อ่านบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยไทยจะอยู่รอดได้หรือไม่”
ที่ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เขียนใน manager online
แล้วหัวหน้าของผมก็แชร์ให้อ่านในกลุ่มไลน์
เนื้อหาพูดถึงปัญหามหาวิทยาลัยกับอัตราการเกิดที่ลดลง
แต่มีประเด็นหนึ่งที่โดนใจจี๊ด ๆ
พบในส่วนของ “สาเหตุที่อุดมศึกษาไทยถึงทางตีบตัน”
ในประการที่สอง ท่านขึ้นย่อหน้าว่า
“ปัญหาใหญ่ที่สุด” เนื้อหาตอนหนึ่งชี้ว่ามีบัณฑิตไทยบางสาขาตกงานมากมาย
เช่น ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)
ที่เปิดสอนแทบทุกสถาบัน แต่บริษัทหาคนทำงานด้านคอมพิวเตอร์
ได้ยากมาก เพราะไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวตอร์ที่ใช้งานได้จริง
ท่านสรุปไว้ง่ายเลย คือ “เรามีปริมาณมากแต่มีคุณภาพไม่เพียงพอ“
จึงเป็นที่มาของการสะท้อนคิดให้ตัวผมเอง
คิดว่า ผมสอนหนังสือนักศึกษามาหลายปี
สอนอะไรไปบ้างนะ แล้วเค้าทำอะไรเป็น และไม่เป็นอะไรบ้างนะ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000051896
การเรียนด้านคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
และทุกสาขาถูกสังคม หรือผู้ประกอบการคาดหวังว่าต้องเขียนโปรแกรมได้
และโปรแกรมก็มีภาษาให้เลือกมากมาย
ภาษาที่ง่ายที่สุดภาษาหนึ่งคือ HTML และการเขียนได้จริง
มักต้องมีเวทีโชว์ของ โชว์พาวล์ หรือโชว์อะไรที่มีอยู่นั่นหละ
กว่า 20 ปีแล้ว
ที่จะเล่าให้นักศึกษาฟังว่าจดโดเมนไม่ยาก
มีตังไม่กี่ร้อยต่อปีก็เป็นเจ้าของได้ นี่ก็ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า
ให้พูดเรื่องการเป็นเว็บมาสเตอร์ให้นักศึกษาฟัง
หัวข้อที่จะไปเร้าใจนักศึกษาก็คงหนีไม่พ้น
เรื่อง Domain name กับ Web hosting
ที่เป็นของจริง เพียงแต่ต้องลงทุน และมีอะไรอีกนิดหน่อย
เรื่องของ ดร.อานนท์ ได้ repost บทความ
ไว้ในเว็บเพจที่จะสอนนักศึกษา ก็หวังจะให้เขาเข้าใจ และฮึกเหิมขึ้นมา
http://www.thaiall.com/webmaster/responsive/index.html
สิ่งที่นักศึกษาต้องมีก่อนจดโดเมนมี 6 ข้อ
แต่ไม่ต้องครบก็ได้นะครับ เป็นเพียงข้อเสนอ
ได้เล่าสู่กันฟังไว้ที่ http://www.thaiall.com/article/dotcom.htm
1. เงิน(Money)
2. วิธีการ(Method)
3. เวลา(Time)
4. รีบศึกษา(Hurry)
5. ความตั้งใจ(Attention)
6. จินตนาการ(Imagination)
M.M.T.H.A.I
แล้ว webpage หน้านี้ก็ปรับเป็น Responsive Web Design แล้ว
แล้วนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ทุกคน
ก็คงต้องรู้จัก CSS ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าบอกว่าไม่รู้จักเลย
ก็คาดได้ว่าไม่คิดจะทำงานด้านเว็บโปรแกรมมิ่งเป็นแน่
คำถาม คือ นักศึกษา หรือบัณฑิต
พกอะไรติดตัวหลังพ้นรั้วมหาวิทยาลัยไปสมัครงานบ้าง
คำตอบ เชิงแนะนำ คือ
ถ้ามีเว็บไซต์ของตัวเอง แล้วในเว็บไซต์ก็มีอะไร ๆ
ที่เป็นผลงานของตนเอง
เป็นเวทีปล่อยของที่นายจ้างได้เห็นผลงานกันจะจะไปเลย
.. น่าจะดี