจเรียน และโปรดจำไว้ด้วยว่าความไม่ตั้งใจเรียนจะมีผลเป็นอย่างไร ผมว่าหลาย ๆ คนได้ดิบได้ดีมาทุกวันนี้ก็ เพราะเกรงว่าไม่ตั้งใจเรียนจะถูกจับโบยอีก แต่นั้นก็หลายสิบปีแล้ว จะเดินสวนคุณครูก็ต้องให้เกียรติ และยกมือไหว้อย่างไทยเป็นความเคยชินเลยหละ ไม่ทำก็จะเป็นแกะดำของโรงเรียน

วันนี้ จากข่าวช่อง 3 โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้อ้างอิงว่านายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) – The Global Competitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม “เวทีเศรษฐกิจโลก” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้มีการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งปรากฏว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับรั้งท้าย ซึ่งไม่รวมประเทศลาวกับประเทศพม่า

ranking
ranking

http://www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2012-13.pdf

มีผลการจัดอันดับ ดังนี้
อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์
อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย
อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
อันดับ 4 ประเทศฟิลิปปินส์
อันดับ 5 ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับ 6 ประเทศกัมพูชา
อันดับ 7 ประเทศเวียดนาม
อันดับ 8 ประเทศไทย

แต่ผู้นำด้านการศึกษา ให้ข้อสังเกตว่าเราน่าจะอยู่ราวอันดับ 5 เพราะระดับโลกเราก็อยู่ระดับกลาง ไม่น่ารั้งท้าย คงต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ESTNNRGd4TVE9PQ==

แล้ว นายภาวิช กล่าวทิ้งท้ายว่า ข้อมูลนี้ถือว่าน่าตกใจ เพราะอันดับของเราต่ำมาก แต่เมื่อเทียบในอันดับโลกเรายังอยู่ในระดับกลาง ๆ ดังนั้นจึงต้องไปวิเคราะห์ให้ชัดเจนอีกทีว่า เกิดจากสาเหตุใด แต่คงต้องมีการปรับการศึกษาไทยขนานใหญ่ทั้งระบบ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สำคัญ คือ ต้องดูการจัดการศึกษาไทยในภาพรวมว่า ได้มาตรฐานโลกหรือไม่ และถ้าดูจากผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า เด็กไทยคิดไม่เป็น หากเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ การปฏิรูปวิธีการเรียนการสอน และปฏิรูปครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา

http://www.nationchannel.com/main/news/social/20130904/378383282/

http://www.youtube.com/watch?v=Ql0AO5UbA6o

http://www.komchadluek.net/detail/20130903/167328/%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87!%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.html

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33978&Key=hotnews

ตัวเลขไม่ออก เลข 1 แสดงเป็น NK

chrome and number
chrome and number
พบปัญหาเมื่อเขียนเว็บเพจหน้าหนึ่ง
ที่มี code เป็นร้อยบรรทัด
แสดงผลใน chrome browser แล้วเลขไม่ออกดังคาด
ความเป็นไปได้ของปัญหา .. มีสารพัด
แต่แสดงผลใน firefox กับ ie ไม่มีปัญหา
ประเภทแฟ้ม .php กับ .html ก็ให้ผลเหมือนกันคือมีปัญหา
เมื่อคัดลอก source code ไปไว้ใน localhost ไม่พบปัญหา
ทดสอบแก้ปัญหา
โดย upgrade version ของ chrome
สรุปว่า ปัญหาหายไป เห็นตัวเลขได้ปกติ
แสดงว่า version ของ browser ที่ใช้อยู่มีปัญหา
แล้วได้ผลดังภาพประกอบ
วิธีแก้ไข คือ เปลี่ยน version ของ browser เป็นรุ่นล่าสุด

ใช้อาร์เรย์เก็บข้อมูล เพื่อตอบตาม index

function to create array
function to create array

อ่านแฟ้มแบบตัวอักษรมาเก็บในอาร์เรย์ เพื่อใช้ตอบการร้องขอข้อมูลตาม index

กรณีแรก ..
ในทางทฤษฎีเราใช้ระบบฐานข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูล และใช้คำสั่ง SQL ที่เรียกว่า query ด้วยคำสั่ง select ถามหาข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพทำงานได้อย่างรวดเร็ว สมเป็นมืออาชีพ แต่ในทางปฏิบัติอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
เช่น กองฉลากเคยเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล ชาวไทยต้องการตรวจผลรางวัลก็กรอกข้อมูลแล้วระบบก็ส่ง query เข้าไปสอบถามจากเครื่องบริการ เป็นเช่นนี้อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเห็น sanook.com ให้บริการตรวจฉลากกินแบ่ง โดยนำข้อมูลตัวเลขมาเก็บในแฟ้ม html แล้วใช้ javascript เป็นตัวตอบคำถาม ภาระในการสืบค้นการถูกรางวัลกลายเป็นของ script + browser ฝั่งผู้ใช้ ที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุดในโลก
ปัจจุบันกองฉลากก็ใช้เทคนิค javascript ทำให้ตรวจฉลากหลายสิบใบได้เร็วมาก เพราะทั้งหมดแทบจะทำงานที่ฝั่งผู้ใช้ ยกเว้นการเปิดเว็บไซต์ในครั้งแรก เพื่อร้องขอการดาวน์โหลดข้อมูลมาไว้ในเครื่องผู้ใช้ที่เกิดขึ้นในครั้งแรก

กรณีที่สอง ..
ข้อมูลปริมาณมาก ย่อมต้องใช้ระบบฐานข้อมูล เพราะมีระบบบริหารจัดการ และค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีข้อมูลไม่กี่สิบระเบียน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งานระบบฐานข้อมูล เพราะระบบฐานข้อมูลนั้นจำเป็นต้องมีโปรแกรมทำงานที่หลากหลาย แต่ถ้าเก็บข้อมูลในอาร์เรย์ หรือเก็บใน text file แล้วอ่านมาไว้ในอาร์เรย์ ก็จะทำให้เรียกใช้ข้อมูลได้ง่าย และเร็ว เหมือนการทำงานของ cache หรือ ram หรือ harddisk ที่ทำงานได้เร็วกว่า external harddisk สำหรับตัวอย่างนี้ มีข้อมูลใน text file แล้วอ่านมาเก็บใน array โดยกำหนด index ให้แต่ละสมาชิก เมื่อต้องการข้อมูลก็เรียกสมาชิกตาม index ได้ทันที ซึ่งประมวลผลได้เร็ว และไม่เป็นภาระกับระบบฐานข้อมูล โดยฟังก์ชันเขียนให้รองรับการคืนค่าของสมาชิก เช่น ชื่อ-สกุล หรือ ชื่อ-ชื่อกลาง-สกุล หรือ ชื่ออย่างเดียว เมื่อส่งรหัสเข้าไปเรียกจากอาร์เรย์

Source code
$ar_advisor = array();
$ar_advisor = create_ar_advisor(“advisor”,”0″,”1-2″);
echo $ar_advisor[“5601”];
function create_ar_advisor($filename,$f_key,$f_val) {
$ar = array();
$fileaddr = “/data/”. $filename . “.csv”;
$fn = file($fileaddr);
$get_k = split(“-“,”$f_key”);
$get_v = split(“-“,”$f_val”);
foreach($fn as $v) {
$r = split(“\t”,”$v”);
$rk = “”; $rv = “”;
foreach($get_k as $kv) $rk .= $r[intval($kv,10)];
foreach($get_v as $vv) $rv .= $r[intval($vv,10)].” “;
$ar[$rk] = $rv;
}
return $ar;
}

เก่าไปใหม่มากับการ์ดยี่สิบ (itinlife412)

desktop pc sales usage prediction
desktop pc sales usage prediction

http://www.the4thdimension.net/2010/12/are-desktop-computers-obsolete-or-dead.html

25 ส.ค.56 คงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะเห็นบริษัทด้านคอมพิวเตอร์ประกาศยุติกิจการ แล้วนึกถึงคำว่าการ์ดยี่สิบ ที่เป็นเรื่องเล่าจากเจ้าของร้านจำหน่ายอุปกรณ์เล่าให้ฟังในกลุ่มนักศึกษาทางภาคเหนือ ว่ามีนักศึกษาในสถาบันหนึ่งใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงไม่ได้ แล้วเพื่อนก็แนะนำว่าต้องซื้อซาวด์การ์ด (Sound Card) มาเสียบเพิ่ม จึงจะทำให้คอมพิวเตอร์ส่งเสียงออก และรับเสียงเข้าได้ แต่คำว่าซาวด์ ในภาษาเหนือหมายถึง 20 ดังนั้นนักศึกษาก็ไปถามที่ร้านว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ ซักไซ้กันอยู่พักหนึ่งจึงทราบว่าอะไรเป็นอะไร

ปัจจุบันคงไม่มีใครไปถามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีแล้วว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ เพราะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมานานกว่าสิบปีแล้ว และปัจจุบันก็พบว่าร้านส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบเสร็จวางไว้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นโน๊ตบุ๊ค (Notebook) และแท็บเล็ตพีซี (Tabletpc) ซึ่งผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือกอุปกรณ์ภายใน เพราะบริษัทผู้ผลิตห้ามร้านค้าทั่วแกะเครื่อง ถ้าแกะก็จะถือว่าข้อตกลงในการรับประกันสิ้นสุดลง ยกเว้นว่ามีปัญหาใช้งานไม่ได้ก็จะส่งไปแกะเครื่องที่ศูนย์ซ่อมของผู้ผลิตเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีพนักงานซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือมีอะไหล่ในร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์น้อยมาก

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และปัจจัยจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้จำหน่าย หรือผู้เกี่ยวข้องในสายนี้ทั้งหมดมีแนวโน้มปิดตัวลงอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ซื้อไม่ซื้อเครื่องตั้งโต๊ะ  ร้านจำหน่ายไม่สั่งของเพิ่ม บริษัทย่อมอยู่ไม่ได้ แนวโน้มของผู้บริโภคคือใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเข้าอินเทอร์เน็ตแทนโน๊ตบุ๊ค ส่วนเครื่องโน๊ตบุ๊คมียอดขายทรงตัว สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะในไทยมียอดจำหน่ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยกเว้นเป็นเครื่องเซอร์ฟเวอร์ (Computer Server) สำหรับให้บริการในองค์กร พบค่าสถิติในอเมริกาปีค.ศ. 2008 เครื่องแท็บเล็ตมีส่วนแบ่ง 9% แต่คาดว่าจะเป็น 23% ในปีค.ศ.2015 ส่วนโน้ตบุ๊คและเน็ตบุ๊คมีส่วนแบ่งราว 60% และจะลดลงไม่กี่เปอร์เซ็น แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเคยมีส่วนแบ่ง 45% คาดว่าจะลดลงเหลือเพียง 18% เท่านั้น ยุคต่อไปของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นยุคของแท็บเล็ตพีซีและโน๊ตบุ๊คอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วผู้จำหน่ายก็มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ครองตลาดในปัจจุบัน

บทคัดย่อ รายงานการวิจัยระบบ peer visit

seci model
seci model

บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก
ระดับคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2555 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น

หัวข้อ
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเองโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ ระดับคณะวิชา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Peer Visit System for Self Assesment Report System by SECI Model Using : A Case Study of Nation University

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151760141212272&set=a.10150179894897272.317163.350024507271

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา เป็นกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบ จำนวน 10 คน หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ จำนวน 5 คน และผู้ประเมินภายใน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือ เครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แล้วดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่บูรณาการกับการจัดการความรู้โดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ (SECI Model) คือ กระบวนการทางสังคม (Socialization) กระบวนการสัมพันธ์ภายนอก (Externalization) กระบวนการผสานองค์ความรู้ (Combination) และ กระบวนการส่งต่อเป็นความรู้ฝังลึก (Internalization) แล้วใช้แบบประเมินความพึอพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ และภายหลังการใช้งานระบบโดยผู้ตรวจเยี่ยม งานที่พัฒนาขึ้นใช้กับการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชาตามร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555 โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจต่ออบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการตรวจเยี่ยมโดยรวมอยู่ระดับมาก (x = 3.94 , S.D. = 0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ระดับมาก (x = 3.65, S.D. = 0.64) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมได้

ใช้ SWOT ทำให้อยู่กับร้านเลขเจ็ดได้

seven shop
seven shop

บทแลกเปลี่ยน จาก http://pantip.com/topic/30883540

ไปพบการแชร์เรื่องราวดี ๆ
ใน fb profile ของ zongkiat pavadee อ่านแล้วรับรู้ได้ว่า
ผู้ตอบขั้นเทพใช้ประโยชน์จาก SWOT อย่างเห็นได้ชัด
(SWOT = Strengths, Weaknesses, Opportunities, Threats)
ทำให้ได้บทเรียนว่าสามารถใช้ SWOT เป็น SWORD สำหรับเอาชนะปัญหาในการแข่งขัน
ถ้ามีปัญหา แล้วไม่วิเคราะห์ SWOT จะรู้เขารู้เราได้อย่างไร
นี้เป็นเพียงเทคนิคเดียวที่ผู้ตอบนำมาใช้ และแก้ปัญหาได้ตรงจุด
อีกเทคนิคที่พบในคำตอบ คือ CSR (Coporate Social Responsibility)
แต่ไม่ได้ขยายความทางวิชาการเหมือน SWOT
ต้องขอชื่นชมผู้ตอบครับ น่าจะเป็นบทเรียนแก่ร้านของชำได้อย่างเป็นรูปธรรม
เป็นมุมมองของการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส .. จริง ๆ ๆ

ผู้ถาม http://pantip.com/profile/962611
บ้านเราเป็นร้านของชำเล็ก ๆ + ร้านก๋วยเตี๋ยว หน้าโรงงานมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร
กิจการนี้พ่อแม่เราทำมา 20 กว่าปีแล้ว  กลุ่มลูกค้าส่วนมากจะเป็นคนงานและชาวบ้านในซอย
เราเป็นร้านชำร้านเดียวในย่านนั้น เรียกว่าขายดีมาก ๆ ทั้งของชำและก๋วยเตี๋ยว
(ขาย 20 -25 ราคาขายคนงานเพราะขายแพงกว่านี้ก็ไม่มีคนกิน
กำไรจากก๋วยเตี๋ยวแทบไม่เห็น ที่ขายเพราะช่วยดึงลูกค้า ให้ร้านเราคึกคักขึ้น )
ร้านเราเปิดตั้งแต่เช้ายันเย็น ลูกค้าเข้าไม่ขาด ยิ่งช่วงพักของโรงงานทอนตังแทบไม่ทัน
อาชีพนี้ทำให้เรามีกินมีใช้อย่างสุขสบายแม่กับพ่อสามารถเลี้ยงเรากับน้องได้อย่างดี
จนเมื่อปีที่ผ่านมายอดขายตกลง เพราะแรงงานพม่าเข้ามาแทนแรงงานชาวอีสาน
กำลังการซื้อของแรงงานพม่าน้อยว่าชาวอีสานอย่างเห็นได้ชัด
พวกนี้จะกินใช้อย่างประหยัดมาก
แต่เราก็ยังพออยู่ได้เรื่อย ๆ เพราะยังมีชาวบ้านแถวนั้นแวะเวียนมาซื้ออยู่
จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ ร้านเลขเจ็ด มาเปิดใกล้บ้านห่างกันไม่ถึง 20 เมตร
สร้างใหญ่โตอลังการมาก (ประมาณตึกแถว 4 ห้องติด)
ตอนนี้ท้อมากค่ะ คนแห่เข้าร้านสะดวกซื้อหมด ร้านเราเงียบเป็นป่าช้าเลย
ที่พอขายได้ก็แค่บุหรี่แบ่งขาย เหล้าแบ่งขาย เป๊ปซี่น้ำแข็ง
นึกแล้วก็ใจหายสงสารคุณแม่นั่งเฝ้าร้านอย่างเหงา ๆ  ดีที่ยังมีก๋วยเตี๋ยว
แต่อีกไม่ปี่ปีพ่อแม่เราคงขายก๋วยเตี๋ยวไม่ไหว ท่านจะ 60 แล้ว
กลุ้มใจมากค่ะ เลยอยากขอคำปรึกษาจากเพื่อน ๆ ต่อ เราควรทำอย่างไรดี
ตอนนี้เราจัดร้านใหม่ให้ดูดีขึ้น เรื่องความสะอาดเราก็ตรวจเช็คตลอด
แต่ก็ยังเงียบ ยิ่งวันโรงงานปิดยิ่งเงียบ  คนบ้านไม่แทบไม่เข้าเลย เฮร้ออ
แต่เราก็เข้าใจผู้บริโภคนะคะ ที่นู่นมีพร้อมทุกอย่าง แอร์ก็เย็น
ถ้าเป็นเราก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด
ณ ตอนนี้ยังมองอนาคตไม่ออกเลยค่ะ ว่าจะไปทางไหนดี
ส่วนตัวเราตอนนี้ก็เพิ่งเรียนจบใหม่ทำงานเงินเดือนหมื่นกว่าบาท
น้องเราก็ยังเรียนไม่จบ  ทุกวันนี้เครียดมากนอนไม่หลับเลย
เวลามองบ้านเรากับร้านเลขเจ็ดเห็นภาพแล้วมันสะเทือนใจค่ะ
เพื่อน ๆ พอมีไอเดีย มาแนะนำมั้ยคะ ว่าเราควรทำยังไงต่อไป
หรือจะเปลี่ยนจากร้านของชำมาขายอย่างอื่นแทน
แล้วควรจะขายอะไรดี

ผู้ตอบขั้นเทพ http://pantip.com/profile/972021
อย่ากลัวค่ะน้อง พี่ (น่าจะพี่นะคะ อายุ 33 ค่ะ) ก็ขายของชำค่ะ
(ไม่ใช่สมาชิก pantip ค่ะ แต่สมัครมาตอบกระทู้นี้โดยเฉพาะ)
ร้านอยู่ห่างจาก ร้านเลขเจ็ด ประมาณ 20 ก้าวค่ะ
(ใกล้มากก เพราะทีแรก ร้านเลขเจ็ด จะมาขอเช่าที่บ้านค่ะ
แต่ถามจากรายได้ต่อเดือนแล้วไม่พอ คชจ. ในบ้านแน่นอน เลยตกลงใจไม่ทำค่ะ
เค้าเลยมาเช่าห้องที่ถัดไปจากที่บ้าน 3 ห้อง
)
จะบอกว่าการที่ ร้านเลขเจ็ด มาเปิดนั้นคือโอกาสนะคะ
ก่อน ร้านเลขเจ็ด มาเปิด พี่ก็ทำร้านต่อมาจากแม่ค่ะ (แม่เปิดมาจะ 30 ปีแล้ว)
ขายแต่ของชำอย่างเดียว ร้าน 2 คูหาค่ะ ขายส่งบ้างบางอย่าง
ตอน ร้านเลขเจ็ด มาเปิดวันแรก ร้านเงียบมากเลยวันนั้น
จำได้เลยนั่งดูลูกค้าถือลูกโป่งกับถุง ร้านเลขเจ็ด เดินผ่าน
จนอาทิตย์แรกผ่านไป เริ่มคิดแล้วรายได้ลดไปอย่างเห็นได้ชัด เอาไงดีวะ
(อันนี้บอกตัวเองนะคะ)
เพราะมีอีกหลายชีวิตในบ้านที่ต้องรับผิดชอบ เลยมาเริ่มคิด
ข้อ 1 คือ ร้านเลขเจ็ด มีอะไรและไม่มีอะไร และเรามีอะไรและไม่มีอะไร
.. งงมั้ยคะ จะสรุปให้ฟังทีหลังนะ
ข้อ 2 คือ ลูกค้าไปซื้ออะไรใน ร้านเลขเจ็ด
หาจุดอ่อนจุดแข็งทั้งของเราและของเค้าค่ะ
(SWOT analysis ที่เรียนมาเพิ่งจะได้รู้ประโยชน์จริงจังก็วันนี้ 555 เขียนผิดอย่าว่ากันนะคะ)
จากการวิเคราะห์ข้างต้น จุดแข็งของเราคือเรื่องสินค้า ราคา และลูกค้าค่ะ เอาทีละข้อนะคะ
(ตอบยาวเพราะอยากให้เพื่อน ๆ ร้านชำอีกหลาย ๆ คนสู้ ๆ เหมือนกันค่ะ อย่ายอมแพ้นะคะ)
สินค้า ความหลากหลายเราต้องมีให้มากกว่าค่ะ
ตอนเรียนโชคดีที่บังเอิญอาจารย์ให้หาข้อมูลของ ร้านเลขเจ็ด
เลยรู้ว่า ร้านเลขเจ็ด จะคัดเลือกเฉพาะสินค้าขายดี 3 อันดับต้น ๆ เข้ามาขายค่ะ
ทุกสาขาจะมีสินค้าคล้าย ๆ กัน แต่ความต้องการของลูกค้าแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันนะคะ
เราคนพื้นที่ คุยกับลูกค้าบ่อย ๆ เวลาเค้ามาซื้อของเราจะได้รู้ว่าเค้าต้องการอะไร
ความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ของเรามากกว่าค่ะ
สังเกตดูลูกค้าเราเป็นใคร ชอบอะไร ก็หามาขายค่ะ อีกอย่างต้องไวนะคะ
โฆษณาห้ามเปลี่ยนช่องดูเข้าไปอะไรออกใหม่ ต้องหามาขายให้ทันโฆษณาค่ะ
ร้านเลขเจ็ด  ขายได้เราก็ต้องขายได้
ราคาสินค้า เดินไปดูเลยค่ะที่ ร้านเลขเจ็ด ขายกี่บาท เราตั้งราคาให้ถูกกว่าค่ะ
ร้านเลขเจ็ด จะบวกกำไรเยอะมาก เราลดราคาลงมาหน่อย หาร้านส่งที่ราคาถูก
(ที่บ้านพี่แยกซื้อค่ะ กว่าจะได้ของครบนี่บางทีวนเกือบ 10 ร้าน  -_-“)
ที่สำคัญหมั่นไปดูเค้าขายอะไร แปลก ๆ ใหม่ ๆ ดูจะขายได้ต้องขวนขวายไปหามาค่ะ
ป้ายราคาต้องมีให้ชัดเจนนะคะ ไม่ต้องถึงขนาดไปซื้อป้ายแบบใน ร้านเลขเจ็ด มาก็ได้
แค่ตัวยิงราคาแบบที่ติดที่สินค้าเลย ตัวละ 2-300 บาทก็ใช้ได้แล้ว
ยิ่งอันไหนถูกกว่ามาก มีคอมใช้คอมปรินท์ติดให้เห็นตัวโต ๆ ค่ะ
สร้างความแตกต่าง ของแบ่งขายนี่ตัวได้กำไรเลยค่ะ
บ้านพี่แบ่งทั้งถุงใส่กับข้าว ยางรัดของ ขนมปี๊บ (ทำแพคเกจให้สวยงามนะคะ กำไรดีมาก)
หลัง ๆ มีลูกค้ามาบ่นเรื่องเด็ก ๆ ชอบไปซื้อของเล่นในร้านเลขเจ็ด
ซึ่งราคาแพงมาก พี่เลยไปหาของเล่นแผงมาขายค่ะ
ตอนนี้ลูกค้าเด็ก ๆ เลยกลับมาเพียบแล้วค่ะ อิอิ แต่ขายของเด็กต้องทันเด็กนะคะ
ตอนนี้เค้าเล่นอะไรกัน อะไรกำลังฮิต ถามเอาจากร้านขายส่งนั่นแหละค่ะ
เลือกร้านที่เค้าแนะนำเราดี ๆ
อีกอย่างสินค้าเครื่องแต่งตัว ร้านเลขเจ็ด จะไม่ขายของพวกฮิต ๆ ตามตลาดนัดค่ะ
เช่น พวกสบู่ต่าง ๆ ครีมยอดฮิต
อีกอย่าง ร้านเลขเจ็ด ข้างบ้านเราพนักงานหน้าเป็นตูด
(ขอโทษที่ใช้คำไม่สุภาพค่ะ ลูกค้าพูดมาอีกที)
ร้านเราเลยได้เปรียบ เพราะเราอยากให้ลูกค้าออกจากร้านเราไปด้วยรอยยิ้มมากกว่า ยิ้ม
อ้อ รายได้เสริมบ้านพี่คือมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ กับตู้เติมเงินมือถือค่ะ
(ตู้ร้านเลขเจ็ด คิดค่าบริการตามยอดที่เติม ตู้ที่บ้านพี่ พี่ตั้งค่าบริการเองถูกกว่า ร้านเลขเจ็ด ค่ะ
รายได้ไปเอาจากส่วนแบ่ง % จากเงินที่ลูกค้าเติมแทน
)
ปีใหม่พี่มีของขวัญให้ลูกค้าจับรางวัลด้วยค่ะ ของเล็ก ๆ น้อย ๆ
แต่ถือว่าเป็นน้ำใจตอบแทนลูกค้า

ลูกค้าก็สนุกไปกับเราด้วย
หลายอย่างค่ะ เริ่มเมื่อยมือแล้ว จิ้มในมือถือ -_-”
สรุปคือค่อย ๆ คิดค่ะ แก้ปัญหาทีละอย่าง ความเครียดช่วยอะไรไม่ได้เลยมีแต่ทำให้แย่ลง
สิ่งสำคัญคือ [สติ] นะคะ
ทุกวันนี้ ร้านเลขเจ็ด ทำให้พี่หมดหนี้ค่ะ
ก่อนร้านเลขเจ็ด มาเปิดมีหนี้อยู่ประมาณล้านกว่าบาท ร้านเลขเจ็ด
เปิดได้ 1 ปีกว่า ๆ ยอกขายที่ร้านพี่เพิ่มขึ้นมาก หนี้จากที่ไม่ค่อยขยับไปไหนก็หมดไป
(ขอบคุณ ร้านเลขเจ็ด ค่ะ)
ปัจจุบันร้านจาก 2 ห้องขยายเป็น 3 ห้องแล้วค่ะ สินค้าในร้านเยอะมากขึ้นมาก
ลูกค้าก็เยอะขึ้นตามมามากเหมือนกัน
(ร้านเลขเจ็ด ช่วยดึงลูกค้านะคะ บ้านพี่ไม่ได้อยู่ในตลาด
ตะก่อนลูกค้าจะเลยเข้าตลาด พอ ร้านเลขเจ็ด มาเปิดเลยดึงลูกค้าส่วนนี้มา
)
หนี้ที่หมดเริ่มมีก้อนใหม่แล้วค่ะ เอามาลงทุนเพิ่ม แต่ไม่กลัวแล้วค่ะ
แถมตอนนี้ Big C มาแล้ว ข่าวว่า Lotus กำลังจะตามมา
แต่ก็ไม่ท้อค่ะ ลูกค้าไป bigc มาส่วนใหญ่ว่าของแพง บ้านเราถูกกว่า
(จะไม่ถูกกว่าได้ยังไง เราแอบดูราคาจากในเว็บ bigc อิอิ)
ไม่ได้มีแต่ร้านเรานะคะที่คิดว่า ร้านเลขเจ็ด มาเปิดแล้วไม่ดี คนรู้จักกันเปิดร้านคน

ละอำเภอเจอสถานการณ์เดียวกัน
เค้าก็ขายดีขึ้นเหมือนกันค่ะ ตอนนี้ ร้านเลขเจ็ด เปิดมาได้น่าจะ 3-4 ปีแล้ว
ได้น้องพนักงานขาย ร้านเลขเจ็ด มาเป็นลูกค้าเราด้วยอีก อิอิ

อย่าท้อค่ะ อย่าท้อ มาสู้ ๆ ไปด้วยกันนะคะ