24 ก.ย.53 โลกไซเบอร์ในปัจจุบันมีภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศหลากหลายรูป แบบและมีเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีผลกระทบต่อองค์กรและที่เป็นส่วนบุคคล การป้องกันในมุมมองด้านกระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ไม่เพียงพอ เพราะจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด คือ “คน” (People) ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องรู้เท่าทันภัยต่าง ๆ ได้ทั้งในเชิงป้องกัน (preventive) และเชิงปรับปรุงแก้ไข (corrective)
ดังนั้น จุดเริ่มและเป็นจุดสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างทักษะหรือความรู้ หรือติดอาวุธทางปัญญาให้กับ “คน” เพื่อให้รู้เท่าทันภัยและสามารถต่อกรกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นผล คือ การสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Awareness) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ การอบรม เป็นต้น
การสร้างความตระหนัก (Security Awareness) เป็นมูลฐานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโลกไซเบอร์ ยิ่งมีความตระหนักได้เร็ว ได้ก่อน ได้ทัน ก็จะยิ่งเป็นการป้องกันภัยได้ดีกว่าจะต้องไปทำการแก้ไขเมื่อเกิดผลร้ายของ เหตุการณ์ การริเริ่มให้มีความตระหนักสำหรับกลุ่มเป้าหมายวัยศึกษาจะเป็นการบ่มเพาะที่ ดี ขณะที่การสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มคนวัยทำงานก็จะเป็นการช่วยให้การใช้ งานระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร
http://www.cdicconference.com/ncac2010/ncac2010.htm