ABAC โพลชี้ คนรับกับการโกงที่ตนเองได้ประโยชน์

manager and corpution isolated on the white background
manager and corpution isolated on the white background

สำนักวิจัยเอแบคโพลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลสำรวจ ระบุปชช.เกินร้อยละ 60 รับได้ถ้ารัฐบาลคอร์รัปชั่นแต่ตัวเองได้ประโยชน์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มทัศนคติอันตรายในหมู่ประชาชนว่าด้วยการยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น ถ้าตนเองได้ผลประโยชน์ด้วย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดของประเทศ พบว่า แนวโน้มทัศนคติอันตรายในหมู่ประชาชนว่าด้วยการยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในขั้นวิกฤต คือ ลดลงจากร้อยละ 69.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 65.5 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 ยังคงยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วยตลอดการสำรวจตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า ทั้งผู้ชายและผู้หญิงส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 เช่นกันคือร้อยละ 64.4 ในกลุ่มผู้หญิงและร้อยละ 66.9 ในกลุ่มผู้ชายที่ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี มีสัดส่วนน้อยที่สุดที่จะยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สูงเกินครึ่งคือร้อยละ 56.1 ในขณะที่ กลุ่มคนอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 62.3 กลุ่มคนอายุระหว่าง 30-39 ปีร้อยละ 67.9 กลุ่มคนอายุระหว่าง 40-49 ปีร้อยละ 66.9 และกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.5 ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ที่น่าพิจารณาคือ ยิ่งกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงขึ้นยิ่งมีแนวโน้มของคนที่ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นลดน้อยลง แต่ก็ยังเป็นจำนวนส่วนใหญ่ของทุกกลุ่มคือ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 กลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.3 และกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 ต่างก็ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 กลุ่มพนักงานเอกชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจส่วนตัวส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 กลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 กลุ่มรับจ้างใช้แรงงาน เกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 และกลุ่มแม่บ้าน เกษียณอายุส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 ต่างยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า กลุ่มคนที่ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นส่วนใหญ่ต่างระบุในทิศทางเดียวกันว่า คนที่ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย กลับถูกข่มขู่คุกคามทำร้ายถึงชีวิต ถูกรังแกกลั่นแกล้งสารพัด ไม่มีใครหรือหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงจังต่อเนื่อง คนดีกลับไม่มีที่ยืนจนต้องทำตัวเป็นน้ำปล่อยให้ไหลตามกันไปเพื่อความอยู่รอด และเมื่อถามถึงการรับรู้เรื่องการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นกลับพบว่าไม่มีประโยชน์มากนักมีแต่การสร้างภาพให้จบๆ กันไป ยิ่งไปกว่านั้น การจัดอีเว้นท์ต่อต้านการทุจริตก็มีผลประโยชน์เชิงธุรกิจ บางคนที่ออกมารณรงค์ต่อต้านการทุจริตก็มีปัญหาแตกแยกในครอบครัว ความไม่ซื่อสัตย์กันในครอบครัวแต่ออกมารณรงค์ให้คนอื่นซื่อสัตย์สุจริต โดยสรุปของผลวิจัยเชิงคุณภาพคือ ส่วนใหญ่รู้สึกหดหู่ อยากเห็นอัศวินขี่ม้าขาว อยากเห็น “คนดีและเก่ง” มาปกครองบ้านเมืองแต่ยังหาไม่เจอตัวจริงเลยในสังคมไทย ทุกองค์กรแม้แต่ในกลุ่มที่น่าจะเป็นคนดีน่าเลื่อมใสศรัทธาแต่ก็มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ยักยอก ฉ้อโกง เงินบริจาคของประชาชนไปให้กับตนเองและพวกพ้องคนใกล้ชิด

เมื่อถามถึงหน่วยงานป.ป.ช. และป.ป.ท. พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มองว่าเป็นหน่วยงานสำคัญและจำเป็นมากแต่ต้องการให้เร่งดำเนินการให้เป็นตัวอย่างที่ดีและทำให้ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นหมดไปจากสังคมไทยให้ได้ด้วยบทลงโทษที่รุนแรงสูงสุด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ป.ป.ท. เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นหน่วยงานที่สร้างความหวังในหมู่ประชาชนเรื่องการเปิดโปงขบวนการทุจริตงบภัยพิบัติแต่คนเปิดโปงก็ถูกโยกย้ายพ้นอำนาจโดยตรงในการตรวจสอบหลังจากนั้นบทบาทของ ป.ป.ท.ก็ไม่อยู่ในการรับรู้ของประชาชนมากพอที่จะสร้างความวางใจและพลังต่อต้านของสาธารณชนต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นได้ ดังนั้นทางออกที่น่าพิจารณาคือ

ประการแรก ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นต้องเริ่มจากความซื่อสัตย์ของคนในครอบครัว พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีซื่อสัตย์ต่อกันและกันให้ลูกได้เห็น

ประการที่สอง คุ้มครองพยานและกลุ่มประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านขบวนการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยติดตามดูแลความปลอดภัยของกลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกมาแสดงตนต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นมิให้พวกเขาถูกรังแกจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลของนักการเมือง นายทุนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ

ประการที่สาม รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลทุกรัฐบาลเปิดเผยการใช้จ่ายงบประมาณบนเว็บไซต์ของทำเนียบรัฐบาลและสื่อมวลชนให้เห็นการกระจายของทุกเม็ดเงินในลักษณะให้สาธารณชนช่วยกันตรวจสอบแกะรอยเส้นทางการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลได้

ประการที่สี่ เสนอให้เพิ่มโทษรุนแรงสูงสุดต่อกลุ่มบุคคลสำคัญที่ทุจริตคอรัปชั่น และควรเร่งรัดไม่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ ไม่ปล่อยให้ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นลอยนวลอยู่อย่างสง่างามในสังคมไทย

ประการที่ห้า จัดตั้งกองทุนสร้างเสริมความซื่อสัตย์และกตัญญูรู้คุณแผ่นดินสนับสนุนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและประเทศในการสนับสนุนเตรียมประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศให้มีคุณภาพทั้ง “ดีและเก่ง” ขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคตอย่างจริงจังต่อเนื่อง

http://news.voicetv.co.th/thailand/66862.html

17 มี.ค.2556 ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง จุดวิกฤตของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหมู่คนไทย จุดวิกฤตของประเทศและผลประโยชน์ของทุกคน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 10 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,561 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12-16 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.0 เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า โกหกบ้างไม่เป็นไรเพื่อความอยู่รอด และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.3 เคยโกหกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.5 เห็นด้วยกับการเลี้ยงดูปูเสื่อรับรองคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการทำธุรกิจ และพฤติกรรมที่น่ารังเกลียดของคนไทยที่ค้นพบคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.6 เคยลัดคิวเพื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ  นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 เคยให้สินบนสินน้ำใจตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประโยชน์ของตนเองค่อนข้างบ่อยถึงบ่อยที่สุด

นอกจากนี้ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ค้นพบคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 เคยลอกการบ้านหรือรายงานของเพื่อนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และที่น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 เคยลอกข้อสอบ แอบดูคำตอบ แอบนำเนื้อหาเข้าห้องสอบอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหันมาพิจารณาพฤติกรรมในกลุ่มแม่พิมพ์ของชาติหรือคณะครู พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 เชื่อว่ามีการทุจริตจริงในการโกงข้อสอบสอบครูผู้ช่วย โดยตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.4 ระบุรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการต้องรับผิดชอบต่อกรณีทุจริตโกงข้อสอบสอบครูผู้ช่วย

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ค้นพบในกลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.2 เคยมีพฤติกรรมคอรัปชั่นขณะปฏิบัติงาน เช่น เคยทำงานส่วนตัว ออกไปทำธุระส่วนตัวในเวลาทำงานโดยไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.6 เคยคอรัปชั่นทรัพย์สินของสำนักงานเพื่อประโยชน์ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานอีกด้วย ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 เคยพบเห็นเคยรับรู้ว่าคนในหน่วยงานทุจริตข้อสอบเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 คิดว่าปัจจุบันมีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นกับทุกหน่วยงานราชการ

ส่วนที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.0 เห็นด้วยที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นควรถูกตรวจสอบด้วย นอกจากนี้ ร้อยละ 38.5 ไม่รับรู้รับทราบผลงานของทั้ง ป.ป.ท. และ ป.ป.ช. ในการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่ร้อยละ 26.7 รับรู้ทั้งสองหน่วยงาน ร้อยละ 24.7 รับรู้รับทราบผลงานของ ป.ป.ช. มากกว่า และเพียงร้อยละ 10.1 เท่านั้นที่รับรู้ผลงานของ ป.ป.ท. มากกว่า

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตในปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางเนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่อาจมองข้ามพฤติกรรมที่เป็นเชื้อแห่งการทุจริตคอรัปชั่นเล็กน้อยในวัยเด็กที่ปล่อยให้ลอกข้อสอบลอกการบ้านจนถึงกลุ่มผู้ใหญ่ที่ขาดความมีวินัยคอยแต่จ้องลัดคิวแซงคิว ปล่อยให้มีการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง

การทุจริตในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ขาดระบบคุณธรรมที่สุดท้ายส่งผลกระทบทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเติบโตอย่างกว้างขวาง เพราะผลวิจัยล่าสุดค้นพบว่า มีเชื้อแห่งพฤติกรรมการทุจริตคอรัปชั่นเริ่มขึ้นตั้งแต่ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มแม่พิมพ์ของชาติที่เป็นครูบาอาจารย์ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานบริษัทเอกชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่กำลังอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของการทุจริตคอรัปชั่นอย่างรุนแรง

ดังนั้น ผู้ใหญ่ในสังคมต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดี จึงขอเสนอทางออกที่น่าพิจารณา คือ

1.เรียกร้องให้รัฐบาลนำงบประมาณในการพัฒนาประเทศทั้งหมดเปิดเผยต่อสาธารณชนผ่านเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถแกะรอยการใช้จ่ายงบประมาณตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำของทุกเม็ดเงินจนถึงมือประชาชนและพื้นที่ของการพัฒนาเพื่อสร้างความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาล (Trust in the Government)

2.เสนอให้แจกแจงรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินค่าปรับต่างๆ ว่านำเงินค่าปรับเหล่านั้นไปใช้ทำอะไรบ้าง เช่น ส่งไปยังรัฐบาลกลางเพื่อพัฒนาประเทศ บางส่วนส่งไปพัฒนาห้องสมุดประชาชน บางส่วนส่งให้กับหน่วยงานที่จับกุมผู้กระทำความผิด และบางส่วนนำไปพัฒนาท้องถิ่นที่พบผู้กระทำความผิดนั้นๆ เป็นต้น เพื่อสร้างความวางใจของสาธารณชนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ (Trust in the Public Officials)

3.การรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องสำคัญแต่ความรวดเร็วฉับไวในการคุ้มครองพยานที่กำลังถูกคุกคามในพื้นที่ที่มีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างรุนแรงน่าจะสำคัญกว่าเพราะมีหลายพื้นที่ของประเทศในเวลานี้ ประชาชนจำนวนมากอึดอัดกับพฤติกรรมการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นแต่พวกเขาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลมืดที่ไม่มีหน่วยงานรัฐใดดูแลความปลอดภัยของพวกเขาได้อย่างจริงจังต่อเนื่อง

4.กระตุ้นให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีจับการทุจริตคอรัปชั่นของคน เช่น เปิดไลน์ (LINE) ห้องปราบทุจริตคอรัปชั่น โซเชียลเน็ตเวิร์ค เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ สื่อสารมวลชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและรัฐบาลร่วมบูรณาการปราบปรามการเรียกรับผลประโยชน์และการทุจริตคอรัปชั่น

5.ทุกหน่วยงานของรัฐต้องมีระบบการคัดเลือกแต่งตั้งคนดีและเก่งขึ้นเป็นผู้นำหน่วยโดย “ขจัด” การแทรกแซงของฝ่ายการเมืองที่มักจะทำให้เกิดการวิ่งเต้น การซื้อขายตำแหน่งขึ้นในทุกหน่วยงาน ดังนั้นเสนอให้ใช้ระบบคุณธรรมที่ประกอบด้วยสามส่วนได้แก่ ผลงาน อาวุโส และการสอบเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง โดยผลงานต้องเป็นผลงานที่จับต้องได้เป็นที่ยอมรับของคนในหน่วยและเป็นที่พึงพอใจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังต้องมีความอาวุโส และผ่านการสอบที่บริสุทธิ์ยุติธรรมตรวจสอบได้

“ถ้าปล่อยให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางเช่นนี้ต่อไป ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเอาไว้ได้ ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศไทยและประชาชนทุกคนภายในประเทศคงจะพบกับความทุกข์ความเดือดร้อน ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นกับตนเองกับคนใกล้ชิดและสังคมโดยส่วนรวมอย่างถาวร” ดร.นพดล กล่าว.

http://www.dailynews.co.th/politics/191035

เอแบคโพลเผย ประชาชนส่วนใหญ่ รับได้รัฐบาลโกงแต่ได้ประโยชน์ พร้อมพอใจกองทัพวางตัว ขณะยังค้านการยึดอำนาจ

สำนักวิจัย เอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คนไทยหัวใจประชาธิปไตย กับการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย โดยสำรวจประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 พอใจบทบาทของกองทัพในขณะนี้ โดยร้อยละ 71.5 ไม่เห็นด้วย กับการยึดอำนาจเพราะจะทำให้วุ่นวายกว่าเดิม บ้านเมืองเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ประชาชน ร้อยละ 63.4 ยอมรับได้ หากรัฐบาลทุจริตแล้วได้ประโยชน์ด้วย โดยพบว่ากลุ่มประชาชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ยอมรับในกรณีนี้ได้มากที่สุด ร้อยละ 68.2 และกลุ่มอาชีพที่ยอมรับเรื่องนี้ ได้มากที่สุด คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงความไว้วางใจในรัฐบาลชุดนี้ ต่อการทุจริต พบว่าใกล้เคียงกันทั้ง ไว้ใจมาก และไว้ใจน้อย โดย ไว้ใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 51.8 และไม่ไว้ใจเลย ร้อยละ 48.2

http://hilight.kapook.com/view/72327

น่าเป็นห่วง เอแบคโพล ชี้คนส่วนใหญ่ยอมรับการทุจริตคอรัปชั่นได้ ถ้าจะทำให้ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย

20 กรกฏาคม 2555 เอแบคโพลล์ ได้เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในการสร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง โดยได้สำรวจความคิดเห็นกรณี “รัฐบาลทุกรัฐบาลมีทุจริตคอรัปชั่นทั้งนั้น ถ้าทุจริตคอรัปชั่นแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรืองประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย ก็พอยอมรับได้หรือไม่

ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า มีความคิดเห็นที่ “ยอมรับได้” มากกว่า “ยอมรับไม่ได้” ถึงครึ่งเท่าเลยทีเดียว หรือร้อยละ 64.5 ขณะที่รับไม่ได้ 35.5 นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ได้รับการศึกษาที่จะมาช่วยพัฒนาประเทศต่อไปในวันข้างหน้า กลับเป็นกลุ่มคนที่มีเปอร์เซ็นต์ยอมรับการทุจริตได้มากกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ

ส่วนในหัวข้อที่ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมาะสมที่จะเป็นประธานรณรงค์สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง อย่างจริงจังต่อเนื่อง หรือไม่นั้น พบว่า ร้อยละ 67.8 เห็นว่าเหมาะสม ส่วนอีก 32.2 ระบุว่า ไม่เหมาะสม

ในการนี้  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย เพราะนี่คือสัญญาณเตือนภัยว่า คนไทยที่ได้รับการศึกษา กลับมีทัศนคติอันตรายมาก อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นแล้วแม้คนจะได้รับการศึกษามากขึ้นเท่าไหร่ แต่การปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์กลับดำเนินไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจดังกล่าว ยังสะท้อนให้เห็นถึง “ความเห็นแก่ตัว” หรือ ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องต้องมาก่อนผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยมองแต่เฉพาะสิ่งที่ตนเองจะได้เฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะถ้าพบเห็นคนอื่นทุจริตคอรัปชั่นก็จะเอาเรื่องเอาผิดถึงขั้นแจ้งความร้องเรียนดำเนินคดี แต่กับคนใกล้ชิดที่สนิทสนมด้วยก็จะปล่อยปะละเลยมองข้ามไป  นอกจากนี้ คนยิ่งรวยขึ้นยิ่งมีทัศนคติยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแล้วพวกเขาได้ผลประโยชน์ตามไปด้วย

http://hilight.kapook.com/view/61010

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply