ดูวีดีโอเรื่องจับเจ็ดปล่อยเจ็ด พบตัวละครที่น่าสนใจ 4 ตัวคือ ขงเบ้ง เบ้งเฮ็ก สุนาและห้วยหลำ เป็นกลยุทธ์การซื้อใจครับ เพราะตัวอย่างนี้ขงเบ้งจับศัตรูที่คิดจะฆ่าตนได้ 7 ครั้งและปล่อย 7 ครั้ง ในครั้งที่ 2 เบ้งเฮ็กถูกข้าเก่าเต่าเลี้ยง 2 คน คือ สุนาและห้วยหลำ ที่ตนเองไว้ใจจับไปส่งให้ขงเบ้งผู้เป็นศัตรู เพราะสุนาและห้วยหลำถูกขงเบ่งจับได้ 1 ครั้งและปล่อยตัว หลังปล่อยตัวก็รู้สึกในบุญคุณของขงเบ้งเป็นล้นพ้น ในเวลาต่อมาเบ้งเฮ็กจับได้ว่าสุนาทรยศ จึงลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี เมื่อถูกทำโทษจึงตัดสินใจจับเจ้านายของตนไปส่งให้กับศัตรู แต่ขงเบ้งปล่อยเบ้งเฮ็กมา สุนากับห้วยหลำคาดไม่ถึง .. และเบ้งเฮ็กไม่ได้ใช้กลยุทธ์ซื้อใจ ทำให้ 2 ขุนพลผู้ทรยศไม่มีโอกาสทรยศเจ้านายอีก และลาโลกไปในที่สุด
งานนี้ทำให้ผมเรียนรู้ว่า เจ้าของบริษัทสามารถเลือกกลยุทธ์นี้ได้ ต่อไปจับได้ว่าใครโกงเงินบริษัทก็จะปล่อยตัวไปหวังซื้อใจ ต่อไปจับได้ว่าใครเอาความลับของบริษัทไปบอกศัตรูเพื่อหวังผลประโยชน์ก็จะปล่อยไปเพราะหวังซื้อใจ ต่อไปจับได้ว่าใครยักยอกเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไปขายต่อก็จะทำไม่รู้ไม่เห็นเพราะหวังซื้อใจอีกนั่นเอง ต่อไปในกองทัพถ้าเห็นทหารหนีทัพก็จะปล่อยไปเพราะหวังซื้อใจ .. นี่เป็นบทเรียนจากเบ้งเฮ็ก ตอนจับเจ็ดปล่อยเจ็ด .. ถ้ามีโอกาสผมว่าจะปล่อยสัก 4 ครั้งครับ .. เป็นจำนวนพระสงฆ์ที่ไปสวดงานศพพอดี .. พอดีเชื่อเรื่องดูดาว .. เรื่องเชือดไก่ให้ลิงดู ไม่ทำเด็ดขาด เพราะขัดกับกลยุทธ์ซื้อใจ .. เป็น case study ให้อ่านสนุก ๆ ครับ