5 บทความวิชาการ และบทความิจัย เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง

ตามบทความวิชาการ โดย ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556) มีสิ่งที่พบหลายเรื่อง เช่น คุณสมบัติของผู้สมัครที่ทำให้ตัดสินใจเลือกหรือลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งจำแนกได้ 7 คุณสมบัติ ดังนี้ 1) สังกัดพรรคที่ชื่นชอบ 2) มีนโยบายในการหาเสียงที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มทำได้จริง 3) ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกิน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 4) เข้าถึงได้ง่าย ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน 5) ให้เงิน รางวัล หรือความช่วยเหลือต่างๆ 6) มีภาพลักษณ์ดี มีการศึกษา มาจากครอบครัวที่น่านับถือ 7) มีความผูกพันกับชุมชนพื้นที่เป็นระยะเวลานาน

การให้ความหมายและรูปแบบของการซื้อเสียง ซึ่งจำแนกได้ 8 ลักษณะ ดังนี้ 1) การให้เงิน 2) การมอบสิ่งของ 3) การร่วมงานหรือกิจกรรมของชุมชน 4) การสนับสนุนเงิน หรือสิ่งของในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน 5) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อสิ่งก่อสร้างสาธารณะ 6) การมาร่วมงานประเพณี หรือกิจกรรมของของครอบครัว 7) การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ท่านและครอบครัว 8) การนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

การรับรู้ถึงการซื้อเสียงและจำนวนเงินที่มีการจ่ายในการเลือกตั้งประเภทต่าง ๆ ซึ่งจำแนกได้ 9 ประเภท ดังนี้ 1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) สมาชิกวุฒิสภา 3) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4) สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5) นายกเทศมนตรี 6) สมาชิกสภาเทศบาล 7) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 8) สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 9) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

ส่วนบทความวิจัยของ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, ไชยวัฒน์ เผือกคง, และ พิสิฐ นิลเอก (2562) ศึกษาทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2) ด้านการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 3) ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 4) ด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง 5) ด้านแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้ง

https://thaiall.com/article/senate.htm

ชวนอ่านบทความวิจัย และบทความวิชาการที่น่าสนใจ

เฉลิมพล นุชอุดม และ กานดา ผรณเกียรติ์. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32-44.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556). พฤติกรรมการเลือกตั้ง และทัศนคติเกี่ยวกับการซื้อเสียงของเขตจังหวัดภาคอีสาน: กรณีตัวอย่างจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(3), 110-128.

ณัฐสุดา เวียงอำพล. (2558). สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยกับแนวคิดความเป็นตัวแทนระดับชาติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(3), 59-82.

พิกุล มีมานะ และ สนุก สิงห์มาตร. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน กลุ่มจังหวัดราชธานีเจริญศรีโสธร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 2(1), 57-71.

สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, ไชยวัฒน์ เผือกคง, และ พิสิฐ นิลเอก. (2562). ทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(3), 10-19.

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man