หัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือการจัดการความรู้เก่า 7 เล่ม | |
มีเหตุผลมากมาย ที่คนไทยสนใจเรื่องการจัดการความรู้ พบในหนังสือการจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน LO ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด หน้า 16 ว่า ตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (หมวด 3 มาตรา 11) ดังใจความตอนหนึ่งว่า "ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ" โดยที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการเรื่อง KM และ LO ตามที่ระบุไว้ในคำรับรองปฏิบัติราชการ (มิติที่ 4 -มิติด้านการพัฒนาองค์กร) ผมสนใจเรื่องนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตามแนวทางการจัดการความรู้ แล้วก็ไปค้นหนังสือเก่า ๆๆๆ ในห้องสมุดพบ 7 เล่ม แล้วนำชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่งไปสอบถามกับ se-ed.com พบว่าเหลือเล่มเดียว ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช แล้วนอกนั้นก็ขายหมดแล้ว และไม่พิมพ์ใหม่ มีดังนี้ 1. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ วิจารณ์ พานิช 9744096861 พิมพ์ครั้งที่ 4 กันยายน 2551 สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) บทที่ 1 ปฐมบท บทที่ 2 คนสำคัญของการจัดการความรู้ บทที่ 3 การจัดระบบการจัดการความรู้ บทที่ 4 การฝึกอบรม บทที่ 5 การเริ่มต้นการจัดการความรู้ บทที่ 6 การดำเนินการจัดการความรู้ บทที่ 7 เครื่องมือ บทที่ 8 ฐานข้อมูลความรู้ บทที่ 9 เครือข่ายจัดการความรู้ บทที่ 10 ทางแห่งความล้มเหลว บทที่ 11 แนวทางแห่งความสำเร็จ บทที่ 12 การจัดการความรู้ในสังคมไทย 2. การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด 9744914998 พิมพ์ครั้งที่ 6 กันยายน 2550 สำนักพิมพ์ใยไหม บทนำ มองภาพใหญ่ เข้าใจภาพรวม บทที่ 1 สิ่งที่แตกต่างระหว่างความรู้สองประเภท บทที่ 2 การจัดการความรู้ไม่รู้จบ "infinity KM" บทที่ 3 โมเดลปลาทู สำหรับผู้ที่เป็น "มือใหม่" บทที่ 4 LO คืออะไร เกี่ยวข้องกับ KM อย่างไร บทที่ 5 ประสบการณ์จากหน่วยงานที่ "ทำจริง" บทที่ 6 ไขข้อข้องใจ ก่อนใส่เกียร์ "เดินหน้า" บทส่งท้าย ไหลลื่นไปกับคลื่นแห่งปัญญา 3. KM วันละคำ "จากนักปฏิบัติ KM สู่ นักปฏิบัติ KM" ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 9744098384 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด หมวดที่ 1 ความสำคัญในการจัดการความรู้ - ผู้บริหารกับการจัดการความรู้ - คุณเอื้อ - คนสำคัญอื่น ๆ - ความสำคัญอื่น ๆ หมวดที่ 2 เครื่องมือเรียนรู้ - โมเดล - เครื่องมือชุดธารปัญญา - เครื่องมืออื่น ๆ - Appreciative Inquiry (AI) หมวดที่ 3 อภิธาน KM : สร้างบ้าน KM - เสาเข็มและคาน - เสาและฝา - หลังคา หมวดที่ 4 กลเม็ด KM หมวดที่ 5 กระบวนทัศน์ KM หมวดที่ 6 เครือข่าย KM หมวดที่ 7 หลากมิติหลายมุมมองของ KM 4. การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย บุญดี บุญญากิจ 9749239598 พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2548 บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด บทที่ 1 ความสำคัญของการจัดการความรู้ บทที่ 2 ความหมายของการจัดการความรู้ บทที่ 3 กรอบความคิดการจัดการความรู้ บทที่ 4 วงจรการจัดการความรู้แบบ 3 มิติ บทที่ 5 จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ บทที่ 6 เรียนรู้เพื่อปรับปรุง ภาคผนวก ภาคผนวก ก.ความสำคัญของการจัดการความรู้ต่อองค์กร ภาคผนวก ข.Most Admired Knowledge Enterprises(MAKE) ภาคผนวก ค.เครื่องมือในการจัดการความรู้ ภาคผนวก ง.แบบประเมินการจัดการความรู้ขององค์กร ภาคผนวก จ.บรรณานุกรมเว็บไซต์ 5. องค์การแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ The Knowledge Organization : From Concept to Practice รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 9742316589 พิมพ์ครั้งที่ 5 เมษายน 2552 สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ บทที่ 3 คุณลักษณะของความรู้ บทที่ 4 แนวคิดการจัดการความรู้ บทที่ 5 กระบวนการจัดการความรู้ บทที่ 6 การเรียนรู้ขององค์การและการจัดการความรู้ บทที่ 7 กลยุทธ์การจัดการความรู้ บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับการจัดการความรู้ บทที่ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ บทที่ 10 การประเมินผลการจัดการความรู้ บทที่ 11 กรณีศึกษาองค์การแห่งความรู้ 6. การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ Knowledge management พรธิดา วิเชียรปัญญา 9749209087 พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2547 ธรรกมลการพิมพ์ บทที่ 1 บทนำ การจัดการความรู้ สังคมแห่งความรู้ และการบริหารองค์การยุคใหม่ บทที่ 2 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ บทที่ 3 การจัดการความรู้กับการบริหารองค์การยุคใหม่ บทที่ 4 การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในสังคมไทย 7. การจัดการความรู้กับคลังความรู้ Knowledge management and Knowledge center ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน 9749191595 พิมพ์ครั้งที่ 1 2547 บริษัท เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด บทนำ การแสวงหาความรู้ บทที่ 1 การจัดการความรู้ บทที่ 2 ความรู้ในองค์กร บทที่ 3 องค์กรจัดการความรู้ บทที่ 4 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ บทที่ 5 คลังความรู้ |