ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th
ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/
ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th
ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้