20 ก.ย.53 ในเวทีหารือการทำงานร่วมกันของสถาบันการศึกษาจังหวัดลำปาง และทิศทางการเคลื่อนงานมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นแกะดำในกลุ่มครูกบฎ เพราะพระครูปลัดอนันต์ ญาณสวโร ปล่อยมุขว่าถ้าพวกเราทำสำเร็จก็จะเรียกว่าผู้ก่อการดี แต่ถ้าล้มเหลวก็แสดงว่าเป็นกบฎ แล้วผมก็ย้ำไปว่าที่มาประชุมกันนี้ ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจหรือไม่ ในวาระที่นำชื่อมหาวิทยาลัยมารวมกัน เพื่อหารือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยลำปางคือ “บูรณาการระบบการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ” แล้ว ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ก็แสดงทัศนะที่เห็นต่างไปจากรายงานสรุป (ในสรุปมี 2 รูปแบบคือ มองยุทธศาสตร์จังหวัด และแยกกันทำ หรือรวมเป็นพื้นที่) ว่าการมีขึ้นของมหาวิทยาลัยลำปาง น่าจะเป็นการคิดใหม่แบบล่างขึ้นบน มิใช่บนลงล่างแบบเดิม ซึ่งเสนอว่าต้องเริ่มจากการเข้าเรียนรู้ ศึกษาปัญหาของชุมชน ว่าชุมชนต้องการอะไรอย่างแท้จริง ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือนำในการแก้ปัญหา แล้วนำบทเรียนมาปรับการเรียนการสอน ให้ได้นักศึกษาที่ตรงกับความต้องการของชุมชน .. แล้วผมก็ได้พบนักคิด 2 ท่านจาก มทร.คือ ผศ.ดร.สาวิทตร มีจุ้ย และ ผศ.สันติ ช่างเจรจา ซึ่งช่วงท้าย ๆ มีการหารือกันอื้ออึง เกี่ยวกับประเด็นมหาวิทยาลัยลำปาง ของชาวลำปาง เพื่อชาวลำปาง โดยชาวลำปาง และเกิดผลในลำปาง อย่างเอาจริงเอาจังเกิดขึ้น
แล้วงานที่ผมรับปากไปในเวที ในบทบาทของอาจารย์โยนก คือการขยับงานปี 2554 โดยเสนอประเด็นที่สนใจคือ “การสร้างครูนักจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในสถาบัน และการขยายผล” และมี อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ คอยให้กำลังใจอยู่ไม่ห่าง .. โดยมี คุณภัทรา มาน้อย เป็นพี่เลี้ยงผู้ใจดี เพราะถ้าใจร้ายผมคงหนีตะเหริดเปิดเปิงไปแล้ว จากภาระงานปกติที่รุมเร้าอยู่ทุกวัน