มีนักวิทยาศาสตร์บอกไว้ว่า “เราเป็นอย่างที่เรากิน”
การเปลี่ยนการรับประทานอาหารไม่ง่ายเลย
จากรับ 3 มื้อเป็นรับ 2 มื้อ
หรือเปลี่ยนประเภทอาหารก็จะมีความเคยชิน ความเชื่อ และคนรอบข้าง
คอยที่จะให้ความเห็นคัดค้าน ว่า “เคยทำอย่างไรก็ควรทำอย่างนั้น”
สรุปว่า “ความเชื่อของผู้คนเปลี่ยนยากมาก ๆ”
—
ทดลองที่จะเปลี่ยนแปลง
ในเทศกาลกินเจ ระหว่าง 5 – 13 ตุลาคม 2556
ผมมีโอกาสทานหาอาหารเจ จากพ่อค้ารายใหม่
ที่ตลาดสนามบิน หรือ ตลาดพระบาท ลำปาง ด้านทางออก ว.พยาบาล
สิ่งที่ซื้อประจำ คือ “บะหมี่เหลืองเจ” จำนวน 2 ห่อ ๆ ละ 10 บาท รวม 20 บาท
ไว้ทานมื้อเย็น 1 ห่อ กับตอนเช้า 1 ห่อ
ที่ตลาดนี้มีเพียงเจ้าเดียวที่ขายแบบนี้ และก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็น
—
เหตุผลที่ทานเจ
1. เป็นข้อหนึ่งในการรักษาศีล
2. อร่อย เพราะบะหมี่หอม และเหนียวนุ่ม
นิยามศัพท์
คำว่า “กินเจ” คือ ไม่คาว หรือถ้าแปลตามตัวจะหมายถึง การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ซึ่งในความหมายของชาวพุทธ ก็คือการรักษาศีล นั่นเอง อาหารเจ จึงเกิดขึ้นเนื่องมาจาก การถืออุโบสถศีล ของพุทธศาสนิกชน ฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุนี้ การกินอาหารเจ จึงไม่นิยมรับประทานเนื้อสัตว์ แต่ในปัจจุบันการกินเจ ถึงแม้ว่าจะรับประทานอาหาร ทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่รับประทานอาหาร ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์อยู่ด้วยก็ยังเรียกว่า “กินเจ” ดังนั้น หากพุทธศาสนิกชนที่ ต้องการบำเพ็ญธรรม ด้วยการกินเจ ก็ต้องตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามด้วย ถึงจะเรียกว่าเป็นการกินเจที่แท้จริง
ในการปรุงอาหารเจนั้น ต้องไม่มีเนื้อสัตว์ และต้องเป็นอาหารที่ปรุงมาจากพืชผักผลไม้ล้วนๆ ที่สำคัญ ต้องไม่มี ส่วนผสมของเครื่องเทศ 5 อย่าง ซึ่งได้แก่ หัวหอม กระเทียม กุ้ยฉ่าย หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน) และใบยาสูบ
http://www.weherb.net/wizContent.asp?wizConID=163&txtmMenu_ID=7